570415_พ่อครูเทศน์ปิดงานตลาดอาริยะ หน้าลานพลับพลาฯ เรื่อง อธิปไตยประชาชนไทยที่สุดวิเศษ |
เจริญธรรมทุกๆคน ส่งท้าย วันงานสงกรานต์ ประเด็นเรื่อง รัฐาธิปัตย์ ที่เขาเข้าใจกัน ยังไม่ชัด วันนี้ อาตมาก็เลย สรุปอีกที จะชัดไหม อาตมาก็เขียนมา อาตมาตั้งหัวข้อว่า อธิปไตยประชาชนไทยที่สุดวิเศษ
ที่ประชาชนไทย ได้ประท้วงกันมานี่ ทำได้อย่าง วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิฏฐ์ ซึ่งเป็นเรื่องเลอเลิศ แต่ก็มองกันยาก ว่าเลอเลิศอย่างไร ก็อาจเพราะไม่มี สิ่งเทียบเคียง แต่ก็มี สิ่งที่บ่งชี้ว่า นี่คือธรรมะ ที่เหนือกว่าโลกียะ Supra mundane ลองฟังที่อาตมา เรียบเรียง สรุปมาวันนี้
สรุป ประเด็นสำคัญของปัญหา ที่ทำให้จัดการกับ วิกฤติการเมือง ที่เกิดอยู่ในปัจจุบันนี้ ของไทย ยังไม่สำเร็จ เสร็จจบลงได้ ก็เพราะว่า
ซึ่งความเป็น "รัฏฐาธิปัตย์ หรือรัฏฐาธิปไตย" ของความเป็น ประชาชน นั้น เป็นความมี อำนาจเต็มสูงสุด (supreme) ที่แท้จริง ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง เป็นอื่น ไปจากประชาชนได้ จนนิรันดร ตราบที่รัฐนั้น ปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ว่า ประชาธิปไตย ๒ ขา หรือขาเดียว
(๒) ยังเข้าใจความเป็น"รัฐบาลาธิปัตย์ หรือรัฐบาลธิปไตย" ที่มีหน้าที่บริหาร ราชการแผ่นดิน ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ตรงตามสิทธิ และหน้าที่ ของสภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เท่าที่ตนมี
(๓) ยังหลงผิด ไปเข้าใจความเป็น"รัฏฐาธิปัตย์ หรือรัฏฐาธิปไตย" ของประชาชน ว่าเป็นอันเดียวกันกับ "รัฐบาลาธิปัตย์ หรือรัฐบาลาธิปไตย" ของรัฐบาล การใช้อำนาจ จึงผิดไป เมืองไทย ได้ปล่อยให้ใช้อำนาจ เกินขอบเขตของอำนาจ ตามสิทธิ และหน้าที่บริหาร ราชการแผ่นดิน เท่านั้น ตามวิถีทางที่ บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ จนเคยตัว และชินตา จึงพาลพา ให้หลงผิด ไปจากสัจธรรม ความเป็นจริง
ทำให้คนเกือบทั้งประเทศ หลงเข้าใจว่า "รัฐบาลาธิปไตย หรือรัฐบาลาธิปัตย์" ของ
รัฐบาล ตามมาตรา ๑๗๑ และตาม บทบัญญัติอื่นอีก เท่าที่มี ว่าเป็นอันเดียวกันกับ "รัฏฐาธิปไตย
หรือ รัฏฐาธิปัตย์" ของประชาชน ตามมาตรา ๓
(๔) ยังแยกอำนาจที่ปฏิบัติกัน อย่างไม่ชอบธรรม ไม่เป็นอาริยะ (ยังอนาริยะอยู่) และ ไม่เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) กับอำนาจ ที่ปฏิบัติกัน อย่างชอบธรรม เป็นอาริยะ และเป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้(authority) ไม่ได้
