570326_พ่อครูที่ป้อมมหากาฬ |
แน่นอนที่สุดเราจะต้องมีนายกฯที่มีคุณธรรม บ้านเมืองจึงอยู่เย็นเป็นสุข ถ้านายกฯ ไม่มีคุณธรรม ก็ร้อนเป็นไฟ ไม่อยู่เย็นเป็นสุข เป็นของตาย ของจริงที่สุด แต่คนเรา ไม่คิดกันเท่าไหร่ แปลก อาตมาได้พยายาม ที่จะให้ข้อคิด ข้อสังเกตว่า ยุคนี้สมัยนี้ มนุษยชาติ มันฉลาดรู้ และการศึกษาของโลก แม้แต่ในไทย ก็ไม่ได้ ขาดตกบกพร่อง การศึกษาของไทยว่า จริงๆแล้ว เก่งกว่า จะว่าไปแล้ว โดยเฉพาะ การศึกษาระดับล่าง ประถม มัธยม แม้อเมริกา ก็สู้ไทยไม่ได้ ไทยเก่งกว่าเยอะเลย หลายด้าน เก่งทางวิชาการ หลายอย่าง อย่างพยาบาลไทย เหนือกว่าอเมริกา
วันนี้อาตมา ได้ของดีมา เป็นบทความ ของท่านยินดีมา ที่เป็นอดีตหัวหน้าคณะ ในศาลฎีกามา ท่านแสดงออก ก็จะชัดเจน เรื่อง
ทางออกของประเทศตามทฤษฎีการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บทความทางวิชาการ ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลฎีกา 24 มี.ค. 57
ข้อ 1.ตามหลักการปกครองแล้ว ผู้ปกครองหรือรัฐบาล เป็นผู้รักษากฎหมาย มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามกฎหมาย ดูแลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชน ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ประชาชน และสังคม อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข
แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิด โดยการใช้ อำนาจบริหาร หรือใช้อำนาจ โดยกลไกทางรัฐสภา เพื่อฉ้อฉลให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ที่จะใช้บังคับได้ ในเชิงกฎหมาย หรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในทางกฎหมาย ที่ไม่ชอบ หรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งผลประโยชน์ อันไม่ชอบ ด้วยวิธีการทุจริต คอรัปชั่นนั้น เป็นการบิดเบือน และฉ้ออำนาจอธิปไตย ของประชาชน โดยอาศัย ความไว้วางใจ ของ ประชาชน ที่ได้มอบอำนาจ ให้ไปใช้อำนาจ ในทางบริหาร หรือทางรัฐสภา การ กระทำดังกล่าว เป็นอาชญากรรม ( Criminal Syndicalism ) มิใช่เป็นการใช้ อำนาจบริหาร หรืออำนาจนิติบัญญัติ ในระบอบ ประชาธิปไตย ( Democratic theories ) แต่เป็นลัทธิ รวบอำนาจ ( Totalitarianism ) อันมีผลเปลี่ยนแปลง ในทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจ ทรราชย์ (Tyrant ) นั้น เป็นการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ( Political offence )
ในทำนองเดียวกัน พรรคการเมือง ที่ประกาศ ไม่ยอมรับอำนาจศาล หรือคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งเป็นอำนาจ อธิปไตยของรัฐ ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ยอมรับ อำนาจตรวจสอบ ขององค์กรอื่น ของรัฐ เป็นการปฏิเสธ การตรวจสอบ และการฟ้อง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ในทาง อาญา (impeachment) หรือการกระทำ ของพรรคการเมือง และสมาชิก พรรคการเมือง ที่ เป็นผู้ปกครอง ต้องการแบ่งแยกประเทศ หรือการกระทำ ของพรรคการเมือง และสมาชิกพรรคการเมือง ที่ไม่ยอมรับ การกระทำของ ประชาชน ที่ได้แสดงออก ตามวิถีทาง ในระบอบ ประชาธิปไตย โดยสงบ ปราศจากอาวุธ และประกาศ จะทำการรบ กับประชาชนนั้น เสียเอง โดยพรรคการเมือง ซึ่งมีอำนาจปกครองนั้น ได้ใช้กำลังปราบปราม และได้ร่วมกัน แสดงออก ซึ่งการให้ ความช่วยเหลือ สนับสนุน ยุยงส่งเสริม ทั้งในทางลับ และทางแจ้ง ต่อสมาชิกพรรคการเมือง หรือกองกำลังของ พรรคการเมืองของตน ที่จะทำการรบ กับประชาชน ผู้ชุมนุม ผู้ใช้สิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ จนเป็นที่ประจักษ์ ต่อสาธารณชน โดยทั่วไป แล้วนั้น การกระทำ ดังกล่าว ของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้ปกครอง หรือรัฐบาลนั้น เป็นการปฏิเสธ ความเป็นรัฐ-ชาติ ของรัฐไทย ( nation- state ) อันเป็นการไม่ยอมรับ การปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการกระทำ ที่มีเจตนา ที่จะให้มีผล เปลี่ยนแปลง ในทางการเมือง อันเป็น การกระทำ ที่เข้าข่ายของ การเป็นกบฏ และเป็นความผิด ต่อความมั่นคงของรัฐ การกระทำ ดังกล่าว ย่อมเป็น อาชญากรรม ( Criminal Syndicalism ) ด้วยเช่นกัน
