561103_รายการวิถีอาริยธรรม ที่สวนลุมฯ
พ่อครู สมณะโพธิรักษ์
เรื่อง สันติอหิงสาคือธรรมาวุธสุดประเสริฐ

       พ่อครูขึ้นเทศนา หลังจากที่มวลชนที่สวนลุมฯ เดินเท้าไปร่วมชุมนุมที่อุรุพงษ์

       ตอนนี้อาตมาก็จะพูดไป แบบ Unplug ใครจะไปสมทบ ที่อุรุพงษ์ก็เชิญ ส่วนใคร จะอยู่ที่สวนลุมฯ ก็เชิญ ใครจะอยู่ ก็อยู่เพื่อรักษาฐาน ใครออกไปทำงาน ทำหน้าที่ ก็เต็มที่เลย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ หลายคนงง หลายคนไม่รู้ อย่าถือว่า เป็นเรื่องไม่ดี บางคนก็ว่า เราน่าจะรู้ก่อน ก็เป็นอัตตา แม้เราไม่รู้ก่อน ไม่ให้เรารู้ก่อน ก็ถือตัว เขาไม่ให้ ความสำคัญเรา สองอัตตานี้ ตัวสำคัญคือ เราเองแหละ อยากรู้ก่อน ที่ว่าไม่ให้เรารู้ก่อน เป็นอัตตาตัว อวดตัวอวดตน เป็นตัวออกนอกหน้า ส่วนตัวข้างในลึกๆ คือ อยากรู้ เป็นความซ้อน มันไม่ได้รู้ ก็เกิดมานะอัตตา ออกมาว่า ทำไมไม่ให้ข้า รู้ก่อนนะ ถ้าคน ยึดถือมาก ก็ออกมาแรง ส่วนคนไม่ยึดมาก ก็ว่าเราน่าจะรู้นะ ส่วนคนที่ ไม่มีอัตตาตัวแรง ก็แค่มีตัวอยากรู้ข้างใน อำนาจตัวอยากรู้ข้างใน ไม่แรงมาก เป็นอัตตา ชนิดหนึ่ง ที่มีข้างใน

       เมื่อเราทำงานนี้ เป็นเหตุปัจจัย ที่สมควรเข้าท่า สมควร แม้แต่คนที่ ทำงานด้วยกัน ยังไม่รู้เรื่อง เป็นยุทธศาสตร์ ที่ยอดเยี่ยมมากเลย เป็นยุทธวิธี ที่ไม่น่าเชื่อว่า จะเกิดได้เลย หลายคน ทำยุทธการด้วยกัน ก็ยังไม่รู้เลยว่า จะทำอย่างนี้ เราก็ไม่รู้นี่ สิ่งเหล่านี้ มันเกิด ด้วยเหตุปัจจัย อะไรก็แล้วแต่ แต่สุดท้าย เมื่อเป็นมติที่ทำกัน โดยไม่แยก มีเงื่อนไขนี้ว่า ไม่แยก จะจำนน หรือไม่เต็มใจก็ตาม เป็นมติแล้ว ก็ต้องทำด้วยกัน ยิ่งไม่เป็นไร แม้เรา ไม่เห็นด้วย ก็ทำตามไป ก็แล้วกัน เป็นที่สุดแล้วว่า เราต้องทำได้ด้วย ก็ปล่อยวาง ก็ยิ่งดี คนที่ฝืนใจ ทำไป ก็ต้องขอบคุณ แม้จิตฝืน แต่พฤติกรรม ไม่ได้เป็นไปคนละทาง ร่วมมือกัน อย่างปกติ งานก็สำเร็จได้ ด้วยรูปธรรม จะเป็นตัวจริง นามธรรม ก็เป็นของ แต่ละคน ๆ ดูแลกัน ของแต่ละคน ผู้ที่รู้ดีไม่ติดยึด นามธรรมเป็นอย่างไรก็ได้ การทำงานนี้ มันชนะก็ได้ แพ้ก็ได้ ถูกก็ได้ ผิดก็ได้

       มาถึงวันนี้ จะอธิบายผิด ถูก ชั่ว ดี บาป บุญ ให้ฟัง

       ชั่วดีนี้จะแถมกุศล อกุศลเข้าไปก็ได้

       เรื่อง กรรม การกระทำนี่ มันมีอยู่ ๓ เส้าใหญ่ๆ เส้าที่ ๑ คือ ผิดหรือถูก เส้าที่ ๒ ชั่วหรือดี หรือกุศลอกุศล เส้าที่ ๓​ คือ บาปกับบุญ

       กรรมคือการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ เป็นกิริยา คำว่า กายนี้ อธิบายมากแล้วว่า หมายถึง องค์รวม ทั้งรูปธรรมและนามธรรม และหมายหนักไปทาง นามธรรม มากกว่า รูปธรรมด้วย จะขาดจิตวิญญาณไม่ได้

       รูปกาย นามกายนั้น เขาก็แปลกันว่า รูปกายคือภายนอก ไม่มีจิตใจ ส่วนนามกายนั้น เอาแต่นามธรรม ไม่เอารูป อันนี้เป็นการเข้าใจผิด หาทางบรรลุธรรมยาก ไม่มีทางเป็น อรหันต์แน่ จะบรรลุ ก็ได้บางส่วน

       เริ่มตั้งแต่กายนอก เข้ามาเป็นกายใน จากมหาภูตรูป ๔ ในรูปทั้งหมด มี ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔ ตัดออกไป ก็เหลือรูป ๒๔ และทั้ง ๒๔ รูปนี้ ก็ยังเกี่ยวเนื่องกับ มหาภูตรูปอยู่ แต่เราละไว้ ในฐานที่เข้าใจ ต่อเนื่องจาก มหาภูตรูป ก็จะเกิดที่นามธรรม ใน เวทนา สัญญา สังขาร ส่วนวิญญาณ เป็นตัวรวมทั้งหมด ของเวทนา สัญญา สังขาร

       วิญญาณจะสะอาดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ เวทนา สัญญา สังขาร นี่แหละ เมื่อผู้ใด สามารถแยกนาม แยกรูปได้ ก็จะศึกษา องค์ประชุม คือกาย ได้ เป็นลำดับๆไป

       เช่นรู้จัก กายในกาย คำว่า กายคือองค์ประชุม เมื่อเราเห็นแล้ว เราก็ต่อเนื่อง มาสู่จิต สิ่งที่ถูกรู้คือ รูป เราหลับตา มันก็ยังมีสัญญา จำได้อยู่ในใจ เราก็อ่านรู้ อาการของจิต ที่เกิดต่อเนื่องจาก การสัมผัสนอก ตัวรู้ก็คือ นาม ส่วนตัวถูกรู้ ก็คือรูป คนก็รู้กัน อย่างสมมุติ คือรู้ร่วมกัน สัจจะที่สมมุติ คือตั้งแต่สองคน ไปจนถึง กลุ่มชุมชน เรียกว่า สมมุติสัจจะ ก็ต่างกันไปกับ สมมุติของกลุ่มอื่น

       กรรม คือการกระทำ ทำเสร็จก็สำเร็จแล้วทันที ณ บัดนั้น ใครทำ ก็เป็นของคนนั้น ทั้งกาย วาจา ใจ ในใจใครไม่รู้ด้วย ก็เป็นอันทำ ทำแล้วก็ฝังลงที่สัญญา หรือความจำ นอกจาก คุณจะทำลืมๆ ก็ลืมได้เหมือนกัน แต่บางที ความลืมนั้น ที่จริงบันทึกไว้ใน อนุสัยจิต แต่สามัญสำนึกนั้น ไม่ได้บันทึก จิตมี ทั้งจิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก ถ้าคุณไม่ได้เรียน ก็ห้ามไม่เป็นด้วย

       เมื่อทำแล้วก็บันทึกเป็นอัตภาพ ทุกศาสนา มีสัจจะเดียวกัน สัตว์มันไม่ช่างจำ ไม่ช่างพยาบาท ไม่ช่างรักแรง เหมือนกับคน คนนั้น ยึดถือมากกว่าสัตว์มาก จึงทุกข์ จึงลำบากมาก กรรมเป็นอันทำ ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนาไหน มีผลวิบากเดียว ถ้าสมมุติกันว่า กรรมอย่างนี้ ถือว่าผิด ถือว่าถูก ถือว่ากุศล อกุศล ถือว่าดี ถือว่าชั่ว ถือว่าแรง ถือว่าเบา ก็ค่อยทำความเข้าใจกัน

       สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก ทำไปแล้ว ก็สั่งสมวิบากนั้น พระพุทธเจ้า ตรัสชัดเจน ตามภาษาบาลี คือผลวิบาก ที่ทำแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด เรียกว่า อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก ทำกรรมแล้ว ก็สั่งสมอยู่ในอัตภาพ เป็นอัตโนมัติ ถ้าผู้มีอวิชชา อัตภาพนี้ ก็ยังมีสัตว์อยู่

       อุตุนิยาม ยังไม่เป็นชีวะนั้น จะมีพลังงานมากมาย มีฤทธิ์อย่างไร ก็มากมาย ที่เราเอามาใช้นี้ ใช้ไม่หมดหรอก ดวงอาทิตย์ เราเอามาใช้ยังไม่ได้ อีกเยอะ เราใช้ได้ ประมาณหนึ่ง เท่านั้น ที่เกินกว่าที่เราจะเอามาใช้ได้ มีแต่สัญญา กับสังขาร มันมีแต่

