561207_เทศน์ภาคค่ำ ​โดยพ่อครู
เรื่อง ประชาชนทวงคืนอำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญไทย ตอน ๓


        ชีวิตคนเรา ถ้าเกิดมา ไม่ได้ธรรมะ ก็เสียชาติเกิด นิยามของชีวิต ก็เริ่มมาจาก พลังงาน อุตุ มาเป็นพีชะ มาเป็นจิต มาเป็นกรรมนิยาม แล้วเป็นธรรมนิยาม พีชะ ต่างจากจิตนิยาม ตรงที่ พีชะไม่มีอารมณ์ มันมีพลังงาน ในตัวของมันเอง ระดับที่ จะปรุงแต่ง ไปตาม แต่ละชนิดของมัน ส่วนเมื่อข้ามเขต พลังงานพีชะก็เป็น จิตนิยาม ที่มีอารมณ์​ มีรักมีชัง เกิดบทบาทเพิ่ม ปรุงแต่งเป็นความชอบ ความชัง เป็นรสอร่อยได้ สัตว์ชั้นต่ำ ไม่ติดรสอร่อย แต่อย่างใด แต่มีตัวกูของกู แย่งชิง และจะจัดขึ้นเรื่อยๆ จะแย่งตัวตน แต่ไม่แย่ง รูปรสกลิ่นเสียง สัมผัสเท่าไหร่ จนมันมีกิเลส หลงกามคุณ มากขึ้น จนติดในสมมุติ โลกธรรม

        คนเราถ้าได้เรียนรู้สัจจะความจริง จึงลดละได้ มีหลายขั้นตอน เริ่มจาก แบบเทวนิยม ซึ่งยังไม่ชัดเจน ยังลึกลับ เป็นสายเจโต ลึกลับ ไม่รู้ ศาสนาพุทธในเมืองไทย ก็เป็นแบบ เทวนิยมมาก ไม่สามารถรู้ลึกละเอียด ถึงสมุทัย แล้วแยกจิตเลว อกุศลจิตได้ มีวิปัสสนาวิธี ที่เป็นของพระพุทธเจ้า โดยตรง กำจัดกิเลส ถาวรยืนนาน แต่ไม่ได้ หมายความว่า ถาวรจนไม่เสื่อมเลยนะ

        ความรู้โลกีย์อย่างเช่น ความรู้เรื่องปฏิวัติ คนไทยก็มีความรู้ขึ้นมา ว่าไม่ต้องรุนแรง ก็ได้ ประเทศอื่น เขาก็มีความรู้ว่า ไม่รุนแรงก็ได้ อย่างประเทศบราซิล จะทำด้วย ความสงบ แต่สุดท้าย ก็ดึงดัน รุนแรงอยู่ดี เขาก็รู้ แต่ว่าความเป็นจริง ก็ไม่สมบูรณ์ บราซิล เขาทำต่อเนื่อง หลายปี จนเกือบสำเร็จ แต่สุดท้าย ก็ต้องใช้ พลังอำนาจกดขี่ เป็นพลังทหาร นายพลบลังโก ก็มาปฏิวัติ​ แล้วเป็นปธน.ไม่นาน ก็ให้คนอื่นต่อ มันทำไม่ได้สมบูรณ์ เพราะไม่มีฐานรากที่ดี ก็เป็นสมบัติ ผลัดกันชม

        เมืองไทยแต่ก่อน ไม่เดือดร้อนอย่างนี้ แต่ไปเอาประชาธิปไตย แบบต่างประเทศมา กดข่มกันออกมา มีสถิติรัฐประหารกันมา ตั้งแต่ พศ. ๒๔๗๕ แล้วพศ. ๒๔๗๖ ก็มีคณะปฏิวัติ เสร็จยึดอำนาจ มีพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา มาเป็นนายกฯ เป็นปฏิวัติ​ รัฐประหาร สำเร็จ คือการเปลี่ยนแปลง คณะบริหารประเทศ ตามคณะที่เห็นชอบ มาบริหารต่อ เปลี่ยนจากของเดิม โดยไม่ตามลำดับ แต่เป็นไป ตามเจตนารมณ์​ มีกิเลส เป็นหลัก มนุษย์เขาก็รู้ คุณงามความดี แต่กิเลสมันมี มันก็เหลิงหลง เสพกามคุณ โลกธรรมเพิ่ม เมื่อมันมีโอกาส กิเลสก็ได้ช่อง ในการเสพ สุดท้าย ก็ทนไม่ได้ ก็ทำเลวร้าย ก็มีคณะใหม่มาปฏิวัติอีก สรุป ๘๑ ปี ไทยเราปฏิวัติ ๒๔ ครั้ง ทำสำเร็จ ๑๒ ครั้ง แพ้ไป ๑๒ ครั้ง ครั้งนี้จะเป็น ครั้งที่ ๒๕