การที่คณะรัฐมนตรีรักษาการ ได้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง และตั้งศูนย์ รักษาความสงบ เรียบร้อย หรือ ศรส. และนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ดูแล การเลือกตั้ง ได้ทั่วราชอาณาจักรนั้น จึงเป็นกรณีที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ได้ใช้ทรัพยากร หรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดๆ ซึ่งมีผลต่อ การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการกระทำการ อันขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) อันเป็นการกระทำ ผิดเงื่อนไข ของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ในขณะที่ทำหน้าที่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งเข้าข่าย เป็นการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง
การกระทำ อันเป็นอาชญากรรม หรือกระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจ การปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย ตามที่ได้รับ เลือกตั้งมา และการกระทำดังกล่าว ขัดต่อเจตนารมณ์ ของประชาชน ที่ได้เลือกตั้งมา ขัดต่อทฤษฎี การปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย
ข้อ 2. การที่ผู้ปกครอง หรือรัฐบาล กระทำการอันเป็น อาชญากรรม หรือการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง จึงก่อให้เกิด อำนาจหน้าที่ และสิทธิโดยชอบ ด้วยกฎหมาย ในทางการเมือง ของประชาชน ในระบอบ ประชาธิปไตย ( Legitimate political authority ) ที่จะชุมนุมต่อต้าน คัดค้าน และเรียกอำนาจ การปกครอง หรืออำนาจอธิปไตย ของประชาชน กลับคืน จากผู้ปกครอง รวมถึง การมีสิทธิและหน้าท ี่ที่จะกำหนด หลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง ( Right to rule ) ขึ้นได้ อำนาจหน้าที่ และสิทธิดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ และสิทธิ โดยพฤตินัย ของประชาชน ในระบอบ ประชาธิปไตย ( de facto authoritus ) ตามทฤษฎีการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 และ 69 ได้บัญญัติรับรอง อำนาจหน้าที่ และสิทธิ ของประชาชน ให้มีเสรีภาพ ในการชุมนุมต่อต้าน โดยสันติวิธี โดยสงบ และปราศจากอาวุธ ในการกระทำใดๆ ของรัฐบาล หรือผู้ปกครอง อันเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครอง ประเทศโดย วิธีการ ที่มิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแล้ว และรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติถึงสิทธิ ในการกำหนด หลักเกณฑ์ และกติกาในทางการเมืองไว้ ในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยได้มี พระบรมราชโองการ ประกาศเป็นบริบทไว้ว่า “ให้ ประชาชน มีบทบาท และมีส่วนร่วม ในการปกครอง และตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ อย่างเป็น รูปธรรม การกำหนดกลไก สถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มี ดุลยภาพ และประสิทธิภาพ ตามวิถีการปกครอง แบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยสุจริต เที่ยงธรรม ” นั้น
ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 , 69 และตามบริบท แห่งรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวข้างต้น อำนาจหน้าที่ และสิทธิ ในการต่อต้าน คัดค้าน เรียกอำนาจอธิปไตย ของประชาชน คืนจากผู้ปกครอง หรือรัฐบาล และอำนาจหน้าที่ และสิทธิ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง ของ ประชาชน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ และสิทธิ โดยนิตินัย ของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ( de jure authoritus )
เมื่อผู้ปกครองหรือรัฐบาล กระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ประชาชน จึงมีอำนาจหน้าที่ และสิทธ ิทั้งโดยพฤตินัย ( de facto authoritus ) และนิตินัย ( de jure authoritus ) ที่จะให้รัฐบาล พ้นจากอำนาจ การปกครองได้ รวมทั้งมีสิทธิ และหน้าที่ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง หรือที่ เรียกว่า การปฏิรูปการเมืองได้ ตามหลักการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic theories ) และ ตามรัฐธรรมนูญ
การกระทำความผิดอาญาในทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งเป็นต้นเหตุ ให้มีการชุมนุม คัดค้าน และเรียกอำนาจ การปกครอง คืนจากรัฐบาล เมื่อรัฐบาล ประกาศยุบ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่ อำนาจอธิปไตย จึงคืนกลับมา เป็นของประชาชน โดยการยุบสภา ประชาชน จึงมีอำนาจหน้าที่ ทั้งทางพฤตินัยและนิตินัย ที่จะไม่ให้รัฐบาล มีอำนาจ หน้าที่ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ต่อไปได้ ตามรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกาทางการเมือง ( right to rule ) เพื่อให้การปกครอง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร มีดุลยภาพ และประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ ตามวิถีการปกครอง แบบรัฐสภาได้
รวมทั้งมีสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริต เที่ยงธรรมได้ โดยอำนาจหน้าที่สิทธิ และความรับผิดชอบ ของประชาชนดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ สิทธิและความรับผิดชอบ ที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงพระราชทาน ให้แก่ประชาชน และข้า ราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์b มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ข้าราชการ และประชาชน จึงมีอำนาจอธิปไตย ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการ เมือง ได้ตามหลักทฤษฎี Divine Right of King Theories and Democratic Theories
ข้อ 3. การใช้อำนาจของคณะรัฐมนตร ีในขณะเป็นรัฐบาล และในขณะเป็น คณะรัฐมนตรี รักษาการ ได้มีการกระทำ ที่เข้าข่าย เป็นความผิดอาญา ในทางการเมือง เมื่อผู้ปกครอง ซึ่งกระทำความผิดอาญา ในทางการเมือง ได้เข้ามา ดำเนินการเลือกตั้ง โดยมีอำนาจ ในการดำเนินการ และจัดการเลือกตั้ง ร่วมกับ ประธานกรรมการ การเลือกตั้ง ตามพระราชกฤษฎี การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 มาตรา 5 เมื่อเข้ามา ดำเนิน การเลือกตั้ง ก็ทำผิด รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) โดยให้ศูนย์รักษา ความสงบเรียบร้อย ดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นการกระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ซ้ำอีก เมื่อการเลือกตั้ง อยู่ในอำนาจ ดำเนินการ โดยผู้กระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง นั้น การเลือกตั้ง จึงไม่มีผล เป็นการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตาม ทฤษฎีทางอาญาว่า “ การกระทำ ผิดอาญา ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นจากนั้น ไม่มีผล ” [ Crimen omnia ex se nata vitiat ( ละติน ) หรือ Crime vitiates everything which springs from it ]
