_570209_พ่อครู เปิดงานพุทธาฯพาปฏิญาณศีล ๘ ณ ศาลาพุทธาภิเษกผ่านฟ้าลีลาศ |
เรื่อง เลือกตั้งครั้งนี้ ส่อสื่ออะไร และความเสื่อมชาวพุทธ |
พ่อครูว่า... วันนี้วันที่ ๙ ก.พ. ๕๗ เป็นวันเริ่มต้น ทำพิธีพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๓๘ เริ่มขึ้นอย่างไว เพราะอาตมา ระลึกขึ้นได้ว่า เราขาดการทำวัตร การฟังธรรม จะเป็นความเสื่อม อันเป็นความเสื่อม ๗ ประการ
๑. ไม่มาวัด มาพบสมณะพระ
๒. แม้มาวัด ก็ละเลยการฟังธรรม
๓. ไม่ศึกษาธรรมะ ในศีล เพื่อจะได้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสนะ
เป็นความเสื่อม ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เริ่มแต่ข้อแรก ที่เราขาด การพบสมณะ ห่างเหินภิกษุ (คือภิกษุที่สัมมาปฏิบัติ สัมมาทิฏฐิ ที่จัดเป็น ทักขิเณยยบุคคล คือผู้ที่ต้องลุกรับ ควรให้ของทาน อาจไม่บรรลุธรรม แต่ตั้งใจ ศึกษาปฏิบัติ ใส่ใจในธรรม มักน้อยสันโดษ แม้จะนอกศาสนาเรา แต่เป็นผู้ตั้งใจ ลดละ ไม่เบียดเบียน คนเช่นนั้นเป็น ทักขิเณยยบุคคล ส่วนคนที่เป็น อาริยบุคคล ก็แน่นอนอยู่แล้ว ต้องเคารพ) นอกนั้นเป็นพวก
กล่าวคำว่าศีล นั้น ต้องสมบูรณ์ด้วย สมาธิ และปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสสนะ
๔. ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุ .#ทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่และปานกลาง แต่กลับเข้ามา แล้วกร่าง ไม่เคารพเลื่อมใสในภิกษุ อย่างนี้ มาวัดแล้วได้บาป
๕. เพ่งโทษฟังธรรม (ธัมมัง สุณาติรันธคเวสี) แม้ฟังธรรม แต่ตั้งใจเพ่งโทส จับผิด ผู้เพ่งโทสผู้อื่น คือผู้อาสวะเจริญยิ่ง หาแต่ข้อผิดพลาด ข้อเป็นโทส เรามาวัด เราจะมาเอาสิ่งดี พระจะไม่พาทำชั่ว เพราะฉะนั้น สิ่งชั่วพักไว้ สิ่งดีเราต้อง ตั้งใจเลือกเฟ้น เอาสิ่งดี อันไหนชั่วรู้แล้ววาง แต่ดีต้องเพ่งดี ถ้าใครมาตั้งจิต คอยเพ่งโทส ฟังธรรม อันนี้หนัก
๖. แสวงบุญ นอกเขตศาสนานี้ (พหิทธา ทักขิเณยยัง คเวสติ) พวกนี้หลุดแล้ว ไปใส่ใจคำสอนอื่นไปแล้ว
๗. ทำสักการะก่อน ในเขตบุญนอกศาสนานี้ (ตัตถะ จ ปุพพการัง กโรติ) เช่นเราเป็นพุทธ แต่เราไปสักการะอื่นก่อนเลย เราเป็นพุทธแท้ ถ้าเจอสองอย่าง ที่เป็นลัทธิพุทธของตน จะใส่ใจน้อย (พตปฎ. เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๗)
เรามาทำงานนี้ ทำงานการเมือง งานสังคม เราน่าจะทำประโยชน์ตน -ท่านไปในตัว มีผัสสะที่ใด มีที่ได้ปฏิบัติธรรมที่นั่น ส่วนของลัทธินอกพุทธ จะไม่เกี่ยวข้องกับอันอื่น จิตหลบอยู่ภายใน เป็นการสร้างภพ ส่วนของพระพุทธเจ้านี้ ล้างภพ รู้องค์รวม คือกาย ที่มาจาก กาย วาจา และใจ
