570312_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ผ่านฟ้าลีลาศ
เรื่อง กติกาประชาธิปไตย ตอน ๒

กติกาประชาธิปไตย อำนาจในการปกครองประเทศ ตามรัฐธรรมนูญนี้ ของประเทศไทย
มาตรา ๑ ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม

มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และ ความเสมอภาค ของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เสมอกัน

มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันบังคับมิได้

มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

หมวด ๑ บททั่วไป ของรัฐธรรมนูญนี้ มีอยู่เท่านี้ ตามนี้
ดังนั้น ตามวิธีการ และวิถีทางในรัฐธรรมมนูญนี้ มีอยู่เช่นใดบ้าง เรามาวิเคราะห์ (define) วิจัย(research) กันให้ละเอียดๆซิ

ชัดเจนในมาตรา ๑ นะ ว่า หากมีใคร แสดงอาการใดออกมา เพื่อแบ่งแยก ราชอาณาจักร ของประเทศไทย มิได้เด็ดขาด

และมาตรา ๒ ก็ชัดเจนนะ ว่า การปกครองบริหารประเทศไทย นั้นคือ ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เป็นอย่างอื่น ที่ต่างไปจาก ประชาธิปไตย ๒ ขานี้ไม่ได้

เพราะฉะนั้น อาณาจักรไทย หรือแผ่นดินไทยนั้น เป็นของคนไทยทุกคน ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นแหล่งแห่งที่ ที่ทุกคน ต้องอาศัยอยู่ ตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกคน จึงมีสิทธิและหน้าที่ ต้องช่วยกันปกป้อง คุ้มครองพิทักษ์ รักษาไว้ด้วยชีวิต ของทุกคน ไม่ละเว้น

อำนาจ แรกเริ่มต้นที่ได้มาปกครอง บริหารประเทศ ในแผ่นดินไทย หรืออาณาจักรไทยนี้ คือ อำนาจของ พระมหากษัตริย์ ตามระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งบรรพบุรุษ แห่งพระมหากษัตริย์ ทรงได้มาด้วยพระวิริยานุภาพ ทรงแลกด้วย พระโลหิต และพระวิญญาณโดยแท้ และได้ทรงคุ้มครอง ปกป้องพิทักษ์รักษา มาโดยธรรม สืบสันตติวงศ์ มาแต่ต้น ที่เป็นประเทศไทย ตราบกระทั่งถึง พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ จนกระทั่ง ได้เปลี่ยนระบอบ เป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ไม่เหมือน การปกครองบางประเทศ เช่น ไม่เหมือนอเมริกา เป็นต้น

มาตรา ๓ ก็ยิ่งชัดละเอียดเพิ่มมากขึ้น ว่า อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรม

และมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ยิ่งเพิ่มสิ่งที่มนุษย์ มีให้แก่มนุษย์ ครบสิ่งที่ควรได้ ควรมี ควรเป็น ยิ่งขึ้น โดยบทบัญญัติ กฎหลักเกณฑ์ คือ รัฐธรรมนูญ เช่น ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ก็ดี สิทธิ ก็ดี เสรีภาพ ก็ดี และความเสมอภาค ของบุคคล ก็ดี ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง เสมอกัน ตามรัฐธรรมนูญนี้

ส่วน มาตรา ๖ นั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันบังคับมิได้

รัฐธรรมนูญ กับกฎหมาย กับธรรม ของสังคม ที่นับถือประชาธิปไตย จึงเป็นดั่งเดียวกัน กับศีล กับวินัย กับธรรม ของพุทธศาสนิกชน ในศาสนาพุทธ ซึ่งรัฐธรรมนูญ กับกฎหมาย กับธรรม เป็นใหญ่กว่าบุคคล

สำหรับบุคคลนั้น ผู้จะเป็นใหญ่กว่า "รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ธรรม หรือจะเป็นใหญ่กว่าศีล วินัย ธรรม ของสังคม ที่นับถือ ประชาธิปไตย หรือพุทธศาสนา" ก็อยู่ที่บทบัญญัติ ที่มีในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ธรรม หรือมีในศีล วินัย ธรรม ในบทบัญญัติที่กำหนด "อภิสิทธิ์" แก่พระมหากษัตริย์ ก็เช่น ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ เป็นต้น หรือ แก่พระอรหันต์ ก็เช่น ในพระวินัย "อธิกรณสมถะ ๗" ข้อ ๒ "สติวินัย" เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกัน

ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตย จึงตรงกันกับศาสนาพุทธโดยแท้ คือ แม้แต่ผู้ที่เป็นประมุข ของประเทศ หรือประมุข ของศาสนา ก็ต้องมีอำนาจใหญ่กว่าศีล กว่าวินัย กว่าธรรม ไม่ได้

ซึ่งก็หมายความว่า ในระบอบประชาธิปไตย กฎเกณฑ์สำคัญที่สุด ของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ จึงเป็นใหญ่ที่สุด แม้แต่ในระบอบ ประชาธิปไตย ๒ ขา คือ มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ก็ยังยกให้รัฐธรรมนูญ เป็นใหญ่

ส่วนประเทศใดจะยก"อำนาจอภิสิทธิ์" หรือจะ "จำกัดก็ดี ลิดรอนก็ดี" ซึ่งสิทธิอำนาจ พระมหากษัตริย์ ของแต่ละประเทศ ก็แล้วแต่ประชาชน ของประเทศนั้น จะตรากำหนดกฎเกณฑ์ไว้ ในรัฐธรรมนูญ

สำหรับ ประชาชน ย่อมมีสิทธิส่วนตัว ที่จะยกให้พระมหากษัตริย์ หรือจะยกให้พระอรหันต์ แม้จะไม่ยกให้ ก็ตามปัญญา และความศรัทธา ของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นอิสระเสรีภาพ ส่วนตัวอยู่แล้ว ตามระบอบ ประชาธิปไตย หรือ ตามพุทธศาสนา

เพียงแต่ว่า หากผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่นับถือ พอที่จะยกให้ ก็ตาม ก็ละเมิดมิได้ ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ของประเทศ ประชาธิปไตย หรือละเมิดมิได้ ตามบทบัญญัติในศีล วินัย ของพุทธศาสนา ซึ่งในความเป็นจริง แห่งสัจธรรมนี้ สำหรับพระมหากษัตริย์ หรือพระอรหันต์ ภูมิธรรมจริง ที่มีจริงแท้ ในแต่ละท่าน

ท่านจะสามารถอยู่กับกฎเกณฑ์ อันเป็นรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรืออันเป็นศีล วินัย ได้อย่างดียิ่ง อย่างทนได้ โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ก็เป็นไปตามภูมิแห่งธรรม ของท่านแต่ละท่านเอง ที่มีจริง เป็นจริง

ดังนั้น บุคคลใด จะอยากได้ "อำนาจ" มาให้แก่ตนนั้น จึงมีจริง สำหรับผู้มีกิเลส เห็นแก่ตัว จึงทุกข์ อาจละเมิด ตามแรง ของกิเลสนั้นๆ

ส่วนผู้ที่มีภูมิธรรมพอ หรือสูงจริง ก็จะไม่มีกิเลส อยากได้มาให้ตน ซึ่งไม่ต้องไปกำหนด มีบทบัญญัติไว้ให้ท่านก็ได้ จะกำหนด บทบัญญัติ ไว้ให้ท่านก็ได้ ไม่ว่าบทบัญญัตินั้น จะห้ามหรือจะอนุญาต ได้ทั้ง ๒ สถาน ไม่มีปัญหา สำหรับ ท่านผู้มีภูมิธรรม ที่ไม่มีตัวตน หรือไม่เห็นแก่ตัว อย่างแท้จริง แม้จะมีภูมิธรรม ยังไม่สูงสุด ก็เป็นได้จริง ดีมาก ดีน้อย จริงไปตามภูมิ ที่สูงที่ต่ำนั้นๆ ของแต่ละ ฐานานุฐานะ

ดังนั้น ความมี "อำนาจ" หรือมี"อธิปไตย"ในตน ที่จะใช้ในสังคม ตามกิเลสของตนเองนั้น จึงจะถูกจำกัดด้วย บทบัญญัติ และด้วยภูมิธรรม ของแต่ละคนจริง จะทุกข์จะสุข จะทำดี ทำไม่ดี จะละเมิดกฎ หรือไม่ละเมิดกฎ จึงขึ้นอยู่กับ ภูมิธรรมจริง ของผู้มีจริง