และการที่ผู้ปกครอง หรือรัฐบาล ได้กระทำผิดอาญา ทางการเมือง จึงเป็นเรื่องผู้ที่ มีอำนาจรัฐ ไม่อยู่ภายใต้ กฎหมาย ทำตัวเป็น ผู้อยู่เหนือกฎหมาย จึงเป็นกรณีที่มีนัยสำคัญ เกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร อย่างยิ่ง เพราะรัฐบาล ที่ไม่อยู่ใต้กฎหมาย ทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย แต่เป็นผู้ใช้บังคับ กฎหมายได้นั้น จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความมั่นคงของ ราชอาณาจักรโดยตรง ซึ่งเป็นไปตาม สุภาษิตกฎหมายว่า “ ไม่มีความมั่นคง ในราชอาณาจักรใด ยิ่งไปกว่า การที่ทุกคน อยู่ใต้กฎหมาย ” [ Nihil tam proprium est imperii quam legibus vivere (ละติน ) หรือ Nothing is so proper for the empire than to live according to the law ]
การเลือกตั้งที่มีขึ้น หรือจะมีขึ้น ระหว่างการบริหาร ราชการแผ่นดิน ของคณะ รัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งได้กระทำ ความผิดอาญา ในทางการเมือง ทั้งก่อนการยุบสภา และภายหลังการยุบสภา นั้น จึงไม่อาจเกิดผล เป็นการเลือกตั้ง ในระบอบ ประชาธิปไตยได้เลย แต่จะเป็นการเลือกตั้ง ที่เป็นภยันตราย อย่างมหันต์ ต่อความมั่นคง แห่งราช อาณาจักร ตามหลักทฤษฎีอาญ าและสุภาษิตกฎหมาย ดังกล่าว
ข้อ 4. เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ จึงมีผล ในทาง รัฐธรรมนูญ ต่อการอยู่ในตำแหน่งของ “ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่พ้นจากตำแหน่ง ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งไม่อาจอยู่ในตำแหน่ง ได้อีกต่อไป เพราะไม่มีคณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ามารับหน้าที่แทน ได้อีกแล้ว เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ของการอยู่ในตำแหน่ง ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รักษาการ ตามอำนาจ หน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 จึงสิ้นสุดลง เพราะการเลือกตั้ง เป็นโมฆะ ทั้งนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็น สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ไม่อาจเป็น นายกรัฐมนตรีได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 วรรคสอง และ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจอธิปไตย ของประชาชน ในฐานะ เป็นผู้แทน ประชาชนแล้ว นายกรัฐมนตรี จึงไม่อาจอยู่รักษาการ นายกรัฐมนตรี ได้อีกต่อไป นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รักษาการ จึงไม่มีฐาน แห่งอำนาจหน้าที่ ทั้งทาง กฎหมาย และในทางการเมือง ที่จะอยู่ในตำแหน่งได้ ( Illegitimate political authority ) ไม่มีคุณสมบัติ ในทางการเมือง ที่จะอยู่รักษาการ ได้อีกต่อไป ( Political disability ) การอยู่ในตำแหน่งต่อไป ย่อมเป็นการกระทำ ที่เข้าข่ายของ การก่ออาชญากรรม หรือ กระทำความผิดอาญา ในทางการเมืองได้ เพราะเข้าข่าย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ เป็นประการแรก แม้ศาล รัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย ในทำนองแนะนำ ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งและ รัฐบาล ไปหาแนวทาง การเลือกตั้ง กันนั้น ข้อแนะนำของ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่อาจ ล้มล้าง อำนาจหน้าที่สิทธิ และความรับผิดชอบ ของประชาชน และข้าราชการ ที่จะกำหนด หลักเกณฑ์ และกติกา ในทางการเมือง หรือการปฏิรูปการเมือง อันเป็นอำนาจอธิปไตย ที่ได้รับพระราชทาน จากพระมหากษัตริย์ นั้นได้เลย
การกระทำใดๆของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรี กับคณะรัฐมนตรี รักษาการ เพื่อจะให้มี การเลือกตั้ง และได้ผลของ การเลือกตั้ง ที่จะมาเป็นผู้ปกครอง โดยไม่คำนึงถึง สิทธิเสรีภาพ และอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของ ประชาชน ผู้ใช้สิทธิ เลือกตั้ง พราะต้องการ จะเป็นผู้ปกครอง ให้ได้แต่ฝ่ายเดียวนั้น ก็จะกลายเป็น การเลือกตั้ง ที่ละเมิดต่อสิทธิ ขั้นพื้นฐาน และอำนาจอธิปไตย ซึ่ง เป็นของประชาชน อันเป็นการกระทำ ที่นอกจาก จะผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการกระทำ ที่ไม่ใช่เป็นการ เลือกตั้ง ในระบอบ ประชาธิปไตย อีกด้วย
การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องใช้การเลือกตั้ง เป็นวัตถุประสงค์ และเครื่องมือ ของประชาชน ผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง ซึ่งเป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย ไม่ใช่ใช้ประชาชน เป็นเพียงวัตถุ ของการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจรัฐ การเลือกตั้ง ที่ใช้ประชาชน เป็นเพียงวัตถุ ของการเลือกตั้งนั้น เป็นการเลือกตั้ง ในระบอบ ทรชนาธิปไตย ( Kakistocracy ) คณาธิปไตย ( Oligarchy ) หรือ ธนาธิปไตย ( Plulocracy ) ซึ่งก็คือ ใช้การเลือกตั้ง เพื่อปล้นอำนาจอธิปไตย ของประชาชน ไปนั่นเอง
ข้อ 5. ทฤษฎีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และทฤษฎีอำนาจ ที่ได้รับพระราชทาน จากพระมหา กษัตริย์ ซึ่งเป็นทฤษฎี ที่ใช้กันในสากลนั้น แม้ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ และสิทธิทั้งทางพฤตินัย และนิตินัย ในการมีส่วนร่วม ในการปกครอง ตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ มีสิทธิและหน้าที่ ที่จะกำหนดกลไก สถาบัน ทางการเมือง ทั้งทางฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตลอดจน ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ ได้ตามที่บัญญัติไว้ ตามบริบทของ รัฐธรรมนูญ ได้ก็ตาม แต่ก็มีข้อขัดข้อง ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ และทางกฎหมาย ที่ประชาชน ไม่สามารถใช้ อำนาจหน้าที่และสิทธิ ให้มีผล ในทางปฏิบัติได้ เพราะเป็นกรณี ที่ต้องดำเนินการ โดยต้องใช้ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ที่จะดำเนินการได้ ปวงประชาชนชาวไทย จะต้องถวายคืน อำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวไทย แด่พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิด อำนาจรัฐสูงสุด เมื่อประเทศไทย มีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย และประเทศ ขาดรัฐสภา คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ ไม่อาจใช้ อำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวไทย ทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ได้ จึงเป็นพระราชอำนาจ โดยอำนาจ อธิปไตย ที่ประชาชน ถวายคืน ตามช่องทาง ของอำนาจ อธิปไตย ของประชาชน ที่ยังคงมีเหลืออยู่ เพื่อดำเนินการ ตามวิถีทาง ปกครองประเทศ ในระบอบ ประชาธิปไตย อันจะยังไว้ ซึ่งความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรไทย ที่มีการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขได้ ทั้งนี้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 มาตรา 3 มาตรา 7 และตามหลัก ทฤษฎีสากล คือ Divine Right of King Theories and Democratic Theories
การต่อสู้ครั้งนี้ ประชาชนออกมา เป็นจำนวนมาก ทำอย่างถูกต้อง ตามรธน.ด้วย เหมาะสม ถูกต้องดีงาม เป็นการต่อสู้ ตาม ม.๖๓ และ ๖๙
รัฐบาลนั้น อาตมาถือว่า วินาศ หรือวิบัติแล้ว และประชาชน ออกมาได้อย่างวิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ชนิดที่ ไม่เคยเกิดได้เลย ในโลก คงไม่เคยมีมาเลย
คำว่าอำนาจนี่ รวมความเป็น พลังงาน ทางจิตวิญญาณ เอาไว้อย่างมหาศาล สมบูรณ์เลย หรือเป็นแรงกำลัง ฤทธิ์แรง พลังงานทางจิต
