570115_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่เวทีหน้าป้อมมหากาฬ
เรื่อง ความชั่วยิ่งแย่ ทำให้เราสร้างความดียิ่งใหญ่

      พ่อครูว่า... ในร้อยคนจะมีคนกล้าสักหนึ่งคน ไหมเอ่ย?
“ในร้อยคน จะมีคนกล้าสัก หนึ่งคน
ในพันคน จักมีปราชญ์สักหนึ่งคน
ในแสนคน จะมีคนพูดจริงสักหนึ่งคน
ยิ่งเหมือนงมเข็ม ในมหาสมุทรเลย

ส่วนคนที่เสียสละ โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่รู้จะมีหรือไม่...”

....ตอบ.....มี (ผู้ชมหน้าเวทีตอบ)

      เป็นคำถามที่ลึกซึ้ง ซับซ้อนมาก มันจะย้อนกลับไป ในโลกของ คนมีคุณธรรม หาคนที่เป็น คนมีคุณธรรมและกล้า อย่างพวกเรานี่ ถือว่ามีความกล้า กล้าพอตัวทีเดียว

      ร้อยคนจะมีคนกล้าสัก หนึ่งคน หาได้ยาก แต่ชาวเรานี่ ที่ได้ออกมา ถึงวันนี้ เป็น ล้านคน นี่ถือว่า กล้า ใช้ได้

      ในพันคน จะมีปราชญ์สักหนึ่งคน ซึ่งไม่ใช่คนฉลาด ที่มีอยู่มาก ในสังคมไทย ตอนนี้ ซึ่งฉลาดอย่างเฉโก บางคนจบ ดร.หลายใบ เขายอมรับว่ าอัจฉริยะเลย แต่กิเลส ไม่ได้ลด จึงฉลาดทำชั่วได้มาก  ทำชั่วได้จัด ซับซ้อนด้วย เพราะอำพรางเก่ง ทำชั่วแล้ว ทำให้คนอื่น เข้าใจผิด นึกว่าทำดีอีกด้วย แล้วโลกเป็นทุกข์ เพราะคนฉลาด

      พวกนายทุน และนักการเมือง ที่โกงยับเยินนี่ ฉลาดฉิบหายทุกคน ทำให้ประชาชน เดือดร้อน ไปหมดเลย ตัวเองกอบโกย เอาเปรียบเอารัด สารพัด แล้วเอาเงิน ที่ได้ซื้อไว้ เป็นอำนาจซับซ้อน ด้วย เงิน เหมือนแก้วสารพัดนึก ในระบบทุนนิยม เงินออกดอก ซับซ้อน

      ปราชญ์คือคนที่มักน้อยสันโดษ ลดกิเลส และในแสนคน จะมีคนพูดจริง สักหนึ่งคน ไม่ต้องเอาอะไรนะ พวกเราใครไม่เคยโกหกเลย มีไหม? ...หาไม่ได้สักคน แม้อาตมา ก็เคยโกหก

      คนที่ไม่พูด แล้วคำโกหกได้นี่ จึงยอดเยี่ยมเลย ผู้ถือศีล ๕ ในข้อ ๔ ไม่โกหกแล้ว ถือเป็นยอดคน เป็นคนที่คบง่ายเลย คบได้ พวกเราพยายามจริงๆ ชาวอโศก ถือศีลธรรม ได้แล้วยอดเยี่ยม

      การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดผัวเมียใคร ก็ทำไม่ง่าย แต่ว่าการโกหกนี่ ทำได้ไม่ยากเลย มันเลย เสพติดได้ง่าย แล้วก็เห็นว่า ไม่มีค่า มันไม่น่ากลัว แต่เป็นค่าบาปที่เลว เป็นค่าต่ำ มันมีราคาเท่ากัน ทั้งนั้นแหละ ๕ ข้อนี้ การโกหก ๑ คำ ก็เท่ากับ ฆ่าสัตว์ ๑ ตัว ไปผิด ผัวเขาเมียใคร ไปเสพสิ่งเสพติด

