570212_ธรรมะภาคบ่าย โดยพ่อครู และคุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ผ่านฟ้า |
รายการตอบปัญหาประชาปฏิวัติ ตอน ๑ |
มีบทความในมติชนของ อ.สุรพจน์ ทวีศักดิ์ เรื่อง คำถามต่อบทบาทของ พระพุทธอิสระ และสมณะโพธิรักษ์ เขาเป็นนักคิด ก็คิดมาหาเหตุผล เป็นตรรกะ คิดได้ อาตมาเห็นได้ จะเอามาพูดให้ฟัง ใครจะเชื่อหรือไม่ ก็แล้วแต่ ..
เมื่อเปิดดูวินัย มีวินัยห้ามพระสงฆ์ ชุมนุมทางการเมือง.... ซึ่งอาตมาก็ให้เขาเปิดดูว่า มีไหมในวินัย ก็ไม่มี แล้วอ.สุรพจน์ ได้ยกเอาเรื่อง พระเทวฑัต ได้ยุยงพระเจ้าอชาติศัตรู ให้ปฏิวัติยึดอำนาจ จากพระราชบิดา แล้วเจ้าชายอชาตศัตรู ได้อำนาจ ส่วนพระเทวฑัต ก็จะมายึดหมู่สงฆ์ ปกครองสงฆ์ ซึ่งเป็นเรื่องการเมือง คนละแบบกับอาตมา อาตมามาทำงานการเมือง แต่ไม่ได้ยึดอำนาจใคร ไม่ได้ทำอย่าง พระเทวฑัต
แล้วเขายังอ้างอิงคำตรัส พระพุทธเจ้าว่า ท่านตำหนิว่า ไม่ใช่กิจที่สงฆ์ พึงกระทำ ซึ่งอาตมาเอง ก็ดูในวินัย ที่เป็นคำประกาศของ พระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้า ให้สาวกประกาศแก่ ชาวเมืองราชคฤห์ ในเรื่องยึดอำนาจ ของพระเข้าอชาตศัตรู ต่อพระราชบิดาได้สำเร็จ คุณสุรพจน์ว่า ไม่เกี่ยวกับสงฆ์ แต่แท้จริง เป็นคำประกาศนียกรรม ของพระพุทธเจ้า ต่อพระเทวฑัต คือพระพุทธเจ้า ประกาศให้ พระเทวฑัต เป็นานาสังวาสกับสงฆ์ เหมือนอย่างอโศก ประกาศ นานาสังวาส กับ มหาเถรสมาคม ต่างกันที่อาตมาเป็นคณะเล็ก แยกจากหมู่ใหญ่ ส่วนของพระพุทธเจ้า หมู่ใหญ่แยกหมู่น้อย ก็ทำได้ทั้งสองแบบ
ที่คุณสุรพจน์ หยิบมาอ้างอิงว่า เป็นเรื่องการเมืองโดยตรง แล้วบอกว่า พระพุทธเจ้าว่า เรื่องนี้ไม่ควรทำเลย ซึ่งความจริง ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เป็นเรื่องประกาศนียกรรม ในพระไตรฯล. ๗ ข้อ ๓๖๒
ปกาสนียกรรม
[๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์ แก่เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็น อย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระเทวทัตเอง
หมายความว่า นอกจากพระพุทธเจ้า จะประกาศต่อสงฆ์ แล้วยังให้พระสารีบุตร ไปประกาศต่อทุกคน ในราชคฤห์ อีก
คุณสุรพจน์สรุปเอาเองว่า พระสงฆ์ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่อง กับการเมือง กับการแย่งชิง อำนาจรัฐ ซึ่งก็จริง เรามาทำงาน ไม่ได้ไปแย่งชิง อำนาจรัฐ เรามาประท้วง เราไม่ได้เป็น ตัวการเอง อย่างยุคพธม.เราก็ไปทีหลัง คราวนี้ กปท. เป็นทีมคณะเดิม ก็ออกมาก่อน เรามาร่วมทีหลัง แต่เรามาส่งเสริม เราเห็นด้วยว่า งานเช่นนี้ เป็นงานที่เป็นประโยชน์ ต่อมวลมหาชน เราก็มาช่วย โดยมีจุดสำคัญ ที่เน้นว่า จะทำให้เกิดสันติ อหิงสา ขอเน้นว่า ได้ผล ตั้งแต่ ทำมา
ใครเข้าใจผิด ก็ให้ขอกล่าวแก้นะ ในพระไตรฯล. ๙ ว่าไว้ว่า ใครกล่าวว่าเรา ถ้าเราผิด เราก็รับ เราไม่ผิด เราก็กล่าวแก้ได้
คุณสุรพจน์ ยังบอกว่า การมาต่อต้าน ระบอบทักษิณ เป็นการได้อำนาจ ที่เป็นวิถีทาง นอกระบบ เป็นการทำให้เกิด ความรุนแรง ในตัวมันเอง ไม่ว่าจะยึดอำนาจรัฐ โดยกองทัพ หรือโดยอำนาจของ มวลมหาประชาชน ย่อมเป็นความรุนแรง ในการละเมิดสิทธิ์ ของประชาชน ทั้งประเทศ
