570210_ทำวัตรเช้าพุทธาฯที่ผ่านฟ้า โดยพ่อครู

 

เรื่อง ปฏิสัมพัทธ์ในวิชชาจรณสัมปันโน

 

     พ่อครูได้นำ หนังสือรู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์ มาอธิบาย และได้กล่าวถึง จรณะ ๑๕
๑.  ถึงพร้อมด้วยศีล. .            ๐๙. ปรารภความเพียร     
๒.  คุ้มครองทวารอินทรีย์     ๑๐. สติอันเป็นอาริยะ
๓.  ประมาณในโภชนา         ๑๑. ปัญญา .
๔.  ประกอบความตื่น           ๑๒. ปฐมฌาน .
๕.  ศรัทธา (เชื่อมั่น) . .         ๑๓. ทุติยฌาน
๖.  หิริ (ละอายต่อบาป) .      ๑๔. ตติยฌาน
๗. โอตตัปปะ. (สะดุ้งบาป). ๑๕. จตุตถฌาน
๘. แทงตลอดในพหูสูต .    (ล.๑๓/๓๔)

สัมมาทิฏฐิ ๖ ที่เป็นอนาสวะ ของ พระอาริยะ (ทิฐิรอบในที่พัฒนา มีกำลังเข้า โลกุตระมากแล้ว)
๑.  ปัญญา-รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง (ปัญญา) .
๒.  ปัญญินทรีย์ (ปัญญินทริยัง)
๓.  ปัญญาพละ (ปัญญาผลัง) . . เป็นพลังงาน static แฝง
๔.  ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค) .
๕.  ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ทิฐิรอบในที่เจริญขึ้น .
๖.  องค์แห่งมรรค (มัคคังคะ) เป็นพลังงาน Dynamic แฝง
(พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๘)

ซึ่งการปฏิบัติต้องมีสติปัฏฐาน ๔ และมี อิทธิบาท ๔
๑.  ฉันทะ (พอใจรักใคร่ในธรรม ในเป้าหมาย)
๒.  วิริยะ (พากเพียรลดละกิเลส เพียรเอาชนะกิเลส)
๓.  จิตตะ (เอาใจทุ่มเทโถมเข้าใส่ ฝักใฝ่ไม่ท้อถอย)
๔.  วิมังสา (หมั่นตริตรองพิจารณาทบทวนธรรมเสมอๆ)

     จะเกิดจากความเชื่อ และกระทำด้วยความเพียร วิริยะ และจะเจริญสติ สัมปชัญญะ สัมปชานะต่างๆ
๑.  ปัญญา-รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง (ปัญญา) .
๒.  ปัญญินทรีย์ (ปัญญินทริยัง)
๓.  ปัญญาพละ (ปัญญาผลัง) . เป็นพลังงาน static แฝง
๔.  ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค) .
๕.  ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ทิฐิรอบในที่เจริญขึ้น .
๖.  องค์แห่งมรรค (มัคคังคะ) เป็นพลังงาน Dynamic แฝง

องค์แห่งฌาน
๑.  ปฐมฌาน (มีวิตก มีวิจาร. มีปีติ มีสุข มีเอกัคตารมณ์) . . .
๒.  ทุติยฌาน (ไม่มีวิตก-ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน เกิดจากจิต คลายกิเลสลง จนตั้งมั่น มีสมาธิ)
๓.  ตติยฌาน (มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย.. เพราะปีติ สิ้นไป)
๔.  จตุตถฌาน (ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นฐาน ให้สติบริสุทธิ์ จิตเป็นมัชฌิมา เป็นกลางอยู่)

     อุเบกขานั้นไม่ได้เกิด เพราะธรรมชาติ แต่เราทำด้วย ปหาน
๑.  วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
๒.  ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓.  สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔.  ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
๕.  นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)
(พตปฎ. เล่ม ๓๑ ข้อ ๖๕)

     ไม่ใช่ด้วยการกดข่ม แต่ด้วยปัญญา ทำอย่างมีองค์มรรค
๑.  สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นประธานไปทุกมรรค
๒.  สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) . เป็นประธานปฏิบัติ
๓.  สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) เป็นตัวปฏิบัติ .
๔.  สัมมากัมมันตะ (ทำการงานชอบ) เป็นตัวปฏิบัติ
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) เป็นตัวปฏิบัติ .
๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นตัวเร่งห้อมล้อม
๗. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นดวงตาห้อมล้อม .
๘. สัมมาสมาธิ (สะสมลงเป็นจิตใจที่ตั้งมั่น) เป็นผล

