570220_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง นักรบอหิงสา

 

 

            ผ่านวันระทึกใจมาแล้ว อาตมาก็ร่วมรบอยู่ ในสนามใหญ่ อยู่ในกลิ่นควัน เสียงระเบิด อาตมาก็พูด บรรยายให้สติ ก็จะมีผลหรือเปล่า ก็ไม่รู้ เขาก็ตัดเสียงไมค์เรา ก็ใช้โทรโข่ง พักหนึ่ง ก็ไฟดีขึ้น กลับมาใช้ไมค์อีก เจ็ดโมงเช้า ยันบ่ายสองโมง

            การรบที่จัดจ้าน ยิงกัน แต่การรบของเรากับกิเลส ไม่ง่าย อาตมาก็เห็นใจ ที่สะทกสะท้าน ตกอกตกใจ อาตมาก็เคยมีอารมณ์ ความรู้สึกเช่นนี้ แต่ก่อน มาบัดนี้ก็ชัดว่า จิตวิญญาณ ที่ได้ฝึกมาแล้ว ไม่ได้อวดอุตริมนุสธรรมนะ แต่ว่าเป็นของจริง ที่เป็น เอหิปัสสิโก เป็นของตนเอง ก็เอามายืนยันกล่าว ให้คนมาดู สิ่งจริง เป็นนัยลึก ของสัจธรรม เชื้อเชิญหรือท้าทาย ให้มาพิสูจน์ได้

            อาตมา ก็ดูจิตใจอาตมา ก็ธรรมดา คนจะให้ลงไป แล้วคนอื่น เขาก็ยังอยู่ ยังทำงานอยู่ อาตมาจะลงได้อย่างไร ก็ต้องอยู่ช่วยกัน แล้วก็จะเอา หน้ากาก มาให้ใส่ พอใส่หน้ากากกันแก๊ส เหมือนมนุษย์ต่างดาว นักข่าวก็ชอบ ก็มาถ่ายภาพ ต่อมาก็ถอด ฝรั่งก็ไม่มาถ่ายภาพ แต่ไปสนใจท่านหนักแน่น ที่ใส่หน้ากากอยู่แทน เป็นพฤติกรรมคน ที่น่าสนุก

            ที่อาตมาจะพูดนี้ คือเห็นได้ว่า จิตใจของเรา ถึงเวลามีผัสสะ เชิงสัมผัสของจริง ไม่ใช่เรื่องเดาเอา แต่เป็นของจริง สัมผัสอยู่ ก็จะเห็นชัดเจน ว่าจิตเราไม่สะทกสะท้าน ไม่กลัวตาย แต่เราก็ไม่ได้ห่ามคะนอง เราทำตามเหมาะควร ไม่ดื้อรั้นเกินการ ก็เข้าใจทุกอย่าง ต้องอนุโลมปฏิโลม ต้องอยู่ช่วยกัน

            ก็ขอบคุณทุกคน ที่มีน้ำใจมุ่งมั่น แสดงออก จริงใจ เสียสละ ระเบิด ที่ตำรวจเขาถือโล่ ที่ป้องกัน ระเบิดได้ ตั้งแผงโล่ กันเป็นแผง คนเตะลูกระเบิด เขาก็ป้องกัน พวกเขาเต็มที่ ที่จริงโล่นั้น ป้องกันระเบิดได้ เป็นสิ่งยืนยันได้ คนก็ยกย่องตำรวจว่า เป็นฮีโร่ ไปเตะระเบิดออก นั่นเป็นการมองมุมหนึ่ง เราไม่รู้ว่า ใจตำรวจ เขาเตะด้วยเหตุใด มันมีสัญชาติญาณว่า ไฟมาตกใกล้ตัวเรา ก็ต้องเตะออก ที่จริงโล่มันตั้ง เป็นแผงแล้ว คนนั้นก็ต้องเตะออก การเตะลูกระเบิด ลูกนี้ออกไป กับที่จริง ใช้โล่เขี่ยออกมาก็ได้ แต่ไม่ใช่ เขาเจตนาเตะออกมา นักข่าวและ สมณะ สิกขมาตุ อยู่กันเป็นปึกเลย พวกเราไม่มีโล่ หรืออะไรเลย ถ้าเตะมาใส่พวกเรา จะเสียชีวิต มากมายเลย

