_ 561204_ภาคค่ำมัฆวาน พ่อครู อ.สมศักดิ์
เรื่อง จรณะและฌานผ่านมาตรา ๗

 

        สิ่งที่ควรจะได้ในชีวิตของมนุษย์ คือธรรมะ จะว่าอาตมาหลงธรรมะก็ได้ บางคน ก็อาจคิดว่าชีวิตเรา ก็ชั่วบ้างดีบ้าง มีธรรมะบ้าง อธรรมบ้าง หลายคนก็ได้ธรรมะ คือ ไม่ชกต่อยใคร หรืออาจลึกซึ้งขึ้น ไม่ได้โกงใคร เราก็มีสติ สัมผัสอย่างนั้นอย่างนี้ ก็รู้ตัว แต่ว่า... รู้ไหมว่าที่ทำนี้ บำเรอกิเลส อยู่ตลอดเวลา คนที่บำเรอกิเลส ก็ไม่มีความเบิกบาน ร่าเริง ถ้าใครไม่กังวล กับความร่ำรวย ไม่หิวโหยกับความบันเทิง ไม่อยากเป็นใหญ่ เป็นโต ไม่มีปัญหากับความเครียด ชีวิตจึงไม่ขาดแคลน ความเบิกบาน 

        พระพุทธเจ้า ท่านไม่พาไปร่ำรวยจริงๆ มีชีวิตไปธรรมดา ไม่ต้องไปร่ำไปรวย แต่อย่างใด คนที่เข้าใจจริงๆ แล้วปฏิบัติ จนเปลี่ยนชื่อเป็น ตั้งใจจน มุ่งมาจน จนดีจริง และอื่นๆ อีกสารพัดจน คนตั้งคนแรก ก็เป็นต้นสกุล คนอื่นมาขอ ก็ให้ต่อไป ก็เป็นคนที่จน ตระกูลต่างๆ ตอนนี้อาจได้สัก ๒๐ จนแล้วนะ หรือจะมากกว่า ก็ไม่รู้ การเปลี่ยนนามสกุลนั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรามาเป็นแบบคนจน ตามพระราชดำรัส ในหลวง จนมีชีวิต เป็นคนจนจริงๆ ไม่ไปแย่งร่ำรวย คนที่จะมาจน ไม่แย่งใคร แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะพอ ไม่ต้องทำงานการ ไม่ขยันหมั่นเพียร หรือ งอมืองอเท้า ขี้เกียจ ไม่พัฒนาตน ให้มีสมรรถนะ สามารถ ความรู้ต่างๆ ให้ขยันหมั่นเพียร เพิ่มขึ้น อย่างนั้นไม่ใช่ เราก็ก็พยายาม ศึกษาความรู้ ขยันเพิ่มขึ้น แต่เราไม่บำเรอตัวตน ไม่ใช้จ่ายมาก เราไม่หลงบำเรอ หลงบันเทิงเริงรมณ์

        แล้วเราเรียนรู้ ที่จะเลิก ก็อดทน และพิจารณาว่า มันไม่จำเป็นอะไร จิตเราเคย อยากร่ำรวย อยากเป็นใหญ่เป็นโต ที่เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ในการสัมผัส ลีลาต่างๆ ที่เขาสมมุติขึ้น เราก็เลิก เลิกแล้วกลับเป็นคน มีประโยชน์ต่อสังคม อย่างยิ่ง

        คนเรามีเสพสองอย่าง คือเสพสุขใน กามและอัตตา ที่ท่านใช้คำว่า อัตตกิลมถานุโยค คือพากเพียร ให้ได้อัตตาแก่ตน อย่างเป็นความลำบาก หรือ กามสุขัลิกานุโยค คือ พากเพียร หากาม ที่เป็นสุขเท็จ เป็นสุขที่ไม่จริง บำเรอตน ทางทวารทั้ง ๕ เป็นกามคุณ ทั้งหมดเป็นสุขเท็จ หลอกตนเอง ทั้งสิ้น ถูกหลอกทั้งสิ้น เป็นของปลอม เป็นอุปาทาน ทั้งสิ้น เสร็จแล้ว ก็ยึดติดว่าเป็นจริง ไปหลงสิ่งไม่จริง เมื่อปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้า มาลดละ เป็นพระอาริยะ

