570212_ทวช.งานพุทธาฯที่ผ่านฟ้า โดยพ่อครู |
เรื่อง อุปาทายรูป ๒๔ โดยปฏิสัมพัทธ์ |
เราก็มาพุทธาภิเษก คือประกอบ เพื่อสร้างทำให้เกิด ด้วยวิธีที่พิเศษ ที่ทำให้เกิด ให้เป็นขึ้นมา ช่วยกัน คนละไม้ คนละมือ สิ่งที่จะให้เกิด คือความเป็นพระ ในภาษาไทย ใช้คำว่า พระ มาจากภาษาบาลีว่า วระ หรือ แปลว่า ภาวะประเสริฐ ความประเสริฐ ที่เป็น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
โดยเฉพาะมโน หรือจิตใจเราได้เกิด หรือ ชาติ
การเกิดคือ การก่อสภาพขึ้นมา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หรือสลายไป ดังนี้เราก็จะรู้นัย แม้วัตถุ ก็เป็นเช่นนี้ อาจช้าหรือเร็ว ก็แล้วแต่ การเกิด การดับ ก็ต่างกัน และในวาะที่ตั้งอยู่ ก็ยังมีความเกิด ความดับ ซ้อนอยู่
อารมณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา อาการพฤติกรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นสามัญลักษณ์
กิเลส ถ้าเรามีจิตเจตสิก เราอ่านรู้ ว่า นี่คือ โลภ นี่คือโกรธ อย่างการหลง ไปหลงติดยึด คลั่งใคร้ หลงว่า การได้มาอย่างทุจริต อกุศล ได้มาอย่าง เลวร้าย รุนแรง แล้วเราหลงดีใจ ภาคภูมิใจว่า เราเก่งโกง เก่งหลอก เราทำร้ายเขาได้ เราชนะก็ได้มา สิ่งเหล่านี้ เป็นอาการ สภาวะที่เกิด เราทำมันจึงมี เราไม่ทำ มันก็ไม่มี
โดยเฉพาะ กายวิญญัติ มีการเคลื่อนไหวประกอบ ทั้งสุ้มเสียง สำเนียง เป็นรูปธรรม เรียก กายวิญญัติ คนอื่นทำ หรือเราทำ เราก็เรียนรู้ศึกษา โดยเราเป็นผู้รู้ ในวิญญัตินั้น เป็นอาการ เคลื่อนไหว แล้วเราสัมผัสเห็น
การทำสมาธิ หากเราไม่มีกาย กับวจี เคลื่อน เราก็อ่านภายใน ที่มีองค์ประชุม ของจิต เรียกว่า นามกาย เป็นกายในกาย แต่หากเรา ตื่นรู้ รับวิถี ทวาร ๕ กระทบสัมผัส และจิตเรา ร่วมประกอบ ทำงานอยู่ เป็นกาย เรียกว่า รูปกาย ถูกรู้ได้ด้วยจิตเรา เช่น ตากระทบรูป ก็รู้ เสียงกระทบหูก็รู้ เราเอาจิตของเรา เรียกว่า หทยรูป คือตัวจิต ที่ตั้งอยู่ตรงไหน? เช่นขณะนี้ ตากระทบรูป แล้วเรารู้ได้ ตรงที่รู้ได้นั่นแหละ คือ หทยรูป มันอยู่ที่ เรากำหนดรู้
เช่นเราน้อยใจ เราเสียใจ ไม่ได้หมายถึง หัวใจที่เป็นอวัยวะ ที่สูบฉีดโลหิต ทุกข์ไม่ได้เกิด ที่หัว ที่มือที่เท้า แต่เกิดที่ใจ เป็นเวทนา ซึ่งเกิดเมื่อใด เราก็กำหนดรู้ สัมผัสสิ่งใด ก็รู้ทันที เช่น สัมผัสอันนี้ แล้วชอบ ชื่นใจ อร่อย สัมผัสเสียดสี แล้วชื่นใจ เป็นอิฏฐารมย์
เราก็รู้เราก็เข้าใจ ตามประสาทที่ กระทบรับรู้ เป็นปสาทรูป แล้วมันทำงานเรียก โคจรรูป ตากระทบรูป หูกระทบเสียง หรือ
ภิกษุสาติ มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า "เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