            เมื่อลูกระเบิดตกมา เขาก็ใช้ปฏิภาณเตะ ถ้าเตะมา เราก็ต้องสูญเสีย ฝ่ายเขาก็ต้องรอดตัว แต่พอดี พระสยามเทวาธิราช จังหวะก็เตะไม่ทัน ระเบิดพอดี เขาก็ต้องได้รับเคราะห์ ตามวิบากเขา ก็ไม่ได้ไปซ้ำเติมเขา มองแง่หนึ่ง เขาก็ป้องกันตัว แต่เขารู้ว่า โล่ป้องกันได้

            มีคุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ส่งคำถามมาถามว่า.....
            ว่าเหตุการณ์สลายการชุมนุม ในแง่มุมของ จิตวิญญาณของคน ทำไมจึงแสดงออกอย่างนี้ ตำรวจ , ผู้ชุมนุม, โดยเฉพาะผู้ชุมนุม จะปฏิบัติอย่างไร ไม่ให้ทุกข์ จากความกลัว เศร้าโศก จากการสูญเสีย?...

            ตอบ... เราได้ผ่านพ้น เหตุการณ์มาแล้ว ก็ฟังธรรมะเสริม... ทำไมต้องแสดงออกอย่างนั้น ผู้ชุมนุมนี้ ไม่เจตนาเป็นศัตรู ไม่คิดจะทำร้ายเขา ส่วนตำรวจ เตรียมพร้อมมาด้วยอาวุธ แม้จะอธิบายว่า จะทำอย่างเป็นลำดับ แต่เจตนา ทำให้หนัก แต่ผู้ชุมนุม เจตนาจะทำให้เบา ใครหนักมา ก็จะทำให้เบา

            ตอนแรก ก็คุยกับ พล.ต.ต.ยิ่งยศ แล้วก็ตกลงกัน จบ เราก็เลี้ยงข้าว เลี้ยงน้ำ มีหลักฐานเลย นึกว่าจะจบ แต่ที่ไหนได้ ก็รุกมาด้วย พลโล่ พลปืน แล้วก็มีเหตการณ์เกิด อย่างที่ว่า แสดงมโนสัญเจตนา ของคน ว่าตั้งใจ จะเอาให้แรง ไม่ใช่สันติ อหิงสา เรียกว่า ตั้งใจมารุนแรงเลย

            ส่วนชาวผู้ชุมนุม อาตมาไม่เชื่อว่า ใครจะเป็นพวก อยากให้รุนแรง ซาดิสม์ มาซูคิส ก็อาจมีบกพร่องบ้าง ที่ชอบรุนแรง...

            มีจิตวิญญาณ เป็นต้นเค้า... แล้วผลออกมาว่า... ผู้ที่ตั้งใจ จะมาทำความรุนแรง สรุปว่า อาตมาตัดสินว่า เขาแพ้นะ... แพ้ด้วยรูปธรรมด้วย และโดยทางสัจธรรมนั้น ตำรวจแพ้แน่นอน ตั้งแต่ผู้สั่งการมา คือ คุณเฉลิม ผอ.ศรส. เขาก็แพ้ ทั้งรูปธรรม นามธรรม สัจธรรม แพ้แน่

            นี่คือการชนะ ให้ทำใจอย่างไร ก็คิดอย่าง มีต้นเหตุที่จิต มโนปุพพังคมา ธัมมา เป็นมโนสัญเจตนา เป็นจิตมุ่งหมาย เช่น เรามามุ่งสันติ อหิงสา ไม่รุนแรง เมื่อแรงมา เราก็จะหรี่ให้เบา

            ส่วนทางโน้น มีเจตนาจากเบา ไปหาแรง เพื่อให้สำเร็จ ไปสู่จุดมุ่งหมาย แต่มันถึงขีด ที่เขาจำนน คือเขาทำแรง แต่องค์รวมของเรา ไม่ทำแรง ทั้งกายวิญญัติ วจีวิญญัติ