เราลดมิจฉาอาชีวะ ๕
๑. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา) มีในงานการเมือง .
๒. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง .
๓. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา) ยังเสี่ยงทายไม่ตรงแท้
๔. การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา)
๕. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา)

เราเลือกเฟ้น มีธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ จัดการกับจิต ที่เป็นตัวเหตุใหญ่ เป็นต้นตอ ของทุกอย่าง ของชีวะ ทำอย่างมี สัมมาทิฏฐิ ๑๐
๑.  ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง) . . . .
๒.  ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) คือการปฏิบัติ ทำให้จิตเจริญ ส่วนเทวนิยม อธิบายจิตวิญญาณ ไปบูชาพระเจ้า เป็นวิธีการปฏิบัติ เราทำที่ จิตของเราเจริญ ไปเป็นพระเจ้า เจริญเป็นเทวดา อุบัติเทพ เป็นเทวะที่ไม่ใช้เสวยสุข เป็นสมมุติเทพ
๓.  สังเวย(เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ .
(อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) . .
๕. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ . .
๖. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ .

เราทำจิตใจให้เกิดเทวดา ที่เป็นอุบัติเทพ กิเลสลดละ จางคลาย ต่างกับเทวดา สมมุติเทพ ที่เป็นเทวดา ที่เกิดจาก การบำเรอกิเลส ปฏิบัติฌานพุทธ ไม่ใช้ไปนั่ง หลับตาทำ แต่ทำอย่างลืมตา ตาม มหาจัตตารีสกสูตร

เราปฏิบัติจรณะ ๑๕ พอเกิดการรู้จิต เราจะมี หิริโอตตัปปะ
หิริคือละอายต่อบาป ส่วนโอตัปปะ คือมีกำลังขึ้น เป็นความกลัวต่อปาป มันไม่เอา ในสิ่งไม่ดี ไม่งาม เพราะมีกำลัง ของปัญญาสูง ไม่ทำสิ่งชั่วเลว มันรู้กิเลสตัวชั่ว ก็ไม่เอา เป็นธรรมชาติ ที่ถูกต้อง จะเกิดเป็นพหูสูตร ซึ่งมีอยู่ในสัทธาสูตร
๑.  ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจเป็นต้น)
๒.  ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทา แห่ง ๑๕)
๓.  พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น) .
๔.  เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง) ที่บรรยายได้ เพราะปฏิบัติ มาก่อน ทำได้แล้ว
๕.  เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น) .
๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ทรงวินัย
๘. อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา) . .
๙. ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔
๑๐. ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิด ความเลื่อมใส โดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
เมื่อเป็นพหูสูตร ก็เกิดเป็น ตามจรณะ.....
๑.  วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริง ในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) .
๒.  มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ ขึ้นมาได้) .
๓. อิทธิวิธญาณ (ความเก่งหลายอย่าง ในการที่จิตมีอานุภาพ เพราะปราศจาก กิเลสแล้ว) ดูรายละเอียดใน พตปฎ.
๔. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยิน สิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับ คำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้)

จะเรียนรู้วิธีกำจัดกิเลส ตามหปาน ๕
๑.  วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ -ใช้เจโตนำหน้า)
๒.  ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว -ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓.  สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔.  ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
๕.  นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)
กิเลสอยู่กับเรา เราสัมผัส มันก็ตายไป ต่อหน้าเลย โลกียะ โลกเป็นกิเลสทั้งนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่เขาหลง เป็นกิเลสทั้งนั้น หนูไม่รู้อยู่ เต๊ะท่า หลงในโลกธรรมอยู่นี่ เป็นสิ่งแย่ ทั้งนั้น เราก็มาห้ามเขา ไม่ให้ทำชั่ว ให้เขารู้ตัว รู้ทุจริตอกุศล ให้เขามาสนใจปฏิบัติ ในสิ่งที่อธิบายไป ก็จะเจริญ อย่างที่พวกเราทำ