รัฐ คือการบอกขอบเขตพื้นที่ ที่คนเหล่านั้น เป็นเจ้าของ รัฐคือรูป ประชาชน คือนาม
อำนาจประชาธิปไตย ที่เป็นรัฐาธิปัตย์
อำนาจของทักษิณ ๑ เสียง สมาชิกพรรคเพื่อไทย มีใครกล้าค้านไหม? นี่คืออำนาจเผด็จการ แล้วก็หาว่า อย่างนี้คือ ประชาธิปไตย ซึ่งเขาก็หลอก คนที่ไม่เข้าใจ เอาไว้เป็นพวก แล้วใช้มวลหมู่ เหมือนกับ ที่เขาซื้อสส. ไว้ในพรรคของเขา เป็นมวลหมู่ แล้วใช้มวลหมู่ เป็นเผด็จการรัฐสภา เขาทำสำเร็จด้วย จึงท้าทาย เขามีอำนาจ กดขี่ Force บังคับ แม้ข้าราชการประจำ ก็ถูกอำนาจนี้กดขี่ เหนือ จนสั่งการได้ จะแต่งตั้งใครก็ได้ ให้อาชญากรหนีคุก เป็นคนสั่งการ เขาไม่เคารพ ไม่รับอำนาจศาล
ประเทศไทย กลายเป็นประเทศ ที่เสื่อมโทรม ขายหน้าประเทศ แม้ในยุคที่ เพิ่งผ่านมา สองปีกว่านี่ เป็นคณะรัฐบาลไทย ที่ขายหน้า มานานแล้ว
ที่อาตมาใช้นี้ เป็นของเก่า ภูมิรู้เก่า ที่ดึงมาใช้ได้ อาตมาก็มาเรียนรู้ของคนอื่น ว่าเขาทำได้อย่างไร? เช่น อย่างคุณทักษิณนี่ เขาทำได้อย่าง ขนาดนี้ เลวชั่วขนาดนี้ อาตมาคิดไม่ออกจริงๆ นึกไม่ถึง
คนที่ดีมากที่สุด คือพระพุทธเจ้า คนที่ดีรองมาคือ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า เป็นต้น ก็เคยพบมา คนชั่ว ก็เคยพบมาไม่น้อย แต่ละชาติๆ บางอย่าง เราเคยเป็น บางอย่าง เราไม่เคยเป็น แต่เคยเห็นมา
แต่อาตมาว่า อย่างคุณทักษิณนี่ คนเป็นไปได้อย่างนี้เชียวหรือ หลอกคน ได้ซับซ้อน ได้ขนาดนี้ ไม่ใช่ชั่วหยาบๆ ที่คนรู้ทันได้ง่าย คนทำการณ์ไม่ได้ใหญ่ ในคนทำหยาบ แต่คนที่หลอกได้ ลึกซึ้ง ซับซ้อนนี่ ทำการณ์ใหญ่ได้ อันนี้สิ เลวสุดๆๆๆ อาตมาว่า อาตมาเลวไม่ได้เท่า คุณทักษิณได้แน่ พูดตามสัจธรรมนะ อ้างอิง ในพฤติกรรมปรากฎ
เป็นปรากฏการณ์วิทยา Phenomenology ก็ยืนยัน ตามประสาอาตมา แล้วจะมีคน มาช่วยเรียบเรียง ให้อาตมา เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อาตมาก็ทำ แบบลูกทุ่ง
อำนาจที่เรียกว่า อธิปไตย เป็นอำนาจเต็มสิทธิ์ ของผู้ที่ใช้อำนาจ ที่ชอบธรรมเท่านั้น ถ้าเป็นสิทธิ ของเจ้าของ คนทุกคน มีของตน หลายคนมีสิทธิ์ แต่ใช้ไม่ได้ สังคมมี สิ่งเหล่านั้นอยู่ ในทางวัฒนธรรม มารยาท กฎหมาย หรือแม้แต่คุณธรรม ก็ใช้ไม่ได้บางกรณี อย่างคนมีคุณธรรม มีสิทธิตำหนิพ่อแม่ แต่ด้วยมารยาท วัฒนธรรม คนมีคุณธรรม ก็ไม่กล้าใช้สิทธิ ตำหนิพ่อแม่ เป็นต้น แต่ก็มีสิทธิเต็ม แต่ใช้ไม่ได้
สังคมจึงมีขั้นตอน มีกรอบต่างๆ ถ้าอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นสิทธิ หรือไม่ใช่สิทธิ ที่คนในระบอบ ประชาธิปไตย จะสามารถใช้ หรือใช้ได้ ในสังคมประชาธิปไตย ใครใช้เมื่อใด ก็ไม่ใช่อธิปไตย เมื่อนั้น เป็นอธิปไตยเก๊ เบ่งทุกวัน เขาว่าเขามีสิทธิ พูดด่าว่าเขา ไปทำร้ายเขา เป็นต้น
คำว่า Right หรือสิทธิของประชาชน ต้องถูกต้อง ชอบธรรมเท่านั้น จึงมีสิทธิ์ ตามประชาธิปไตย หากแสดงออกแรง ไม่ดี ก็ไม่เป็นอำนาจ ตามประชาธิปไตย
ทุกวันนี้ เมื่อทำอะไรไม่ถูกต้องดีงาม ก็เลยเดือดร้อนสังคมไปหมด ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจสังคม ก็อยู่ไม่เย็น อยู่ไม่สุขกัน
อาตมาไปอ่านเจอ ของท่านขุนน้อย ในไทยโพสต์ ลงท้ายข้อเขียนว่า ยินดีในชัยชนะ ก็คือยินดี ในการฆาตกรรม
อาตมาว่า เขาพูดถูกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกทั้งหมด คือ ถ้ายินดี ในชัยชนะทางโลกีย์ ก็ใช่ คุณกำลังทำ ฆาตกรรม เพราะคุณใช้อำนาจ Force ให้คนจำนน ด้วยแรงกดข่ม แม้คุณชนะเขา จะเบาหรือแรง ก็ทำร้ายคนอื่นด้วย Force ไม่ใช่อำนาจอธิปไตย
แต่ถ้าชัยชนะโดยโลกุตระ ไม่ได้เบียดเบียน ผู้แพ้เลย ไม่ใช้ Force แต่ใช้ Authority เป็นการยืนยัน ความถูกต้อง ดีงาม ว่าผู้ถูกควรชนะ ผู้ผิดควรแพ้ ยืนยันเหตุผลว่า อะไรถูกหรือผิด อะไรดี อะไรไม่ดี