            เขาก็รู้ว่า พวกเราไม่ได้ทำรุนแรงกับเขา ไม่คิดเข่นฆ่า เราคิดถอยด้วย คิดอหิงสา ไปสู่สันติด้วย แต่พวกเรา ตั้งใจมารุนแรง ภาวะที่กระทบกัน ก็เกิด เขาเจ็บ เขาล้มเขาตาย ต่อหน้าต่อตา ยังไงๆ มนุษย์ที่ยังไม่เป็น อรหันต์จิตสงบ หรือ คนอำมหิตจริง ก็จะต้อง สะทกสะท้าน สลด สะท้อนใจนะ เกิดความรู้สึกได้ จิตที่อำมหิต จะลดลง ทั้งที่ผู้เป็นเจ้านาย สั่งการให้เอาให้ได้ คือจะให้สุดที่เลย แต่พอเกิดเหตุการณ์ ตำรวจผู้น้อย ที่หามคนบาดเจ็บ พวกเราก็ไปช่วยนะ หลายคน แม้วิสาขา เป็นผู้หญิง เด็กสาว เขาเป็นพยาบาล อาตมาบอกไพรเมือง เขาต้องการ เอารถเตียงเข้าไป หามเข้าไปใส่รถ จะได้ช่วยกันเร็วๆ ไพรเมือง กระโดดจากบนเวที ไปช่วยเลย ซึ่งภาวะเหตุการณ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติเหล่านี้ ตำรวจก็เห็น ก็ล่าถอยไปไง

            แม้จะมีข่าวว่า ทางเรามีคนแฝงตัวมาช่วย แม้แต่ลูกระเบิด เขาก็หาว่า มาจากทางเรา อาตมาพูดกลางๆนะ ไม่รู้ว่า มาจากทางไหน? อาตมาก็ไม่รู้ความจริง แม้จะมาจากทางเรา แน่นอนว่า ไม่ใช่ของชาวชุมนุมที่นี่ ทั้งนั้น เราไม่มีอาวุธ ขนาดนั้น แล้วอาวุธที่มา ตำรวจเขาก็ต้องรู้ว่า มันต้องมียิ่งกว่านี้ สามัญสำนึก ของหลายคนร่วมกัน เขาไม่อยากแพ้ ไม่อยากถอยนะ ตำรวจมีตายคนหนึ่งด้วย ในรถอาตมา ก็มีรูกระสุนด้วย เขามีมุ่งหมายเจตนาอย่างไร ก็ไม่ทราบ ... คนหน้าเวทีว่า ตั้งใจฆ่าเลย... พ่อครูว่า คุณไปรู้ใจเขา ได้อย่างไร ..อาตมาก็ไปกินไปนอน ในนั้นแหละ บอกให้รู้เลยด้วย ...ไม่ได้ปิดบังอะไร แล้วตำรวจที่ตาย ก็ตายข้างรถ ที่อาตมาพัก นั่นแหละ …

            สิ่งเหล่านี้เกิดแล้ว ทำให้อ่าน ธรรมาธรรมะสงคราม สำหรับที่อาตมามองเห็น อาตมาว่า พวกเราชนะ ด้วยความสงบ ไม่รุนแรง แต่เราไม่รุนแรง นี่คือ ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นความชนะของธรรมะ เป็นสยามเทวาธิราช

            นี่คือสิ่งชี้บ่งว่า ความแพ้คืออธรรม ความชนะคือธรรม 

            ผู้ชุมนุมที่อยู่หลายคน ไม่มีถอย แม้ตำรวจ มากมายก่ายกอง ไปถึงสนามหลวง ทั้งเครื่องไม้ เครื่องมือ ทั้งเครื่องกลหนัก ตั้งใจปราบ ให้หมดเลย นักข่าวก็พูดว่า เป็นวันที่เขา จะปราบให้ได้ วันที่ ๑๙ เขาต้องเข้าทำเนียบ ให้ได้ เขาจึงเจตนามุ่งมั่น แต่เขาไปไม่ถึง ก็เพราะเหตุที่อธิบายไป