ภิกษุเหล่านั้น ปรารถนาจะปลดเปลื้อง ภิกษุสาติ จากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาค มิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกัน เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี. (มหาตัณหาสังขยสูตร พตปฎ. ล.๑๒ ข.๔๔๐)
ซึ่ง ภาวะรูป มีสองอย่าง
ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ )
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง)
ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย)
อาการของอิตถี กับปุริสภาวะ การต่างกัน เรียกว่า ลิงค หรือความต่างกัน เราต้องเรียน เป็นภาคบังคับ หากไม่เรียน เราอิตถี คือความไม่จบ และปุริสะ คือปัญญา ที่รู้ยิ่งรู้จริง รู้ถึงที่สุด ถ้ารู้ในระดับรองลงมา เรียกว่า อิตถีภาวะ ถ้าระดับอินทรีย์ เรียก อิตถี แต่ลักษณะพละ เรียก ปุริสภาวะ
ทั้งสองอย่างเป็นพ่อและแม่ ทำให้เกิด หรือศีลกับปัญญา ทำให้เกิดจิต หรืออธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ศีลเป็นข้อกำหนด ให้เราศึกษาจิต เช่น เราไปทำกรรมชั่ว ได้ตีคน แล้วเราได้ยินดี หรือเราไปเล่น ที่มันหยาบคาย สูญเสีย เป็นการพนัน การบันเทิง เสียสุขภาพ เสียเงินทอง แล้วเราไปหลงว่า มันมันส์ เป็นรสอร่อยสุข เสียเวลา ทุนรอน แรงงาน แล้วเราก็หลงว่า การได้ทำอย่างนั้น เกี่ยวข้องเป็น สังสัคคะ ปรุงแต่ง เป็นสวรรค์ หรือแม้แต่ในมโน ปรุงแต่ง คิดจินตนาการหวาน เป็นสุขทุกข์ คือการประกอบสังขาร ปรุงแต่งในจิต ในวาจา ได้ออกเสียง ได้ทำท่าทาง ก็ชอบ อร่อยเป็นสุข
สัมผัสแล้ว มีกายวิญญัติ วจีวิญญัติ แต่ให้เราจับที่ มโนหรือใจ เป็นหลัก กำหนดรู้วิญญาณ หรือจิตเราที่เป็นองค์ประชุม เรียกว่ากาย
อย่างเห็นมะม่วงนี้ ลูกโตดี มันน่าหม่ำไหมนี่ ใจที่อยากนี่คือ ที่เราตั้งสมมุติไว้ว่า เนื้ออย่างนี้ รสอย่างนี้ ได้ใจเลย ปรุงแต่งเป็นเทวดา ถ้าไม่ชอบ ก็เป็นอาการผลัก มีสองอย่างหลักๆ คือ ดูด กับผลัก
ถ้าได้สมใจตามชอบ ก็ฝังใจเป็นอุปาทาน เมื่อสัมผัส ก็อ่านเข้าไปจาก กายในกาย ถ้าตาเรากระทบอยู่ เราก็อ่านเข้าไปในกาย ตาเรากระทบ เราเห็นรูป หรือ เราหลับตา เราก็กำหนดเห็น อยู่ในใจ แม้เราหลับตา แต่เรากำหนดที่ หทยรูปที่เสียง แต่ตาเรา กระทบอยู่ แสงก็ทำงานของมัน สะท้อนมาที่ตาเรา แต่ปสาทรูป ของเรา ไม่ได้กำหนดที่ตา หทยรูปเรา ไม่ได้อยู่ที่ตา แต่อยู่ที่เสียง แม้ตาเรา กระทบแสง แต่ใจเรา ไม่ได้กำหนดที่ตา แต่เราไปกำหนด ที่เสียงที่หู ตาเราไม่มี หทยรูป ไม่มีรูปที่ใจ
เราทำงานอยู่มีองค์ประกอบ เช่น เราทำเหล้า แต่เราเห็นว่า มันทำให้คนเสีย ใช้ประโยชน์ได้น้อย เอามาสร้าง ให้คนกินตะพึด ฉิบหายวายป่วง กินเมื่อไหร่ ก็เสียหาย ทำลายสุขภาพ ทำลายจิตใจ เราก็รู้ว่าเราทำเหล้า ให้คนกิน นี่บาป ทำให้เสียหายเลวร้าย อาชีพทำเหล้าขาย ถ้าเราจะทำ เราก็เอามา ทำยา ทำประโยชน์บ้าง คนมีปัญญา จะพิจารณาว่า อาชีพบาป อาชีพบุญ อันไหนกุศล อกุศล