        โสดาบันก็ลดละอบาย สิ่งหยาบต่ำ สิ่งที่โง่หลงเป็นโมหะ เราก็ลดละได้ แต่ในโลก มันก็มีอยู่ร่ำไป จัดจ้าน เข้าหากลียุคไม่หยุด แต่ผู้ที่หยุดแล้ว ไม่สุขทุกข์กับมัน เป็นอุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ได้ ไม่มีรสโลกีย์ได้ เป็นสภาพอาการนิพพาน เป็นนิพพาน เพราะรสสุขนั้น มันไม่มี เป็นเรื่องของอวิชชา คนที่มีวิชชาแล้ว ก็เห็นจริง เป็นความรู้ ของแต่ละคน

        อ่านจิตใจของตนเอง ที่แต่ก่อน เราไปหลงเสพสัมผัส แล้วเกิดอาการสุข เช่น กินได้ดมได้ หอมได้สูด ได้ดื่ม มันมีชอบกับชัง มีผลักกับดูด มีสุขมีทุกข์ แต่ผู้ที่หลุดพ้น ไม่มีทุกข์มีสุข กับสิ่งเหล่านั้น แต่เขาก็มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ อะไรเป็นเครื่องใช้สอยก็ใช้ แต่เราไม่สุข ไม่ทุกข์อะไร ตั้งแต่อาหารการกิน ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ติดยึดกันมาก ล้างได้ยาก แต่เรียนรู้จริงแล้ว จะเลิกละได้ ถ้าใครเรียนรู้ เรื่องอาหารนี่แหละ เรียนรู้ ให้รู้ความจริง ตามความเป็นจริง สัมผัสแต่ไม่มีสุขทุกข์ เพราะเราไม่หลงว่า สิ่งเหล่านี้ ก่อสุขทุกข์ เราก็รับรู้ว่า ธาตุมันเป็นอย่างไร มันมีรูป เสียง กลิ่น รส อย่างไรตามจริง อารมณ์เรา ไม่สุขทุกข์เลย คนที่เคยติดยึด ในสุขทุกข์ ถ้ามันไม่มีรสอย่างเดิม ก็นึกว่า มันคนแห้งเหี่ยว จืดชืดนั้น เปล่าเลย มันกลับโล่งโปร่งสบาย ถ้าร่างกาย มันต้องอาศัย เช่นถ้าหนาว ก็ต้องการอบอุ่น สัญชาติญาณ ก็ต้องการตามธรรมชาติ เราก็มีได้ อย่างไม่ได้ติดยึด มีปัจจัย ๔ ข้าว ผ้า ยา บ้าน และบริขารอื่นๆ เราก็ใช้ อย่างไม่ยินดียินร้าย เราก็ใช้ตามนั้น ชีวิตก็ไม่ต้อง ไปขึ้นลง กับสิ่งเหล่านั้น ไม่ต้องสุขทุกข์ กำลังพลังงาน เราก็ไม่ต้องไปเสีย กับสิ่งเหล่านั้น เราเสียพลังงานไปกับ การสุขทุกข์ ไปสปาร์คเยอะ

        พระพุทธเจ้า สอนเป็นหลักวิชาไว้ สมาธิ ก็ดี ฌานก็ดี ไม่ต้องไปทำนอกรีต เช่น ทำสมาธิ หรือฌาน ก็ไม่ต้อง ไปนั่งหลับตาสะกดจิต สมาธิหรือฌาน ก็เกิดจากการทำ จรณะ ๑๕ ให้ปฏิบัติ จรณะ ๑๑ ข้อแรก ก็จะเกิดฌาน ไม่ต้องไป นั่งหลับตา แต่ทำจรณะ จะเกิดฌาน แล้วทำมรรคทั้ง ๗ องค์ ก็จะเกิดสัมมาสมาธิ

        จรณะ ๑๕ นั้นจริงๆแล้ว ปฏิบัติแค่ ๓ อย่าง อปันกปฏิปทา ๓ ข้อ แปลว่า การปฏิบัติที่ไม่ผิด ถ้าทำได้ เข้าใจชัด ทั้งโสดาฯสกิทาฯ อนาคาฯอรหันต์ ก็ทำ ๓ ข้อนี้ โดยมีศีลเป็นกรอบ

        โสดาบันก็ศีล ๕ จะเกิดอินทรีย์พละ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