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ นั้นมาจาก มโนหรือใจเป็นที่มา พระอนาคามี เหนือกามภพแล้ว แต่ไม่หนีกามภพ ยังสัมผัสเกี่ยวข้องกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่จิตใจ ไม่กระเพื่อมไหว ออกมาภายนอกเลย มีแต่กระเพื่อมอยู่ภายใน ซึ่งตรงกันข้ามกับ ลัทธิฤาษี ที่จะไม่สู้ผัสสะภายนอก แต่ว่าของพุทธนี้ อยู่ได้อย่างสบายมาก สู้ได้สบายมาก ไม่หวั่นไหว
แต่ไปเข้าใจผิดว่า ปฏิบัติธรรมพุทธ ต้องหนีไปอยู่ในรู ในป่า เขาถ้ำ ไม่ใช่โลกุตระจิต แต่เป็นโลกันตะ หนีโลก ส่วนพุทธนั้น อยู่เหนือโลก ไม่ใช่หนีโลก พระอนาคามี ก็เรียนรู้มา ตั้งแต่หยาบ กลาง ส่วนละเอียดที่เหลือ ก็มีอยู่ แต่รู้ แล้วเพียรละ รูปราคะ และอรูปราคะ ที่เหลืออยู่ ไม่ใช่หลับตาทำ แต่ลืมตาปฏิบัติ ได้รายละเอียดครบ ศาสนาพุทธ จึงเป็นศาสนา ที่อยู่กับสังคม และเมื่อดับรูปภพ อรูปภพได้หมด ก็เป็นอรหันต์ รู้หมดชัดเจน ทั้งภายนอก และภายใน เป็นผู้มีพลังแข็งแรง ทางจิตวิญญาณ สามารถช่วยเหลือ ป้องกัน ช่วยเหลือโลกมนุษย์ เป็น พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)
เมื่ออาตมาได้สำนึกว่า พวกเราออกมานานแล้ว และพวกเราที่ฝึกฝน ก็ได้อยู่ แต่คนที่ขาดการฟังธรรม ขาดการพบสัตบุรุษก็มี แต่โอากาสนี้ ที่ได้ฝึกฝน ท่ามกลางผัสสะ ท่ามกลางสนามรบ ก็เลยบอกพวกเรา แต่วันนี้สังเกตไหม ว่าธรรมดา พวกเราจะฉุกละหุกมาก แต่ว่าวันนี้ เราทำได้ ก่อนเริ่มต้นอีก ตั้งแต่ก่อน เก้าโมงก็เริ่มต้นได้ นี่คือนานๆที จะได้เริ่มก่อนเวลาได้ แสดงว่า เป็นลางให้เห็นว่า เราจะปราบศัตรู ได้ก่อนเวลา ถ้าอยู่ไป จนถึงวันที่ ๑๔ ก.พ. ๕๗ เป็นวันมาฆบูชา และ วันวาเลนไทน์ เป็นวันแห่งความรัก ของทั้งเทวนิยม และ อเทวนิยม ลงตัวได้ แต่อาจยังไม่จบ แต่ถ้าจบก่อน เราก็ขอเวลา ทำงานพุทธาฯ ต่ออีก ก็คงได้นะ เหมือนกับงาน สัมพุทธชยันตี ที่ลานพระรูปฯ จัดตลาดอาริยะ ซ้ำเข้าไปอีก เหตุการณ์ ยังไม่เคยเป็นไปได้ ก็ทำมาแล้ว
เรื่องของศาสนา เรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่ ในความสำคัญ ของการเป็นมนุษย์ ย้ำเป็น ๒ ล้านๆครั้ง คนเกิดมา ไม่ได้ธรรมะ แก่จิตวิญญาณไปนั้น เป็นโมฆบุรุษ
การเมืองที่ไม่มีธรรมะและคุณธรรม สถาปนาเข้าไปนั้น ไม่ใช่การเมือง การเมืองไม่เป็นกุศลไม่มีคุณธรรม ไม่ใช่การเมือง เรียกว่าการเลว เรามาทำงาน การเมือง ครั้งนี้ เราเอาธรรมะ มาหยั่งลง ในการเมือง แล้วเกิดผลดี ไปตามลำดับ อาตมาก็มีมิเตอร์ วัดค่าของอาตมาเอง ว่ามีผลดี ผลเสียอะไร เราต้องตรวจตรา การกระทำของเราว่า เราทำกรรม ทุกกรรม มันเจริญหรือเสื่อม ถ้าไม่ตรวจ เราก็งมงายไปเรื่อย หลงผิดว่าดี ที่แท้ได้ชั่ว เช่นเราทำงาน เราได้เงินเพิ่ม นึกว่าเงินคือบุญ แต่ดีไม่ดี ได้ชั่ว ได้ทุจริตเพิ่ม เราก็ผิด