พ่อครูว่า...นี่คือโมเมชั่น คนนี้ตีขลุมเลยว่า เราไปละเมิด ไปทำลาย อำนาจประชาชน ทั้งประเทศ เราก็ว่า เราไม่ได้ไปทำลาย อำนาจประชาชน แต่เรามาทำตาม สิทธิหน้าที่ เราไม่ได้มีอำนาจอย่างรัฐบาล เรามาไล่รัฐบาล เราไม่ได้มาไล่ อำนาจรัฐประเทศ อันนี้อาตมา พยายามพูดให้ละเอียด เราคิดอะไร ฉบับใหม่ อาตมาก็เขียนบรรยาย หน้าปก ว่า อำนาจรัฐบาล มิใช่อำนาจรัฐประเทศ มันต่างกันอย่างไร จะได้อธิบายความ
อำนาจรัฐบาล มิใช่อำนาจรัฐประเทศ
(๑) มหัศจรรย์ลั่นฟ้า ปฏิวัติ
ขนบใหม่ไทยโชว์ชัด ฉีกหล้า
สันติภิวัฒน์ขจัด อำนาจเก่า
มวลมหาชนกล้า แกร่งด้วยอธิปไตย
(๒) คนไทยได้ตื่นรู้ สิทธิ์ตน
อำนาจอธิปัตย์คน ทุกผู้
เป็นของประชาชน เหนือรัฐ- บาลแฮ
แต่รัฐบาลด้านสู้ บ่รู้สึกตัว
(๓) ตนชั่วทุจริตก้อ ดันทุรัง
หน้าที่รัฐบาลพัง หมดแล้ว
เพราะทำผิดถึงฝัง ตายหมด สิทธิ์เฮย
ขืนอยู่ป่นไป่แคล้ว ถูกต้านไล่กระเจิง
(๔) แต่เหลิงหลงยึดบ้า อาเพศ
เพราะโง่ไป่รู้เลศ ลึกแล้
รัฐบาลรัฐประเทศ เทียมเท่า กันฤา
อำนาจแค่ใดแท้ บ่รู้แม่นคม
(๕) ยึดงมงายอำนาจข้า ล้นเหลือ
เพี้ยนอธิปไตยเฝือ- ฟั่นเพ้อ
หลงเลอะเทอะคลุมเครือ บาล-ประเทศ
จึ่งผิดพาเพ้อเจ้อ เหนี่ยวฟ้าลงบาดาล
(๖) "รัฐบาล"มีหน้าที่ งานรัฐ
ตามกฎหมายกำหนดชัด ระบุไว้
มิใช่รัฐาธิปัตย์ เทียบอำนาจ ประชาเลย
แค่รับใช้ประชาให้ สงบได้สุขดี
(๗) "รัฐ"นี้"ประเทศ"แท้ ใช่รัฐบาล
มีอำนาจเกินกว่าการ รับใช้
"รัฐบาล"ก็แค่งาน กุลีรัฐ
แต่"รัฐชาติ"นั้นไซร้ ยิ่งไท้ไผทไทย.
"สไมย์ จำปาแพง"
๑๑ ก.พ. ๒๕๕๗
[นัยปก "เราคิดอะไร" ฉบับ ๒๘๔ ประจำเดือน มีนาคม ๒๕๕๗]
อ.ไชยวัฒน์ว่า... ตอนนี้รัฐได้สรุปว่า กปปส. ที่ได้บริหารจัดการ มวลมหาประชาชน กับรัฐบาล นี้ไม่สามารถ ทำให้เรื่องจบได้ เราพึงพิจารณา อย่างไรว่า ท่ามกลางความสับสน ของประชาชน ก็น่าจะโยงกับมิติ จิตวิญญาณอย่างไร เพื่อให้ประชาชน ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ช่อง ๑๓ สยามไท ก็เลยให้ผม มาสัมภาษณ์พ่อท่าน
พ่อครูว่า... อันนี้เจ๋งกว่า นายกฯยิ่งลักษณ์นะ ที่ใครมาถามแก แกก็ว่า ทำไมไม่ถาม ให้ตรงคำตอบ...?
อ.ไชยวัฒน์ว่า.. ที่พ่อท่านได้เปิดไว้ ก็ตรงกับที่ผมจะถาม ว่าคนไทยเชื่ออะไร ไม่เชื่ออะไร แล้วอะไรเป็น
สอง คำว่าการเมือง จะมีสองมิติ คือที่ทั่วโลกเป็นกัน คือการแย่งอำนาจ และความรุนแรง และอีกมิติ ที่พ่อครู ได้ชี้แจงมานาน คือ การเมืองคือ การเสียสละ ภายใต้สันติ อหิงสา แล้วโยงเรื่องอำนาจกับรัฐบาล กับประชาชน ก็ขอกราบนิมนต์พ่อท่าน ตอบคำว่าประชาชน กับการตื่นรู้ ก็ร้อยกับชื่อ งานนี้ คืองานพุทธาฯ เป็นการจัดที่ผ่านฟ้าฯ เป็นครั้งแรก
เมื่อเช้าก่อนนี้ จะตั้งคำถาม ก็ตามข่าวดู ทุกช่องเลย เราต้องยอมรับว่า ข่าวที่ออกมา จะกระทบต่อ อารมณ์ของ พี่น้องประชาชน เป็นความทุกข์ เรื่องจำนำข้าว มีชาวนา ผูกคอตาย ไปอีกราย และเรื่องจับคุณ สนธิญาณ กับค้นบ้าน ซึ่งเรื่องจำนำข้าว แล้วชาวนาผูกคอตาย ก็เป็นเรื่องที่ชาวโลก ให้ความสนใจ
มีผู้ใหญ่คนหนึ่ง คืออดีตนายกฯ ปัญหา สรุปปัญหาบ้านเมืองว่า คนที่เชื่ออย่างนี้ หรือไม่เชื่ออย่างนี้ ก็อาจเป็นจำนวนคน ที่ใกล้เคียงกัน แต่ผมว่า เลยเถิดไปแล้วว่า ใครผิดหรือถูก เป็นปชต.หรือไม่? แล้วยังมีความเจ็บใจ จากเรื่องนำเสนอ กฎหมาย นิรโทษกรรม เป็นเรื่องทำคนเจ็บใจ อย่างมาก? แล้วที่ผ่านมา ต่างคนต่างบอกว่า ความจริง เป็นอย่างไร แต่ว่า ปัญหาไม่อยู่ที่นั่น ต่างคนต่างมองเป็นเรื่องปัญหา ของพวกพ้อง คนเชื่ออย่างนั้น เขาก็เชื่อ ไม่เชื่อก็ไม่เชื่ออย่างนั้น?
