570308_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง ทาน ศีล ภาวนา นำพาปฏิวัติโดยประชาชน

       ใครรำคาญธรรมะบ้าง อาตมาไม่เห็น รำคาญธรรมะเลย อาตมาเห็นโลกเขา ก็ไม่ได้รำคาญอะไร ก็เข้าใจเขา ว่ามีเหตุปัจจัยอะไร เขาทำไป ตามประสาเขา เราก็ไม่ต้อง ไปมีพลังงาน วูบวาบอะไร ก็สบาย เขาจะชั่วจะดี จะร้ายกับเรา แม้เขาจะดีกับเรา ก็ไม่ต้องวูบวาบ แต่เราก็รู้ ตามสมมุติสัจจะ ว่านี่ดีหรือร้าย

       วันนี้ อาตมาตั้งใจ จะมาอธิบายประเด็น ที่มีเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่แสดงออก เราก็จะไปกำหนดว่า เขาชั่วถาวร อย่างนี้ตลอด หรือดีไปตลอด ก็ไม่ได้ ต้องดูไปนานๆ ดีไม่ดีตายไปเลย วาระใด วาระหนึ่ง ที่เขาจะเปลี่ยนได้ ถ้ามีบารมี ก็เปลี่ยนได้เลย อย่างองคุลีมาล แล้วก็มีภาษาคำพูด จุดปฏิภาณปัญญา ก็สำเร็จ ทันทีทันใดเลย หรือแม้แต่อื่นๆ อีกหลายผู้ หลายคน ที่ตอนแรกดูร้าย อย่างพระยสะ ก็เกเรตอนแรก ไม่เป็นธรรมะอะไร แต่พอจะถึงเวลา ก็บอกว่า โลกนี้วุ่นวายหนอ แต่ว่าอยู่มานาน ก็ไม่พูด พอมาพบพระพุทธเจ้าก็ว่า ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ พอไปฟังเทศน์ กัณฑ์เดียว ก็บรรลุเลย

       วันนี้ขอพูดต่อว่า ผู้มีบารมี สิ่งดีๆก็เป็นไปได้ พอถึงเวลา ก็มีเหตุปัจจัย พระพุทธเจ้า ท่านเป็นสยัมภู มีบารมีอยู่แล้ว คือสิ่งที่มีจริง ถ้าไม่มีบารมี ก็ไม่ได้ จะไปซื้อหาไม่ได้ ร้านใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่มี คนเรามีบารมี อย่างขณะนี้ อาตมาโยงให้ฟังว่า คุณสุเทพ เทือกสุบรรณนี่ พอถึงเวลาก็ปรากฎ

       ที่พูดต่อไปนี้ ไม่ได้ระแวง แต่จะให้สติ คือประเด็นที่คนทั้งหลาย ยังระแวงว่า คุณสุเทพ คือประชาธิปัตย์ เพราะอยู่ ประชาธิปัตย์มานาน ทำงานให้ประชาธิปัตย์ มานาน เหตุการณ์ก็มี สมคล้อยว่า อภิสิทธิ์ หรือคนอื่น ในประชาธิปัตย์ ก็มีเชิงแสดงออก ขานรับ เตรียมปฏิรูปกับ กปปส. เหมือนรอรับ ที่คุณสุเทพ ทำตอนนี้

       ทั้งที่คุณสุเทพ สัญญากับประชาชน หลายที จบงานนี้ ผมจะหยุดเลิก แม้ประชาธิปัตย์ ก็ไม่กลับไปแล้ว เป็นสัญญา ประชาคม ได้ยินกันทั่วเลย แต่ถ้าคุณสุเทพ กลับกลอก มวลมหาประชาชน ไม่ยอมแน่ เพราะประชาชน ไม่เอาการเมือง น้ำเน่าแบบเก่าแล้ว

       ตอนนี้ เขาได้พัฒนาการ ซึ่งแบบเก่า เขาได้สร้าง ค่ายกลการเมือง จนถึงวินาทีนี้ เป็นเครื่องกล ทางการเมือง เขาเรียก วิศวะการเมือง อบรมบรรยายเลย

