570411_ทวช.งานปลุกเสกฯครั้งที่ ๓๘ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ เรื่อง สัจจะที่ปรากฏ ตอนที่ ๕ |
วันนี้วันรองสุดท้าย ของงานแล้ว วันนี้ วันศุกร์ที่ ๑๑ เม.ย. ๕๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย เป็นวันที่ ๖ ของงานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๓๘ เป็นวันชุมนุมที่ ๒๕๑ วันของกปท. และ ๒๔๘ วันของ กทธ.
เสร็จงาน หลายคนก็คงกลับบ้าน หลายคนก็อาจอยู่ต่อ ปลุกเสกฯไปแล้วเกิดศรัทธา เป็นความรู้ เชื่อ เข้าใจ ก็อยู่ต่อ กับพวกเรา คนที่อยู่กับพวกเรา พวกเราเป็นมิตรดี กัลยาณมิตโต พวกเรา เป็นพวกมีศีล คนที่อยู่จะมีศีลไปด้วย มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ไปด้วย
หรือจะขยายเป็น มีหิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ ซึ่งเป็นความรู้ ความจริงด้วย ไม่ใช่แค่รู้
ความจริง ที่พระพุทธเจ้าสอน มีทั้งสมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ
สมมุตินั้น หากติดยึดอยากได้ ก็สั่งสมแต่อัตตา ด้วยความไม่รู้ กาม รูป อรูป ก็เป็นอัตตา นี่คือภพ หรือภูมิ ๓ ไม่เรียนรู้ภพ ก็ไม่ได้สิ่งที่ควรได้
มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้น ของพรหมจรรย์ จะพาไปสู่ เทวธรรม ๗
ถ้าฟังเอาแต่ภาษาจำได้ สุ จิ ปุ ลิ ได้แค่นั้น เรียนกัน ทุกวันนี้แค่นี้ ไม่ได้ปฏิบัติ การเรียนแค่ สุ จิ ปุ ลิ ก็แค่จดจำ ในสมอง หรือจดไว้ในสมุด ไม่ได้ปฏิบัติ จนถึงผล
เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ถึงผล จึงเป็นการได้ พหูสูตร หรือพาหุสัจจะ เราเชื่อถือ (ศรัทธา) แล้วก็เชื่อฟัง (ศัทธินทรีย์) มีผลขึ้นมา ก็เป็นพลังจิต มีสภาวะ เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เกิดศัทธาพละ เป็นผลสำเร็จ
ในศรัทธาเหล่านี้ ต้องประกอบด้วยศีล หากศรัทธาไม่มีศีล ศรัทธานั้น ไม่ใช่ของ พระพุทธเจ้า
ถ้าเรายังไม่ทำคุณอันสมควรก่อน ไปพร่ำสอนคนอื่น จักไม่มัวหมอง ศาสนา ธรรมะ ชีวิต ผู้ฟังผู้รับ ก็ไม่มัวหมอง ไม่เพี้ยนไม่เสียหาย เพราะปฏิบัติไม่สมบูรณ์ ตามพระพุทธเจ้าสอน ก็เลยไม่บริบูรณ์
ผู้ที่แต่ละวันๆ สามารถได้รับอาหาร จากมิตร ผู้ใกล้ชิด สัมผัส รับ ฟัง เจตนาสอนโดยตรง ก็เป็นการถ่ายทอด จากการมีมิตรดี ที่อยู่ร่วมกัน ซึมซับไหลเข้าหากัน โดยเราไม่รู้ตัวง่ายๆ อยู่ร่วมกันนี่แหละเป็นประโยชน์มาก
มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้น ของพรหมจรรย์ เราอยู่กับหมู่โจร ก็เป็นโจร มันไหลเข้าไปในตัว โดยไม่รู้ตัว
ถ้าเราอยู่กับมิตรดีที่มีจริงๆ มีเนื้อยาแท้เข้มข้น ก็กระจายโดย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นรังสี ราศี นำพาทำ ลากจูงกันทำ ทุบหัวกันทำ ก็ได้ ถ้ามีสิ่งจริงให้เรา บางคน มีพ่อแม่ที่ดุ ก็เจตนา ทำให้เราอย่างดี ก็น้อมรับกันให้ดี อย่ารังเกียจ
