570316_พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่ป้อมมหากาฬ
เรื่อง นักการเมืองแบบพุทธ
เรามีตลาดอาริยะ เป็นเรื่องของอาริยธรรม แรกๆเขาก็มองว่า เราทำเหมือนทางโลก ที่ลดราคา เหมือนห้างร้าน เขาก็ว่าเซลล์ ก็ว่างั้นนะ เขาฉลาดแกมโกง ให้คนนิยม แต่แท้จริง สร้างความนิยม ให้มากกว่าเก่า แต่ของเรา ทำงานด้วยชีวิต จิตใจจริง เราเห็นว่า เราได้ให้ เป็นประโยชน์ คุณค่า ต่อคนอื่น ถ้าเราได้ให้ อย่างจริงใจ เป็นสัจจะ ว่าการได้ให้ไป ก็ต้องดีกว่า ไปเอาของเขา เบียดเบียนของเขา เขาก็หวงแหน ในการให้ ถ้าเราเอง เราศึกษาธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ศาสนาทุกศาสนา สอนให้มีการให้ เป็นคุณสมบัติพิเศษ ของมนุษยชาติ ทานเป็นคุณธรรม หลักแรก ของทุกศาสนา
พระพุทธเจ้าก็ให้ทาน เป็นข้อแรก ให้รู้จักใจของเราว่า จะเอาหรือให้ มันไม่ได้รู้ได้ง่าย เราคิดว่าเราให้วัตถุ แต่ว่าใจ กลับจะเอามากกว่า ให้ของไป นิดเดียว แต่ต้องการ ได้สิ่งแลกเปลี่ยน มากกว่าเดิม เหมือนการเล่น การพนัน ตะกละมากกว่า
เรื่องการให้ เมื่อจิตวิญญาณเข้าใจ ก็จะจริงมากขึ้น ใจชัดใจจริง เราก็จะรู้ประมาณ ในการให้ ว่าเท่าไหนจะไหว จะพอดี คนที่กล้าได้ประมาณ สัดส่วนพอดี ก็ไม่เดือดร้อน คนประมาท ประมาณไม่ดี ให้เกิดแรงเกินตัว ก็เกิดการติดขัด Run shot ก็เป็นหนี้สิน ไม่สมดุล เป็นไปไม่ได้ ต้องหัดประมาณ
การให้อย่างตลาดอาริยะ ตอนแรก เราก็คิดว่า ไม่มีร้านเท่าไหร่ เอาไปเอามา แถมเติมมาก เช่นร้านธุลีฟ้า ซึ่งเจ้าของ เคยเป็นศิษย์เก่า ขายเสื้อ ยอดขาย ทั้งหมด 87,000 บาท ได้กำไรอาริยะเป็น 76,900 บาท และทำบุญเพิ่มอีก รวมยอดทำบุญ ให้พ่อครู 87,000 + 13,000 บาท รวม 100,000 บาท
เป็นผู้ที่ศรัทธาปฏิบัติธรรม เป็นครอบครัวเลย จนแต่งงาน มีครอบครัว ก็ทำมาตลอด คือคุณแน่แท้
ลักษณะที่อาตมาได้พาทำ ที่เป็นพาณิชน์ เรียกว่า บุญนิยม ไม่ใช่ทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นด้านไหน การค้า ก็บุญนิยม การศึกษา ก็บุญนิยม แม้แต่การสื่อสาร ก็บุญนิยม เจตนาตั้งเพื่อ ล้อเลียน ทุน
บุญ มาจาก ปุญญะ รากศัพท์บาลีแปลว่า การชำระกิเลส
ผู้ที่สามารถเข้าใจ อย่างในหลวงตรัสว่า ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา หรือ เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ปกครองบริหาร ก็ตาม ภาษาบุญนิยม นั้น กำหนดหมายที่ กิเลสเป็นหลัก
การขายขาดทุน คือขายต่ำกว่าราคาทุน นั่นคือ กำไรของเรา ส่วนใครจะขาดทุน ได้มากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับ สมรรถนะของเรา เป็นเศรษฐศาสตร์ บทหนึ่งของโลก ที่เราได้ทำ แม้แต่สัมมาอาชีพของเรา การค้าของเรา ก็มีหลักการแบบ บุญนิยม มี ๔ ระดับ