       แต่ตอนนี้ ประชาชนตื่นรู้ และรู้สัญญาณ ที่คุณสุเทพบอกมา เป็นประชาธิปไตย แบบที่ควรจะเป็น คุณสุเทพ ก็พยายาม ตนเองก็ลั่นปาก กับมหาประชาชนเลยว่า จะทำให้ได้ ก็เชื่อมั่นว่า กำนันสุเทพ จะทำได้ และมีธรรมะด้วย แม้ฝ่ายแดง เขาก็กล่าวธรรมะ แต่ว่ามันมี เทพกับอสูร ทำไมต้องมี สุเทพ เทวดาดีด้วยนะ

       คุณสุเทพ ผ่านงานการเมือง มานานแล้ว แต่ว่าไม่มีศึกไหน น่าภาคภูมิใจ เท่าศึกนี้ ถ้าทำได้ อย่างสำเร็จ เรียบร้อย คุณสุเทพ ได้เป็นรัฐบุรุษแน่ ตอนนี้เป็น เทวาสุรสงคราม ของสยามประเทศ

       การได้มาซึ่งอำนาจ ในการบริหารประเทศนั้น ของไทยมี ๕ แบบ
       ๑. อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       ๒. อำนาจรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
       ๓. อำนาจคณะรัฐประหารที่ได้มาจากการเลือกตั้ง
       ๔. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง
       ๕. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติอย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง

       อันนี้เป็นประชาชนปฏิวัติ โดยอำนาจที่มีมาในรธน. แต่อีกประเด็น คือลึกๆ ประชาชนปฏิวัติ โดยผิดบัญญัติ จากรธน. แล้วก็ทำได้สำเร็จ ถึงได้มันก็ยากกว่า เพราะไม่มีบัญญัติในรธน. แม้จะสงบเรียบร้อย ไม่มีอาวุธ

       แต่นี่เรานี่ ประชาชนปฏิวัติ โดยทำได้อย่าง สงบเรียบร้อย ไม่มีอาวุธ และมีบัญญัติไว้ ในรธน.ด้วย
       ซึ่งข้อ ๕ นี้อาจแบ่งได้สองอย่าง คือ
       (๕.๑ แบบมีบัญญัติในรธน. และแบบ ๕.๒ มิได้มีบัญญัติในรธน.)

มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งอํานาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้"

มาตรา ๖๘ (วรรคสอง) "ในกรณีที่บุคคล หรือพรรคการเมืองใด กระทําการ ตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบ การกระทําดังกล่าว ย่อมมีสิทธิ เสนอเรื่อง ให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคําร้องขอ ให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการ ให้เลิก การกระทํา ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือน การดําเนินคดีอาญา ต่อผู้กระทําการ ดังกล่าว”

มาตรา ๖๙ (การต่อต้านโดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๗๑ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์ชาติ และปฏิบัติ ตามกฎหมาย

       โดยมวลมหาประชาชน ที่ออกมาต่อต้านนี้ เป็นไปตามมาตรา ๖๙ เราประท้วง จนรัฐบาลยุบสภา และตามรธน.นี้ การจะได้มา ซึ่งอำนาจบริหารประเทศ ก็มีระบุไว้ในรธน. ให้กกต. พยายามจัดการเลือกตั้ง กกต. ก็พยายามให้ดี แต่ก็ปรากฎว่า ประชาชน ไม่ยอมมาใช้สิทธิ์ เลือกตั้ง มากกว่า ที่ไปใช้สิทธิ์ และต่อมา ก็ไม่สามารถ เปิดสภาได้ เพราะไม่สามารถ จัดการเลือกตั้งได้เสร็จ แต่นายกฯก็ยังบอกว่า ตนต้องรักษาการณ์อยู่นะ จะตายคาสนาม ประชาธิปไตย ซึ่งเขามีอำนาจรัฐ อยู่มากมาย แต่ก็ยังพ่ายแพ้เลย แม้มีอำนาจขี้โกง ทุจริตก็แพ้ แต่ก็ไม่ยอม แล้วพวกเรา ก็สุภาพ เราทำอย่าง ประนีประนอม ผู้ดีที่สุด เขากลับไม่เห็น ความเป็นผู้ดีสุภาพ กลับหยาบ หยามเย้นหยัน รีบทำอะไร ออกมา รีบทิ้งไพ่ออกมา เป็นกบฏ เลย พวกเราได้ทำ สิ่งดีประเสริฐ แก่ประเทศไทย ได้ขนาดนี้

