_ 570211_ทวช.พุทธาฯที่ผ่านฟ้าฯ โดยพ่อครู |
เรื่อง สัญญาที่สัมมาต้องรู้ฌาน รู้ภพ |
เรามาต่อกันด้วยธรรมะ ...ชีวิตของทุกคน ถ้าไม่สำนึกจริงว่า เรื่องธรรมะ เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าความรับรู้สำนึก ไม่ชัดเจน ถ้าชีวิตเกิดมา ไม่ได้โลกุตรธรรม ... หมายความว่า จิตเราไม่เกิด ไม่หยั่งลงกระแส ไม่โสตาปันนะ จิตยังเป็นโลกียะ ซึ่งคนละเรื่องเลย
ชีวิตโลกียะ หลงสุข หลงลาภ ยศ สรรเสริญ จริงๆก็หลงสุข ที่หยิบมาพูดคือ หนังสือรู้คนขังสุข ไปหลงว่า ได้อารมณ์สุข ที่จะได้มาจาก เสพกาม พระพุทธเจ้า ให้เรียนรู้ สิ่งอาศัย ๔ อย่าง
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม) . .
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จักแยกแยะ นาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะอาสวะ ให้จบสิ้น) .
สิ่งที่ให้วิญญาณอาศัยสำคัญคือ อาหาร
คนโมหะหลง ก็คิดว่า นี้น่ามีน่าเป็น ตั้งแต่เป็นเดรัจฉาน เซลล์เดียว ก็ไม่ยึดมาก แต่พอมีหลายเซลล์ ก็ปรุงแต่งว่า อันนี้น่าได้ น่ามีน่าเป็น จนมาเป็นคนนี่ ก็ติดยึดมากเลย
คนไปได้สิ่งใด เป็นวัตถุ ถ้าได้ ดม ได้สัมผัส ก็รู้สึกเป็นอารมณ์สุข ชื่นชอบ มีอัสสาทะ เพลิดเพลิน มีอิฏฐารมย์ และหลงว่า น่ามีน่าได้น่าเป็น เป็นสุขโลกีย์ เราต้องพิจารณา ให้เห็นว่า เป็นสุขขัลลิกะ เป็นความเท็จ เป็นประเด็นที่ต้องเข้าใจ ให้สำคัญเลย เช่น ไปหลงติดยึดว่า สิ่งนั้น น่าได้สัมผัส เมื่อจิตต้องการ แล้วได้สัมผัสจริง
เราได้ของสิ่งหนึ่ง แล้วเราได้สัมผัส ได้แตะต้อง ได้รับรส เสียดสี เย็น ร้อน อ่อนแข็ง จะเกิดอารมณ์ชื่นใจ ที่ได้สัมผัส เหมือนคนหลงรูป ก็จะมองสัมผัส แล้วก็ชื่นใจ เป็นอารมณ์สุข ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชาย ชอบผู้หญิง ที่เห็นแล้ว จะชอบส่วนนั้น ส่วนนี้อย่างไร แล้วมีอาการใคร่อยาก เป็นสุข ที่ได้สัมผัส ทางตา ทางหู ได้กลิ่น ได้รับรส ได้สัมผัสโผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่ติดยึด ตั้งแต่เดรัจฉาน จนถึงคน ที่จริงไม่น่าติดยึด แต่ก็หลอกกันจนติด เป็นความจัดจ้าน ในอบายมุข
ยกตัวอย่าง ผู้หญิงผู้ชาย เมื่อเทิดทูล ก็รักมาก ชื่นชมมาก ฝ่าตีนก็จูบได้ เกิดอิฏฐารมย์ เป็นจริง พอดีมีคนค้น ในพระไตรฯ [๓] ถ้าท่านพลาด โสดาปัตติมรรค คือ ความแน่นอน แห่งสัทธรรม ในศาสนานี้ ท่านจะต้อง เดือดร้อนใจ ในภายหลัง สิ้นกาลนาน ดุจพาณิชชื่อ เสรีวะผู้นี้
เมื่อไม่ได้เรียนรู้วิชชา มีอวิชชา ก็หลงใหล สิ่งไม่ควรติดยึด มายึดติดในอัตตภาพ