        ฌานแปลว่า ไฟเผากิเลส ทำฌานแล้ว จะเกิดปัญญาอีก ๘ คือวิชชา ๘ ทำวิชชา จรณสัมปันโณ ธรรมะพระพุทธเจ้าก็คือ วิชชาจรณสัมปันโน แต่ศาสนาพุทธนั้น เพี้ยนจนไม่เรียน จรณะ ๑๕ ก็ไปเรียน ฌานนอกพุทธ ไปหลับตาสมาธิ แต่ฌานของพุทธ ต้องเกิดจาก การทำจรณะ

        อปันกปฏิปทาคือ สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ

        สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ มีรับรู้ทั้งทวาร ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เมื่อมีการสัมผัส รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นามคือตัวรู้ รวมองค์ประชุม ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และทวาร ๖ ที่รับรู้ ถ้านามของคุณ ไม่ไปรับร่วมรู้เลย มันก็ไม่รู้

        แต่คนอวิชชาก็รับรู้ แล้วมีกิเลสเก่า ไปปรุงร่วมด้วย สัตว์เดรัจฉาน ไม่โง่ปรุงแต่ง อย่างคน คนโง่กว่าสัตว์ ตรงจุดนี้ ที่ปรุงแต่ง เพิ่มกิเลสให้ตน อยู่ตลอดเวลา คนที่จริง ฉลาดกว่าสัตว์ แต่โง่ตรงจุดนี้ จึงทุกข์กว่า เดรัจฉาน

        องค์ประชุมที่รับรู้ทั้งรูปและนาม เรียกว่า “กาย” คำว่า กายคือองค์ประชุมที่รับรู้ เช่น ตาสัมผัสรูป ก็มีการรับรู้ คำว่ากายนี้ เน้นไปที่การรับรู้ มากกว่ารูปนอก

        เมื่อตาเราสัมผัส หรือไม่สัมผัสอยู่ แต่เราละจาก ความรับรู้ภายนอก แต่เราไปรับรู้ ภายใน ปรุงแต่งเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอยู่ภายใน ทั้งที่ตอนนั้น เราไม่มีการรับรู้ ภายนอกแล้ว จิตเราที่ไปรับรู้ที่เราปรุงแต่งภายใน ก็คือนามกาย

        สำรวมอินทรีย์ รับรู้ทางทวาร ๖ แล้วก็มีสติ รับรู้ใจเรา ให้เรียนพวกนี้แหละ เรียนรู้ให้จริง เห็นความไม่เที่ยง มันพาเราสุขทุกข์ แม้ขณะสัมผัส มันก็ไม่เท่าเดิม ไม่เที่ยง กิเลสเรา ก็ไม่หายไป ได้เสพก็หายทุกข์ หายสุข แล้วก็หมุนเวียนไป อยากได้อีก อยากเสพอีก แล้วได้มา ก็หยุดพักยก แล้วก็อยากใหม่ ไม่หยุดถาวร แล้วไม่ได้ล้างกิเลส ที่ตกผลึก เป็นอุปาทาน แล้วนอนเนื่อง เป็นอนุสัย แม้สัมผัส หรือไม่สัมผัส ก็ปรุงสุข เป็นรากความยึดติด ฝังรากอยู่เป็น อนุสัยอาสวะ ถ้าล้างไม่หมด ก็ยังหลงสุขทุกข์ เป็นทาสกิเลสไป ไม่รู้กี่กัปป์กี่กัลป์

        การปฏิบัติ สำรวมอินทรีย์ ก็เพื่อศึกษากิเลสพวกนี้

        โภชเนมัตตัญญุตา ก็เอาเรื่องอาหาร ที่จริงอาหารนั้น พระพุทธเจ้าสอน อาหาร ๔ คือ ( กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ) แต่แค่กวฬิงการาหาร ก็ไม่เรียนรู้ เราต้องเรียนรู้การสัมผัส ใน รูป กลิ่น รสของมัน ถ้าไม่สัมผัส ก็ไม่เกิดรส จึงต้องมีผัสสะ สัมผัสอาหาร แล้วคุณก็มีมโนสัญเจตนา มุ่งหมายอยู่ ว่าอย่างนี้อร่อย อย่างนี้ชอบไม่ชอบ ตัวนี้แหละ พาสุขทุกข์ แล้วคุณไม่เรียนรู้มัน ก็ปล่อยให้มัน สุขทุกข์ร่ำไป เวลาสัมผัส อวิชชาก็พาสังขาร เป็นวิญญาณผี เทวดาปลอมๆ