จึงแยกอำนาจปฏิบัติของบุคคลใด หรือประชาชนกลุ่มไหน ว่า ประพฤติปฏิบัติ ไม่ชอบธรรม และไม่เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) ออกจากบุคคลใด หรือ ประชาชนกลุ่มไหน ว่า ประพฤติปฏิบัติชอบธรรม และเป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (authority) ไม่ได้ จึงทำให้ไม่เข้าใจ และปฏิบัติไม่ถูก หรือปฏิบัติไม่ได้ ไม่ว่าตาม มาตรา ๖๓ ก็ดี มาตรา ๖๘ ก็ดี มาตรา ๖๙ ก็ดี หรือ มาตรา ๗๐ ก็ดี เป็นต้น หรือ แม้จะปฏิบัติถูก และประชาชน ทำได้ดีแท้ๆ ก็ไม่ยกย่อง ตามสัจจะ ไม่ยินดีร่วมมือ อย่างชื่นชม แล้วระดมแรงร่วมกัน ให้เต็มที่ ผลสำเร็จ ในการจัดการกับ วิกฤติการเมือง จึงเกิดไม่ได้
(๕) ปุถุชนคนทั่วไป ยังไม่เชื่อความเป็นไปได้ ของอำนาจพิเศษ ที่มหัศจรรย์เกินสามัญ (อุตตริมนุสสธรรม ขั้นโลกุตระ) คือ ความดีงาม ความถูกต้อง สุภาพ ไม่รุนแรง ความชอบธรรม นั้นมีอำนาจวิเศษวิสุทธิ์วิศิษฐ์ สามารถชนะ ความไม่ดีไม่งาม ความไม่ถูกต้อง ชอบธรรม ความรุนแรง ได้จริงๆ เพราะเท่าที่ คนทั้งโลก ปฏิบัติกันมา ใช้กันมา ตามสัญชาตญาณสามัญ ก็คือ ใช้อำนาจปฏิวัติ หรือรัฐประหาร ด้วยอำนาจทหาร หรือชนะกันด้วย ความรุนแรง และใช้อาวุธ ประหัต ประหารกัน เป็นต้น หรือใช้อำนาจบาตรใหญ่ ที่อาศัยโลกธรรม (ลาภยศ สรรเสริญ โลกียสุข) เป็นเครื่องมือ สามารถครอบงำ กดขี่ หรือสามารถเบ่งข่มกัน (force) เป็นผลสำเร็จ มาตลอด
ยังไม่สามารถ ใช้อำนาจที่สูงกว่า สัญชาตญาณสามัญ ได้จริงๆ คือ ใช้อำนาจ โดยชอบธรรม (authority) ตรงตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ เป็นอำนาจปฏิวัติ หรือ แม้จะถึงกับ เรียกว่า รัฐประหาร ด้วยอำนาจ ของประชาชน ที่มากพอ จนเรียกได้ว่า มวลมหาประชาชน ซึ่งสามารถปฏิบัติ ความสงบสันติ อหิงสา อย่างมีความดีงาม ความถูกต้อง สุภาพ ไม่รุนแรง เป็นความชอบธรรม จนมีอำนาจ วิเศษวิสุทธิ์วิศิษฐ์ กระทั่ง ชนะความไม่สงบ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ดีไม่งาม ความไม่ถูกต้อง ไม่สุภาพ รุนแรง ให้เป็นที่ปรากฏมาก่อน
เมื่อมีคนจริง มวลมหาประชาชนจริง ปฏิบัติกันได้ มีผลสำเร็จ ปรากฏขึ้น ในโลกจริง ในสังคมคน จริงๆ จึงงงๆ ไม่รู้ว่าคืออะไร จะเป็นอย่างไร
