570216_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง อารยะที่เป็นโลกุตระ

 

        พ่อครูว่า... ที่บ้านราชฯ มีงานศพของคนเก่าแก่ คือโยมเกี่ยวบุญ อายุได้ ๗๘ ปี ซึ่งอยู่กับเรามานาน ถ้าเราได้พิจารณาอย่างดี ในคำสอนของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก หากขาดความเพียร และประมาท ก็ผิดเลย เพียรเก่งๆ แต่ประมาท ก็ตกหลุมบ่อ ไปไม่ไหว

        วันนี้อาตมา จะเอาของผู้ที่ เขียนมาถาม เป็นการตอบคำถาม ใครจะเขียนมา ก็ได้เลย...

        ตอบ...คนเรามีวิบากซับซ้อนมาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ แต่เราไม่ละเอียดพอ ไม่เข้าใจ ว่าเราได้ร่าง เป็นมนุษย์ ยากแสนยาก ไม่เข้าใจ ก็ตกในอบายภูมิ คนเกิดมา ชาติหนึ่งๆ สะสมกิเลสใส่ตน ถ้าได้จิตวิญญาณ เข้าโลกุตรภูมิ ก็จะมีหลักประกัน เป็นโสดาบัน เป็นต้น แม้โสดาปัตติมรรค ก็ยังไม่ได้ดีมาก ก็ต้องไปตามวิบาก มากมาย

        องค์คุณของโสดาบันมี

โสตาปันนะ (เข้าสู่กระแสโลกใหม่คือโลกุตระ) . .
อวินิปาตธัมโม (ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา)
นิยตะ (เที่ยงแท้แน่นอน สู่มรรคผลที่สูงขึ้น)
สัมโพธิปรายนะ (มุ่งตรัสรู้ในภายหน้า) ได้เกิดมาเป็นคนไปตลอด
(พตปฎ. เล่ม ๑๙  ข้อ ๑๔๗๕)

        ซึ่งคนเรา จะไม่ได้เกิดมาเป็นคนได้ ง่ายๆหรอก ตายไปแล้ว จะไปตามวิบากเสียมาก ไปใช้หนี้บาป ตายไปตกนรก แต่ละคน อีกนาน จึงลืม ส่งที่ผ่านมา แม้แต่ตกนรก

        สัตว์ที่จุติ*(ตาย) จากมนุษย์ แล้วกลับมาเกิด ในภูมิแห่งมนุษย์ มีส่วนน้อย ..ส่วนที่จุติจากมนุษย์ ไปเกิดในนรก  เกิดในภูมิ เดียรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย (เปรต)  ย่อมมีมากกว่า โดยแท้ (*สัตว์ที่จุตินั้น หมายถึง โอปปาติกะสัตว์)

        อ.มั่นเคยพูดว่า ตายไปเกิดเป็นสัตว์ หลายร้อยชาติ เพราะโลกียะ ไม่มีภูมิ ที่จะเปลี่ยนแปลง ให้เจริญได้ทันกาล ไม่มีทาง ที่จะมาเป็นมนุษย์ได้ เป็นเรื่องละเอียดละออ อจินไตย พระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้ อย่าประมาท

.การได้เกิดมาเป็นคนก็ยากสุดยาก
.และได้มีอาการ ๓๒ ครบก็ยากสุดยาก
.และเกิดมาแล้วไม่ตายไปก่อนก็ยาก และ
.ได้พบพุทธศาสนา
        และการจะได้มี มนุษย์ชาวชมพูทวีป  ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ ชาวอุตรกุรุทวีป และเทวดา ชั้นดาวดึงส์  ด้วยฐานะ ๓   คือ
        เป็นผู้กล้า (สุรภาโว) เป็นผู้มีสติ (สติมันโตเป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันเยี่ยม (อิธ พรหมจริยาวาโส)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป และพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล  (พตปฎ. .๒๓  ข.๒๒๕)

        เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้ใดได้ร่างกายนี้ เป็นคน มาพบพุทธศาสนา และได้มาพบ มิตรดี สหายดี สังคมส่งแวดล้อมดี มาพบโลกุตรบุคคล ถ้าปล่อยปละละเลย ก็ตกไปแน่ ก็น่าเสียดายยิ่งกว่า เป็นโมฆบุรุษ

        อาตมาก็พยายามให้สติเตือน อย่าปล่อยปละละเลย พบส่งดีแล้ว อย่าทิ้งเสีย ไม่ใช่ว่า  อาตมาหลงศาสนา หลงธรรมะ แต่เป็นเรื่องจริง ที่ควรเป็น พยายามมีชีวิตทุกเวลา จนกว่าจะตาย
        การที่จะไปฆ่าตัวตายนั้น อย่าทำ

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย แล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุด แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี ในเพราะถือ เอาทรัพย์ อันเจ้าของ ไม่ได้ให้ เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์ จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะปลิดชีวิต ให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณ แห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ [คือไม่รู้จริง] กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตน อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม [คือเชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ถูกซักถามก็ตาม ไม่ถูกซักถาม ก็ตาม] เป็นอันต้องอาบัติแล้ว แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่า ได้บรรลุ

จะแสดงออกด้วย กายวิญญัติ หรือ วจีวิญญัติ ว่าเราบรรลุ ด้วยความอยากอวดโอ่ ส่วนผู้ที่หลงตนว่า ตนมีคุณธรรม หลงจริงๆ ว่าตนมี แต่ไม่ใช่ ที่จริงเป็นมิจฉาผล ถ้ารู้ตัว ก็ปลงอาบัติเสีย แต่ถ้าทั้งรู้ ตนก็เจตนา อยากอวดโชว์ ว่าฉันเป็นนะ

ได้ฟัง ปุตตมังสสูตร เมื่อวานและวันนี้ ผมได้ไปค้นอ่านเพิ่มเติม ในอรรถกถา สะดุดใจ สะดุ้ง ละอายกับการขบฉัน ที่ผ่านๆมา เป็นเพียงแค่ รูปแบบ พิธีกรรม การพิจารณาอาหาร ก่อนเคี้ยวกลืน ไปถึงใจ ยังเป็นไปได้น้อย...

พระองค์ได้ทรงเห็น กุลบุตรบางพวก ผู้บวชใหม่ ผู้ไม่พิจารณา แล้วบริโภคอาหาร ครั้นพระองค์ ทรงเห็นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราบำเพ็ญบารมี สิ้น ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป จะได้บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่ง ปัจจัยจีวร เป็นต้น ก็หาไม่ แต่ที่แท้ บำเพ็ญ เพื่อประโยชน์แก่ พระอรหัต อันเป็นผลสูงสุด  ภิกษุแม้เหล่านี้ บวชในสำนักเรา มิได้บวชเพราะ เหตุแห่งปัจจัย มีจีวรเป็นต้น แต่บวชเพื่อประโยชน์แก่ พระอรหัตนั่นเอง. บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น กระทำสิ่งที่ ไม่เป็นสาระ นั่นว่าเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ นั่นแลว่า เป็นประโยชน์.

ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระองค์ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระองค์ทรงพระดำริว่า ถ้าจักสามารถบัญญัติ ปัญจม ปาราชิก ขึ้นได้ไซร้ เราก็จะพึงบัญญัติ การบริโภคอาหาร โดยไม่พิจารณา ให้เป็น ปัญจมปาราชิก แต่ไม่อาจ ทรงทำอย่างนี้ได้ เพราะว่าอาหารนั้น เป็นที่ส้องเสพประจำ ของสัตว์ทั้งหลาย แต่เมื่อเราตรัสไว้ ภิกษุเหล่านั้น ก็จักเห็นข้อนั้น เหมือนปัญจมปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักตั้ง การบริโภคอาหาร ที่ไม่พิจารณานั้นว่า เป็นกระจกธรรม เป็นข้อสังวร เป็นขอบเขต ซึ่งเหล่าภิกษุในอนาคต รำลึกแล้ว จักพิจารณาปัจจัย ๔ เสียก่อน แล้วบริโภค.

