_561006_รายการวิถีอาริยธรรม ที่สวนลุมฯ พ่อครู สมณะโพธิรักษ์
เรื่อง กายในกายอย่างพิศดาร

     ส.เพาะพุทธดำเนินรายการ... (อาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖)

วันนี้ได้ไปร่วมงาน ที่มีเรื่องเกี่ยวกับ อ.ศศิน เฉลิมลาภ ที่ได้เดินทางไกล เพื่อหยุด การสร้างเขื่อนแม่วงก์ ท่านบอกว่า เดินทางผ่านความไกล ไม่ยากกว่าเดินทาง ผ่านความกลัว

     อ.ศศินว่า หน้าที่ในการเดิน เป็นหน้าที่ของผม แต่หน้าที่ตัดสินใจ เป็นของเจ้าหน้าที่ มูลนิธิสืบฯ เป็นธรรมะ ที่ให้เห็นว่า คนจะประสพ ผลสำเร็จได้ ไม่ต้องทำเอง ทั้งหมดหรอก

     และมีธรรมะอีก ที่ได้ฟัง เรื่องความดื้อ ผมไม่เป็นรองใคร แต่ที่ต้องเดินเท้า ๓๘๘ กม. ท่านเชื่อว่า จะมีคนดีกว่า เก่งกว่า มาสานต่อ ภาระหน้าที่ แต่เราไม่รู้ว่า คืออะไร อาจจะไม่เกิดก็ได้ แต่เรามีหน้าที่ ทำให้ดีที่สุด เราไม่รอ เราไม่หวัง แต่เราทำ คนจะรู้เรื่อง หรือจะไม่รู้เรื่อง ไม่เป็นไร แต่คนต้องมั่นใจว่า ผมรู้เรื่อง พ่อครูมักพูด อยู่เสมอว่า ยืนหยัด แตกต่างจาก ดื้อรั้นดันทุรัง

       พ่อครูว่า... ตั้งใจว่า วันนี้จะพูดถึง เรื่องของชีวิต ที่มีชาติ ความเกิด แล้วก็มีการตาย ซึ่งคนเราเกิดมา แล้วก็ตาย แต่ชีวิตเป็นๆ นี่แหละยุ่ง ยุ่งเพราะอวิชชา ยุ่งเพราะไม่รู้ ไม่รู้ว่า เราเกิดมา จะจัดการกับตัวเอง อย่างไร สิ่งที่จะจัดการมนุษย์ คือจิตวิญญาณ ของแต่ละคน จิตเป็นประธาน มโนปุพพังคมา ธัมมา

     พระพุทธเจ้า ให้ศึกษาในจิต มโน แล้วจัดแจง จัดการปรุงแต่ง สังขาร ถ้าเราไม่รู้จัก การสังขาร อวิชชา จะเป็นตัวจัดการ ที่เขาแปล อวิชชาว่าโง่ คำว่าโง่คำนี้ ไม่ได้แปลว่า ไม่รู้การบวกเลข ไม่รู้ว่า จะแกงมัสมั่นอย่างไร ไม่รู้ว่า จะมาสวนลุมฯ มาไม่ถูก เป็นต้น

     0860618xxx "ท่านไม่รู้จักทางไป" "สวนลุมฯ" "ไม่เป็นไร แต่ถ้าท่านรู้ทางไป" "สวนธรรม" เพื่อสวนทางอธรรม นั่นแหละ คือความยิ่งใหญ่ ของพลังประชาธิปไตย

     ที่ว่าไม่รู้ว่า เขาด่าเต็มบ้านเต็มเมือง ก็ไม่รู้อีก มันยุ่งกว่า มหาอวิชชานะ ไม่เชื่อว่า เขาไม่รู้ แต่ใช้หน้าทนเอานะ

     คนที่จะรับหน้าที่ ไปช่วยคนอื่น ต้องรู้จัดแจง ใจตนได้ก่อน ทำคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงพร่ำสอนคนอื่น จึงไม่มัวหมอง ช่วยคนอื่น ยากกว่า ช่วยตนเองให้รอด

     พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สิ่งสมบูรณ์ ที่จิตใจ จิตวิญญาณ คือพลังงานหลัก ของชีวิต ของสัตวโลก มันบงการ โดยเราไม่รู้ตัว คือตัวจิต ที่ถูกตัว สัญชาติ หรือสัญชาตญาณ เป็นตัวสั่งการ ตนเองไม่มี สติสัมปชัญญะ มาควบคุม จิตคนนั่นแหละ ที่สั่งการ มันเห็นผิดว่าดีก็ทำ สั่งให้ตนเองทำ บงการให้ตนเองทำ นี่คือจุดที่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ความเป็นสัตวโลก สัตว์เดรัจฉาน เราสอนให้เปลี่ยน จิตวิญญาณไม่ได้ เป็นอเวไนยสัตว์ ส่วนคนนั้น ก็มีส่วนหนึ่ง ที่เป็น อเวไนยสัตว์ สอนไม่ได้ บังคับไม่ได้ ฆ่าก็ตายเปล่า เพราะองค์ประกอบของ องคาพยพชีวิต แม้มีร่างกายเต็ม แต่จิตวิญญาณเขา มีคุณภาพ เท่านั้นเอง เวลาที่เขาจะศึกษาเล่าเรียน ก็มีภูมิจำกัด ผู้ที่สนใจเรียนธรรมะ ต้องรู้ตนเอง ว่าเราสามารถ ทำธรรมะ ระดับโลกุตระ หรือ ระดับอารยชน

     คือฟังรู้เรื่อง มีธรรมรส เอาใจใส่ ฟังรู้เรื่อง แล้วเอาไปทำ นี่คือ อาริยชน หรือเรียก ศิวิไลซ์ เป็นคนเจริญ แท้จริง

     แต่คนที่ไม่เข้าใจธรรมะ ที่เยี่ยมยอด คนเราเกิดมาร่างกาย ก็ต้องตายทุกคน แต่ตอน ไม่ตายนี่สิ ต้องมีการสังขาร คนใด ไม่เข้าใจสังขาร ผู้นั้น ก็อยู่ภายใต้ อวิชชา ซึ่งอวิชชา มีสังขาร เป็นเหตุให้เกิด
     การเกิดที่สำคัญ คืออย่างไร ที่ร่างกายเกิด และก็เจริญ แล้วเสื่อมนั้นก็ใช้ แต่ว่า ถึงวาระสุดท้าย ก็ต้องตาย และจะเจริญหรือไม่ ก็มีเหตุ มีระยะของมัน ทุกคน เหมือนกันหมด แต่ส่วนใจนี่คือ ชาติในกาย หรือ “กายในกาย” ที่อยู่ในหลัก สติปัฏฐาน ๔ เขาก็เรียนกัน แต่มันไม่สัมมาทิฏฐิ

     คำว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม คือ สติปัฏฐาน ๔ เป็นหมวดแรกใน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีหลักจำ ตัวเลขที่ ๔ ๕ ๗ ๘   
       ๔ คือสัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ สติปัฏฐาน ๔
       ๕ คือ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
       ๗ คือโพชฌงค์ ๗
       ๘ คือ มรรคองค์ ๘

     ถ้าเข้าใจเนื้อหาสาระ ก็จะร้อยเรียงกันไป เป็นลำดับ เช่น เมื่อปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔​

     กายในกาย ไม่ใช่กายนอกกาย คำว่า กาย คำนี้ ต้องแก้ไข ความเข้าใจ ของคนไทย คำว่ากายนี้ คนไทยเข้าใจว่า ไม่เกี่ยวกับ นามธรรมเลย เข้าใจแค่ว่าคือ ร่างกาย แต่ที่จริง กายนั้น ต้องเน้นที่ นามธรรมเลย

     คำว่า กายในกาย ต้องมี สัมผัสทางภายนอก เมื่อสัมผัส ก็รวมเป็นองค์ประชุม ของกาย หรือเรียกว่า สัมผัส โผฏฐัพพะ รวมทั้ง ๕ ตัว เรียก โคจรรูป คำว่า โผฏฐัพพะ ไม่นับอยู่ใน รูป ๒๔ เพราะถือว่า รวมอยู่ใน ตากระทบรูป หูสัมผัสเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส แต่ละอย่างก็คือ โผฏฐัพพะ ถ้าเอากายไปร่วม ก็คือ องค์ประชุมของ ตา หู จมูก ลิ้น