สิ่งที่ล้างยากที่สุดคือ ความติดยึดในสัญญา ทั้งที่ควรปล่อยได้ไม่ยึด คือความจำ การสัมผัสเกิดเวทนา ส่วนมันเกิดสัญญานั้น ไม่ใช่ผัสสะ เป็นธรรมารมย์ เป็นมนายตนะ กับธรรมายตนะ ผู้หมดกาม คือหมดผัสสะ ทางภายนอก ผัสสะแล้วอารมณ์ โสมนัสหรือโทมนัสไม่มี สัมผัสอยู่ ก็มีไตรลักษณ์ธรรมดา ส่วนปัจจัตลักษณ์ มีของตน เป็นปัตจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
สามัญลักษณ์ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็เป็นสามัญ แต่ไม่เกิดรู้ จนเป็นวิญญูชน ที่มีความรู้ยิ่ง อย่างเป็น โสดาปัตติมรรค เรายังมีอัสสาทะ เป็นเรา เป็นของเราอยู่
อย่างเงินของเรา ที่ดิน คนของเรา สัตว์ของเรา เป็นวัตถุ มันเป็นตัวข้างนอก เป็นสภาพเท่านั้น เวทนาเป็นเรา เราก็ยังเสพติด มีอัสสาทะ อย่างเวทนา ต้องมีผัสสะ แล้วเกิดเวทนา เมื่อไม่ได้ผัสสะ ทางทวาร ๕ แล้วคุณระลึกถึงสิ่งนั้น แล้วเป็นสุข นั่นคือ สัญญา เป็นเรา เป็นของเรา ใช้สัญญา มาปรุงแต่ง ในใจ อันนี้พระพุทธเจ้า ว่า ถ้าเราไม่มีสุขทุกข์ ในทวารนอก ทั้ง ๕ ที่สัมผัสแล้ว ก็จะเหลือ แต่ในใจ เป็นภูมิอนาคามี มีวิปัสสนาญาณ ๙
๔. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด- ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนา สุขทุกข์ต่างๆ
๕. (๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม -ตัณหาปรุงแต่ง ทั้งหลาย .
๖. (๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ต้อง สลายไป
๗. (๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจากการเห็นภัย
๘. (๕)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส เพราะสำนึกเห็นทั้งโทษและภัย . .
๙. (๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น .(อตัมมยตา)
๑๐. (๗)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง . การปฏิบัติที่ปลดปล่อยได้ ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น .
๑๑. (๘)สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อ สังขารปรุงแต่ง ทั้งหลาย . . .
๑๒. (๙)สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลม ต่อชาวโลก ต่อสมมุติสัจจะ ทั้งหลาย โดยใช้ สัปปุริสธรรม ๗. ที่รู้จักประมาณ สัดส่วนต่างๆ
จะอ่านเวทนาที่เป็นเคหสิตะหรือ เนกขัมมะออก
ได้แก่ มโนปวิจาร ๑๘ (หรือเวทนา ๓ ผสมกับ อายตนะ๖)
สุขเวทนาแบบโสมนัสสูปวิจาร (๖ ทวาร+โสมนัส)
ทุกขเวทนาแบบโทมนัสสูปวิจาร (๖ ทวาร+โทมนัส)
เฉยๆ ที่เป็นอุเบกขูปวิจาร (๖ทวาร+อุเบกขา)
เวทนา ๕ , เวทนา ๖ , เวทนา ๑๘, เวทนา ๓๖, แล้วเป็นเวทนา ๑๐๘
ครบ ๑๐๘ เวทนา โดยกาละทั้งสาม ได้แก่ . . .
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นอดีตทั้ง ๓๖ ก็สูญแล้ว
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ ก็สูญอยู่
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นอนาคต ๓๖ ก็สูญอีก .
(ปัญจกังคสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๘ ข้อ ๔๑๒-๔๒๔)
มันเหมือนไม่มี แต่มีอยู่ ไม่แสดงออก เหมือนไวรัส มีชีวิตอยู่ได้ เป็นล้านๆปี จะเป็นสัตว์หรือพีชะ ที่เซลล์ไม่ใหญ่ แต่อยู่ได้ เป็นล้านปี แล้วจิตวิญญาณ ที่ละเอียดกว่าไวรัส ก็มีอยู่เป็นนานกว่านั้น จะออกมาทำงานได้ เป็นอาสวะอนุสัย เมื่อออกฤทธิ์ ก็เป็น ตัณหา ได้สัมผัส ก็เป็นเวทนา
เมื่อมีปัญญารู้จักโลกุตรธรรม ก็เรียนตั้งแต่โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ แต่ไปเรียนลัด ไปนั่งสมาธิ ซึ่งต้องเรียนรู้ ตั้งแต่สกิทาฯ อนาคาฯ จึงมีผล ที่จะไป นั่งสมาธิ แล้วได้ลดละกิเลส จะนั่งสมาธิ แล้วบรรลุธรรมได้ ต้องเป็นอนาคามี แล้วเท่านั้น อย่าว่าแต่นั่งสมาธิเลย ให้ฟังธรรม ไม่เท่าไหร่ ก็บรรลุได้ อย่างพระยสะ พระพาหิยะ ทารุจริยะ เป็นต้น มีบารมีแล้ว
ต้องเรียนรู้เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย จะเป็นลำดับ
ที่จะต้องแยกออก เป็นวิตก วิจาร คือมโนปวิจาร ๑๘
เริ่มปฏิบัติที่ ตักกะ วิตักกะ เริ่มทำวิปัสสนา จนแยกได้ว่าอะไรเป็นโลกีย์อะไรเป็นโลกุตระ อะไรเป็นอัตตา อะไรเป็นอนัตตา ตั้งแต่อัตตาหยาบ ไปจนอัตตา ละเอียด แม้เป็นอนาคามี ก็มีกิเลส รูปภูมิ อรูปภูมิอยู่ ก็ล้างจนหมดอวิชชา ก็เป็นอรหันต์
อธิบายเวทนา ๕ ต่อ คือ ความอ่อนความแรง ของเวทนา เช่น รู้สึกรสอร่อย มากจัง หรือ เหลือน้อยจัง เป็นดีกรีของอารมณ์
(รู้กำลังของ เวทนาทั้ง ๕ ได้แก่)
สุขินทรีย์ (ภายนอก)
ทุกขินทรีย์ (ภายนอก)
โสมนัสสินทรีย์ (ภายใน)
โทมนัสสินทรีย์ (ภายใน)
อุเบกขินทรีย์ (ภายใน)
ต้องอ่านโดยใช้ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส อ่านว่า ความแรง หยาบ กลาง เบา ได้ ไม่มีรูปร่างสรีระ แต่รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส นี่คือ ลักษณะ ๕ ของความแรงความเบา ของอินทรีย์
มโนปวิจาร ๑๘ (หรือเวทนา๓ ผสมกับอายตนะ๖)
สุขเวทนาแบบ โสมนัสสูปวิจาร (๖ทวาร+โสมนัส)
ทุกขเวทนาแบบ โทมนัสสูปวิจาร (๖ทวาร+โทมนัส)
เฉยๆ ที่เป็น อุเบกขูปวิจาร (๖ทวาร+อุเบกขา)
กำจัดสัตว์นรก จนไม่มีสัตว์นรกในใจ รู้สัตตาวาส ๙ ต้องเรียนรู้สัญญา ที่สัมมา กับไม่สัมมา คนเรียนรู้ ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็กำหนดผิด สัญญาผิด ไปทำเป็นเทวนิยม สัญญาคนละอย่าง องค์ประชุมแต่ละสัตว์ ก็ไม่เหมือนกัน ใน สัตตาวาส ๙ อธิบายนิโรธ นิพพาน และความเป็นสัตว์ ต่างกันไป
เราต้องอ่านเนกขัมมะ กับเคหสิตะ ต่างกันอย่างไร ถ้ากำหนด ผิด สัญญาผิด
เราเป็นโสดาบัน จะมีเทวดาโลกีย์ กับเทวดาโลกุตระ ปนกัน ต้องเรียนรู้ ที่จะล้างสัตว์ ในสัตตาวาส ๙
เราเรียนรู้กาย ที่พ่อท่านสอน เราทำได้เหมือน ที่พ่อท่านย้ำไหม กายนี่ ไม่ใช่สรีระ ต้องมีนามธรรม ประกอบเสมอ ไม่ใช่แค่โครงร่าง ไร้วิญญาณ ต้องมีนาม ไปรับรู้เสมอ อย่างดอกไม้นี่ มันไม่รู้เรื่อง ศึกษาไม่ได้ กว่าจะเข้าใจ เรียนรู้ได้ ไม่ใช่เล่นๆ
เมื่อเรียนรู้ว่า กายคือองค์ประกอบของ รูปและนาม ก็วิเคราะห์ สติปัฏฐาน ๔ เจาะไปถึง เจโตปริยญาณ
๑. สราคจิต (จิตมีราคะ)
๒. วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
๓. สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
๔. วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
๕. สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
๖. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
๗. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .
๘. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
รู้วิตกวิจาร แล้วจารคือ เจาะต่อไปว่า นี่คือสัตว์นรก นี่คือสัตว์เทวดา นี่คือกลางๆ การแยกองค์ประชุม นี่คือกาย ใช้สัญญากำหนดรู้ ต้องใช้สัญญาเป็น เมื่อแตะต้อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วมีวิตกวิจาร รู้ปรุงแต่งกันไป เป็นวิจาร คุณรู้จักวิจาร จากมโนปวิจาร นี่คือสัตว์นรก หรือสัตว์โลกีย์ ทำให้หายไป เป็นเนกขัมมะ เรียกว่ามี วิตก วิจาร ได้มีฌาน ๑ การตักกะ วิตักกะ สมบูรณ์เข้าสู่วิจาร ที่เป็นเนกขัมมะ
ฝึกกำหนดรู้ ใช้สัญญากำหนด เมื่อกำหนดได้เก่ง สัญญาก็เป็น สัญญาที่ยอดเยี่ยม เป็นญาณปัญญา แยกแยะ และดับ จนจารของเรา เป็นเนกขัมมะ เป็นพรหมจรรย์ เป็นอาการของ ผู้เป็นพรหม เป็นรูปพรหม เป็นอรูปพรหม เมื่อกำหนดกายได้ ก็แยกแยะ วิญญาณฐิติ ได้ แยกแยะ ความเป็นสัตว์ออก
สัตว์อบาย คุณต้องรู้ก่อนเลย ถ้าไม่รู้อันนี้ จะไปดับ ไปล้างกาม และรูป อรูปได้อย่างไร เมื่อดับอบายสัตว์ได้ ก็มาดับ กามสัตว์ และรูป อรูปต่อไปอีก
เมื่อกำหนดรู้ สัตตาวาส ๙
๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า (ข้อนี้คือ สัตว์ทั่วไป ที่ไม่รู้ว่า ขังคุกอยู่ น่ากลัว สัตว์ในร่างกาย ในวิญญาณเรา เราขังมันมา ไม่รู้กี่ล้านชาติแล้ว แล้วมารู้คนขังสุข สุขนี่ละเอียดกว่า ความเป็นสัตว์ ก็จะรู้ว่า เราติดสุข ขังสุขไว้
๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพ จำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น . ทำฌานให้ลดราคะ โทสะ โมหะได้ ในฌาน ๑ ก็ยังยากอยู่ ในวิตกวิจาร จนสามารถทำได้ ลดกิเลสได้ เป็นจาร ที่เป็นพรหม ขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็มาล้าง รูปพรหม อรูปพรหมอีก เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ คุณก็จะรู้ วิตก วิจาร
จะรู้ลักษณะของ สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด) ลักษณะเหมือนหยิบ ฝุ่นออกจากน้ำ ที่ถูกกวน ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึง อรูปฌาน หยิบออกมาทำลายได้
ข้อนี้จะเริ่มรู้ความเป็นสัตว์ เมื่อสัมผัสเมื่อไหร่ มีอิฏฐารมย์ มีอนิฏฐารมย์ ก็ยังเป็นสัตว์อยู่ หากไม่สุขไม่ทุกข์ได้ ก็หมดความเป็นสัตว์ จะชั่วคราว หรือถาวร ก็แล้วแต่ เมื่อได้ล้างกิเลส ออกไปๆ พฤติกรรมของคุณ ก็เป็นพรหม มากขึ้นๆ มีจิตที่ทำ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ นี้ได้ ก็สั่งสมเป็น อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา (ตัวแกน ไม่เคลื่อนๆ Static) จะเกิดพลังงาน ปรุงแต่ง โดยไม่มีกิเลสไปร่วม เป็นอสังขาริกัง ถ้ายังมีเศษกิเลส ก็เป็นสสังขาริกัง พาลงนรก สวรรค์