     ก่อนตาย อาตมาต้องมี อรหันต์เกิด ๙ องค์ให้ได้ ตอนนี้ มีผู้หญิงก่อน จริงๆพวกเรา มีเจโตแล้ว คือจิตเป็นแล้ว แต่เรายังไม่มีปัญญารู้ พระพุทธเจ้าว่า คนที่ไม่สามารถ มีปัญญารู้แจ้ง อย่างปัญญานุสารี เก่งในการรู้พยัญชนะ ส่วนสายเจโต หรือศรัทธา จะไม่ค่อยรู้ตัว ไม่เก่งรู้พยัญชนะ แต่ทำได้

     มีสองสาย สาย Prophecy คือสายศรัทธา แต่สายปัญญาคือ Philosophy เจโตจะช้ากว่า ปัญญา จิตจะเกิด เจโตวิมุติก่อน ปัญญาวิมุติ จะเกิดทีหลัง แต่สายปัญญา จะเกิดปัญญาวิมุติ รู้แจ้งได้เร็ว
กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมายด้วยกาย) วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมาย ด้วยวาจา) รู้ในวิการรูป และลักขณรูป อีก ๘

เมื่อปฏิบัติจรณะ ๑๕ จะเกิด วิชชา ๙
๑.วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริง ในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) .
๒.มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) .
๓. อิทธิวิธญาณ (ความเก่งหลายอย่าง ในการที่จิตมีอานุภาพ เพราะปราศจาก กิเลสแล้ว)
๔. ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยิน สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับ คำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่า คนธรรมดา เขาจะรู้นัยยะได้)
๕. เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ ความแตกต่าง ในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) &
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึง การเกิดกิเลสเก่าก่อน มารู้อาริยสัจจะ จนหายโง่ จากอวิชชา)
๗. จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิต ที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรือ สัตว์อริยะ) .
๘. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้น อาสวะของตน)

ทำได้อย่างมีสภาวะจริง ในวิโมกข์ ๘
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
๒. *ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน ผู้ไม่มีความสำคัญ ในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูป ทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี . เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ) . (*พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจ ในอรูป)
๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่า เป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อท่านแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้น โน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้น ได้ยิ่งขึ้น)
พตปฎ. ล.๑๐ ข.๖๖ / ล.๒๓ ข.๑๖๓

     รูปรูป คือ มหาภูตรูปภายนอก เรารับรู้ทางทวาร แล้วเข้าไปภายใน เป็นอารมณ์ แยกแยะใน เจโตปริยญาณ ๑๖ คือการกำหนดรู้ ในจิตสัตว์อื่น (รู้สัตว์ชั้นสูงหรือต่ำ ในจิตตน (ปรสัตตานัง) เป็นปรมัตถ์) เรารู้ในสัตว์ ที่แต่ก่อน หลงในสัตว์ที่เป็น สมมุติเทพ แต่ตอนนี้ เราจะทำ ให้เกิดเป็น อุบัติเทพ มีความเก่ง ในการทำให้เกิด โอปปาติกโยนิ เกิดเป็นอุบัติเทพ เกิดเป็นเทวดา โดยการลดกิเลส การเป็นเทวดา โดยเสพกามคุณ เป็นความสุข แบบถูกต้ม มาก่อนทั้งนั้น
๑.  สราคจิต (จิตมีราคะ)
๒.  วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
๓.  สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
๔. วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
๕. สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
๖. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
๗. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) สายเจโต ทำได้แต่ยังคลี่ไม่ออก รู้ไม่ละเอียด แยกไม่ออก
๘. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด) สายปัญญา จับได้แล้วฆ่าได้ แต่มันหลุด แล้วก็วิ่ง กระจาย ปัญญารู้ได้ แต่จับไม่ทัน

ฌานของฤาษี เหมือนแก้วน้ำ มีฝุ่นในน้ำ ส่วนพุทธ จะกวนน้ำ ให้ฝุ่นกระจายไป ส่วนทางนั่งสมาธิ จะกดลงไป เป็นก้อนๆ กดข่มไว้ นึกว่าตนจิตใส แต่ที่จริง นอนก้นอยู่ ส่วนพุทธนั้น กวนตั้งแต่ศีล ๕ ให้ฟุ้งขึ้นมา แล้วจับฝุ่นออก แล้วเพิ่มเป็นศีล ๘ ก็จับออกอีก จนมาศีล ๑๐ ก็จับออกอีก เป็นศีล ๔๓ ก็จับออกอีก จนไม่มีฝุ่น จากนั้น กวนให้ตาย ก็ไม่มีฝุ่น แต่ว่าของ สายฤาษี จะไม่ได้เอาฝุ่นออก

