570201_พ่อครูที่เวทีป้อมมหากาฬ
เรื่อง ประชาชนปฏิวัติต้องชัดในธรรมะโลกุตระ

        พ่อครูว่า.... เราก็มาต่อกัน ตอนที่แล้ว เราพูดถึงเรื่องการปฏิวัติ ๖ แบบ ซึ่งแบบที่ทหาร เขาทำการปฏิวัติ แล้วตั้งตน เป็นผู้บริหารชาติ ตอนแรก อาจจะทำดี แต่ว่าต่อไป กิเลสโตขึ้น ซึ่งสามัญสำนึก ก็จะรู้กันว่า ทำดีทำชั่วคืออะไร แต่ว่าพอกิเลส โตขึ้น ก็จะทนไม่ได้ ต่อความยั่วยุ ของโลกธรรม ของอามิส

        แม้ประชาธิปไตย ที่แต่ต้นที่อาจดี แต่ว่าต่อไป มีกิเลสขึ้น ก็ทนไม่ได้เหมือนกัน ไม่ใช่แบบ ที่มีการเรียนรู้กิเลส มีมรรควิธีล้างกิเลส อย่างหยาบกลางละเอียด ที่แท้จริง ที่จะไม่เวียนกลับได้ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) เป็นลักษณะของ อุภโตภาควิมุติ ทำให้กิเลสตาย อย่างแท้จริง ปัญญาก็จะรู้ว่า ไม่ทำ สิ่งที่ต่ำแน่ ไม่วอกแวก ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีสวรรค์ ไม่มีนรก ว่างสบายจริงๆ มีแต่ทำประโยชน์แก่โลก อย่างเดียวเลย นี่คือ ประชาชน ต้องมีคุณภาพ คุณธรรม ถึงโลกุตรธรรม

        ถ้าสังคมใด ให้มีหลักวิชา ทำอย่างสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นสัจจะ ของพระพุทธเจ้า ที่แท้จริง ผู้ใดทำได้ ก็เป็นผู้สมบูรณ์

        การปฏิวัติ ปฏิรูปด้วย ตุลาการภิวัฒน์ มีการยอมรับกันในสังคม มีการพิพกาษา ตัดสิน ก็ช่วยได้ อย่างแท้จริง อย่างหนึ่ง และประชาภิวัฒน์ ที่ออกมายืนยัน อำนาจของ ประชาชน มารวม มีปริมาณมากพอ ยืนยันยืนหยัด มีปริมาณมาก อย่างไม่เคย มีมาก่อน แล้วไม่รุนแรง ไม่มีอาวุธ มีแต่ฝ่ายชั่วฝ่ายเลว มาทำความร้ายแรง วันนี้ก็เกิดเหตุ มีคุณโกตี๋ ก็ไปแสดงตัวว่า อยู่ที่โรงพัก คล้ายว่าตนเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องนะ เป็นไก่กระต๊ากหรือเปล่า หลบฉาก ให้มีหลักฐานว่า ตนเองไม่ได้เป็นตัวการ แล้วก็ปล่อย ให้พวกนั้นทำ ไม่อย่างนั้น คุณจะไปอยู่กับตำรวจทำไม มันส่อพิรุธ เห็นชัดเจน

        โจ่งแจ้งมาก ผู้มีหน้าที่ดูแลความสงบ ก็เฉย ปล่อย ประเทศไทยแย่แล้ว เสื่อมมากแล้ว เหลือแต่ประชาชน ต้องมาช่วยตนเอง นอกจากตุลาการ แล้วก็มี ประชาชนออกมา ที่สำคัญ ต้องศึกษาโลกุตรธรรม อาริยธรรม ที่แท้จริง ลดกิเลสแท้จริง ส่วนความรู้ ที่เราจะใช้กับสังคม ด้านต่างๆ เราก็อยู่ร่วมด้วย ไม่ใช่หนีเข้าป่าเขาถ้ำ ที่ไม่รับรู้สังคม อย่างนี้ไม่มีโลกวิทู ซึ่งศาสนาพุทธมี พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)