        ให้เรียนรู้กำหนด พอสัมผัสเกิดอายตนะ แล้วเกิดวิญญาณ เรียกว่า ผัสสะ ๓ ต้องอาศัยวิญญาณในการเรียนรู้ อาหาร ๔ เราเรียนรู้อาหาร ทางคำข้าว ทางปากนี่ รวมหมดแล้วทั้งรูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส แต่ตัวเสียงไม่ค่อยมี ก็มีว่า กินข้าว เคล้าเสียงเพลง เอาเสียงมาล่อ มาเรียนรู้ว่า หลงสุขทุกข์อย่างไร

        ชาคริยานุโยคะ คือตื่นรู้จากสิ่งที่โง่ ตื่นรู้จากโลก มารู้ความจริง เรากำหนดได้ มีสติมันโต ถ้าไปนอนหลับฝันไป คุณกำหนดฝันไม่ได้ แต่คุณตื่นลืมตา คุณกำหนดได้ ให้เรียนรู้อย่างมีสติ กำหนดได้ อย่างลืมตา นี่แหละ กำหนดได้ ว่าจะเอาหรือไม่เอาได้ แต่ตอนหลับฝันๆไม่ตื่น คุณกำหนดไม่ได้ จึงให้กำหนด อย่างเป็นๆ ถ้าเก่งแล้ว ก็ไปกำหนด ในตอนหลับได้ นั่นแหละคือสมาธิ ฌาน ที่อยู่ข้างใน กำหนดตอนหลับ ยากกว่า ตอนตื่น ให้ตื่นรู้ แม้ตอนนอนหลับ ส่วนอาจารย์ทั้งหลาย สอนว่า อย่าไปติดหลับ ติดนอน ก็เป็นเบื้องต้น นอนพักผ่อน ตื่นแล้วก็มาเพียรต่อ

        ผู้ใดเรียนรู้ แล้วก็ตื่น แม้นอนหลับตา ก็กำหนดได้ ถ้าฝึกสมาธิหลับตา ให้ทำตั้งแต่ ลืมตากำหนด แล้วจะทำตอนหลับได้ เป็นขั้นตอน ราบลื่น เหมือนฝั่งทะเล

        ๓ อย่างนี้ ทำแล้วจะเกิด สัทธา ๗ อยู่ในข้อ ๕ ถึงข้อ ๑๑ ของจรณะ ๑๕
๑.     ถึงพร้อมด้วยศีล                   ๐๙. ปรารภความเพียร               
๒.     คุ้มครองทวารอินทรีย์         ๑๐. สติอันเป็นอาริยะ
๓.     ประมาณในโภชนา             ๑๑. ปัญญา
๔.     ประกอบความตื่น              ๑๒. ปฐมฌาน 
๕.     ศรัทธา (เชื่อมั่น)                ๑๓. ทุติยฌาน
๖.     หิริ (ละอายต่อบาป)            ๑๔. ตติยฌาน
๗.     โอตตัปปะ (สะดุ้งบาป)     ๑๕. จตุตถฌาน
๘.     แทงตลอดในพหูสูต           (ล.๑๓/๓๔)

        ฌานของพุทธ ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาทำ สมาธิของพุทธ ก็ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาทำ ธรรมะ คือสิ่งทรงไว้ คนที่จะไปทำงานการเมืองดี คือคนมีจิตเป็นธรรมะ ศาสนาพุทธ ไม่ใช่ศาสนาที่ พาหนีสังคม เข้าป่าเขาถ้ำ แต่ว่าเป็นศาสนา ที่อยู่กับสังคม และทำงาน ที่จำเป็น แก่สังคม รับผิดชอบ ทำงานที่ดี แก่สังคม เป็นสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ธรรมะ จึงอยู่กับสังคม ไม่ได้ตกจากรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ด้วย แต่รู้ดี เรียนรู้อยู่กับ สังคม และช่วยสังคมอยู่
       