เรามาทำงานการเมือง เราเอาธรรมะ มาหยั่งลง แล้วเห็นผล ว่าเอาธรรมะ มาหยั่งลง แล้วทำให้การเมืองดีขึ้น อาตมาตั้งใจ ให้เป็นเช่นนั้น อย่างน้อย ก็เกิด ในหมู่กลุ่ม อโศกเรา เราได้รับใช้ ทางกายวิญญัติ วจีวิญญัติ โดยได้ผลทาง มโนเราด้วย ดับกิเลสให้ได้ ประหารกิเลส ไปตามลำดับ ใครทำได้จริง ก็แล้วแต่ตัวใครๆ
ไม่ใช่ว่า เราเป็นตัวการใหญ่ ทำให้การเมืองดีขึ้น แต่เป็นเมืองไทยเรา สั่งสมความดีงาม ธรรมะ จนสามารถสู้กับ ผีร้ายการเมือง ที่เขาก็บ่มเพาะมานาน จนถึงยุค ทักษิโณมิกส์ ซึ่งเดี๋ยวนี้ ก็เห็นความแข็งของเขา แต่แข็ง แอ นะ ไม่ใช่แข็งแรง แต่ถูกลดน้ำหนัก ลดฤทธิ์ เสื่อมลงไปมากแล้ว มาถึงวันนี้ ระบอบ การเมืองแบบนี้ ก็ยังมีคนที่ไม่เชื่อว่า ทักษิณเป็นตัวเลวร้าย เขายังไม่ชัด ก็น่าสงสาร ส่วนต่างประเทศ ก็ยังมีกระแส สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือผีร้าย ของปชต.อยู่ แต่เอาเถอะ ตอนนี้ก็ยังเจริญขึ้นมาก
การเลือกตั้ง ๒ กพ. ๕๗ ส่อและสื่ออะไร?
เอาแค่"การเลือกตั้ง" ครั้งคราที่รัฐบาลดื้อด้าน ดันทุรัง กระทั่งทำให้เกิด ปรากฏการณ์สังคม ทั้งทางรูปธรรม และนามธรรม นี่ก็เห็น "ความจริง"ได้มากมาย
ปรากฏการณ์ สถิติบุคคล ง่ายๆ เช่น คนที่มีสิทธิ์ เลือกตั้ง ๔๓ ล้านคน แต่ออกมา เลือกตั้งจริง แค่ ๒๐.๕ ล้าน เท่านั้น
ฝ่ายที่มีความรัก เอียงข้าง รัฐบาลรักษาการ ก็มองว่า ๒๐.๕ ล้านคนนี้แหละ นับว่าเป็นจำนวนมากทีเดียว ที่แสดงว่า ประชาชน อยากแก้ปัญหา บ้านเมือง ไปตามระบบ
แต่แท้จริงนั้น มันส่อความจริงเบื้องต้น ชัดเจนยิ่ง ว่า คนมีสิทธิ์ ออกเสียงเลือกตั้ง ๔๓ ล้านคน ทว่าออกมา แสดงตัวจริงสดๆ มาทำการเลือกตั้งนั้น แค่ ๒๐.๕ ล้านคนเท่านั้น มันก็คือ จำนวนน้อยแน่นอน ที่อยากแก้ปัญหาบ้านเมือง ไปตามระบบ
ยังมีรายละเอียด ส่อความจริง ในเบื้องต้น ต่อไปอีกว่า ในจำนวนผู้ไป เลือกตั้งนั้น ส่อให้เห็นชัดอีกว่า เขาไปเลือกตั้ง ไม่ใช่เพราะเห็นด้วย ว่า การเลือกตั้ง ตามระบบ คือทางออก หรือเป็นทางแก้ปัญหาบ้านเมือง
แต่เพราะไปรักษาสิทธิ การเลือกตั้งของตนไว้ ตามกฎหมายบังคับ นี่ (๑)
เพราะตั้งใจรักษา ครรลองครองธรรมของโลก ไม่อยากผิด ตามสมมุติสัจจะ นี่ (๒)
เพราะไปแสดงออกชัดๆว่า ไม่เห็นด้วยใน"การเลือกตั้ง"คราครั้งนี้ ที่ยังอยู่ในกติกา และการเมืองแบบนี้ แล้วก็เข้าไป กา No vote และ Vote no นี่ (๓)