     เราสามารถรู้ องค์ประชุมของ สัมผัสนอกได้ เช่น หูได้ยินเสียง คุณได้ฟัง เสียงอาตมา รูปก็คือ เสียงที่ถูกรู้ได้ด้วยหู ตัวเสียงเมื่อได้ยิน ก็ประชุมลงในจิต ถ้าไม่มีจิตรับรู้เลย เสียงมันจะดังอย่างไร ก็ไม่รับรู้เลย หรือ แม้ลืมตาดู นี่หูฟัง แต่เราไม่ใส่ใจ ก็ไม่ได้รับรู้ เสียงนั้นเลย

     เสียงที่เรารับรู้ ก็เกิดวิญญาณ แต่ถ้าจิตไม่รับ ก็ไม่มีวิญญาณ แม้เสียงเข้าหู แต่จิตไม่รับ ไม่ได้เอาอะไร อุดหูเลย คุณไม่ได้ยินเสียงเลย เพราะจิตคุณไม่รับ วิญญาณคือ ธาตุรับรู้ มันไม่รู้ แต่พอมันรู้นี่แหละ จิตวิญญาณ ที่รับรู้นี่คือ กายในกาย กายนี่คือนามธรรม

     ถ้าเข้าใจกาย ไม่ผิดเพี้ยนแล้วนี่ กายคือข้างใน ที่เชื่อมอยู่กับข้างนอก แม้คุณเป็น อนาคามี คุณก็มี สัมผัสข้างนอก ในกามภพ คุณไม่มีกิเลสเลย แม้กระทบ สัมผัส ทวารนอก กิเลสก็ไม่เกิด รับรู้ความจริง ตามความเป็นจริง ไม่มีกิเลส ไปปรุงร่วม เหลือกิเลส ในรูปภพ อรูปภพ แต่ในนามกาย ตาก็กระทบรูป หูก็กระทบเสียงอยู่ แต่องค์ประชุม ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มีกิเลสแล้ว จิตวิญญาณ ก็ทำงานกับ สิ่งที่กระทบข้างนอก ไม่มีโลภโกรธหลง ก็ไม่มีพิษภัยกับใคร จิตอย่างนี้ คือจิตพระเจ้า มีพรหมวิหาร เป็นอัปปมัญญา มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ทำงานช่วยเหลือ มนุษยชาติ ศาสนาไหน ที่นับถือพระเจ้า นี่แหละคือ พระเจ้าจริง พระอนาคามี มีผัสสะ แต่กิเลสเหลือแต่ข้างใน ไม่ได้หลับตา แต่กิเลสที่เหลือ คือกิเลสภายใน แล้วปฏิบัติต่อ ก็ล้างกิเลส ขณะลืมตา ทำงานกับโลก อย่างพระเจ้า แต่ไม่สูงสุด ไม่เท่าอรหันต์ ตนเองไม่มีพิษภัย ช่วยโลกได้ อย่างแท้จริง จิตอนาคามี ก็รู้วิธีกำจัดกิเลสที่เหลือ ได้ง่าย ได้ถูกต้อง จนเป็นอรหันต์

     การปฏิบัติธรรมทุกวันนี้ ไปนั่งหลับตาทำ ก็ไปปิดทวาร ก็ไม่รู้ การปฏิบัติเริ่มต้น จะเข้าบ้าน ไม่รู้ประตู คุณจะหายตัว เข้าไปได้อย่างไร นี่คือความผิดพลาด ที่อธิบาย สติปัฏฐาน ๔ ผิด กายในกาย ก็อยู่ข้างใน แต่เกิดจาก การกระทบข้างนอก เป็นองค์ประชุม เรียกว่า “กาย” เมื่อเป็นกายในกาย ก็คือความรู้สึก เป็นธาตุรู้ ที่เรียกว่า จิต หรือมโน แล้วแยกเป็นอาการ เรียก เจตสิก