ดังนั้น แม้จะเป็นกันได้แล้ว มีแล้ว เกิดขึ้นให้เห็นแล้วโต้งๆ ก็ไม่รู้ เพราะเข้าใจยังไม่ได้ เพราะยังเข้าใจผิดอยู่ ยังยึดความเข้าใจเดิม ที่ไม่สัมมาทิฏฐิ ตามที่หลงผิดนั้นอยู่ ไม่เปิดจิต ไม่มีปรโตโฆสะ จิตใจยังไม่มีภาวะ ความรู้ใหม่ ไม่มีความเข้าใจอื่น จากเดิมเพิ่มขึ้น ยังยึดอยู่ แต่ความรู้ ความเชื่อเก่า เข้าใจความรู้ใหม่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งประเสริฐ ที่เกิดขึ้น ให้เห็นโทนโท่ หลัดๆ ก็ไม่รู้ว่า คือ อาริยธรรม คือความดีงาม ที่เป็นจริง คือความถูกต้อง ที่เป็นจริง ความชอบธรรม ที่เป็นจริง
จึงเห็นความดีงาม ที่เป็นอำนาจพิเศษ ที่เกิดอยู่โต้งๆหลัดๆนี้ไม่ได้
จึงยังไม่เชื่อ ว่า ความดีงาม ที่เป็นอำนาจพิเศษมีจริง เพราะไม่รู้จัก ความดีงามจริงๆ ที่เป็น อำนาจพิเศษนี้
(๖) ยังเข้าใจความเป็น"สุญญากาศ" ทางการเมือง (void) ไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง บางคนมีแต่ "มโน" เอาว่า สุญญากาศ ทางการเมืองไม่มี เกิดขึ้นไม่ได้ จึงเถียงกันด้วยตรรกะ ไม่มีจบลงได้ เพราะไม่รู้จริง ว่า สุญญากาศ คืออะไร เป็นอย่างไร หรือเอาแต่ยึด ความเป็นสุญญากาศ ของตน อยู่นั่นแหละ ไม่เคลื่อน ไม่คลายอันใดกันเลย
ทั้งๆที่ความจริงนั้น สุญญากาศ หรือ void คือ ปรากฏการณ์จริง แห่งความเป็นโมฆะ แห่งความไม่มี ความสูญเปล่า จากที่มีไปแล้ว หรือ ว่างจากเนื้อหา ทางการเมือง ที่ควรจะเป็น จะมีนั้นแล้ว ต้องย้ำนะว่า ทางการเมือง เพราะสุญญากาศนั้น จะเป็นสุญญากาศ ของอะไรก็มีได้ ตามเหตุ ปัจจัยนั้นๆของภาวะใด ภาวะนั้น แต่นี่เราหมายถึง สุญญากาศ ทางการเมือง ต้องกำหนด ให้ตรงกันนะ อย่าเพี้ยนไปจากเนื้อแท้ที่สำคัญ เป็นอันขาด
เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมือง ก็คือ โมฆะหรือสูญเปล่า หรือไม่มี หรือ ว่างจากสาระ ทางการเมือง นั้นไปจริงๆแล้ว
มิหนำซ้ำ มีแต่โทษเอาด้วย มันไร้สาระ ทางการเมืองสิ้นแล้ว มันมีแต่ความเสียหาย หรือ ฉิบหายกันจริงๆ ต่างหาก
เหมือนดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสบริภาษ คนที่ไม่มีผลทางธรรมเกิด แม้แต่ในขณะหนึ่ง ขณะใดว่า โมฆะบุรุษ นั่นคือ คำว่าโมฆะนี้ หมายถึง ว่างเปล่าจากการเจริญทางธรรม ในขณะนั้น ปานนั้นทีเดียว หากปล่อยให้ช้าไป กิเลสก็จะเข้าสู่จิตใจ ทดแทนเอาด้วย คำว่าว่างเปล่า หรือ สูญเปล่า จึงพาลจะตกต่ำ เสียหาย
แล้วเราจะปล่อยให้เกิด ภาวะเช่นนี้ต่อไปกัน กระนั้นหรือ?
