570331_พ่อครูและอ.กฤษฎา เรื่อง เพราะศีลธรรมกลับมา โลกาจึงไม่วินาศ |
อ.กฤษฎา หลายวันที่ผ่านมา พวกเราคงได้เห็นปรากฎการณ์ มวลมหาประชาชนกัน คงไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้าย หลายคนคงมอง ทั้งบวกและลบกันไป สังคมพุทธ แม้เรามี ดีเอ็นเอพุทธ แต่ความเป็นพุทธ ในสังคมไทย กลับหายไป แล้วกระบวนการของ มวลมหาประชาชน จะทำให้ศีลธรรมกลับมาหรือไม่? มีน้ำใจกลับคืนมาหรือไม่?
กราบนิมนต์พ่อครูถอดธรรมะให้รู้กันครับ
พ่อครูว่า... เป็นคำถามที่ดี และควรได้รับคำตอบ ชาวไทยควรได้รับคำตอบ คำถามที่ว่า เมืองไทยนี้ ความเป็นพุทธ ได้กลับมาหรือไม่? โดยดูจากพฤติกรรม ของสังคมไทย เหตุการณ์ที่กำลังเคี่ยวข้นนี้ มีผลเป็นผล หรือมาจากเหตุ ของบ้านเมือง ที่จะต้องมีอำนาจหลัก ที่จะทำให้เกิด ความอยู่เย็นเป็นสุข หรืออยู่ทุกข์เป็นร้าย จะเป็นอย่างไร?
ที่เรามาต่อสู้นี้ เรามาต่อสู้กับอำนาจ ที่ทำให้เป็นทุกข์ อยู่ทุกข์เป็นร้าย ไม่ใช่อยู่เย็นเป็นสุข เราก็เลยต้อง มาต่อต้าน อำนาจบริหารนี้
การมาต่อต้านคราวนี้ มันได้แสดงออก ถึงความเป็นจริง ของมวลประชาชน ที่ได้ตื่นรู้ เป็นมวลมหาประชาชนได้ และก็ไม่ใช่การเกิดกลุ่มใดขึ้นมา เพื่อจะมาล้มล้าง อำนาจเก่านี้ แต่มันเกิดจาก อำนาจของผู้ที่จะเริ่มก็แล้วแต่ แต่มันเริ่มมาหลายกลุ่ม เกิดมาจาก มวลประชาชน เท่าที่เกิด จนเป็นหลายจุดสำคัญๆ ร่วมกัน เรียกว่า ร่วมกันตีเลย ถือว่าเป็นการเกิดขึ้น ของธรรมะแล้ว ไม่ใช่เกิดจาก การคิดถึงอำนาจ ของกลุ่มใด คนใดคนหนึ่ง เช่น เกิดคณะปฏิวัติ แล้วจะล้มล้าง เอาอำนาจของเราแทน นั้นไม่ใช่ แต่นี่เกิดจาก ความคิดนึกเห็นจริง ที่จะมารวมกันทำ จากการเห็นความเดือดร้อน ของประเทศ ที่เกิดจากผู้บริหารนี้
เป็นการเกิดโดยธรรม ของสัจธรรมเอง อันนี้เป็นธรรมชาติ แห่งสัจธรรม ที่แท้ เป็นธรรมะที่แท้ อาจไม่ใช่เมืองไทย เมืองเดียวที่เกิด แต่ของเราเป็นเมืองพุทธ
ความหมายคำว่า พุทธ ก็ต้องขออภัย ศาสนาอื่น แต่เนื้อแท้ของพุทธ เป็นโลกุตระ เป็นอารยะธรรม ที่เกิดจากจิตวิญญาณ จิตใจ ที่เป็นกุศลจิตแท้ๆ ที่เห็นแก่มวลมนุษยชาติ อย่างแท้จริง และเกิดอย่างมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว มีคุณสมบัติ ของความเป็นธรรม ที่แข็งแรง เอาจริง ที่สุดก็คือ เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่รุนแรง ตามสากลทั่วโลก ยอมรับ ซึ่งเป็นได้ยากมาก ที่จะเอาคนทั้งประเทศ รวมตัวกัน แสดงออก ประชาธิปไตย ที่มีทั้งคะแนนเสียง ของมวลปริมาณ เราแสดงมา ตั้งหลายครั้งแล้ว ก็ได้เป็นจำนวนมากมาย มหาศาล
แม้แต่ความยาวนานอดทน ก็ยังสงบ ไม่เกิดจราจลรุนแรง ซึ่งความรุนแรง ไม่ได้เกิดก่อจาก มวลมหาประชาชน ไม่ได้เป็นเรื่อง แม้แต่ทะเลาะกันเอง ก็ไม่มี ตีรันฟันแทงกัน แก่งแย่งไปไม่รอด ก็ไม่มี สิ่งนี้เป็น ความเป็นธรรมของธรรมะ ของพุทธที่เป็นเอกภาพ ถ้าเอาหลักธรรม พระพุทธเจ้ามาจับเรียกว่า สาราณียธรรม ๖ และพุทธพจน์ ๗
๑. เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ทั้งลับ-แจ้ง
๔. แบ่งปันลาภผล ให้กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (ลาภธัมมิกา – มีลาภตามธรรม แห่งสาธารณโภคี) . .
๕. มีศีลเสมอสมานกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (สีลสามัญญตา)
๖. มีความเห็นเสมอสมานกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย (ทิฏฐิสามัญญตา) .(พตปฎ. เล่ม ๒๒ ข้อ ๒๘๒-๒๘๓)
เมื่อประชาชน ได้ออกมายืนยันว่า ทั้ง ๖ ข้อนี้มีไหม อาตมาจะอธิบายให้เห็นว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้ ตรงกับพฤติกรรมของ มวลมหาประชาชนไหม?
จิตที่แสดงออกนี้แสดงว่ามีธรรมะหรือพุทธธรรมหรือไม่?
๑. เมตตากายกรรม คำว่า เมตตา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี พ้นทุกข์ ให้เกิดเป็นสุข
๒.กรุณา ซึ่งเมตตา ก็ต้องต่อด้วยกรุณาเลย ถ้ามีแต่เมตตา ก็มีแต่ในจิต แต่ว่าต้องกรุณา คือทำกาย วจี ให้เกิดเมตตาเลย เมตตามโนกรรม ทั้งกายและวจี ก็มาจากจิต ถ้ามีแต่จิต ก็ไม่มีกรุณา คือลงมือกระทำ เพื่อช่วยเหลือ
๓.มุทิตาก็คือ ยินดีที่เขาได้พ้นทุกข์ จากการที่เรา ได้ทำกรุณาแก่เขา เมื่อทำได้สำเร็จ ก็ไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเรา ทำใจวางได้ นี่คือลักษณะของพรหม จบแล้ว ไม่ต้องทวงบุญคุณ จบวางเฉยได้ แม้เราเอง มุทิตายินดี แล้วก็วางจิตยินดีได้ ไม่ต้องสั่งสม จิตยินดี ให้เป็นไปตามสัจจะ
แต่ทั่วไปแปล พรหมวิหาร ว่า เมตตาคือ อยากให้เขาพ้นทุกข์ กรุณาคือ อยากให้เขาเป็นสุข มุทิตา ก็ยินดีที่เขาเป็นสุข อุเบกขาก็คือ วางเฉย ไม่เป็นองค์รวมเลย ไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นองค์รวมเลย
อย่างพระเจ้าแผ่นดิน คือในหลวงของเรานี่ ท่านไม่ได้ทำธรรมดา แต่ท่านทำ หนักยิ่งกว่าสามัญ เป็นพลังงาน ที่พยายาม ช่วยเหลือประชาชน แม้ตอนนี้ มวลประชาชน โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นข้ารองบาท เป็นข้าราชการ ก็เป็นข้าราชการ ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชน เป็นอยู่สุข เพราะข้าราชการ เป็นผู้ช่วยพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข แต่จนบัดนี้ ก็เป็นทุกข์ อยู่ร้อน