เพราะอยากย้ำซ้ำเติม ให้สะใจ เป็นพวกอารมณ์ค้าง แทนที่จะกาเบอร์ ตามระเบียบ ก็เขียนด่าประจาน หยาบๆคายๆ ต่างๆนานาสารพัด ซึ่งส่อชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วย ไม่เอาด้วย ในวิธีนี้ รวมทั้งไม่เอาเลือกครั้งนี้ หรือการเมืองแบบนี้ อย่างที่ไม่เคยมี เหตุการณ์แบบนี้ มาก่อนเลย นี่ (๔)
แม้แต่ไปฉีก บัตรเลือกตั้ง กันโต้งๆ ก็มี (๕)
หรือแกล้งทำบัตรเสีย กาผิด อย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้เป็นบัตรเสีย เท่านั้น ก็มีเยอะแยะ สารพัด ซึ่งส่อให้เห็นถึง การไม่เห็นด้วย ในการเลือกตั้ง ไม่เอาการเลือกตั้ง (๖)
เพราะรัฐบาลและบริวาร มี...
(1) มีความหลงตัวเอง
(2) มีความไม่กล้ารับความจริง
(3) มีความไม่ฉลาด ที่จะรู้ความจริง ตามที่เป็นจริง ได้ถูกต้อง ว่า "ตนผิด"
(4) หรือ"รู้" ว่า "ตนผิด" แต่ต้องสื่อสารออกมา ให้คะแนนฝ่ายตนเอง เช่นนั้น ก็เพื่อครอบงำ ทางความคิด ของคนทั้งหลาย ให้หลงเชื่อตาม หรือหลอกคนอื่นแท้ๆ
เอาแค่(4)ข้อก่อนแล้วกัน ถ้าจะเก็บเอา เหตุปัจจัยอื่นอีก ก็ยังมีอีก แต่แค่หลักฐานเท่านี้ ก็ชี้ชัดโต้งๆแล้วว่า
"การเลือกตั้ง"ที่อ้างเป็นหลักการสำคัญ ของระบอบประชาธิปไตยแท้ๆนี้
มันแสดงถึง ความล้มเหลว ของรัฐบาล อย่างสิ้นเชิง
ยังไม่นับเอาข้อผิดพลาดบกพร่อง ของการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่จะต้องจัดการ ตามล้าง ตามเช็ด ตามซ่อม ตามแก้ ตามประคอง พยายามช่วยที่มันผิด มันไม่ใช่ เพื่อให้มันดูเหมือน ถูกอยู่บ้าง ซึ่งแท้ๆนั้น มันล้มเหลวแล้ว ให้มันดูเหมือน ยังไม่ล้ม อย่างหลอกกัน พรางกันอยู่โต้งๆ
แล้วผู้หลงตัวเอง ผู้รู้ตัวเอง ก็ยังทุจริตกรรม ใส่สังคมไทย ให้เลวร้ายหนักยิ่ง ด้วยความดื้อด้านดึงดัน งมโข่งอยู่กับ"สัญชาตญาณการเมืองเดิม"ที่เป็นอยู่นี้ว่า เป็นประชาธิปไตย ที่ยังดี ยังดำเนินไปได้ ยังจะทำการแก้ไข ส่วนที่บกพร่องบ้างอยู่ได้ ไม่หนักหนาอะไร จะดันทุรัง เอาความเป็น"สัญชาติประชาธิปไตย เน่าๆเฟะๆ"ที่เป็นมาอย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้ นี่แหละ ... ต่อไป
ไม่มีความรู้ลึก ชัดลึกแท้เพียงพอว่า ประชาธิปไตยนั้น มี "ประชาชน" เป็นแกนหลักของหลักประกัน ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ "รัฐบาล"เป็นแกนหลัก ของหลักประกัน ระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น "รัฐบาล"จึงหลงตนอย่างมาก ใครมาขัดขวาง "สัญชาติประชาธิปไตยตาม DNA ที่ตนมี" นี้ ไม่ได้ ถือว่า ผิด เพราะหลงยึดว่า "ประชาธิปไตย