570410_ทวช.งานปลุกเสกฯครั้งที่ ๓๘ โดยพ่อครู เรื่อง สัจจะที่ปรากฏ ตอนที่ ๔ |
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ เม.ย. ๕๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย เป็น วันที่ ๕ ของงาน ครบ ๒๕๐ วัน ของกปท. และเป็นวันที่ ๒๔๗ วัน ของกทธ. วันเวลาเคลื่อนไป สมรรถนะควรเพิ่ม ความรู้ความเพิ่ม นั่นคือ ความเจริญ
พวกเราผู้ที่เข้าใจแล้ว มีความเป็นตัวเอง มีความเป็นส่วนตัวลดลง จนกลายเป็น เครื่องจักรกล ทำงานตามสมรรถนะ ความรู้ ซึ่งสูงกว่าจักรกล ที่มีความรู้ เครื่องจักรทำงานตามแรง ไม่หยุด ตราบตาย ก็ทำตามที่แรงงาน สมรรถนะของมัน จะทำได้ สำหรับเครื่องกล มีแต่วันจะเสื่อมลง แต่คนที่สามารถพัฒนาได้ โตขึ้นก็ฉลาด สามารถขึ้น จนถึงขีดหนึ่ง สรีระก็จะลดลง พลังงาน ก็ลดลง ความเร็ว แรงก็ลดลง แต่สมองหรือจิตวิญญาณ สมองเสื่อมลงได้จริง เพราะเป็นสรีระ พอถึงวาระ ก็เสื่อม แต่จิตวิญญาณไม่เสื่อม ถ้าจิตวิญญาณพัฒนาไม่ดี ถ้าสมองเสื่อม ก็ทำให้ จิตวิญญาณ ทำงานได้น้อยลง แต่จิตวิญญาณ จะใช้สมองที่เสื่อม ทำงานได้ดี ดีกว่า จิตวิญญาณที่เสื่อม จะใช้สมอง ที่ไม่ดีนั้นได้ไม่ดี เป็นภาวะซับซ้อน
เกิดมาแล้ว ไม่ได้ธรรมะ นั้น โมฆบุรุษ แท้จริง เกิดมาหลงโลกธรรม โลกียะ ไปวัด ไปวาน้อย ถ้าไปวัด ก็ไปหาโลกธรรม ให้รวย ได้ยศ ได้ลาภ ได้โด่งดัง ได้กามได้อัตตา ก็คือ จิตหลงโลกีย์หนัก ในยุคใกล้กลียุค
สมัยโบราณ ตกเย็นเข้าวัดบ้าง ก็เห็นวัดเป็นที่ๆน่าไป ซึ่งเดี๋ยวนี้เสื่อมแล้ว ตามความเสื่อม ๗ ประการ ของชาวพุทธ
ไม่มีพระเป็นที่พึ่งเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นมิตรดีของเธอ คำนี้เป็นคำยิ่งใหญ่ ชีวิตใด อยู่ในมรรค องค์ ๘ แม้จะเข้าใจเป็นโลกียะ ต้องการโลกธรรม แต่ถ้าจิตเป็นธรรม ไม่ทุจริต ก็เป็นกุศลได้ ถ้ามีอาจารย์ แม้จะสอนแค่โลกีย์ ระลึกถึงพระ เป็นมงคลของชีวิต
๑. ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ (ภิกขุทัสสนัง หาเปติ) .
