570315_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง เจตนารมย์ที่ดีต้องเคารพกฎหมาย
พ่อครูว่า... อยากจะให้ดูที่คน กลดมันจะเก่งอย่างไร ก็สู้คนไม่ได้ คนมีจิตวิญญาณ พระพุทธเจ้าว่า จิตวิญญาณ เป็นประธานสิ่งทั้งปวง เป็นอำนาจ เป็นพลัง ในตัวคน เราจะคิดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น เกิดจาก พลังงานวิญญาณ ทั้งสิ้น มโนบุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ถ้าไม่เข้าใจ ไม่สามารถเรียนรู้ ไม่ควบคุม ควบคุมไม่ได้
คนเราก็พยายามควบคุม แต่จิตวิญญาณเรา มีลักษณะสองอย่าง อย่างหนึ่งคือ อกุศล อีกส่วนหนึ่งคือ กุศล ถ้าใครสร้าง ซึ่งแต่ละคน สร้างเอง สร้างอกุศลใส่จิต ตนเองก็สั่งสม เป็นพลังงานในจิตตน ถ้าเราสร้างอกุศลจิต ใส่จิตตนมาก มันก็มีพลังมาก มาบังคับ เป็นเจ้า จิตคน จึงมีพลังงาน กิเลส ออกมาทางกาย วาจา ใจ ทุกอิริยาบท ขยับแขนขา เนื้อตัว เกิดจาก พลังจิตวิญญาณ ทั้งนั้น จะพูดจา เสียงสำเนียง โดยเฉพาะ จิตนี่แหละ เป็นตัวสั่งการ
พุทธศาสนาสอนให้แก้ไขจิตเป็นหลัก ผู้สามารถเรียนรู้ ถึงจิต อ่านจิตออก อ่านจิตเป็น แล้วสามารถ ทำให้จิตตน เปลี่ยนแปลง ให้ลดกิเลส หรือทำตัวกิเลส อกุศล ให้หาย หมด ดับ ไป
จิตนี่ เป็นแรงออกไปเป็นปรารถนา มุ่งหมายออกไป พระพุทธเจ้า ท่านเรียกเจตนา หรือ มโนสัญเจตนา หมายมุ่ง ตามที่ต้องการ คำว่า เจตนารมย์ ที่กำลังฮิต ในตลาดการเมืองไทย
นายกฯว่า “ถ้าเรามุ่งแต่จะใช้กฎหมาย ตัดสิทธิ์ ไม่มองถึง เจตนารมย์ ถ้าทำอย่างนี้ จะไปกันลำบาก” คนเราจะนำ คำพูดมาใช้ เพื่อเจตนา คนเราในสังคม ต้องมีกฎเกณฑ์ ถ้าผิดกฎ ก็ต้องชำระกัน
ในประเทศ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ เป็นใหญ่ที่สุด ในประเทศเลย ที่เขาพยายาม ประดิษฐ์คำพูดมา ก็ไม่ค่อยตรง เมื่อนายกฯ ปฏิบัติตน ไม่อยู่ภายใต้ กฎหมาย จะไปบริหารประเทศ ได้อย่างไร ลบหลู่ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ก็เคยมา ทั้งที่ตนก็เคยพูดว่า มันต้องเป็นไปตาม กฎหมายนะคะ แต่ว่าพอตอนหลัง มาพูดว่า ให้ดูเจตนารมย์
ซึ่งเจตนา หรือ มโนสัญเจตนาหาร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เรื่องอาหาร ๔
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม) . .