       พีชะ มีแต่ สัญญากับสังขาร ยังไม่มีเวทนา กับวิญญาณ กับ พีชะนั้น เคลื่อนที่ไม่ได้ ถ้าเริ่มเคลื่อนที่ได้ ก็เรียกว่าสัตว์ เป็นจิตนิยาม เริ่มมีวิญญาณ

       สัตว์นั้นมีทั้งเวไนยสัตว์ และอเวไนยสัตว์ เวไนยสัตว์ก็แบ่งเป็น โลกุตระ กับโลกียะอีก โลกียะเวไนยสัตว์นั้น อ่านจิตเจตสิกไม่ได้ชัด ไม่รู้จัก การชำระกิเลส รู้แต่ทำกุศล

       ส่วนโลกุตระเวไนยสัตว์นั้น รู้จักบาปบุญ

       โลกียะกับโลกุตระ ต่างกันตรงที่โลกุตระนั้น มีปัญญารู้จัก บาปและบุญชัด

       บุญคือ รู้จักตัวกิเลส แล้วคุณมีวิธีกำจัดกิเลส เมื่อกำจัดกิเลสได้ เรียกว่าบุญ ถ้ากำจัดไม่ได้ ไม่เรียกว่าบุญ คำว่าบาป บุญ คือต่างจากคำว่า ดีชั่ว ถูกผิด

       ผิด ถูกนั้นตื้นกว่าเพื่อน ผิด ถูกคือการกระทำ ไม่ตรงตามที่สังคมนั้นๆ ยึดถือกัน ตั้งแต่หลักเกณฑ์ รัฐธรรมนูญ ไปถึงวัฒนธรรม ที่ยึดถือในสังคมนั้น ที่ยอมรับร่วมกัน ตามที่กำหนดหมายไว้ เรียกว่าสมมุติ แม้แต่อัตรา เลข จำนวน ขนาด แบบ อย่าง ตัว ทาง เป้า ระเบียบ ผัง แผน ฯลฯ ทั้งนั้น ที่จะกำหนดไว้ รับรู้ร่วมกัน

       รับรู้ว่าอย่างนี้ถูก ถ้าทำไม่ตรงนั้น ก็จับผิดจับถูกกัน แม้เรื่องผิดศีล ผิดธรรมก็ตาม คำว่า ศีลธรรม เป็นคำร่วมกัน ระหว่าง จิตวิญญาณแล้ว ศีลธรรม ลึกถึงจิตวิญญาณ เข้าสู่โลกุตระ ที่ผู้ที่จะรู้จัก การชำระกิเลส

       การยึด ผิด ถูกก็ยึดถือกันตามสมมุติสัจจะ จึงถือไม่ตรงกัน ถ้ายึดมากๆ ก็ร่วมอะไร ไม่ได้ คนไม่ยึดมาก ก็ร่วมได้มาก การทำผิด แต่ไม่ชั่วก็ได้ หรือไม่บาป คือไม่ตกนรกได้แน่ ทำชั่วแต่ไม่ตกนรก ทำชั่วทำผิด แต่ไม่บาปได้

       ทำผิด ก็ขัดแย้งกับหมู่กลุ่ม ก็ไม่เรียบร้อย ไม่ราบลื่น ไม่มีพลังร่วม ถ้าทำถูก คนทำถูก ชั่วก็ได้ บาปก็ได้ อย่างทำถูกกฎหมาย ก็ล้างผิดให้คอรัปชั่น ที่บาปอยู่แล้ว ทำผิดศีลข้อ ๒ แต่ทำนิรโทษกรรม ไม่ให้ผิดกฎหมาย ที่ทำกันอยู่ ในสังคมไทย

       ความถูก เป็นความชั่ว เป็นบาปก็ได้ คือตกนรก เสื่อม ตอนเป็นๆนั้น อาจบังคับได้ เหมือนไม่เสื่อม มีอำนาจฝืนได้ แต่ตายไปนั้น ไปตามวิบาก คุณมีวิบาก คือตัวกิเลส จะบงการเลย ตกนรกไม่มีอะไรห้าม ไม่มีอำนาจอะไรห้ามได้ อำนาจตำรวจ ศาลก็ห้ามไม่ได้ ยมบาลจริงๆไม่มี มีแต่สัจธรรม อย่างโลกๆว่า ยมบาลอนุโลมได้ นั้นมันสมมุติเอา ศานาอื่นก็มี อย่างที่สมมุติเขาไป ถ้าจิตคุณมีกิเลส ก็ได้นรก ส่วนถ้าไม่มีกิเลส ก็ได้สวรรค์​