     แล้วเราต้องมีญาณ อ่านอาการจิต หรือวิญญาณ ที่ตาสัมผัสรูป เกิดวิญญาณ... หู... จมูก... ลิ้น... กาย สามารถอ่าน อาการจิต ที่ไม่มีตัวตน รูปร่าง แต่มีอาการ ลิงค นิมิต ที่เรากำหนดหมายรู้มันได้ ว่านี่คือ อาการจิต พอกระทบปรุงปุ๊บ มันก็สังขารเลย เสียงนี้น่าฟัง เสียงนี้รู้เรื่อง เสียงนี้ไม่รู้เรื่อง หรือหนักเข้า ก็ปรุงว่าไม่ชอบเลย พอฟัง มันก็สังขาร จัดแจงเลย นั่นแหละคือ องค์ประชุม ที่คุณชอบ หรือไม่ชอบ คือความรู้สึก หรือเวทนา คือองค์ประชุม ทั้งนอกและใน เมื่อเรียน คุณก็จะแยกแยะได้ องค์ประชุมของ ความชอบ และไม่ชอบ คือ อิฏฐารมย์​ อนิฏฐารมย์

     มันไหลเลื่อนมาเป็นเวทนา มาถึงชอบและไม่ชอบ แล้วทำไม ไม่เหมือนกัน สัมผัสเสียงเดียวกัน แต่คนนี้ชอบ คนนี้ไม่ชอบ เวทนานี่แหละ เกิดชอบหรือไม่ชอบ ก็คือจิต เสร็จแล้ว เมื่อเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ก็ให้เรียนรู้ จิตในจิต

     จิตในจิต มีสราคะ สโทสะ สโมหะ ให้ล้างมัน ลดมัน ให้เป็น วีตราคะ วีตโทสะ วีตโมหะ

     เรียนรู้ตัวชอบหรือไม่ชอบ ให้พิจารณาว่า ควรชอบหรือไม่ชอบ ถ้าเป็นกาม เป็นอบาย เช่น ไปชอบเล่นพนัน ชอบขี้เกียจ เป็นอบาย เราก็รู้เลยว่า ตัวที่ชอบไม่ดี นี่คือ อาการที่ มันชอบ มันยึด มันอยากได้ อยากมี อยากเป็น ถ้าได้มา มันสมใจ ทีหลัง ไม่ให้มันฟัง ไม่ให้มันดู ไม่ให้มันได้กลิ่น ไม่ได้ให้มันรับรส มันก็ดิ้น อาการดิ้น คือตัวนรก ต้องจัดการกับตัวนี้ กำจัดตัวนี้

     วิธีกำจัดมี ปหาน ๕
๑.  วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
๒.  ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว -ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓.  สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔.  ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
๕.  นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)

     เรามาเรียนรู้ว่า เรายังมีผู้ชาย ก็เรียกว่า “ไอ้โง่” ส่วนผู้หญิง ก็คิดเอา เราต้องรู้ว่า เรายังอวิชชา ยังโง่อยู่ ต้องพิจารณา ถ้าเรารู้ แล้วกดข่ม ก็เพียงชั่วคราว ไม่เด็ดขาด แต่ถ้ามีไฟฌาน เป็นไฟปัญญา มีพลังของปัญญา มากพอที่จะทำให้ ราคะโทสะ ออก เราต้องแยกออกก่อนด้วย แล้วอาการราคะโทสะ มันสู้ไฟฌานเราไม่ได้ มันอ่อนตัว ตามเห็นเลยว่า เราทำให้มันจางคลาย มีวิราคานุปัสสี วิธีพิจารณา คือ กิเลสมันไม่เที่ยง ไม่คงที่นิรันดร มีเหตุให้มันเกิด ถ้ายังมีเหตุในใจ มันก็เกิด ถ้ากระทบแล้วมีเหตุ มันจึงเกิด แต่มันไม่เที่ยง ไม่อยู่กับเราตลอด เราต้องมีทั้ง สมถะและวิปัสสนา ให้มีปัญญาไฟฌาน ทำให้กิเลส มันจางคลาย เรียกว่า มีวิราคานุปัสสี ต่อมาจาก อนิจจานุปัสสี นี่คือ สติปัฏฐาน ในขณะเป็นๆ มีชีวิต ลืมตาปฏิบัติ มีทวาร รับวิถีทั้งหมด ตรงกับ มรรคองค์ ๘ ที่ทำงาน ทำการ มีกระทบสัมผัสอยู่ เป็นปัจจัย จะเก่งสติปัฏฐาน ไม่ใช่แค่ นั่งหลับตาปฏิบัติ เท่านั้น