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จักแยกแยะนาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะอาสวะ ให้จบสิ้น)
วิญญาณนี่คือธาตุทางจิต เป็นเครื่องอาศัยหลัก ของมนุษยชาติ ต้องเรียนรู้วิญญาณ จะรู้ต้นตอ ต่อเนื่อง จากสิ่งนี้ จึงเกิดสิ่งนี้ มีเหตุปัจจัย ท่านเรียกว่า รูป นาม
ต้องศึกษาตั้งแต่ภายนอก อ่านอาการจิต ยามกระทบสัมผัส ภายนอก ทวารนอก แล้วเกิดอาการ อยากได้มา ดูดดึง หรือผลักออก ต้องรู้อาการลีลา ของจิต เจตสิก ต่างๆ ต้องอ่านให้เป็น
ต้องรู้ในตัณหา
๑. กามตัณหา (ใคร่อยากในกามภพ อันอาศัยรูปภายนอก)
๒. ภวตัณหา (ความใคร่อยากได้รูปภพภายใน และอรูปภพ)
๓. วิภวตัณหา (อยากได้ความไม่มีภพ หรืออยากพ้นไปจากภพ, หรือปรารถนา สิ่งที่ไม่ใช่ภพเพื่อตน เป็นตัณหาแห่งอุดมการณ์ ที่อาศัยไว้เพื่อ ดำเนินความดีไป เช่นนั้นเอง) ศึกษาเป็นไปเพื่อ อาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ อันน้อมนำไปเพื่อ ความปลดปล่อย (วิเวกนิสสิตังวิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวสสัคคปริณามิง)
อาตมาก็ไม่เคยได้ยินใครสอนที่ว่า วิภวตัณหา คือตัณหาอุดมการณ์ ไว้ละกิเลส ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็ต้องใช้ วิภวตัณหา ...พระพุทธเจ้า ท่านมีความมุ่งหมาย ปณิธาน เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ตอนแรก มารก็มาอาราธนา ให้ตายเสีย ก็บรรลุแล้วนี่ พระพุทธเจ้า ท่านก็เลยตรัส เจตนารมย์ของท่าน ว่าเราจะยังไม่ตาย จนกว่า จะสอนให้มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูตร ทรงธรรม สามารถบอกได้ จำแนก เปิดเผย กระทำให้ง่าย ได้ในการแสดงธรรม ให้เป็นปาฏิหาริย์ ที่เก่งยิ่งกว่า คาบเรือ เหาะเหิน เดินอากาศ ดำน้ำ ดำดิน นั่นก็เก่ง แต่นี่เก่งกว่าอีก ของพระพุทธเจ้านี่ เก่งกว่า ประเสริฐกว่า อีก หรือว่า จะหยั่งรู้ ทำนายใจคนได้ คนที่เก่งทาง อาเทสนาปาฏิหาริย์ น่าจะไปนั่งทางในดูว่า เครื่องบิน ที่มาเลเซีย หายไป น่าจะนั่งทางใน หาเจอนะ
สรุปแล้ว คือพระพุทธเจ้าสอน ให้ลดกิเลส ใครทำได้ เป็นปาฏิหาริย์ ใครเห็นความสำคัญอันนี้ แล้วตั้งใจศึกษา จนได้มรรคผล เกิดความจริงได้ในตน ไม่เสียชาติเกิด พวกคุณนี่ เกิดมาไม่รู้กี่ชาติๆ เกิดมาก็มาไล่ล่า โลกธรรม สมบัติผลัดกันชม เสพสมบัติ ผัสสาหาร อาศัยแค่นี้ ไม่รู้กี่ล้านชาติ ก็จมวนเวียน เป็นวิบาก ต้องใช้หนี้วิบากไป ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ฆ่าแกงกัน ไม่เบื่อซะที เห็นแล้วก็รู้ว่า ไม่รู้จะไปหลงยึดกันทำไม