       สิ่งที่จะช่วยให้ทุกอย่างคลี่คลาย คือ
       ๑. ตุลาการภิวัฒน์
       ๒. ประชาภิวัฒน์
       ๓. กรรมาภิวัฒน์ ซึ่งอยู่ที่การกระทำของตนเอง
       คนเราเมื่อมีเนื้อธรรมะอยู่ เมื่อถึงเวลาวาระ ก็แสดงออกมาได้

       ขอทวน ศีล สมาธิ ปัญญา และ ทาน ศีล ภาวนา

       พุทธธรรมนั้น แม้ผู้ครองเรือน ก็ปฏิบัติโลกุตรธรรมได้ ทุกเพศทุกวัย แม้เด็ก ที่เดียงสาเพียงพอ ก็ทำได้ หลักใหญ่ คือ ทาน ศีล ภาวนา และต้องมีสัมมาทิฏฐิ กำกับ และธรรมโลกุตระ ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ กับโลกีย์ ไม่หนีโลกีย์ด้วย แต่อยู่เหนือมัน ไม่หลงกับโลกีย์ ล้างกิเลสได ้ก็ไม่ติดโลกีย์ แต่อยู่กับโลกีย์เขาได้ ทำงานกับสังคม ไม่ย่อหย่อน ขยันกว่าเก่าด้วย

       ใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือขยายเป็น ๑๐ หรือในอนุปุพพิกถา

ทาน..ทานนี่ เพื่อเอากิเลสออก ล้างกิเลสออก ไม่ใช่ว่า ให้ของไป แต่ว่าใจกลับเอา เอาให้ได้มากกว่าเก่าอีก ตะกละมาก ทานแบบนี้ ไม่มีผล นัตถิ ทินนัง กิเลสหนาขึ้นๆ อาจได้ผลบ้างในสังคม เราออกกำลัง แรงงาน ช่วยโลก ก็เป็นผลดี ก็ได้แค่นี้ แต่ทางธรรมนั้น ไม่ได้เลย ทางปรมัตถ์ไม่ได้เลย นี่คือ นัตถิ ทินนัง หมายถึง ไม่ได้ผลล้างกิเลส

ในอุนุปุพพิกถา
ศีล
สัคคะ (สวรรค์)
กามาทีนวะ โทษของกาม
เนกขัมมะ การออกจากกาม

       คนจะเป็นโสดาบัน จิตต้องเข้ากระแส รู้สุขเท็จ ที่เป็นกามสุขขัลลิกะ เป็นการได้สุข จากการบำเรอกาม เรียกว่า กามคุณ แต่ว่าใน อนุปุพพิกถา นั้นไม่เรียกกามคุณ จริงคุณบำเรอกาม บำเรอโลภ คุณสุข แต่เป็นสวรรค์เท็จ ซึ่งพระยสะ เป็นอุคติตัญญู ฟังธรรมกัณฑ์แรก เป็นโสดาบัน จะรู้ว่า กามนี้เป็นโทษ ไม่ใช่คุณ ยสะมานพ จึงเป็นโสดาบัน เพราะเนกขัมมะได้ ถ้าใครได้ฟัง ก็เปลี่ยนเลยทันที ก็เป็นโสดาบัน แต่ถ้าฟังเข้าใจ แต่ยังเปลี่ยนไม่ได้ ก็เอาไปทำ ใจในใจ อ่านจิตออก ว่าอาการอย่างนี้ อาการกาม เป็นสวรรค์โลกีย์ สงบแบบได้ออกจากกิเลส

       เทวดาทั่วไป เป็นสมมุติเทพ คนปุถุชนทุกคน ทั่วโลก รู้หมด เป็นอาริยะก็รู้ แต่ผู้อาริยะ รู้ทั้งสองอย่าง ทั้งแบบโลก และแบบโลกุตระ