๒. ละเลยการฟังธรรม (สัทธัมมัสสวนัง ปมัชชติ)
๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล (อธิสีเล น สิกขติ)
๔. ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุ ทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่และปานกลาง
๕. เพ่งโทษฟังธรรม (ธัมมัง สุณาติรันธคเวสี)
๖. แสวงบุญนอกเขตศาสนานี้ (พหิทธา ทักขิเณยยัง คเวสติ)
๗. ทำสักการะก่อนในเขตบุญนอกศาสนานี้ (ตัตถะ จ ปุพพการัง กโรติ)
(พตปฎ. เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๗)
ไม่มีพระเป็นมิตรดีเลย มิตรดีคือ ผู้ให้ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
พระพุทธเจ้าตรัสถึง โมฆบุรุษ คือภิกษุที่ไม่ปฏิบัติ ในครรลองคลองธรรม ผู้จะปฏิบัติ ตามครรลองคลองธรรม คือ มีสัมโพชฌงค์ มีสติ ที่เป็นทางเดิน สู่โพชฌงค์ เป็นมัชฌิมา ปฏิปทา ทางเดิน สู่ความเป็นกลาง มีอานาปานสติ คือทุกลมหายใจ มีสติระลึก มีจิตเป็นฌาน เพ่งทำลายกิเลส ล้างอกุศลจิตตนเอง ให้ลดลงๆ ต้องมีสตินำเสมอ วิจัย กาย วาจา ใจ ในทวารทั้ง ๖ ที่ทำงานตลอดเวลา แล้วเราก็วิจัยได้ ต้องวิริยะ เข้าเขตสัมโพชฌงค์ คือมีความเพียร ปฏิบัติมนสิการ ไม่ว่าจะทำ คิดพูดทำอย่างไร ก็มีสัมโพชฌงค์ ปฏิบัติโยนิโสมนสิการ ทุกการงานที่ทำ อาชีพที่ทำ ไม่ทำงานที่สูญเปล่า ไม่เข้าท่า เสียเวลา รู้สาระการทำงาน ทำงานมีประโยชน์คุณค่า
แต่ละวันแต่ละเวลา หากไม่ค่อยนึกถึงธรรมะ แต่นึกถึงแต่โลกธรรม คนนั้น โมฆบุรุษทั้งสิ้น เกิดมา ได้ร่างกายมนุษย์แล้ว แต่ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ ให้ได้โลกุตรธรรม ก็ไม่ได้ใช้หนี้ คนเกิดมา มีวิบาก ต้องใช้วิบาก
แต่กลับนำร่างกาย ได้มาบำเรอตน เป็นสวรรค์โลกีย์ แต่ถ้ายังดี ยังใฝ่ธรรม ศรัทธาในธรรม พยายาม ไม่ทำอกุศล ก็ยังดี แต่ที่จริง เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราควรได้โลกุตรธรรม ไม่ได้หมายความว่า เราเกิดมา ไม่มีสิทธิ์ได้โลกุตรธรรม ถ้าใฝ่เพียร ถ้าตั้งใจสัมมาทิฏฐิจริง เป็นอรหันต์จริง ใน ๗ ปี หรือยกไว้ ๗ เดือน ได้อย่างน้อย อนาคามี
ถ้าไม่มีฉันทะเป็นมูลกา และต้องทำใจในใจเป็น มนสิการเป็น จึงได้โลกุตรธรรม
ทำใจในใจ คือสัมผัสใจ รู้จัก ประกอบ ทำใจได้ อย่างที่เขาบอกว่า จะทำสมาธิ ทำฌาน ไปนิพพาน ก็ต้องทำใจ ทาน สมาธิ ปัญญา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ก็ต้องทำใจ ถ้าทำใจ ไม่สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นข้อที่ ๕ ของสุริยเปยยาล
ทุกวันนี้เขาสอนทำใจได้แค่โลกีย์ แต่ยิ่งเป็นเดรัจฉานวิชชา หาแต่ร่ำรวย โลกธรรม ก็สูญเปล่า แม้จะไปหาผู้พากเพียร พยายามปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นโลกียธรรม ก็สูญ ตรงที่ไม่ได้ โลกุตรธรรม
ต้องได้พบสมณะพรหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้โลกนี้โลกหน้า สามารถสอน ให้เราได้โลกุตรธรรมได้
ชีวิตเกิดมา ไม่ได้ธรรมะ ไม่ได้แก้วิบาก ไม่ได้แก้กรรม เพราะกรรมแก้ได้ ด้วยตัวเราเองทำเป็น ถ้าไม่แก้กาย วาจา ใจ ที่เป็นกรรม คนเข้าวัดถือศีล แค่ กาย วาจา ก็ได้ฝึกหัด หยุดสงบ ทุกกรรมกิริยาของผู้ไร้ธรรมะ ทุกลมหายใจเข้าออก อานาอาปานสติ จะไม่เข้าสาย โพชฌงค์เลย เป็นสติต้องการโลกธรรม กามและอัตตา ตลอดเวลา ดีไม่ดี อัตตาของคุณ เต็มไปด้วย อบายมุข เป็นกามเป็นอัตตา เต็มไปหมด เพราะไม่รู้จักอัตตา เป็นแสงอรุณ ข้อที่ ๔
ในสุริยเปยยาล ให้จำให้ดี
ถ้าอธิศีลไม่เจริญ อธิจิตก็ไม่เจริญ อธิปัญญาก็ไม่เจริญ ก็เป็นเพราะ ความเสื่อม ๗ ประการ
๑. ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ (ภิกขุทัสสนัง หาเปติ) .