แล้วลักษณะของสัจธรรม ความจริงๆๆ มันควรยก หรือควรข่ม กันแน่ กับความถูก... ก็ต้องยกความถูก มันเป็นความจริงต้องยก สำหรับผู้รู้ความจริง ส่วนความผิดชั่ว ต้องถูกข่ม จะให้แสดงออกกลับกัน ก็ไม่ถูกสิ
อย่างผู้พิพากษา ก็ต้องยกคนถูก ข่มคนผิด คนเป็นกลาง ต้องแสดงอย่างนั้น ผู้พิพากษา ตัดสินเมื่อใด ที่เป็นผู้ที่ไม่อคติ ก็ต้องเข้าข้างคนดี หรือตัดสิน ให้คนดีถูก ให้คนถูกถูก ให้คนผิดคนชั่วผิด ก็ต้องแสดงออก เช่นนั้น ก็เป็นการแสดง เข้าข้างฝ่ายถูก ส่วนฝ่ายที่ เขาถูกตัดสินว่าผิด ก็ต้องไม่ยอม เพราะเขาเห็นว่า เขาถูก ออกมาเป็นว่า ตัดสินให้คนอื่นถูก ได้อย่างไร แล้วไม่ยอมรับ ตุลาการ หรือผู้พิพากษา ของประเทศ หากไม่ยอมรับ ก็อยู่ในประเทศนี้ ไม่ได้แล้ว เพราะใหญ่กว่าประเทศนี้แล้ว ไม่ว่าจะประเทศไหน ก็ต้องยอมรับ อำนาจศาล หากไม่ยอมรับ ก็ต้องออก นอกประเทศนั้น
แม้อาจมีผู้พิพากษา เอียงเข้าข้างคนผิด หรือบกพร่องความรู้ ตัดสินผิด ก็อาจมี แต่ท่านต้องพยายาม ไม่อคติ ทำให้ถูกตรงที่สุด นี่คือ กิจของคนเป็นกลาง ที่จะต้อง เข้าข้างคนดี ยกคนดีคนถูก ถ้าไม่เข้าใจ ความจริงอันนี้ ก็จะบอกว่า คนเป็นกลาง ต้องไม่เข้าข้าง ก็อาจมีบางกรณี ที่ท่านจะต้องแสดง กลางๆว่า ไม่เข้าข้างใคร เดี๋ยวคน ไม่เชื่อใจ แต่คุณห้าม คนที่จะมาพิพากษา ที่ท่านจะมีผู้สนิท มีมิตรสหาย มันห้ามได้ที่ไหน หรือจะให้เป็น ผู้พิพากษา แล้วไม่ต้องรู้จักใคร แม้ญาติตนเอง ก็ไม่ต้องรู้จัก เป็นไปได้อย่างไร
มันอยู่ที่ตัวท่านเองว่า จิตท่านจะแข็ง จะทนขนาดไหน ผู้ใดกิเลสเห็นแก่ตัว แก่พวกน้อย ก็ทำได้ดี หรือไม่มีกิเลสเลย ก็ยิ่งดีที่สุด แม้มีกิเลส แต่ต้องไปเป็น ผู้พิพากษา ก็ต้องพยายาม ไม่อคติ ก็ทำได้ ตามบารมี ภูมิธรรม ก็ใช้กันมา ในสังคม แต่ถ้าเราได้อรหันต์ มาเป็นผู้พิพากษา หรืออนาคามีได้ ก็แจ๋วเลย ท่านจะไม่เห็นแก่ แม้ญาติ สหาย ถึงเวลาตัดสิน ก็ต้องทำเช่นนั้น แต่ในพฤติกรรมสังคม ไปห้ามท่าน ไม่ได้หรอก จะเป็นการตัดสิทธิ มนุษยชน
สำหรับโลกีย์ แล้วผู้ที่จะเอาชนะ คะคานคนอื่น ก็ต้องใช้ Force ทั้งนั้น มีเชิงอำนาจ บาตรใหญ่ ก็เป็นโลกีย์ จะด้วยลีลา สามารถ โลกธรรม กามอย่างไร ก็ต้องใช้อย่างนี้ ในประวัติศาสตร์จีนก็มี ผู้หญิงที่ใช้อำนาจ ทำให้ฮ่องเต้ หลงหรืออยู่ใต้อำนาจ แล้วตนเป็นคนบงการ
หรืออำนาจในทาง อรูปอัตตา เป็นความซับซ้อน เหมือนไม่ได้ใช้ อำนาจเลย แต่คนอื่น ทำแทน เป็นอำนาจ Force และยังมีอำนาจ ที่ใช้แบบชอบธรรมก็มี
คนที่สามารถใช้ได้ อย่างเจ้านายตัวใหญ่ ไม่ได้สั่งฆ่า คนนี้หรอก แต่ลูกน้องทำให้ ไม่ได้รู้จักเลย ไม่รู้กี่ทอด ที่สั่งการ แต่เจ้านายใหญ่ ไม่รู้เลยก็มี เพราะบริวารเหล่านี้ หลงก็มี ได้เศษเนื้อ ข้างเขียงก็มี ได้ดีเพราะ พี่ให้ก็มี ได้รับโลกธรรมก็มี สรุปแล้ว อำนาจที่ชนะ ทางโลกีย์ ใครไปยินดี คุณคือฆาตกร
แม้แต่ราชการ หน้าที่ที่คุณทำ ก็มาทำเบ่งอำนาจ จนเป็นฆาตกรจริงๆ ก็มี คนไม่เข้าใจ ไม่รู้รายละเอียด จึงเป็นฆาตกร อยู่เยอะเลย แม้ที่นั่งๆอยู่นี่ ก็อยู่ในข่ายฆาตกร ก็เยอะเลย แต่ถ้าเป็น อำนาจเกื้อกูลใจดี ปรารถนาดี ต่อคนอื่น จริงๆเลยก็ดี อาตมาก็ปรารถนาดี ต่อคนที่กำลัง บรรยายถึงนะ อาจดูว่าพูดเท่ พูดเอาโก้ แต่พูดจริง ขณะที่พูดออกไปนี่ ถ้าไม่จริง ก็ปาราชิก หากจิตอาตมา ไม่มีเมตตาจริง ด่าไปเพราะ ต้องการทำร้าย อาตมาก็ปาราชิก เพราะอวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มีในตน
คุณยินด ีที่คุณได้หลอกคน คุณดราม่า ว่าเศร้า แท้จริง คุณไม่เศร้าจริงหรอก คุณยินดีว่า คุณทำสำเร็จ นี่คือ คุณทำฆาตกรรม เป็นเรื่องลึกซึ้ง ต้องศึกษากัน ให้รู้จริง
สรุปที่ว่า อำนาจ คือแรงพลังของมนุษย์ ซึ่งเป็นอำนาจทางใจ นี่น่ากลัว แสดงออกมา เป็นกาย กับวาจา เป็นผลกระทบ แม้ไม่ออกมาข้างนอก เกิดภายใน ก็ซวยตัวเอง สรุปว่า...