       ที่พยายามอธิบาย ละเลียดนี้ เพื่อให้รู้ ทางออกจากโลก ที่วนเวียน สุขทุกข์ อยู่อย่างเดิม หาทางออกไม่ได้ แต่โลกุตระนั้น หาทางออกได้ คือนิพพาน

       ที่เขาเรียนกันสารพัด แต่แตกไม่ออก แยกสวรรค์ไม่ได้ หรือแม้แต่ ทานมีผลนี้ทำไม่ได้

       ทาน ศีล ภาวนา นั้น ภาวนาคือการเกิดผล เป็นอาริยธรรม เมื่อปฏิบัติทานหรือศีล ให้เกิดผลเป็น ภาวนา ถ้าไม่สามารถ เกิดผลในจิตได้ อย่างเก่ง คุณก็สุจริตอยู่ในโลก มีลาภ ยศ สรรเสริญ ไปตามโลกเขา ที่ตั้งหลักเกณฑ์ไว้ เช่น เอาเปรียบกัน เขาตั้งราคาแล้วคนก็จำนน ยอมซื้อ ด้วยบังคับ หลอกล่อ ให้เขาอยากได้ แม้แพงก็ยอม ทั้งที่เอาเปรียบเขา

       แต่ของโลกุตระนั้น ปฏิบัติให้เกิดผล ลดกิเลส ทานนี่แหละ มีผลลดกิเลส ไปหานิพพานได้ เป็นระดับไหน ก็ทาน จนหมด ก็ไม่มีอะไร จะทานแล้ว มีแต่ธรรมทาน อรหันต์นั้น กิเลสหมดแล้ว ก็มีแต่ธรรมทาน เหลือแรงงาน กับธรรมะ

       ส่วนศีล นั้นเขาก็บอกกันว่า ปฏิบัติศีล ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่สมาธิ ต้องไปนั่งหลับตา เป็นสมาธิ

       ทำไมทานจึงเกิดฌาน เพราะรู้จัก จิตในจิต จิตรู้จักล้างกิเลส ฌานคือ จิตว่างจากกิเลส ไม่ใช่จิตเข้าภวังค์ ถ้าไปกำหนดว่า ฌานคือเข้าภวังค์ ไม่ใช่แบบพุทธแน่

       ฌาน คือไฟเพ่งเผา เพ่งเผากิเลส ไม่ใช่เผาเลอะหมดเลย เหมือนจะจับโจร ก็ไปเผา ทั้งประเทศเลย แล้วโจร หนีไปไหน ไม่รู้แล้ว ไม่ใช่ฌาน

       ฌานคือเผากิเลส ฌาน นั้นมีเงื่อนไขที่ ปราศจากนิวรณ์ ​๕

       ก็ต้องรู้จัก อาการ กาม อย่างเช่น คุณทำทานไป ก็ต้องอ่านจิตตนให้รู้ ประกอบด้วย ญาณปัญญา ถ้าไม่มี ญาณปัญญา ก็เป็นการกดข่มไว้เฉยๆ ไม่เพ่งเผา หรือไปเพ่งกสิณ ไม่ใช่แบบนั้น แต่ว่าต้องรู้จิต แยกกุศล อกุศล ในจิตออก แยกกายในกาย เวทนาในเวทน จิตในจิต ธรรมในธรรม

       อ่านเข้าไปตั้งแต่ กายนอกกาย เข้าไปหากายในกาย เป็นอารมณ์สุขทุกข์ มันมีเหตุ ก็ค้นหาเหตุ ในอารมณ์สุขทุกข์ อย่างปัจจุบัน ตอนลืมตา ตื่นเห็นๆ มองอะไร ก็เกิดอาการจิต ว่าเป็นกาม อยากได้ หรืออยากเสพ มีอาการอารมณ์เกิด เราก็รู้ และล้างมัน ว่ามันไม่เที่ยงหรอก ตอนสัมผัส เกิดอารมณ์สุข แต่พอไม่ได้สัมผัส อารมณ์สุขก็หายไป เหลือแต่ความจำ หากติดมาก ก็เอาสัญญาเก่า มาปรุงอีก เหมือนขยำขี้ เอาสัญญา มาระลึก ความรู้สึกดีๆ แล้วจำ ความรู้สึก ดีๆนี้ไว้ แล้วหลงสุข ไม่เจอเธอ ก็เอาสัญญา มาระลึกเพลิน สุขฉะนี้ มีฤาจะลืมๆๆ เธอตายไปแล้ว ก็ยังไม่ลืม คุณตายไป ก็หอบไปด้วย เป็นอนุสัย เป็นความไม่รู้ จองเวรภัย ติดไปเป็นของกู เป็นแค่ความจำ ยึดถือไว้ใน อุปาทาน เป็นแค่จิตมันติด ไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา จะไม่พรากจากกัน สะสมไว้แน่นหนา ท่านจึงใช้คำว่า ปุถุ แปลว่าหนา ไม่รู้กี่ชั้นๆ ไม่เรียกกิเลสใหญ่ หรือโต แต่เรียก กิเลสหนา อนุสัยซับซ้อน ทับซ้อนกันไป