และที่พ่อครูพูดเรื่องทิฏฐิ ที่เป็นความเชื่อ ความเห็น ความเชื่อมั่น จะแยกเป็นสองตัว คือ สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นสาสวะ ที่มี ๑๐ ตัว กับสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะ มี ๖ ตัว ซึ่งในไทย เขาขยายความ เรื่องนี้น้อย พ่อครูเคยพูดว่า ปัญหาในประเทศ เกิดจากการสะสม ทิฏฐิที่ผิด มานาน ขอถามพ่อครูว่า ความเชื่อ จะแก้ปัญหา สังคมไทยได้หรือไม่?.
พ่อครูว่า... ตอบประเด็นสั้น ว่าความเชื่อ จะแก้ปัญหาสังคมไทยได้หรือไม่?.... คุณสมบัติ จิตวิญญาณ ที่จะเป็นตัวเชื่อ หรือไม่เชื่อ มันเชื่ออะไร และเชื่อ มีหลายระดับ
ความเชื่อมี เชื่อถือ ...เชื่อฟัง... เชื่อมั่น ตามลำดับ มี ๓ ลำดับใหญ่ๆ
เชื่อถือ เรียกว่าศรัทธา เป็นความเชื่อ ที่ถ้าเพิ่มขึ้น ก็เป็นอินทรีย์ เป็นพละ ศรัทธาพละ เป็นความเชื่อมั่น เมื่อมีความเชื่อผิด ทฤษฎีผิด ก็จะเป็นโทษ แต่ถ้าเชื่อได้สัมมาทิฏฐิ จะมีประโยชน์มาก ประเด็นนี้สำคัญมาก...
ทิฏฐิคือ เริ่มเข้าใจ เริ่มเชื่อ เมื่อมีพลังมาก ก็จะเป็นปัญญา เป็นความรู้สมบูรณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้า แยกไว้ ๑๐ ส่วนความรู้ทิฏฐิ ที่จะเป็นปัญญา ๖ อย่าง จะมีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นปฏิภาค
คุณเป็นพุทธสาสนิกชน ตอนแรก ก็แค่เชื่อถือ คือศรัทธา เพราะพุทธ เป็นศาสนา ประจำชาติ
แต่ถ้าศรัทธานั้น ไม่มีปัญญา ความเชื่อนั้นเละ ซึ่งในพระไตรฯล.๒๔ ข้อ ๘ ซึ่งเราจะเชื่ออะไร ใหญ่ๆฟ่ามๆ ไม่มีรายละเอียดนั้น ไม่ได้ผล ท่านก็เลย แบ่งให้รู้และทำ ในศรัทธาสูตร
๑. ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจ เป็นต้น) เริ่มต้นที่ ศีล ๕ เป็นต้น
๒. ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่ สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕) ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังความเป็น อรหันต์ ให้สมบูรณ์ ไปโดยลำดับ ซึ่งไม่ใช่เชื่อโดย ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีสาระ เมื่อมีศีลเป็นกุศล ก็จะเกิด กาย วจี และมโน ที่เป็นกุศล ก็จะเกิดจิตสมาธิ ที่ตกผลึก ตั้งมั่น จากจิต ที่เกิดผลจาก สัมมาปฏิบัติ กำจัดกิเลส ออกไป ก็จะถูกต้องเพิ่มขึ้นๆ ก็จะเกิด
๓. พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น) ตามผลของแต่ละระดับ เช่นโสดาฯ สกิทาฯ ... มีความรู้จริง ไม่ใช่รู้แต่ตรรกะ ไม่ใช่แค่รู้มาก อย่างเดียว แต่มากด้วยวิมุติ ที่เป็นแก่นสาร เมื่อได้วิมุติ ก็เอาไปบรรยาย เป็นธรรมกถึก
๔. เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง) คือพระพุทธเจ้า ท่านให้ทำตน ให้มีคุณ อันสมควรก่อน พร่ำสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
๕. เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น) พาหมู่กลุ่มหมู่ชน ให้รู้สัจจะ สิ่งที่ควรศรัทธา อย่างดีงาม จนเก่งขึ้น
๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท กว้างขึ้นๆ ดีขึ้น แล้วจะเป็น ผู้ที่ต้องคำนึงหลักเกณฑ์ ของวินัย
๗. ทรงวินัย ต้องศึกษา ไม่เช่นนั้น จะทำงานพลาด ถ้าทำงานกับวงกว้าง ต้องแม่นวินัย รู้จักกฎเกณฑ์ ของธรรมะและวินัยด้วย แล้วจิตจะเจริญขึ้น
๘. อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะ อันสงัด (คืออุเบกขา) คือเป็นผู้สงบ ยินดีในความ ไม่อึกทึก ไม่ยินดีในโลกีย์
๙. ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ ซึ่งจิตได้ลดกิเลส ได้เผากิเลสจริง เป็นฌานแล้วเสร็จ ก็จะเป็นผู้ที่
๑๐. ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
(สัทธา ๑๐ จาก สัทธาสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๘)
โสดาบัน เป็นหลักแรก ปฏิบัติแล้ว จะเกิดความเชื่อ ที่มีคุณสมบัติ อย่างที่ว่ามา.... จะมีหลักประกัน จะไม่ก่อความรุนแรงวุ่นวาย เพราะจิตจะยินดี ในความสงบ และมีวิมุติด้วย นี่คือ คุณสมบัติของ ความเชื่อ ที่ทำแล้วจะเจริญ อย่างที่พระพุทธเจ้าว่า
