570414_พ่อครูเทศน์ เวทีหน้าลานพลับพลาฯ เรื่อง ความน่าจะเป็น 'รัฏฐาธิปัตย์'? |
วันนี้คงต้องพูด เรื่องที่เป็นกระแสสังคมขณะนี้เรื่อง รัฐาธิปัตย์ อาตมามีความเข้าใจไม่เหมือนท่านทั้งหลาย ที่บรรยายกัน
อาตมาว่าถ้าเข้าใจอย่างที่ท่านทั้งหลายเข้าใจไม่จบง่าย แต่ถ้าเข้าใจอย่างอาตมาเข้าใจจะจบง่ายจบเร็ว แต่อาตมาก็แหกคอกคิด ก็มั่นใจว่าเป็นสิ่งถูกต้อง เป็นนามธรรม แต่อาตมา เทียบรูปธรรมให้ดู
อาตมาอธิบายสั้นๆให้ฟังก่อน...คำว่า อำนาจ กับคำว่าอธิปัตย์ นี่เป็นเรื่องที่สุดยอด ในความเป็นรัฐ เป็นประเทศ เป็นอำนาจของเจ้าบ้าน เจ้าถิ่นที่ เจ้าของทรัพย์สิน ทุกอย่าง สมัยเผด็จการ เป็นอำนาจเช่นนี้เลย เป็น Sovereignty เลย รวมแล้วเรียกว่า อธิปไตย
รัฐบาล คือเจ้าของบ้าน เลือกให้มาทำงานบ้าน จะเป็นรัฐาธิปัตย์ได้อย่างไร อาตมาเรียกว่า กุลีรัฐ ชัดเจน แยกให้ชัด ใหญ่ในการทำงาน ก็เป็นอธิปัตย์ แต่จะเรียกว่า รัฐาธิปัตย์ ก็ไม่ค่อยถูกนะ ถ้าจะเรียกก็เรียก รัฐบาลาธิปัตย์ เป็นใหญ่ในรัฐบาล ไม่ใช่ใหญ่ใน รัฐประเทศหรือรัฐชาติ
อำนาจในรัฐชาติ หรือรัฐประเทศ ก็คือแผ่นดินส่วนรวม ทั้งหมดประเทศ ก็ต้องเป็นของประชาชน เจ้าของประเทศ เมื่อเราเห็นว่า รัฐบาลที่เราเลือก มาทำงาน บริหารประเทศ ทำงานไม่ได้เรื่อง ทำเสียหายมาก เราก็จะให้เขาออกไป
อย่างการใช้อำนาจปฏิวัติ ด้วยกำลังอาวุธ หรือทหาร เขาได้รัฐาธิปัตย์ แต่เขาไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ขณะที่เขาปฏิวัติสำเร็จ เขาได้อำนาจ แล้วไปจัดการ ขณะที่เขายึดอำนาจนั้น ยังไม่ขอคืน ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งต่อไป เขาก็จะให้มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง แล้วให้คืนสู่ ระบอบประชาธิปไตย เขาก็หมดอำนาจ คืนให้แก่ประเทศ อำนาจที่คืน ก็เป็น ระบอบ ประชาธิปไตย อำนาจในการปฏิวัติ ก็สิ้นไป
มันมีความต่าง คือคณะปฏิวัติ หากไม่คืนอำนาจ ก็ครองต่อไป เหมือนฮิตเลอร์หรือมาร์กอสทำ เขาซ่อนในรูปแบบ ประชาธิปไตย เขามีอำนาจ ที่เรียกว่า รัฐาธิปัตย์ แต่รัฐาธิปัตย์เขา ไม่ใช่ของ ประชาธิปไตย แต่เป็นของเผด็จการกลุ่มนั้น ไม่ใช่รัฐาธิปัตย์ของประชาชน
เราประชาชนคนไทย คือมวลมหาประชาชน ที่กำลังมาทวงคืนรัฐาธิปัตย์ ที่เราเป็นประชาชน มีความรู้เข้าใจแล้วว่า รัฐบาลนี้ ตัดรัฐบาลาธิปไตยนี่ให้หยุด เราไม่จ้างคณะนี้แล้ว เราริบอำนาจรัฐบาลนี้คืน และเราจะเข้าสู่ระบบวิธี ที่จะมีคณะบริหารใหม่ จะปฏิรูปไปบ้าง เราก็ตั้งใจทำเช่นนั้น เหมือนคนจะสร้างบริษัท ก็ไปจดบริกลสนธิ เป็นคณะกรรมการก่อการ ที่กำนันสุเทพทำอยู่นี่ ก็เป็นเช่นกัน
รายงานพิเศษ: ความน่าจะเป็น 'รัฏฐาธิปัตย์'?