       ศีล คือ องค์ที่เรากำหนดไว้ปฏิบัติ เช่นศีล ๕ และรู้จักขอบเขตของศีล แต่ละข้อๆ
       ศีลข้อ ๑ ก็ไม่ฆ่า และชาวโศกกินความไปถึงไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย เพื่อให้ลดละความโกรธ
       ศีลข้อ ๒ ไม่ลักทรัพย์ ก็ให้เกิดความเสียสละ ละความโลภ เห็นแก่ตัว
       ศีลข้อ ๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม แค่มีผัวเดียวเมียเดียว ต้องเอาใจกันนี่ ก็ทุกข์มากแล้ว

       พิจารณาให้เป็นว่าไม่เที่ยงไม่จริง ทั้งกิเลสและอารมณ์ และลึกที่สุด จิตก็ไม่มีจริง แต่ต้องระดับ พระอรหันต์ เป็นต้นไป อรหันต์ท่านมีจิต แต่ก็ไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีเรา ซักนิดเดียว

       ในศีล ๕ นี้ก็ไม่จัดจ้านมาก ลดละพอประมาณ ไม่ใช่ศีล ๕ แต่อย่างไปหลงสรรเสริญ มากเกินไป อยากให้คน ยกย่อง เชิดชูมากไป ก็ลดละไปบ้าง จะไปติดทำไม ผ่านมันให้ได้ เรียกว่า ตามลำดับของกิเลส ๓ ระดับ คือระดับแรก

๑.    วิติกกมกิเลส (กิเลสหยาบๆ เห็นง่ายๆ ในสามัญสำนึก)
๒.    ปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสขั้นกลาง ผุดเกิดในจิตใต้สำนึก)
๓.    อนุสัยกิเลส (กิเลสละเอียด แตกตัวลึกๆ อยู่ในจิตไร้-สำนึก)

       มันเป็นผู้มาเยือน เป็นแขกของเรา เราไปหลงว่า มันเป็นของเรา เป็นใหญ่ในตัวเรา กิเลสมันสนิท เนียนมากเลย แต่เราต้องพิจารณาว่า ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราไปหลงนึกหวงแหนว่า เป็นเราเป็นโลภะ จองเวรกรรม เป็นโทสะ และหลงเสพรส ว่าเป็นสุข ต้องได้ต้องเสพ เป็นสุข นี่คือราคะ

       แม้แต่ความอยากได้อารมณ์เฉยๆ นั่นคือ ราคะหรือโลภะ มันอยู่กับเรา ตลอดเลย ได้สัมผัส รสสงบสุขเย็น ไม่มีอะไรเลย ก็คืออัตตา เราไปยึด ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์