        งานไหนดี ไม่เป็นภัย ไม่เป็นไปเพื่อ กิเลสเพิ่มก็ทำ ตอนที่แล้ว อาตมาอธิบายถึง แบบคนจน เรียกว่า กรรมภิวัฒน์ ประชาชน มาสร้างกรรม ที่เป็นอาริยะ จะช่วยเหลือ มนุษยชาติได้ เกิดพลัง ๔ พ้นภัย ๕ หรือมีสาราณียธรรม ๖ เพราะจิตพัฒนา มีพุทธพจน์ ๗

        เป็นผู้กิเลสน้อย ไม่เปลืองผลาญ อาศัยกินใช้อยู่น้อย ไม่สะสม ไม่กอบโกย ไม่เอาเปรียบ เอารัด แต่สร้างสรร ได้เพิ่มขึ้นสมรรถภาพ ดีขึ้นๆ สมมุติว่า เรามีค่าตัว ค่าแรง ห้าหมื่น แต่เราไม่เอาหรอกหมด เราใช้แค่ หมื่นหรือสองหมื่น ก็เหลือเฟือแล้ว ค่าตัวเรา แท้จริง ห้าหมื่น

        ถ้าเราเอง ยังสมาทานขันธ์ ๕ อยู่ เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน คือยังยึดถือ (อุปาทิ) เหลืออยู่ อรหันต์ที่ยังเหลือ ขันธ์ ๕ จึงเป็นผู้สร้างสรร สงเคราะห์ผู้อื่นอยู่ เป็นโพธิสัตว์แท้ (โสดาฯ ถึงอรหันต์) ตามลำดับ ช่วยเหลือผู้อื่น รื้อขนสัตว์ เป็นผู้ทรงวินัย เป็นผู้ยินดี ในเสนาสนะป่า ยินดีในป่า แต่ไม่ติดป่า เมื่อต้องทำงานกับสังคม ก็ต้องอยู่กับ ป่าคอนกรีต เหมือนจี้กง เป็นต้น

        การตายก็จะมีแต่เจริญขึ้นกว่าเก่า ชาติต่อไป ก็เจริญกว่าเก่า เรารู้แล้วว่า เราไม่ได้ทำ กรรมอกุศล เราทำจิตบริสุทธิ์ ได้แล้วยิ่งอรหันต์ ยิ่งสบาย ไม่กลัวตาย แม้ท่านยินดี มีขันธ์ ๕ อยู่ก็อยู่ ตายไปก็วนเวียน มาเกิดใหม่ มาช่วยสืบสาน พุทธศาสนา ต่อไป ไม่ใช่เรื่อง ปิดบัง หรืองมงาย ตรงตามคำสอน พระพุทธเจ้า จิตสะอาด แล้วก็ทำแต่ดี ไม่มีบาป หรือบุญ (ชำระกิเลส) อีกแล้ว มีอเนญชาภิสังขาร ไม่มีปุญญาภิสังขาร แต่มี อปุญญาภิสังขารแล้ว จิตยิ่งมี อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา ลงตัว

        ผู้สร้างกรรม สร้างผลวิบาก จึงเกิดเป็นกรรม ที่เป็นกรรมาภิวัฒน์ พัฒนากรรม ตุลาการภิวัฒน์ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ประชาภิวัฒน์ ก็เป็นของส่วนร่วม แต่กรรมาภิวัฒน์นั้น ของแต่ละบุคคล สั่งสมผลวิบาก ตามลำดับ โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ฯ ตามลำดับ แล้วสั่งสมเป็น พระโพธิสัตว์ แต่ละลำดับ จนเป็น อนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า

        พิสูจน์ยืนยันได้ ที่นำมาบอก เพราะได้บำเพ็ญ ปฏิบัติ ตามที่พระพุทธเจ้า ค้นพบ มาก่อน ท่านประกาศไว้ เรามาศึกษาตาม ก็จะเกิดสิ่งจริง มวลกปปส. เป็นเหตุการณ์ใหม่ ในโลก เป็นการปฏิวัติ ของประชาชน ที่ใช้คุณธรรมปฏิวัติ​ ประชาชนมี กรรมาภิวัฒน์ และมีตุลาการภิวัฒน์ ช่วยด้วย

        มาถึงวันนี้แล้ว เห็นผลชัดเจน ผู้มีปัญญาจะเห็น ไม่ใช่แต่พูด แต่มีความจริง เกิดได้ ยืนยันหลัดๆเลย ที่อาตมาได้เคยเกิด อธิบายถึง พลังอำนาจ หรือ Power ซึ่งของมนุษย์ เป็นพลังนามธรรม
       