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องศรัทธา ความเลื่อมใส อันบริบูรณ์รอบ
อย่างการสอนธรรมะนั้น หากไม่มีธรรมะ แล้วไปสอนคนอื่น ก็จะเพี้ยนไป ก็จะมัวหมองได้ เราได้แล้ว เราก็สอน สอนก็เพราะ เราได้แล้วก็สอน สอนไปหาหมู่กลุ่มบริษัท เป็นการเผยแพร่ เป็นการไม่เห็นแก่ตัว จะแข็งแรงแกล้วกล้า กับหมู่บริษัท อาจหาญ จะแสดงอย่างดี เปิดเผย ถูกต้อง จะทรงวินัย ไม่อย่างนั้น จะประมาท ถ้าทรงวินัย จะสังวร ยิ่งอยู่กับหมู่ใหญ่ ต้องสังวรดีๆ ไม่อย่างนั้นพาเสีย คนที่ควรนอบน้อมคารวะ ก็อีกอย่าง แต่ถ้าคนที่ต่ำกว่า เราก็แสดงธรรม อย่างไม่ระวัง ไม่อ่อนน้อมเท่าไหร่ ก็ได้ เป็นผู้ที่ยอมรับ นับถือแล้ว ก็แสดงง่ายๆ ข่มๆได้ แต่ถ้าผู้ที่ ยังไม่ยอมรับนับถือ ก็ไปเบ่ง ไปข่มไม่ได้ วินัยเหล่านี้ ต้องระมัดระวัง
จากนั้น เป็นของได้ของตนเอง เป็นคุณธรรมของตนเอง เรายินดีในป่า หรือความสงบ ในตนได้ไหม แม้เรายินดีในป่า ในความสงบ แต่เราก็ต้องไปช่วย คนที่เดือดร้อนในกรุง เราก็ต้องมีจิต ที่แข็งแรง มีอุเบกขา มีสังขารุเปกขาญาณ ก็ช่วยเขาได้ หากเราไม่มีญาณ ก็ไปช่วยเขาไม่ได้ ต้องมีจิตอุเบกขา
๑. ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ๕)
๒. ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)
๓. มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) เป็นจิตระดับ วิการรูป ที่เราต้องรู้ มีลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา มีคุณสมบัติ ไวทั้งปัญญา และเจโต อนุโลมปฏิโลม กับโลกเก่ง ก็จะทำงาน กับโลกเก่ง
๔. กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน อันไร้อคติ) มีกายกัมมัญญตา จัดองค์ประกอบ ได้อย่างดี เป็นองค์ประกอบศิลป์ เป็นกาโย จัดได้ดี จึงเป็นผู้ทำกาย กัมมัญญตา ทำกรรมด้วยจิต เป็นอัญญา ได้เหมาะสมดีงาม
๕. ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
(ธาตุวิภังคสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๖๙๐)
ผู้ศึกษาฝึกฝน อุเบกขา จะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นๆ สมบูรณ์ในตัว และเจริญในตัว แข็งแรงดีขึ้นๆ พัฒนาได้
มาดูกันที่สุริยเปยยาลต่อ
[๑๒๙] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . .
[๑๓๑] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๒] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๓] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
[๑๓๔] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . .
[๑๓๕] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค .
ต้องพยายามทำ ๗ ข้อนี้ให้ดี จึงทำมรรคองค์ ๘ ได้สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งสำคัญมาก มิตรไม่ดี ก็ไม่พามีศีลได้อย่างสัมมาทิฏฐิ ทำได้แต่
สีลพตุปาทาน ทำได้แค่อุปาทาน ทำตามๆกันไป ไม่ถึงแม้ ศีลพตปรามาส ด้วย ไม่รู้สังโยชน์ แม้สักกายะ ก็ไม่รู้
ศีลก็ต้องเข้าใจในอานิสงส์ ๑๐ อย่างของศีล
การปฏิบัติศีล ก็จะเกิด อวิปฏิสาร คือความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ
อย่างคนชั่ว เขาวางแผนจะยืมเงิน สองล้านๆ วางแผนไว้มากมายว่า จะได้อะไรๆ แต่ตอนนี้ ทำไม่ได้ ก็ดิ้นรน พระสยามเทวาธิราชมี ทำไม่ให้ผ่าน เขาจะวิปฏิสาร คือ เดือดเนื้อร้อนใจ จิตคิดชั่ว จะหาทางแก้แค้น จัดการคนขวาง แต่ถ้าใจไม่อยากได้ ก็ไม่วิปฏิสาร แต่คนอวิชชา จะไม่รู้ตัว คนมีวิชชา จะรู้ตัว คนมีเจตนาดี หากต้องได้เงินสองล้านๆ จะเอามา บริหารประเทศ ก็ถึงเวลา วาระก็ได้ แต่เจตนาไม่ดี ผู้รู้เขาก็เห็น ก็ไม่ให้ผ่าน แต่เขาก็จองเวร จองกรรม อาฆาตมาดร้าย เกิดอุปกิเลส ๑๖
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (เพ่งเล็งอยากได้)
๒. พยาปาทะ (ปองร้ายเขา)
๓. โกธะ (โกรธ)
๔. อุปนาหะ (ผูกโกรธ)
๕. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
๖. ปฬาสะ (ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอท่าน)
๗. อิสสายะ (ริษยา ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)
๘. มัจฉริยะ (ตระหนี่)
๙. มายายะ (มารยา, มารยาทเสแสร้ง)
๑๐. สาเฐยยะ (โอ้อวด, การโอ่แสดง)
๑๑. ถัมภะ (หัวดื้อ, เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)
๑๒. สารัมภะ (แข่งดี, เอาชนะคะคาน)
๑๓. มานะ (ถือดี-ยึดดี จนถือสา)
๑๔. อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน)
๑๕. มทะ (มัวเมา)
๑๖. ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)
(พตปฎ.เล่ม ๑๒ ข้อ ๙๓)
ถ้าเกิดประมาทนี่แย่เลย เราต้องไม่ประมาท แต่ถ้าประมาท ก็จะมีอุปกิเลส ไล่เรียงไปหมดเลย
ประมาทคือ คุณไม่สังวรใน อินทรีย์๖ ที่เป็นตัวปฏิบัติ หากไม่มีสติ จะสังวรได้อย่างไร
ตาม ตัณหาสูตร
๑. การไม่คบสัปบุรุษ เป็นอาหารของ.. การไม่ได้ฟังสัทธรรม ที่ถูกต้อง
๒. การไม่ได้ฟังสัทธรรม เป็นอาหารของ.. ความไม่มีศรัทธา (หรือศรัทธาผิดๆ)
๓. ความไม่มีศรัทธา (ศรัทธาไม่บริบูรณ์) เป็นอาหารของ.. การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (กระทำใจไม่เป็น)
๔. การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (หรือทำใจไม่เป็น) เป็นอาหารของ.. ความไม่มี สติสัมปชัญญะ .
๕. ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (หรือทำสติไม่เป็น) เป็นอาหารของ.. ความไม่สำรวมอินทรีย์
๖. การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ.. ทุจริต ๓ (กาย, วาจา, ใจ ทุจริต)
๗. ทุจริต ๓ เป็นอาหารของ.. นิวรณ์ ๕
๘. นิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของ.. อวิชชา
๙. อวิชชา เป็นอาหารของ ภวตัณหา
(พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๖๒)
อยู่ที่ไหนให้มี สัปปายะ ๔ อย่างอาหาร ๔ นี่เป็นสิ่งที่มีอยู่ที่นี่ก็มี
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเ บญจกาม) . .
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จักแยกแยะ นาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะ อาสวะให้จบสิ้น) .
(ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๖ ข้อ ๒๔๑-๒๔๔)
มีการคบสัตบุรุษ ได้ฟังสัทธรรม มีการทำใจในใจ โดยแยบคาย ก็จะมี สติสัมปชัญญะ และจะมี การสำรวมอินทรีย์ นำไปสู่ การมีสุจริตกรรม ๓ และมีโพชฌงค์ ที่เป็นอาหาร ของวิชชาได้
จะอ่านแยกแยะเวทนา ๑๐๘ ได้อย่างไร หากไม่เจอผู้รู้ ที่ให้สัมมาทิฏฐิคุณได้
๑. สัปปุริสสังเสวะ (รู้จักฟังบัณฑิต คบหาสัตบุรุษ) .
๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (กระทำลงในใจโดยแยบคาย) . .
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม)
(พตปฎ. เล่ม ๒๑ ข้อ ๒๔๘)
เมื่อมีวุฒิ ๔ ก็จะมี จักร ๔
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม) .
๒. สัปปุริสูปัสสยะ (การคบหาสัตบุรุษ) .
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบธรรม) คนอื่น ก็ช่วยประคองเราด้วย พวกเราก็ไปได้ พวกเรา ก็ตั้งตนไว้ชอบ หมู่ก็ช่วย หากเซก็ช่วยประคอง หกล้ม ก็จับลุก หมู่ก็ดี เราก็ต้องพยายาม ตั้งตนไว้ให้ดี ตั้งกรรม ๓ ให้ทำดี เป็นประโยชน์จาก มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญ อันได้กระทำแล้ว ในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย)
(พตปฎ. เล่ม ๒๑ ข้อ ๓๑)
เราจะรู้จักอาหาร ๔
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม) . .
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) เราต้องมีวิภวตัณหา คือตัณหาเพื่อลด กามภพ และภวภพ เรียนรู้กามภูมิ ๕ และมีใจเป็นภูมิที่ ๖ เราต้องกำหนดเจตนา เรากำหนด วิภวตัณหา
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จักแยกแยะ นาม-รูป แล้วกำจัดเฉพาะ อาสวะ ให้จบสิ้น) รู้จิตในจิต เป็นเจโตปริยญาณ
(ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๖ ข้อ ๒๔๑-๒๔๔) .
คุณทำออกมีเนกขัมมะ แม้กดข่มบ้างก็ทำ ทำตามปหาน ๕ เมื่อกดข่มพอสมควร ก็มารู้ อย่าไปดับ ไม่ให้รับรู้แล้ว หรือรู้นิ่งเฉย ไม่ได้ วิธีลัดไม่ได้ ไม่มีสัมโพชฌงค์เลย
เมื่อเราตั้งตนไว้ชอบ ในธรรมแล้ว เราก็จะเกิด การสั่งสมบุญ เป็นปุพเพกตปุญญตา เกิดผล ชำระกิเลส เป็นสัจจะ เป็น กิจจะ เป็น กต เป็นสัจจญาณ กระทำเป็นกิจญาณ ทำเสร็จแล้วเป็น กตญาณ ได้ผลสั่งสม เป็นของเก่า คุณก็ได้สั่งสมบุญ เป็นผลวิบาก เราไปเรื่อยๆ เพราะตั้งตน ไว้ชอบ เพราะคุณมี มิตรดี สหายดี คบสัตบุรุษ ในถิ่นที่พร้อม ก็จะเกิดจักรกล ของธรรมจักร เจริญเรียบร้อย ได้ผลจนสำเร็จ
อาศัยเกิดแล้วละเสีย ๔
๑.กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร ๔
๒.กายนี้เกิดด้วยตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนา)
๓.กายนี้เกิดด้วยมานะ (ความถือดี) อาศัยมานะแล้ว พึงละมานะเสีย
๔. กายนี้เกิดด้วยเมถุน ควรละเมถุนเสีย การละเมถุน เรียกว่า เสตุฆาต (การฆ่ากิเลส ด้วยอาริยมรรค)
แม้เป็นอนาคามี ก็ต้องมีการปฏิบัติ อยู่ในมรรคองค์ ๘ รู้จักการทำ สังกัปปะ ๗ และทำโดยมีสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะ
๑. ปัญญา-รู้เห็นจริงตามสัจจะของจริง (ปัญญา) .