        ครั้งแรกเขาใช้คณะราษฏร์ ใช้คณะประชาชน ตั้งแต่ตอนแรกเลย ยึดมาจาก พระเจ้าแผ่นดิน แต่เสร็จแล้ว หลงอำนาจ ดังนั้น ๒๔ ครั้ง ชนะบ้างแพ้บ้าง ถ้าไม่สำเร็จ ก็รับโทษไป ถ้าชนะก็ครองอำนาจไป

        ทีนี้ของเราที่กำลังทำนี่ ไม่ได้ปฏิวัติโดยรุนแรง หรือใช้อำนาจทหาร กดข่มโดย Force แต่เรากำลังใช้ อำนาจประชาชน ขออำนาจคืน เพราะประชาธิปไตยนั้น อำนาจ เป็นของ ประชาชน ยังไง ก็ไม่สามารถปลด อำนาจอธิปไตย ไปจากประชาชนได้ แม้เลือกผู้แทนฯไป อำนาจก็อยู่กับประชาชน คนเดียวก็ประท้วงได้

        แต่หลักเกณฑ์ของประชาธิปไตย แม้เสียงข้างมาก ก็ต้องคำนึงถึง เสียงส่วนน้อย Majority Rule but Minority right  ต้องพิจารณา แม้เสียงเดียวที่ถูกต้อง

        นายกฯของคณะบริหาร ที่มีอำนาจแทนประชาชน ทำผิด แล้วคนประท้วง คนเดียว ว่าคุณทำผิด แล้วก็มีการตัดสินว่าผิด คุณก็ต้องรับ แม้จะได้รับ คะแนนเสียงมา กี่สิบล้าน ก็ตาม ถ้าถูกต้องแล้ว คนผิดมีหิริโอตตัปปะ ก็ต้องลาออกแล้ว แต่นี่ไม่ยอม ก็ต้องดื้อด้าน ดึงดัน ผิดนิติรัฐ นิติธรรม จนต้องใช้ภาษา ทั้งด้าน ทั้งโง่ คือง่านโด้ ง่านคือโง่ยกกำลังด้าน ส่วนโด้ก็คือ ด้านยกกำลังโง่

        ที่ทำมานี้ ถูกต้องดีงามแล้ว ประชาชนมาประกอบ คุณงามความดีมาก เรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครอง อย่างเปลี่ยนสภาพเลย แล้วไม่ใช่เปลี่ยน อย่างโลกีย์ ที่จะวน กลับไปได้อีก  สายเจโต จะไม่ค่อยรู้ ทำไปอย่างไม่ชัดเจน แต่สายปัญญา จะชัดเจน ฉลาดลดกิเลส ฉลาดซื่อสัตย์สุจริต พึ่งพาอาศัย ในหลวงว่าให้สามัคคี อลุ่มอล่วยกัน แบบคนจน ไม่รวย ไม่โลภกิเลสสะสม ช่วยเหลืออุ้มชูกัน เอาแรงงาน ความรู้ วัตถุมาช่วยกัน จึงเกิดเรื่องนี้ได้

        ชาวอโศก ไม่ค่อยมีเงินทองนะ แต่คนอุดหนุนช่วยเหลือ จึงนำพาไปได้ ถ้าคราวนี้ ผู้ที่ดื้อดึงดัน ก็น่าจะลดหย่อน เห็นแก่ชาติบ้านเมือง ตนเองควรวางมือ ให้คนที่ ปรารถนาดี ทำสิ ถ้าเขาไปทำแล้วชั่วอีก ก็ต้องถูกปฏิวัติอีก แต่ถ้าทำอย่างเดิม ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสิ

        สิ่งที่เกิดนี้ดีงามมาก ถ้าไม่อย่างนั้น ไทยเราก็ต้อง เหมือนบราซิล สุดท้าย ต้องให้ทหาร มาปฏิวัติอีก แต่ถ้าไม่ต้องทหาร ประชาชนมีพลังอำนาจจริง จนเขาพ่ายแพ้ เขายอมแพ้ได้ จะวิธีไหนก็ตาม