     เมื่อทำให้มัน วิราคานุปัสสี แล้วทำให้กิเลสดับ ก็เรียกว่า นิโรธานุปัสสี อย่างเห็นๆรู้เลย ลืมตารับสัมผัส ไม่ใช่แบบอสัญญี ไม่รู้เรื่อง ดับปี๋ ที่ไม่ตรงกับ คำสอนพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีกาย การปฏิบัตินั่งหลับตาไม่มีกาย แต่อย่างลืมตานี้ ดับได้ อย่างเห็นๆ ทำได้เก่ง เป็นสมุจเฉทปหาน จะได้ชั่วคราวก็ตาม จนได้เก่งขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำซ้ำ เรียก ปฏิปัสสัทธิปหาน ทำได้สำเร็จ สลัดหมดได้ แตะปั๊ปก็ กิเลสไม่มี เรียก นิสสรณปหาน

     ต้องแยกแยะ ตัวอกุศลจิต ที่เราจะดับ แล้วก็จะเหลือ กุศลจิตที่สะอาด สจิตตปริโยทปนัง เอากิเลสออกได้ กายของคุณ ก็กลายเป็น กายกัมมัญญตา ในขณะ ปฏิบัติสมาธิ คือทำมรรค ๗ องค์ เรียก กัมมันตา เป็นการงาน ที่เหมาะควร สุดท้ายก็เป็น กัมมัญญา เป็นกัมมัญญตา หรือเรียกอีกคำว่า กายปาคุญญตา หรือ กายกัมมัญญตา เป็นความแววไว คล่องแคล่ว ขององค์ประชุมนามธรรม ที่ทำได้ดีได้เร็ว เป็นมุทุภูตธาตุ เป็นองค์ธรรมของจิต ที่ไปสู่ฌานที่สูงขึ้น แม้อุเบกขา เฉยต่อเหตุภายนอก เหตุภายใน เราฆ่าตายหมด แม้ภายนอกมีกระทบ แต่ก่อน เรามีกิเลสเกิดในสัมผัส แต่เมื่อฆ่า เหตุภายในแล้ว กระทบอย่างไร ก็ไม่เกิดกิเลส คนพ้นอวิชชาแล้ว ก็เริ่มล้างเหตุ แห่งกิเลสได้ จะมาจากเหตุ ทางทวารนอก กิเลสก็ไม่เกิด นี่คือ นิโรธของพุทธ ความดับสนิทของพุทธ ต่างจาก การนั่งหลับตาทำดับ เป็นอสัญญีสัตว์ (สัตว์ข้อ ๕ ของสัตตาวาส ๙) ต้องกำหนดรู้กาย และ ต้องมีสัญญา ที่สัมมทิฏฐิ

     ธรรมในธรรม คือผลธรรม ถ้าดับได้สนิท คือนิโรธ คือได้นิพพาน เป็นนิโรธแท้ สัมบูรณ์

     แล้ว สัมมัปปธาน ๔ มี
๑.  สังวรปธาน (เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น)
๒.  ปหานปธาน (เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว) .
๓.  ภาวนาปธาน (เพียรสรรสร้างให้กุศลเกิดขึ้น)
๔.  อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ ไม่ให้เสื่อมลง)

     ก็คือปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นี่แหละ คุณต้องทำในตัวเลย พระพุทธเจ้า เรียบเรียงไว้ ปธานแปลว่า เพียร คุณก็พากเพียรปฏิบัติ เป็นมหาสติปัฏฐาน ที่มีอานาปานสติ เป็นองค์รวมเดียวกัน ไม่แยกกัน ใครแยกปฏิบัติ ก็ซวย