            เห็นได้ว่า ทั้งผู้ชุมนุม ไม่สะทกสะท้าน สรุปในค่ารวม ให้คะแนน ๙๕ % สำหรับ การต่อสู้ของ มวลปชช. ที่แสดงออก ได้อย่างนี้ ส่วนตำรวจนั้น ให้คะแนนสอบได้ ในส่วนที่ได้ คือ คุณธรรมความดี ที่เขาถอย ที่เขารู้จักแพ้ รู้จักไม่ดันทุรัง จะทำต่อไป ทั้งที่เขามี กำลังพลอาวุธ รับรองว่า เขาชนะแน่นอน เราไม่มีอาวุธ แต่ไม่ทราบว่า ผู้ไม่ทราบฝ่าย จะมามากไหม แล้วตำรวจ จะเกรงหรือไม่ ก็ไม่รู้ และไม่เดาด้วย เกรงว่า ผู้ไม่ทราบฝ่ายจะมา ต่อสู้อีก ก็ต้องให้คะแนนกุศลเขา แต่ค่ารวม ที่เขาทำอกุศลนั้น มากมายเลยว่า เราต้องมอง มุมดีมุมเสีย กุศล อกุศล เป็นเช่นนั้น

            แล้วตำรวจควรทำอย่างไร? ...อาตมาก็ว่า ควรสำนึกว่า ทุกคนคือ พี่น้องไทย อย่ามาฆ่าแกงกัน เพราะเพื่ออำนาจ ผู้ใดผู้หนึ่ง ที่ไม่ควรส่งเสริม เพราะเขาใช้อำนาจผิด เถื่อน ก็ตัดสินสารพัดแล้ว แม้แต่คำพิพากษา ศาลแพ่ง เมื่อวานนี้ ก็ส่อแสดงว่า คณะที่ คุณไปเป็นลิ่วล้อเขา ทางคณะโน้น เขาประกาศฉุกเฉิน เสร็จแล้ว ศาลตัดสินว่า สรุปว่า

            ไม่เพิกถอนพรก. ฉุกเฉิน แต่มีคำสั่งคุ้มครอง จึงสั่งห้าม จำเลย 9 ข้อ

  1. ห้ามจำเลย มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม
    2. ห้ามจำเลยยึดอายัด สินค้า อุปโภค บริโภค ที่ใช้ในการสนับสนุน การชุมนุม ของโจทก์ และผู้ชุมนุม
    3. ห้ามจำเลย ตรวจค้น รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ของผู้ชุมนุม
    4. ห้ามจำเลย ห้าม ผู้ชุมนุมซื้อขายสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค ที่ใช้ในการชุมนุม
    5. ห้ามจำเลย ปิดการจราจร เส้นทางคมนาคม
    6. ห้ามจำเลย สั่งห้ามบุมนุม ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
    7. ห้ามจำเลย สั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ตามที่จำเลยกำหนดไว้ ในประกาศ
    8. ห้ามจำเลย สั่งผู้ชุมนุม ห้ามใช้อาคาร
    9. ห้ามจำเลย มีคำสั่งห้ามบุคคล เข้า และ ออก พื้นที่การชุมนุม


ส่วน ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ศาลแพ่ง ไม่มีคำสั่ง เพิกถอนแต่อย่างใด

            อาตมามองว่า ทางด้านโน้นทำอะไร ไม่สุจริต  ทางศาลก็แสดงออก อย่างผู้ใหญ่ ก็เอาที่เขาทำ มาย้อนเกล็ด เป็นกายวิญญัติ วจีวิญญัติ ท่านเรียกว่า วิญญัติรูป คนที่มีญาณปัญญา ก็จะรู้ได้ว่า เขาทำกรรมออกมา มีมโนสัญเจตนา อย่างไร? โดยสำเนียง สุ้มเสียงภาษา สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ถ้าเราไม่เรียนปฏิบัติจริง จะไม่รู้จริง ว่าตนได้บรรลุหรือไม่? ก็จะเป็นเพียง คาดคะเน ไม่จริง แต่ถ้าสัมผัสของจริง จะรู้ได้ว่า มีจริงไหม จะเห็นแก่นเลย ลึกซึ้ง เป็นวิมุติ

            มนุษย์ที่ได้เรียนรู้ ศึกษาวิชาการ ความรู้ทางโลก ก็ได้ความรู้สามารถ เทคนิค อย่างใดๆ การไปสร้างความเลวร้าย เช่นการสร้างอาวุธ ก็ไปทำมาเป็นอาวุธ คำว่าอาวุธปืน หรือระเบิด มันสร้างมา เพื่อฆ่ากัน คนที่สร้างอาวุธมา ในโลกนั้น บาปทั้งนั้น บาปหนัก เพราะอาวุธ มีไว้ฆ่าคน พระพุทธเจ้าว่า มิจฉาอาชีวะ ๕ ข้อแรกคือ สัตถวณิชชา คืออย่าค้าขายอาวุธ ซึ่งอยู่ใน มิจฉาวิณิชชา ๕ พระพุทธเจ้า ห้ามไว้ว่า อย่าทำ