ในหลวงเอง เป็นสุดยอดแห่งมนุษย์ ตลอดพระชนม์ชีพ ตั้งแต่วันครองราชย์ จนบัดนี้ พระองค์ทรงงาน เพื่อคนไทยตลอด ตลอด ๖๗ ปีมาแล้ว
มวลประชาชนขณะนี้ ในไทย ก็อยู่ทุกข์เป็นร้อน กันมากกว่า พระองค์ก็ทรงงานราชกิ จเต็มที่ สุดยอดแล้ว แต่ข้าราชการเป็นคนที่ทำงาน รองรับพระองค์แท้ๆ รวมทั้งนักวิชาการ อย่างสำคัญ
แล้วคณะบริหารประเทศ หรือรัฐบาล มีหน้าที่จะไปบริหาร ปกครองข้าราชการอีกที ซึ่งข้าราชการ มีหน้าที่ ที่จะบริหาร กรมกอง กระทรวงต่างๆ มีเจ้าหน้าที่ ที่จะมาช่วยดำเนินงาน เพื่อสอดส่อง จัดการบริหาร ให้เกิดพฤติกรรม กิจการ ให้มวลประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข
หน้าที่ของนักการเมือง แต่ละชุดๆ ที่ขึ้นมาบริหาร คณะละ ๔ ปีนี่ เป็นข้าราชการการเมือง ก็ให้มาตรวจดู คณะบริหาร ที่เป็นข้าราชการประจำ ว่าได้ผลไหม ช่วยคิดนโยบาย แก้ไขหรือคิดใหม่ ให้เกิดการบริหาร
โดยประชาชน เลือกตัวแทนไปเป็นสส. เป็นครม. เป็นรัฐสภา ที่จริงนักการเมือง คือข้าราชการ มีหน้าที่ ให้รัฐอยู่สงบ เจริญงอกงาม ทำแทนพระมหากษัตริย์ จึงเรียกว่า ข้าราชการ หรือข้า ของราชะ มีคนอุตริว่า อยากจะเปลี่ยน เป็นข้าราษฎร ก็ดัดจริตอยากแก้อยู่มาก พวกประหลาด ทั้งที่ไทย มีเช่นนี้มาแต่ต้น แม้เป็นประชาธิปไตย ก็มีพระมหากษัตริย์อยู่ คนที่จะเปลี่ยน ก็ไม่เข้าใจประชาธิปไตยสองขา ทั้งที่ไทยเรา ไม่ใช่ประชาธิปไตยขาเดียว
เมื่อข้าราชการประจำ ทำไม่ดี ก็มีข้าราชการการเมือง ตรวจสอบ ถ้าข้าราชการการเมือง ตรวจสอบได้ดี ทุก ๔ ปี คุณทำได้ดี ประชาชน ก็เลือกเข้าไปใหม่
ราชการ ที่จริงคือ งานรับใช้ประชาชน แต่ว่าเขาเพี้ยน ไปเข้าใจผิดว่า ข้าราชการ คืองานที่ทำมาหากิน ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็เลยเพี้ยน ไม่ตรงหน้าที่ เข้าใจผิดว่า
แล้วมันเกิดธรรมะไหม เกิดพุทธธรรมไหม? ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศไหม?
ไม่มีอำนาจใด ก่อตัวมา เหมือนอำนาจทักษิณ ก่อฝ่ายแดง ไม่ใช่อำนาจโดยธรรม เป็นอำนาจที่เกิดจากทักษิณ ส่วนของประชาชน ที่ออกมาเป็น กปปส.นี่ เป็นการเกิด ที่ไม่เหมือน การเกิดของ นปช.