๒. ละเลยการฟังธรรม (สัทธัมมัสสวนัง ปมัชชติ)
๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล (อธิสีเล น สิกขติ)
๔. ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุ .ทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่และปานกลาง
๕. เพ่งโทษฟังธรรม (ธัมมัง สุณาติรันธคเวสี)
๖. แสวงบุญนอกเขตศาสนานี้ (พหิทธา ทักขิเณยยัง คเวสติ)
๗. ทำสักการะก่อนในเขตบุญนอกศาสนานี้ (ตัตถะ จ ปุพพการัง กโรติ)
(พตปฎ. เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๗)
เมื่อเราเจริญได้ด้วยอธิศีล ก็จะพบผู้ที่เป็น สมณพราหมณ์ ที่ท่านขัดเกลาตน ได้หมดแล้ว ก็ช่วยขัดเกลาผู้อื่น คนมีวรรณะ จะเข้าใจว่า วรรณะ ๙ เป็นอย่างไร เมื่อเยี่ยมเยียนภิกษุ ฟังธรรมจาก สัตบุรุษ ศึกษาอธิศีล ก็จะเลื่อมใสสมณะ ที่ไม่ได้หมายถึงแค่ นักบวช แต่ฆราวาส ก็เป็นอาริยบุคคลได้ จะรู้จักภิกษุผู้ใหม่ ปานกลาง หรือสูง จะศรัทธา
คำว่าภิกษุหรือสมณะ ฆราวาสก็เป็นสมณะได้ มีธรรมะ ยิ่งผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นภิกษุ ก็ยิ่งเห็นได้ง่าย มีกรอบขอบเขต ก็ชัดเด่น ในความเสื่อม ๗ ประการ ท่านที่ปฏิบัติธรรม ของพระพุทธเจ้า จะไล่เรียง ไปตามลำดับ
เมื่อเราเยี่ยมเยียน ฟังธรรม เรามีอธิศีล ก็จะเข้าใจในสมณะ เลื่อมใส แม้ท่านเทศน์ผิด ก็ไม่เพ่งโทส แม้หมู่ฆราวาส ก็ไม่เพ่งโทส ไม่จับผิด ไม่ถือสา ไม่มีมานะ ถือดีกัน คบหากันอยู่ มีกรรมกิริยา สัมพันธ์กันอยู่ ก็ไม่เพ่งโทส ถูกกระทบ ก็ไม่ถือสา ได้ยินได้พบสัมผัส ก็ไม่เพ่งโทส เพราะเข้าใจเขา เขาคือเขา เราคือเรา อย่างอาตมา ไม่รู้จักบางคน เขามาเป็นศัตรู เขาเพ่งโทสจากเรา หาผิดหาภัย เพื่อถล่มทลาย แก้แค้น อาฆาต แต่เราก็เรียนรู้ จะไปอาฆาต เขาทำไม แม้ศัตรู ก็มองให้เป็นมิตร เขาคิดเขาก็ตบมือข้างเดียว เขาคิดร้ายอย่างไร เราก็ไม่ตอบ เราหลบได้ ก็หลบ ทำอย่างนี้ ก็กำไรท่าเดียว อย่าคิดแค้นมีศัตรู
คนเลิกศัตรูได้ ผู้นั้นเจริญได้เร็ว พระโมคคัลลานะ ท่านเป็นอรหันต์ มีฤทธิ์ด้วย ท่านหลบได้ด้วย ไม่ใช่กลัวด้วย แต่ท่านก็ยอมตาย ให้เขาฆ่า เพราะวิบากท่านหนักมาก เรามีแต่เมตตา หลบแล้ว ที่สุดต้องตาย ก็ต้องตาย ถ้าเข้าใจเรื่องวิบากด้วย แล้วเราเข้าใจคำว่า ไม่ประมาท ซึ่งเป็นแสงอรุณ ข้อที่ ๖