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) สายธรรมกาย อภัสราพรหม เขาจะใสๆ สว่าง เขาเป็นโลกีย์ ส่วนของโลกุตระ เมื่อล้างกิเลสแล้ว จิตจะใสสะอาด สว่าง อย่างแท้จริง กายจะสว่างเหมือนกัน ใสเหมือนกัน แต่สัญญา ต่างกัน ธรรมกายกับอโศกนั้น คนละอาภัสรา คนละใส คนละสะอาดสว่าง แม้แต่ของสวนโมกข์ ก็ยังสัญญาต่างกัน กับของอโศก
ข้อนี้กำหนดสว่าง เหมือนกัน แต่สัญญา จะต่างกัน สัญญาของธรรมกาย ยังมิจฉาทิฏฐิ ๑๐๐ % ส่วนของสวนโมกข์ ยังมีส่วนถูกอยู่ เป็นอารมณ์ เป็นสัญญา ที่เป็นปัญญา เป็นญาณ ที่มีพลังเพียงพอ ถ้ากำหนดได้ถูกต้อง ก็กำหนดได้ชัดเจน ละเอียดต่างกัน ถ้ารู้ได้ มีปัญญามากพอ ก็รู้ได้ หากไม่มีปัญญาพอ ก็รู้ไม่ได้
อาตมาเคารพท่านพุทธทาส ที่ท่านเป็นอาริยบุคคล ต่างกับธรรมกาย ที่ท่านมิจฉาทิฏฐิ ไม่ได้โกรธเกลียด เอามาศึกษากัน พูดด้วยเมตตา สัจจะความจริง
แม้สายสวนโมกข์ ก็มีสัญญา ต่างกับอาตมา การกำหนดรูปฌาน อรูปฌาน ก็ต่างกับอาตมา แน่นอน
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) ถ้าคุณยัง สุภันเตว อธิมุตโต โหติ คุณยังเห็น มันสวยงามอยู่ คุณก็ต้อง มีมันต่อไป
สัญญาเหมือนกันว่า ได้นิโรธ พวกมิจฉาทิฏฐิ ก็ได้มืดดับ หลงนิโรธมืด นั่งหลับตา ดับเวทนา ดับสัญญา ซึ่งสัญญามาผิด นิโรธของเขา ดับหลับตาไม่รับรู้ มืด แต่ว่าของอาตมานั้น ลืมตาทำ รู้ความดำ ความดับ จาก จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เป็นอากาสาฯ
พวกที่มิจฉาทิฏฐิ จะไปกำหนดรู้ ได้ความดับเวทนา สัญญา เป็นสายดับ เช่น สายอ.มั่น
สายอ.มั่น มีนิโรธ ตรงกันข้ามกับ ธรรมกาย สายธรรมกาย จะมีความใส โสดาฯ ก็ใสระดับหนึ่ง สกิทาฯอนาคาฯ ก็ใสกว่าอีก ใสเพิ่มขึ้นๆ
อ.มั่นถือเป็น ทักขิเนยบุคคล มีภูมิโสดาบันอยู่บ้าง แต่เป็นสายดับ ไม่รู้เท่าท่านพุทธทาส ที่เป็นสายสว่างฺฏ
ที่พูดนี้ อาตมาพูด ด้วยความเคารพ
มีอีกคนคือ เจ้าคุณนอฯ ที่อาตมายกให้เป็น อนาคามีภูมิ อาตมาเคารพ นับถือ ในแต่ละท่าน ที่พูดมานี้
ท่านมุ่งมั่น เคร่งศีล วินัย เป็นทักขิเนยยบุคคล แต่ไม่เป็นอาริยบุคคล อาบัติเบาแก้ไข แต่ไม่มีอาบัติหยาบ เสียดาย ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็เลยได้ เท่าที่ท่านได้ ไม่ได้วิจารณ์ อย่างอคติ แต่อธิบายธรรมะ เป็นการศึกษา