ของนปช.ไม่ได้เกิดโดยธรรม แต่ของ กปปส. เกิดโดยธรรม ยาวนานมา ไม่มีนายทุนหลัก มีการบริจาคกันมา และไม่มีอำนาจ เผด็จการหลัก ซึ่งเป็นธรรมกว่า เป็นประชาธิปไตยกว่า ทั้งที่นปช. ตะโกน โหวกเหวกว่า เป็นประชาธิปไตยๆ และนปช. เป็นพวกเดียว กับรัฐบาลนี้ เป็นคณะที่เป็นเผด็จการ
กปปส. ถ้าเป็นประชาธิปไตยไม่แท้ แต่ก็แท้กว่านปช. เอาหลักฐาน มาเทียบเคียงกันเลย สองมวลใหญ่นี้
กปปส.ที่ออกมาร่วมกันนี้ เป็นพุทธธรรม เป็นสาราณียธรรมแล้ว มีเมตตา ทั้งกาย วาจา ใจ มีสาธารณโภคี มีลักษณะที่ไม่ใช่ ของนายทุน ทำเพื่อส่วนรวม ไม่ทำเพื่อส่วนบุคคล เป็นสัจจะที่ถูกธรรม ของสาราณียธรรม
สาราณียธรรม มีตัวชี้บ่งคือ
พุทธพจน์ ๗
๑. สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
๒. ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี-ปรารถนาดีต่อกัน)
๓. ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
๔. สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือกัน)
๕. อวิวาทะ (ไม่วิวาทแตกแยกกัน)
๖. สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่)
๗. เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)
(โกสัมพีสูตร พตปฎ. ล.๒๒ ข.๒๘๒-๒๘๓)
เกิดที่รูปธรรม และจิตวิญญาณ การระลึกถึงกันก็เกิด ไม่ใช่เพื่อตัวคนเดียว ไม่ใช่เพื่อทักษิณ ทำเพื่อทักษิณ แต่ของเรา ทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อสุเทพ ทุกคนเข้าใจดี มีทิฏฐิสามัญตา เป็นการระลึกถึงมวลชน ไม่ใช่เพื่อ คนใดคนหนึ่ง หนักเข้า ตอนนี้ ประธานนปช. ก็บอกว่า นายกฯต้องมาจาก ตระกูลชินฯ เท่านั้น เป็นต้น อันนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย
ความรักที่เกิดนี้ ไม่ใช่ความรักระดับต่ำๆ แต่เป็นความรัก ระดับสูงตาม
ความรัก ๑๐ มิติ
๑. กามนิยม (เมถุนนิยม)
๒. พันธุนิยม (ปิตปุตตาฯ)
๓. ญาตินิยม (โคตรนิยม)
๔. สังคมนิยม (ชุมชนนิยม)
๕. ชาตินิยม (รัฐนิยม)
๖. สากลนิยม (จักรวาลฯ)
๗. เทวนิยม (ปรมาตมันฯ)
๘. อาริยนิยม (อเทวนิยม)
๙. นิพพานนิยม (อรหันตฯ)
๑๐. พุทธภูมินิยม (หรือโพธิสัตวภูมินิยม)
พ่อครูบรรยายไว้ที่มช.
การมีปิยกรณะ ก็มีตั้งแต่ เคารพตามฐานะ ตามมารยาท ตามความรู้ เคารพโดยวัย เคารพด้วยคุณธรรม ยกให้เลย ไม่เกี่ยวกับอายุ ไม่เกี่ยวกับสมมุติ แต่เข้าใจด้วยคุณธรรม ก็จะเห็นได้ ในสังคมพวกเรา มีความเคารพกัน ถ้าไม่เคารพกัน มาอยู่ปนอย่างนี้ ก็ทะเลาะแตกกัน ไปนานแล้ว แต่เพราะยอมรับกัน เคารพกัน
ที่สำคัญคือ เคารพกันด้วย คุณธรรมความดี คนร้อยพ่อ พันแม่ รวมกัน ทุกศาสนา ทุกวัย ทุกจริต ทุกกิเลส ด้วยนี่ร้ายมาก แต่ก็อยู่ร่วมกันได้ สงบกันได้นานเดือน เกินครึ่งปี