      ส่วนคนเสียสละ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มันหมายถึง ปรมัตถ์ คือจิตวิญญาณ ไม่ง่ายนะ เราไม่คิดเดี๋ยวนี้ ลองดู เสียสละวัตถุ แรงงาน ความรู้ ก็แล้วแต่ แต่จิตของเรา คือให้ไปแล้ว ว่างเลย โดยมีความรู้ตัว เข้าใจ จิตไม่ตั้งปรารถนา ได้คืนมาเลย วางจริงๆ ในหลักการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้า การทำ มรรคองค์ ๘ ต้องมี
สัมมาทิฏฐิ ๑๐

.   ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง)
ให้แล้วเราได้ทำจิตทำใจเราไหม ว่าเราไม่ต้องการ สิ่งใดตอบแทนเลย ให้โดยเรามีจิต เห็น.....แก่ง....คนอื่น ช่วยคนอื่น เป็นเกื้อกูล สงเคราะห์ สะอาด บริสุทธิ์ใจเลย ไม่ต้องการ ตอบแทน ไม่ว่าชาติไหนๆเลย มีไหม ก็มีถ้าได้เรียนรู้ ปฏิบัติธรรม

๒.   ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
๓.   สังเวย (เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
๔.   ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกฏทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)

๕.   โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ
๖.   โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ
๗.   มารดา มี (อัตถิ มาตา)
๘.   บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
๙. . สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา)
สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

      ต้องเข้าใจทั้ง ๙ ข้อนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นประธาน ในมรรคองค์ ๘ เลย เป็นประธาน ของ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ สติ สมาธิ (๗ องค์)

      การทำทาน แล้วไปขอ ให้ได้ลาภยศ ได้สิ่งใดตอบแทน นั้นคือ นัตถิ ทินนัง ขอให้ตาย ก็ไม่ได้ แต่เป็นการสะสม จิตโลภใส่จิตอีก ให้ของไปราคา ๑ หมื่น แล้วใจที่จริง ต้องสละโลภ ไม่เอามาให้แก่ตนเอง แต่เขาสอนกันว่า ตั้งจิตให้ได้มากๆ กว่าเดิม เอาหมดประเทศเลย จะเปลี่ยนประเทศใหม่เลย โลภขนาดนี้เลย อย่างนี้ไม่ได้ให้ ยิ่งโลภกว่าเก่า

      ทำใจตนเองจริง เป็นมโนกรรมจริงเลย ยิ่งทำยิ่งเพิ่มกิเลสๆ นี่คือการสอนมิจฉาทิฏฐิ ตั้งแต่เริ่มเลย ไม่ว่าจะคณะไหน ที่สอนกัน แล้วนับถือกัน เป็นอรหันต์ แต่ไม่ได้รู้เลยว่า จิตตน เพิ่มหรือลดโลภ ตั้งจิตของตน ให้เป็นจิต ลดความโลภ โกรธ หลงนี่แหละ ทำแต่ทาน ก็ยังไม่รู้ว่า จิตตนลด หรือเพิ่มกิเลสเลย แล้วบอกว่า สำนักนั้น ที่สอนนี่ เป็นอรหันต์นะ ยังไม่รู้จัก ใจที่ลดโลภเลย แล้วสำนักนั้น จะเป็นอรหันต์จริงไหม? ที่อธิบายนี้ เป็นสัจธรรม ไม่ได้ตั้งใจว่าข่มใคร

      พวกอภิธรรม ก็เรียนกัน ท่องไม่รู้กี่ตัวๆ อาตมายังท่อง ไม่สู้พวกเขาเลย แต่อาตมาว่า อาตมามีสภาวะ รู้จักสภาวจิต เหล่านั้น แต่ขานชื่อ สู้ไม่ได้ ก็ตั้งใจพยายามดูอยู่ ตอนนี้ กำลังมาถึง อธิบายรูป ๒๘

      คนมีธรรมรสในธรรมะ ถ้ามีภูมิรับได้จะสนุก รื่นเริงในสิ่งที่ตนรับ ซับซาบได้

      อธิบายเพราะว่า เห็นว่าเรื่องธรรมะสำคัญ และจริง เป็นเรื่องจริง ชีวิตคนเราเกิดมา ควรได้ธรรมะ ทรงไว้ในอัตภาพ ในจิตนิยาม