       มันไม่เที่ยง แม้หนีไปอยู่ป่าเขาถ้ำ ก็ตาม ไม่มีผัสสะมาก ทำเป็นลืม ไม่ได้เกิดปัญญาญาณ ว่าไม่เที่ยง เป็นเหตุ แห่งทุกข์ เราต้องรู้จักกิเลส ที่เราได้ล่วงพ้นมาแล้ว เรียกวิติกมากิเลส เราได้พ้น วิตกมะ หรือ สัมมติกมะ เราได้ทำลาย หรือเข้าถึง ล่วงพ้นแล้ว เรียกอุปสมะก็ได้ เข้ามาสู่ภูมิสูงขึ้น ออกจากภูมิต่ำได้ นี่คือ การเข้าการออก ไม่ใช่ไปนั่ง เข้าฌาน ไปอยู่ในอาการ ไม่มีกิเลส ในช่วงระยะหนึ่ง สะกดไว้ โดยกสิณ แล้วออกจากภวังค์ คุณก็มีกิเลส เหมือนเดิม ถือว่าออกจากฌาน สมาธิ สมาบัติ ได้อธิบายอย่างนี้ ทำอย่างนี้นานๆ ก็ชำนาญได้ แต่คุณไม่ได้รู้เหตุ ดับเหตุ ไม่ได้เกิด ญาณปัญญา ไม่มีโสฬสญาณ แต่กดข่มด้วยวิธี นานาสารพัด

       วิปัสสนาวิธีของพุทธนั้น รู้จักวิธีลดละกิเลส ให้หมดถาวร ไม่กดข่ม เราตัดรอบตามศีล เช่นเสียง เราก็เอาแค่นี้ไป เพราะแค่นี้ ไม่ต้องเอาจัดจ้านมากๆ พิศดาร มากๆ ไม่ใช่ คุณหยุดคุณพอ ลดลงๆ ให้น้อยลงๆ ศีล ๕ ก็กำหนดให้ กามคูณ ๕ พอประมาณ สมมุติว่า คุณเอากิเลสออกได้ ล้างออกได้ ล่วงพ้นได้ วีติกมะ หรือสมติกมะ มีอุปสมะ เข้าสู่ภูมิสูง ได้แล้วได้เลย ออกจากอบาย มาสู่ภพกาม เข้าสู่ความเป็น ฌานสมาบัติ หรือหลุดพ้น สมติกมะ มาได้ เป็นสภาพ วุฏฐานะ ออกจากอบายสัตว์ เป็นสัตว์สูงขึ้น นี่คือ การเข้าการออก

       ออกอย่างลืมตา เห็นเหตุปัจจัย แต่กิเลสนั้นดับไป โดยไม่ต้องเข้าต้องออกอีก ออกแล้วออกเลย เป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ไม่ต้องวนเวียน เข้าๆออกๆอีกเลย

       ฌานหรือสมาบัติ เป็นผล เรียกว่า ฌานสมาบัติ สมาธิ เรียกว่า นิโรธสมาบัติ ทำอย่างลืมตา ทำได้แล้ว ไม่ต้องไป เข้าๆออกๆอีก สุดท้าย เป็นอรหันต์แล้ว ไม่ต้องเข้าต้องออก ตรงไหน

       ถ้าเป็นโสดาฯ ก็ต้องออกจากโสดาฯ เข้าสู่สกิทาฯ ....สูงขึ้นๆ ตามลำดับๆ สุดท้าย เป็นอรหันต์ ไม่มีภพ จะเข้าอีกแล้ว มีแต่โพธิสัตวภูมิ …

       อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ก็คือปฏิบัติให้จิตพ้นจากศีล แต่ละลำดับๆ เป็นกรอบ เป็นลำดับ ศีลกับสมาธิ ไม่ได้แยกกันเลย ทุกวันนี้ เขาให้ไปปฏิบัติ แยกส่วนกันหมดเลย ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

       คนไปนั่งสมาธิหลับตา เหมือนพระพุทธเจ้า แล้วมีระลึกของเก่า หากมีปัญญา มีสยังอภิญญา ระลึกก็ได้ แต่ถ้าไม่มีบารมี คุณไม่ได้หรอก ได้แต่ฟุ้งซ่าน ได้แต่สร้างวิมาน ปรุงแต่งเอง สมมุติเอง เป็นมายาหลอกเยอะ ปั้นเอา เหมือนสำนัก บางสำนัก ที่ปั้นสวรรค์หลอกกัน เป็นรูปร่างสีสัน มีเครื่องมือเนรมิต เขาก็ชอบรสนิยม แบบนั้น เหมือนหมาหลงขี้ นึกว่าอร่อย