ปุจฉา? คาใจกับคำว่า "รัฏฐาธิ ปัตย์" หลังจากที่ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" เลขาธิการ กปปส. ตีไพ่ใบสุดท้าย ด้วยการประกาศ จะตั้งรัฏฐาธิปัตย์ เพื่อสานเจตนารมณ์ ให้ แนวทางที่วางไว้ ในการปฏิรูป ไปสู่ความสำเร็จนั้น จะสามารถทำได้อย่างไร มีความเป็นไปได้ มากน้อยแค่ไหน กับสถานการณ์บ้านเมือง ที่มีความแตกแยก
ขณะเดียวกัน ก็มีเสรีภาพทางความคิด และการกระทำมากขึ้น จะสามารถเป็น ไปได้หรือไม่ และจะเป็นหนทาง ในการแก้ปัญหา หาทางออกให้ประเทศได้ จริงหรือไม่?
"ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไขข้อข้องใจส่วนหนึ่งว่า คำว่า "รัฏฐาธิปัตย์" ตามความเข้าใจคือ ใครยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกุมอำนาจรัฐได้ คือผู้ถูกต้อง ชอบธรรม ซึ่งใครที่เป็นผู้ยึดอำนาจได้ ก็ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ โดยชอบธรรม โดยจะคำนึงหรือไม่ได้คำนึงถึงกติกา ที่เป็นอยู่มาก่อน หรือครรลองที่เป็นไป ตามระบอบ ประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งในกรณีที่ไม่คำนึง ใครเป็นผู้แข็งแรงกว่า ก็จะเป็นผู้กำหนด ความถูกต้อง เช่น เหตุการณ์เมื่อ 19 ก.ย.49 ก็ถือว่า เข้าทำนองรัฏฐาธิปัตย์ เช่นกัน และสามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ ออกกฎหมายได้
ดังนั้น ครั้งนี้การที่ "สุเทพ" จะประกาศรัฏฐา ธิปัตย์ และประกาศจะยึดทรัพย์ ตระกูลชินวัตรนั้น ยังเป็นที่กังขาอยู่ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ประกาศล่วงหน้าได้ เพราะรัฏฐาธิปัตย์ คือผลพวง ของการกระทำ มากกว่า ผลพวงของวจีกรรม ถ้าทางวาจามาก่อน ที่จะมากุมอำนาจ ให้เบ็ดเสร็จ ก็ถือว่าเป็นแค่ลมปาก สุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้อง ในฐานะ มีเจตนาโค่นล้ม ระบอบการปกครองได้ ถึงแม้จะมีการยืนยันว่าจะรักษาระบอบไว้ แต่วิธีการที่ให้ได้มา ซึ่งอำนาจ มันไม่ใช่สิ่งที่กฎหมาย ได้กำหนดไว้ แต่ถ้ารัฐบาลอ่อนแอกว่า แน่นอนว่า การดำเนินการ การฟ้องร้อง ไปจนถึงการจับกุม ก็ย่อมมีปัญหา ด้านประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมาย ของฝ่ายบริหาร
การที่ กปปส.เริ่มจาก "อารยะขัดขืน" และก็ทวงคืน "อำนาจอธิปไตยปวงชน" และโดนข้อ หา "กบฏ" ต่อด้วยการ "ปฏิวัติประชาชน" สุด ท้ายมาลงเอยด้วย "รัฏฐาธิปัตย์" ซึ่งกระบวนการแบบนี้ อาจจะนำไปสู่ การทำลาย การชุมนุมประท้วง