      ชีวิตมีนิยาม ๕ (อุตุ พีชะ จิต กรรม ธรรมะ) ซึ่งธรรมะเป็นสิ่งทรงไว้ ในอัตภาพ
. อุตุนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานวัตถุ ฟิสิกส์ ฯลฯ)

. พีชนิยาม (ส่วนที่เป็นพลังงานชีวะ พืชพันธุ์)
เป็นสังขารที่ ไม่มีวิญญาณครอง (อนุปาทินนกสังขาร) ไม่มีรักหรือชัง ไม่โกรธไม่เกลียด แต่พลังงาน มันเป็นชีวะแล้ว เรากินพืชนี่ ไม่เป็นบาป ไม่จองเวรภัย ต่อกันหรอก
. จิตตนิยาม (ส่วนที่เป็นจิต เวไนย-อเวไนย ให้เกิดกรรมตาม โอปปาติกะพาเป็น) เริ่มเป็นสัตว์แล้ว มีการเคลื่อนที่ได้ ไม่เกาะกับ ที่เหมือนพืช และที่สำคัญคือ ถึงระดับ มีเวทนา จึงเป็นสังขาร ที่มีวิญญาณครอง (อุปาทินนกสังขาร) เริ่มมีกรรม มีวิบาก แต่สัตว์ เช่น ช้างม้านั้น สอนให้รู้เรื่อง กรรมวิบากไม่ได้ แต่ว่ามันมีรักมีชัง มีโกรธได้
. กรรมนิยาม (บทบาทหรืออาการแห่งกิริยา ของคน - ของโอปปาติกะสัตว์) คนบางคน สอนกรรมดี กรรมชั่ว ไม่ค่อยรู้ ก็เป็นอเวไนยสัตว์ บางคนสอนให้รู้ เข้าใจได้ แต่เปลี่ยนแปลง ตนเองไม่ได้ เปลี่ยนจิตชั่วเป็นจิตดี พยายามฝึกทำไม่ได้ ก็เป็น อเวไนยสัตว์ เช่นกัน นี่คือสัตว์ ระดับโลกีย์ สอนกรรมดีชั่วได้ แต่สูงไปกว่านั้น สอนโลกุตรธรรมได้ เป็นเวไนยสัตว์
. ธรรมนิยาม (สภาพทั้งหมดของทุกสรรพสิ่ง)

      ผู้รู้ดีชั่ว รู้โลกุตระ แต่ปฏิบัติให้เป็น โลกุตระจิตไม่ได้ เป็นอเวไนยสัตว์ ระดับโลกุตระ

      ส่วนผู้สอนให้รู้ดีชั่วได้ รู้โลกียธรรม แต่ว่าสอนให้รู้ โลกุตระไม่ได้ เป็นอเวไนยสัตว์ ระดับโลกียะ

      ผู้ที่สอนให้รู้โลกุตระได้ แล้วสามารถลดกิเลสได้ ตั้งแต่อบาย มาโลกธรรม จนลดละได้ ไม่ดีใจไม่เสียใจ ในสิ่งที่ได้ลดละได้สำเร็จ เช่นได้ลาภ ได้ยศ ก็ไม่ดีใจ เสียไป ก็ไม่ทุกข์ใจ กลางๆ ผู้นั้นต้องอ่านจิตออก แยกเวทนาออก ตอนนี้ เรามีอารมณ์สุข หรือทุกข์ อ่านตัวกิเลสกาม กิเลสโลภออก อย่างนี้เป็นโกรธ รุนแรงหรือแค้น ออก

      กิเลสก็คือจิต ไม่มีสรีระตัวตน กิเลสคือผีคือมาร หรือผี หรือไชตอน เป็นต้น

      ผู้บรรลุโลกุตรธรรม มีปัญญาญาณ อ่านของเราออก มันเกิดเมื่อไหร่ก็รู้ จึงเป็นผู้มี ตาทิพย์ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นพรหม เป็นพระเจ้า อยู่ในจิตวิญญาณเรา เราเห็นได้รู้ได้

      เมื่อเรารู้ได้ ก็ฆ่าทำลายผี ด้วยมรรควิธี กำจัดด้วย
ปหาน ๕

๑.   วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ - ใช้เจโตนำหน้า)
๒.   ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว
- ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓.   สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔.   ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
๕.   นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)