คำว่า อธิปไตย หรืออำนาจ ที่เป็นของประชาชน ตามระบอบ การปกครองของไทย จึงต้องมาวิเคราะห์(define) วิจัย (research) กันให้เข้าถึงความจริง ที่สำคัญ ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดูซิ

‘ "อำนาจ" หรือ "อธิปไตย" เป็นเป้าหมายสำคัญ ที่เรากำลังวิเคราะห์ วิจัยกันอยู่นี้ ว่า การได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครอง บริหารประเทศ ประชาธิปไตย ตามที่เป็นไปได้ หรือเป็นอยู่จริงนั้น มี ๕ แบบ
๑. อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็น "รัฐาธิปัตย์" ของระบอบประชาธิปไตย ๒ ขา
๒. อำนาจรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้
๓. อำนาจคณะทหาร ที่ได้มาจากการปฏิวัติ หรือรัฐประหาร อย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้
๔. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติ หรือรัฐประหาร อย่างไม่สงบ มีอาวุธ รุนแรง ไม่เป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
๕. อำนาจประชาชนที่ปฏิวัติ หรือรัฐประหาร อย่างสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่รุนแรง เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

อำนาจที่จะวินิจฉัย กรณีใด ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๗ และเป็น"อำนาจ" ที่บริบูรณ์ด้วยสิทธิ โดยมีการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อ ให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ที่ชอบธรรมกว่า เพราะดีงามยิ่งกว่า เนื่องจากได้ใช้ วิธีการซึ่งเป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ยิ่งกว่า

‘ บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๙ มีว่า
"บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้"

เราต้องพิจารณาดูว่า อำนาจที่ได้มา โดย "การกระทำของบุคคล หรือของกลุ่มหมู่บุคคล" ใด? ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศนั้น ว่า ถูกต้องตามนิติรัฐ และหรือดีงาม ตามนิติธรรม ดีพร้อม ด้วยคุณธรรม จริยธรรม ถูกสัจธรรม หรือไม่? ซึ่งจะมีได้ ทั้งที่มีบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือมิได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ว่า "การกระทำ ของบุคคล หรือของกลุ่มหมู่บุคคล" ที่จะสมควร ต้องยกให้ เป็นผู้ได้อำนาจ ในการปกครองประเทศ

การพิจารณา ก็พิจารณาและตัดสินได้จากประเด็นต่างๆ ดังนี้
(๑) อำนาจฯที่ได้มาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
(๒) อำนาจฯที่ได้มาไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
(๓) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
(๔) อำนาจฯที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
(๕) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
(๖) อำนาจฯที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้
(๗) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่วิถีทางไม่เป็นไป ตามสัจธรรม ไม่มีคุณธรรม ไม่ดีงาม ไม่สงบ ใช้อาวุธ รุนแรง ไม่สันติวิธี
(๘) อำนาจที่ไม่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ แต่วิถีทาง เป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
(๙) อำนาจที่ใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทางเป็นไปตามสัจธรรม มีคุณธรรม ดีงาม สงบ ไม่ใช้อาวุธ ไม่รุนแรง สันติวิธี
(๑๐) อำนาจที่ได้มา โดยการใช้วิธีการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้แล้ว แต่วิถีทางเป็นผู้กระทำไม่ซื่อสัตย์ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับรัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควรมีอำนาจแล้ว
(๑๑) อำนาจที่ได้มา โดยการใช้วิธีการไม่ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทาง เป็นผู้กระทำ ไม่ซื่อสัตย์ ไม่เที่ยงตรง กระทำขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ กระทำผิดรัฐธรรมนูญนี้ ผิดจริยธรรม กบฏ จึงไม่สมควรมีอำนาจเลย
(๑๒) อำนาจที่ได้มาโดยวิธีการไม่มีบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ แต่วิถีทาง เป็นผู้กระทำ ที่ซื่อสัตย์ ที่เที่ยงตรง กระทำไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ เป็นแต่เพียง รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ผู้กระทำการใดๆ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ จึงสมควรมีอำนาจกว่า ข้ออื่นๆที่ผ่านมา (ประเด็นนี้ คือ ประเด็นที่จะต้อง วินิจฉัยตาม บทบัญญัติ ที่มีในรัฐธรรมนูญนี้ เช่น มาตรา ๓ มาตรา ๗ และมาตรา ๖๓ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ เป็นต้น และมาตราอื่นๆอีก)
(๑๓) หากอำนาจที่ได้มา โดยวิธีการมีบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทางเป็นผู้กระทำที่ซื่อสัตย์ ที่เที่ยงตรง กระทำ ไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ผิดจริยธรรม ไม่กบฏ และเท่าที่รัฐธรรมนูญนี้ ก็ได้บัญญัติไว้ ผู้นี้แลสมควร เป็นผู้มีสิทธิ ในอำนาจ การปกครองประเทศได้แล้ว เพราะมีความถูกต้อง ดีงามสูงสุด ยิ่งกว่าข้อใดๆ เท่าที่ประมวลความเป็นอยู่ มีอยู่จริง ทั้งหมดแล้ว
(๑๔) ที่สุดนั้น ผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใด ควรเป็นผู้มีสิทธิ ในอำนาจการปกครองประเทศ สัมบูรณ์สุด ก็ต้องตามวิธีการ ที่มีในบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญนี้ เพราะผู้นั้น หรือกลุ่มบุคคลนั้น มีวิถีทางที่เป็นไป ตามความถูกต้อง ดีงาม มีศีลธรรม และสัจธรรม สูงสุดกว่า ผู้ใดหรือคณะ บุคคลอื่นใด อย่างบริบูรณ์ สัมบูรณ์ นั่นคือ บุคคลนั้น หรือ คณะบุคคลนั้น ใช้วิธีการ ก็ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ และวิถีทาง ก็เป็นไปตาม บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้