อาตมาก็ศึกษา จนรู้แจ้งเห็นจริง ที่จริงก็ไม่ง่าย แต่ควรได้ ควรได้ยิ่งกว่าได้ทองคำ เป็นภูเขา ๑๐ ลูก หรือได้เพชรก้อนโต เท่าหิมาลัย เพราะมันประเสริฐ สุดยอดของมนุษย์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม
คุณมีทอง เท่าภูเขา ๑๐ ลูก คนเอาทองคำ มาแจกคน ตีกันทะเลาะกัน การบริหารประเทศ เพื่อเอาเงินทอง แบ่งกัน อย่างนั้น มันเรื่องหลอก แต่เรื่องจริงที่สุด คือต้องได้ธรรมะ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ท่านให้เรียนรู้ เจตนา หรือ ตัณหา ๓
๑. กามตัณหา (ใคร่อยากในกามภพ อันอาศัยรูปภายนอก)
๒. ภวตัณหา (ความใคร่อยากได้รูปภพภายใน และอรูปภพ)
คนเราในโลกวนเวียนแค่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สามอย่างเท่านี้ ส่วนพระอนาคามีขึ้นไป ก็หลุดพ้นจาก กามภพแล้ว หมดเจตนา ที่จะเอามา บำเรอตน หรือต้องสุขทุกข์ เพราะ กระทบทวารนอกทั้ง ๕ หมดตัณหา ที่จะอยากได้มา เป็นของตน อยากเสพรส เชิงอัตตาแก่ตน ไม่มีแล้ว อนาคามีขึ้นไป เหลือเศษ รูปภพอรูปภพ เป็นแต่ของตนในจิต เหลือแต่ในจิต ไม่ต้องใช้ ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ปรุงเอง ในความจำ ปรุงเอง ก็ล้างกิเลส อันนี้ของตน ให้หมด ล้าง ภวภพ ก็หมด โดยใช้วิภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา (อยากได้ความไม่มีภพ หรืออยากพ้นไปจากภพ, หรือปรารถนา สิ่งที่ไม่ใช่ภพเพื่อตน เป็นตัณหา แห่งอุดมการณ์ ที่อาศัยไว้เพื่อ ดำเนินความดีไป เช่นนั้นเอง) ศึกษาเป็นไปเพื่อ อาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ อันน้อมนำไปเพื่อ ความปลดปล่อย (วิเวกนิสสิตังวิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวสสัคคปริณามิง)
ศาสนาพุทธ อยู่กับสิ่งภายนอก สัมผัสทวาร ๕ เหมือนคน สามัญธรรมดา แต่จิตท่าน ไม่ได้มีกิเลส ไม่ต้องการได้มาของตน หรือว่า ต้องการทำลาย หวงแหนไม่ให้ใคร หรือว่า ต้องการเสพรส เป็นกาม ใคร่อยาก เป็นตัณหาใหญ่
ทำให้หมดได้จริง เป็นวิภวภพ เป็นความปรารถนา ไม่เพื่อตัวตน
ท่านนายกฯ พูดด้วยเจตนา ได้ ๒.๒ ล้านๆ ต้องการทำงาน เพื่อสังคม อาตมาขอยืนยันว่า ในความมุ่งหมาย ต้องการของ คุณยิ่งลักษณ์ คนเรา มีปฏิภาณ ว่าพูดว่า สร้างสรร แต่แฝงไปด้วย ความโลภ เป็นกามตัณหา ไม่ต้องพูดเรื่อง ภวตัณหา ที่อยู่ภายใน ต้องเรียนรู้ก่อน จึงรู้ได้ ยังไม่เคยเรียน