        มีสองอย่างคือ ที่เขาจะแพ้ได้ อย่างแรกคือ แพ้เพราะหนี ออกนอกประเทศ เขาอาจ ตามจับได้ แต่ก็ไม่ค่อย ตามจับเท่าไหร่ แต่ถ้ามีผู้เสียหายมาก ก็ตามจับ หากไม่หนี ก็ต้องมอบตัว แล้วแต่กม. จะตัดสิน ก็มีอยู่สองทาง

        ถ้ามอบตัว ไม่หนีก็ดีมาก ประเทศอื่นก็มี แม้หนีแล้ว ไม่รอดถูกจับ ก็ต้องว่ากัน แต่ถ้ามอบตัวจริงๆ พวกเราก็จะปราณี จะอนุโลมกันเยอะ นี่คือสัจธรรม

        ในวันที่ ๙ นี้ ถ้าประชาชน ออกมาแสดงตัว เป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของ ประเทศ ถ้าทำต่อ ไทยจะเป็นหนี้อีก ๕๐​ปี แล้วไม่รู้ว่า จะต้องเสียอีกเท่าไหร่ หนักหนา สาหัส อาตมาไม่ใช่หมอดู แต่ดูถูกแน่ เขามีแต่หนูไม่รู้ แต่ผลาญพร่า จึงปล่อยไว้ไม่ได้

        มาเดินกันให้เต็มพื้นที่ เห็นตัวคน มาเป็นปรากฏการณ์ของโลก เต็มจนรถรา แล่นไม่ได้โดยเฉพาะ รอบทำเนียบ ออกมา ๑ คน ๑ เสียง ถ้ามากกว่าล้านนี่ เสร็จแน่ นี่ออกมา ตั้ง 2,360,475 คน  สองล้านกว่าคนนี่ เขาก็ยังไม่ยอม ยังด้านโง่ โด้ง่านอยู่ ในวันที่ ๙ นี่จึงต้องมา เผด็จศึกอีกที

        วิธีของพวกเราก็คือ ข้าราชการ, องค์กรอิสระต่างๆ ที่ทำงานให้ผู้บริหาร เราก็ไปยึด แต่เราไม่ได้ไปทำ อย่างรุนแรง มีอาวุธหรือบังคับ แต่ไปบอกให้เขารู้ ให้เขาว่า เห็นด้วย กับเราไหม ไปถามเขาว่า ให้ช่วยกันหน่อยได้ไหม จะเห็นได้ว่า หลายองค์กร หลายกระทรวง ก็เห็นด้วย ยอมโดยดี ไม่ได้ต่อสู้ ก็ไปทำเป็น สัญญลักษณ์เท่านั้น ว่าเราไม่ทำงาน ให้รัฐบาล เมื่อองค์กรต่างๆ ไม่ทำงานให้รัฐบาลแล้วรัฐบาลจะทำงาน ได้อย่างไร

        ให้คุณหยุดเถอะ เราไม่ได้บังคับนะ แต่ใช้ภาษาว่า ไปยึด ไปประท้วง แต่ที่จริง ไปแจ้งให้ทราบ ซึ่งคนก็มีเห็นต่าง คนที่เห็นแย้ง ก็ว่าไป แต่คนเห็นด้วย ถ้ามีมากก็มีผล

        มีการตัดสิน อย่างในสงฆ์ ก็มีวิธีตัดสิน อย่างสัมมุขาวินัย คือพิจารณาพร้อม จำเลย โจทย์ และวัตถุหลักฐาน พยานพร้อมสรรพ หรือสติวินัย ก็คือ ยกให้อรหันต์ ที่มีสติ สมบูรณ์ ทำผิดก็ไม่ต้องอาบัติ หรือแม้แต่คนบ้า ก็ไม่เอาผิด คือ อมูฬหวินัย หรือว่ามี ติณวัตถารกวินัย คือประนีประนอม ตกลงกันเอา คือกลบไว้ด้วยหญ้า หรือซุกใต้พรม ไม่หยิบมาพิจารณา เหมือนปรองดอง ไม่ถือสา เดินหน้าต่อไป ก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ใน ๗ ข้อ ในการตัดสิน ทันสมัยที่สุด ของพระพุทธเจ้า เหมือนหลักการ พิจารณาความ ปัจจุบันเลย

        ที่เรามาทำงานนี่ ใครผิดคนนั้นแพ้ เป็น Minority right และเมื่อเราออกมา มากมาย จะเป็น Majority right ซึ่งต้องมากันมากจริงๆ จึงสำเร็จ เราทำอย่าง ไม่ได้ใช้อำนาจ Force เราทำด้วย Authority ก็ลุ้นอยู่ว่า พลังงานนี้เป็น sovereignty พลังสูงสุด ที่ยิ่งใหญ่ เราทำอย่าง ถูกรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ ทั้งสองวรรคด้วย

         มาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย) อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และ หน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม

        เมื่อเขาทำไปไม่รอด ก็ต้องใช้นิติธรรม และไปสู่มาตรา ๗ ทำตามจารีต ประเพณี ในประชาธิปไตย มาตรา ๗ (การอุดช่องว่าง ในรัฐธรรมนูญ) ในเมื่อไม่มี บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา กษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

        เมื่อไม่มีบัญญัติ ก็ต้องกลับสู่อำนาจ ของประชาชน ที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็น ประมุข คือไปสู่มาตรา ๒ (รูปแบบการปกครอง) ประเทศไทย มีการปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมาตรา ๓

        ของบราซิล ก็ใช้ทหารมาปฏิวัติ แต่ทำด้วยอาวุธ ของเรานี่ ถ้าทหารจะมาช่วย ก็มาในฐานะ ประชาชนคนหนึ่ง ไม่ต้องเอาอาวุธมา คะแนนเสียงนี่ เป็นเสียงสวรรค์ ของประชาชน ไม่ใช่คะแนนเสียงเลือกตั้ง อันนั้นมันอีก บริบทหนึ่ง เป็นเรื่อง การเลือกตั้งคน ไปบริหาร แต่นี่เรามายืนยัน คะแนนเสียง ไล่คณะนั้นออก คนละบริบท คนไม่ค่อยเข้าใจ บริบทนี้ ก็จะยืนยันแต่ว่า คะแนนเสียงข้ามี ๑๕ ล้านเสียง

        แต่นั้นคุณทำผิดแล้ว คะแนนเสียงนี้ ตกไปแล้ว เขามาขอคืนอำนาจ คุณออกไปเถอะ ตอนนี้ เจ้าของบ้าน มาไล่คุณออกไป ตอนแรก เลือกคุณมาทำงาน แต่คุณทำผิด ก็ต้องไล่ออกไป

        ไม่รู้ว่าตนเองหน้าด้าน รัฐสภาและบริหาร ฮั้วกันปฏิเสธตุลาการ อันนี้ผิด รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔ ที่บอกว่า ต้องเสมอภาคกัน อำนาจต้องถ่วงดุลกัน เขารวมหัวกัน ไม่ยอมรับ อำนาจศาล ทั้งที่ต้องมีสิทธิเสรีภาพ เสมอกัน ต้องได้รับ การคุ้มครองด้วย ประชาชน จึงออกมาประท้วง คุ้มครองศาล ต้องขอบคุณ พวกดาวแดง ที่ไปช่วย คุ้มครองศาล ตั้งนาน ไม่รู้กี่เดือนแล้ว

        อำนาจประชาชน เป็นอำนาจถาวร หนึ่งคนหนึ่งเสียง เมื่อประชาชน มวลมาก เป็นเจ้าของประเทศ ก็เป็น Majority แต่คนเดียว เขาก็มีสิทธิ์ แม้เขาหลงว่า เขาถูกก็ตาม แต่ถ้าหมู่น้อยนี้ ถูกด้วยล่ะ เป็นปราชญ์เป็นผู้รู้ ตามสัจธรรม ตามนิติธรรม แม้ไม่มี ในบัญญัติ ไม่มีนิติบัญญัติ แต่ผู้รู้ เขาว่าไว้ถูกแล้ว เป็นนิติธรรม

        มีเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่านิติรัฐคือ Legal state ส่วนนิติธรรม คือ Due to process of law หรือ Rule of law ซึ่งก็ไม่ตรงกับ สภาวธรรม เท่าใดนัก โดยเฉพาะ โลกุตรธรรมนั้น เป็นเรื่องยาก

        ขอให้ประชาชนชาวไทย เสียสละ ออกมาช่วยกัน มาสร้างสิ่งใหม่ ให้แก่ประเทศชาติ แม้ว่าคราวนี้ มันจะไม่สำเร็จผล ตามที่เรามุ่งหมายกัน อาตมาก็ว่า ครั้งนี้ ก็ดูสิว่า จิตเขาจะง่านโด้ หรือเขาจะยอม หรือเขาจะเอาชนะ ด้วยวิธีไหน อาตมาว่า เป็นสัจธรรม เปิดเผยพูดกัน อย่างจริงใจ ว่าความจริง ความถูกต้องดีงาม ต้องชนะ สิ่งที่ไม่จริง สิ่งผิด ก็ควรแพ้ ควรพอ