        ผู้จะเรียนรู้พลังงาน ที่สูงขึ้นๆ เป็นเรื่องยากที่จะรู้ ในภาษาไทย เรียกอำนาจ อย่างภาษา ที่เป็นอำนาจไม่ดี เรียก Force ส่วนอำนาจดี เรียก Authority เป็นของแต่ละคน เมื่อมารวมกัน หลายคน ก็เป็นพลังรวม บารมี แต่ถ้าของคนไทย หลายคนรวมกัน ก็เรียก พลังสยามเทวาธิราช เป็นสัจธรรม ไม่ลึกลับ มาแต่เหตุ ของพระพุทธเจ้า ไม่งมงาย ไม่บังเอิญ ไม่ใช่ไม่รู้ ใครเป็นเจ้าของ ก็ต้องรู้ ต้องเข้าใจ เข้าถึง

        เป็นพลังอาริยะที่ลึกซึ้ง เป็นพลังความดี ถูกต้องเสียสละ มีสมรรถนะ บริสุทธิ์ สะอาด ไม่มีแฝง มันอาจไม่สะอาด ในกรณี คนคุณภาพไม่สูง แต่ถ้าคุณภาพ ของคุณธรรมสูง จะยิ่งบริสุทธิ์ ไม่มีแฝง ไม่กดข่มไว้ แต่แสดงจากจิตใจจริง มีเท่าไหร่ ก็ได้อย่างนั้น ตามลำดับ โสดาฯ สกิทาฯ... ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ

        ผู้ยิ่งได้แล้ว เป็นอนาคาฯ อรหันต์ จะมีต้นทุนสูง ไม่เห็นแก่ตัว เพราะละอัตตา ตัวตน อนาคามี ก็เหลือแต่ภัย เฉพาะตน ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่นแล้ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่เบียดเบียนตน แต่อรหันต์ ไม่เบียดเบียนตน และท่าน

        เมืองไทยเป็นพุทธ ต้องกอบกู้สัจธรรม ที่เป็นของสากล ของจักรวาล ไม่แบ่งชาติ ชนชั้น ทุกคนเรียนรู้ได้ เป็นสัมมาทิฏฐิก็ได้ เกิดคุณธรรม ตรงกันหมด แล้วจะมารวมกัน เป็นเอกีภาวะ

        ชาวพุทธที่มีบารมี อยู่ไหนก็แล้วแต่ แต่พอมีเรื่องราว ไปกระตุกต่อมสำนึก จุดปัญญาว่า โอ้ นี่มันสิ่งดี เกิดขึ้นแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่ง ออกมาทำ ก็มีคนเห็นรูปธรรมชัด เปิดเผย ยืนยันหลักฐาน ว่านี่เขาชั่วเขาผิด เขาดีอย่างนี้นะ ใครชั่วใครดี ก็เห็นชัดเจน คนก็เลือกฝ่าย แล้วก็มารวมตัวกัน ไม่ได้จ้าง ไม่บังคับ ไม่กดขี่ ไม่หลอก ไม่ครอบงำ ความคิด ซึ่งเขาทำก็ได้ชั่วคราว

        แต่ถ้าสัจธรรมแล้วไม่เปลี่ยน เปิดเผยไปตลอดกาลเลย ไม่น่าอาย มันพ้นภัย พ้นปาริสารัชภัย ไม่เป็นเรื่องน่าตำหนิ ไม่เป็นอนวัชชะ ผู้มีปัญญาจะเข้าใจ ไม่ตำหนิ เพราะเป็นกิจการที่ดี

        อย่างเรามาประท้วง ผู้รู้จะอนุโมทนา มาอุดหนุนส่งเสริม นับวัน เดือนปี อาจอยู่ถึงปี ก็ไหวกันไหมนะ...ไหว

        ไม่สุดทนแล้วหรือ?... ถ้าเราเอง เราเป็นคนไม่มีภาระ ไม่มีสิ่งเป็นห่วงหาอาวรณ์ ไม่ห่วงหน้า พะวงหลัง นี่คือสิ่งดี ที่จะทำต่อ มันยังไม่บริบูรณ์ เราก็ต้องทำต่อไป จึงเป็นไปได้โดย ไม่ลดราวาศอก แต่มีก้าวหน้า พัฒนาขึ้นไป