      นิโรธพุทธ ทำอย่างลืมตา ไม่ได้ทำแบบลืมตาดับปี๋ ดับสัญญาและเวทนา อย่างนั้น ไม่ใช่พุทธ ของพุทธนั้น สัญญาอย่างหนึ่งดับ สัญญาอีกอย่างหนึ่งเกิด นิโรธพุทธนั้น เห็นแจ้ง ไม่ได้เห็นอย่างดำ หรือกิณหะ เป็นพรหมมิจฉาทิฏฐิ

      การปฏิบัติศีล ยิ่งยากกว่าทาน เมื่อไม่รู้จิตก็ยาก การปฏิบัติศีล ทำให้กิเลสลด ในกิมัตถิยสูตร ว่าไว้ว่า ปฏิบัติศีล จะทำให้กิเลสลด เป็นพระอรหันต์ ไปตามลำดับ เห็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ได้ จึงเรียกว่า โลกุตรบุคคล หรือโลกุตรธรรม จึงเป็นเวไนยสัตว์

      ตั้งแต่เป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ แม้อธิบายไม่ได้ละเอียด อย่างอาตมา แต่ปฏิบัติจิตได้ ก็เป็นได้จริง แต่ถ้าได้เรียนรู้ มาตามลำดับ จะชัดเจน และคนที่ทำได้ แต่ไม่รู้ชื่อสภาวะ เรียกชื่อไม่ถูกนั้น มีเยอะ แม้ในชาวอโศก ก็มีเยอะ

      จึงเป็นคนจริง เป็นคนทานจริง ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน มีจริง อย่างพวกที่มานี่ ไม่ใช่เฉพาะอโศก เท่านั้น คนที่มา ยังมีอีกมาก ที่เสียสละจริง อาตมาบอก ให้ตรวจ ตัวเองดู ว่าที่เรามา หลายผู้หลายคน คิดสิว่า จะต้องการ ลาภอะไร หลายคน จ่ายเงินทอง ลำบาก ลำบน กว่าจะมา คุณมานี่ ต้องการอะไรตอบแทน หวังร่ำรวยหรือ? ได้สิ่งตอบแทน อะไรหรือ? หรือคาดหวังอะไรหรือ? ได้ยศ ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจหรือ? คุณหวังหรือคาดว่า จะได้หรือ?  

      แต่ถ้าคุณไม่ต้องการเลย แม้สรรเสริญ พวกแดงด่าพวกคุณ อย่างกับอะไรดี ไม่ได้สรรเสริญอะไร? คนด่าจะตาย มาด่าเราอยู่ ว่ามาขวางที่ ขวางทาง ตรวจสอบ จริงๆเลย

      เรามาเพราะว่า ต้องมาช่วย แม้จะไม่เต็มที่ก็ตาม เราก็เห็นว่า น่าจะมาช่วย แม้เท่านั้น ก็ตาม หรือจะมาอย่าง ใจแรงเลยก็มี บางคนก็ไม่แรง ไม่เต็มนัก แต่ว่าคุณตรวจดูว่า คุณมา ต้องการอะไร ตอบแทน เป็นลาภ ยศ หรือกาม อะไรตอบแทน เชื่อเลยว่า มากเลย ที่ไม่ได้ต้องการ สิ่งตอบแทนเลยนะ

      อาจจะมีว่า บางคนมา อาจได้ลาภ ได้ยศ ได้ตำแหน่ง อาจจะมีบ้างก็ตาม

      อาตมาพาพวกเราออกมา ตั้งแต่ปี ๔๙ มีคนมาหาอาตมาว่า เขาอยากเป็นสส. มาฝากเนื้อ ฝากตัว มาชุมนุม เพื่อจะเป็นสส. เขาคิดว่า อาตมาใหญ่มาก จะให้เขา เป็นสส.ได้ แต่คนอย่างนี้ ไม่ควรให้เป็นสส.