ที่มีสัญชาติ" ที่ตนยึดถือนี้ เป็นประชาธิปไตย แน่แท้แล้ว ใครจะมาเปลี่ยน DNA นี้หรือเปลี่ยนสัญชาต ความเป็นประชาธิปไตย ที่ไทยถืออยู่นี้ ที่ไทย ได้พัฒนามา ถึงปัจจุบันนี้แล้ว ขั้นนี้ ไม่ได้ ไม่ถูกต้อง ผิดความ ควรจะเป็น ใคร อย่ามาบังอาจ เปลี่ยนแปลง หรือนำพาไปเป็นอื่น อย่ามาบังอาจแก้ไข อย่ามาหาความเป็น "ประชาธิปไตย"อื่นใด "ใหม่"กว่านี้ แปลกไปกว่านี้ ขึ้นมาอีก
ใครขืนประท้วง เป็นการผิด ต้องจับเข้าคุก
ถือว่า กบฏ
จะต้องปราบอย่างรุนแรง อย่างไม่ยั้งมือ อย่างหาเรื่อง ทุกรายละเอียด ต้องจัดการล้ม ผู้ประท้วงให้ได้
ขืนยังชวนมวลประชาชน มาประท้วง อย่างสงบ ไม่มีอาวุธต่อไปอีก ก็ต้องหาทางจับผิด ในจุดบกพร่อง จะเล็กน้อย ก็รีบตีไข่ใส่ข่าว ให้เป็นเรื่องใหญ่ รุนแรงให้ได้
โดยเฉพาะไม่มีความเข้าใจว่า ประชาชนปฏิวัติ อย่างชอบธรรม ถูกกฎหมาย หรือประท้วงตาม รัฐธรรมนูญนี่แหละ คือหลักประกันใหญ่ยิ่ง ของประชาธิปไตย แสดงถึงความเป็น ประชาธิปไตยของประชาชนแท้ๆ ที่น่าภาคภูมิ
เรามาประท้วงอย่าง สันติวิธี เป็นสิ่งไม่ผิด รธน.เลย แถมในรธน. ยังบอกให้ทำหน้าที่ด้วย
มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่ พิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๗๑ บอกว่า บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์ชาติ ตามกฎหมาย
แต่ด้วยความไม่มีปัญญา พอที่จะรู้ว่า ประชาธิปไตย ที่ถูกที่แท้นั้น คืออย่างไร ก็เลยรังเกียจ การประท้วง และเหยียดหยัน การประท้วง จึงมุ่งมั่น จะปราบปราม การประท้วง แทนที่จะสนับสนุน การประท้วง หรือคุ้มครองรักษา ส่งเสริมการประท้วง ของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ หรือตามครรลอง ครองธรรม ของประชาธิปไตย ก็กลับจะยิ่งเห็น ความเอาจริงเอาจัง ความเร่งรัด จัดจ้านของเจ้าหน้าที่ ที่ช่วยรัฐบาล ทำงานสำคัญ คือ คิดอ่านปราบปราม การประท้วง เร่งจัดการ เป็นคดีสำคัญ ปราบปรามอย่างสำคัญ ป้องกันตัวฝ่ายรัฐบาล อย่างสำคัญ ลุกลี้ลุกลนสำคัญ เรื่องเล็กน้อยใดๆ ก็สำคัญหมด ถ้าเอี่ยวกับการประท้วง
ยกตัวอย่าง เช่น คุณสาธิต เซกัล ที่เขารักประเทศไทย มาแสดงออก อย่างจริงใจ แต่มาช่วย การประท้วง ก็ถูกเขาเอาผิด จะเนรเทศ เพราะมาเอี่ยวกับ การประท้วง
เรื่องไม่น่าจะเป็นเรื่อง ก็จะเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องไม่เข้าท่า ก็จะเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องถูกก็จะสำคัญว่า ผิดไปยิ่งๆขึ้น ด้วยประการฉะนี้
อาการเช่นนี้ ภาษาไทยเรียกว่า "หาเรื่อง" "ไม่เข้าเรื่อง"
และ"เป็นเรื่อง" จนได้