อย่างนายกฯ มีตัวรู้ว่าต้องได้มาเพื่อ ทำงานให้แก่สังคม แต่ว่าขนาดกู้เงินมา เพื่อให้คนไทย เป็นหนี้ไปอีก ๕๐ ปีนี่ ไม่ให้ใช้กฎหมาย นี่พูด ไม่รู้เรื่องเลย เรื่องนี้ ประธานสภา เป็นผู้ส่งเรื่อง ให้ศาลตัดสิน แล้วโง่ กระทั่ง กฎหมาย ก็ไม่รู้ ลึกๆเขาก็อาจหวังว่า ศาลจะตัดสินให้ได้ ก็จะให้จบ แต่ว่า ศาลก็ตัดสิน ให้ตกไป แล้วนายกฯก็ว่า “อยากให้มองดูที่เจตนา อย่ามองการใช้ ข้อกฎหมาย เป็นข้อ เพื่อที่จะลิดรอน เหรือเป็นข้อที่ จะตัดสิน ของทุกคนเลย แล้วอย่างนี้ เราจะไปกันลำบาก พัฒนา ประเทศต่างๆ ก็ลำบาก”
แล้วก็ไม่รู้เจตนาของตนเลย ซึ่งวาระนี้สภาได้ลักหลับ ตีสาม ผ่านกฎหมายนี้ เขาว่าเป็นเรื่องระเบียบ และข้อกฎหมาย เขาว่างั้นนะ และก็มี ข้อบกพร่อง ผิดพลาด มากมายเลย ในการออกกฎหมายกู้เงินนี้ ไม่ให้ใครตรวจสอบด้วย แล้วใครจะไว้ใจให้ทำ นี่คือพูดไป เจตนาออกนอกลู่ นอกทาง ตัดกฎเกฎฑ์เขา ทิ้งหมด เพราะเขาเอาที่ เจตนาคุณนี่แหละ วิธีที่คุณทำ มันขัดแย้งหลักเกณฑ์ ลบหลู่กฎหมาย แสดงเจตนา ที่ออกนอกแบบแผน เอาไปใช้ได้ตามใจ ใครจะเชื่อน้ำมนต์ ถ้าบริสุทธิ์ใจ ก็ต้องทำตาม แบบแผน ให้ตรวจสอบได้
คนจิตซื่อสัตย์ ไม่มีกามตัณหา แม้จะมีภวตัณหาบ้าง ก็จะทำอย่างถูกต้อง แต่คุณนี่ทำแล้ว แสดงว่า มีอกุศลเจตนา ที่คุณไม่รู้ตัวว่า ออกมาแล้ว เพราะคุณทำมา หลายคดี เห็นร่องรอย ตลอดมา แล้วจะให้ทำต่อไปอีก ได้อย่างไร ใครจะไว้ใจคุณ ยิ่งเจตนา วิธีปฏิบัติ ไม่ได้อยู่ในร่องรอย แล้วมาต่อว่า เอากฎเกณฑ์มาใช้ จะทำงานลำบาก ไม่ใช่ลำบากหรอก เขาไม่ให้คุณทำ นอกจากไม่ให้ทำแล้ว จะให้ออกด้วย แต่คุณเหนียวเหลือเกิน เป็นเรื่อง ที่เห็นจริงได้
วิภวตัณหานั้น เขาแปลเผินๆว่า ไม่อยากได้อยากมี อยากเป็น แต่นั้นตื้นๆ อาตมาแปลว่า เป็นความต้องการ ดับภพ พ้นจากภพ ไม่มีความอยาก ที่เป็นกิเลส ผสมอยู่ ไม่มีกิเลสทำงาน หรือสังขารร่วม ให้ฆ่ากิเลส ในจิตได้ แต่ถ้าไม่ฆ่าก็สงบ กดข่ม ไม่ออกมาทำงาน ออกมาทำงาน เป็นครั้งคราว แต่ไม่ได้ล้าง ทฤษฎีพระพุทธเจ้านั้น ล้างจริง ตั้งแต่หยาบก่อนเลย คืออบาย คือกามภพ ที่เราเลือกตัวที่เรารู้ว่า คืออบาย เรารู้จิต เราก็หยุดมัน เช่น ๒.๒ ล้านๆ จำนำข้าวนี้ เอาเงินไปทำงาน แล้วก็มีคดีอื่นๆอีก คดีจัดการน้ำ เอาเงินกองกลางของรัฐ ไปทำงาน แล้วโกงกิน เป็นคดีความ กันอยู่เลย แล้วจะให้ไปใช้ทำ คมนาคม เจตนาหลอกอีกตั้ง ๒.๒ ล้านๆอีก คดีเก่า ให้สะสางเข้าคุกก่อน ได้ไหม แล้วค่อยออกมากู้ใหม่ เขาจะให้กู้ไหม
ในคนที่ไม่รู้จักจิตเจตนาพวกนี้ ที่ไม่รู้ เพราะไม่ได้เรียน ไม่มีภูมิปัญญา ไม่ได้ศึกษาธรรมะ ชาตินี้ถ้ารู้ ก็ต้องรู้บ้างแล้วล่ะ แต่นี่ ทำอย่างน่าเกลียด ไม่ละอาย ก็เลยไปกันใหญ่