๒. ปัญญินทรีย์ (ปัญญินทริยัง)
๓. ปัญญาพละ (ปัญญาผลัง) . . มีพลังงาน static แฝง
๔. ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจัยสัมโพชฌังโค) . .
๕. ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ทิฐิรอบในที่เจริญขึ้น .
๖. องค์แห่งมรรค (มัคคังคะ) มีพลังงาน Dynamic แฝง
(พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๘)
รู้จักธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ คือทำออกได้ มีตั้งแต่วิตก วิจาร แจกแจงแยกได้ อันนี้เป็น เวทนาในเวทนา แจกเวทนาไปได้ เวทนา ๑๐๘ เรารู้ว่า มันมีกิเลส มาเป็นแขกจร เป็นอาคันตุกะ มาจากถิ่นอื่นไม่ใช่ตัวเราของเรา มันเป็นตัวอื่น มาอาศัยยึดพื้นที่จิตเรา มาเป็นเจ้าของด้วยนะ เราต้องชิง พื้นที่จิตใจคืนมา มันไม่ใช่ตัวเรา เห็นจริงๆ คุณจะไม่ยึดว่า เป็นตัวเราของเรา กิเลสไม่เที่ยง พอล้างตัวนี้ออก จิตเราก็เที่ยง ไม่มีศัตรู ตัวกวน ตัววุ่นวาย เราก็แข็งแรง เป็นเอกกัคคตา ไม่มีสอง ไม่มีเมถุนไม่มีคนคู่
การมีมิตรดี ศาสนาพุทธ ไม่ให้ประมาท รู้ดีเห็นด้วยตัวเอง หากคุณไม่มี สยังอภิญญา จะไปอยู่ แต่ผู้เดียว อย่าดีอวด ต้องมีดีก่อน จึงอวดได้ ยังไม่มีดี แล้วดีอวด มันไม่ดีหรอก ตัวอวดนั้น ตัวไม่ดี ไม่มีดี แล้วทำดีอวด คุณไม่มีดี แล้วเอาดีอวด ก็ดีแตกๆ มีแต่ภาษา
ผู้ที่สามารถเรียนรู้ ธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติตรง ตามพระพุทธเจ้า
แม้กายนี้เกิดด้วยเมถุน ตัวนี้คุณไม่ใช่ว่า ละเมถุน เหมือนอาหาร แต่เมถุนนี่ ละเสียเลย ไม่มีคำว่า อาศัย สังเกตให้ดี ตังแต่ข้อที่ ๑ กายนี้ เกิดด้วยอาหาร แต่ถ้าบ้าพาซื่อ ละอาหารเสีย ก็ตาย แต่ข้อที่ ๔ นี่ไม่มีอาศัยเลย แต่อาหาร ตัณหา มานะก็ต้องอาศัย นี่คือ ความลึกซึ้งละเอียด
เมถุนตั้งแต่คนคู่ สัมผัสร่วมรส ตั้งแต่ ตาสัมผัส คุณก็มีรส ได้สัมผัส นวดฝั้น ก็มีรส เป็นเมถุนสังโยค ๗ ไม่ได้ก็ปั้นภาพ ก็มีรส ปั้นเป็นเทวดา มาเสพเอง ก็มีรส เพราะฉะนั้น เมถุนไม่ต้องอาศัยเลย เสตุฆาตเลย ส่วนอันอื่น ก็ต้องอาศัย