      ทุกวันนี้การเลือกตั้ง เขาฝากได้จริง ให้เขาชี้ให้ก็ได้เป็น ก็ให้ไปสมัครกับเขาสิ เขาเอา เสาไฟฟ้าลง ยังได้เลย แต่มาสมัครกับ โพธิรักษ์ จะได้เป็นสส.อย่างไร

      อาตมาเชื่อว่า มากเลยที่มา ได้คาดหวังว่า จะได้อะไรตอบแทนแก่ตน เป็นคน เสียสละ โดยไม่หวัง ผลตอบแทน ...ที่เขาไม่รู้ว่า จะมีหรือไม่ แต่ว่าสังคมไทยเรามี นี่คือ ความเจริญของ สังคมประเทศไทย

      เมื่อมีต้นทุนจิตอย่างนี้ จึงทำมาได้ คนที่ทำมาก่อน ก็รู้เหลี่ยมมุม ต่างมาช่วยกันเข้า จึงเป็นองค์รวม เป็นสังคมกลุ่ม ที่มีองค์ประกอบ ครบมากเลย ช่วยกัน คนละเล็กละน้อย บางคนช่วยหนัก ก็ไม่ได้ติดใจ ไม่คิดเล็กคิดน้อย คนช่วยน้อยก็ช่วยน้อย แล้วแต่ใคร กิเลสมาก ก็ช่วยน้อย ใครกิเลสน้อย ก็ช่วยมาก รวมกันเป็นองค์รวม ที่ขาดแคลนน้อย แต่อยู่กัน อย่างดีเลย ร้อยพ่อพันแม่ แต่เมื่อมารวมกัน แต่ละคน ต่างระมัดระวัง เรียนรู้ ได้สงบเรียบร้อย ขนาดนี้ ก็โอ้โห

      ไม่ได้พูดป้อยอนะ แต่แจกแจงสัจธรรมให้ฟัง พอเข้าใจได้ไหม นี่คือ สิ่งที่เกิดจริง เป็นจริง แต่ละคนได้ ประเทศชาติก็ได้ ถ้าจะเปรียบเทียบบ้าง ในคณะที่เขา ชุมนุม เหมือนกัน แต่เขาก็มีบทบาท ได้ค่าตัว ได้ยศตำแหน่ง ได้ร่ำรวย ได้เป็นรมต. ทั้งที่ สั่งเผาบ้านเมือง ต่างกันกับที่เราทำ ต้องขอบคุณ ที่ช่วยให้ได้ยกตัวอย่าง มันเห็น เข้าใจได้ง่าย

      การมาทำกรรม แต่ละวาระ แต่ละพฤติกรรม มันจึงเกิดคุณเกิดโทษ มันบำเรอกิเลส ก็เป็นกรรมของเขา ใครที่มารวมกัน ต่างคนต่างช่วยกัน ได้ทำสิ่งดี ได้สั่งสมเสียสละ ลดเห็นแก่ตัวได้จริง จึงเป็นสมบัติ เป็นทรัพย์ ที่คุณมานี่ได้ ได้กรรมวิบาก ที่เป็นกุศล ที่แต่ละคน ได้ทำนั่นแหละ ของจริง

      เป็นโอกาสแล้วนะ เป็นโอกาสที่ทำได้ง่าย เป็นองค์รวม ที่ทำได้ง่าย มีคนที่ทั้งสุดโด้ สุดง่านเลย

      เขาก็ว่าต้องรักษาประชาธิปไตย เลยออกไม่ได้

      ซึ่งประชาธิปไตยคืออะไร? ไม่รู้ว่าเขารู้เรื่อง ประชาธิปไตยแค่ไหน อ้างประชาธิปไตย ซึ่งแท้จริง ประชาธิปไตย คือเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ประชาธิปไตย คือเห็นแก่ ประชาชน ทำด้วยใจจริง แค่ไหน ไม่ต้องการ ลาภยศสรรเสริญ ได้มากเท่าไหร่ นั่นแหละ ประชาธิปไตย สอนอย่างโพธิรักษ์ ไม่ได้สอนอย่างรัฐศาสตร์

      ยืนยันว่าพระพุทธเจ้า คือนักประชาธิปไตย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในมหาจักรวาล สังคมพุทธ คือสังคม ประชาธิปไตย ​สร้างมาตั้งแต่ ยุคของท่าน ทั้งที่ตั้งแต่ สมัยก่อนเป็น สมบูรณาญาสิทธิราช ท่านมีรัฐอิสระ เป็นรัฐพุทธ มีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เป็นธรรมนูญ