.สมศักดิ์ เธียรจรูญกุล

        มาตรา ๗ นั้นทำได้ แต่ที่ว่าไม่ได้นั้น เพราะนักการเมือง ไม่ยอมให้ใช้ การที่บอกว่ายอม แล้วตั้งเงื่อนไขนั้น ไม่ใช่การยอม แต่เป็นการรุก อย่างหนึ่ง  มวลชน ระดับ ล้านคนนี่ ไม่มีรัฐบาลไหน กล้าชน เขาถึงใช้วิธีหลบ แล้วอ้อมไปข้างหลัง แล้วให้มวลชน อ่อนล้า แล้วพยายาม ให้มวลชนแตกแยก ให้บรรดาเหล่าทัพ ทำเป็นคนกลาง แล้วทำท่ายอม ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอม ก็จะดูไม่เป็นธรรม โดยมีผบ. เหล่าทัพ เป็นกรรมการ

        ต้องพูดว่าเขาไม่ได้ถอย แต่เขากำลังรุก

        เขาอ้างว่า การใช้ม.๗ นี้ใช้ไม่ได้ ต้องผ่านมาตรา ๓ ให้ผ่านรัฐสภา

        ม.๗ นี้ ถ้าจะใช้จริงๆแล้วใช้ได้ (พ่อครูว่า รัฐธรรมนูญนี้ แต่ละข้อออกมา ก็ต้องออกมา ให้ใช้ได้ แล้วม.๗ นี่ ก็ต้องใช้ได้ แต่เขาว่า คำว่าประชาชนปฏิวัติ ไม่มีเขียนไว้ เป็นอักษร ในรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเนื้อหานั้น ให้ใช้ได้ เมื่อไม่มี ก็ให้ทำตาม จารีตประเพณี)

        ทางฝั่งรบ. หลายๆคน ก็เป็นนักกฏหมาย ที่ว่าใช้ไม่ได้ มันอยู่ที่ใครสั่ง ถ้าคุณ ทักษิณบอกว่าใช้ได้ เขาก็จะใช้ได้ เขาอ่านเยอะ เรียนรู้เยอะ อยู่ที่จะเอาไปใช้ ทำอะไร ที่ว่ามาตรานี้ ใช้ได้หรือไม่ได้ ก็ถ้าทักษิณสั่ง ก็ใช้ได้

        แล้วจะใช้อย่างไร ถ้าถามว่า จะใช้ก่อนหน้านี้ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยแล้ว หากปปช. ชี้มูล เพียงเรื่องเดียว กรณีจำนำข้าว บวกกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ด้วย ก็จะไม่มี สส.สว. แล้วฝ่ายค้าน ต้องลาออกด้วย แล้วนายกฯ ต้องเป็นสส. แล้วสส.ไม่มีก็…

        แล้วที่นายกฯว่าไม่ยึดติด ลาออกก็ได้ ยุบสภาก็ได้ คุณก็ลาออกไปซะ แสดงเจตนาว่า ไม่ทำแล้ว มันก็จะมี สุญญากาศ

        เขาพูดต่อหน้า ผบ.เหล่าทัพ เขาหลอกท่านหรือไม่ ยกตัวอย่าง การแก้ไข ม.๒๙๗ แค่ห้อยไว้ว่า ตั้งสภาปฏิรูปประเทศ แค่นี้ก็ได้แล้ว

        การที่บอกว่า จะเดินหน้า สู่การปฏิรูปประเทศนั้น ทำได้หลายช่องทาง คุณยุบสภา ลาออกแล้วอย่ายุ่งกับ การปฏิรูปประเทศ หรือแก้ไข ม.๒๙๗ แล้วห้อยท้ายไว้ โดยเฉพาะ รบ. มีเสียงข้างมาก ในสภาฯ ทำได้อยู่แล้ว ถ้าจริงใจ ถ้าคุณเอาเข้าสภา แล้วไม่ให้ผ่าน นั่นคือ คุณหักหลัง ผบ.เหล่าทัพนะ คุณบอกว่า จะทำต่อหน้าท่าน แล้วไม่ทำ