๑. ต่ำกว่าราคาตลาด
๒. เท่าทุน
๓. ขาดทุน
๔. แจกฟรี
เราทำถึงระดับสาธารณโภคี ทุกชุมชนอโศก ทำงานฟรี กินใช้ส่วนกลาง สังคมแบบนี้ เป็นจริงได้ ในคำว่าบุญนิยม หรือเสียสละ ให้แก่สังคม เป็นคุณธรรมหลัก ในการอยู่ในสังคม หรือ ในหลวงตรัสเรื่อง แบบคนจน
ผู้ที่เสียสละแล้ว แต่ใจเรา กลับภูมิใจดีใจ เป็นอุปกิเลส เป็นสิ่งที่ อย่าไปตื่นเต้นมาก ไม่อย่างนั้นจะติดยึด ติดในการสร้าง ลักษณะนี้ แล้วจะตะกละ แม้อารมณ์ ที่จะต้องการแรง อย่างนี้ มันก็จะเสียนะ
พระพุทธเจ้าสอนปีติหลายขั้น
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ)
๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพักๆ)
๔. อุพเพงคาปีติ (ปีติแรงกล้า โลดลอย)
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน)
(จาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
พระพุทธเจ้าว่า ไหนๆจะทำดีสุจริตแล้ว ก็อย่าให้มีอุปกิเลส ถ้ามีก็มีเล็กน้อย ก็พอแล้ว ให้ต่ำสุดแค่ ผรณาปีติ แค่ซาบซ่าน ให้ตัวพลังงานปีติ เบาที่สุด
แรงงานทางจิต มีดีกรีต่างกันไป พระพุทธเจ้าชัดเจนหมด เอามาสอนไว้ จนกระทั่ง ไม่ต้องไป หลงใหลกับมัน อันไหนควรได้ ควรทำ ไม่จำเป็น ต้องไป ดีใจ เสียใจ สุขหรือทุกข์ใจ ไม่ต้องมี แล้วทำตนเป็นกุศล เป็นประโยชน์สังคมโลก
พระพุทธเจ้า ท่านสรุปว่า ผลสูงสุดของผู้ปฏิบัติแล้ว จะทำอย่างนี้ ท่านตรัสกับ พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรก ว่าต้องไปทำงาน ให้กับสังคม ไม่ใช่ไป ออกป่าเขาถ้ำ ให้ไปเผยแพร่ ไปไม่ซ้ำที่กันด้วย ไปเพื่อ พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)
ให้สร้างประโยชน์ ความสุขแก่สังคม ไม่ใช่ว่า สุขเพราะได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่อย่างใด หรือได้เสพกาม ได้บำเรออัตตา แค่นั้น บำเรออัตตา สะใจจริง มันเขี้ยวจริง ก็บำเรออัตตา ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าให้เรียนรู้ มีปัญญาล้างกิเลส อุปาทาน เกลี้ยง จะเป็นคนที่มี พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) เป็นนักการเมือง เบอร์หนึ่งของโลก