ที่ผมสะดุดมากๆ จากอรรถกถานี้คือ ปัญจมปาราชิก...
ทุกคำข้าว ที่กลืนกิน อย่างขาดการพิจารณา พระพุทธองค์ เปรียบดั่ง ปาราชิก ข้อที่ 5...
หากกำหนดสำคัญ เช่นนี้จริง เฉพาะแค่ชาตินี้... ผมปาราชิกมา นับครั้งไม่ถ้วนแล้ว...

อีกส่งหนึ่งที่ถือว่า เป็นความรู้ใหม่ ปฏิกูล 9 ประการ...
อาหารคือ เนื้อลูกของ สองสามีภรรยานั้น ไม่ใช่กินเพื่อจะเล่น ไม่ใช่กินเพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่กินเพื่อประดับ ไม่ใช่กินเพื่อตกแต่ง เพราะปฏิกูล ด้วยเหตุ ๙ ประการ เป็นอาหาร เพื่อข้ามผ่าน ทางกันดาร อย่างเดียว เท่านั้น.

พึงแก้ว่า เพราะเป็นเนื้อของ ผู้ร่วมชาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตร ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตรที่รัก ๑ เพราะเป็นเนื้อเด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะไม่เป็นโครส ๑ เพราะไม่เค็ม ๑ เพราะยังไม่ได้ปิ้ง ๑. จริงอยู่ สองสามีภรรยานั้น เคี้ยวกิน เนื้อบุตรนั้น ซึ่งปฏิกูล ด้วยเหตุ ๙ ประการ เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ จึงมิได้เคี้ยวกิน ด้วยความยินดีติดใจ แต่ตั้งอยู่ใน ภาวะกลางๆ นั่นเอง คือ ในการบริโภค โดยไม่มีความพอใจ และยินดี มีใจแตกทำลาย เคี้ยวกินแล้ว...

        ในการกำหนดรู้ ในอาหารนั้น กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน) รวมถึง อาหาร ๔ (กวฬิงการาหาร_กำหนดรู้กามคุณ ๕, ผัสสาหาร_กำหนดรู้ในเวทนา ๓, มโนสัญเจตนาหาร_กำหนดรู้ในตัณหา ๓, วิญญาณหาร_กำหนดรู้ในนาม-รูป)

        คนเห็นเนื้อหาสาระ ก็จะพิจารณาได้ถูกต้อง อ่านพิจารณา ในอาหาร ทุกคำข้าว ที่คุณกิน ถ้าไม่พิจารณา ก็เหมือนปาราชิก ทุกครั้ง
       
        มาอธิบายนัยของ การกินอาหาร คือคำข้าว เป็นเรื่องที่จริงที่สุด ถ้าไม่พิจารณา ก็จะตกอยู่ในอำนาจกิเลส คนที่ไม่รู้จักสิ่งสูง เห็นว่าเป็นสิ่งต่ำ เป็นคนพาล เขาโง่อย่างไม่เดียงสา
        การที่จะพิจารณา กินอาหาร อย่างไม่มี ผลักหรือดูด กินอย่างนิพพาน กินอย่างผู้มุ่ง อรหัตตผล    
        ให้พิจารณาเสมอ ในรูป รส กลิ่น สัมผัส ยกตัวอย่าง มะม่วงน้ำดอกไม้ ที่อยู่บนโต๊ะนี่ เมื่อสัมผัสทางตา แล้วก็ชอบ โอ้โห ยิ่งกลิ่น มันดีอีก เอามาใส่ปาก ได้รสอีก แล้วก็มีอ่อนนุ่มแข็งอีก กินก็ซี๊ดปากอีก ในเบญจกามคุณ ก็ได้สวรรค์หอฮ่อ เราก็พิจารณาว่า แท้จริง มันไม่ได้เป็นสุขหรอก มันเป็นของหลอก