‘ อำนาจประชาชน ที่ต่อต้าน และล้มล้าง จนกระทั่ง ได้พิทักษ์อำนาจนั้นไว้ได้ อย่างชอบธรรม หรือจะใช้ภาษาพูด กันตรงๆว่า อำนาจประชาชน ปฏิวัติโดยชอบธรรม ก็ไม่ผิดสัจธรรม

เรามาแยก คำความดูชัดๆ ว่า มาตรา ๗ นี้มีว่าอย่างไร
๑) ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
๒) บังคับแก่กรณีใด
๓) ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป
๔) ตามประเพณีการปกครอง
๕) ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทีนี้ ใน มาตรา ๒ ก็มีชัดๆว่า ประเทศไทย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ซึ่งแปล ขยายความหมายจาก มาตรา ๒ อีกทียืนยันไว้ใน มาตรา ๓ โดยแปลคำว่า "ประชาธิปไตย" ให้ชัดเจนขึ้น คือ อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น (ซึ่งเป็น "อธิปไตยที่เป็นของประชาชนชาวไทย") ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

อย่าลืมว่า อำนาจ ที่รัฐสภา..ใช้ ก็ดี หรือคณะรัฐมนตรี..ใช้ ก็ดี และคณะศาล..ใช้ ก็ดี นั้น ล้วนเป็น "สิทธิ" ที่สามารถใช้ทำได้ เท่าที่ทำได้ตาม "หน้าที่" เท่านั้น

ซึ่ง อำนาจ นัยนี้ ไม่ใช่"อำนาจ"ที่หมายถึง อำนาจอันเป็นของประชาชน เต็มสภาพ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒ และมาตรา ๓ ที่กำหนดชัด ว่า หมายถึงความเป็น"อำนาจอธิปไตย" (sovereignties) ที่เป็นของประชาชน แต่ละคน ทุกคนไทย ถ้วนหน้า ในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะ "อำนาจ" (power) นี้ก็แค่เพียง "อำนาจ" ที่เป็น "อำนาจแทนผู้อื่น" เท่านั้น ที่สามารถใช้ "ทำงาน" รับใช้ประชาชน จึงไม่ใช่ "อำนาจ" ที่หมายถึง "อำนาจ" อันชื่อว่า "อำนาจอธิปไตย" (sovereignty) เพราะเป็นแค่ "อำนาจ" เท่าที่ได้รับมอบ "สิทธิ" ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือในกฎหมายอื่น ให้ทำงานได้เท่าที่ ขอบเขตของ "หน้าที่" ซึ่งได้กำหนด บัญญัติไว้ให้เท่านั้น "อำนาจแทนผู้อื่น" นี้ สำหรับรัฐสภา กับคณะรัฐมนตรี นั้น เป็นอำนาจ แทนประชาชน