เอาล่ะ ถ้าจะหมายถึง การขาดสูญ หรือการว่างเปล่าจาก "อำนาจผู้บริหาร ทางการเมือง โดยเฉพาะ คณะผู้บริหาร การปกครองประเทศ" ไปแล้วเด็ดขาดจริงๆ ก็น่าจะมองว่า การมีแต่โทษภัย หนักหนาสาหัส ในการปฏิบัติ ทางการเมือง ไปเรื่อยๆ มันไม่คุ้มกันเลย ที่จะมีพฤติกรรม ทางการเมือง ที่เป็นอยู่นั้นต่อไป นี่ต่างหากคือ สุญญากาศ ทางการเมืองตัวแท้ ที่ควรจะยุติ หรือเปลี่ยนแปลงอำนาจ ที่เป็นโทษนั้น ไปเสียทันที
แต่กระนั้นก็เถอะ ภาวะทางการเมืองจริงๆ ของไทย ณ ลมหายใจ เฮือกนี้นั้น มันไม่สุญญากาศ จากภาวะเลวร้าย มันหนักหนาสาหัส กับสภาวะเลวร้ายสุดๆ เลยด้วยซ้ำ
หรือแม้แต่ความเป็นจริง ทางกฎหมายก็ตาม ทางพฤติกรรมก็ตาม มันจบลงแล้ว มันโมฆะแล้ว หรือ ความว่างเปล่า จากคุณค่า ทางการเมืองสิ้นแล้ว มันมีแต่โทษ แต่ภัยร้าย อย่างแท้จริง อย่าหลงแต่ วาทะคารม กันอยู่นักเลย จะเอาความจริง ทางหลักเกณฑ์จริงกันก็ได้ ณ ปัจจุบันนี้ คณะบริหาร หรือคณะรัฐบาล ที่ยังมีเยื่อเหลืออยู่นี่ มีสาระอะไร เห็นมีแต่ใช้ อำนาจ บาตรใหญ่ ที่เบ่งแอ็ดๆ ที่เหลืออยู่อย่างหน้าด้านนี้ หาทางเพื่อที่จะดึงดัน เอาชนะคะคาน ทางการเมือง อยู่เท่านั้น
ทำความอิดหนา ระอาใจสุดอึดอัด จะระเบิดอยู่แล้วเท่านั้น ให้แก่สังคม ผลาญพล่า ทรัพย์สินของรัฐ ไปอย่างไม่เคย บันยะบันยัง อยู่โต้งๆนี่เท่านั้น ใช่มั้ย?
แล้วยังจะควรนับว่า เศษกากของวัตถุทางการเมือง ที่เป็นพิษนี้ มีอยู่อีกต่อไป ทำไม
ควรจะกวาดล้าง ออกไปให้สะอาด แก่ประเทศ ให้เร็วสุดต่างหาก
การจะแก้ไขปัญหาวิกฤติสาหัส ที่เป็นอยู่ ณ คราปัจจุบันกาลนี้ จะต้องใช้ "มหาปเทส ๔" ของพระพุทธเจ้า เท่านั้น จึงจะสำเร็จ เสร็จจบลงได้
มหาปเทส ๔ นั้นเป็นธรรมาวุธ ที่ตุลาการภิวัตน์ ก็ต้องใช้ ประชาภิวัตน์ ก็ต้องใช้ โดยเฉพาะ กัมมาภิวัตน์ แท้จริง จะเกิดได้จริง
ที่ว่าจะต้องใช้ เพราะตรงกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗ มีเจตนารมณ์ โดยแท้ตรงกับ มหาปเทส ๔ เป็นต้นว่า มาตรา ๗ มีว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข"
ซึ่งมหาปเทส ๔ นั้นมีว่า
(๑) สิ่งใดไม่ห้าม ว่า ไม่ควร
แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
(๒) สิ่งใดไม่ห้าม ว่า ไม่ควร
แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร
(๓) สิ่งใดไม่อนุญาต ว่า ควร
แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
(๔) สิ่งใดไม่อนุญาต ว่า ควร
แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร
(พระไตรปิฎก เล่ม ๕ ข้อ ๙๒)
เพราะฉะนั้น ในเมื่อไม่มีทั้ง บทบัญญัติห้าม และไม่มีทั้ง บทบัญญัติอนุญาต แต่เหตุการณ์จริง ของบ้านเมือง ที่มันสุดวิกฤติ แสนสาหัส ณ ลมหายใจเฮือกนี้ เหตุการณ์บ้านเมือง มันไม่มี บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด คือ มันไม่มีทั้ง บทบัญญัติที่ห้าม และไม่มีทั้ง บทบัญญัติที่อนุญาตไง มันก็เข้าข่าย มาตรา ๗ แล้ว มันจึงเป็นภาวะ แห่งสุญญากาศ ตามสัจจะ ของความเป็นจริง