และการต่อสู้ด้วยอารยะขัดขืน ในอนาคต เพราะจะทำให้สังคมเห็นว่า การชุมนุมประท้วง และอารยะขัดขืน เป็นเพียงข้ออ้างทางการเมือง ไม่มีความจริงใจ
การที่ "สุเทพ" ประกาศยึดอำนาจ โดยไม่กำลังทหาร ก็ไม่มีความเป็นไปได้ ซึ่งถ้าจะเอาประชาชนไปปฏิวัติ ฝ่ายทหารก็ต้องเลือกข้างว่า จะว่าอยู่ฝ่ายไหน จะอยู่ฝ่ายรัฐบาล ที่ปกป้องระบอบ ประชาธิปไตย หรือทหารจะเข้าร่วม ฝ่ายปฏิวัติประชาชนของกลุ่ม กปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ ถ้าทหารมีเอกภาพในการเลือกข้าง ก็จะมีปัญหาแบบหนึ่ง แต่ถ้าขาดเอกภาพ และเลือกแตกออกไปเป็น สองทาง ก็จะนำพาสถานการณ์ ไปสู่เส้นทางสงครามกลางเมือง ที่ชัดเจน
ทั้งนี้ เชื่อว่าการประกาศของ "สุเทพ" ทั้งเรื่องของการประกาศยึดทรัพย์ ตระกูลชินวัตร หรือการประกาศทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อนายกฯ คนกลาง และรายชื่อคณะรัฐมนตรี อาจจะมองได้ว่า เป็นการขู่รัฐบาล และเครือข่าย ท้าทาย สร้างเงื่อนไข และอีกมุมหนึ่ง การพูดเรื่อง รัฏฐาธิปัตย์ คือการพูดเพื่อปลุกเร้ามวลชน ให้มีความฮึกเหิม มีความหวัง ในการต่อสู้อีกครั้ง เท่านั้น เข้าทำนองให้ออกมา เพื่อเผด็จศึกเด็ดขาด เป็นรัฏฐาธิปัตย์
"อัษฎางค์ ปาณิกบุตร" อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง นักวิชาการอิสระ ก็อธิบายในอีกมุมมองหนึ่งว่า "รัฏฐาธิปัตย์" ตามที่ "สุเทพ" ประกาศนั้น ต้องดูด้วยว่า คำนี้เกิดมาจากไหน เพราะตามที่เปิด พจนานุกรมที่มี ปี 2554 ไม่มี มีแต่คำว่า "รัฐ" ที่แปลว่า แคว้นประเทศ และคำว่า อธิป ที่แปลว่า ความยิ่งใหญ่ เท่ากับ รัฐ+อธิปัตย์ เป็นคำสมาส คือผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐนั้น ไม่ว่าจะได้มาจากอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะรบกัน ฆ่าฟันกัน หรือประชาธิปไตย ก็สามารถใช้ได้หมด
แต่โดยทั่วไปมักจะใช้กับรัฐ ที่เป็นประชา ธิปไตย ที่บุคคล คนนั้นหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง ได้รับเลือกขึ้นมา จากการเลือกตั้ง หรือการประกาศ รัฏฐาธิปัตย์ ที่ได้มาไว้ในมือกองทัพ เป็น "องค์รัฏฐาธิปัตย์ของประเทศไทย" เหมือนในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือเหตุการณ์เมื่อปี 2549 สมัยที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่ทำรัฐประหาร และได้อำนาจ เบ็ดเสร็จอยู่ในมือ ตรงนี้สามารถทำได้ โดยอยู่ในรูปแบบเผด็จการ