        ถ้าหากว่าใช้ ม.๗ แล้วเป็นอย่างไร เมื่อไม่มีสส.ในสภา ไม่มีใครจะมาเป็นนายกฯ แล้วก็ต้องเข้าสู่ ม.๗ ต้องมีการหานายกฯขึ้นมา ปัญหาต่อมา ก็บอกว่าใช้ม.๗ ไม่เห็นยากเลย พวกคุณออกไปให้หมด ยังเหลือ รองประธานวุฒิสภาไง พอมีนายกฯปั๊ป เขาก็จะมีปัญหาว่า จะตั้งสภาปฏิรูปประเทศอย่างไร อยากบอกว่า ถ้าคุณมีเจตนารมณ์ แล้วปัญหา มากอย่างนี้ คุณอย่ามายุ่งเลย ยืนยันว่ามีช่องทาง ที่ถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญ แล้วรองประธาน ก็สามารถรับสนอง พระบรมราชโองการได้

        พ่อครูว่า.... คำว่า อำนาจ จะพูดถึง ม.๗ ม.๒ ม.๓ ม.อื่นๆ ก็รวมแล้ว ๗ มาตรา คือ เรื่องของประชาชน และอำนาจ

        ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ เป็นรัฐาธิปัตย์ มีประชาชนกับ พระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของอำนาจคือ รัฐาธิปัตย์สูงสุด ประชาชน จะเอาอำนาจคืนมา เมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งทำไม่ถูก ประชาชน ก็มีสิทธิ์ทวงคืนทุกเมื่อ เป็นนิติธรรม เป็นสัจธรรม แล้วประชาชน ปฏิวัติได้ไหม เหมือนกันกับคณะ ที่เขามีอำนาจ มีปืน รถถัง อาวุธที่มีมา ประเทศไทย ปฏิวัติกี่ครั้งก็ตาม เอาแบบ Force เขาก็ยอม เดรัจฉานเขาก็ทำ แต่บทใหม่ของไทย คือปฏิวัติโดยธรรม ไม่ใช้อำนาจ Force อย่างที่ยูเครน เขาก็กำลังทำอยู่ แต่ก็มีการ รุนแรงบ้าง เพราะโมโห แต่ไม่ใช่อาวุธ ประชาชนไม่ได้เป็นคนทำ แต่ฝ่ายที่จะถูก ลดอำนาจ เลิกอำนาจเขาไม่ยอม ทำรุนแรง

        ที่ไทยเรา มีประชาชนออกมา อย่างไม่มีอาวุธ สงบ ถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญ มา ๒,๓๖๔,๗๕๗ คน  ประชาชนเขาขอ ปฏิรูปประเทศใหม่ ให้เกียรติกันได้ไหม ๘๑ ปีที่ผ่านมา ใช้ไม่ได้ ให้คณะใหม่นี่ทำ เขาตั้งใจ ล้างบางแบบเก่า ที่ทุจริตได้ไหม ถ้าไม่หวงอำนาจเกินไป กล้าๆหน่อย ให้ประชาชน เขาทำได้ไหม นี่เป็นบทใหม่ ที่ประชาชนทำ แล้วพวกคุณก็มี หิริโอตตัปปะ ปล่อยให้ประชาชนทำ เขาร่าง รัฐธรรมนูญเป็นน่า เชื่อว่าคนเรา เข็ดขยาด การเมืองเก่าแล้ว เลวร้ายคอรัปชั่น หยาบคาย ทุจริต ผลาญพล่าทำลาย ฉิบหายบ้านเมือง

        ถ้ามีปัญญาเข้าใจ แล้วลดกิเลสบ้าง อดเอาหน่อย ให้ไทยตั้งหลักบ้าง หากเข้าใจ ตั้งใจฟัง ก็ชมมาตลอดว่า ที่ทำมานี่ สวยงามเรียบร้อย ยาวให้เป็น เย็นเรื่อยไป ไขความจริง ออกมา ให้มากๆหมดๆ จนวัน ออกมารวมกันไล่ ซึ่งเป็นคนละบริบท กับการเลือกตั้ง ที่เขาว่า เขามี ๑๕ ล้านเสียงนี้ ไม่สุจริต เลือกตั้งทุกทีนี้ โมฆะ เอากันให้จริงไหม?