สังคหะ ขนาดรถตัวเอง ก็นำไปเป็นห้องส้วม ให้คนอื่น จิตใจดีขนาดนี้ นี่คือ สังคหะที่สุดยอดเลย เป็นส้วมเคลื่อนที่ อย่างของเราอโศก ก็เป็นสาธารณโภคี ทำกันหลายหมู่บ้านแล้ว เป็นเครือแห สานด้วยคุณธรรม ด้วยศีล ด้วยทิฏฐิ ญาณปัญญา ความเข้าใจ เป็นชุมชนจัดการตนเอง แบบพุทธ แบ่งกันแบ่งใช้ เป็นสาธารณโภคี เป็นเศรษฐศาสตร์ ถึงสาธารณโภคี เป็นสิ่งที่ เขาใฝ่ฝันทำกัน ในหลายหมู่กลุ่ม อโศกก็ทำได้ ตามหลักพระพุทธเจ้า เกิดพุทธธรรม เจริญแล้ว
อาตมาทำมาแล้ว โดยข้อที่ ๕ ของเป้าหมาย การชุมนุมของเรา ก็คือ เอาวิถีชีวิต ความเป็นสาธารณโภคี มาแสดง
เป็นวิธีการที่แบ่งเฉลี่ย แจกจ่าย ให้ทั่วถึงทุกคน ในสังคม เป็นสังคหะ ที่จะจริงใจ ด้วยคุณธรรม คนมีวรรณะสูง ก็จะมี สังคหะ และจะไม่ทะเลาะ เบาะแว้งกัน ไม่แก่งแย่งกันด้วย
พวกเราชุมนุมกันนี่ มีสามัคคียะไหม มาอยู่กัน ร้อยพ่อพันแม่ ไม่ทะเลาะกันได้นี่ ก็ดีแล้ว ต้องมีสามัคคี ยังไม่บรรลุธรรม หมดหรอก แต่ภัยจะน้อยลงๆ เมื่อคุณธรรมสูงขึ้นๆ
เอกีภาวะ เป็นปึกแผ่น รวมตัวกัน เป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน เหนียวแน่น
แล้วจะเข้าสู่ ชัยชนะสุดยอด เรามีชัยชนะรายทาง ไปเรื่อย จนรัฐบาล จะตกเหวอยู่แล้ว
จะเกิดพุทธพจน์ ๙ ก็เพราะเป็นหมู่ชนที่มี วรรณะ ๙
เลี้ยงง่าย ไม่ใช่เหมือนหมูหมานะ แต่ว่าไม่ได้ติดกามคุณ แต่กินเอาสาระ อย่างกำนันนี่ กินกลางถนนก็ได้ อย่างพวกอโศก คนหาว่าเลี้ยงยาก เพราะกินมังฯ แต่ที่จริง กินข้าวสุก กับขนมสด ก็เป็นมังฯแล้ว กินกับผักพืช ก็ได้แล้ว ที่ไหนก็มีขาย ขนม ผลไม้ พืช แต่เนื้อสัตว์ มีขายตามเวลา เท่านั้นแหละ
คนมากินมังฯนี่ เพราะไม่ติดเนื้อสัตว์ กินข้าวเปล่า ก็มังสวิรัติ คุณกินได้ไหม กินข้าวเปล่า เคี้ยวนาน ก็หวานนะ
๑. เลี้ยงง่าย (สุภระ)
๒. บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ) พัฒนาให้เป็นคน มีความรู้สามารถง่าย
๓. มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) เขาแปลว่า พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ แปลอย่างนี้ ก็แย่สิ ไปถามบิลเกตสิว่า พอไหม? แล้วมหาเศรษฐีอื่นๆ เขาก็ว่าเขาพอ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
๔. ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) ไม่ได้แปลว่า พึงพอใจ ในสิ่งที่ตนมีอยู่ พูดแบบนี้ เบี้ยวบาลี เพื่อเอาผลประโยชน์ เข้าข้างตนเอง ต้องลดน้อยลง ก็พอได้ เงินเดือน น้อยลงเรื่อยๆ จนไม่ต้องมี เงินเดือนเลย อยู่กับหมู่กลุ่ม อาศัยกินใช้ส่วนกลาง ใช้กินกับสาธารณโภคี อย่างนี้ เป็นความมักน้อย สันโดษ อย่างที่ท่านตรัส
๕. ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)
๖. เพ่งทำลายกิเลส มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์)
๗. มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ)
๘. ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ๙
๙. ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ)
อสังสัคคะ คือไม่ติดในสวรรค์ ไม่หลงในสมมุติเทพ
๑. เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉกถา) .