บาปก็เกิดจากกิเลส กรรมกิริยา ที่เกิดจากกิเลส ส่วนบุญ คือ การชำระกิเลสได้ เกิดกิเลสก็คืออกุศล ส่วนคำว่า ตัณหา บางทีก็มีประโยชน์ เป็นความต้องการ เป็นกุศลที่ดี เช่น วิภวตัณหา เป็นตัณหาเรียนรู้ภพ เข้าใจภพ รู้เหตุแล้ว เกิดจาก กามภพก่อน คนเราสามารถมีปัญญารู้ได้ว่า อันไหนเป็น กรรม เป็นกัมมันตะ ที่เป็นงาน เป็นการขึ้นมา ทำประจำเป็นชีวิต ก็คือ อาชีวะ บางอย่าง ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยซ้ำ ทำให้ชีวิตเสียด้วย เช่น เอาแต่เล่นเตร่ เล่นกีฬา ที่หลอกกัน จนเสียหาย เช่นปรุงแต่ง ให้ดูกีฬา จนเสียทุนรอน แรงงานเวลา แต่เขานึกว่า ได้เกิดการหมุนเงิน คนจิตเสื่อม ไปติดอบายมุข เช่นกีฬา ไปเสพรส ปรุงแต่ง เลวร้าย หาเงินจากเรื่องนี้ ปรุงแต่งมาเป็นอาชีพ หมุนเงิน แม้เงินหมุนดี แต่คนซับซาบอารมณ์ เสพอารมณ์ ซึ่งเป็นสุขขัลลิกะ เป็นสุขไร้สาระ เป็นพิษด้วย เสียเวลา แรงงานทุนรอน
ถ้าเอาเวลาทุนรอนแรงงาน มาทำสิ่งมีประโยชน์ต่อชีวิต จะดีกว่า แต่ไปหลงรส ที่ไม่จริง เป็นสุขขัลลิกะ ถ้าไม่ได้สัมผัสจริง จะไม่เกิดรสจริง ต้องบินไปดู เช่น แข่งบอลนัดชิง ต้องบินไปดู ไปเสพรสอันนั้น หลงว่าดี
ไปแล้วก็เสพตอนนั้น พอกลับมาแล้วก็นึกถึง เอามาเสพในภพ เหมือนควายเคี้ยวเอื้อง ระลึกถึง เป็นเทวดาหลอกให้เสพรส ความเกิด (ชาติ) ความบังเกิด (สัญชาติ) เป็นอัตตาที่เสพ ไม่ใช่อาหารที่เป็น กวฬิงการาหาร ไม่ใช่ผัสสาหาร แต่เป็นมโนสัญเจตนาหาร ที่นึกจากสัญญา เอามาเป็นจริง เป็นสุขทุกข์ได้ เป็นรูปที่สร้างในจิต เป็นสวรรค์สมมุติ ซึ่งสวรรค์นั้น เป็นสุขตอนสัมผัส ทันทีนั้นๆ พอหมดสัมผัส ก็หมดสุข
ชาติ คือการเกิดทางกาย เกิดชาติพันธุ์ ประชาชาติ
ชาติ คือการเกิดทางจิต โอปปาติกโยนิ ที่เป็นอเทวนิยม ได้แก่
ความเกิด (ชาติ) ความบังเกิด (สัญชาติ)
เกิด (โอกันติ) ความหยั่งลงเกิด (นิพพัตติ)
เกิดจำเพาะ (อภินิพพัตติ)
เมื่อสัมผัสแล้วเกิดเป็นอารมณ์ วิจัยเวทนาเข้าไปถึงเหตุ ว่ามีสราคะ เป็นเหตุ คือได้สัมผัสเดี๋ยวนี้ก็รู้ ว่าเกิดผีหรือเทวดา เมื่อเราสามารถเรียนรู้หทยรูป เรียนรู้ ชีวิตินทรีย์
เรียนรู้ภาวะรูป ที่เป็นอิตถีภาวะ และปุริสภาวะ ที่ไม่ใช่การดูถูก ชนชั้นวรรณะ หาว่าไม่ส่งเสริมผู้หญิง ก็ไม่ควรคิดเช่นนั้น แต่เป็นการกำหนด สภาวธรรม เป็นความไม่เจริญ เรียกอิตถีภาวะ ส่วนสิ่งเจริญสิ่งจบ เรียกปุริสภาวะ สิ่งที่ยังต่องแต่ง ยังไม่จบ คืออิตถีภาวะ แต่สิ่งที่จบสมบูรณ์ คือ ปุริสภาวะ