ปฏิบัติในสังกัปปะ ๗ ในฝ่ายปัญญา ฝ่ายไตร่ตรอง - ริเริ่มเคลื่อนไหว (dynamic ขั้วลบ). . ที่สัมปทาแล้ว

๑.ความตรึก-แรกเริ่มนึกคิด (ตักกะ) .
๒.ความตรอง-คิดวิตกยิ่งขึ้น (วิตักกะ) .
๓. ความดำริ-มีความคิดหวัง (สังกัปปะ)

ส่วนพลังงานทาง เจโต มีฝ่ายตั้งมั่น (static ขั้ว+ ที่สมบูรณ์) เป็นแกนกำลัง ให้ขับเคลื่อน
๔. ความแน่วแน่   (อัปปนา) . .
๕. ความแนบแน่น (พยัปปนา)
๖. ความปักใจมั่น  (เจตโส อภินิโรปนา) .

๗. วจีสังขารเตรียมจะพูด (วจีสังขาโร)

วิ คือทำสิ่งที่มีให้วิเศษ ทำสิ่งไม่มีให้ไม่มีได้ อย่างวิเศษด้วย ไปดูในพระไตรฯ ล.๑๖ ข้อ ๔๗ เราเอาอภิธรรม มาปฏิบัติ ให้เข้าถึงสภาวะได้ ไม่ตีทิ้ง

คนที่ไม่ประสีประสา คือพวก อีเดียด จะไม่รู้ในพวกที่ Genius อย่าไปดูถูกคน ใครที่สามารถ เอาความรู้ จากคนบ้า คนโง่ เด็กได้ คนนั้นได้กำไร อย่าไปดูถูกคนบ้า คนโง่ เด็ก เราต้อง เอาประโยชน์ จากสิ่งนี้ เราคิดว่า คนบ้า ก็มีอะไรน่าคิด คนโง่ก็มีอะไร น่าศึกษา เราไม่มีจริต ไปดูถูก คนบ้า คนโง่ เด็ก คนนี้ไม่ถือดีถือตัว เป็นอัตตามานะ จะเป็นประโยชน์แก่ตน

     วันนี้พูดหลากหลาย ผสมผสาน อธิบายไปแล้ว พวกเราที่ฟังอยู่ที่นี่ หรืออยู่ทางบ้าน ก็มีปัญญา ก็อาจพอเข้าใจได้ หรือเข้าใจดี ก็เป็นได้ ที่อยู่ที่นี่ เช็คแล้วว่า พอฟังได้มีเยอะ รู้ดีมีน้อยกว่า ตอบอย่างจริงใจตนเอง เวลาอาตมาแนะนำ เป็นเรื่องวิชาการ เราไม่ได้มานั่งอวดดี ผู้รู้จริงก็สอนจริง เราก็ตอบจริง ไม่เสียหาย เราก็ดูตัวเราว่า อยากอวดดีเกินไปไหม เขาจะหมั่นไส้ ถึงเวลาวาระ ก็ตอบตามจริง ครูบาอาจารย์ถาม แล้วเราตอบจริง ก็ทำให้ครูรู้ว่า ได้ผลไหม ก็ดี

     เราได้ปฏิบัติธรรมกันมา ก็ได้ผลจิรง จนมาทำประโยชน์ ต่อมหาชน และเราก็ทำ ประโยชน์ตน เป็นอุพยถะ เป็นอุภโตภาค เราต้องรู้จัก ประโยชน์ตนว่า ได้หรือไม่ ส่วนประโยชน์ท่าน ไม่ต้องไปจำ ไปทำบัญชี แล้วไปทวงบุญคุณ อย่าทำ อย่าคิด