มาเรื่องทิฏฐิ แปลว่าความเชื่อ หรือเรียกว่าทฤษฏี ที่เป็นสูตรหลักเกณฑ์ปฏิบัติ
ความเห็นแรก ที่ต้องเข้าใจ คือการปฏิบัติตนในชีวิต คือต้องเป็นนักศึกษา ใหญ่สุดคือ ศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา ใครทำตามครรลองนี้ จะเกิด ปัญญา ต้องเรียนรู้ สัมมาทิฏฐิ เป็นประธานของ มรรคองค์ ๘ ต้องเข้าใจ ในความเป็นจริง ของสิ่งเจริญแท้ เป็นปรมัตถ์
เป็นประธานเลย และ ๑๐ ข้อที่พระพุทธเจ้าแยกไว้ คือ
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง)
๒. ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
๓. สังเวย(เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
๔. ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)
๕. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ
๖. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ
๗. มารดา มี (อัตถิ มาตา)
๘. บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
๙. สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา) ตายอย่างไม่มีซาก เกิดอย่าง นิพพัตติ อภินิพพัตติ
๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)
คุณเชื่อไหมว่า โลกนี้มีไหม สมณพราหมณ์อย่างนี้มีไหม? จนเป็นสยังอภิญญา เป็นของตน ที่สูงกว่าปัจเจก สูงกว่านั้นก็เป็น สยัมภู คือพระพุทธเจ้า
ทางปฏิบัติที่ยิ่งใหญ่ เป็นองค์แห่งมรรค ที่เป็นมรรคองค์ ๘ ที่จำมรรคทั้ง ๗ (สัมมาทิฏฐิ, สังกัปปะ,วาจา, กัมมันตะ ,อาชีวะ,วายามะ(เพียร) , สติ ทั้ง ๗ องค์ สั่งสมเป็น เอกกัคคตาจิต เป็นสัมมาสมาธิ ในมหาจัตตารีสกสูตร
สัมมาทิฏฐิจะเจริญ จะมี
๑. ปัญญา-รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง (ปัญญา)
๒. ปัญญินทรีย์ (ปัญญินทริยัง)
๓. ปัญญาพละ (ปัญญาผลัง) มีพลังงาน static แฝง
๔. ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค)
๕. ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ทิฐิรอบในที่เจริญขึ้น
๖. องค์แห่งมรรค (มัคคังคะ) มีพลังงาน Dynamic แฝง
(พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๘)
สังกัปปะมี ๗ องค์
สัมมาวาจามี (การพ้นจาก มิจฉาวาจา ๔ คือ ปด ส่อเสียด หยาบ เพ้อเจ้อ)
สัมมากัมมันตะมี ๓
สัมมาอาชีวะมี ๕
เรางดเง้น จากมิจฉาทั้งหลาย ก็จะเป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา) ชำระกิเลส ไปได้เรื่อยๆ รูปขันธ์นามขันธ์ สะอาดขึ้นเรื่อยๆ
โดยปฏิบัติ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์หนึ่งของโพชฌงค์ ๗ (ที่มี ๑.สติ ๒.ธัมมวิจัยะ ๓.วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา)
ผู้ใดนำไปปฏิบัติ ก็จะเจริญจริง แล้วค่อยไปเรียน ความรู้ในโลกๆ ทั้งปริญญาต่างๆ
ปฏิบัติไปจะเกิด ศรัทธา (เชื่อถือ), ศรัทธินทรีย์ (เชื่อฟังปฏิบัติตาม), และเป็นศรัทธาพละ (เชื่อมั่น)
คนไปเข้าใจผิด ปฏิบัติผิด ก็ได้แค่ ลาภสักการะ หรือศีล ไม่เข้าถึงแก่น คือวิมุติ
1. กิ่งใบ = ลาภสักการะ เสียงสรรเสริญ
2.สะเก็ด = ศีล
3.เปลือก= สมาธิ
4.กระพี้ = ปัญญา
5.แก่น = วิมุติ หลุดพ้นจากทุกข์
อ.ไชยวัฒน์ว่า... คนไทยไปเชื่อถือเชื่อฟัง นักการเมือง ที่มาจากการเลือกตั้ง มากกว่า เชื่อถือเชื่อฟัง เชื่อมั่นในหลวง ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งถ้าคนไทย เชื่อในหลวง จะไม่เกิดปัญหา เมื่อปี ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครอง คณะราษฏร์ตัดสินใจว่า จะไปเป็นระบอบปชต. อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข หรือเป็นระบอบปธน. แต่ก็ตัดมิติ จิตวิญญาณออกไป จึงเกิดปัญหา
อย่างที่สอง เรื่องการเมืองภายนอก ฝ่ายซ้ายก็จะเป็น ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนระบบของฝ่ายขวาก็คือ สังคมนิยมประชาธิปไตย จะเป็นการทิ้ง จิตวิญญาณ ทั้งสองอย่างเลย ไม่เป็นเรื่องเสียสละ สันติ อหิงสา....