ชาวอโศกพิสูจน์ว่า ไม่ต้องสะสม แม้ทรัพย์สิน เงินทอง บ้านช่อง เรือนชาน ก็มีชีวิตได้ดี มีชีวิต เนื่องด้วยผู้อื่น ปรปฏิพัทธา เม ชีวิกา เขาจะเลี้ยงไว้ เพราะเรารับใช้สังคม คนที่เป็นประโยชน์คุณค่าเสียสละ ต่อผู้อื่นตลอด เป็นคนมีค่า มีสุขที่ไม่ใช่ บำเรอกิเลส แต่เป็นสุขที่เกิดจาก การลดกิเลส วูปสโมสุข ผู้ที่เข้าใจสัจธรรม โลกุตระ จึงเป็นนักประชาธิปไตย ที่ยิ่งใหญ่ จะทำงานกับสังคม อย่างวิเศษ พาสังคมไปรอด เป็นนักการเมือง ชั้นยอดเลย เป็นประชาธิปไตยสุดยอด แม้เป็นคอมมูน ก็นักคอมมูนชั้นยอด เป็นนักเผด็จการ ก็นักเผด็จการชั้นยอด ช่วยคนอื่นตลอด มีคุณค่า ประโยชน์ ผู้บรรลุธรรม ของพุทธนั้น พึงเป็นผู้รับใช้สังคม
ธรรมะของพระพุทธเจ้า ยืนยันได้ว่า เป็นหลักประชาธิปไตย พระพุทธเจ้า ตรัสคำว่า ประชาธิปไตย แต่คำว่า พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) เอามาไขถึง อธิปไตย ๓
๑. คนที่มีตนเป็นใหญ่ (อัตตาธิปไตย)
มีสติพิจารณาจนเกิดอธิปไตยให้แก่ตน
๒. คนที่มีโลกเป็นใหญ่ (โลกาธิปไตย)
มีปัญญาเพ่งพินิจ ไปกับงานของโลก
๓. คนที่มีธรรมเป็นใหญ่ (ธัมมาธิปไตย)
เป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม
ถ้าสมมุติว่า ชุมชนกลุ่มนี้ แต่ละคนเป็นนักอบายมุข ก็จะรวมกันมีพลัง ครอบงำ ให้คนมีอบายมุข ประเทศนั้น ถ้ามีคนเช่นนี้มาก คนก็จะเป็น คนติดอบายมุข ด้วยกัน เพราะเป็นคนหมู่มาก อยู่อย่างอื่น ไม่ได้หรอก นี่คือ โลกาธิปไตย ทุกวันนี้ โลกเป็นทุนนิยม โลกียะ หลงใหล โลกธรรม ตะกละแย่งชิง
ถ้าเป็นอนาคามี จะบริสุทธิ์ในการไม่ทำร้ายโลกแล้ว ส่วนสกิทาคามี ก็มีโทษต่อโลกบ้าง ส่วนปุถุชน ก็เป็นศัตรูกันในสังคม จะมากน้อยก็แล้วแต่ ถ้าเราใช้หลักคุณธรรม สัจธรรมของพระพุทธเจ้า มีหลักสมบูรณ์ เราก็ต้องเรียน ให้สัมมาทิฏฐิ
สมัยพระพุทธเจ้าเป็น สมบูรณายาสิทธิราช แต่พระพุทธเจ้า ก็ตั้งรัฐอิสระของ ท่านได้ ทุกแคว้นทุกรัฐ ยอมรับนับถือ ธรรมนูญ ลัทธิ ของพระพุทธเจ้าหมดเลย แม้แต่เป็นทาส ก็ต้องยกให้ พระพุทธเจ้า แล้วหมดความเป็นทาสเลย ท่านปลดความเป็นทาสได้เลย ในสังคมทาส ไม่มีศักดินา ยศชั้น มีคุณธรรมเป็นสัจจะ โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ท่ามกลางที่โลกทั้งโลก ไม่เข้าใจประชาธิปไตย แต่ทุกวันนี้ โลกเข้าใจ ประชาธิปไตย จึงทำได้ง่าย แต่ก็ยาก เพราะจัดจ้าน ด้วยกิเลสมาก แต่ก็ยังมีคน มีปัญญา มีธุลี ในดวงตาน้อย อาตมาเอาโลกุตรธรรม มาประกาศ ก็มีคนเข้าใจ
ทำงานสำเร็จ อาตมาในชาตินี้ ทำงานมา ๔๐ กว่าปีแล้ว พูดแล้ว คนก็หมั่นไส้ คืออาตมา มีบารมีเก่า ตั้งแต่ชาติเก่า ก็อธิบายตามหลักฐาน ถ้าได้ภูมิธรรม ก็ได้เลย ตั้งแต่โสดาบัน เป็นต้นไป แม้อาตมาบอกว่า ตนคือโพธิสัตว์ คนก็ไม่เข้าใจกัน เพราะศาสนาพุทธนั้น ผิดเพี้ยนไปมาก
แต่อาตมาพาพวกเรา ทำถึงสาธารณโภคี ซึ่งสูงกว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์ ของคาร์ลมาร์กซ์ เขาหาว่า จิตนิยม หรือศาสนา เป็นสิ่งเสพติด ด้วยซ้ำ เขาไม่เอา แต่ของพระพุทธเจ้า รู้ทั้งวัตถุทั้งจิต เราไม่ติดวัตถุ ก็อยู่ได้ด้วยดี