      แล้วท่านก็สร้าง คนของท่าน หากใครมาทำตาม ธรรมนูญ​ เป็นโอวาทปาติโมกข์ศีล นั่นแหละ เป็นสูตรหลัก เป็นธรรมนูญหลัก ของศาสนาพุทธ ในยุคนั้น ใครมาเข้ารีตท่าน ก็เป็น ประชาธิปไตยหมด พระเจ้าแผ่นดิน มาเข้ารีต คนที่เข้ารีตเป็นพุทธ พระเจ้าแผ่นดิน ก็ยกให้ ปลดแอก เป็นอิสรเสรีภาพทันที พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้หมดเลย นอกจาก ยกให้แล้ว สุดมหัศจรรย์ ทั้งที่เขาถือวรรณะ คนที่วรรณะต่ำกว่า ต้องเคารพ วรรณะสูงกว่า แต่ว่าคนมาเป็นพุทธ แม้เป็นศูทร เป็นจัณฑาล คนที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์​ แม้เคยได้รับ การเคารพเมื่อก่อน แต่ว่าเมื่อเป็นพุทธแล้ว กษัตริย์หรือพราหมณ์ ก็ต้องมาเคารพ คนวรรณะต่ำกว่า

      ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า เมื่อทำได้ จะเป็นผู้หลุดพ้น เป็นนักประชาธิปไตย สุดยอดเลย

      คุณสมบัติของนักประชาธิปไตย คือ พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)

      เหมือนอย่างที่พวกเรา ออกมาเสียสละ มาสร้างอำนาจประชาธิปไตย ของประชาชน โดยประชาชน ​เพื่อมวลประชาชน และจะเป็นของ ประชาชน ต้องเอาให้ได้ เอาประชาธิปไตย ของเรา เอามาให้ได้

      พลังงานทางจิตวิญญาณ ที่พวกเรา เป็นมวลมหาประชาชน ​เป็นพลังงาน สยามเทวาธิราช จะเรียกว่า พลังงานพระเจ้า พลังศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ ไม่มีตัวตน รูปร่าง สีสัน มองไม่เห็น ด้วยตา เป็นพลังรวม เป็นพลังธรรมะ เหมือนพระเจ้าจริงๆ มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขาจริง

      ทำอย่างไม่ต้องการแลกเปลี่ยน ไม่ต้องการทำร้าย ต้องการให้หยุดทำชั่ว แต่ฝ่ายทำชั่ว จะคิดทำร้าย คิดอกุศล เราก็พยายามมาต้านกัน ให้หยุดทำ แต่เราไม่ทำรุนแรง ไปทำร้าย ทำลาย แม้จิตโลภ เราก็ไม่ทำให้เป็น จิตโกรธเคือง เราก็ไม่ให้เกิด ทำด้วยเมตตา ปราณี กันจริงๆ ปรารถนาให้เขา เลิกทำชั่วจริง

      รวมกันเป็นบุญญาวุธ เป็นสันติ อหิงสา ที่เราทำนี่ มันเป็นผลสำเร็จนะ ว่าไหม?

      เราได้ชนะรายทาง มาเรื่อยๆ ใช้ศัพท์ว่า รบ แต่เป็นการรบที่วิเศษ พิเศษ เพราะเราทำ ด้วยบุญญาวุธ ด้วยสงบรำงับ ไม่ใช้อาวุธ เอาแต่ความถูกต้องมาว่า ใครผิด ยอมเสียเถอะ ใครหมด ความชอบธรรม ยอมเถอะน่า มาว่ากันอย่างนั้น

      ที่พล.ร.อ.ชัยได้พยายามสรุปว่า ทางชนะของเรา มีอะไรบ้าง
      ๑.ใช้อำนาจศาล
      ๒.เขาเป็นรัฐล้มเหลว กบฏเสียเอง
      ๓.หนีไปเองหรือฆ่าตัวตาย
      รัฐบาลล้มเหลวไปเอง คือประชาภิวัฒน์
      .ตุลาการภิวัฒน์ เขาผิดเอง ก็หมดความชอบธรรมเอง เขาล้มเหลวเอง เป็นรัฐบาล ที่ล้มเหลวแล้ว เราก็ต้องมาบอกว่า ลาออกเถอะ แต่นายกฯก็ว่า ลาออกไม่ได้ อะไร มัดคอเขาไว้นะ