๑.         การค้าขายอาวุธ    (สัตถวณิชชา)
๒.        การค้าขายสัตว์มีชีวิต  (สัตตวณิชชา)
๓.        การค้าขายเนื้อสัตว์  (มังสวณิชชา)
๔.        การค้าขายสิ่งมอมเมา  (มัชชวณิชชา)
๕.        การค้าขายสิ่งที่เป็นพิษ  (วีสวณิชชา)

            เมื่อใด คุณกินเนื้อสัตว์อยู่ แม้ไม่ได้ฆ่ากินเอง แต่ไปซื้อมากิน เขาก็ต้องฆ่าสัตว์ไว้ เพื่อให้คุณซื้อ คนซื้อคือ คนสั่งให้เขาฆ่า เป็นเหตุ เป็นบาปจริง เฉลี่ยกันไปตามนั้น ถ้าคุณกิน ๑๐๐ คน เขาก็ต้องฆ่ามาให้พอ แต่ถ้าคนกินลดลง เขาก็ต้องฆ่าลดลงๆ ถ้าไม่กินเลย เขาจะลงทุนฆ่าทำไม

            เขาก็ชีวิต เราก็ชีวิต เราเอาเนื้อเขา มายังชีพเราทำไม ศึกษาดูจะรู้ว่า คนเป็นสัตว์กินพืช ไม่ใช่เป็นสัตว์กินเนื้อสัตว์ ศึกษาดู ตั้งเป็นแสนปีแล้ว คนก็ยังมีสรีระอย่างนี้ ทั้งฟัน ทั้งลำไส้ ก็เป็นเหมือนเดิม แม้น้ำย่อย ผู้เรียนรู้สรีรวิทยา ก็จะรู้ว่า สัตว์กินเนื้อ ก็จะมีน้ำย่อย แบบสัตว์กินเนื้อ

            สิ่งมัวเมา ตั้งแต่หยาบๆ ลึกซึ้งกันไป ตั้งแต่มอมเมา ด้วยกามคุณ อบายมุข เขาปรุงแต่งกัน จัดจ้านเลย และสุดท้ายคือ พิษ ที่หยาบๆคือ กินแล้วตายเลย แม้แต่พวก เฮโรอีน สารพิษ กดประสาทต่างๆ ที่ทำลายเซลล์ มันไม่ตายทันทีก็ตาย เป็นพิษ อย่าค้าอย่าขาย สิ่งเป็นพิษนั้น คือของกิน แต่สิ่งอุปโภค ตั้งแต่อาวุธ อะไรที่จะเป็น พิษภัยต่อชีวิต อย่าสร้างขึ้นมา เป็นต้น อย่าค้าขาย สิ่งเหล่านี้ ถ้าทำได้ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัส โลกจะสงบสุข

            การทำใจไม่ได้ทุกข์ ….. ต้องมองเห็นประโยชน์ส่วนรวม ที่จะแก้ไขประเทศชาติ จะพาพ้นทุกข์ จะทำอย่างไร ให้พ้นทุกข์ ก็มาช่วยกัน ชุมนุมให้มาก นี่คือ ข้อแรกเลย

            ส่วนความกลัว ถ้าปชช.ออกมาสัก ๑๐ ล้าน วันๆหนึ่ง รับรองว่า ศรส. หรือตำรวจ ก็กระดิกไม่ออกแน่ ถ้ามารวมกัน วันละ ๑๐ ล้าน ทำอย่างสงบ เรียบร้อย สุภาพ เลี้ยงดูกันได้ อยู่อย่างสาธารณะ ก็รับรองเลยว่า ไม่รุนแรงเกิด หรือเอาแค่วันละ ๑ ล้านเดียวไม่เกิด เอาแค่ในกทม.ก็ได้ ที่นอนๆอยู่นี่ ต่างจังหวัดทั้งนั้นแหละ คนกทม. ไปเช้าเย็นกลับ