จึงต้องวินิจฉัย กรณีที่เป็นสุญญากาศนี้ ไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
นั่นก็คือ ประเพณี ที่เคยมีมาแล้ว ก็มีแต่ การได้อำนาจมา ด้วยวิธีใช้อำนาจ ที่ไม่เป็นไป ตามวิถีทาง แห่งบทบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นต้นว่า การปฏิวัติโดยทหาร หรือรัฐประหาร
ด้วยอำนาจที่ปฏิบัติกัน อย่างไม่ชอบธรรม ไม่เป็นอาริยะ (ยังอนาริยะอยู่) ซึ่งไม่เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ (force) แต่ก็ได้ยอมรับ ให้อำนาจเช่นนั้น เข้าได้อำนาจ แล้วก็จัดการบริหาร เป็นเช่นนี้ เป็นประเพณี มากี่ครั้ง กี่คราแล้วล่ะ สำหรับประเทศไทย นี่แหละ หรือ ประเทศอื่นๆ เขาก็มีประเพณีนี้ ที่ทำกัน ปฏิบัติกัน จึงถือว่า เป็นประเพณี แห่งการสืบทอด อำนาจ แม้จะเป็น การได้อำนาจมา อย่างไม่ชอบธรรม เป็นอำนาจที่ไม่สง่างาม แต่ก็จำนนกัน
มาถึงวันนี้ เหตุการณ์ที่เกิด ในปัจจุบันนี้ ไม่เหมือนการปฏิวัติ อย่างที่เคยผ่านมา ซึ่งเป็นการปฏิวัติ โดยประชาชน ที่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญนี้
คำว่าการปฏิวัติ โดยคณะทหาร หรือคณะราษฎร์ ที่ใช้อำนาจ อันไม่ชอบธรรม เพราะรุนแรง ไม่สงบ ใช้อาวุธผิดรัฐธรรมนูญนั้น ต่างก็ได้ยอมรับ กันมาแล้วทั้งสิ้น ส่วนคราวนี้ ประชนชาวไทย ทำได้อย่าง วิเศษวิสุทธิ์วศิษฐ์ ถูกต้อง ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งมาตรา ๖๓ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ เป็นต้น แม้คณะ มวลมหาประชาชน คือ กปปส.นี้ จะถูกรุกราน ถูกผู้ใช้อำนาจ ที่ผิดไปจากรัฐธรรมนูญนี้ย่ำยี คณะมวลมหาประชาชน ก็ยังรักษา ความสุจริต ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ ไว้ได้เหนียวแน่น ยืนนาน อย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อนเลย ในประวัติศาสตร์ แห่งการปฏิวัติ
กรณีนี้ เมื่อพิจารณาตาม มหาปเทศ ๔ แล้วจึงเป็นสิ่งที่ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องตัดสินให้ ผู้ที่ชอบธรรม เป็นผู้ถูกต้อง เหมาะควร ที่จะปฏิบัติตามประเพณี ที่เคยผ่านมา ในประเด็นที่ เป็นผู้จัดการ ให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครอง ประเทศ
ก็ในเมื่อการปฏิวัติ ได้อำนาจคืนมาจัดการ ตามที่คณะทหาร เคยทำมา ซึ่งไม่ชอบธรรมแท้ๆ ยังเป็นผู้มีสิทธิ ในการปฏิบัติจัดการ การปกครองประเทศได้
แล้วในเมื่อ มวลมหาประชาชน ปฏิวัติด้วยความสงบ ไม่ใช้อำนาจรุนแรงเลย สุภาพ เรียบร้อย สวยสด งดงาม สง่ายิ่ง วิเศษ วิสุทธิ์ วิศิษฐ์ ปานฉะนี้ ทำไมไม่ยอม หรือไม่ร่วมมือกัน ทำให้สิ่งประเสริฐนี้ เกิดขึ้น ในประเทศไทยเล่า?