ถ้าอาตมาไม่มีมานะ ก็ไม่สอนคุณหรอก มานะนี่ความอยากได้ใคร่มี แต่เขาอยากได้ ใคร่ชั่ว ไม่ได้อยากได้ใคร่ดี เคยไหมคุณ อยากได้ใคร่ชั่ว ใครบอกว่าไม่มีนั้น ไม่รู้ตัวหรอก แต่ละคน เคยทั้งนั้น อยากรวย อยากได้เมืองไทยทั้งเมือง ลามกมาก
ตอนนี้ถึงเวลาสำคัญมาก คุณจะไปเป็นทาสราชะ หรือเป็นทาสทรราช เพราะเราอยู่ ในประเทศ ที่มีราชะ เป็นพ่อ เป็นนาย เป็นหัวหน้า หากคุณไม่อยู่ในประเทศนี้ ก็ไม่มีราชะ เป็นประมุขได้ แต่ถ้าอยู่ประเทศนี้ ก็ยืนยันว่า เป็นประเทศที่มีราชะ เป็นประมุข
ก็ขอให้สติ เป็นวาระที่สำคัญที่สุดแล้ว ต้องออกมารวมกัน ยังมีส่วนเป็นทาส ผู้ไม่ใช้ ราชะของเรา เรื่องนี้ยาก การรบครั้งนี้ยาก แต่ถ้าผู้รู้ตัว มาร่วมกัน อย่างพรักพร้อม แป๊งพรึ่บ พรักพร้อม ตีระฆังแป๊ง ตอนนี้เราใช้นกหวีด เป่าปรี๊ด ออกมา ร่วมกันหมดเลย ๖๐ ล้าน จาก ๗๕ ออกจากบ้านออกมาเลย
แม้คนไทยอยู่ต่างชาติ ยังมาร่วมเลย อย่างคุณสาธิต เซกัล เกิดในอินเดีย แต่ทำประโยชน์ ให้ประเทศไทย มากมาย ตั้งใจจะตาย ในไทยด้วย
ธรรมะต่อเนื่อง ที่ร้อยมาลัย ได้สัดส่วน เอาดอกนี้ร้อยตรงนี้ เป็นมาลัย พวงสวยงาม ผู้จะร้อยได้ ก็ต้องรู้จักดอกไม้ รู้จักวิธีตกแต่ง มัณฑนะ จัดให้ถูกสี ถูกกลิ่น นี่คือ การรู้จัก องค์ประกอบศิลป์ การศึกษาธรรมะ จึงรู้แม้กระทั่ง ทุกอย่างในโลก วัตถุดินน้ำไฟลม จนถึงสัตว์บุคคล ตัวตนพืชพันธ์ธัญญาหาร ไม่ว่าวัตถุหรือนามธรรม เอามาจัดสัดส่วน อยู่ด้วยกัน อย่างสามัคคี พรั่งพร้อม เป็นเอกภาพ นี่คือ การศึกษา ศาสนาพุทธ แล้วจะได้อย่างนี้
ให้ศึกษา แสงอรุณทั้ง ๗ ให้ดี ถ้าทำใจในใจไม่เป็น แต่ทำใจให้กิเลสลดไม่เป็น ทำทานที ก็มีแต่กิเลสอ้วน โต หนา เพราะทำแต่อยากได้ ทำทาน ก็ทำใจอยากได้ มากกว่าที่ให้ อย่างที่ เขาสอนกัน อธิษฐานเอา ตั้งจิตไว้ผิดๆ ก็ยิ่งกว่าโจรฆ่าโจร ฆ่ากันบรรลัยจักรเลย ต้องตั้งจิตให้ถูก เพื่อลดละล้างกิเลส ไม่ใช่เพิ่มกิเลส ให้ของ ๕ บาท แต่อยากได้เป็นร้อย เป็นพัน เป็นล้าน อันนี้ค้ากำไรเกิน
ทานข้อแรก ในสัมมาทิฏฐิ ๑๐ หากทาน แล้วทำใจ ต้องให้ลดกิเลสได้
ทำศีล หรือยัญพิธี ไม่ว่าสำนักใด ก็ให้ลดกิเลสให้ได้ วิธีปฏิบัติให้ลดกิเลส ปฏิบัติแล้ว
หุตัง หรือสังเวย จิตได้เสวย ได้รับผลบุญ
ก็ให้พากเพียรฟังธรรมไป...