ขณะเดียวกัน ถ้า "สุเทพ" สมมติขึ้นมาเอง ว่า ประกาศรัฏฐาธิปัตย์ เท่ากับเขาตั้งให้ตัวเขาเอง ใหญ่ที่สุด เหมือนจอมพลสฤษดิ์ หรือ พล.อ. สนธิ ซึ่งนายสุเทพ ไม่ใช่ไม่มีปัจจัย สนับสนุนมากพอ จึงออกมาแบบนี้ แบบโดนโจมตีกลับ การที่สุเทพประกาศรัฏฐาธิปัตย์ เป็นกลุ่มคนที่สามารถ ใช้อำนาจของรัฐได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัด เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญ คือเป็นกระบวนการ ที่มาจากเผด็จการ ซึ่งยากที่จะได้รับ การยอมรับ ไม่ว่า จะเป็นการออกคำสั่งยึดทรัพย์ การตั้งตนเองเป็น ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อนายกฯ และคณะรัฐมนตรี และจะเป็นผู้รับสนอง พระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกฯ นั้น
"ถ้าเขามีอำนาจจริง เขาก็สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่นั่นต้องหมายความว่า คุณมีอำนาจแท้จริง สั่งการแล้วกองทัพปฏิบัติตาม มีอาวุธพร้อม มีกลุ่มคน องค์กรต่างๆ พร้อมปฏิบัติตาม โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่มีการต่อสู้"
"อัษฎางค์" อธิบายเพิ่มเติมว่า ทั้งหมดนี้ การประกาศรัฏฐาธิปัตย์ของ สุเทพ เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.เป็นไปได้ เพราะการที่จะได้รัฏฐาธิปัตย์ จะต้องมีกำลัง ที่จะสามารถบังคับใครก็ได้ และจะต้องฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้ เราอยู่ในกระบวนการ ประชาธิปไตย จะมาเอ่ยลอยๆ ว่าอำนาจอยู่ที่ตนเอง ไม่ได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้ากองทัพ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ เชื่อฟังก็จะสามารถทำได้หมด ซึ่งถ้าถามเรื่องของความเหมาะสม ด้วยสถานการณ์การเมือง ที่มีความขัดแย้งแบบนี้ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชน จะเป็นคนตัดสินเองว่า การประกาศรัฏฐาธิปัตย์คืออะไร
"แต่ต้องจำไว้ว่า ยุทธศาสตร์ครั้งนี้ มันหนักหนา มันแยกกันตี มีกระบวนการทำเงื่อนไข ในแต่ละระดับ นายสุเทพ รับผิดชอบเฉพาะตัว เป็นเบี้ยตัวหนึ่ง ที่เป็นชั้นล่าง โดยมีแบ็กบอกว่า ไม่เป็นไร ลื้อทำไป อั๊วคอยดูแลอยู่ จึงไม่มีการจับกุม เขาสามารถทำอะไรก็ได้ แม้จะมีการล้างแค้นกันบ้าง และสถานการณ์ จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าบ้านเมือง ยังอยู่ในลักษณะนี้ เพราะฉะนั้น มันไม่มีทางอื่น นอกจากการมานั่งเจรจากัน ถ้าเอาประเทศนะ ผมจะพูดให้คุณประยุทธ์ได้ยินว่า ตอนที่ผมไปวิ่ง ออกกำลังกายที่ราบ 1 มีป้าย เขียนติดไว้ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ชาติมาก่อน ถ้าไม่มีชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้น บอกคุณประยุทธ์เลยว่า คุณสามารถทำได้ โดยเป็นตัวกลาง เอาตัวที่ใหญ่ที่สุด ที่อยู่เบื้องหลัง กปปส.