กายหรือนิโรธ ของอ.มั่น ต่างกับ กายกับนิโรธของอาตมา
๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก อสัญญีสัตว์ (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติ ดับจนไม่รับรู้อะไร)
๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง..อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา) สายสว่าง จะได้อันนี้ ไปอยู่ในภพสว่าง ไปสร้างภพสว่างใสๆๆ ธรรมกาย เป็นต้น ตั้งแต่ อาจาย์ใหญ่ ท่านทำมา
๗. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง) สายสว่าง จะได้อันนี้
๘. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร) สายดับจะได้อันนี้ เช่น อุทกดาบส และอาฬารดาบส นั่งสมาธิไปดับ มืดไม่รู้อะไร แล้วไม่มีปฏิภาณว่า จะดับอย่างไร มันก็ต้อง ขึ้นมารับรู้อีกจนได้ ไม่ว่ากี่ล้านชาติ แม้ตายไป ก็ไปจม ในภพนั้นอีก ไม่รู้กี่ล้านปี เป็นอากิญจัญญายตนภพ
๙. สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น.. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ) คนไปหลงข้อนี้ คือ หลงภูมิสูงสุด ของการสร้าง ชาติ คือ การสัญญา อย่างคลุมเคลือ ไม่แม่น รู้หรือไม่รู้ รู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช้ ไม่สมบูรณ์ ไม่คมลึก ไม่แจ้งสุดยอด
การนั่งหลับตาทำสมาธิ เมื่อทำจิตให้สะอาด จากนิวรณ์ ๔ (กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ) อย่างไม่สงสัย ไม่วิจิกิจฉาเลย นั่นคือ ภูมิภพของ รูปฌานในจิต ในขณะที่คุณเข้าไปสว่าง เป็นอาภัสสรา จะรู้ชัดในวิญญาณอยู่ในอากาศ แต่ได้เรียนรู้ว่าสว่าง ก็ยังไม่ดับ ไม่จบ ก็เลยดับต่อ ดับสว่าง ก็เป็นอสัญญี เพราะไปเรียนรู้ผิดๆ เมื่อเชื่อว่า ดับคือนิโรธ ตัวอากิญจัญฯ จึงดับ เป็นอาฬารดาบส จิตดับเป็นนิโรธ นั่งได้ทั้งวันทั้งคืน ได้ ๗ วัน หรือมากกว่า แต่ความดับนั้น ก็จะมีความรู้อยู่ เมื่อใดเมื่อนั้น แต่อุทกดาบส ระลึกได้ว่า มันยังแวบรู้ ก็เลยไปดับมันอีก ก็เลยได้ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ โดยการสัญญาผิด ได้ฌานหลับตา
เก่งที่สุดของการดับภพ ในการนั่งหลับตา คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ พพจ.ยังว่า นี่คือสัตว์ เป็นสัตตาวาส ขั้นที่ ๙ เป็นสัตว์อยู่นะ สูงสุดได้แค่นี้ ยังมีอรูปภพอยู่ นี่คือ การไม่รู้องค์ประกอบ ของรูปและนาม