        แต่ถ้าไม่มีคุณสมบัติแท้ คนเรามีขีดความอดทน ก็จะทนไม่ไหว มีขีดจำกัด แต่ถ้าคน ไม่ต้องทน เพราะมีปัญญารู้ว่า ไม่จำต้องทำ ทำเพราะเห็นว่าดี มีปัญญารู้ จำต้องทำ เพื่อให้สิ่งประเสริฐนี้ เกิดได้ ก็ควรทำ

        การปฏิวัติที่ใช้อำนาจ โลกุตระ อาริยะ คือสงบ ไม่ทำร้ายใคร เอาความสงบ เราต้อง สะอาดบริสุทธิ์ ใครจะมาทำร้ายเรา ถ้าถึงที่ตาย ก็ต้องตาย ว่ากันไปตามนั้น ซึ่งมัน เป็นไปได้ เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ เกินเชื่อสามัญ แต่มีบารมีจริง ของแต่ละคน ผู้จะแคล้วคลาด ก็เป็นบารมี แต่ละคนๆ ผู้มีวิบาก ก็จะเป็นเรื่องของกรรม ไม่ใช่ว่า ผู้มีวิบาก ต้องตาย จะเป็นผู้ต่ำ ก็ไม่ใช้

        อย่างพระโมคคัลลานะ ที่ท่านเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งพระพุทธเจ้า เคยตรัสว่า ผู้มีสิ่งเสมอพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่ทั้งหมด มีสองคนคือ พระสารีบุตร และ พระมหากัสสปะ ซึ่งสิ่งที่เท่ากัน ในอรหันต์ และพระพุทธเจ้า คือ เท่ากันคือกิเลส หมดจากจิต แต่ว่าความสามารถนั้น ไม่เหมือนกัน
       
        อย่างพระโมคคัลลานะ ก็ตายโหงนะ เขาฆ่าตาย ท่านไม่ได้รบรากับใคร แต่ทำงาน ให้ศาสนา ท่านทำดี แต่เขาเสียประโยชน์ ก็เลยมาทำร้าย เป็นเรื่องศาสนา เป็นเรื่องธรรม ท่านถูกทำร้าย หลายครั้ง แต่ท่านมีฤทธิ์ เป็นอจิตไตย เป็นเรื่องเกินเชื่อ แต่เป็นจริง

        เรื่องทางร่างกาย ทำให้ตายหรือฟื้น แต่ว่าเรื่องจิตวิญญาณนั้น เป็นเรื่องลึกซึ้ง กว่านั้น สมัยโบราณ พลังทางจิต มีอำนาจมาก พระโมคคัลลานะ ถูกฆ่าหลายทีด้วย ตายโหง แต่ผู้เข้าใจแล้ว ไม่กลัวตาย ท่านตายก็ไม่มีปัญหา ท่านจะเกิดอีก หรือไม่เกิดอีก ก็เป็นเรื่องของท่าน สามารถปรินิพพานได้ เป็นสิทธิ์ของท่าน

        เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ แล้วมีการกระทำ มีความรู้ความสามารถ ความจริง ของคน เรียนรู้ธรรมะ แล้วอยู่กับโลก อย่างภาคภูมิใจ ถ้าไม่มีมานะถือตัว ไม่หลง โลกธรรม ก็จะสะอาด เป็นประโยชน์ต่อโลก ต่อสังคม เป็นกรรมกิริยา มีคุณค่าสูง เป็นคุณธรรม ขั้นโลกุตรธรรม เหนือกว่าโลกีย์สามัญ คนโลกีย์ทำอย่างไร ก็ไม่เหมือน เสแสร้ง อย่างไร ก็ไม่เหมือน เมื่อได้คนอาริยแท้ มารวมกัน ก็จะเกิดผล

        ขณะนี้ ยังมีคนระแวง ฝ่ายแดงเขาไม่เชื่อ หาว่า สุเทพโกหก ไม่เชื่อ ทั้งที่พวกเขาเอง โกหก เขาก็ว่าไป อาตมาก็ว่า อาตมารวมกับ หมู่กลุ่มนี้ ก็รู้ว่ามีอะไรจริง อะไรแฝง พวกเราอโศก ก็รวมกันอยู่ในนี้ ก็รู้ว่ามีอะไร จริงหรือไม่ แน่นอน มีข้อบกพร่อง แต่เขา ก็เอาของ บกพร่องเล็กน้อยไปขยายความ หาด่าหาว่ากัน เป็นสงคราม เป็นธรรมาธรรมะสงคราม ไม่ใช่สงครามโลกีย์แย่งโลกธรรมกัน แย่งสมบัติ แย่งผัวเมียกัน ก็ไม่ใช่ ไม่ไปแย่งใคร