เช่น เรามานั่งชุมนุมนี่ เกิดคุณค่า แยกไปตามที่ต่างๆ เช่น ที่สีลม ที่อโศก ที่ราชประสงค์ ก็เกิดองค์ประกอบ คุณค่าต่างๆ พวกเรามาอยู่ที่นี่ ที่ผ่านฟ้า เราก็ทำไป จะนานเท่าไหร่ไม่รู้ มีประโยชน์อย่างไร ต่อสังคมประเทศชาติ เราได้ทำสิ่งดี แม้เหน็ดเหนื่อย หนักหนา เมื่อยเราก็ทำ สิ่งมีประโยชน์ สร้างสรรไป แต่ถ้าไม่มีประโยชน์ เราก็หยุดไป เช่นเดี๋ยวเกิดระเบิด คนก็อยากให้ย้ายไปที่ อนุสาวรีย์ปชต. แต่มาคิดดูก็ว่า ตรงนี้ เป็นอย่างไร บางคนก็ว่าที่นี่ มานอน มานั่ง ฟังธรรมกันอย่างไร ก็ไม่ครื้นเครง แต่ก็อยู่ที่ รสนิยมของคน แต่เมื่อมีถ่ายทอด กำนันสุเทพ หรือมีรายการดี เราก็ตัดถ่ายทอดให้ เพราะเราอิสระ ไม่ได้มานั่งหาเงิน ไม่มีสปอนเซอร์บังคับ เราทำอย่าง สร้างประโยชน์ เราทำได้ เพราะมีคนที่เสียสละ มาช่วยกันทำ
แต่ที่จะอยู่ที่นี่ อาตมาก็ว่า ที่นี่ดูซึ้งกว่านะ สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องของ มนุษยชาติ ที่เราได้เรียนรู้กัน ตอนนี้ได้อธิบายถึงรูป คือสิ่งที่ถูกรู้ ทั้งนอกและใน
รู้ ภาวรูป ๒ เป็นอิตถัตสะ หรือปุริสัตถะ (สัตถะคือประโยชน์ ) เป็นการสื่อให้รู้ สภาวธรรม อย่างแรง อย่างกลาง อย่างละเอียด เป็นปุริสภาวะได้มาก ก็มีอิตถีภาวะ น้อยลงได้
เราก็เรียนรู้ ชีวิตรูป คือยังมีชีวิตอยู่นะ ถ้าเราจะทำให้ ชีวิตของ อกุศลเจตสิก ตายไป เราทำให้ชีวิตของ ความเป็นสัตว์อบาย ตายไป จากสมมุติเทพ ก็เป็นอุบัติเทพ จนเป็นวิสุทธิเทพ จนเป็นพรหม สูงขึ้นไป เราจะรู้ว่า เราจะเป็นพรหม นิรันดร์หรือไม่ อย่างอนาคามี ก็เป็นอรูปพรหม ตรวจสอบตนเอง ในสิ่งเหลือ ด้วยอรูปฌาน เป็นสมบัติของตน ที่ต้องล้าง ให้วิบัติหมดไป คุณจะรู้ว่า อันไหนเกิด อันไหนดับ ทำให้ถึงที่เกิด ตรงหทยรูป
เรารู้ว่า ชีวิตของสัตว์นรกตาย ชีวิตของอุบัติเทพเกิด ซึ่งมีตายแบบชั่วคราว และตายแบบถาวร ตายอีหลีอีหลอ เรียกว่าดับเชื้อ
รูป คือสิ่งที่ถูกรู้ เรารู้นามธรรม เวทนาในเวทนา รู้อารมณ์ผี อารมณ์เทวดา เมื่อล้างอารมณ์ผีตายลง อุบัติเทพก็เกิด
ชีวิตรูปที่ยังอยู่ ที่แท้คือ อาหารรูป แม้องค์ประกอบ ปัจจัย ๔ ที่จะทำองค์ประกอบ เป็นกัมมันตะ ประกอบด้วย วิตกวิจาร ปรุงแต่งนึกคิด เป็นอาการ กิริยา เราก็แยกแยะเรียนรู้ วิตก วิจาร เรียนรู้ การงานอาชีพ
เราเรียนรู้ในอาหาร ๔ ต้องกำหนดรู้ใน รูป นาม แยกให้ออก รู้ไปถึง มโนสัญเจตนาหาร ที่มีหรือไม่มีกิเลส ไปร่วมปรุงแต่งด้วย ถ้ามีกิเลส เรียก สสังขาริกัง ถ้าไม่มีกิเลสร่วม เรียก อสังขาริกัง คุณจะรู้ว่า นี่มีเพื่อตัวเรา มาปนปรุง หรือเพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม
ชีวิตคนเรา ไม่ต้องเอามา ให้แก่ตนเอง มากหรอก ถ้าเป็นคนไปยาก มายาก กินยาก อยู่ยาก ก็ไม่ดี แต่ถ้าเราเป็นคนที่ กินง่ายอยู่ง่าย ไม่เรื่องมาก คนก็จะสนับสนุน ส่งเสริม เราก็มีประโยชน์ ต่อสังคมได้มาก ชีวิตของคุณ เนื่องด้วยผู้อื่น การเลี้ยงชีพของเรา เนื่องด้วยผู้อื่น (ปรปฏิพัทธา เม ชีวิกา) ยกตัวอย่าง นส.ดาวเพ็ญ เขาก็ว่า ชีวิตของเขา ไม่ต้องใช้เงิน ก็อยู่กับหมู่กลุ่มไป อาตมาก็ว่า ให้ไปเรียนป.โท เขาก็ไปเรียน ใช้เวลาตั้ง ๖ ปี กินอยู่ เนื่องด้วยผู้อื่น หลายคนเราก็เรียน คนไหน ช่วยตนเองได้ก็ช่วยตนเอง หรือหมู่กลุ่มก็ช่วย
คนที่ไม่เห็นแก่ได้ ไม่บำเรอตน เป็นคนมีวรรณะ ๙
๑. เลี้ยงง่าย (สุภระ)
๒. บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ)
๓. มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) . .
๔. ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ)
๕. ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)
๖. เพ่งทำลายกิเลส มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์)
๗. มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ)
๘. ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ๙
๙. ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) .
อะไรที่ควรอาศัย ให้พอเหมาะ อย่าไปเปลืองผลาญให้พอเหมาะพอดี แล้วเรียนรู้จากผัสสะ ในผัสสะ มีเวทนา ๓ เราเรียนรู้ เทวดาปลอม กับผี ที่เป็นสมมุติเทพ เรียนรู้ที่จะปฏิรูป จนปฏิวัติ คือทำได้ทันที ในปหาน ๕ เป็นนิสรณปหาน คือทำจนเป็นที่พึ่งได้
๑. วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
๒. ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
๓. สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
๕. นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)
เมื่อเรารู้โอกกันติ สามารถทำให้หยั่งลง เป็นโลกุตระ เป็นอาริยะ รู้จักทิศทาง กระแสโลกีย์ กับกระแสโลกุตระ ใหม่ๆอาจได้แค่ เข้ากระแส ไม่มากนัก แต่พอได้ แต่พอเราได้มากขึ้นๆ ไปสู่โลกุตระมากขึ้นก็ ก็แข็งแรงขึ้นๆ ส่วนทางโลกีย์ ก็ทวนกระแส กับโลกุตระเลย เหมือนเดินหันหลังให้กัน เดินไป คนละทางเลย อย่างที่เขากำลังทำกันอยู่ ในปัจจุบันนี่แหละ เราต้องรู้ อยังโลโก ปโรโลโก รู้โลกนี้ โลกหน้า
เราเรียนรู้มูลสูตร
๑. มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) . .
๒. มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) . . .
๓. มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . .
๔. มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) . ให้ทรงได้ซึ่งธรรมะที่เป็นนิโรธ เป็นนิพพาน เราจัดการ การเกิดดับ ที่เวทนา แยกจิตเจตสิกได้
๕. มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ)
๖. มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ) . . . .