คนที่อ่านจิตเป็นล้างจิตได้ก็จะดับตั้งแต่อบาย โสดาบัน ดับอบายได้ เป็นตัวอย่าง เราทำอย่างชัดเจน มีวิตกวิจาร คนเรียนรู้ธรรมะ พระพุทธเจ้า จะรู้จัก เวทนา ตัณหา ๓ อุปาทาน ๔
การได้สมใจในกามในราคะก็สุข ไม่ได้ดังใจก็ทุกข์ เป็นผัสสาหารในชีวิต ชีวิตมีชีวิตชีวา กับผัสสาหาร ผู้ใด ดับภพได ้จึงเป็น ผู้มีตัณหา ที่เรียกว่า มีวิภวภพ
คนดับอบายได้ก็เลิกชั่วได้ระดับหนึ่ง เป็นโสดาบัน เลิกตัวหยาบได้ เป็นเบื้องต้น แล้วก็มาเรียนรู้เลิก กามต่อมา ซึ่งอบายภพดับไป คนนี้ก็มี วิภวตัณหา ในระดับโสดาบัน พอมาสกิทาคามี ก็มาล้าง กามภพ ไม่มีสุขทุกข์ ในกามภพ ก็เป็นอนาคามี คนเป็นอนาคามี ไม่สุขทุกข์ เรื่องกามภพ แต่ก็อยู่กับโลกเขา ไม่ติดในกาม ที่เขาแย่งชิงกัน เป็นสงครามไม่รู้จบ ไม่แย่งทรัพย์สิน กับใคร มีแต่เพียงใช้น้อย กินน้อย เพียงพอ คนไม่มีภพ ก็จะรู้ว่า ตัณหาของตน มีแต่ตัณหากุศล ซึ่งลด อบายภพ กามภพ มาแล้วเหลือรูปภพ อรูปภพ ก็ศึกษาจาก ผัสสะ ๖ วิญญาณ ก็สะอาดขึ้น ทั้งนอกและใน ก็มีเจตนา ปรารถนาดี รู้ตนเอง ว่าตนดับอบาย ดับกามได้ หมดแล้ว แต่จิตเจตนามีอยู่ อกุศลเจตนา หรือเจตสิกอกุศล ไม่มีแล้ว จึงเรียกว่า วิภวตัณหา หมดไป ไม่มีภพแล้ว อนาคามี เหลือแต่ ภวภพเท่านั้น
แล้วล้างรูปภพ อรูภพหมดแล้ว ก็เป็นอรหันต์ ก็อยู่กับสังคม กิเลสหมด แต่อยู่ไม่เพื่อตัวตน ของตัวตน มีกรรมกิริยา ทำงานกับ สังคมนี่แหละ อรหันต์ของพุทธ ไม่ได้ทิ้งชีวิตไปกับ ป่าเขาถ้ำ
พระพุทธเจ้าสอนว่าให้ไปอยู่ที่แจ้งลอมฟ่าง ป่า เขา ถ้ำ ก็ดี หมายความว่า คนปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ไม่ต้องออกป่า แต่คนที่เขาหลงป่า ออกป่า ก็ดี (คำว่า ก็ดี เป็นเรื่องที่เกิดมีเป็นอยู่) แม้คุณอยู่ป่าเขาถ้ำ ก็ทำตามทฤษฏี พระพุทธเจ้าได้ เรียนจากในมานอกก็ได้ แต่ไม่ง่าย ผัสสะไม่ค่อยมี แต่สมัยนั้น เขาเรียนกันเช่นนี้ สมัยนี้พุทธศาสนา ล่วงมา ครึ่งพุทธศตวรรษ เลย ๒๕๐๐ ปีจึงเสื่อม
การผิดพลาดไม่รู้ธรรมะแม้วิภวตัณหา เข้าใจไม่ถูก แม้วิภวตัณหา ที่เป็นตัณหาล้างตัณหา เป็นเจตนา จะล้างเจตนาที่เลว ก็ย่อมแยก เจตนาตนเองออก ที่เราอ้างอิงว่า จะทำประโยชน์ให้คุณนะ เลวที่สุดในแผ่นดิน คือหากินบนคำว่าช่วยเขา ต้องกู้เงิน มาทำรถไฟ ความเร็วสูง เพื่อขนผัก มันคุ้มกันหรือเปล่า ก็ไม่รู้ว่า เจตนาจริง กับเจตนาแฝงอกุศล มีเท่าไหร่ นี่คือ การบกพร่องของ ศาสนาพุทธ ที่สอนกันมา