        มีแต่สร้างคน ให้มีจิตใจ มักน้อยสันโดษ ตามหลักตัดสิน ธรรมวินัย ๘ หรือ กถาวัตถุ ๑๐ หรือ วรรณะ ๙
       
        หลักตัดสินธรรมวินัย ๘
๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด (วิราคะ)
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ผูกมัดรัดรึงสัตว์ไว้ (วิสังโยคะ) คนเรา พระพุทธเจ้า ให้เรียนรู้ ความเป็นสัตว์ ทางจิตวิญญาณ แบ่งเป็นสัตตาวาส ๙ ถ้าล้างความเป็นสัตว์ได้หมด ก็เป็น วิสังโยคะ
๓. เป็นไปเพื่อความไม่สะสม (อปจยะ)
๔. เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉะ)
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิ)
๖. เป็นไปเพื่อความสงัด สงบจากกิเลส (ปวิเวกะ) ไม่ใช่ไปอยู่ที่ไม่มีคน ที่เงียบ แต่ที่จริง จิตต้องสงบ ไม่มีเพื่อนสอง คือกิเลสตัณหาสงบ หมด เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีเพื่อนสอง
๗. เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร (วิริยารัมภะ) ต้องขยันพอดี ตรวจสอบแล้ว ได้ตามฐานะ บารมี แต่ละคน
๘. เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภระ)
        นี้เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา  (โคตมีสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๓   ข้อ ๑๔๓)

        หลักกถาวัตถุ ๑๐ ประการ
๑.     เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉกถา) 
๒.     เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิกถา) 
๓.     เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส (ปวิเวกกถา) 
๔.     เรื่องที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส (อสังสัคคกถา) คือไม่ประกอบ ด้วยสวรรค์ ไม่ใช่ไม่คลุกคลีกับสังคม กับหมู่กลุ่ม อยู่กับสังคม แต่จิตไม่เกี่ยวเกาะกับสวรรค์
๕.     เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (วิริยารัมภกถา) 
๖.     เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล (สีลกถา)
๗.     เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่น ในสมาธิ  (สมาธิกถา)
๘.     เรื่องที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ปัญญากถา)
๙.     เรื่องที่ชักนำให้หลุดพ้น จากกิเลส  (วิมุติกถา) 
๑๐.    เรื่องที่ชักนำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริงในความหลุดพ้น จากกิเลส (วิมุตติญาณทัสสนกถา)
       
        มีวรรณะ ๙
๑.     เลี้ยงง่าย  (สุภระ)
๒.     บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ)
๓.     มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) 
๔.     ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ)
๕.     ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)
๖.     เพ่งทำลายกิเลส  มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์) ผู้ที่ทำได้แล้ว ก็ไม่เป็นเรื่องเคร่ง สำหรับท่าน อย่างพระมหากัสสปะ ก็มีธุดงควัตรที่สูง อย่างพวกเรานี่ กินมื้อเดียวได้ ก็เคร่ง แต่ผู้กินได้เป็นปกติ ก็ไม่เคร่งอะไร ผู้ไม่ใช้เงินทอง ก็เคร่งนะ แต่เมื่อทำได้ ตัวเราไม่เคร่ง แต่คนอื่น เห็นแล้วเคร่ง แต่ท่านเป็นปกติ ศีลแปลว่าปกติ ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ไม่ต้องฝืน
๗.     มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) 
๘.     ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ๙ 
๙.     ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) #