      ที่เขาพูดอ้าง เป็นความตลบแตลง บอกว่า ลาออกไม่ได้ ซึ่งถ้าลาออก คนจะเยินยอ เสียด้วยซ้ำ คนจะเล่นงานเขา ลดลงด้วยนะ ไม่ได้ลึกลับอะไร แต่สิ่งที่เขายังยึด หวงแหนอยู่นี่ มันใหญ่กว่านั้น แล้วก็พูดตอแหล อยู่อย่างนั้น แล้วบริวารลิ่วล้อ ก็เป็นทาส ที่ปล่อยไม่ไป เล่นละครกัน นั่นแหละ ประชุมกัน นั่งโต๊ะกันประชุม
      แต่เชื่อว่า สัจธรรมย่อมชนะอธรรม

      .ประชาภิวัฒน์ คือประชาชนประท้วง ว่าคุณผิด หมดชอบธรรมแล้ว หยุดเถอะ ออกเถอะ อำนาจของประชาชน คือรัฏฐาธิปัตย์ ไม่มีใครแบ่งเอาไปได้ เขาทำผิดกฎหมาย รธน. ทำเกินทำผิดหน้าที่ ทำสิ่งไม่ควรทำ เยอะแยะ

      สรุปแล้ว ไม่ใช่รัฐบาลแล้ว ประชาชนจึงออกมายืนยัน ตามสากล การเลือกตั้ง เขาก็คุยว่า เขามาจากเลือกตั้ง แต่คุณหมด ความชอบธรรมแล้ว ประชาชน เลยออกมา ประท้วง เป็น ๑๐ ล้าน แล้วก็ไม่ออก จะให้ออกมา ๖๐ ล้าน ก็คงไม่ได้ มันมากที่สุดแล้ว ประเทศไหนๆ ก็ทำไม่ได้มากขนาดนี้ ที่อื่นออกมา ก็วุ่นวายเสียหาย แต่ของเรา ต้องขอบคุณ ที่ทำด้วยได้สวยงามจริงๆ สุดยอดเลย

      อาตมาก็ยังเชื่อว่า เราชนะแล้ว แต่อย่างไร ก็พยายามอดทนหน่อย มันด้าน ยกกำลังโง่ จริงๆ อดทนอีกหน่อย พากเพียรกันไป เราก็ช่วยกัน คนละไม้คนละมือ ขออย่างเดียว อย่าเป็นผู้ก่อความรุนแรง ใช้ความสงบ สยบความเคลื่อนไหว พวกเรานี่ จอมยุทธตัวจริง

      ชนะรายทาง มาตลอดเวลา ถ้าจะมองก็คือ คนชั่วนี่แหละ จะทำให้เราได้สร้างความดี อันยิ่งใหญ่
      ความชั่วที่ยิ่งแย่ ทำให้เราได้สร้าง ความดีอันยิ่งใหญ่
      ต้องสร้างมวลให้มาก และให้ทนนานด้วย เพราะคนชั่ว สุดโด้สุดง่าน

      ตุลาการก็ช่วยอยู่ ตลอดเวลา ตอนนี้เลือกตั้งไม่ได้ ก็จะเลื่อนอีกแล้ว ไม่ยอมเสียที เป็นประชาภิวัฒน์ เขาก็ยอมลด ยอมแพ้ไปเรื่อย เหลือประเด็นที่ ๓ คือหนีไปเอง หรือ ฆ่าตัวตายเอง ไม่อยากให้รุนแรง ฆ่าตัวตายไป

      อันที่ ๓ คือ กรรมาภิวัฒน์ หนีไปเอง หรือฆ่าตัวตายไปเลย

      มีคำถามมาเมื่อวานว่า ...ขอกราบสวัสดี หน่วยงานคณะเจริญธรรม ทำไม แนวทางท่าน ถึงไม่สอดคล้อง กับคนหมู่มาก และไม่สอดคล้องกับ ธรรมคณะอื่น ทั้งที่คนมีธรรม น่าจะเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน บรมครูผู้รู้แจ้งจริง ของท่าน คือใคร หรือทำไม ถึงต่างกัน คนละความคิด แล้วยังงี้ จะรู้ได้ไง ไหนของจริง ไหนขอปลอม ธรรมนั้นของจริง และต้องรู้แจ้งจริง และเป็นไปตามธรรมนั้นจริง ข้าพเจ้าก็มี บรมครู เหมือนกัน ทำไงดี?