       สวรรค์มีสองแบบ โลกุตระกับโลกียะ สวรรค์มี ๖ ชั้น มีโลกุตระ อยู่จุดเดียวคือ ชั้นดุสิต พระโพธิสัตว์ ตายแล้วไปจุติที่ดุสิตแห่งเดียว ส่วนนอกนั้น ก็กระจายไป

       สงบมีสองอย่าง คืออย่างอวิชชา กับวิชชา การไม่รู้พักยก กับไม่พักยก ก็เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสงบอย่าง โลกุตระนั้นไม่มีเปลี่ยนแปลง สงบนิรันดร์กาล นิจจัง ธุวัง สัสสตัง ฯ

       คนตายไปแล้วตกนรก ไปแต่ทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่ถึงทางเจริญ หมายความว่า หลังจากกายแตกตาย แล้วต้องไปตามวิบาก คุณต้องไปตามวิบาก ตอนคุณเป็น คุณมีอาการ ๓๒ ไว้ห้ามกันไว้ ไม่ให้ตกนรก ให้ขึ้นสวรรค์ได้ แต่ตอน ตายไปแล้ว ไม่มีอาการ ๓๒ ตกนรก ขึ้นสวรรค์ ตามวิบาก

       ผู้หมดเหตุจะบังคับจิตได้ ไม่มีกิเลสมาบังคับแล้ว แต่คนที่ไม่หมดเหตุ ไม่หมดกิเลส ก็จะบังคับจิตไม่ได้ หลังตาย บาปบุญใคร ก็ตกอยู่ใต้อนุสัย ๗ นั้น

       ภูมิแห่งความรู้ ที่สำคัญยิ่งคือ มีกิเลสหรือไม่มีกิเลส เป็นหลัก ถ้าไม่มีกิเลสแล้ว ตายไป จะให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ได้ เรียกว่า ไม่เป็นไปตาม อำนาจโลกีย์ แม้เกิดมา ก็จะมีภูมิธรรม ติดตัวไปตลอด มีตัวอย่างเช่น ในมิคสาลาสูตร หรืออย่าง พระองคุลีมาล ก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไร แต่ว่ามาฟัง ธรรมพระพุทธเจ้า ก็บรรลุได้ อย่างพระพาหิย ทารุจริยะ ฟังธรรม ๔ ประโยค ก็บรรลุอรหันต์ อย่างพระยสะ ก็ฟังธรรมสองกัณฑ์ ก็เป็นอรหันต์ แต่ของพวกคุณ ก็ฟังมาจนหูแฉะ ก็ยังไม่บรรลุ

       มีผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ชื่อมิคสาลา ทีนี้ เพื่อนของพ่อ กับพ่อของมิคสาลา ในชีวิต มิคสาลาก็เห็นว่า เพื่อนของพ่อนี่ ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ยังยินดีด้วยภรรยาตนเองอยู่ ส่วนพ่อนั้น ปฏิบัติด้วยรูปธรรม ด้วยอาการ ไม่เสพเมถุน ไม่เสพอบายมุข ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ดูได้ก็คาดคะเนว่า มีมรรคผล เสร็จแล้ว มีอยู่วันหนึ่ง พระพุทธเจ้า ก็พยากรณ์ว่า ทั้งสองคน ตายไป ก็เป็นสกทาคามี ทั้งสองคน มิคสาลา ก็เลยไม่เข้าใจ เพราะการปฏิบัติ ของทั้งสองคน ต่างกัน ทำไมได้ สกทาคามี เหมือนกัน ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็ได้สาธยายให้ทราบ และว่า เป็นเรื่องของภูมิรู้ ของพระพุทธเจ้า มิคสาลานั้น ไม่สามารถ รู้ได้หรอก ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องของ ภูมิธรรมเก่า ของเพื่อนของบิดา ที่มีของเก่าอยู่แล้ว เป็นสกทาคามี อยู่แล้วนั่นเอง แม้เพื่อนของพ่อ ดูจะประพฤติชั่ว ในสายตาของนาง ก็ตาม