        พระพุทธเจ้า ก็ยังต้องกินอาหาร แต่ท่านพ้น ไม่ติดแล้ว ก็กินได้อย่างสบาย อย่างอาหารอาตมา ใครเคยมา รอรับอาหาร อาตมาบ้าง ก็เป็นอาหาร ที่ปรุงแต่งน้อย ไม่อร่อยหรอก แต่เมื่อก่อน อาตมาเคยฝึกกินพริก แต่ตอนนี้ ไม่ได้กินนานแล้ว อวัยวะ มันไม่ค่อยรับแล้ว ตอนที่หัดฝึกปฏิบัติ ตอนก่อนออกบวช ก็ฝึกกินสำรวม ก็ปนกันหมด

        เวลาพิจารณา ก็พิจารณาเวลาสัมผัส อาหาร แล้วก็ตามรู้ เข้ามาภายใน เป็นกายในกาย เป็นเวทนา ว่าเรามีความชอบมาก เป็นสวรรค์มาก เราก็พิจารณาว่า มันเป็นเท็จ เห็นกิเลสมา แสลนเลย เราชอบใจ ก็ปรุงรส ตามที่ชอบ ก็เป็นเทวดาสมมุติ แท้จริง เป็นสัตว์นรก ตลอดเวลา เสริมกิเลส ไปตลอด พิจารณาจริงๆ ว่าเป็นอัสสาทะ พิจารณาว่า เหมือนกินเนื้อบุตร พึงแก้ว่า เพราะเป็นเนื้อของ ผู้ร่วมชาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตร ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตรที่รัก ๑ เพราะเป็นเนื้อเด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะไม่เป็นโครส ๑ เพราะไม่เค็ม ๑ เพราะยังไม่ได้ปิ้ง ๑.

        อย่างที่พระพุทธเจ้า ให้พิจารณา สติปัฏฐาน ๔ อะไรที่เราชอบกิน ก็ปล่อยได้วางได้ อะไรไม่ชอบ แต่มีประโยชน์ เราก็กินได้ ยิ่งออกจาริกบิณฑบาต เขาให้อะไรมา ก็พิจารณา แล้วขบฉัน ตามจำเป็น
        การไปนั่งสมาธิ หลับตาเข้าภวังค์ ก็เป็นการพักจิตได้
        ต้องพิจารณาทุกคำข้าว ต้องรู้ว่า เราเป็นสัตว์นรก สวรรค์ เป็นเทวดา มาร พรหม
        พิจารณา เหตุที่ทำให้เราเป็น
.     นิรยะ (จิตนรกเร่าร้อน มีทุกข์สาหัสมาก)
.     ติรัจฉานโยนิ (ภูมิจิตเดรัจฉาน ไม่เจริญขึ้น)
.     เปตติวิสัย (ภูมิแห่งเปรต- จิตละโมบใคร่อยาก)
.     มนุสสะ (จิตเทวดาในมนุษย์ใจสูง)
.     เทวะ (จิตสูงส่งอย่างเทวดา, อุบัติเทพ)
(พตปฎ. เล่ม ๑๑  ข้อ ๒๘๑)

        พิจารณาใน อนุปัสสี ๔
.อนิจจานุปัสสี (ตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลสตัณหา).
. วิราคานุปัสสี (ตามเห็นความจางคลายของกิเลส
.นิโรธานุปัสสี (ตามเห็นความดับของสัตว์กิเลสตัณหา)
. ปฏินิสสัคคานุปัสสี (เห็นการย้อนทวนกลับไปสลัดคืน)
(พตปฎ. เล่ม ๑๔  ข้อ ๒๘๘)

        รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ สัตว์เทวดาเกิดเป็นสมมุติเทพ หรืออุบัติเทพ ทำได้เก่งขนาดไหน เป็น
.     วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า)
.     ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
.     สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด  สลัดออกได้เก่ง) .
.     ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ  ทวนไปมา) .
.     นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที  เก่งจนเป็นปกติ)
(พตปฎ.  เล่ม ๓๑   ข้อ ๖๕)