ฉะนี้คือ "เรื่องเลวร้าย"พึงมีพึงเกิด จาก"คนดีส่วนใหญ่ดีขึ้น สังคมตื่นรู้ขึ้น"
แต่"ผู้มีอำนาจน้อยลง" จะแย่ และแย่เป็นปฏิภาคทวี
นั่นคือ จะเบ่งอำนาจฝ่ายตนเอง ให้มากขึ้นๆ เป็น อึ่งอ่างพองลม จะพองลม ให้ใหญ่ขึ้น สู้ สู้ สู้ สู้ พองขึ้นๆ มากเข้าๆ สักขีดหนึ่ง ก็ท้องแตกตาย
ขอให้มวลมหาประชาชน ยืนหยัดอยู่กับ ความถูกต้อง ความสงบ สามัคคี ไม่มีอาวุธ ไม่ใช้ความรุนแรง ให้ได้ตลอดไปเถิด และออกมารวมตัวกัน ให้เห็นมวล ความเป็นกลุ่ม เป็นก้อน ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้นเถิด ... ชนะใส งดงามยิ่ง บังเกิดแน่
คนตอนนี้ ยังไม่ค่อยกล้าฝ่า กระแสโลกธรรม ออกมาร่วมกัน ทำสิ่งดี แต่ก็ค่อยๆ กล้าออกมามากแล้ว แต่ว่าตอนนี้ ที่กำนันสุเทพ เขาเดินหาเงิน ช่วยคนจน ช่วยชาวนา แล้วประชาชน ก็กล้าออกมาช่วยกัน เอาเงินแม้เล็กแม้น้อย ก็ออกมาช่วยกัน วันแรกก็ได้ เก้าล้านกว่าแล้ว อาตมามั่นใจว่า วันจันทร์นี้ น่าจะได้ถึง ๑๐ ล้านบาทนะ กำนันสุเทพว่า ตอนนี้ชาวนามีเงิน สำหรับฟ้องร้องแล้ว เป็นองค์ประกอบ ที่จะทำให้รัฐบาลนี้ เป็นอึ่งอ่างพองลง เบ่งขี้แตกตายเลย
นี่คือสัจธรรม ความถูกต้อง กับความผิด ของมนุษยชาติ
งานนี้เป็นงาน พุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ คำว่า พระหรือวร แปลว่าผู้ประเสริฐ ทางสัจธรรมแท้ พระแท้ๆคือ อาริยบุคคล คือ โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ แต่ทุกวันนี้ มิจฉาทิฏฐิ หลอกว่า คนไม่ใช่อาริยะ ก็หลงว่าเป็นอาริยะ
พุทธบริษัท มี ๔ คือ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี แม้อาตมา ไม่มีภิกษุณี แต่มีสิกขมาตุ เป็นพยัญชนะ ที่เรียกว่า สิกขมาตุ คือนักศึกษาผู้หญิง คุณธรรมนั้น ก็แล้วแต่เขามี อาตมาไม่ดึงดัน ให้เกิดภิกษุณี มันยาก อาตมาไม่ดันทำสิ่งเปลือก แล้วผู้ที่เข้าใจ ก็มาเข้าคิว รอเป็นสิกขมาตุ ตายไปก็หลายคน หนีไปแต่งงาน ก็หลายคน
ผู้ลงทะเบียนเช้านี้ มีเพียงแค่ ๒๘๙ คน แต่ว่าทุกที เราทำมา ก็มีคนเป็นจำนวนพัน มาเข้าร่วม ถึง สองพันกว่า เป็นตัวเลขสูงสุด
เราเคยทำมา ท่ามกลางสนามรบได้ เราทำอย่าง มีญาณปัญญา มีวิชชา มีความรู้ หรือจิตใจเราที่มีตัวรู้ และอาจมีตัวโง่ คืออวิชชาก็ได้ แต่ที่ควรคือ ต้องรู้ว่า สิ่งดีงาม กับสิ่งไม่ดีงาม คืออะไร ศาสนาพุทธ ต้องมีญาณ รู้นามธรรม
นามธรรม ที่เรียกว่า นามกาย คำว่า กาย คำนี้เป็นคำสำคัญ
รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้โดยญาณของเรา ตากระทบรูป หูกระทบเสียง... แต่ละคนก็รู้ เหมือนกันหมด สิ่งที่ถูกรู้อย่างนี้ เป็นสามัญ แต่คนที่วิสามัญ สามารถ รู้ภายในได้ เพราะสิ่งภายนอก ที่เรารู้กันได้ คนก็รู้กันได้ เหมือนกัน แต่พุทธให้ตามรู้ การกระทบสัมผัสภายนอก แล้วตามเข้าไปรู้ภายใน ซึ่งพระพุทธเจ้า แบ่งภายนอกเป็น ดินน้ำไฟลม เป็นธาตุ ๔ ที่เป็น อุตุนิยาม ไม่มีธาตุวิญญาณในนั้น เป็นฟิสิกส์ เป็นสสาร และพลังงาน ไม่มีวิญญาณ
พอเรากระทบภายนอก แล้วก็เกิดเป็น เวทนาภายใน เราต้องตามรู้อันนี้ ตามรู้อย่างมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวแรกคือกาย จากสัมผัสนอกไปสู่ใน ย้ำอีกทีว่า กายต้องมี นามธรรม ถ้ามีแต่มหาภูตรูป ก็คือ รูปรูป ไม่มีการรู้ตัว ของมันเอง ไม่มีการกำหนด
ในรูป ๒๘ นั้นมี มหาภูตรูป ๔ แล้วมีอุปาทายรูปอีก ๒๔ ที่ต่อเนื่องจาก มหาภูตรูป เรียกว่า นามกาย หรือ
นามรูป ซึ่งจะรู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ
อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาท สำหรับรับอารมณ์)
1. จักขุ (ตา - the eye)
2. โสต (หู - the ear)
3. ฆาน (จมูก - the nose)
4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
5. กาย (กาย - the body)
ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์ หรือแดนรับรู้ ของอินทรีย์ )
6. รูปะ (รูป - form)
7. สัททะ (เสียง - sound)
8. คันธะ (กลิ่น - smell)
9. รสะ (รส - taste)
0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - ) ข้อนี้ไม่นับ
ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ )
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย)
ง. หทยรูป 1 )
จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต )
13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต )
ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร - material quality of nutrition)
14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)
ช. ปริจเฉทรูป 1
15. อากาสธาตุ
ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย)
16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
17. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)
ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลง ทำให้แปลก ให้พิเศษได้ )
18. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา - lightness; agility)
19. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
20. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wilderness)
0. วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.
ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการ เป็นเครื่องกำหนด)
21. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration) คือเจริญ
22. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuum ) ถ้าขาดสันตติคือตาย
23. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay) ความเสื่อม
24. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปร แตกสลาย : impermanence)
เราใช้ญาณในการอ่านรู้ ลักษณะของ อุปาทายรูป สิ่งที่มีอยู่ คือสิ่งไม่เที่ยง ทั้งสิ้น ส่วนสิ่งที่ไม่มี คือมีสิ่งเดียว เท่านั้น คือนิพพาน วิทยาศาสตร์ว่า สสารและพลังงาน ไม่มีสูญหาย แต่มีเปลี่ยนสถานะ และเปลี่ยนที่อยู่ นี่คือสสาร แต่พลังงานจิตนั้น มีความสูญ ความไม่มีได้ ในจักรวาลนี้ มีแต่นิพพาน เท่านั้น ที่จะมีความไม่มี ได้สูงสุด เพราะมีปรินิพพาน ที่เป็นความสูญ เด็ดขาด นิรันดร แต่พลังงาน และสสารนั้น ไม่นิรันดร มีแต่นามธรรม เท่านั้น ที่มีนิพพาน และปรินิพพานได้
จากนั้นพ่อครูได้พาปฏิญาณ ศีล ๘
คำกล่าวนำปฏิญาณอุโบสถศีล
[พากล่าวคำ นโมตัสสะ ภควโต ฯ ๓ จบ ก่อน]
ณ บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งจิตปฏิญาณ ในงานพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์นี้ เป็นครั้งที่ ๓๘ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะขอบำเพ็ญธรรม ประพฤติตน อยู่ในศีล ๘ อันได้แก่
ปาณาติปาตา เวรมณี จะขอตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการฆ่าสัตว์ เว้นขาด ความโหดร้ายรุนแรง เว้นขาด การเบียดเบียนใดๆ จะพยายามสร้าง เมตตาธรรม
อทินาทานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เชิงเอาเปรียบ จะพยายามสร้างสัมมาอาชีพ ขยันสร้างสรร เสียสละ ละเลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว
อพรหมจริยา เวรมณี จะขอตั้งใจประพฤติ เว้นขาดเรื่องเมถุนธรรม เว้นขาดเรื่องกามคุณ จะเป็นผู้ละเลิกราคะ จะเป็นผู้กำหนดรู้เท่าทันในกาม
มุสาวาทา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการพูดปด เว้นขาดการพูดหยาบ เว้นขาด การพูดส่อเสียด เว้นขาดการพูดเพ้อเจ้อ จะพยายามพูด เป็นสารัตถะ เป็นธรรม
สุราเมรยมัชชะ ปมาทัฏฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาด การเสพติดมัวเมา มีอบายมุข ทั้งหลาย เป็นต้น มีกามต่อมา มีโลกธรรม ๘ อีก และ จะเว้นขาด การยึด ภวอัตตภาพทั้งปวง
วิกาลโภชนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจาก อาหารและเครื่องใช้ ที่ควรเว้น ควรเลิก จะกินจะใช้ ตามที่กำหนด จะเป็นผู้พยายาม เป็นผู้มักน้อย และสันโดษ
นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสนา มาลาคันธะ วิเลปนะ ธารณะ มัณฑนะ วิภูสนฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจาก ท่าทาง อันไม่สมควร คำพูด ที่มีเสียงสำเนียง อันไม่สมควร เช่น ฟ้อนรำ ดนตรี เป็นต้น เว้นขาดจาก ดอกไม้ของหอม เครื่องตกแต่ง พอกทา เครื่องประดับ เว้นจากฐานะ แห่งการแต่ง งามประดิษฐ์ประดอย
อุจจาสยนะ มหาสยนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติเว้นขาดจากที่นั่งที่นอนใหญ่ เว้นขาดจากการรักของใหญ่ เว้นขาดจาการ สะสมของใหญ่ ที่สุด เว้นขาด การหลงติด ความใหญ่
ศีลทั้งหลายเหล่านี้ หากข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ตั้งใจประพฤติ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ได้ผล ถ้าหากข้าพเจ้าทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติ ก็ย่อมได้ตามธรรม สมควรแก่ธรรม ดังนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจัก ตั้งใจศึกษาฝึกฝน พากเพียรบำเพ็ญ ตามที่หมู่คณะ ได้นำพาช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกันด้วยดี ให้สุดความสามารถ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งใจปฏิญญาณไว้ ณ โอกาสนี้ ตามนี้. สาธุ!
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์
กทม. |