       ชั่วหมายถึง ความไม่เจริญ ทั้งทางสังคมและจิตใจ กล่าวคือ จิตใจเกิดกิเลสก็ได้ ไม่เกิดกิเลสก็ได้ เป็นเรื่องสมมุติ ของสังคม บางคนผิดกฎหมาย ชั่ว แต่จิตเขา ไม่มีกิเลสได้ อย่างอาตมานี่ เขาว่าผิดว่าชั่ว ก็ไม่เถียง แต่ว่าบาปไหม อาตมาไม่บาปหรอก สมมุติว่า จิตอาตมา มีกิเลส แต่ว่าบอกคุณไปว่า จิตไม่มีกิเลส การผิดโดยที่ จิตไม่รู้จริงๆ อันนี้เรียกว่า โมหะ พระพุทธเจ้าไม่เอาผิด แต่มีเวรภัย เป็นมานะ ตัวมีกิเลส แต่นึกว่า ตนเองไม่มี พอผิดสัจจะ ก็จะทำตนผยอง เพราะมีกิเลส ก็จะทำตนไม่สมบูรณ์ ทั้งนอกและใน เกิดวิบากแน่นอน แม้ว่าไม่เจตนา แต่โดยวิบากมันมี แต่ถือว่าผิด โดยสมมุติไหม พระพุทธเจ้าไม่ให้เอาผิด จะอวดอุตริมนุสธรรมอย่างไร ก็แล้วแต่

       บุญคือการชำระกิเลส ชำระจิตสันดาน ให้หมดจด ถ้าเผื่อว่า ผู้ไม่เข้าใจชัดเจน ลึกซึ้ง คมชัดเต็ม ก็เพี้ยน เพราะนัยธรรมะ ของพระพุทธเจ้านี้ คัมภีรา ทุททสา ทุรนุโพธาฯ

       คนนี้จิตสะอาด อย่างถาวร ตลอดกาลเลย เมื่อไหร่ ก็ไม่มีอะไร หักล้างเลย อะไรทำให้เปื้อน ไม่ได้เลย เป็นแล้วเป็นเลย จิตสัมบูรณ์แล้ว คนที่มีจิตอย่าง

       ในโอวาทปาติโมกข์ มีว่าไม่ทำบาปแล้ว แต่ท่านทำกุศล กุศลทำผิดได้ ในสายตา ของโลก พระพุทธเจ้า จึงให้มีสติวินัย อย่าไปเอาผิด กับอรหันต์ ท่านไม่มี มโนสัญเจตนา ที่เป็นอกุศลแล้ว แต่ทำผิดในสมมุติได้ ท่านจะมีสภาพที่ ย้อนแย้ง กับโลกได้ คือสภาพ สัจจะย้อนสภาพ คือ ปฏินิสสัคคะ จะย้อนทวนสวรรค์ เหมือนมีนรก แต่ใจท่าน ไม่ได้มีนรก อย่างพระมาลัย โปรดสัตว์ในนรก อย่างอรหันต์จี้กง ท่านดื่มเหล้า เป็นต้น ท่านไม่ได้ติดเหล้ายา เหมือนพ่อแม่ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง กับลูก ทั้งที่ใจ ไม่ได้สนุก ไปกับลูกหรอก อาจเรียกว่า ปฏิปัสสัทธิ คือสงบ แต่พอทวนแล้ว เหมือนคนไม่สงบ ปฏิสรณะ เหมือนคนไม่มีที่พึ่ง แต่ที่จริง มีที่พึ่งแล้ว

       ส.เพาะพุทธว่า เป็นอรหันต์ทำผิดได้ แต่ขอบเขตที่ผิด จะผิดเล็กๆ น้อยๆ อย่างพระนี่ มีอาบัติระดับต่างๆ แต่คิดของผมเองว่า อรหันต์จะไม่ผิดหนักแน่

       พ่อครูว่า ท่านรู้แล้วว่า สมมุติเป็นอย่างไรในโลกนี้ ท่านจะไม่ผิด คุรุกาบัติ (อาบัติหนัก) ไม่สังฆาทิเสส หรือปาราชิก เพราะผู้สามารถรู้รูป ๒๘ ได้ ซึ่งรูป ๔ นั้น เป็นมหาภูตรูป เหลืออีก ๒๔ เป็นอุปาทายรูป

       [40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาท สำหรับรับอารมณ์)
1. จักขุ (ตา - the eye)
2. โสต (หู - the ear)
3. ฆาน (จมูก - the nose)
4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
5. กาย (กาย - the body)

ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ )
6. รูปะ (รูป - form)
7. สัททะ (เสียง - sound)
8. คันธะ (กลิ่น - smell)
9. รสะ (รส - taste)
0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ข้อนี้ไม่นับ เพราะเป็นอันเดียวกับ มหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้ว ในมหาภูต

ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ) หยิน หยาง
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย - masculinity)

ง. หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind) (แปลตามทั่วไปตามพจนานุกรมประมวลศัพท์ฯ)
12. หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ – heart-base) ซึ่งแปลแบบนี้ จะผิดสัจจะ ที่จริงคือ ไม่มีที่ตั้ง เป็นหลักแหล่งหรอก แต่ว่ารู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส เป็นนามธรรม

จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต)
13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)

ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร)
14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน) พ่อครูว่า ที่จริงหมายถึง อาหาร ๔ ทั้งหมด

ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ)
15. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง )

ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมาย)
16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย ด้วยกาย)
17. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย ด้วยวาจา)

ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลง ทำให้แปลก ให้พิเศษได้)
18. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา - lightness; agility)
19. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
20. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
0. วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.

ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการ เป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
21. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration) คือเจริญ
22. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
23. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay) ความเสื่อม
24. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)

           ผู้อรหันต์จะรู้จัก ทำความเที่ยงได้ โดยจัดการกับ จิตของตน จะให้อุปจย หรือ ให้ชรตาได้ พระอรหันต์ จะไม่ทำให้เสื่อม แต่จะทำให้เจริญ จิตคุณเที่ยงแล้ว ก็สามารถ ให้มันเกิด ในทางเจริญ ไม่ให้เกิด ในทางเสื่อมได้

           ส.เพาะพุทธว่า คนที่เข้าถึงโลกุตระธรรม ก็สามารถควบคุมภาวะ หลังตายได้

           พ่อครูว่า ไม่ต้องควบคุม เพราะไม่มีกิเลสแล้ว

           คำว่า กายนี้ต้องไม่เข้าใจว่า เป็นแค่ร่าง เท่านั้น คนที่เรียนผิด เข้าใจว่า กายมีแต่โครงร่าง พอไปนั่งสมาธิ ก็ไปเข้าใจ ไปเห็น เทวดา ผี เป็นรูปเป็นร่าง ความเป็นจริงนั้น มีแต่อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ที่เป็นตัวแท้ ให้พิจารณาตัวนี้ ส่วนโครงร่างนั้น อย่าไปยึดติดมัน ก็เลยยึดอยู่แค่นั้น ศึกษาแต่เทวดา เป็นรูปร่าง ที่ปั้นเอาเอง จำได้ก็ปั้นเอา หรือจำไม่ได้ ก็ปั้นเอาเองก็ได้

           ส.เพาะพุทธว่า เมื่อเราได้ผัสสะ จะมีความรู้สึก ชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ แต่วันนี้ เราได้รู้เรื่องอกุศล กุศล เรื่องผิด เรื่องถูกด้วย ซึ่งเรื่องที่ต่ำสุด คือเรื่องสมมุติสัจจะ คือผิดถูก ส่วนบุญบาปนั้น อยู่ที่การเพิ่ม หรือลดกิเลส พระอรหันต์ หมดบาป บุญ แล้ว แต่คงไว้ซึ่งกุศล

           ส.เพาะพุทธว่า ตอนนี้ผู้ชุมนุมของสวนลุมฯ เดินไปรวมกับที่อุรุพงษ์แล้ว คนแน่นมากเลย

           พ่อครูว่า... วันนี้ธรรมะลึกซึ้ง วันนี้ ใครเข้าใจได้ ก็อนุโมทนา ใครเข้าใจไม่ได้ ก็เอาไว้ก่อน แต่เหตุการณ์วันนี้ เป็นเรื่องไม่เจตนา คนทำอะไรไม่เจตนา แต่ลึกๆ มีเจตนาดี เป็นเค้าเป็นตัว สสังขาริกัง เป็นตัวนำพา อยู่ลึก ส่วนเจตนา วางโครงการ เราไม่วางไว้เลย แต่มีเจตนาดีอยู่แล้ว เมื่อหลายหัว มารวมกันคิด ยิ่งปัจจุบันธรรม ทำอย่างไรดี คนมาเยอะๆ จะทำอย่างไร ไขความลับให้ฟัง

           เราตั้งใจว่า จะให้คุณจำลอง เป็นหัวหน้าในการชุมนุม ก็ตกลงกัน แล้วคุณจำลอง ก็ได้ไตร่ตรองแล้วว่า อย่าแสดงตัว เป็นผู้นำเลย เป็นความละเอียดละออ ของคุณจำลอง ทำอย่างแหลมลึก และซื่อด้วย และบอกคนไม่เป็น เป็นสายเจโต ไม่ใช่สายปัญญา ก็ทำด้วยความจริงใจ แต่มีปัญญา เขาทำด้วยใจ ของคุณจำลองด้วย

           คบกับคุณจำลอง มาแต่ ปี ๒๕๒๒​ เป็นยังเติร์กอยู่ ก็รู้จักกันมา นานพอสมควร ก็ยืนยันว่า คุณจำลอง เป็นคุณจำลอง ตามชื่อเขา จำลองแปลว่าโมเดล ไม่ได้อยู่ตายตัวนะ พัฒนาโมเดลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ไปเรื่อยๆ ก็เจริญมา แต่ก่อนสะสม บ้านช่องเรือนชาน แต่เดี๋ยวนี้ ไม่มีแล้ว