เรื่องที่พ่อครูอธิบาย สัมมาทิฏฐิ ของคนที่มีกิเลสอยู่ ที่ต้องทำตาม ไตรสิกขา และอีกระดับหนึ่งคือสัมมาทิฏฐิ ของคนไร้กิเลสแล้ว ก็จะเป็นพลัง และที่สำคัญคือ ข้อสุดท้ายของ สัมมาทิฏฐิ ๑๐ คือ ข้อนี้ไปขัดกับ หลักวิทยาศาสตร์ตะวันตก ที่ติดว่า อะไรพิสูจน์ไม่ได้ ไม่เชื่อ ซึ่งวิทยาศาสตร์ เข้าไม่ถึง การเวียนตายเกิด ของจิตวิญญาณ ทำให้สัมมาทิฏฐิ มีปัญหา การปฏิบัติ ก็มีปัญหาต่อไปอีก
ก็อยากสรุปว่า อุปมาเหมือนว่า... พวกที่กำลังแสวงหาอยู่ แล้วลังเลสงสัยมาก ว่าจะเอาหลักวิทยาศาตร์ มาจับ หรือเอาหลักอะไร... ถ้าข้อ ๑๐ ไม่มีจริง จะมีบุคคล ที่เกิดมาเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ มาเป็นพระพุทธเจ้า ได้อย่างไร ?... เมื่อผ่านยุคของ สมณโคดมไปแล้ว ก็ย่อมจะยืนยันว่า จะมีสมณะพราหมณ์ ที่รู้ยิ่งรู้จริง ในตนได้ เพราะความรู้ ทั่วไปในโลก ไม่สามารถทำให้ คนตรัสรู้ได้ แต่ก็ยังมีคนสืบต่อมาได้ จนบัดนี้
ที่พ่อครูพาทำร่วม พธม. และกปปส. ที่จับได้คือ พยายามสถาปนา มิติจิตวิญญาณ เป็นเรื่องการเสียสละ ในการเมืองนี้ ซึ่งคนเข้าไม่ถึง เพราะไม่ว่าใคร ก็จะนิยาม การเมือง ว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจ ไม่มีใครพูด เรื่องเสียสละ สันติ อหิงสา ก็จะไปขัดกับ คนที่เขาคิดว่า ต้องรุนแรง จึงจะเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต้องพยายาม ให้ไปถึงจุดเสียสละได้ จึงไม่เวียนกลับ ไปเป็นแบบเก่า ที่แย่งชิงอำนาจ ต่อไปอีก
ตอนนี้ทักษิณ ส่งสัญญาณมา ผ่านสมชาย ว่าทักษิณ อยากเปิดการเจรจา แต่ว่าต้องให้มีการเลือกตั้ง ก็มีบรรหารมารับสนอง และอดีตนายกฯอนันต์ ก็เสนอเรื่อง การเจรจามา
พ่อครูว่า..ขอขยายความว่า... อำนาจที่ว่านี้ รัฐศาสตร์สอนว่า การเมืองคือ การแย่งชิงอำนาจ เป็นโลกีย์ ให้อำนาจไปปกครอง ที่จริง คำว่าอำนาจนี้ ภาษาไทย ก็มีเพียงคำว่า แรง หรือใช้คำว่าอธิปไตยก็คืออำนาจ
อำนาจ ที่เป็นรัฐศาสตร์ที่ถูกต้อง ไม่ใช่การแย่งชิงอำนาจกัน ก็ใช้ภาษาที่มาอธิบายคือเรื่อง
อำนาจรัฐบาลนั้น เป็นสิทธิที่จะใช้แรง สามารถ กำลัง ที่จะทำตามกฎเกณฑ์ ที่กฎหมาย รธน.กำกับไว้ คุณทำเกินกว่านั้นไม่ได้ และมีกรอบ ของการรับใช้ เป็นอำนาจกุลีของรัฐ แต่ทุกวันนี้ หลงเหลิงมาก ยึดอำนาจเป็นของตน ละเมิดรธน. เที่ยวสั่งการ ไปเป็นนายเขาหมด ความจริงแล้ว เป็นผู้รับใช้ ทำอย่างไร จะให้เขารู้สัจธรรมนี้ เมื่อไปเป็นสส. เข้าไปทำงานในสภาฯ แล้วไปเลือกนายกฯอีกที ก็คือตัวแทน ไปรับใช้ มีวิธีการคัดเลือกกัน แล้วไปดูคณะ ผู้รับใช้ประจำ คือ ข้าราชการ คือนักรับใช้ถาวร ประชาชน จ้างให้ทำงาน ก็ดันไปเป็น นายประชาชนอีก เขายึดว่าตนเป็นนาย ทั้งที่ตนคือ ผู้รับใช้ มันก็พังแล้ว เอาหัวเดินต่างตีน สังคมก็บรรลัย แต่ถ้ามีปัญญา ซื่อสัตย์ ผู้รับใช้ก็รับใช้ ขยันซื่อสัตย์ ก็เกิดเป็นประโยชน์ ต่อสังคมแน่นอน
อาตมาใช้คำว่า Force กับ Authority ซึ่งอาตมาเข้าใจว่า ต่างกัน
Force จะมีกำลังบีบบังคับ อย่างที่คุณสุรพจน์ วิจารณ์อยู่ ซึ่งมันไม่ใช่ เราไม่ได้ทำงานนี้แล้วมีอำนาจ Force แต่เราสร้างอำนาจ Authority เป็นอำนาจโดยธรรม
๑) Force = คือ อำนาจ ที่มีลักษณะของเผด็จการ กดขี่ บังคับ ยัดเยียด ครอบงำให้จำนน ตามความมาก ความน้อย ของการใช้ อำนาจนั้น ถ้ามาก ก็คือ เผด็จการ
ถ้าเพียงกดขี่ บังคับ ครอบงำ มากหรือน้อยลงมา เท่าใดๆ ก็คือ การใช้ "อำนาจ"นั้น ตามที่มาก-ที่น้อยนั้นอยู่ เท่านั้นๆ
นี่คือ อำนาจ เป็น ความชอบธรรม ซึ่งเป็น "อำนาจ" ที่สร้างให้ตน ด้วยโลกธรรม และเล่ห์กล อันประกอบไปด้วยกิเลส จนคนอื่นเขา "ตกอยู่ใต้อำนาจ" เพราะลาภ-ยศ และเล่ห์ต่างๆ