เราจะพยายามทำ โยนิโสมนสิการ และปัจจัยที่ทำให้เกิด โยนิโสมนสิการ มี ๒ ข้อ คือ
๑. ปรโต จ โฆโส จ (การได้ฟังสัจจะมุมอื่น จากผู้รู้อื่นๆ หรือจากบัณฑิตอื่น จะไม่ติดยึด แต่ภูมิรู้เดิมๆ ของตน)
๒. โยนิโส จ . มนสิกาโร (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำใจ ให้ละเหตุ แห่งการเกิดกิเลสที่ใจ กระทำใจ ละให้เป็น ให้ถ่องแท้ ให้หยั่งลง ไปถึงแดนเกิด คือ สมุทัย ที่ใจ) . . .
สัมมาทิฐิ ย่อมมีเจโตวิมุติ มีปัญญาวิมุติ เป็นผล และเป็นอานิสงส์ โดยมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฐิ อันมีศีล อนุเคราะห์แล้ว สุตะอนุเคราะห์ สากัจฉาอนุเคราะห์ สมถะอนุเคราะห์ วิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว (พตปฎ. เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๙๗)
ถ้าคุณมิจฉาทิฏฐิ ก็จะเป็นไป ตลอดกาลนาน เพราะไม่มี ปรโตโฆษะ
อาจารย์ใหญ่ๆ ในศาสนานี้ ฟังธรรมอาตมา ก็ตีทิ้งเลย ท่านก็จะจมอยู่อีก เท่ากาลนาน อาตมา ฟังธรรมของที่อื่น ก็ฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจเขาว่า ไม่สัมมาทิฏฐิ อย่างฝ่ายแดง ก็ยิ่งปรุงแต่ง ไปใหญ่เลย คบมิตรชั่ว ทำให้เกิด มิจฉาทิฏฐิ ไปใหญ่เลย มีแต่จะให้เอาให้ได้ แพ้ไม่เป็น เลิกไม่ได้ เอาชนะคะคาน ถ้ายึดติด จะเอาชนะในทางที่ชั่ว ก็ซวยตลอดกาล
ยึดนั้นซวยแน่ ยึดทุจริตซวยแน่ ยึดสุจริต ซึ่งสุจริตมีทั้งโลกียะ และโลกุตระ
เมื่อเข้าใจสุจริตของ โลกียะกับโลกุตระ ก็จะเอาอันไหน ถามใครก็รู้ ไปถาม ดช.ดูดีก็ได้ เขาเลือกเอา โลกุตระ
ถ้ายิ่งเราโตแล้ว ก็รู้ปฏิภาณรู้ว่า จะเอาโลกียะหรือโลกุตระ
ไปทำความเข้าใจใน ๗ อย่าง ของแสงอรุณนี้ให้ได้
ไปคบมิตรดีให้ถูก หากแสวงหา อาจารย์ในป่า ก็เป็นความเสื่อม ๗ อย่าง ตั้งแต่ ๔ ประการแรก เป็นเรื่องผิดแล้ว ที่จะต้องไปแสวงหา อาจารย์ในป่า ต้องไปบุกดง เป็นธุดงค์
คำว่าธุดงค์ มาจากคำว่า ธูตะ ไม่ใช่เข้าป่าเขาถ้ำ อาตมาเคยพูด ไม่ต้องเข้าป่า ก็บรรลุธรรมได้ แต่ไม่ได้ดีทิ้งป่า เราจะไม่ทำลายป่า เราไม่ทำลาย ธรรมชาติแวดล้อม แต่เราจะสร้างป่า ปลูกป่า แม้ในพุทธสถาน ชุมชน ก็สร้างป่า