มาเลย คุยกับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ถ้าเรามาบอกว่า ประชามติของคนไทย คนส่วนใหญ่บอกว่า ต้องปฏิรูปประเทศไทย ตามกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจน เสร็จแล้วนำมาประกาศ แบบนี้สิ ประเทศก็สามารถ ที่จะเงียบสงบ สามารถกลับไปเริ่มนับ 1 ใหม่ได้ กลับไปสู่กระบวนการเลือกตั้งได้ แต่ถ้ายังดันทุรัง ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นแบบนี้ มีแต่เสีย"
"กิตติศักดิ์ ปรกติ" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำทับว่า คำว่า รัฐ+อธิปไตย คือผู้ถืออำนาจสูงสุด ในการปกครองแผ่นดิน ตามปกติแล้ว รัฏฐาธิปัตย์ หมายถึง ประมุขแห่งรัฐ ซึ่งจะมีผู้เข้าใจว่า อำนาจรัฐบาลนั่นก็คือ อำนาจรัฏฐาธิปัตย์เช่นกัน เพราะอำนาจปกครองสูงสุด เป็นของปวงชน ตามบทบัญญัติ รัฐธรรมมูญ มาตรา 3 อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ดังนั้น ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ต้องถามนายสุเทพว่า การประกาศรัฐฏาธิปัตย์นั้น หมายความถึงอะไร มีอำนาจในฐานะเป็นผู้แทนปวงชน หรือมีอำนาจ ในฐานะเป็นรัฐบาล หรือมีอำนาจเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งจะมีความหมาย แตกต่างกันไป แล้วแต่ว่า จะตีความอย่างไร แต่ตนเข้าใจว่า นายสุเทพหมายถึง การมีอำนาจเป็นรัฐบาลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากปวงชนชาวไทย ซึ่งเรื่องพวกนี้ต้องดูมาตรฐาน ระดับเฉลี่ยโดยทั่วไป เพราะเป็นเรื่องปกติ อยู่แล้ว ที่ทุกเรื่องไม่มีใครเห็นด้วยเต็มร้อย แต่ต้องดูว่า โดยสายตาวิญญูชนเห็นว่า ถูกต้องชอบธรรมแล้วหรือไม่
คำว่า "รัฏฐาธิปัตย์" อาจจะไม่ใช่คำใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อหวังแก้ไข ปัญหาของประเทศ ในปัจจุบัน แต่เป็นคำเก่า ที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการประกาศรัฏฐาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ นายสุเทพครั้งนี้ จะเป็นเพียงการตีไพ่ ขู่คู่ต่อสู้ในระบอบทักษิณ หรือเป็นการประกาศเตือนว่า ตนพร้อมต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งทางออก ในการปฏิรูปประเทศ และจะทำได้หรือไม่ นับถอยหลังจากนี้ อีกเพียงไม่กี่วัน เราคงได้ประจักษ์.