ผู้ที่ยังมี "พฤติ"ที่สร้าง "อำนาจ"เป็น "ความชอบธรรม" นั่นคือ ผู้ผิดอยู่ ยังไม่เจริญ หรือ อวิชชาอยู่ แล้วถือว่า
ตนคือผู้มี "อำนาจ" นี้คือ อำนาจยังไม่เป็นธรรม Force ซึ่งเรียกว่า "ยังเป็นเผด็จการอยู่" มากหรือน้อย ตามที่เป็นจริง คนฉลาดในโลกจะ "สร้าง" อำนาจ ให้คนเกรงและกลัว
จนไม่กล้าค้านแย้ง หรือตำหนิติเตียน ติติง จึงได้เป็นผู้มีอำนาจ โดยไม่ชอบธรรม
(๒) Authority = อำนาจ ที่ได้โดยธรรม ของผู้ที่ประพฤติตนดี มีธรรม ซึ่งเป็นความมาก -ความน้อย ของคุณค่าความดี ความมีธรรม
จึงเกิดอำนาจของ สิ่งที่น่าเคารพบูชา ในตัวผู้ทำดี ทำเป็นธรรม ที่ผู้นั้นสร้างเอง เป็นเจ้าของ คุณงามความดีนั้น แล้วผู้คนที่รู้ที่เห็น คุณค่านั้น ยอมรับ ด้วยความเคารพนับถือ จึงยกย่องบูชา และยอมให้แก่ ผู้มีคุณงามความดีนั้น อย่างอิสระ เสรี ไม่มีใครยัดเยียด หรือบังคับ กดขี่เลย
นี่คือ ความชอบธรรม เป็น อำนาจ ผู้ที่รู้จัก การกระทำความเคารพ ต่อผู้ที่น่าเคารพ สมควรเคารพ ซึ่งเป็นครุกรณะ คือ คน "ยอมยกอำนาจ"นั้น ให้แก่ "ผู้น่าเคารพ" นี้คือ อำนาจโดยธรรม Authority =
right power หรือจะเรียกว่า "เผด็จการโดยธรรม" ก็ได้ ถ้าไม่ติดยึด อยู่แค่ภาษา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีอำนาจนั้น ที่ผู้คนยกให้ อย่างเทิดทูนบูชา เต็มใจสูงสุด มาแล้วเป็นต้น
ดังนั้น "ผู้น่าเคารพ" จึงเป็นเสมือนผู้มี "อำนาจ" ที่จะพูด จะทำอะไร กับผู้ที่เขาเคารพ นับถือ เชื่อมั่น เขาก็จะ เชื่อฟัง น้อมรับ ด้วยความเคารพบูชา
นี่คือ ผู้มี "พฤติ"ที่สร้าง "ความชอบธรรม"เป็น "อำนาจ" เป็นผู้ถูกต้อง ผู้เจริญ หรือมีวิชชาแล้ว
ปราชญ์แท้ๆจะ "ไม่สร้าง"อำนาจให้คนเกรงและกลัว จนไม่กล้าค้านแย้ง หรือตำหนิติเตียน ติติง จึงเป็นผู้มีอำนาจโดยธรรม
เราทำให้ความชอบธรรม กลายเป็นอำนาจ สร้างตนทำตน ให้มีคุณงามความดี ทำงาน รับใช้ประชาชน จะเกิด Authority power ทำได้สูง จนเขายอม ยกให้คุณ เผด็จการเลย เพราะเขาพาคน อยู่เย็นเป็นสุข อย่างแท้จริงเลย เมื่อสร้างได้ จะเป็นอำนาจ สมบูรณ์ หรือ Sovereign Power สูงสุดเป็น Supreme เป็น Independence
เราประท้วงโดย ทำตามรธน. โดยสันติ อหิงสา ยืนยัน แต่ที่เกิดทะเลาะ บาดเจ็บวิวาท เกิดจากคนอื่นทำเรา เอาคนปลอม มาทำให้รุนแรง แล้วใส่ความ ว่าเราทำ เป็นการทำของ คนไม่บริสุทธิ์ เราทำสะอาดบริสุทธิ์ ไม่หวั่นไหว จริงในหมู่พวกเรา บางคนอาจมีกิเลส ก็ยอมรับ แต่เราก็ยัง ไม่เห็นว่า มีเกินเลย ถ้าใครทำเกินเลย รุนแรง อย่างนี้ เราไม่นับเป็นพวก เราให้ออกไป แต่เขาอาจดื้อไม่ออก มาแทรกแซงเราอยู่ ก็มี
ที่อยู่กันได้ ก็เป็นกำลัง เป็นอินทรีย์พละ ของแต่ละคน เป็นพลังอำนาจคุณธรรม ที่วิทยาศาตร์ พิสูจน์ไม่ได้นั้นไม่ใช่ เพราะเราพิสูจน์ได้ พาพวกเรา ทำมา หลายสิบปี เกิดวิวัฒน์พัฒนา เป็นสันติภิวัฒน์ เกิดสันติอหิงสา ได้ขนาดนี้ เปลี่ยนแปลงมา จนเป็น มวลมหาประชาชน ฝ่ายรัฐก็ใช้ทุจริต เขาใช้ไม่ค่อยออก จนเขาลดบทบาทบ้าง พยายามทำให้ ตามกฎหมาย แต่ก็ปลอมแปลง แทรกแซงอยู่ เราจับได้ก็มี
มีบทความเจ้าหนึ่ง เขียนยืนยันว่า ... ทำไมเมื่อจับแกนนำ มวลชนอย่าง สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วถึงไม่คิดจะจับ โกตี๋ ที่เรียกระดมมวลชน เกินกว่า 5 คน ไปไม่รู้จะกี่ร้อย ต่อกี่ร้อย ยกพหลพลโยธา ฝ่าถนน ที่ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.ก. สั่งห้ามเอาไว้ แถมยังควักปืนผา หน้าไม้ ออกมาซัลโวกับ นักรบป็อปคอร์น ชนิดสั่นสะเทือน เลื่อนลั่นไปทั้งบาง...