ในอัตตาธิปไตย ก็ทำให้จนคน เคารพนับถือ แม้ไม่ใช้พระเดช ใช้พระคุณก็ตาม ก็ใช้ลาภยศสรรเสริญ โลกียสุข ในการสร้างเช่นกัน แต่อย่าง พระเดช ไม่ดีกว่าใช้ อย่างพระคุณ คนใช้พระคุณ ก็ใช้อย่างเรียบร้อย ไม่แสดงอำนาจ บาตรใหญ่ ช่วยเหลือเขา ก็ได้ความนับถือ ถ้าผู้ใดติดยึด คนเรา จะได้เป็นใหญ่ คนเคารพนับถือ เพราะพระคุณ ก็เป็นกิเลส ถ้าคนไม่นับถือเคารพ ก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าได้ศึกษา ทำให้ อย่างซื่อสัตย์ เสียสละ ไม่ต้องการบุญคุณ ก็ไม่ต้องสุขทุกข์ เราไม่ทำร้ายก็ดีแล้ว แต่ทำดีแล้ว ไม่ต้องมีใคร รู้จักบุญคุณ ก็ได้ เราทำดีไม่ได้ดี เพราะเราทำดี ยังไม่มากพอ ตั้งใจทำดีไปเถอะ เราไม่ต้องตั้งใจอยากได้ ให้เขาเห็น หรือมา ตอบแทนบุญคุณ เพราะเราทำดี เราได้ความดีสำเร็จ ในตัวแล้ว
ชีวิตก็สบาย ในสังคม เขามีคนมีปัญญา เขารู้ว่า คนดีทำดี เขาก็จะช่วยเหลือ สนับสนุน ช่วยทำด้วย เพราะรู้ว่า คนนี้มีคุณค่า ดีงาม อาตมาได้อธิบาย ไว้
หลักเศรษฐศาสตร์บุญนิยม หมายเลข ๑
๑. ไม่เป็นหนี้
๒. ทำกินทำใช้ให้พึ่งตนเองได้
๓. ทำให้เหลือกินเหลือใช้
๔. แจกจ่ายสะพัดออก เผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
และ
เศรษฐศาสตร์บุญนิยม หมายเลข ๒
๑. เรากินใช้ไม่มาก มักน้อยสันโดษ
๒. เราสร้างสรรขยันเพียร
๓. คุ้มกินคุ้มใช้ เหลือกินเหลือใช้
๔. เราไม่สะสมกักตุน
๕. เราสะพรัดออก แจกจ่ายเจือจาน
แม้เราทำตลาดอาริยะ ก็ต้องมีวิธีการให้เขาได้รู้จัก ลดละกิเลส เสียสละ ไม่แย่งชิง ทะเลาะวิวาทตีรัน ฟันแทง แย่งชิง จะสำนึก ถ้อยทีถ้อยอาศัย เราช่วยกัน พัฒนาจิต ให้เสียสละ มากขึ้น มีน้ำใจ สูงมากขึ้น ให้สังคม เจริญงอกงาม นี่เรารู้จัก อัตตาธิปไตย ไม่สร้างอำนาจ ด้วยโลกธรรม หรือกาม เราไม่สร้างอำนาจด้วยกาม เหมือนพวกดารา ให้คนมานับถือบูชา ด้วยกาม เราไม่ทำ
เราทำงานให้สังคม ไม่ต้องใช้อำนาจ ยศ สรรเสริญ หรือกาม หรืออัตตา ถ้าทำได้ด้วยใจจริงก็ประเสริฐ ถ้าทำได้นี่ สังคมอยู่รอด แม้กลียุค คนในโลก เห็นแก่ตัวจัดจ้าน เหลือเกิน ไม่เข้าใจการให้ เราก็อยู่ได้เพราะ มักน้อยสันโดษ พึ่งตนได้ แต่คนมาแย่งชิงได้ เราก็ยอมให้ มันก็ยิ่งเหลิง ยิ่งเรายอม ก็เบ่งอำนาจ ในยุคกลียุค จะเป็นเช่นนั้น แต่คนมีภูมิธรรม จะอยู่ได้ แต่ก็ทนยาก ต้องฝึกให้ทนได้อยู่รอด ถ้าคนไม่ภูมิธรรมสูง ก็อยู่ยาก