            ถ้าวันละล้านคน เขาทำอะไรไม่ได้หรอก แล้วเราแยกกัน หลายเวที ปชช.ไม่น้อยเลย มาอยู่กันนี่ ถ้า ๑๐ แห่ง แห่งละแสนคน ชนะอย่างเหลือกินเลย ไม่ต้องทำอะไร แสดงพลังอธิปไตยเลย ให้รัฐบาลหยุด

            ให้เข้าใจพลังอธิปไตย ของปชช. มีสิทธิแสดงออก มันเป็นความต้องการ ถือหาง ปชช. เขามาไล่คุณ คือปชช. กับรัฐบาล มาออกเสียงกันเลย ถ้าพร้อมเพรียงกันเลยได้นะ พิสูจน์กันนะคนไทย ทุกวันน ี้ก็เรียกทีละล้านได้ ส่วนทางโน้น รวมกันได้ ไม่มากนัก

            ออกมา แสดงอธิปไตย ๑ คน ๑ เสียง ไม่ใช่แค่เลือกตั้งเท่านั้น ที่เป็นปชต. ซึ่งเป็นความรู้ ไม่ใช่แค่หางอึ่ง แต่เป็นความรู้ แค่หางคน เท่านั้น เรื่องเลือกตั้ง เป็นสิทธินิดหน่อย แต่ออกมาอย่างนี้ ทั้งเต็มอำนาจเลยทั้งตัว เป็นหน้าที่องค์รวมเลย เป็นอธิปไตย เมื่อสังคมต้องการ เปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็ออกมา ๑ คน ๑ เสียง ที่ออกมาประท้วงนี่ ยิ่งใหญ่กว่า ๑ คน ๑ เสียง ที่ออกมาเลือกตั้ง ถ้าเข้าใจเช่นนี้ไม่ได้ ไม่ใช่นักรัฐศาสตร์

            ก็มีข่าวมาว่า... คุณเฉลิม แถลงว่า...ไม่เคยสั่งสลายการชุมนุม สักเวที แม้แต่ครั้งเดียว... ส่วนเหตุสะพานผ่านฟ้า ม็อบเป็นผู้สลายตำรวจ ....คนหน้าเวที โห่ใหญ่เลย... แต่พ่อครูว่าถูกแล้ว ม็อบสลายตำรวจ ด้วยความสงบ ไม่ใช้อาวุธ .. เก่งไหม? โดยที่ตำรวจ มีอาวุธพร้อม โล่เขานี่หนักมาก ยกแขนเดียว ไม่ขึ้นเลย

            หลายคนพวกเรา ก็แสดงธรรมเก่ง แต่ก็อย่าแสดงธรรมเกินตัว เรามีเราก็บอกว่ามี เราไม่มี เราก็บอกว่าไม่มี ไม่ใช่เหนียมอาย จริงใจประมาณ เรามีมาก แต่เราบอกไม่เป็น อ่อนน้อมถ่อมตน บอกไม่หมด ถึงเวลา จะออกเต็มก็ได้ แต่ถ้ามันเกินที่เรามี ก็บอกกัน มันก็ไม่บาป ไม่ผิด แต่เพราะเรียนแล้วเพี้ยน การที่บอกว่า อวดอุตริมนุสธรรมนั้น บอกไม่ได้เลย เป็นการเลี่ยงบาลี กลัวผิด เมื่อไม่อวดเลย ก็ไม่มีใคร กล้าบอกเลย แล้วคนที่บรรลุแล้ว กายวิญญัติ วจีวิญญัติ เป็นเช่นใด ก็ไม่รู้ ก็เดากันไป ทำทีว่า ฉันเป็นอรหันต์​ แต่ไม่บอก ให้ลูกศิษย์เดาเอา ขนาดอรหันต์ ยังบอกไม่ได้ แล้วก็เลยกลายเป็น ธรรมะที่ไม่รู้กันได้ อย่างแจ้งชัด เป็นธรรมะพรางลวง เป็นความเสื่อม ความเดา เป็นของหลอก จิตคนที่หลอก ก็เสแสร้ง ธรรมะจึงเพี้ยน มาจนบัดนี้ เป็นคำสอน ที่นับถือกันมา เป็นปรัมปรา ถือว่า ผิดเป็นถูก