        มีจะมีลักษณะสาราณิยธรรม ๖
๑.     เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง .
๒.     เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๓.     เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๔.     แบ่งปันลาภผลให้กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย   (ลาภธัมมิกา – มีลาภตามธรรม แห่งสาธารณโภคี) เช่น พระสงฆ์ไปบิณฑบาต (ไปโปรดสัตว์) ได้ลาภโดยธรรม ก็เอามา เทรวมกัน แล้วก็แบ่งกันกิน กันใช้ บางคนมีลาภมาก เป็นบารมีแต่ละคน บางคน บิณฑบาต ไม่ค่อยได้ ไม่มีบารมี ยุคนี้เป็นยุค สิทธิมนุษยชน ปิดกันไม่ได้ เราทำได้ อย่างบริสุทธิ์ สูงส่ง มีสาธารณโภคี ถึงระดับฆราวาสได้
๕.     มีศีลเสมอสมานกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (สีลสามัญญตา) ชุมชนเรา ทุกชุมชน อย่างต่ำ ต้องมีศีล ๕ ถ้าผิดศีล ก็ให้ออกไปก็มี กี่ปีก็ว่ากันไป ตามหนักเบา คนศีล ๕ ก็เสมอศีล ๕ คนศีล ๘ ก็เสมอศีล ๘
๖.     มีความเห็นเสมอสมานกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย .  (ทิฏฐิสามัญญตา) คือความรู้ความเห็นว่า เราจะเดินไปสู่จุดหมาย ปลายทางอย่างไร ร่วมกัน แล้วปฏิบัติ ตามศีล คนนี้ได้ฐานโสดาฯ สกิทาฯ...ไปตามลำดับ ไม่ข่มเบ่งกัน นับถือกันไป ตามศีล  (พตปฎ. เล่ม ๒๒  ข้อ ๒๘๒-๒๘๓)

        แล้วจะมีคุณสมบัติทางจิต ๗ อย่าง เรียกพุทธพจน์ ๗
๑.     สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
๒.     ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี-ปรารถนาดีต่อกัน) 
๓.     ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
๔.     สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือกัน)
๕.     อวิวาทะ (ไม่วิวาทแตกแยกกัน)
๖.     สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่)
๗.     เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)
(โกสัมพีสูตร พตปฎ. ล.๒๒  ข.๒๘๒-๒๘๓)

        ไม่ใช่ไปปลีกเดี่ยวอยู่คนเดียว ไม่เกียวกับใคร อย่างนั้น เป็นลัทธิฤาษี ไม่ได้ล้าง เหตุแห่ง อาริยสัจ ๔ ไม่มีวิปัสสนาวิธี เขามีแต่ สมถวิธี
       
        สาธารณโภคี คือกินใช้ส่วนกลาง ร่วมกัน อย่างการสื่อสารเรานี่ ถ้าจ้างทำนี่ วันละ หลายล้านบาท แต่ของเรานี่ แกนของเรา ไม่ได้จ้างเลย เขาเสียสละทำ ทั้งคน ทั้งอุปกรณ์

        อาตมามั่นใจว่า ที่ทำมานี่ ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน ในไตรปิฎก แต่อาจมีแปล ต่างกันบ้าง อาตมาก็ตรวจสอบ อย่างจริงใจ ว่าอันไหนถูก แล้วนำพา พวกเราปฏิบัติ ก็ยังว่า เป็นสิ่งดีงาม ใช้ได้

        คุณสมบัติของมนุษยชาติ ถ้าปฏิบัติโลกุตรธรรม เป็นธรรมะเหนือโลก เป็นอเทวนิยม รู้แจ้งในเทวดา มาร พรหม รู้จักเทวนิยม อเทวนิยม พุทธรู้เทวดา รู้สัตว์นรก แต่รู้ว่าของจริง เป็นนามธรรม ไม่มีสรีระ รูปร่าง แต่ทุกวันนี้ เขาสอนกัน อย่างมีรูปร่าง ทั้งเทวดา สัตว์นรก พรหม ก็ปั้นเป็นตัวตน ที่จริงไม่มี เข้าใจไม่ได้
       
        เทวดาชั้นต่างๆ ก็เข้าใจ เทวดา ๖ ชั้นก็เข้าใจ ว่าเราเป็นเทวดา ระดับไหน เทวดา ระดับโลกียะ (สมมุติเทพ) ก็รู้ได้ง่ายกว่า แต่เทวดาระดับ โลกุตระ (หรืออุบัติเทพ) จะรู้ได้ยากกว่า