ยุคนี้ก็ไม่กลียุคร้ายแรง ต้องอีกหลายร้อยปี ทุกวันนี้ ก็อำมหิตพอได้ เป็นสัจจะ ต้องช่วยกันช่วยสังคม อาตมาเกิดมา ก็ต้องช่วยกันไป แม้ต้อง รับวิบาก แม้โพธิสัตว์ มาช่วยอย่างนี้ ก็ต้องตายไปก็มี ขนาดพระโมคคัลลานะ ก็ต้องยอมตาย เป็นต้น
อาตมาเอาโลก ๓ ชนิดมาใช้ เป็นลักษณะของ พระพุทธรูป ปางตรีลักษณ์
๑. โลกุตระ คือ จิตบรรลุธรรม อยู่เหนือโลกียวิสัย แห่งธรรมชาติกิเลส ทั้งกิเลสฝ่ายดึงดูด และฝ่ายผลักไส
๒. โลกวิทู รู้จักความเป็นไปของสังคม รู้จักสาระ-อสาระ รู้ความเกี่ยวข้อง เป็นเหตุแห่งทุกข์ ที่ตนเคยตกเป็นทาส จนรู้ดีขึ้น เพราะปฏิบัติได้พ้น ความเป็นทาส เหล่านั้น
๓. โลกานุกัมปา คือ เอ็นดูต่อสัตว์โลก มีประโยชน์ ช่วยเกื้อกูลต่อ มนุษยชาติ มีความกรุณา ช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ในระดับ ทุกขอาริยสัจ.. ตามจริง
จะมาเป็นพระพุทธเจ้า ต้องไปเรียนรู้ว่า สัตว์โลกเขาอยู่อย่างไร แต่เราต้องได้ หลักประกัน เป็นอรหันต์ ให้ได้ก่อน จึงจะไปเรียนรู้ โลกวิทู ให้รู้ว่า เขาอยู่อย่างไร จะได้ไปช่วยเขาได้ ส่วนโลกโลกียะของตนนั้น ท่านพ้นแล้ว พ้นทุกข์ร้อน ของตนแล้ว เกิดมาเพื่อช่วยผู้อื่น
ทางเถรวาท สอนกันว่า โพธิสัตว์ เป็นสัตว์ใต้ต้นโพธิ์ ไม่สามารถ บรรลุธรรมได้ ไม่อย่างนั้นจะต้องปรินิพพาน
เขาเข้าใจผิดว่า ถ้าเป็นโสดาบัน นั้นเกิดอีก ๗ ชาติ ก็ต้องบรรลุอรหันต์ และเถรวาท สอนกันว่า ถ้าเป็นอรหันต์นั้น ก็ต้องปรินิพพานเลย ไม่กลับมาเกิดอีกได้ ดังนั้น ถ้าบรรลุธรรม ก็เกิดอีกแค่ ๗ ชาติ ก็ต้องตายสูญ แล้วจะเป็นพระพุทธเจ้า ได้อย่างไร ก็กลัวเป็นอรหันต์ แล้วอยู่ๆ วันดีคืนดี ก็เป็นพระพุทธเจ้า ได้ปุ๊ปเลย คิดได้อย่างไร ให้เป็นปุถุชนไป ไม่ต้องบรรลุ แม้โสดาบัน ก็ไม่ได้ แล้วไปเป็น พระพุทธเจ้าได้เลย แล้วรู้หลักธรรม หมดเลย ได้อย่างไร?
ในศาสนามหายาน ก็ศรัทธาโพธิสัตว์ ได้แต่รู้ๆๆๆ แล้วธรรมะ จะได้หรือเปล่า ไม่รู้ แล้วเถรวาท ก็เอาแต่ บรรลุเป็นอรหันต์ ก็จบ ส่วนมหายาน ก็ไปมากๆๆๆ รู้แล้วไม่ได้จริง ก็เลยโต่งไป คนละทาง
ที่จริง โสดาบันกับโพธิสัตว์ อันเดียวกัน ต้องทำคุณธรรมในตน ให้บรรลุจริง จึงสอนคนอื่น จะไม่มัวหมอง ต้องถ่อมตนไว้ก่อน ก็ต้องรู้ตัวว่า ต้องมีคุณ อันสมควรก่อน จึงพร่ำสอนคนอื่น จึงไม่มัวหมอง ถ้าไม่อย่างนั้น จะเพี้ยน เป็นคนขายของ ที่ขายแต่ยี่ห้อ ไม่มีเนื้อของ ไม่มีสาระ กลายเป็นหลอกคน
นักการเมือง ต้องเป็นคนที่ เห็นแก่มวลมนุษยชาติ ไม่ได้เห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่ครอบครัว หรือ พรรคพวกของตน จะไม่มีเลห์เหลี่ยม โกหก จะทำจริง พูดจริง คนมีปัญญา จะดูออก
ขณะนี้ในไทยมีนักประชาธิปไตย สองขั้ว คือพวกหนึ่ง พวกแดง อีกพวกหนึ่งก็ กปปส.