ส่วน ศาลนั้น เป็นอำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ประชาชน จึงต้องช่วยกัน ทำหน้าที่ประชาชน อย่างยุติธรรมที่สุด ดีงามที่สุด ทุกหน้าที่ ที่แต่ละคนมี แม้แต่หนัาที่ ของประชาชน ยิ่งหน้าที่ ที่แต่ละคน ต้องรับผิดชอบ ทุกคนควรสำนึก และต้องเอาภาระ ให้มากเถิด ไม่ควรดูดาย อย่าเป็นคน ตกอยู่ในภาวะแห่งความกลัว (ภยาคติ) จนเกินไปนัก อย่าให้อำนาจกิเลส ที่มันหลงลาภยศ สรรเสริญ กดหัว มากเกินไปเลย ยิ่งในกาละ สังคมวิกฤติหนักสุดๆ เดือดร้อนสาหัสสากรรจ์ อย่างขณะนี้

ขอให้ทุกคน ระดมกำลัง ช่วยกันเต็มที่ ทำให้เสร็จเรียบร้อย บริบูรณ์เสียก่อน แล้วค่อยนำขึ้น กราบถวายบังคมทูล จึงจะไม่ระคายเบื้อง พระยุคลบาท

เพราะอำนาจ ของประชาชน บุคคลย่อมมีเสรีภาพ ทั้งในการชุมนุมประท้วง (protest,rally, demonstrate) ตามบทบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ เช่น มาตรา ๖๓

และบุคคล ย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี ตามบทบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ คือ มาตรา ๖๙ แม้กระทั่ง มีสิทธิ และเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ปกครองประเทศ ตามบทบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ คือ มาตรา ๖๘ และ มาตรา ๖๙

ประเด็นที่ว่า "บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งเป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ย่อมกระทำได้

ถ้าแม้นทำความเข้าใจ ในมาตรา ๖๘ และมาตรา ๖๙ นี้ให้กระจ่างแจ้ง ชัดคมลึก แม่นตรง สัมบูรณ์จริง ปัญหา ที่กำลังเกิดอยู่ ในสังคมไทย ณ ลมหายใจเฮือกนี้ จะจบลงได้ทันที มาวิเคราะห์วิจัยกัน ให้ชัดเจนละเอียดๆ กันดูซิ

บทบัญญัติ มาตรา ๖๘ ในรัฐธรรมนูญนี้ มีชัดๆดังนี้
"บุคคลจะใช้สิทธิ และเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้"

ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ นี้ มี ๒ ประเด็นใหญ่ ได้แก่
(๑) ในประเด็นที่ว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้"

นี่คือ ประเด็นสำคัญยิ่งใหญ่ ประเด็นแรก บุคคลใด ในประเทศไทยทุกคน ไม่ว่าใคร "ทำมิได้" ทั้งนั้น นั่นคือ ใครใด ก็ไม่สามารถทำได้ ประเด็นนี้เท่านั้น ที่แน่ยิ่งกว่าแน่ ว่า ทำไม่ได้เด็ดขาด ที่จะ "ล้มล้าง" การปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้"

และประเด็นต่อมา ประเด็นที่ (๒) อย่าผิวเผินข้ามคำว่า "หรือ" ที่มีในมาตรานี้ ไปเป็นอันขาด เพราะ "หรือ" คำนี้นี่เอง ที่แบ่งประเด็นไว้ชัดเจน เป็นประเด็นที่ (๒)

ประเด็นที่ (๒)นี้ ก็จะมีเนื้อหาว่า "บุคคลจะใช้สิทธิ และเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้"

แต่ถ้า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งเป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ หากเป็นอย่างนี้ ย่อมทำได้ ไม่ถูกห้ามตามรัฐธรรมนูญนี้ ใช่มั้ย? พิจารณา ให้คมๆชัดๆ แม่นๆลึกๆ ตรงๆกันเถิด

ประเด็นนี้นี่แหละ ถ้าไม่มีมาตรา ๖๙ ก็จะแย้งกัน เถียงกัน ไม่ตกลงกันแน่ จะไม่สามารถ ตัดสินเด็ดขาดได้ แต่เมื่อมีมาตรา ๖๙ ระบุไว้ เป็นอีกมาตราหนึ่ง ที่มีเนื้อหา เกี่ยวพันกับความหมาย ในมาตรา ๖๘ อย่างสำคัญยิ่ง จึงสามารถ ตัดสินได้ว่า บุคคลย่อมได้รับอนุญาต ให้ทำได้ มาตรา ๖๙ มีว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้"

เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งไหมว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้าน" โดยวิธีการ ที่สันติวิธี ย่อมทำได้ ในประเด็น เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ ซึ่ง..ไม่ใช่ประเด็น "เพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้" คนละประเด็น ชัดเจน ใช่มั้ย?