เขาเข้าใจผิด ไปเข้าหา เสือสิงห์กระทิงแรด แล้วไปทำฤทธิ์ว่า ให้สัตว์สยบได้ แต่ไม่ได้สยบ ให้กำจัดสัตว์ ในตัวเอง อย่างนั้น สู้พวกที่ฝึกสัตว์ ในละครสัตว์ก็ไม่ได้ อาตมาไม่ได้ตีทิ้งป่า แต่ตีทิ้ง พระธุดงค์ ที่มิจฉาทิฏฐิ
พระธุดงค์คือศีลเคร่ง อย่างพระมหากัสสปะ ท่านเคร่ง มีจริตอยู่ป่า พอท่านเป็นประธาน ในการสังคายนา พระไตรปิฎก ก็เลยมีจริต เป็นพระป่า หนักไปทางป่า เอียงไปทางป่า
อาตมารู้อจินไตย ก็เพราะว่า พระป่านี่แหละ จะรักษาศาสนาไว้ได้ แต่ถ้าออกกรุง เหมือนมหายาน ก็ไม่เหลือโลกุตรธรรมเลย จะเหลือโลกุตรธรรม ก็แต่ในเถรวาท นี่คือ บุญคุณ ของพระป่า แต่ก็ต้องตีทิ้ง เพราะเป็นความเสื่อม ๔ ประการ
ตัวอย่างธรรมกาย เป็นความเสื่อมหมดเลย ๔ ประการนี้ คือทำหลอกคน ไปหมดเลย อย่างธุดงค์ ของเขานี่ ดราม่ามากเลย เป็นการตลาด หาโลกธรรม เป็นพันเปอร์เซ็นต์ ขออภัย ต้องพูดข่ม ในสิ่งที่ควรข่ม ยกไม่ได้ ยกมาก็บรรลัย ขนาดข่มอย่างนี้ ยังไม่ค่อยลงเลย พระเถรสมาคม ก็เอนเอียงไปทางนั้น มากกว่าเราเลย
อัตราการก้าวหน้า ของธรรมกาย มีอัตราก้าวหน้า มากกว่าอโศก คิดเป็นสัดส่วน แต่อโศก ก็มีอัตราก้าวหน้า แต่เราไม่เอาชนะ คะคานธรรมกาย ธรรมกายจะไม่ตาย เพราะอโศก แต่ธรรมกาย จะตายเสื่อม เพราะตัวเอง เหมือนกับฝ่ายแดง ไม่ได้ตายเพราะกปปส. แต่จะตาย เพราะตัวเอง
เช่นนายกฯดื้อด้าน ไม่ฟังคำตุลาการ ตัดสินเลย เขาฆ่าตัวเอง เป็นต้น ซึ่งเป็นอำนาจใหญ่ อำนาจบริหาร ก็พังไปแล้ว ยุบสภา เหลือแต่รักษาการ ยังเหลือสภา สว.อยู่นิดเดียว ก็พยายาม ทำขึ้นมา ก็ไม่มีน้ำหนัก เพราะสว.ของไทย ไม่เหมือนสภาสูง ของอังกฤษ แต่สภาสูง ของไทย เป็นเครื่องมือของรัฐบาล ไม่ใช่มาคาน อำนาจรัฐบาล นี่คือ ประชาธิปตาย ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่มีศักดิ์ศรีเลย ทั้งสส. และ สว. ทำมาตั้ง ๘๑ ปีแล้ว ประชาธิปไตยของไทย
สภาไทย ไม่เคยมีอำนาจเท่าเทียม สภาบริหาร แต่ไหนแต่ไรมา อำนาจของนายกฯ ใหญ่กว่า ประธานสภา ซึ่งความจริง เท่ากัน ทั้ง ๓ อำนาจ คานกันได้ มีสิทธิ์เสมอกัน ทำหน้าที่ ของตนไป จะคานน้ำหนักกันได้
อย่างสภา ก็ออกกฎหมาย ควบคุมบริหาร ตุลาการก็ดูแลควบคุม ทั้งสภาและบริหาร จนตอนนี้ตัดสินได้แล้ว
แต่ตอนนี้ บริหารและสภา ร่วมมือกันตีตุลาการ รวมหัวกัน คว่ำอำนาจตุลาการ