ซึ่งความเห็นของ อ.อัฏฎางค์ นั้น มีความเห็นว่า อำนาจรัฐาธิปัตย์ จะได้มา ต้องใช้แบบ Force เขาไม่เชื่อว่า การใช้อำนาจโดยธรรม ไม่ใช้อาวุธ สงบ สันติ จะได้มาซึ่ง รัฐาธิปัตย์ ได้อย่างไร เขาจะยอมได้อย่างไร?.... เพราะฝั่งรัฐบาล ยังมีอำนาจสั่งตำรวจทหารได้อยู่
พ่อครูว่า ... คุณสุเทพบอกตลอดว่า ไม่ได้มาเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ว่าจะมาช่วยจัดการ ให้ประเทศ เป็นระบบระเบียบ จัดการให้ประชาชน มีความสงบเรียบร้อย แล้วค่อยเลือกคน ให้เป็นนายกฯ ส่งขึ้นทูลเกล้าฯอีกที และต้องได้รับความเห็นชอบ จากปวงชนชาวไทย คุณสุเทพ ก็กำลังทำอยู่แล้ว
สรุปความแล้ว อาตมาก็ยังเห็นว่า อำนาจที่ยึดกัน ใช้กันนี่ ที่พูดกัน นี่ยังไม่มีอำนาจ ที่เป็นของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยเลย ยังพูดกันแค่ รัฐาธิปัตย์ ที่ได้จากเลือกตั้ง หรือรัฐประหาร โดยกำลัง และไม่คิดเลยว่า ประชาชนจะสามารถยึดอำนาจได้ สรุปความรู้ของ ครูบาอาจารย์ทั่วไป คิดเช่นนั้น
ต่อไปเป็นความเห็นของผู้รู้ท่านหนึ่ง ที่แสดงความเห็นว่า...การจะครองอำนาจรัฐ กับความเป็น รัฐาธิปัตย์ คนละหลักกัน …..
เรื่องรัฐาธิปัตย์ เป็นแนวคิดและหลักการ Paradigm กระบวนทัศน์
การครองอำนาจรัฐ เป็นกระบวนการ Process
ส่วนจะประกาศ หรือสถาปนาอะไร อย่างที่สุเทพจะทำ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ถ้าสำเร็จ ก็ครองอำนาจรัฐไป ถ้าไม่สำเร็จ ก็ผิดกฎหมาย (อันนี้พ่อครูว่า เป็นความเข้าใจว่า ประชาชนปฏิวัติไม่ได้ ผิดกฎหมาย ซึ่งพ่อครูว่า ในมาตรา ๖๓ , ๖๙ ก็ทำได้โดยสันติวิธี แต่ถ้าไม่ใช่สันติวิธี ไม่เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญนี้ อย่างรัฐบาลนี้ ทำขัดรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิ์ ทวงอำนาจคืน ทำอย่างสันติวิธี ก็ทำได้)
ข้อความเรื่องรัฐาธิปัตย์ ที่ปรับแก้ไขแล้วนั้น ไม่อาจรองรับ สิ่งที่คุณสุเทพ กำลังจะทำนี้ได้ โดยถือว่า รัฐาธิปัตย์ นี่เป็นแค่แนวคิด หรือหลักการ และกำลังพยายามปรับแก้ ดังนั้น ที่ทำนี่ถือว่าผิด
อาตมามีความเห็นแย้ง หลายอย่าง
สรุปว่า การเข้าใจรัฐาธิปัตย์ ก็เข้าใจว่า อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน
รัฐาธิปัตย์เป็นอำนาจความจริง ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้ (หมายถึง อำนาจรัฐาธิปัตย์ ของระบอบ ประชาธิปไตย จะไม่บังคับใคร และเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของคณะใด หรือคนใด ต่างจากอำนาจรัฐาธิปัตย์ ในระบอบเผด็จการ จะเป็นการบังคับ) ขึ้นชื่อว่าประชาธิปไตยแล้ว อำนาจรัฐาธิปัตย์คืออำนาจ ของประชาชน ไม่ว่าประเทศไหน เป็น Supreme law สำหรับประเทศ มีประชาธิปไตยสองขา รัฐาธิปัตย์ก็คือ อำนาจเป็นของ ประชาชนกับกษัตริย์ ที่เป็นหัวหน้าประชาชน ส่วนประเทศ ประชาธิปไตยขาเดียว อำนาจก็เป็นของ ประชาชน