อาตมาพูดถึงหลักสูตร ในพระไตรฯล.๙ ท่านสอนใน จรณะ ๑๕
๑.  ถึงพร้อมด้วยศีล. .
๒.  คุ้มครองทวารอินทรีย์
๓.  ประมาณในโภชนา
๔.  ประกอบความตื่น 
๕.  ศรัทธา (เชื่อมั่น) . .
๖.  หิริ (ละอายต่อบาป) .
๗. โอตตัปปะ. (สะดุ้งบาป).
๘. แทงตลอดในพหูสูต .   
๐๙. ปรารภความเพียร  (อารัทธวิริโย)
๑๐. สติอันเป็นอาริยะ . .
๑๑. ปัญญา .
๑๒. ปฐมฌาน .
๑๓. ทุติยฌาน
๑๔. ตติยฌาน
๑๕. จตุตถฌาน
(ล.๑๓/๓๔)

     ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นสัมพันธ์กันอย่างไร ไม่ใช่ไปตัดทำ เป็นส่วนๆ หรือแม้แต่ ทาน ศีล ภาวนา เราก็จะรู้ว่า มันต่างกันอย่างไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร ก็จะใช้พยัญชนะ มาอธิบาย สภาวธรรม

     ขออภัยผู้ฟัง อาจหมั่นไส้ ที่ต้องพูดถึงชาวอโศก ที่ได้มรรคผลมา ที่พูดนี้ ไม่ได้มังกุ ไม่มีสาเฐยจิต แต่พูดตรง จริงให้ฟัง เราปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้า เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เรามาสู้ ลาภยศสรรเสริญ โลกียสุข สุขในกาม ในอัตตา เราก็ลดได้จริง เราทำงานอย่าง สัมมากัมมันตะ มาช่วยเหลือสังคม เราก็มีอาชีพนี้ด้วย อาชีพไม่ใช่แค่เลี้ยงตน อย่างเดียว เรามีคุณธรรม มีสาระ มีกตัญญู กตวเที รู้จักกตัญญู ต่อสังคม มวลมหาชน มารับใช้ คนไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร เชื่ออาตมา ก็พาทำ หลายคนบอกว่า พามายากลำบาก ทรมาน เมื่อไหร่จะหยุด ใหม่ๆ ตอนแรก เราอาจรู้สึก แต่พอทำไปๆ ก็จะมีปัญญา ว่าเราก็มีคุณค่า ประโยชน์ ไม่ใช่ประโยชน์บำเรอตน ที่เราบ้ามานาน แต่ตอนนี้ เราไม่บ้า เราเอาแรงงาน แรงสมอง ทุนรอน มาช่วยกัน อาตมาก็ขอบคุณ พวกเรามาก หลายคน ทำหน้าที่รับผิดชอบ ยิ่งงานนี้ เป็นงานสื่อสาร เด็กก็ทำงาน ในมุมนั้นมุมนี้ ในสื่อสาร อีกหน่อย พวกเราฟังธรรม แล้วต่อไป ก็ไปทำอาหาร ทำหลายอ่าง ไม่ได้จ้าง แต่มีคุณค่าต่อสังคม ไปรับใช้สังคม โดยเราไม่คิด ค่าขอคืน เราทำโดยสุจริต ทำไปเพื่อเกื้อกูลสังคม ช่วยกันบอก อันไหนไม่ควร ก็บอก สิ่งเหล่านี้ แม้มีจำนวนเท่านี้ เราได้ร่วมกับคนอื่น ก็ได้สานต่อ เป็นลูกโซ่ เราเชื่อมกับ กปท. กปปส. ที่มาต่อต้าน เปลี่ยนรัฐบาล ปฏิวัติให้ได้ เรามีหน้าที่ของเรา ส่วนกำนันสุเทพ ก็ทำอีกหน้าที่ เขาเป็นหมู่ใหญ่ คนชอบจริต อย่างนั้นเยอะ จริตอย่างคปท. ก็อย่างหนึ่ง จริตอย่าง กำนันสุเทพ ก็เยอะ รวมทั้งดารา ทั้งชาวนา ทั้งอื่นๆ เป็นมวลใหญ่ เราก็ตีกลองเชียร์ ส่วนคปท. ก็เป็นตัว ปฏิกิริยา เสริมกันไป เป็นสามเส้า ทำงานไป ส่วนหลวงปู่ พุทธอิสระ ก็ลักษณะเดียวกับ คปท.  มันมีสามเส้า ทำงานร่วมกันอยู่ เป็นพลังที่ดี