อำนาจชนิดนี้มันเป็น "อำนาจขั้นโลกุตระ" มันทวนกระแสสามัญ ของสัตวโลกทั้งหลาย มันเป็นภาวะ ที่สูงส่งจริงๆ เป็นอาริยธรรม ที่เกิดจริง จากประชาชน ที่เป็นคณะบุคคล ผู้มีคุณธรรมจริง จึงจะทนทานต่อ การประจญประจัญ กับความกระทบ กระแทก กระทั่ง อย่างรุนแรง จากผู้ทำความรุนแรงได้...
ที่เคยทำมา ยิ่งแรงมา ก็ต้องยิ่งแรงมากขึ้น แต่ตอนนี้ เขาทำไม่ได้แล้ว เขารู้ทันแล้ว เขาก็ลด ความรุนแรงลงมา นี่คือ ความชนะ การชนะความชั่ว ด้วยความดี ไม่ใช่ว่า เขาแรง เราก็ยิ่ง ทำแรงกว่า อย่างนั้น มันเก่าแล้วลุง สมัยนี้ ต้องชนะกันอย่างนี้ ก็เลยได้แต้ม ก็เลยดูเบา แต่ความกระเหี้ยน กระหือรือ อยากเอาชนะ ของเขา ก็มากขึ้นๆ คิดจนหัวร้อนเลย นี่คือทุกข์ คิดอะไรได้ ก็เติมมาซัดมา
แต่เท่าที่ทำขึ้นมา ปรากฏการณ์ครั้งนี้ หากเราได้ใช้ มหาปเทส นี่คือ เอาชนะความชั่ว ด้วยความดี เขาชั่วหนักขึ้น เราดีได้มากขึ้น เขาชั่วหนักขึ้น เรายิ่งดีหนักขึ้นอีก ไม่ใช่ความเสื่อมเลย ไม่ใช่ว่า เขาชั่ว เราเลยลดดีไปอีก แล้วจะไปชนะเขาได้อย่างไร เขาชั่วซัดหนัก เราก็เลย ชั่วตามเขามา แล้วถ้าเราทำอย่างนั้น เขาจะหยุดชั่วหรือ เขาก็ยิ่ง กระหยิ่มยิ้มย่อง ดีไม่ดี ชั่วหนักแล้วชนะ ก็เลยยิ่งทำอีก
ต้องสู้อย่างคนละชั้นเลย เขายิ่งชั่วหนัก เราก็ยิ่ง ต้องดีจัดเลย ...