ถ้าจะขออำนาจคืน ประท้วง อย่างในม.๖๓ หรือ ๖๙ ก็จะสามารถทำได้ คือให้ทำอย่าง สันติวิธี
มาตรา ๖๙ (การต่อต้านโดยสันติวิธี) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้าน โดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้
เราจึงออกมาต่อต้านประท้วงได้ เพราะเขามาบริหารประเทศขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ เราจึงออกมาต่อต้าน โดยสันติวิธี ก็ชัดเจนขึ้นๆ ว่าเขาทำผิด เช่น กรณีคุณถวิล เปลี่ยนสี หรือกรณีจำนำข้าว เรามีสิทธิ์ไล่ แต่เขาก็ทำหน้าด้านเฉย มันก็ยิ่งผิดซ้ำซ้อน และเขายังประท้วงศาลอีก
ในรัฐาธิปัตย์นี้ ถ้าอย่าง"ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไขข้อข้องใจ ส่วนหนึ่งว่า คำว่า "รัฏฐาธิปัตย์" ตามความเข้าใจ คือ ใครยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกุมอำนาจรัฐได้ คือผู้ถูกต้อง ชอบธรรม ซึ่งใครที่เป็นผู้ยึดอำนาจได้ ก็ถือว่าเป็นผู้มี อำนาจสูงสุดในรัฐ โดยชอบธรรม โดยจะคำนึง หรือไม่ได้คำนึงถึง กติกาที่เป็นอยู่มาก่อน หรือ ครรลองที่เป็นไป ตามระบอบประชาธิปไตย ก็ได้ ซึ่งในกรณีที่ไม่คำนึง ใครเป็นผู้แข็งแรงกว่า ก็จะเป็นผู้กำหนด ความถูกต้อง เช่น เหตุการณ์เมื่อ 19 ก.ย.49 ก็ถือว่า เข้าทำนอง รัฏฐาธิปัตย์ เช่นกัน และสามารถ ใช้อำนาจที่มีอยู่ ออกกฎหมายได้
อาตมาว่า นั้นไม่ใช่ในระบอบประชาธิปไตย เพราะคุณไปยึดมาด้วยอาวุธ ก็ไม่ชอบธรรม ไม่มีในรัฐธรรมนูญนี้ เราต้องคำนึงถึง สันติวิธี ใช้อำนาจโดยธรรม Authority ไม่ใช้ Force
แม้ในการเป็นรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ก็ได้ผลเป็นรัฐบาลมาจาก การรัฐประหาร เช่นกัน มันเป็นประเพณี การปฏิวัติมานาน และหลายที จนยอมรับกัน หลายรัฐบาลแล้ว
แต่ครั้งนี้ ประชาชนคนไทย ที่เรียกว่า กปปส.นี้ ทำอย่างถูกกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญด้วย แม้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็คุ้มครองว่าทำได้ ห้ามสลายด้วย..
ทำไมเขาไม่รีบสนับสนุนให้ทำได้ ส่งเสริมกัน
อาจจะประกาศยืนยันกันว่า ใครออกมาชุมนุมมากกว่ากัน ระหว่างรัฐบาลกับกปปส. ถ้ารัฐบาลใจกล้าๆหน่อย ก็ประกาศ รับรองว่า ประชาชนออกมาเกิน ๑๐ ล้านแน่ ไม่เคยมีใครทำได้ อย่างนี้เลย
ตอนนี้การประท้วง สำเร็จแล้ว เหลือแต่จะเป็นผลงานสมบูรณ์ เมื่อไหร่เท่านั้น ถ้าสนับสนุนหน่อยเดียว สำเร็จเลย