     เมื่อรู้จักสัมมัปปธาน ๔​ ก็ทำต่อ ด้วยความเพียร อิทธิบาท ๔
     คือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อ่านทุกเวลาปฏิบัติ อิทธิบาทต้องเป็นยาดำ ที่ใช้ทุกอย่าง เพราะถ้าไม่มีอิทธิบาท ก็ไม่สำเร็จ ฉันทะอยู่ใน แสงอรุณ ๗ อยู่ในมูลสูตร ข้อที่ ๒ เป็นการจัดแจง ทำให้ใจเรา สะอาดจากกิเลส

     เมื่อปฏิบัติได้ผล ก็จะมี อินทรีย์ ๕ พละ ๕ แล้วจะมีตัว องค์แห่งสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะเกิด คือ การสร้าง สัมมาสมาธิ คือต้องปฏิบัติมรรค ๗ องค์ เป็นเหตุให้เกิด สัมมาสมาธิ เมื่อปฏิบัติ ก็จะมีโพชฌงค์เกิด ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คือสัมโพชฌงค์ มีสติ ที่จะพาไปสู่ การตรัสรู้ โพชฌงค์ คือการตรัสรู้ กิเลสจะลดได้ ต้องมีธัมวิจัย เช่นวิจัยว่า ถ้าเรารีบรวบรัด เอาเข้าสภา แล้วเรามีสส. มากกว่า ก็เอา Majority rule ยกมือชนะ ก็ทูลเกล้า แล้วบอกว่าชนะ นี่ไม่ใช่ธัมวิจัย

     คุณก็วิจัยอย่างอำนาจโลกๆ แต่ที่พ่อครูอธิบายนี้ เป็นอำนาจธรรม คุณก็วิจัยลงใน สติปัฏฐาน ๔ อะไรเป็นกิเลส ก็กำจัด เป็นปหาน ขั้นไหน คุณจะเห็นจริง ถ้าปฏิบัติ ตามพระพุทธเจ้าสอน

     กระทำได้ก็เกิด
สัมมาทิฏฐิ ๖ ที่เป็นอนาสวะ ของ พระอาริยะ
(ทิฐิรอบในที่พัฒนา มีกำลังเข้า โลกุตระ มากแล้ว)
๑.  ปัญญา-รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง (ปัญญา)
๒.  ปัญญินทรีย์ (ปัญญินทริยัง)
๓.  ปัญญาพละ (ปัญญาผลัง) มีพลังงาน static แฝง
๔.  ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค)
๕.  ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ทิฐิรอบใน ที่เจริญขึ้น
๖.  องค์แห่งมรรค (มัคคังคะ) มีพลังงาน Dynamic แฝง

     ที่ได้นี่ ค่าสูงกว่าเพชรนะ ถ้าทำได้ผล คุณจะทำตลอด ไม่กินไม่นอนเลยนะ ไม่ต้องเชื่อใคร แม้แต่อาจารย์ แต่เชื่อผลที่เราทำได้ จะมีกำลังของศรัทธา เป็นสัทธินรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ก็ยิ่งจะเกิดสูงขึ้นๆ จนจบ ก็เป็น สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ เกิดจากมรรคองค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ มีธัมวิจัย ทำให้เกิดนิโรธ

     ทำมรรคทั้ง ๗ องค์ สั่งสมเป็น สัมมาสมาธิ อย่างมั่นคงแข็งแรง นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไร หักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ)

         ทำให้มีผล เกิดฌาน ๑ ก็มีปีติสัมโพชฌงค์ ทำต่อไป ก็จะเกิดความสงบ คือ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ไม่ใช่สงบอย่าง สมาธิหลับตา จะมีความคล่องแคล่วว่องไว ของนามกาย มีกายปาคุญญตา

         กายสักขี ต้องมีสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย พระพุทธเจ้า จึงจะยอมรับ เป็นอาริยบุคคล อย่างบางลัทธิ แก้ผ้าโทงๆ เดินมาในเมือง มีสาวๆ ไปจูบจู๋ฤาษี ไม่มีกระดิก พวกฤาษีของอินเดีย เขามีกายสักขี แต่พระพุทธเจ้า ไม่รับรองเป็นอรหันต์ ต้องมีกายสักขี ทำตามลำดับขั้น ไม่สะกดข่ม จิตไม่มีมุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต ไม่เป็นการปฏิบัติฌาน ไม่มีอุเบกขา ที่มีคุณสมบัติ