๗. มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ) . กัปตันยิ่ง ทะลุถึงปัญญินทรีญ์ ปัญญาพละ
๘. มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) . สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง เป็นการดับกิเลสได้ ตายสนิท แม้เป็นพรหมสัตว์ก็อาศัย ไม่ยึดติด อาศัยวิญญาณพรหม เป็นเครื่องมือ เมื่อผ่านวิมุติ เป็นแก่น
๙. มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา) ทำจิตให้เกิดเป็น อมตบุคคล มีอมตจิต ทำโอกันติ ทำนิพพัตติ (อุบัตเทพ) ทำอภินิพพัตติ (วิสุทธิเทพ) ในการเกิด ๕ อมตะคือ เกิดก็ได้ ตายก็ได้ ถ้าทำผู้ได้ ก็ไม่ตาย คำว่า ผู้ ในภาษาไทยคือ ผู้ชาย เป็นอมตะ จะอนุโลมเป็นผู้หญิง ก็ได้ อาตมาปางนี้ เป็นนักรบแม่ลูกอ่อน ดูแล้ว เหมือนกระเทย ชอบกลๆ บางทีก็อนุโลม บางทีก็เป็นเด็ดขาด เป็นผู้เป็นคนแล้ว ภาษาไทยนั้น ลึกซึ้ง ถ้าเป็นผู้ เป็นเมียอยู่นี่ เป็นอิตถีภาวะ
๑๐. มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) ถ้าไม่ปรินิพพาน ก็อยู่ไป อย่างพระอวโลกิเตศวร จะอยู่ไป จนช่วย คนสุดท้ายในโลก ให้ปรินิพพาน แล้วเราค่อย ปรินิพพาน ก็เอา แต่อาตมา ไม่เอาอย่างนั้น
(พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๕๘)
ในอาหาร ๔
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม)
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบ ให้เกิดเวทนา) เรียนรู้ของจริง ว่าเกิดกิเลสอย่างนี้ หยาบอย่างนี้ สูงขึ้นอย่างนี้ รู้ผัสสะนอกและใน รู้เจตนา
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .วิภวตัณหา เป็นตัณหา เป็นตัณหาล้างตัณหา
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จัก แยกแยะนาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะ อาสวะ ให้จบสิ้น) วิญญาณจะเจริญ จากวิญญาณผี เป็นเทวดา แล้วมาเป็นพรหม
(ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๖ ข้อ ๒๔๑-๒๔๔) .
เรียนรู้ใน ปริเฉทรูป คือการตัดช่องว่าง จนถึงขั้น จิตว่างจากกิเลส ถึงอากาสธาตุ เป็นอากาสาฯ ในอรูปฌาน เป็นวิญญานัญจาฯ เป็น อากิญจัญฯ จน สัญญาเวทยิตนิโรธ
เรียนรู้จิตใน วิการรูป ๕ ลหุตา คือบางเบา ละเอียด, มุทุตา แววไว จึงทำ กัมมัญญตา ทำอย่างมีปัญญาอันควรได้
เรียนรู้ในลักขณรูป ๔
๑.อุปจย (ความเจริญขึ้น)
๒. สันตติ (ความแก่หรือเสื่อมอยู่ ไปหาทางตาย)
๓.ชรตา (ความพาเคลื่อนไปเสื่อม)
๔.อนิจจตา ( ความเคลื่อน ที่คุณคุมเองได้ด้วย)
คุณจะรู้ว่า ทุกอย่าง อนิจจตา แม้ทำให้เกิดได้ ระยะเวลาหนึ่ง แม้อุตาหะ ทำให้มันนาน โดยเฉพาะ พลังทางจิต เจตนาเอง แต่ทุกอย่าง ก็ต้องสูญนะ เราประสงค์ ให้อยู่ได้ นานแค่ไหน เช่น อาตมาประสงค์ อยู่นาน ๑๕๑ ปี จะได้หรือไม่ ก็แล้วแต่ปัจจัย ถ้าทำได้ ๑๕๑ ปี ก็ไม่เอา นานกว่านั้นอีก แต่ไม่บังอาจว่า เราจะเก่ง ขนาดนั้น แต่ก็ต้องลองดู เราอยู่เพื่อสร้างสรร ไม่ได้ทำลาย ...จบ
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ
กทม. |