           คุณจำลองเป็น A Best Model เป็นหนึ่งในโมเดล ที่ดีที่สุด ในยุคนี้ คุณจำลอง ประพฤติตอนนี้  เชื่อเถอะว่า ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดี ขอยืนยัน แต่ว่าคนเข้าใจไม่ได้ อาตมาเข้าใจได้ แต่ขยายความยังไม่ครบหรอก ก่อนเหตุการณ์นี้ ก็ให้ว่าจะอธิบายเรื่องนี้ แต่ว่ามีเหตุการณ์ เปลี่ยนก่อน เห็นว่าเป็น accident good luck อย่างหนึ่ง ที่เกิดเหตุการณ์นี้

           วันนี้ ที่เกิดมันมีการคุยกัน มีการตกลงกัน ปรึกษาหารือกัน พอสมควร ไม่ใช่เรา ทำงานโดดเดี่ยว เอาแต่ใจ เราทำอย่าง จริงใจกัน เสนาธิการฯ ก็มีใจมาทำ คุณจำลอง ก็มีใจมาทำ จุดหมายเดียวกัน แต่ความเห็น ก็ต่างกันบ้าง เป็นของดี เป็นความหลากหลาย แล้วเรามาพิจารณาว่า จะเอาอะไรดี

           คุณจำลอง ได้รับปากแล้ว ก็เปลี่ยนแปลงอีก ไม่ใช่ว่าคุณจำลอง ไม่อยู่ในร่อง ในรอย แต่ที่เปลี่ยน เพราะมีน้ำหนัก ของความเห็น ของตนที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เรื่องกลับกลอก แต่มีข้อมูลใหม่ ที่สดใส ที่ดีกว่า อย่างมั่นใจ ไมใช่เรื่องเจตนา กลับกลอก ซ่อนแฝง เป็นเรื่องลึกซึ้ง ก็พูดได้ประมาณนี้ อาตมาไม่เป็นคน ชอบยกย่องคน ที่พูดนี้ ไม่ใช่มายกย่อง แต่ปัจจุบันนี้ ก็เป็น A Best ใครจะเข้าใจได้อย่างไร ก็แล้วแต่

           เมื่อคุณจำลอง รับปากว่า จะมาร่วม วันนี้ก็มาแล้ว แต่เดิมรับปากว่า จะประกาศ แต่ว่าในที่สุด ก็ไม่ประกาศเป็นผู้นำ แต่ว่าขอเป็นผู้ตาม ไปกับเขา เอาง่ายๆ เพราะมันมี หลายกลุ่ม พอไปรวม กับทางโน้น ก็จะไปใหญ่ ไปเบ่ง ก็ไม่ดี แต่ตอนนี้ ไปรวมกัน ก็ไม่มีคนไปเบ่งใหญ่

           เรื่องนี้ที่กำลังทำงานกัน ทุกอย่างดำเนินไป อย่างเคี่ยวข้น และคลี่คลาย และมีอะไร กำลังสะสาง ที่สื่อนี้ ก็ยังสื่อสภาวะไม่หมด แต่ก็พอสื่อได้บ้าง มีลักษณะดีขึ้น แต่ก็ทำให้ใจ ระทึกขึ้น พอสมควร แต่มีอะไรดีขึ้น หลายอย่าง แต่ไม่พูด ในนี้มีคนที่ห้า มาด้วยนะ มาบันทึกเทป ทั้งภาพและเสียงอยู่นะ แต่ว่าเราไม่ได้มี ความลับอะไร มั่นใจว่า ไม่ได้ทำสิ่งเลว ถ้าผิดพลาด ก็ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว

           ที่บอกว่าคลี่คลาย แม้การเคลื่อนไหว จากที่มั่น เป็นวิธีการ ให้เกิดการกดดัน ในการประท้วง ถ้าอยู่กับที่ คนเขาไม่กลัว แม้มากเท่าใด แต่ถ้ามาก เขาก็กลัว คือเขากลัวว่า จะเคลื่อน ถ้าเต็มสวนลุมฯ แต่ไม่เคลื่อน เขาก็ไม่หวั่นไหว ถ้าคุณมัวแต่ อยู่บ้าน ในที่สุด คุณก็จะไม่มี แม้แต่บ้านอยู่

           ที่เกิดการเคลื่อน ทำให้เกิดปฏิกิริยา ศัตรูข้าศึก จะต้องคิดว่า เราเคลื่อนไปไหน เร็วไว ทุ่มโถมอย่างไร แล้วมา มีอาวุธมาหรือเปล่า พวกเราอาจไม่มีอาวุธไปเลย แต่เขาเชื่อไหม? เรากำชับไว้แล้วว่า ให้เอาอาวุธไป แต่จะออกอาวุธผิดไหม อาวุธเราคือ อหิงสา สงบ ถ้าใช้บุญญาวุธ อันนี้สำเร็จนะ ชนะเลย