        ประชาชนออกมา เป็นล้านๆทำไม จะโด้อยู่ถึงไหน ถ้าออกมามากขนาดนี้ ยังโด้อยู่ อาตมาก็ว่าต้องยอมเขา คุณสุเทพถึงบอกว่า อยู่ในประเทศนี้ ประชาชน ควรรู้ว่า อันไหนถูก อันไหนผิด หรือว่าพวกเราโง่ เขาถูกน่ะเราผิด ก็จะได้รู้ว่า ประชาชน ที่มีปัญญา เป็นปัญญาชนในไทย ออกมาตัดสินเลย คุณก็เอา มวลของคุณ ออกมาสิ นัดวันที่ ๑๐ แต่ของเรานัดกัน วันที่ ๙ ก็ออกมากัน ๙:๓๙ น.

        ดูสิว่ามวลจะเท่าไหร่ ของคุณวันที่ ๑๐ ก็ลองดูว่า คณะแดงจะมีเท่าไหร่ หากใคร คะแนนเสียงมากกว่า ก็ชนะก็แล้วกัน ถ้าแพ้จะยอมให้จับ มีคดีอย่างไร ก็ยอม ให้ดำเนินคดี มันต้องเด็ดเดี่ยว จะมานั่งเล่นลิเก มากไปแล้ว

        คราวนี้ จะเห็นสิ่งดีงาม เป็นประวัติศาสตร์ เรามาร่วมกัน ออกคะแนนเสียง เพื่อเปลี่ยนแปลง การบริหารประเทศ ที่ทำมา ๘๑ ปี เป็นสมบัติ ผลัดกันชม มาเอา คนเสียสละ มาบริหาร ไม่ใช่มาโลภกอบโกย โกงกิน

อาตมาก็นิยาม ประชาธิปไตยไว้ ๑๐ ข้อ
        การเมืองใหม่ที่เป็น  ประชาธิปไตยแท้ๆ #
1. งานการเมืองต้องมีคุณธรรมและเป็นกุศล
2. นักการเมืองต้อง “รู้จัก” ประชาธิปไตยที่แท้ ขณะนี้นักการเมือง ที่ทำงานในไทย ยังไม่รู้จัก ประชาธิปไตยที่แท้
3. นักการเมืองต้อง “สอน” หรือเผยแพร่ประชาธิปไตย ให้กับประชาชน  (ประชาชน ก็ใส่ใจ ขวนขวาย เรียนรู้ ไม่ใช่รู้แค่ว่า ไปเลือกตั้ง เท่านั้น) ไม่ใช่ไปหลอกลวงเขา ประชาชน ก็ต้อง ขวนขวายศึกษา ความเป็นประชาธิปไตย
4. นักการเมืองต้องเป็น ผู้พึ่งตัวเองได้แล้ว
5. นักการเมืองต้องเป็น ผู้มักน้อยสันโดษ 
6. นักการเมือง ต้องไม่ทำงานการเมืองเป็นอาชีพหากิน
7. งานการเมืองต้องเป็น งานอาสาเสียสละ
8. นักการเมืองจะต้อง ไม่มีอคติ (ต้องพ้น อคติ ๔)
9. นักการเมือง คือ ผู้มีอิสระแท้จริง ไม่เป็นทาสโลกธรรม ถ้าเป็นอรหันต์ได้ยิ่งดี
10. งานการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่งานเพื่อตัวเรา  เพื่อครอบครัว  เพื่อหมู่พวก  เพื่อพรรค  แต่เป็นงาน เพื่อบ้านเมือง  เพื่อประชาชนทั้งมวล  เพื่อผู้อื่น ที่พ้นไปจาก ตัวเอง  พ้นไปจากครอบครัว  พ้นไปจากหมู่พวก  แม้แต่พ้นไปจาก “พรรค” ของตน ผู้แทน ไม่ใช่หมาหลงมา ที่หิ้วกระเป๋าเงิน มาซื้อเสียง แต่ประชาชน ต้องรู้จักดี และ ไว้วางใจ ให้ไปทำงานแทน ในตำแหน่งที่เหมาะสม ต้องเป็นคนที่เป็น

        คนมีอารยธรรม หรือเทวธรรม คือคุณธรรม ๗ อย่างคือ ศรัทธา  ศีล  หิริ โอตตัปปะ พหูสูต จาคะ ปัญญา จึงคือผู้ทรงไว้ ซึ่งเทวธรรม หรืออารยธรรม เป็นผู้รับใช้โลก เป็น พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ มีโลกานุกัมปายะ...

จบ

 

 
๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ กทม.