ถ้าญาณปัญญาไม่สัมมา คุณสัญญาไป ก็ไม่สัมมา ไปกำหนดรู้ในปัจจุบัน ทุกปัจจุบัน แม้ตายไป สัญญาก็กำหนด ในภพภูมิของตน ถ้ามิจฉา ก็เป็นความลวง อย่างสูงสุดก็ได้ เนวสัญญาฯ พอรู้ตัวก็ดับ แล้วไม่มีร่างกายด้วย ก็จมไปนาน ไม่รู้เท่าไหร่
ตอนคุณนั่งสมาธิ ถ้าเข้าอุเบกขา จะไม่อยากออก มันสบาย นอกจาก คุณจะกำหนดเอง ให้ออกมา ถ้าสามารถอยู่ได้นาน ก็อยู่ไป ได้เป็นวัน เป็นสัปดาห์ ถ้ากำหนดเป็นใส หลงสุภกิณหะ ก็ไปดับมืด นานไปเท่าไหร ก็ทำไป ไม่อยากออก ตายไปคุณไม่มี รูปนานขันธ์๕ เลย คุณจะจมอยู่ นานนนนนนนน..... เท่าไหร่? มันไม่อะไรกวนเลยไม่มี ทวาร ๕
ถ้าคุณหลงผิด ก็ไปนั่งหลับตาทำ แม้ได้ฌาน ๑ มีวิตก วิจาร แต่กำหนดนิวรณ์ เป็น ไม่มีนิวรณ์ ๕ ถ้าคุณกำหนดได้ แล้วเข้าไปสู่ อุเบกขา แล้วอยาก ออกจากความว่าง อุเบกขา ก็จะไปสร้าง ความว่าง แล้วเหมือน คุณหลุดไปจากโลก ไปนอกโลก เหมือนอย่าง ภาษาของท่าน มหาบัวพูด ไปอยู่ในภพของ อากาสาฯ เบาว่างกว่าอุเบกขาจริง แล้วคุณจะไม่อยากออก ซึ่งได้ครั้งแรกแล้ว จะทำอีกครั้งยาก กว่าจะเก่ง อากาสาฯ ก็จมอยู่ตรงนั้น ธรรมกาย เขาอาจได้ อากาสาฯ อย่างท่านมหาบัว ท่านได้อากาสาฯ แล้วท่านจะทำ ได้เก่งเท่าไหร่ไม่รู้ เพราะถ้าท่านเก่ง จะมีภูมิรู้กว่านี้ ไม่ติดหมาก อย่าง อ.เทสก์ จะมีภูมิกว่า มหาบัว
เรามาทำธรรมะ ให้เป็นธรรมกายที่ถูกต้อง รู้จักธรรมกาย ที่เป็นฌาน เป็นรูปฌาน ที่ถูกต้อง ถ้าเข้าใจถูก คุณจะไปนั่ง สมาธิหลับตา อย่างสัมมาทิฏฐิ เป็นบุคคล ที่มีทั้ง เจโตสมถะ และ โลกุตระ
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ แต่ไม่ได้เจโตสมถะ
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ และได้ทั้งโลกุตระ พวกสุขวิปัสสโก (ไม่ต้องไปหลง เจโตสมถะ)
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ
วันนี้ได้รู้คนขังสุข คุณเป็นคนโลกๆ ก็หลงสุข แม้เป็นโลกุตระ ก็ยังหลงเหลือสุข ในภพภูมิใด ก็ต้องรู้ อย่าง อ.มั่น อ.ชา ท่านพุทธทาส อย่างอ.ชา ก็มาสู่ สัมมาทิฏฐิบ้าง แต่สายอ.มั่น ไปทางสมถะมาก หลงฤทธิ์เดช มาก ส่วนหลวงปู่เทสก์ ก็ยกให้ ดีกว่าอาจารย์อื่นๆ ที่ไปหลับตา ทำเป็นฤทธิ์ เป็นเดชโลกีย์ หรือ หลวงปู่แหวน อาตมาวิจารณ์ท่านว่า ล่อขี้โย จะอรหันต์ได้อย่างไร หรือ อรหันต์ ที่เคี้ยวหมาก จะไปเป็นอรหันต์ ได้อย่างไร ... วิจารณ์ด้วยเคารพ ในท่าน เป็นทักขิเนยยบุคคล ก็ขอจบรายการนี้ เพียงเท่านี้ .
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ
กทม. |