เขาก็ว่าเขาเป็นประชาธิปไตย แต่เราก็ว่า เราประชาธิปไตย แต่กายนั้น ต่างกัน สัญญานั้นเหมือนกันว่า คือประชาธิปไตย แต่องค์รวม ที่เขาแสดงออกทั้ง หมดไม่เหมือนกัน เช่นให้สีแดงหมด ซื้อมาให้เลย เสื้อนี่เป็นต้น แต่ของกปปส. นี้หลากหลาย เอามาเอง เป็นต้น ก็คือ กายต่างกัน แต่สัญญา ตรงกันว่า คือประชาธิปไตย
ก็จะเห็นกายวิญญัติ ที่ต่างกันไป เอาพวกเรานี่ ชาว กปท. หรือ กองทัพธรรม มีรายละเอียด ที่ต่างกัน
ในกายวิญญัติหรือ กาย นั้นต่างกัน ถ้าเราเข้าใจ ความเป็นสัตว์ไม่ได้ สัตว์คือ ความวนเวียน ในวัฏสงสาร
ก็กายต่างกัน คนไม่ศึกษาธรรมะ ก็จะมี กายต่างกัน สัญญาต่างกัน ในข้อที่ ๑ ของวิญญาณฐีติ ๗ หรือ สัตตาวาส ๙
ข้อที่ ๒ เริ่มมีสัมมาทิฏฐิ เบื้องต้นตรงกัน ก็จะสร้าง องค์ประชุมของจิต เป็นนามกาย ก็จะมี สัตว์บางพวก ที่มีสัญญา อย่างเดียวกัน เช่นทำ ฌาน ให้จิตลด นิวรณ์ ๕ เมื่อสัญญา สัมมาทิฏฐิ เราก็จะได้กาย อย่างหนึ่ง แต่พวกมิจฉาทิฏฐิ ก็จะได้ฌานต่างไป เช่น พวกหนึ่ง เขากำหนดว่า การทำฌาน ต้องทำให้หมดนิวรณ์ แต่ไปทำกาย ให้นั่งหลับตาดับ ทำสมาธิ ก็ได้กาย ต่างกันไป แต่ได้องค์ประชุม คือ กายอย่างหนึ่ง ส่วนสัญญา ก็ไม่ให้มีนิวรณ์ แต่อย่างมิจฉาทิฏฐิ จะไปนั่งหลับตา เสพภพสบาย ไม่ได้มีผัสสะ ไม่ได้ลดกิเลส ในการกระทบ สัมผัสทวาร ไม่ได้มีการทำฌาน อย่างมีผัสสะ ลดกิเลส
กายของนักประชาธิปไตย องค์ประชุม พฤติกรรม กายวิญญัติ ของนักประชาธิปไตย ก็ต่างกัน สัญญาว่า ประชาธิปไตย อย่างเดียวกัน แต่มีนัย ต่างกัน คือสัมมา กับมิจฉา สองอย่างต่างกัน เขาก็ได้อย่างหนึ่ง ต่างกันไป องค์ประชุมสำเร็จ ตามทิฏฐิของเขา ก็ได้ประชาธิปไตยแบบนั้น เป็นเรื่อง เห็นจริงเลย เขามุ่งมั่น ประชาธิปไตย เหมือนกับเราเลย เขาว่าต้องดี ต้องเสมอภาค ช่วยคนจน แต่เขาช่วยคนจน ไปให้รวย คนจะรวย ก็ต้องแย่ง จากคนอื่น ในแต่ละประเทศ ก็ต้องจัดสรรทรัพยากร ให้ทั่วถึง แต่ถ้าคนหนึ่งรวย อีกคน ก็ต้องจน พระพุทธเจ้า จึงสอนให้มา เป็นคนจน คนจนแต่เป็นสุข สอนให้คน หายจน พวกเรานี่ คนหายจน แต่เป็นคนจนที่แจก อุดมสมบูรณ์ หลักเหล่านี้ เป็นหลักเพื่อสังคม ในหลวงเรา จึงให้ทำ แบบคนจน