        เราทำได้ เราจะได้คนมีคุณสมบัติ อาริยธรรม เป็นโลกุตรธรรม ที่แท้จริง ไม่ใช่อริยะ หรืออารยะ ที่เขาเรียกกัน อาตมาเอาสองอย่าง รวมกัน เป็นอาริยะ

        เพราะอริยะ เขาหลงเป็นพระ ป่าเขาถ้ำ อาตมาไม่เอาด้วย ส่วนอารยะ เขาก็เอา เป็นการเจริญ ทางวัตถุทางโลก เป็นเมืองอารยธรรม ก็ทั่วไปอย่างโลกีย์

        ถ้าเราสามารถรู้ว่า พุทธมีอาริยธรรม ไม่ลึกลับ เป็นอรหะ เป็นวิทยาศาสตร์ แม้เป็น นามธรรม แต่สูงส่ง เราจะได้คนมีคุณธรรม มาเป็นกลุ่มสังคมอาริยะ ที่แท้จริง เป็นสังคมอย่างในหลวงตรัส แบบคนจน เราไม่ต้องก้าวหน้าอย่างมาก เพราะเป็น การถอยหลัง อย่างน่ากลัว ขอกล่าวชัด แบบคุณทักษิณนี่แหละ จะให้ก้าวหน้าอย่างมาก ให้รวย ซึ่งคนละอย่าง กับในหลวง ของเราเลย แม้นักการเมือง ผู้บริหารบ้านเมือง ก็ทำอย่างในหลวงไม่ได้

        เปิดมุมคิด 'ธีรยุทธ บุญมี' กับภารกิจปฏิรูปประเทศไทย
แรงบันดาลใจ (inspiration)

ผมได้ข้อสรุป ทางการเมือง มานานแล้วว่า ความโลภ อย่างไม่มีขีดจำกัด (unlimited greed) ความบ้าอำนาจ อย่างไม่มีขีดจำกัด ของนักการเมือง (unlimited arbitrary power) นำไปสู่ การพังพินาศ แบบสมบูรณ์ ของประเทศ (absolute catastrophe)

โครงสร้างประเทศ ที่พังทลายแล้ว คือ ระบบพรรคการเมือง

โครงสร้างดุลอำนาจ 3 ฝ่าย ระบบตรวจสอบ โครงสร้างระบบราชการ ความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง ประชาชน กลุ่มธุรกิจ ข้าราชการ พังทลาย

โครงสร้างสุดท้าย ที่กำลังพังทลาย คือระบบคุณธรรม และศีลธรรม ลึก ๆ ผมไม่มี ความหวัง และไม่มีกำลังใจ จะแก้ไข (พ่อครูว่า.. อาตมาว่า เรื่องคุณธรรม ศีลธรรม เป็นโครงสร้างแรก ที่พังทลายเลย และเราต้องกอบกู้ เป็นอันดับแรกเลย)

ตั้งแต่กลางปี 2556 ผมตั้งข้อสังเกตว่า การชุมนุมของนักเรียน และนักศึกษาอาชีวะ กลุ่มหนึ่ง ที่บริเวณ แยกอุรุพงษ์ มีลักษณะ มั่นคง มีคำขวัญที่ชัดเจน คือ ปฏิรูป ประเทศไทย ซึ่งตรงประเด็น ถูกต้องกว่าความคิดของ พวกผู้ใหญ่ใน “การปฏิรูป กฎหมาย” ในปี 2540 และที่เรียกร้อง “ปฏิรูปการเมือง” ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งไม่เคยได้ผล และจะไม่ได้ผล

ต่อมาคนกรุงเทพฯ ทุกอาชีพ และอีกหลายจังหวัด ทั่วประเทศ หลายล้านคน รวมทั้ง ชาวบ้าน ที่ออกมาบริจาคเงิน ให้ขบวนมวลมหาประชาชน สะท้อน “อาการทนไม่ไหว” กับการ คอร์รัปชั่น ที่ไม่มีขีดจำกัด บวกกับการใช้อำนาจ แบบไม่มีขีดจำกัด ของภาค การเมือง โดยเฉพาะ ระบอบทักษิณ และตกผลึก เป็นความคิด “การปฏิรูปประเทศ” โดยพลังประชาชน ชัดเจนมากขึ้น