      ตอบ... ขอบอกว่า ที่ตู่ว่า พวกเราทำ ไม่สอดคล้องกับ คนหมู่มาก ซึ่งเขานึกว่า เราเป็นคนหมู่น้อย แล้วทำไม เป็นคนหมู่น้อย เพราะ คนที่เป็นปราชญ์นั้น เป็นคน หมู่น้อย และโดยเฉพาะ โลกุตระนั้น ยิ่งน้อย คนที่มาทำ ด้วยความสงบ ชนะความรุนแรงนั้น ส่วนน้อย แต่คนที่จะชนะ ด้วยรุนแรงนั้น เป็นสามัญ

      แต่อาตมายังไม่เชื่อว่า คนไทยเป็นเมืองพุทธ นั้น .....จะไม่.....ความไม่เข้าใจว่า ที่เราทำนี่ ไม่สอดคล้อง อาตมาเชื่อว่า ที่ทำนี่ สอดคล้องกับ หมู่ใหญ่ แต่เขาตกอยู่ใต้ โลกธรรมอยู่ ซักวันหนึ่ง กรมนั้น กระทรวงนั้น จะมาร่วมกับเรา เดี๋ยวนักธุรกิจ จะออกมา ร่วมกับเรา

      ตอนนี้อาจมีน้อย

      เพราะธรรมนี้ เป็นโลกุตรธรรม จึงไม่เข้ากับทั่วไป นี่เป็นเรื่อง ทวนกระแส เป็นเรื่อง ที่เสียสละโดยไม่หวัง ผลตอบแทน

      คนมีธรรมะสามัญ โลกีย์ จะเป็นทิศเดียวกัน แต่พอโลกุตระนั้น จะทวนกระแส คนละทาง อันหนึ่ง เป็นไปเพื่อโลกธรรม แต่อีกอัน เป็นไปเพื่อ ลดละโลกธรรม

      บรมครูของอาตมาและพวกเรา คือพระพุทธเจ้า ทำไมถึงต่างกัน คนละความคิด เพราะถ้าคุณ ก็เป็นพุทธนั้น คงเป็นคนละองค์

      แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนของจริง อันไหนของปลอม... พระพุทธเจ้าว่าไว้ เมื่อมีนานาสังวาส คุณต้องศึกษา ทั้งสองฝ่าย คนตาดีจะรู้ว่า อันไหนเป็นธรรมวาที ก็เอาอันนั้น ส่วนคนตาร้าย ก็เห็นว่า อธรรมวาทีดี ก็ไปเอาอธรรมวาที ให้ศึกษาสองฝ่าย แล้วใช้สัจจะยืนยัน

      ทำอย่างไรดี เขาก็มีบรมครูดี ต่างคนต้องการพิสูจน์ ก็เมื่อเป็นนานาสังวาส คุณก็เห็นว่า ของคุณถูก อาตมาก็เห็นว่า ของอาตมาถูก ก็ต่างคนต่างทำ

      ทำมานี่ก็ไม่ได้คิดว่า จะมีคนทำได้อย่างนี้ ทำแล้วอย่าง มีศรัทธา มีศีล แล้วบรรลุผล ตามศรัทธาสูตร ในพระไตรฯล.๒๔ ข้อ ๘
๑.   ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใส ในอริยสัจ เป็นต้น)
๒.   ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕)
๓.   พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น)
๔.   เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
๕.   เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น)

๖.   แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗.   ทรงวินัย
๘.   อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)

๙.   ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
๑๐.  ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิด ความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปว

      ศรัทธาเป็นความเชื่อ สูงไปตามลำดับจริงๆ


  

 
๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ ที่ เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กทม.