        ปฏิบัติจะเกิด อินทรีย์ ๕ พละ ๕
.     สัทธา (ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็นสัทธินทรีย์ ฯ)
.     วิริยะ (ความเพียรที่มีพลังขึ้น เป็นวิริยินทรีย์ ฯ)
.     สติ (ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็นสตินทรีย์ ฯ)
.     สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรงเป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
.     ปัญญา (ความรู้จริงในความจริงแห่งธรรม ฯ)

        ทำให้กิเลสลดได้ก็มีปีติ แล้วพอปีติลดก็มีสุข เป็นสุข แบบเนกขัมสิตโสมนัสเวทนา เป็นโลกุตระ เราก็วางปล่อย ซ้อนไป ไม่หลงเสพติดใจ
        แล้วจะมีโพชฌงค์ ๗ เกิด ในการกินอาหารนี่แหละ แม้คุณจำพยัญชนะไม่ได้ อาตมาไม่ได้ท่องมาก แต่ว่ามีสภาวะ ก็เอาพยัญชนะมาจับ ก็เลยจำได้ง่าย
        ปฏิบัติ จรณะ ๑๕ นี่แหละ จะเจริญ เป็นคน ศิวิไลซ์ การเป็นคนเจริญนี่ งานนี้ ก็ขออธิบาย เรื่องความเจริญ หรือเป็นคนอาริยะ

        ซึ่งเขาเข้าใจผิด ไปเป็นความก้าวหน้า ที่ในหลวงท่านว่า “เราเลยบอกว่า ถ้าจะแนะนำได้ ต้องทำ “แบบคนจน” เราไม่เป็น ประเทศร่ำรวย  เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่..ไม่เป็นประเทศ ที่ก้าวหน้าอย่างมาก  เราไม่อยากจะเป็น ประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็น ประเทศก้าวหน้าอย่างมาก ก็ จ ะ มี แ ต่ ถ อ ย ห ลั ง ประเทศเหล่านั้น ที่เป็นประเทศที่มี อุตสาหกรรมก้าวหน้า       จ ะ มี แ ต่ถ อ ย ห ลั ง  และถอยหลัง อย่างน่ากลัว  แต่ถ้าเริ่มมีการบริหาร ที่เรียกว่า “แบบคนจน” แบบที่ไม่ติดกับตํารา มากเกินไป ทําอย่างมีสามัคคี นี่แหละ คือ เมตตากัน  ก็จะอยู่ได้ ตลอดไป...”

        Civil หรือความเป็นพลเมืองในโลก ส่งเหล่านั้น ถ้ามีการเบ่งอำนาจอย่าง Force ก็ต้องศึกษา สิทธิหรือ Right ที่แปลว่า ความถูกต้องด้วย ทำให้เกิด การอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นสุข ในภาษาไทย มีคำว่า เสฏฐะ หรือเศรษฐศาสตร์ ก็คือ การมักน้อยสันโดษ นั้นแหละ ประหยัดมัธยัสต์ นั่นแหละคือ เศรษฐีหรือเสฏโฐ ก็ต้องมาเรียนรู้เรื่อง ศิวิไลซ์ และ Right ต้องมาเรียนรู้ การเฉลี่ย เราเป็นผู้สามารถมาก เป็นคนรวยมาก ก็ช่วยคนรวยน้อย นี่คือ ความเสมอภาค แล้วจะมาบอกว่า เอาเลือกตั้งๆ นี่คือ ความเสมอภาค แต่ที่จริง ความเสมอภาคนั้น ลึกซึ้งกว่านั้นมาก

        ต้องเรียนรู้คำว่า สิทธิ หรือ Right หรือแปลว่า ความถูกต้อง แม้จำนวนน้อย แต่ถูกต้อง เป็นอาริยะ ก็ต้องให้ความสำคัญ แต่เขาเข้าใจว่า คนเก่งกว่า ก็ใช้เป็นอำนาจ มาเบ่งข่มเขา เราต้องมาเรียนรู้ ความศิวิไลซ์ ที่แท้จริง เป็นอาริยะนั้นเอง ...

 

www.asoke.info