ไม่รู้อาการจิตที่แฝงมา เราเจอมันเราก็ทำลายมันให้หมด อาตมาหวังว่า ศาสนาพุทธในไทย จะสร้างคนให้เป็น อริยะของพุทธ ไม่เป็นคน เห็นแก่ตัว ตัดช่องน้อย แต่พอตัว แต่ออกป่าไหม ก็ออก แต่ไม่ออก ไม่เป็นไร หากสัมมาทิฏฐิ ไม่ต้องออกป่า ก็อรหันต์ได้ แต่ถ้าออกป่า แล้วศึกษา ไม่เป็นลำดับ ศึกษาแต่ภายในไม่ชัด ไม่เกิดปัจจุบัน มีแต่สัญญาเป็นหลัก ไม่มีมโน หรือเจตนา เป็นหลัก ไม่ชัด ไม่มีปัญญาเรียนรู้แต่หยาบ แล้วเรียนรู้ให้ชัด ในละเอียด แต่นี่โมเม เรียนละเอียด ก็ช้านานยาก แม้จะปฏิบัติศรัทธานำ ใช้เจโต ไม่ใช้ปัญญา ส่วนสายปัญญา จะรู้จักปัญญา และเจโตด้วย
หลักเกณฑ์เดียวกัน คนต้องอยู่ใต้ศีล วินัย ทางโลกก็เช่นเดียวกัน คนต้องอยู่ใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญ อย่าให้ละเมิด จะไปไม่ได้ ถ้าตีทิ้ง ลบหลู่กฎหมาย ก็ไม่ดี โดยเฉพาะ สถาบันที่จะดูแล หลักยุติธรรม ของประเทศ แต่คุณจาบจ้วง เอาระเบิดไปโยนใส่
อาตมาไม่ได้โกรธเกลียดชัง ผู้ที่ว่านี้นะ ไม่ได้ไปเอาลาภยศสรรเสริญ กับเขาหรอก แต่อาตมา ก็ทำงานอยู่กับ ลาภยศสรรเสริญ นี่แหละ
การทำบอกว่า ก็ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด โจรเขาก็ทำหน้าที่ชั่ว ให้กิเลสงอกงามไพบูลย์นี่ไม่ใช่ เราต้องรู้เจตนา ในการทำหน้าที่ เป็นกุศล อกุศลไม่ทำ
เราต้องเรียนรู้เจตนา ๓ นี่แหละ ต้องเรียนรู้กำจัด กาม กับ ภวตัณหา นี่แหละ ที่เรากำจัดได้ ก็เป็นวิภวตัณหา จะกล่าวกฎหมาย หลักเกณฑ์ รัฐธรรมนูญ หรือศีลหรือวินัย เราก็ต้องรู้จักว่า เป็นหลักสำคัญ ผู้รู้ดี จะทำตามหลักเกณฑ์ สร้างกรอบกำหนดเป็นรั้ว ไม่ให้คนทำชั่ว เกินขอบเขต ถ้าทำผิด ก็ต้องลงโทษ สั่งสอน ให้เข็ดหลาย แต่ถ้ามากเกิน ก็ประหารก็มี ยิ่งทำร้ายแรง กฎก็ต้องลงโทษแรง
สังคมเจริญจริงก็ไม่ต้องมีกฎ ทุกคนมีสำนึกดี ไม่หิริโอตตัปปะจริง กิเลสไม่มาก แต่ถ้าไม่ใช่โลกของคนประเสริฐ กฎก็ต้องจำเป็น ใช้ลงโทษ คนเลวร้าย พอลงโทษหนัก เขาก็ตอนนี้ จะแก้กฎหมาย เช่นว่า ต้องลงโทษ นักการเมืองให้หนัก เพราะสังคม ถูกทำร้าย มามากแล้ว
นักกฎหมายที่ออกกฎหมาย เป็นสภา แล้วไปซูเอี๋ยกับฝ่ายบริหาร จะออกกฎหมายมาเล่นงานตนเองได้อย่างไรกัน แต่จะออกกฎหมาย ให้ตนได้เปรียบ ก็เอา อะไรจะเสียเปรียบ ก็ไม่เอา แล้วคนเหล่านี้ มีฐานะสังคม ฉลาดแกมโกง ออกกฎหมายอย่างนี้มา จนักการเมืองไม่มีผล คนดื้อด้าน ต่อกฎหมายอีก ไม่ว่า นักการเมือง ระดับไหนๆ ก็ละเมิดกฎหมาย อยู่เหนือกฎหมาย สังคมจะไปไม่รอด