๒. เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิกถา)
๓. เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส (ปวิเวกกถา) .
๔. เรื่องที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส (อสังสัคคกถา) .
๕. เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (วิริยารัมภกถา) .
๖. เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล (สีลกถา)
๗. เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ (สมาธิกถา) .
อธิบายต่อในวรรณะ ๙ อย่างศีลเคร่ง ก็ทำได้จนสบาย ไม่ต้องฝืน ต้องเคร่งคุม ในคนที่ฝึกได้เป็นปกติแล้ว มีศีลสูงเคร่ง แต่ผู้ทำได้แล้วโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก สบายได้ คือคนที่จิตใจ บรรลุธรรมได้ เช่น กินมื้อเดียว เป็นปกติ ให้ไปกินหลายมื้อ ก็ลำบากนะ
ปาสาทิกะ คือทั้ง กาย วาจา ใจ น่าเลื่อมใส ยกตัวอย่าง กายกรรม ก็มีแต่แจกจ่าย เจือจาน ไม่เห็นแก่ตัว เห็นได้ทั้งกาย วจี วิญญัติ มีอาการ น่านับถือเคารพ
ไม่สะสม อปจยะ นี่ต่างจากอุปจยะ และอัปปัจจายะ (อ่อนน้อมถ่อมตน)
อปจยะ คือไม่สะสม ไม่ติดยึด ก็จะไม่สะสม อยู่อย่างน้อยก็พอ
ส่วนวิริยารัมภะ คือระดมความเพียร หรือ ปรารภความเพียรเสมอ ต่อเนื่องๆ
วรรณะคือชั้นหรือ The Classes ส่วนปุถุชนทั่วไป คือ The masses แต่คนปฏิบัติธรรม บรรลุธรรม เป็นอาริยบุคคล ยิ่งวรรณะสูง ยิ่งคุณธรรมสูง ยิ่งไม่ติดยึดชั้นยศ ไม่ติดยึด ชั้นวรรณะ คำว่า วรรณะ ๙ จึงแปลว่าชั้น สูงตามจริง ของคุณธรรม ไม่ใช่สูง เพราะกิเลส อย่างอินเดีย ติดยึดชั้นวรรณะกัน หรืออย่างสังคม ก็ติดยึด ชั้นตรีโทเอก
เขาให้อำนาจสิทธิ ไปทำหน้าที่ สามารถดูแล ทำหน้าที่ ตามสามารถ ยิ่งยศมาก ก็ต้องทำหน้าที่มากขึ้น ก็ต้องให้อวยยศ ให้มากหน่อย แต่ไม่ใช่ ไปเบ่งขี้แตกไปหมด ว่าข้านี้ใหญ่ ที่จริงเขาตั้งยศชั้น ก็ให้ไปทำหน้าที่ ตามกรอบขอบเขต ไม่ใช่เบ่ง เกินหน้าที่ เบ่งทับบริวาร แทนที่จะไปช่วยดูแล ให้เขาทำหน้าที่ให้ดี แต่ว่าไปทำเบ่ง ไม่ถูกเรื่อง
อย่างกำนันสุเทพ กำลังแสดงธรรม เป็นเลขาฯกปปส. ก็พยายามทำ ไม่เบ่งอำนาจ ดูโดยรวมแล้ว กปปส. นำโดย กำนันสุเทพนี่ สุขุมรอบคอบ ยอมให้ตัวเองถูกด่า ไม่ตามใจเขา เพื่อส่วนรวมให้ดีได้ ก็ยอมเพื่องานใหญ่ หลายครั้ง ก็น่านับถือ อาตมาใช้ทั้ง กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ ที่กำนันสุเทพ แสดงออก อ่านถึงมโนกรรม
ดูแล้วเห็นความเจริญงอกงามของ กปสส.