ดังนั้น "วิธีการ" ที่พวกเรา บุคคลประชาชนชาวไทย ที่ได้ร่วมกันออกมา แสดงตัวชุมนุมร่วมกัน ในความเป็น มวลมหาชน ที่มีฉายาว่า "กปปส."นี้ ก็ได้กระทำการต่อต้าน มานานถึง" ๒๐๐ กว่าวันแล้ว เราได้ทำด้วย "สันติวิธี" มาตลอด

จนกระทั่ง เราได้พิสูจน์ตนเอง ถึงขั้นศาลตุลาการ ก็รับรองเราออกมา เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ว่า เราประท้วงต่อต้าน โดยสันติ ไม่มีอาวุธ ตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้

ซึ่งอาตมาก็ได้พูด ได้ยืนยันเสมอว่า เรามีความจริงใจ ตั้งใจและมุ่งมั่น กระทำจริง ทำได้ดีขนาดนี้ อันเป็นการกระทำ ที่ใหม่มาก ไม่เคยมีการกระทำแบบนี้ มาก่อนเลย ที่ได้มีใครต่อสู้ ด้วยความสงบ สันติ อหิงสา ไม่มีอาวุธกันจริงๆ อย่างนี้

ซึ่งแน่นอนว่า มันย่อมมีเหตุสุดวิสัย มีความเมตตากรุณา ของผู้มีอัชฌาสัย ที่ทนไม่ได้ ต่อความกรุณา ออกมาทำให้เกิดผล ที่ดูเหมือนว่า ไม่สงบสันติ มีการป้องกันตัว ตามความจำเป็น จนมีคนบาดเจ็บ ถึงตายกันขึ้น ก็เป็นเรื่องที่เกิน ที่จะกำหนดควบคุมได้ ซึ่งมันก็ต้องเกิด ตามธรรมชาติ ของหมู่มวลสังคมมนุษย์

สรุปแล้ว บุคคลย่อมมีสิทธิ ต่อต้าน แม้ที่สุด เมื่อได้ทำมาตามลำดับ จากเบา ขึ้นไปหาหนัก คือ จากประท้วง เป็นต่อต้าน ที่สุดถึงขั้นหนัก "ล้มล้าง" อำนาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชน ได้ช่วยกันพิพากษาเอง ด้วยปัญญา ที่อิสระเสรี ตามสิทธิมนุษยชนว่า ไม่ควรให้กระทำ การปกครองต่อไป จึงได้ออกมา แสดงตัวปรากฏ เป็นมวลมหาชน ขับไล่ ล้มล้าง ชี้บ่งคะแนนเสียง มืดฟ้ามัวดิน เกินกว่าเคยมีปรากฏการณ์ ปานฉะนี้ ซึ่งเป็นไป โดยสันติวิธี ย่อมทำได้ ตามรัฐธรรมนูญนี้

และการกระทำ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ที่เป็น "สันติวิธี" ที่นับได้ว่า ชนิดที่ยังไม่เคย มีมาก่อน จึงวิเศษวิสุทธิ์วิสิฏฐ์แท้

ดังนั้น เมื่อรัฐบาลได้กระทำการใดๆ ต่างกรรมต่างวาระ มากมายกรณี หลากหลายคดี ที่มิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดกับ รัฐธรรมนูญนี้ จนเป็นที่ชัดแจ้ง แก่ปวงชน กระทั่งบุคคล ผู้มีสิทธิและเสรีภาพ รวมตัวกัน ออกมา เป็นมวลมหาประชาชน กระทำการประท้วง ต่อต้าน และสุดท้าย ล้มล้างรัฐบาล อย่างสันติวิธี ไม่มีอาวุธ อย่างถึงที่สุด แห่งที่สุดปานนี้ จึงควร "ได้อำนาจ ซึ่งก็เป็นของประชาชน ผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ แล้วอย่างยิ่ง" นี้แล้วสัมบูรณ์เสียที ดังที่ได้สาธยายมา พอสมควร


 

   www.asoke.info