       สรุปแล้ว คำว่าฌาน คือเพ่งเผากิเลส จิตก็สะอาด แล้วก็รักษาผล อนุรักขณาปธาน ที่ได้จาก ภาวนาปธาน เป็นจิตตั้งมั่น ซึ่ง สมาธิ นั้นภาษาอังกฤษว่า Concentration เป็นการรวมจิต เป็นภาษาสามัญ รู้กันทั่ว แต่ของ พระพุทธเจ้านั้น คือสมาธิ ที่เพ่งรู้จักสิ่งสัมผัส จากสิ่งที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่มหาภูตรูป เข้าไปสู่ อุปาทายรูป

       เป็นกายในกาย เราต้องใช้ สัญญา ในการกำหนดรู้ ในนามรูปนั้นๆ รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นามรูป คือ รู้สิ่งที่เป็นนาม นามที่ถูกรู้ จึงกลายเป็นรูป

       อย่างนาฬิกา หรือขวดนี้เป็นรูป ไม่มีนาม แม้ต้นไม้มีชีวะ แต่เป็นชีวะที่ ไม่มีนามธรรม เป็นชีวะระดับต้น ไม่ครบธาตุของ นามธรรม ซึ่งนามธรรมที่ครบ คือ เวทนา สัญญา สังขาร รวมกันเป็น วิญญาณ​

       ต้องมีผัสสะ จึงเกิดวิญญาณ ผัสสะทางทวาร ๕

       มีองค์ประชุมเรียกว่า นามกาย อย่างรูปกายนั้น ไม่ต้องพิจารณาอะไรมาก สัมผัสทางตา หู ก็เห็นได้รู้ได้ แต่ว่าต้องไป พิจารณาอารมณ์ ที่เกิดจากการปรุงแต่ง ตัวกิเลสเป็นตัวการ เราต้องวิจัยถึงเหตุ แล้วกำจัดมันด้วย ปหาน ๕ ให้เกิดวิปัสสนาญาณ ๑๖

๑.    นามรูปปริเฉทญาณ ญาณจำแนกรู้รูป-รู้นาม  และ นามธรรม ก็เปลี่ยนเป็น “รูป” ให้ถูกจับมารู้อีกที
๒.    ปัจจยปริคคหญาณ ญาณรู้ปัจจัยของการก่อเหตุให้เกิด เป็นปัจจัยของอะไรๆ ตามมา ให้เกิดเวทนาอีก
๓.    สัมมสนญาณ ญาณรู้เห็นรูป-นามของกิเลสตัณหา ซึ่งยังวนๆ อยู่อย่างเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่เที่ยง

       ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นไม่ได้แยกกัน ศีลคุณก็ปฏิบัติมีกรอบ ให้เกิดฌาน เพ่งเผา ดับกิเลส ได้แล้ว ก็สั่งสมผล จนเที่ยงแท้ นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไร หักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) จนมันเป็นเอง อัตโนมัติ สัมผัสเกี่ยวข้องกัน ไม่มีการซึมซับ ปรุงแต่ง ไม่เกิดปฏิกิริยา แก่กันเลย เช่นหลายคน นั่งอยู่ตอนนี้ อะไรที่คุณเอง เฉยๆกับมัน เช่น ผู้ชายเห็นลิปสติก ก็ไม่ชอบหรือชัง จะราคาแพงอย่างไร ก็เฉย จิตคุณ ไม่ได้ยินดียินร้ายอะไร จิตเป็นกลาง แต่รู้กับเขาได้ว่า เขาติดยึดกัน

       หรือผู้หญิงเห็นผู้ชายกินเหล้า เราไม่ติดเหล้า เห็นเขากิน เราไม่รักไม่ชัง บางคน อาจเคยชิม รสมันอย่างนี้ หรือ ผู้ชายสูบบุหรี่ ก็รู้ว่า กลิ่นมันเป็นอย่างไร มันไม่ได้ติดกัน ง่ายๆนะ อย่างสูบใบยานี่นะ รับรองไม่ไหว มันไม่น่าติดเลย

       สรุปแล้วคุณไม่ติด ก็ไม่ผลักไม่ดูด ไม่รักไม่ชัง ก็รู้ว่าเป็นภาระที่เขาไปติด เราไม่ติดเลย นี่คือ ลักษณะของ สภาพธรรม

       
 

   www.asoke.info