๑.      ปริสุทธา  (บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ๕)
๒.     ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
๓.     มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ)
๔.     กัมมัญญา  (สละสลวย ควรแก่การงานอันไร้อคติ)
๕.     ปภัสสรา  (จิตผ่องแผ้ว แจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)  

         ในข้อที่จะเกิด ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ มัคคังคะ นั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ๖ ที่เป็นอนาสวะ ของพระอาริยะ

     ต้องปฏิบัติอย่าง สัมมาทิฏฐิ อย่างลืมตา ทำมรรคทั้ง ๗ องค์ ให้เกิดสัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิที่อยู่ใน องค์ ๖ นี่จะเจริญเป็น ปฏิภาค สัมพัททวี เป็น Procession หรือ Processing ยืนยันว่า ธรรมะมีความสัมพันธ์ ทวนไปมา ซ้อนไปมา สูงขึ้นๆ

     ต้องรู้ว่าอาการอย่างนี้ คือศรัทธา อย่างนี้คือวิริยะนะ แม้ศรัทธา น้อยหรือมาก ก็ต้องแยกแยะรู้ วิริยะมากหรือน้อย ก็ต้องรู้ได้ว่า มันมีน้ำหนัก แตกต่างกันนะ

     หมวดไหน ขึ้นด้วยศรัทธา ก็จะจบด้วยปัญญา เช่น

     ศรัทธาเป็นตัวนิ่งหรือศักย์ ส่วนวิริยะ เป็นพลังงานเคลื่อนไหว เป็นพลังงานจลน์ ยกตัวอย่าง อธิบายชัดๆ

     ส.เพาะพุทธว่า ศรัทธาเป็นฐาน ส่วนปัญญา จะต่อยอดไป ใช่ไหม

     พ่อครูว่า... คันศรเป็นศรัทธา วิริยะคือ สายศรและลูกศร
     สติเป็นตัวรู้ ปฏิบัติ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ได้ผลก็สั่งสมเป็นจิต อัปปนา (แน่วแน่) พยัปปนา (แนบแน่น) เจตโส อภินิโรปนา (ปักมั่น) สมาธิคือ จิตตั้งมั่น สติคือตัวรู้ ตัวทำงาน เช่น ลูกข่าง ยิ่งเร็วยิ่งนิ่ง มีมุทุภูตธาตุ นี่คือคุณสมบัติ สมาธิพุทธ ยิ่งเร็วยิ่งนิ่ง ยิ่งลูกข่าง วิ่งหมุนเร็ว จะยิ่งนิ่งมากยิ่งขึ้น ต้องมีทั้ง ตัวเคลื่อนไหว และตัวเสถียร

     จะต่อด้วย สัมมาสังกัปปะ ๗ สำคัญมาก หากคุณไม่สามารถ อ่านเข้าไปรู้ว่า ทั้ง ๗ ตัวนี้ คืออะไร
๑.ความตรึก (ตักโก)
๒.ความตรึกอย่างแรง (วิตักโก)
๓.ความดำริ (สังกัปโป) --> (เป็นปุญญาภิสังขาร)
๔.ความที่จิตแนบ อยู่ในอารมณ์ (อัปปนา)
๕.ความที่จิตแนบสนิท อยู่ในอารมณ์ (พยัปปนา)
๖.ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (เจตโส อภินิโรปนา)
๗.ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

     ข้อ ๑ ๒ และ ๓ คือลักษณะของ พลังงานจลน์ เป็นตัววิ่ง จิตที่สัมผัสแล้ว จะรู้องค์รวม ต้องมี ญาตปริญญา แยกแยะออกว่า มีกิเลสปนไหม แยกแยะองค์รวม ของจิตได้ มันจะเกิดตักกะ จิตที่รับมา เป็นองค์รวม ก้อนๆนี่ มันมีสังขารไหม เป็นอวิชชาไหม แล้วเราจะให้เกิด ความรู้ หรือวิชชา อย่างไร เห็นตัณหา จับตัณหา (ตัวเคลื่อนไหว)ได้ ซึ่งก็คือ ตัวเดียวกับอุปาทาน (ตัวนิ่ง) ถ้าฆ่าตัณหาได้ ก็กำจัด อุปาทานได้ ฆ่าตัณหา ก็ดับสมุทัย หรือเหตุของทุกข์ ในปฏิจจสมุปบาท