ผมได้ข้อสรุปทางการเมือง มานานแล้วว่า ความโลภ อย่างไม่มีขีดจำกัด (unlimited greed) ความบ้าอำนาจ อย่างไม่มีขีดจำกัด ของนักการเมือง (unlimited arbitrary power) นำไปสู่ การพังพินาศ แบบสมบูรณ์ ของประเทศ (absolute catastrophe)

        อันนี้ อ.ธีรยุทธ พูดออกมานี่ จริงมากเลย ซึ่งในวงการศาสนา มีเอาจริงอยู่บ้าง แต่อาตมาเข้าใจว่า ท่านพยายาม ที่จะลดความโลภ กันอยู่บ้าง แต่มิจฉาทิฏฐิ ก็เลยไม่เกิด การลดความโลภ อย่างถูกต้องแท้จริง ไม่ได้กำจัดกิเลส อย่างเป็นอาริยสัจจ์ ถ้าลดโลภได้ การบ้าอำนาจ บ้าโลภของนักการเมือง จะลดลง ทุกวันนี้ นักการเมือง คือผู้บ้าลาภยศ สรรเสริญ หรือใช้อาชีพการเมือง ที่มีอำนาจการเมือง เพื่อให้ได้โลกธรรม คนทั่วไปก็ทำ แต่ว่าการเมือง เป็นหน้าที่ๆมีอำนาจ มีฐานะ คุมข้าราชการประจำ ให้เป็นขี้ข้า นักการเมือง โยกย้ายได้ ต้องซื้อตำแหน่งนักการเมือง เลยรวยเละเลย ตกเป็นทาส การเมือง เละยิ่งกว่าขี้แพะท้องเสีย

        คานธีกล่าวไว้ว่า ต้องนำเอาศาสนา ไปสถาปนาไว้ในการเมือง ไม่อย่างนั้น การเมือง ล้มละลาย ซึ่งตรงกันกับพระพุทธเจ้า แต่สมัยโน้น ไม่พูดเรื่องการเมือง เพราะเป็นยุค สมบูรณายาสิทธิราช ซึ่งก็จะมีปุโรหิต บอกท่านอีกที

        เป็นธรรมะแบบฤาษี แบบเทวนิยม ไม่เป็นโลกุตระ ต้องหนีปลีกเดี่ยว ไม่เป็นประโยชน์ต่อ มนุษยชาติ ไม่เป็น พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)

        ซึ่งศาสนาก็มี ศาสนาเทวนิยม จะใช้ความลึกลับ ใช้ศรัทธานำ ให้เชื่อถือพระเจ้า โองการพระเจ้า ต้องบังคับกัน หากแข็งแรง ก็ไปรอด

        แต่ศาสนาที่ไม่บังคับใช้ปัญญา ต้องเป็นคนมีปัญญา จึงเลือกได้ และจะได้ยากด้วย เพราะเป็นเรื่อง ลักษณะธรรมะพิเศษ #ระดับปรมัตถ์จริงแท้ #
๑.     คัมภีรา (ลึกซึ้ง)
๒.     ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก)
๓.     ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก)
๔.     สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) ไม่ใช่ว่าสงบเงียบ ไกลห่าง จากผัสสะ จากสังคม อยู่ในรู ในถ้ำ ไม่กระดิก อยู่เฉยๆเงียบ ไม่ใช่ แต่สงบจากอกุศล และ เจริญเร็วไว ในกุศล มีชวนจิต มีจิตมุทุภูตธาตุ (หัวอ่อนดัดง่าย ปรับง่าย มีปัญญา รู้ได้เร็วไว) เป็นจิตเอกกัคคตา เป็นคุณสมบัติอุเบกขา (ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุกัมมันยา ประภัสสรา)
๕.     ปณีตา (สุขุมประณีต ไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น)
๖.     อตักกาวจรา (คาดคะเน ด้นเดามิได้)
๗.     นิปุณา (ละเอียดลึก ถึงขั้นนิพพาน)
๘.     ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะ ผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริง เท่านั้น#
       
        จิตที่มีอุเบกจามีคุณสมบัติ ๕ ประการ
๑.     ปริสุทธา   (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ๕) .
๒.     ปริโยทาตา  (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
๓.     มุทุ  (รู้แววไว  อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุง ให้เจริญ) .
๔.     กัมมัญญา   (สละสลวยควรแก่การงาน อันไร้อคติ) . 
๕.     ปภัสสรา   (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ) 
       

 
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กทม.