แล้วที่ยิงขวัญชัย ไพรพนา ทำไมจับคนยิง ได้ทั้งแก๊งค์เลย ที่จริงตำรวจ มีฝีมือนะ เราตายไป ตั้ง ๑๑ คนแล้ว ตำรวจจับคนร้าย ไม่ได้ซักคน ก็ลำเอียงมากเลย
เรื่องนี้เป็นเรื่องความถูกต้อง กับความไม่ถูกต้อง เท่านั้นเอง
ขอตอบว่า... แล้วจะเอาอำนาจอะไรมาชนะ ... อำนาจแห่งสันติ อหิงสา อโหสิ นี่แหละ ที่เราจะเอามาใช้ อำนาจนี้เป็น อำนาจคุณงามความดี อันนี้จะชนะ จะชนะอย่างไร?....
คนชั่วเขาจะทำชั่วหนักขึ้น จะชั่วหนักขึ้น ด้วยวิธีซับซ้อน แต่อำมหิตมากขึ้น นั้นคือ การพองตน ของอึ่งอ่างจะสู้ เบ่งให้ตัวโต เท่ากับคนอื่น แต่เป็นความผิด เป็นความว่างเปล่า ที่มีแต่ลมพอง ความผิดก็จะขึ้นไป เขาทำผิดมากขึ้น คนทำถูก ก็จะทำถูกต้องเพิ่มขึ้น
อึ่งอ่างก็จะพองตัว ให้เท่ากับราชสีห์ ยิ่งสู้ไป ความดีเป็นราชสีห์ ก็จะมีราศีมากขึ้น แต่อึ่งอ่าง ก็จะพองตัวสู้ วันหนึ่งจะเกิด ท้องแตกตาย เพราะความพองออกไป โดยสิ่งอสัจจะ หรือ ทุจริตเลวร้าย สังเกตว่า เขาหาเรื่อง ไม่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่อง เรื่องขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง เห็นเลยว่าหาเรื่อง
ยกตัวอย่าง ออกกฎหมายพรก.ฉุกเฉินมาก็ผิด หากตัดสินมาเมื่อไหร่ ศรส. ก็คือ ศูนย์รักษาสัตว์ แล้วเขายิ่งดิ้น เพราะหากถูกตัดสิน ก็จะแย่แน่ เขาก็หาเรื่อง ไปเรื่อยๆ ส่วนจตุพร ณัฐวุฒิ ธิดานกแสก ก็บรรยายครอบงำ ที่มีอันหนึ่ง คือเขาว่า มวลมหาสประชาชน ลดลงๆ แต่ของเขา มีเพิ่มขึ้นๆ อันนี้เขาก็ดูผิด ไปมากเลย และที่จริงทางนี้ นอกจากจะสูงขึ้นมากขึ้น แล้วก็ต่อเนื่อง แต่ของเขา ก็มาไม่มาก แล้วก็ล้มไป ไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เอาแค่รูปธรรมแค่นี้ ก็ไม่จำนน โกหก ครอบงำความคิด หลอกคนให้หลงใหลตลอดเวลา
ส่วนสัจธรรม จะมากขึ้น ทางเขาก็ฟ้องร้อง ทางนี้ก็ฟ้องร้อง มาหักลบกลบหนี้ ว่าใครจะติดคุก มากกว่ากัน
ซึ่งเป็นความจริง ที่พิสูจน์ได้ เกิดจากจิตวิญญาณ เป็นประธาน เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ของไทย ที่เกิดจาก ประชาชนมาปฏิวัติ เป็นการเปบี่ยนแปลง โดยฉับพลัน ซึ่งคำนี้เสีย เพราะเอาทหาร มาปฏิวัติ ทำมามาก เลยเสีย แต่เราจะทำอย่าง เอาประชาชนมาทำ ไม่ผิดกฎหมาย มาประท้วง ตามกฏหมาย ไม่เป็นกบฏ ที่จริงเขาเป็นกบฏ เขาทำผิด ที่จริงอำนาจ ที่เขาทำอยู่ก็ผิด ไม่มีอำนาจ เพราะทำผิดมา หลายกระทง หลายวาระ แต่ดื้อดึงดัน หาทางเลี่ยง กลบเกลื่อน เท่าน้น
เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ของประชาชนไทย เอาอำนาจ Authority มาปฏิวัติ มีพลังปฏิวัติ โดยประชาชน เป็นสิ่งเลิศยอด จะใช้เวลานาน ก็ต้องทน ช่วยกันหน่อย อย่าให้ลดจำนวน เขาจะเอาไปอ้างได้ แม้ยากแต่ทำได้ มีผลดี
คนก็เห็นเลยว่า ประชาชนปิดประตูแพ้ มีแต่ชนะท่าเดียว จะชนะเมื่อไหร่ เท่านั้น แล้วประชาชน เห็นจริงไหม เข้าใจไหม ว่าระดมคนมาปฏิวัตินี้ มั่นใจว่า ถูกต้อง ดีงาม แล้วจะกำหราบ สิ่งไม่ดีงาม ให้หมดไป เห็นอย่างนี้ไหม ถ้าเห็นต้องช่วยกัน เพราะป็น การปฏิวัติ อย่างสันติ เป็นธรรมาวุธ เป็นบุญญาวุธ ไม่ได้ใช้อำนาจ ให้คนกลัว คนไม่กลัว แต่จะชนะด้วยสำนึก เขาด้านจนโด้ โง่จนง่าน เขาไม่ยอมหรอก จะมีสัจจธรรมหลายอย่าง ช่วยตัดสิน โดยเฉาะ มวลประชาชน