ประเทศไทยอุตส่าห์ทำกันมา ๘ เดือนกว่าแล้วนะ เป็นกปปส.นี่ก็ ๖ เดือนแล้ว มันสุดวิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ แล้ว ไม่ใช่แค่หลักการ หรือแนวคิด แต่เป็นการทำ ที่เลยกระบวนการ จนใกล้สำเร็จแล้วด้วย จะเป็น Product เลย
สรุปคือ กปปส.สามารถแสดงการยึดอำนาจ โดยชอบธรรม เพราะผลงานที่ทำมานี้ ยอดเยี่ยม ทางโน้นก็หมดอำนาจ สิ้นขาดอำนาจ อย่างกรรมาภิวัฒน์ เขาทำผิดๆๆๆๆ เราก็ทำ ถูกๆๆๆๆ ทำให้เกิดการชี้ผิดชี้ถูก เขาก็ถอยเรื่อยๆ จะถูกพิพากษา มันสวยงามจริงๆ
เขาเห็นกันว่า ถ้าเฉพาะอำนาจของประชาชน ไม่มีอำนาจของทหารมาร่วมนั้น ไม่มีทางสำเร็จ เราก็บอกมาตลอดว่า เราไม่ได้อยากให้ทหาร เอาอาวุธมารัฐประหาร แต่ถ้าจะออกมาร่วม อย่างไม่มีอาวุธมาเลย เราขอทำอย่าง ไม่เอาแบบ Force แต่เราจะใช้แบบ Authority ต้องแยกให้ออก
คนไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่มันเป็นไปได้จริงๆ
เป็นพลังงานทางนามธรรม เป็นพลังคุณงามความดี ของสิ่งชอบธรรม โดยเฉพาะ ประชาชนคนไทย แม้แต่ตำรวจ ก็มีความเข้าใจว่า มาทำรุนแรงกับคนดี ไม่ดีแน่ เช่น ตอนวันที่ ๑๘ ก.พ. ๕๗ ที่ผ่านมา ก็เห็นได้ชัดเจนว่า ความสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ก็ได้รับชัยชนะ เป็นพลังความดีงาม Authority ชนะ Force เป็นการพิสูจน์ความจริงชัด เขาตั้งใจทำจริงๆ แต่ลึกๆ เขามีจิตสำนึก อาตมาก็ภูมิใจ ในความเป็นคนไทย เขาแพ้ความดีงาม สุดท้าย ก็หนีไป ถอยทัพกลับ ไม่เป็นกระบวนเลย
ที่บอกว่าสุเทพไม่มีสิทธิ์ ทูลเกล้าฯไม่ได้ ก็แต่ทางโน้น เขาหมดสิทธิ์ไปแล้ว แล้วประชาชน ทำได้ อย่างสวยสดงดงาม ประชาชนก็จะช่วยกันเลือก ไม่ใช่เผด็จการ สุเทพ เป็นแต่เพียงผู้จัดการ โดยประชาชน ร่วมมือกัน ก็ต้องซาวเสียง ให้ประชาชนเลือกกันมา ไม่ใช่วิธีเผด็จการแน่ เป็นวิธีที่จะให้ประชาชน มีส่วนร่วม แล้วเลือกบุคคล ตามระบอบ ประชาธิปไตย เป็นแต่เพียงว่า อันนี้เป็นกรณีพิเศษ และทำถูกต้อง รัฐธรรมนูญด้วย อาจไม่ตรงเป๊ะ เท่าที่ทำมาทั้งหมด เพราะเป็นเหตุการณ์พิเศษ แต่โดยหลักการ วิถีทางนั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแน่
ในมาตรา ๗ เราจะไม่ทำ อย่างที่เขายัดเยียดเราว่า เป็นนายกฯพระราชทาน แต่จะเป็นนายกฯที่เราซาวเสียงขึ้นมา แล้วก็ทูลเกล้าฯ อันนี้เป็นราชประชาสมาสัย ให้พระประมุข ทรงรับรู้ รับทราบ ตามรัฐธรรมนูญ
ประชาชนได้ทำอย่างวิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ แล้ว เป็นแต่เพียงต้องมียกเว้น บางมาตรา บางกฎเกณฑ์ ไม่ให้เกิดการขัดกัน เท่านั้นเอง
ที่ต้องเข้าใจคือ ๑. รัฐบาลาธิปัตย์ กับรัฐาธิปัตย์ ไม่เหมือนกัน ๒. ความถูกต้อง ข้างไหนมากกว่ากัน ก็ชนะ