เจตนาต้องรู้ว่า ลบหลู่กฎหมายไม่ได้นะ เป็นเรื่องหยาบใหญ่ ถ้าลบหลู่กฎหมาย ก็พังหมด ส่วนเจตนา จะใช้ตัดสิน ก็ต้องผ่าน ขั้นหยาบก่อน หยาบใช้ไม่ได้แล้ว ก็ต้องใช้เจตนา แต่นี่เอาแค่หยาบ คุณก็ผิดแล้ว คุณไม่รู้เจตนาของคุณหรอก คุณไม่มีความรู้เจตสิกหรอก ไม่รู้วิภวเจตนาหรอก ไม่ได้รู้ลดกิเลสหรอก มันแฝง คุณรู้ไม่ได้หรอก คนอวิชชากิเลสหลอกตนเอง ทำชั่ว คุณนึกว่า ทำดีด้วยซ้ำ ไปดูฝั่งแดงสิ ทำชั่ว ก็บอกว่าทำดี รวมพล กันที่อยุธยา ท้าทายกัน ไม่รู้ว่าจะแสน หรือแสนสาหัส ที่มากันนี่
สิ่งที่เกิดในสังคมเป็นองค์ประกอบของมวลหรือพลังงานของจิต หรือพลังงานของกาย วาจา ใจ ถ้าอ่านรู้ จะเข้าใจตามภูมิ อ่านออก จากกายวิญญัติ วจีวิญญัติ จะรู้ถึง มโนวิญญัติ ต้นตอในจิต พระพุทธเจ้ารู้ครบ เป็นกามตัณหา ภวตัณหา เป็นกามวิตก หรือพยาบาทวิตก แล้วละเอียดเป็น วิหิงสาวิตักกะ
ในปฐมฌาน นั้นต้องเรียนรู้ กาย ซึ่งกายนี้เป็นเรื่องนามธรรมเป็นสำคัญ แต่ว่าภาษาไทยนั้น เข้าใจคำว่า กาย คือร่างภายนอก เข้าใจผิด จึงศึกษา ปรมัตถธรรมผิดไป อ่านกายในกายไม่เป็น
พอสัมผัสภายนอก แล้วก็จะต่อเนื่องเป็นเวทนาในจิต มี วิตก คือแยกแยะรู้ว่า คืออาการอย่างไร แล้วรู้ ความเคลื่อนไหวองค์รวม เรียกว่า วิจาร สิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า รูป แล้วเรามุ่งหมาย รู้ตัวกิเลส ในองค์ประชุมของจิต ไม่ว่าจะเป็น เวทนา หรือสังขาร ฌาน ๑ มีวิตกวิจาร
กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน คนที่รู้องค์ประชุมนี่ ก็กำหนดต่างกันไป โดยสัญญา อย่างเดียวกัน แต่กายที่ได้ต่างกัน แม้ฌานที่ ๑ ก็ต้องรู้จัก สังกัปปะ ๗ ให้รู้จักวิตกวิจาร แยกแยะให้ออก จะได้รู้จัก จิตเจตนาของตน ที่ออกมาเป็น กาย เป็นองค์ประชุมที่หยาบ แม้สิ่งเล็กน้อย ก็จะรู้ได้ รู้หยาบได้ง่ายกว่าละเอียด
ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความรู้ทางโลก แม้หลับหูหลับตา ก็ยังรู้เลย มันมาทุกทิศทาง มันส่งแพร่กระจาย มากมาย แต่ธรรมะ ขาดแคลนมาก เป็นอุปสงค์ สูงมากเลย ทุกวันนี้ โลกไม่ขาดความรู้ แต่ขาดคุณธรรม ความรู้ทุกวันนี้ อาศัยใช้สอย ทำงานแก่สังคมพอแล้ว อาตมาได้ดูถูก ความรู้เทคนิคโลกนะ แต่มันเฟ้อเกินแล้ว มันรู้จนเรา ไม่ต้องเรียนก็รู้ ไม่ต้องเข้าโรงเรียนก็รู้ นอกจากคนไม่สนใจ สาระสังคม
ผู้สนใจสิ่งขาดแคลนก็คือธรรมะ เราก็ต้องตั้งใจ สร้างธรรมะแก่สังคม แต่อย่าไปหลงความรู้ มากนัก ในไทยนี้ เรียนมัธยม มากหนัก สูงกว่าเขา กว่าอเมริกาอีก มันเฟ้อ ก็ต้องรู้ อุปสงค์ในสังคม ตอนนี้เราจะปฏิรูปกัน ก็ให้เข้าใจอันนี้ไว้....จบ