           ถ้าสมทบกับที่อุรุพงษ์ จะมีเท่าไหร่ก็ตาม อาจไปยืนหลับนกกันบ้าง แต่ก็น่า จะคลี่คลาย เพราะสิ่งเหล่านี้ กระทบจิต ทั้งรูปธรรม และนามธรรม จะมีใครหวั่นไหวนะ

           เหตุการณ์ที่เกิดตอนนี้ ใช้คำว่า “งาม” ได้ เพราะยังไม่เคยเกิด แต่ก็เกิดได้ ยังเหลือแต่ว่า ด้านที่เขาจะจัดการ เขาจะทำอย่างไร ก็ดูไป Go on and see out สิ่งเหล่านี้ เป็นการชี้บ่งว่า ดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ขอให้ใจเรา เจตนาดี ปรารถนาดี เราไม่ได้ปรารถนา เพื่อตนได้ลาภยศ สรรเสริญสุข มาลำบากแน่นอน พยายามวางใจ ในกายิกทุกข์ ใจเราวางแล้ว ทนได้โดย ไม่ยากไม่ลำบาก ตั้งใจอย่าติดยึด

           ความจริงใจของฝ่ายโน้น มีส่วนหนึ่ง แต่มีความไม่จริงใจมาก มีคนแฝง โลกธรรมมาก แต่พวกเรา มีผู้แฝงโลกธรรมน้อย แต่มีคนจริงใจ เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ มากกว่า มั่นใจเลย เพราะฉะนั้น ทำไปเถอะ สัจธรรมยืนยัน ถ้าไม่มีกิเลส ก็ไม่บาป ใครจะมีแฝง ก็ของใครของมัน ถ้าไม่มีแฝง งานนี้ไม่ได้ทำเพื่อลาภยศ สรรเสริญอยู่แล้ว คนที่จริงใจอุตสาหะ และมีความมุ่งมั่น มามากพอ ก็ชนะประตูเดียว

           ในรายการสงครามสังคมฯ มี sms ว่า เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ในขณะที่เรา ไม่ได้หวังว่า จะได้โลกธรรม เราก็ไม่ต้องทุกข์ กับการเสื่อมโลกธรรม ไม่ต้องรู้สึกสูญเสีย เพราะเราไม่หวังว่า จะได้แล้ว

           อีกประเด็นที่คนสงสัย ถามมาว่า งานทอดกฐิน กับงานชุมนุม อันไหน จะได้บุญ มากกว่ากัน
           ส.เพาะพุทธว่า... การทอดกฐินปัจจุบัน ไม่ได้บุญทางพุทธศาสนาแน่ แต่การออกมา ชุมนุม เพื่อบ้านเพื่อเมือง เป็นบุญกว่าแน่นอน

           พ่อครูว่า... การทอดกฐินทุกวันนี้ คือการทอดกระทะทองแดง ให้แก่นรก เป็นกระทะ ทองแดง ที่ทั้งร้อนและใหญ่ บางสำนักว่าให้ทำ ไม่ต่ำกว่าร้อยล้าน ถ้าต่ำกว่านี้ ไม่เป็นมาตรฐานนะ บางสำนัก ตั้งไว้ ๑๐ ล้าน สำนักเหล่านี้ ล้วนสร้าง กระทะทองแดง ให้ตน ตกนรกหมกไหม้แล้ว

           ส.เพาะพุทธว่า ที่จริงเรื่องกฐิน คือการร่วมกันทำผ้า ของพระ เอาผ้ามาต่อกัน ไม่มีเรื่องของโยม มาเกี่ยวเลย

           พ่อครูว่า ..แม้แต่ผ้าป่า ก็ไม่ใช่เรื่องของโยมเลย เป็นเรื่องของพระล้วนๆ ….

           ตอนแรกว่า จะใช้คำว่า A Best Idol Model แต่มีคนท้วงว่า คำว่า Idol เป็นตัวอย่าง ของดารา ใช้กัน แต่ว่าบางคนก็ว่า คำว่า Idol นี้เป็นคำที่ใช้กับคน ที่เป็นตัวอย่าง สูงสุดแล้ว ตกลงก็เลยใช้คำว่า A Best Idol Model หรือ A Best Model ก็ได้

           ส.เพาะพุทธว่า... จริงๆวันนี้มีคุณจำลองตามไปด้วย ก็ทำให้รู้สึกดี มิใช่น้อย....

จบ  

 
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ สวนลุมพินี กทม.