อ.กฤษฎาก็ว่า หลวงปู่พุทธอิสระ ก็เคลื่อนไหว ทางคปท. ก็เคลื่อนไหว ไปยึดทำเนียบ ไม่รู้ว่าคุณสุเทพ รู้หรือไม่ว่า คปท. ไปยึดทำเนียบ แต่อาตมาเดาว่า คุณสุเทพไม่ได้คิดอ่านว่า ควรจะทำ แต่ทางโน้นก็ทำ ทำแล้วก็มอง หลายครั้ง ที่คุณสุเทพ เลือกกลุ่ม ที่จะทำ หรือ หลวงปู่พุทธอิสระทำ คุณสุเทพก็ไม่รู้ อาตมาก็รู้ว่า คุณสุเทพ ก็อนุโลม มองในแง่ดี แล้วค่อย ปรับปรุงแก้ไข ร่วมลงเรือ ลำเดียวกันแล้ว ก็ไม่ให้เรือล่มไป คุณสุเทพก็ใช้ได้
แต่ถ้าหลายอย่าง สรุปแล้ว ทำงานหลายอย่าง ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็อาตมาก็ว่า สวยดีมากเลย ถ้าประคอง ไปได้อย่างนี้อีกนะ อาตมาว่า ทนอีกนิดเถอะน่า
อาตมาได้พูดไปอธิบาย ก็อยากเข้าสู่บทสรุป คำถามที่ว่า แล้วมันเกิดพุทธธรรม ขึ้นไหม ในไทย ถ้าเจริญโดยธรรม ศีลธรรมกลับมา โลกาไม่วินาศ ก็เกิดจริง แม้เอาหลักธรรม พระพุทธเจ้ามาจับ วรรณะ ๙ สาราณียธรรม พุทธพจน์ ก็ตาม มาจับ ธรรมะพระพุทธเจ้า อันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น อาตมาบอกว่า ไตรสิกขา ก็อันเดียวกับ มรรคองค์ ๘ หรือ จรณะ ๑๕ วิชชา ๘ เกิดผลวรรณะ ๙ กถาวัตถุ ๑๐ หรือ โคตมีสูตร ๘ ก็อันเดียวกัน ถ้าเข้าใจนะ
สรุปแล้ว เรามาปฏิบัติธรรม ขอเรียกเช่นนั้น เพราะแต่ละคน ต้องรู้ว่า ตนได้เสียสละ อดทน จะมากหรือน้อย ก็แล้วแต่ ได้ฝึกฝนอดทน หลายด้าน แต่อดทนเสียสละ ก็คุ้มแสนคุ้มแล้ว
เป็นโลกุตระ หรือาริยะธรรม เพราะไม่เป็นไปเพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือกาม หรืออัตตา ไง ตรงกันข้าม แต่เพื่อมวลมนุษยชาติ
อ.กฤษฎาว่า ก็โดนถามว่า มาออก FMTV ได้เงินไหม? ได้ค่าตอบแทนไหม? แต่พวกที่มาอยู่อโศก ก็มีคนทำงานฟรี ตั้งเยอะแยะ
พ่อครูว่า.. พวกเราทำงานฟรี กันทั้งชุมชน เป็นเรื่องเหลือเชื่อของโลก แม้ ๒๕๐๐ ปี ก็เกิดได้ หลังยุคพุทธกาล เราทำมา มากกว่า ๔๐ ปีแล้ว และก็ทำต่อไปอีกด้วย มีหลากหลายด้าน เช่น การศึกษาเราก็จะมีนิตินัย ตามพฤตินัย ที่เราทำมาแล้ว ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ แต่ว่าไม่วินาศ เพราะว่า ศีลธรรมกลับมา
คราวนี้ขอให้ตั้งอกตั้งใจว่า ชาวไทยต้องช่วยกัน ให้เต็มกำลัง ปราบอิทธิพลชั่วร้าย ระบอบทักษิณให้ได้ ถ้าคราวนี้ ล้มระบอบทักษิณ ไม่ได้ คือแพ้ ประเทศไทย จะเลวร้าย ย่ำแย่สาหัส อย่างที่นึกไม่ถึงเลย.. จบ