            ย้ำอีกทีว่า ถ้าเราไม่บรรลุ ไม่ควรแสดงธรรม ไม่บอก ท่านจะให้แสดงธรรมนั้น มีหลักอยู่ว่าเป็น ธัมกถึก

            เราเป็นโสดาบัน ก็บอกว่า เราเป็นโสดาบัน อย่าไปแสดงว่า เราเป็นสกิทาคามี

            คนจะธัมกถึกต้องมี
๑.         ศรัทธา  (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจเป็นต้น)
๒.        ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕) ทำศีลให้บรรลุ แม้กระทบกระแทก มาอย่างไร ก็ไม่กระเทือน กายวาจา ไม่แสดง เพราะใจเรา ไม่มีเหตุ ที่จะทำให้เกิดอกุศล ไม่ปรุงแต่งด้วย ไม่มีโทสมูล ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ไม่มีโทสะมา สัมปยุตเลย ทั้งกายวาจาใจ นี่คือศีลบริสุทธิ์
๓.        พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น)
๔.        เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง) กล่าวธรรมที่ตนมี อาจกล่าวกับคนเดียวก่อน แล้วก็กล่าวธรรม กับหลายคนได้ จนคนเป็นหมื่นได้
๕.        เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น) 
๖.         แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แสดงว่า มีใจไม่สะทกสะท้าน มีพลัง ๔ สูง จนพ้นภัย ๕ แม้หมู่ศัตรู ก็ไม่สะทกสะท้าน กล้ากล่าว สัจธรรมได้
๗.        ทรงวินัย ต้องรู้จักกฎเกณฑ์ ถ้าไม่มีก็รู้ได้ยาก เขาว่าอย่างนี้ ก็เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็หลิ่วตาตาม บ้าง ไม่ละเมิดธรรมวินัย ไม่เสีย ไม่ผิดหรอก เราทำงานกับสังคม ก็ต้องมีวินัย ไม่อย่างนั้น เละเลย
๘.        อยู่ป่าเป็นวัตร  ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา) ถ้าจิตติดสงบ ก็จะมีอุปาทาน ก็ติดที่ ผู้ที่จะทดลอง ไปอยู่ป่า ศาสนาพุทธ ให้ไปทดลองได้ แต่ป่านั้น ยากที่จะได้ วิเวก ๓ จิตยากที่จะอภิรมย์ พระพุทธเจ้า ตรัสกับพระอุบาลีว่า ยากที่จะอภิรมย์ กับการออกป่า คนจะไปป่า ต้องมีภูมิสูงแล้ว เช่นอนาคามี ทำไม? เพราะว่าผู้นี้มีภูมิ มีสมาธิแล้ว ก็ไปตรวจสอบว่า คุณเป็นอนาคามีไหม จะฟุ้งไปหากามไหม หรือจะตกถีนมิทธะ หรือเปล่า? ถ้าอยู่กับสังคม คุณต้องตรวจสอบ กามกับพยาบาท คุณอยู่ในป่า ต้องตรวจสอบ กามกับ อุทธัจจะ ฟุ้งซ่านไปหาโลกธรรม หากาม ไหม? พระพุทธเจ้าว่า ไม่จมก็ลอย ไปตรวจสอบว่า เราจะพ้นไหม

            กาม ไม่มีมายั่วยวน แต่จิตเราฟุ้งซ่านไปในกามไหม หรือว่า จมในถีนมิทธะ หรือฟุ้งเป็น อุทธัจจะหรือไม่? เราก็ไปตรวจสอบ แล้วก็จะได้รู้ว่า เราติดหรือไม่? ออกไป ไม่ต้องนาน ไปให้รู้ว่า เราติดหรือไม่ แค่นั้น ก็จะได้รู้ว่า เราเหลือเท่าไหร่

            และที่ว่ายินดีในป่า หรือเสนาสนะอันสงัด ... อาตมานั้น ยินดีในป่า อาตมาอยู่ที่ไหน ก็พาสร้างป่า เช่น สันติอโศก อย่างปฐมอโศก เป็นต้น

๙.         ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ 
๑๐.       ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้

            ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล  ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
           

   

www.asoke.info