เมืองไทยยังเหลือเชื้อ ตุลาการที่ดีอยู่ คนไทยคนไหน ตีทิ้งตุลาการ คนนั้น ไม่ใช่คนไทย หรือ ไม่ใช่มนุษย์ด้วย เพราะไทย ไม่ใช่เผด็จการ
แต่แม้แต่เผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราช ก็ยังมีการ เคารพกฎหมาย เคารพตุลาการ
การดูแลปกครองบ้านเมือง เป็นสัจจะที่ปรากฏ มีนิมิตว่า เลวร้าย ล้มละลาย ก็ยังดี ที่มีตุลาการอยู่ ขอให้แข็งขัน พระเจ้าอยู่หัว ได้ฝากให้ตุลาการ ดูแลบ้านเมือง มาหลายปีแล้ว เท่าที่ได้ฟัง คณะศาล ไปปฏิญาณตน ต่อหน้าพระพักต์ แล้วท่านก็ตรัส ฝากบ้านเมืองไว้ด้วย แต่ไม่เคยเห็น ท่านตรัสกับ คณะสภา และบริหารเลย ไม่เห็นท่านตรัสเช่นนี้เ หมือนกับ ตรัสกับตุลาการ
เมืองไทยโชคดี มีในหลวงเป็นโพธิสัตว์ แต่คนไทย ไม่ใส่ใจศึกษา ไม่ทำตาม ก็อย่าถือดี ถือตัวนักเลย ให้ศึกษาให้ดี ประเทศไทย ล้มเหลวมากแล้ว สามสถาบัน ของประเทศ ฉิบหาย วายป่วง มากแล้วไม่ว่าจะเป็น สถาบันรัฐสภ าหรือบริหาร
อาตมาเห็น เหตุการณ์บ้านเมืองยุคนี้ ไม่เหมือนชาติก่อนๆ ที่อาตมาเคยผ่าน ชาติก่อนๆ ที่เคยผ่านมา ไม่เสื่อมเลวร้าย ขนาดนี้เลย ขออภัย ที่ต้องพูดอย่างนี้
อาตมาได้พูดไปแล้วว่า คนที่ร้ายตอนนี้ ร้ายกว่าเทวฑัตด้วย ไม่ได้พูดเล่นนะ
รัฐาธิปัตย์ คำว่าอธิปัตย์ของรัฐนั้น คืออำนาจประชาชน ใช้ภาษาอังกฤษว่า Sovereignty อำนาจใหญ่ที่สุด ในประเทศ คือกษัตริย์ แล้วก็กระจาย มาสู่ประชาชน อำนาจ รัฐาธิปัตย์คือ ในหลวงกับประชาชน แล้วยังเป็นกษัตริย์ ทรงคุณธรรม รักลูกทั้งเลวและดี ท่านจำนน ที่ลูกคนไทย มีทั้งเลวและดี ก็เป็นลูก ท่านมีความเป็นกลาง ที่ต้องใช้อย่างนี้ เป็น Sovereignty ท่านมี privilege อันนี้ ในการสร้างอันนี้
เมื่อสังคมประเทศ ล้มเหลวจริงๆ สองสถาบัน เขาเลิกเชื่อแล้ว ก็ต้องตัด สองอำนาจนั้นไป ทั้งบริหาร และสภา ก็ทิ้งได้แล้ว ประชาชนก็ต้องรับผิดชอบ ดีที่ประชาชน ก็ออกมา รวมตัวกัน ออกมาอยู่ กลางที่สาธารณะ ร่วมเป็นมวลประชาชน ที่ต่างกับหมู่แดง ที่รวมหมู่ชนไม่ได้ ใช้อำนาจเงินซื้อ ก็ไม่ได้นาน จิตไม่ได้สามัคคี หนึ่งเดียวกัน ไม่เป็นโลกุตรธรรม อย่างกับ กปปส. ที่เรามีหน่วยเสริม มีสามเส้าเป็นองค์รวม เหนียวแน่น ยืนนาน ยั่งยืน วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ทางโน้นจะมาแข่ง ก็เห่าบ็องๆๆๆ หรือท้องแตกตายเอง จะล้อเลียนอย่างไร ก็ไม่ได้ มันซับซ้อน