     งานนี้ก็อดทนกันหน่อย ตรวจตามปัญญา อาตมาก็ว่า ได้ผลสูง ไม่ได้เกิดได้ง่าย ที่จะมีคน มารวมกัน ทั้งประเทศ มวลมีเป็นล้าน เราทำอย่างสบายใจ คนจะดูถูก หรือมองไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร พวกเราปิดทอง ลำไส้พระ ใครจะปิดทองส่วนไหน ก็ช่วยกันทำไป

     สิ่งเกิดสิ่งเป็นนี้ ยากที่จะเข้าใจ อาตมาใช้ มหาปเทส ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ เป็นสิ่งประมาณ ตอนนี้ก็รู้สึกว่า ด่าอาตมาน้อยลง มีคนกล้าวิจารณ์อาตมา น้อยลง ส่วนค่ามีคนกล้า วิจัยอาตมา มีมากขึ้น ก็เพราะพวกเราทำ แสดงความจริง ให้คนเห็น เป็นปรากฎการณ์ อ้างอิงได้ ยืนยันได้ เป็นของจริง ที่มีจริงในโลก

     อาริยบุคคลแบบพวกเรา เป็นแบบนี้ ส่วนสำนักไหน ก็ผลิตอาริยบุคคล ตามแบบเขา ผลิตโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ของเขา ในความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ก็เลือกเอา ให้ฟังความ สองข้าง แล้วเลือกเอา อันไหนเป็นธรรมวาที ก็เลือกเอา อันไหน อธรรมวาที ก็ไม่เลือก ผู้เลือกถูก มีปัญญาแหลมลึก ก็ได้ แต่สิ่งนี้ ในประเทศไทยเกิดแล้ว อาตมามั่นใจว่า พวกเราจะมี สุรภาโว สติมันโต อิธ พรหมจริยวาโส แน่แท้ เป็นชมพูทวีป ที่แท้จริง

     ผู้จะเป็นอาริยบุคคลมีจริง พวกเราอย่าหลงตน หยิ่งผยอง ทำได้ ในสิ่งที่เรามั่นใจ ไม่ต้องไปกร่าง ทำอย่างอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนรับใช้ งานเรามีมากลูกรัก ตัวเราเล็กนักสุดเอ่ย งานเราล้นมืออย่างเคย เจ้าจักเฉย แชเชือนได้อย่างไร?

     อาตมา ก็อายุปานนี้แล้ว ใช้อิทธิบาท รักษาร่างกายได้ ตอนนี้อายุ ๘๐ แล้วสุขภาพ ก็พอใช้ได้ พอไป ก็อายุไม่น้อย แต่รู้สึกว่า ยังแข็งแรง ติดตามละกัน

     ชีวิตไม่มีอะไรดีกว่าธรรม โดยเฉพาะอาริยะรรม อย่าเป็นโมฆบุรุษ อย่าไปหลงภาพ อย่างที่เขาหลง ไปคอรัปชั่น ใครจะลำบาก อย่างไรไม่สน ก็จะเอามาให้แก่ตัว หลงตัว จะสร้างประเทศชาติ ให้เจริญ ซึ่งตัวเอง ก็ยังเอาไม่รอด ทำเดือดร้อนแก่สังคม เอาชั่วเอาบาป ใส่ครอบครัว ใส่สังคม ก็ไม่รู้ตัว เบียดเบียนมนุษยชาติ ก็ไม่รู้ ไม่รู้จะหอบหวง ไปอีกเท่าไหร่ ยังไม่รู้ว่า ลูก ๓?คนนี้ ถูกพ่อครอบงำความคิด แล้วจะเป็นอย่างไร ยังไม่เห็นลีลา จะเป็นประโยชน์ ต่อสังคม เท่าที่พฤติกรรม เขาแสดงออกมา กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ยังไม่งอกเงย น่าสงสาร ถูกครอบงำ น่าสงสาร แต่ไม่รู้ จะทำอย่างไร เราก็ต้องทำ ให้เขาหยุด ตนเองหยุด แม้ถูกต้านกั้น ก็ยังมีทรัพย์มาก ถ้าใช้เป็น ก็พาเจริญได้ ถ้าใช้ไม่เป็น ก็เสื่อม พาเสื่อม....

๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ กทม.