เป็นนักประชาธิปไตย ที่ควีนของอังกฤษ ต้องตรัสให้เป็น King of King เลย นี่เป็นเรื่องจริง คำว่าจน จึงต่างกัน เรามาจน อย่างหายจน เป็นคนจน ที่หายจน ไม่มีโรคจนเลย มีเงิน ๐ บาท จะให้จนอย่างไร หมดเนื้อ หมดตัว มีสิทธิ์ผ่านไปมาอาศัย เสื้อผ้าไม่ตะกละ ข้าวของเครื่องใช้ ไม่ตะกละ มีเหลือ ก็แจกจ่าย นี่คือ กายวิญญัติ เป็นอาริยะ โลกุตระ แบบนี้ ยอดแห่งประชาธิปไตย ที่รวมทั้ง คอมมูน เผด็จการ และประชาธิปไตย นี่คือ ยอดแห่ง การปกครอง สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นธรรมาธิปไตย นี่แน่นอน สุดยอด ถ้าประชาธิปไตย ก็คือ พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก)
ในรธน.ไทย อ่านแล้วก็เข้าใจดี ก็ขออธิบาย ตามประสาอาตมานะ
อาตมาสรุปได้ว่า ที่แย่งอำนาจบริหารปกครอง ขอยืนยันว่า เราไม่แย่ง ถึงแม้ว่าชาวอโศก จะไม่ปกครอง แต่ก็ช่วยบริหาร สังคมอยู่ เป็นงาน การเมือง ภาคประชาชน คือ พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่ชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่ชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) นี่แหละ เราทำมาตลอด
หลักในการได้มาซึ่งอำนาจ ในการบริหารปกครอง ก็แย่งกัน แต่ก็มีการกำหนด รธน. มีการเลือกตั้งตัวแทน ไปบริหาร ปกครอง
ปกครองคือมีอำนาจ ส่วนบริหาร คือจัดการ ทำการเลย อาตมาเรียกว่า อำนาจในการบริหาร ปกครองประเทศ ก็จะมีหน้าที่ตำแหน่ง ที่ยกให้เขา ไม่ใช่ว่า ต้องเสมอภาค ทุกอย่าง ไม่ได้
ของพุทธนั้น จะเรียกประชาธิปไตย หรือเผด็จการ หรือคอมมูน ก็ต้องรับใช้สังคม ผู้บรรลุธรรม อย่างพุทธ พึงเป็นผู้รับใช้สังคม อย่างพระพุทธเจ้า ท่านร่างธรรมวินัยนั้น ท่านทำเอง ไม่ได้มีใครทำด้วย และท่านห้าม ไม่ให้แก้ไขด้วย
ศีลคือหลักสากล ไม่บังคับ ส่วนวินัย เป็นนักการเมืองอาญา มีบทบังคับ ลงโทษด้วย แต่ศีลเหมือนจารีตประเพณี
ก็อธิบายลักษณะธรรมะ เทียบเคียงความเป็นอยู่ เรียกว่า อำนาจโดยชอบธรรม กับ อำนาจไม่ชอบธรรม ใช้ศัพท์ว่า Force กับ Authority สองคำนี้แทน
Force คือ อำนาจกดขี่บีบคั้น แต่ Authority คืออำนาจโดยธรรม แต่เราไม่ปกครอง แต่เราช่วยรัฐ บริหารอยู่ ช่วยประชาชน โดยทำงาน กับประชาชน ไม่ต้องรับตำแหน่ง เงินเดือน แต่ช่วยทำบริหาร ภาคประชาชน แม้เรามีพรรคการเมือง ก็ทำงาน ภาคประชาชน ช่วยสังคมอยู่
อย่างเรามีรร. สัมมาสิกขา สร้างเด็ก สอนเด็ก โดยไม่เคย เอาเงินเด็กเลย เราให้เรียนฟรี เลย เป็นการช่วยเหลือสังคม แม้การพาณิชย์ เราก็ทำบุญนิยม ขาดทุนแก่สังคม ไม่ทำแบบ เอากำไร เอาเปรียบสังคม เราแบ่งเบาสังคม เราทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา พาณิชย์ สังคม สาธารณสุข เราก็บริหารทำงาน ช่วยรัฐบาลทำงาน การช่วยบริหารสังคม นี่แหละ คืองานการเมือง..... จบ