ประชาชนสองกลุ่ม ก็ต้องตัดสิน ตุลาการตัดสิน เขาไม่ฟัง ก็ต้องอาศัย ประชาชนตัดสิน ตุลาการตัดสิน คุณไม่ใส่ใจ ด่าทออีก ประชาชนจึงต้อง เอารัฐาธิปัตย์มา พิสูจน์ในคุณภาพ ที่อยู่เหนียวแน่น ยืนนาน อยู่กันสงบเย็น ศาลก็มีปัญญาตัดสิน ให้คุ้มครอง ตามรธน.หมดเลย แน่นอน อาจมีบกพร่อง ศาลท่านมีดวงตาเห็นว่า เป็นสิ่งที่ธรรมดา แต่แก่นแกน ทำถูกรธน. ทุกมาตราเลย
ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน รัฐาธิปัตย์ รัฐบาลไม่ใช่รัฐชาติ หรือรัฐประเทศ รัฐบาล แค่มาทำงาน ตามที่รธน. กำหนด ทำเกินทำขาดไม่ได้ ทำผิด มีอำนาจหน้าที่ ตามระบุไว้ ไม่ใช่อำนาจ ของแผ่นดินทั้งหมด
สรุปแล้ว อำนาจรัฐาธิปัตย์ ผู้เป็นประชาชน เป็นเจ้าของ ดินทุกเม็ด ทองทุกก้อน ในแผ่นดินนี้ ประชาชน ก็ต้องดูแล เมื่อรัฐบาลหมดสิทธิ์ หมดหน้าที่แล้ว ทั้งพฤตินัย แต่เขาไม่เคารพนิตินัย ตีทิ้งนิตินัย แล้วจะเอานิตินัยมาเถียง จะบ้าหรือ? นี่คือคำตอบว่า คุณหมดแล้ว
ตอนนี้ กลุ่มประชาชน ก็มี กลุ่ม กปปส.นี่ไง ถูกแล้วดีแล้ว กลุ่มอื่นจะทำ ก็ทำได้ เหมือนกปปส. ถ้าฝ่ายข้าราชการ ประกาศตัว มาอยู่ในกปปส. มาก็จบ
มีประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ ตอนนี้เติม กรรมาภิวัฒน์ เป็นตัวตัดสิน
ตอนนี้ เราทำอะไรไม่ได้ ต้องจัดการ จรเข้ขวางคลองก่อน ข้าราชการก็คือ ประชาชน ต้องมาช่วยกัน
นิติรัฐ นิติธรรม อย่างอังกฤษ เขาไม่ต้องเขียนรธน.เลย เขามีนิติธรรมเป็นหลัก เหมือนศาสนาพุทธ ตอนแรก ก็ไม่มีวินัย ก็มีแต่จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลเป็นหลัก แต่วินัยมาออกทีหลัง
ขอสรุปเข้าเรื่อง
จะปฏิบัติโลกุตรธรรมได้ ต้องมี มิตรดี ถ้าคุณบรรลุอรหันต์แล้ว ก็จะอยู่กับโลกีย์ ไปแบบ พระอวโลกิเตศวร ได้ก็เชิญ ท่านตั้งปณิธานว่า จะอยู่ช่วยมนุษย์ ให้บรรลุอรหันต์ ไห้หมดโลก จึงปรินิพพาน
ถ้าคุณไม่ได้พบสมณะพราหมณ์ ตามสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐ ก็ไม่ได้รู้ศีล ที่สัมมาทิฏฐิ ฉันทะ อัตตะ ทิฏฐิ อัปปมาทะ หรือ โยนิโสมนสิการ ที่สัมมาทิฏฐิ