อำนาจ ของ ลาภ หรือข้าวของเงินทองในโลก
อำนาจ ของ ยศ หรืออำนาจ ของตำแหน่งหน้าที่ในสังคม
อำนาจ ของสรรเสริญ หรือ เด่น โด่ง ดัง
อำนาจ ของกามคุณ ๕ หรือ รูป กลิ่น เสียง รส สัมผัส
นั้น คืออำนาจ ที่ คนฉลาด ใช้เป็น โลกาธิปไตย ผู้ที่ยังหลงใช้ ลาภ ยศ สรรเสริญ กาม เป็น "อำนาจ" หรือให้มี "อำนาจ" กับผู้อื่น และกับตนอยู่ นั่นแหละคือ อำนาจที่คน "ผู้ไม่รู้" (ผู้อวิชชา) ใช้เป็น อัตตาธิปไตย
ผู้ไม่ใช้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็น "อำนาจ" และไม่หลงให้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เพราะหลงกาม ลำบาก เพราะหลงอัตตา มามีฤทธิ์เป็น "อำนาจ" ทำให้ใจตน ต้องหวั่นไหว เป็น "อารมณ์ ชอบ - อารมณ์ ชัง" ได้
แต่อยู่กับ ลาภ- ยศ - สรรเสริญ - สุข โดยไม่เป็นทาส ตกอยู่ใน "อำนาจโลก" (โลกาธิปไตย) และไม่เป็นทาส ตกอยู่ใน "อำนาจอุปาทาน" (อัตตาธิปไตย) เพราะยังหลงยึดว่ามี "อำนาจ" จริง
ผู้ไม่ใช้ "โลก" ไม่ใช้ "อัตตา" และ
ไม่ให้ "โลก" ไม่ให้ "อัตตา" เป็น "อำนาจ" แก่ "ตน" แก่ "สัตว์อื่น คนอื่นในโลก"
ผู้นี้แหละ คือ ผู้มี "ธรรมาธิปไตย" หรือผู้ชอบธรรมแล้ว ใช้ "ธรรม" และให้ "ธรรม" เป็น "อำนาจ"
อนาคามี นั้นท่านอาจมี เศษอัตตาบ้าง เช่นยึดดี เป็นความลำบากที่เหลือ ของอนาคามี พระพุทธเจ้าสอน ในธัมมจัก กัปปวัตนสูตร ท่านสอนเรื่องอัตตา และกาม เบื้องต้น ต้องล้างกามก่อน ตั้งแต่กามหยาบ คืออบาย จนหมดกาม ทางภายนอก หมดกามคุณ ๕ แล้วก็มาล้างอัตตาต่อ ผู้หมดกาม หมดอัตตา ก็คือ ผู้มีมัชฌิมา
มัชฌิมาปฏิปทา ถ้าแปลว่า ทางสายกลาง ไม่ได้หมายถึง พิณสามสาย แค่นั้น แต่เป็นเพียง การประมาณ ให้เหมาะกับ การปฏิบัติตน แต่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ได้หมายถึง แบบพิณสามสาย ไม่ใช่
มัชฌิมา คือผู้ไม่มีเศษส่วนของกาม และอัตตาเหลือ คือปฏิบัติจนเกิดผล มัชฌิมา
ต้องล้าง ตั้งแต่กาม ระดับอบาย ก่อน แล้วมาล้างกาม ระดับกามคุณ แล้วมาล้างกามโลกธรรม เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ จนเป็นอนาคามี ก็หมดสังโยชน์เบื้องต่ำ เหลือแต่สังโยชน์เบื้องสูง
๖. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในรูปภพ -ในอุปาทายรูป)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอรูปภพ)
๘. มานะ (ความถือตัวถือตนในความดีของตน)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน กระจัดกระจาย รู้ยาก)
๑๐.อวิชชา (ความหลง-ไม่รู้ อันเป็นเหตุไม่รู้จริง) . .
(พตปฎ. เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๘๕) .
ต้องทำเหมือนในโสดาบันไป คือทำ
ข.) ส่วนที่เกิดทางจิต (โอปปาติกโยนิ)
๕. โสตาปันนะ (เข้าสู่กระแสโลกใหม่คือโลกุตระ) ทำได้ ๒๕%
๖. อวินิปาตธัมโม (ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา) ๕๐ %
๗. นิยตะ (เที่ยงแท้แน่นอน สู่มรรคผลที่สูงขึ้น) ๗๕%
๘. สัมโพธิปรายนะ (มุ่งตรัสรู้ในภายหน้า) ๑๐๐ %
(พตปฎ. เล่ม ๑๙ ข้อ ๑๔๗๕)
แม้เป็นสกิทาคามี หรืออนาคามี ก็ต้องทำตาม ๔ ประการนี้ แต่กิเลสต่างกัน ละเอียดต่างกันไป ผู้ไม่ชัดเจน ก็ประมาท ขอเตือนชาวอโศก ที่มีโสดาบันเยอะ ข้าวมีกิน ดินมีเดิน พี่น้องมีเสร็จ เห็ดมีเก็บ ป่วยเจ็บ มีคนช่วยรักษา ขี้หมามีคนช่วยกวาด ผ้าขาดมีคนช่วยชุน .. .แต่ว่าบุญ ไม่ค่อยจะสั่งสมกันเลย ก็เลยจมอยู่ เช่นนั้น นานเท่านาน มีเยอะโสดาบันนาน ได้คุณธรรม แล้วตกจากหมู่ ออกไปมีผัวเมีย มีลาภยศ ตามประสา แต่มีภูมิ อยู่บ้าง วนเวียนหลายชาติ ตกไปเป็นวิบากอีก แล้วก็ต้องเสริมรส ในโลกธรรม กาม อัตตาอีก ต้องตั้งตน บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง อย่าให้ตกจากหมู่....