     ให้รู้ว่ามันมีกามหรือพยาบาท หรือวิหิงสา (ตัวละเอียดของ กามหรือพยาบาท) มาปรุงแต่ง ร่วมด้วยหรือไม่ ในองค์ธรรมแรก คือ วิตก (รู้ไตร่ตรอง) รู้พฤติกรรมว่า มันมีเหตุต้อง วิจัยแยกแยะ ที่มันดำริขึ้นมา หรือ ตักกะขึ้นมา

     ส่วนวิตักกะ คำว่า วิ คือตัวสังเคราะห์ วิจัยวิจาร อ่านกิเลสออก กำจัดได้ วิ คำนี้ ก็แปลว่า เก่ง ยอด หรือแปลว่าไม่ ก็ได้ คือดับกิเลสได้ จิตก็หมดกิเลส คือหมดจากกาม พยาบาทได้ จิตก็เป็น จิตปัญญา ที่สะอาดแล้ว จะทำงานผ่านด่าน จิตเจโต ที่ตั้งมั่น แข็งแรง คือ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา (จิตตั้งมั่น ระดับสูง) แข็งแรง อยู่กับกรรม การงาน การประกอบอาชีพ เมื่อกำจัดกิเลสได้ ก็จะเป็น วจีสังขาร ที่ไม่มีกิเลส ตัวปัญญาก็เหมือน ต้นหน ส่วนอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เป็นต้นกล ถ้าปัญญาคือต้นหน มีกำลังเท่าไหร่ ก็สั่งให้ต้นกล ส่งออกไป ถ้าปัญญาแรง แต่ไม่มีแรงส่งออก คือต้นกล เรือก็ส่งออกไม่ไป ก็หมดแรง คือตัวรู้กับตัวแรง ต้องช่วยกัน

     มันมีตัวอนุโลมปฏิโลมด้วย ตัวอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา มีปัญญา อยู่ในนั้นด้วย ก่อนจะออกเป็น วจีสังขาร

     ส.เพาะพุทธว่า... วันนี้เราได้เรียนรู้ ลักษณะของ ภาคปัญญา และภาคเจโต ที่ต้อง ช่วยกันทำงาน ทั้งกัปตันต้นหน) และต้นกลคือเจโต มีความพอเหมาะพอดี เรือก็จะไปด้วยดี

       พ่อครูว่า... ต้องมีสัดส่วนพอดี จึงได้ผล พ่อครูใช้การประมาณว่า ควรได้ผล มากกว่า ๗๐ เปอร์เซนต์ ก็จะทำ ต้องมีสัปปุริสธรรม ๗

     สรุป สังกัปปะ ๗ คือสนามรบใหญ่ ของนักปฏิบัติธรรม จะต้องรู้จักทั้ง ภาคปัญญา และเจโต ช่วยกัน ไม่ใช่ทำดับ สะกดจิตอย่างเดียว ตัวปฏิบัติอย่าง สัมมาทิฏฐิ จะได้ปัญญา และจะได้จิตสงบ เพราะดับกิเลส ไม่ใช่ไปสะกดจิต ให้นิ่งสงบ อย่างไม่มีปัญญา ส่วนความสงบของพุทธ คือกิเลสตาย จับได้ถูกตัว ทำให้มัน จางคลาย และ ดับสนิท ตั้งมั่น แข็งแรง ศัตรูหายไป ไม่กล้าสู้เลย ลูบหัวล้าน ผีนรกได้เลย ผีนรกยอมแพ้ แล้วใช้กิเลสเป็นพลังงานดี ในตัวความต้องการ หรือเจตนา เป็นตัวทำงานด้วย ใช้ช่วยคนอื่น... เป็นความต้องการที่ ไม่มีตัวร้าย คือกิเลสแล้ว พระพุทธเจ้ามี วิภวตัณหา เป็นอากังขาวจร ก็ได้...

จบ

 
๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.