ถ้ามวลประชาชน ที่มีอลังการในตัว สมมุตินะว่า ตำรวจมาเข้าข้างประชาชน เป็นสัจธรรม ที่เข้ามาช่วย ความถูกต้อง ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ เแต่เอาเถอะ แม้ตำรวจไม่มา ก็ตาม แต่ถ้าสาม เหล่าทัพ ทางทหาร ก็มาเป็นประชาชน ไม่ต้องเอาวิธี เอารถถังออกมา มาเป็นประชาชน แต่จะมีอลังการ มีอำนาจเชิง สัญญลักษณ์ ว่าทหาร ตำรวจ มีอำนาจที่เขากลัว เกรงกันในที แม้ออกมา โดยไม่ใช้อาวุธก็จะได้ แสดงมาสิ ไม่เชื่อ สามเหล่าทัพ ออกมาเลย ประกาศ รวมพลว่า วันนี้ประชาชน จะปฏิวัติ สามเหล่าทัพ ออกมา เชื่อไหมว่าจบ
นี่คือการปฏิวัติ อย่างสันติอหิงสา ไม่รบราฆ่าฟัน ทหารออกมาช่วย ให้เกิดความสงบ เรียบร้อย เป็นอำนาจอธิปไตย ของประชาชน เป็น sovereign ของประชาชน ออกมาพิสูจน์สิ มันมีสัญญลักษณ์ ในตำรวจทหาร แต่ประชาชน ไม่มีสัญญลักษณ์ แล้วเราไม่ทำร้ายใคร เขาก็ไม่กลัว เขาก็ว่าด่าไปก็ด่าไปสิ เขาหน้าด้านซะอย่าง จนไม่มีภาษา จะด่าแล้ว แต่เขาก็ แหม ... ทำไมถึงแข็งถึงด้าน อย่างนี้ ทนทานจริง ไม่ยอมเลิกรา ก็เป็นจริง แต่ถ้ามีพลังอะไร ที่ไม่ Force แต่เป็น Author ซึ่งจะชนะได้ ก็ต้องมี
๑.อึ่งอ่างพองลมท้องแตกตายไปเอง เพราะความผิดของตน ทำร้ายตนเอง ไม่รู้จะเอาหน้า ไปขายที่ไหนอีก
๒.ประชาชนออกมามากๆอย่างที่ว่า
๓.มีอีกอย่างคือ ตุลาการตัดสิน หรือองค์กรอิสระ ที่มีหน้าที่ตัดสิน หรือศาลตัดสิน ก็จบ แต่ตอนนี้ก็ คาราคาซังอยู่
แม้ทหารไม่ออกมาก็ตาม แต่ถ้าข้าราชการ ออกมาทุกกระทรวง ทบวงกรม ออกมาบอกว่า ไม่รับใช้ รัฐบาลผิดๆ บอยคอตเลย ก็จบเหมือนกัน เพราะเขาบริหารประเทศ ก็ต้องใช้ ข้าราชการ ถ้าข้าราชการ คว่ำบาตร ออกมารวมกับ ประชาชน ก็จบ เป็นสัจจะที่จะเกิด อันอื่น อาตมาก็นึกไม่ออก
ประชาชนก็ต้องอดทน รับวิบากต่อไป อีกหน่อยเดียว ไม่ถึง ๕ ปีหรอก ตอนนี้ อาตมา ก็จากเดิม บอกว่า ๕๐๐ วัน แต่ก็ลดจำนวนลง เหลือ ๒๕๐ วัน ถ้าถึงวันที่ ๑๔ ก.พ. เป็นวาเลนไทน์ และเป็นวัน ง้วนเสี้ยว เป็นวันฉลองของจีนเขา และเป็น มาฆบูชาเลย เป็นสามพลังเลย จะเกิดอะไรขึ้น ก็ยังไม่รู้ได้
ท่านกำนันสุเทพ ก็ประกาศว่า เป็นวันแห่งความรัก ที่ยิ่งใหญ่แห่งมวลชน ไม่มีอาฆาต มาดร้าย ดุเดือด มีแต่เอื้อเฟื้อเจือจาน เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ ของพระเจ้าเลย ให้ยิ่งใหญ่กว่าวัน Shut down เลย
ก็มีนัยอย่างนี้ เราจะทำประชาชนปฏิวัติ จะเป็นอย่างไร ก็พูดได้ประมาณนี้
อ.ไชยวัฒน์ว่า... มีวันหนึ่ง ผมไปกราบหลวงปู่ พระพุทธอิสระ ที่แจ้งวัฒนะมา ท่านก็ถาม ผมว่า เรื่องราว จะเป็นอย่างไรต่อไป... ผมก็ตอบว่า ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ... ท่านก็ว่า เป็นห่วงว่า ประเทศไทยจะแพ้.... ท่านก็คงเป็นห่วง
อ.ไชยวัฒน์ว่า... เรื่องที่ประเทศไทยจะแพ้ คือ หากในหลวง ท่านทรงทำหน้าที่ โดยความชอบ ที่เสียสละ เป็นผู้ทรงทำหน้าที่ ระงับความรุนแรง ในประเทศไทย เป็นคราวๆมา เป็นเหตุปัจจัย ๒.ประชาชน ในฐานเจ้าของ อำนาจอธิปไตย มาแสดงเจตจำนงค์ และประชาชน ประกาศ เคลื่อนไหว แล้วหากประสพผลสำเร็จ ตนเองไม่รับตำแหน่งใดๆ ซึ่งเป็นทิศทาง การเสียสละ แต่พวกที่เป็น นักการเมืองที่แสวงหา ผลประโยชน์ แล้วผลการเลือกตั้ง ชี้ผลว่า เป็นอย่างไร คนที่เข้าคูหา นั้นมี ๓๓% คนทีทำบัตรเสีย ไม่เข้าคูหา และไม่เลือก นักการเมือง มี ๗๗ %
แล้วที่พ่อครูได้พูดเรื่อง Force และ Authority เป็นไปได้ไหมว่า Force ตรงกับสมถะ และ Authority ตรงกับวิปัสสนา จะไห้หรือไม่?.... ก็ขอทิ้งประเด็นไว้เช่นนี้....
ขอกราบนมัสการลาครับ...
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ เวทีพุทธาภิเษก ผ่านฟ้าลีลาศ
กทม. |