        ประชาชนออกมานี่ เขาแสดงความจริง คุณก็แสดง เกณฑ์คนมา ในอ่างกะทะ รัชมังคลาฯ ก็ได้ไม่ถึงแสน แต่นี่เขามาตั้ง สองล้าน แพ้กันไม่ติดฝุ่นเลย แต่ก็ทำไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องอย่างนี้ จะมาบริหารประเทศ ได้อย่างไร ไม่ประสีประสาเลย

        ผู้ดีมาประท้วงปฏิวัติ ไม่ให้ จะให้ผู้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ก็กลัวตายให้เขาปฏิวัติ แต่ถ้าคนไทยเจริญ ก็จะเห็นดี ตรงกับรัฐธรรมนูญด้วย มีสิทธิ์มาประท้วง ต่อต้านได้ ตามม.๖๓ โดยสงบ ไม่มีอาวุธ เขาก็ทำตาม รัฐธรรมนูญ เขาทำอย่างผู้ดี สุภาพเรียบร้อย ไม่ให้เขาทำ แต่ว่าพอเขา เอารถถัง เอาอาวุธมาปฏิวัติก็ยอม นี่ถ้าเขายอมหมดเลย เลิกเลย นี่จะดังมาก ไปทั่วโลกเลย

        ประชาชนออกมาตั้ง ๒ ล้านกว่าคน ยังไม่เคยมี ในประวัติศาสตร์นะ มาขอดีๆ ว่าให้คณะเก่า หยุดทำนะ แม้มีหลายคณะ มีคุณสุเทพพาทำ เขาก็รับปากว่า จะทำดี ตั้งใจทำสิ่งนี้ ให้แก่ประเทศชาติ ทำเสร็จแล้ว เขาก็จะหยุด ไม่รับตำแหน่งใดๆเลย เขาย้ำหลายทีเลย ถ้าคุณสุเทพ พูดไม่จริง ก็พิจารณาเอง แล้วกัน

        วันนี้มีภาพว่อนเน็ต มีภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาบอกว่า... เอ็งมาจาก การเลือกตั้ง แต่ข้าไม่ได้ให้เอ็ง มาโกงนะโว้ย

        อ.สมศักดิ์ว่า...
        นักการเมืองควรเสียสละบ้าง ประชาชนเสียสละ ให้คุณมา ๘๑ ปีแล้ว ให้โอกาส บ้านเมืองบ้าง การปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่การร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ แต่มันเป็น การปรับเปลี่ยน ทั้งโครงสร้าง กระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น ศาล นิติบัญญัติ บริหาร ก็มีต่อไป ทำได้ แต่ว่าอย่าไปยุ่งกับ การปฏิรูป แต่คนทำปฏิรูปแล้ว ต้องไม่เอา ผลประโยชน์ ทำเสร็จแล้วออกไป ห้ามมาดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง คราวนี้ คงมีกติกาใหม่ ไม่ได้ห้ามว่า ไม่มีการเลือกตั้ง แต่ให้เลือกตั้ง ภายใต้กติกาใหม่

        การปฏิรูปประเทศ คือการปรับ โครงสร้างประเทศ ให้เข้ากับปัจจุบัน ตั้งแต่ร.๕ มาแล้ว เราไม่ได้ปรับ โครงสร้างประเทศเลย ตอนนั้น มีการรวมอำนาจ เนื่องจาก ถูกล่า อาณานิคม แต่ตอนนี้ ต้องกระจายอำนาจ และนี่คือ สิ่งที่ทำให้ นักการเมือง ไม่อยาก ให้เปลี่ยนแปลง เขากลัวสูญเสียอำนาจ

        สุดท้าย ภาพนี้ปรากฏใน โซเชียลมีเดีย นักการเมืองคนหนึ่ง จัดงานวันเกิด แล้วเขา มีเค้ก ใหญ่เบ้อเร่อเลย แล้วเค้กเขาเป็นรูป ประเทศไทย แล้วเขากำลังตัดเค้ก กรรมมันส่อเจตนา การทำแบบนั้นเหมือนประเทศไทยเป็นเค้ก แล้วกำลังจะตัด แบ่งเค้กนั้น อย่าปฏิเสธว่า คุณกำลังเล่นการเมือง ด้วยการกินประเทศไทย

        พ่อครูว่า... ถ้าทำถูกทฤษฏีพุทธแล้ว จะไม่หนีสังคม แต่จะเป็น พหุชนหิตายุ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ พามวลมหาชนมีสุข และ อยู่อย่าง อนุเคราะห์โลก รับใช้โลก ไม่ใช่มาแบ่งเค้ก จากโลกเลย สัจจะเป็นเช่นนี้ ใครไม่เชื่อ ก็เอาตัวมาศึกษาเถอะ...

 

 
๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ กทม.