มันไม่ง่ายนัก แต่เถียงไม่ได้ ว่าดี เพราะเป็นความจริง
มหาปเทส ๔ ยืนยันได้ว่า ตรงกับมาตรา ๗ เราเป็นชาวพุทธ ทำให้ตรงเถอะ จะบอกว่าไม่มี ก็เลยไม่ทำงาน ไม่ได้ เราต้องดูเหตุผลเหตุการณ์ ไม่ปล่อยคาราคาซัง เราก็หาทางแก้ ให้ดีขึ้น ไม่อย่างนั้น จะบรรลัยหนัก
เราก็ต้องหาทางทำสิ่งดี แก้กลับ ตามมาตรา ๗ ว่าเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใดแล้ว ให้วินิจฉัยกรณีนั้น เป็นไปตามประเพณี การปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
ซึ่งอาตมาก็เคยว่าไว้แล้ว ว่าเรามาขออำนาจคืน ทั้งที่อำนาจ เป็นของเรา เป็นอำนาจ รัฐาธิปัตย์
เขาไปเข้าใจคำว่า รัฐธิปัตย์ ไปปนกับ รัฐบาลาธิปัตย์
อำนาจรัฐบาล เป็นแค่ กุลีรัฐ ทำงานรับใช้ประชาชน เราจ้างเขาเป็นลูกจ้าง มาบริหาร บริการ ทรัพยากรในบ้าน ให้ทำได้เต็มที่เลย ในการทำงาน ไม่ใช่ว่า เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่ว่าพ่อบ้าน อาจเกี่ยวโยง สั่งการได้ในบ้าน แต่ก็คนละอย่างกัน กับอำนาจเจ้าของบ้าน หรือ รัฐาธิปัตย์
อย่าไปเข้าใจว่า เป็นอำนาจอธิปไตย ของประชาชน มันคนละอย่างกัน เป็นประเด็นที่ เข้าใจกันไม่ได้ แล้วไปหลงว่า ตนเป็นเจ้าของบ้าน หลงว่าเป็นบ้านกู ซึ่งเจ้าของบ้านว่า ทำผิด เสียหาย จะไล่ออก แล้วก็ไม่ออก บอกว่า ประชาชนเลือกฉันมา ซึ่งก็ประชาชนคนเก่า ที่เลือกมานี่แหละ บอกให้เขาออกไป
อำนาจรัฐาธิปัตย์ ไม่เคยออกจาก ประชาชนเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย เกิดอีกในประเทศใด ก็มีรัฐาธิปัตย์ ในประเทศนั้นๆอีก รัฐาธิปัตย์นี้ อยู่ในตัวประชาชน นิรันดร ส่วนรัฐบาลนั้น ได้อำนาจ เป็นรัฐบาล เพียงคราวละ ๔ ปี
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็เอาประเด็น ความดีความชั่ว ความถูกความผิด มาตัดสิน มีของจริง เปรียบเทียบกันได้ ยิ่งขณะนี้ เขาทำผิด อย่างหยาบชัดเลย ถ้าไม่ยอมรับความชั่ว ดี หรือถูก ผิด แน่นอน ก็อยู่ร่วมกันไม่ได้ อย่างที่เป็น เขาไม่ยอมรับ อาตมาว่า เขารู้เหมือนกันว่า เขาผิดเขาชั่ว ในส่วนที่เขารู้
หรือเขาอาจรู้เสียด้วยซ้ำว่า องค์รวมความผิดชั่วของเขา มันควรออกได้แล้ว อย่างน้อย เขาก็ยุบสภาแล้ว แต่เขามั่นใจว่า เลือกตั้งอีก เขามาแน่ เขาวางค่ายกลไว้ อย่างอึ้งเอี๊ยซือ ในเกาะดอกท้อ ใครหลงเข้าไปก็ตาย เขาวางค่ายกล มีประสิทธิภาพจริงๆ เขาส่งเสาไฟฟ้าลงก็ได้ แล้วได้จริงๆแฮะ มิน่าในสภา จึงมีแต่เสาไฟฟ้าทำงาน
กำนันสุเทพ ทำได้นี่ก็ดีแล้ว จะบอกว่า มีคนทำมาก่อน แล้วมาชุบมือเปิบ นี่เป็นจิต ตัวริษยา มันเป็นจิตไม่ดี พาเราเสื่อมต่ำไม่เจริญ มีเศษเล็กเศษน้อย ในตัวเรา ก็ไม่เจริญ มาช่วยกันทำงาน ดีกว่า ประชาชน จะได้ประโยชน์
สมมุติว่า ทำสำเร็จ สุเทพก็เหมือนกับ กรรมการกลาง มาทำงานต่อ แต่ไม่ใช่สุเทพ คนเดียว จะมีคณะทำงาน มั่นใจว่า อำนาจบาตรใหญ่ คนเดียวทำไม่ได้ สมมุติว่า ถ้าชนะแล้ว ซึ่งฝ่ายแดงก็ว่า สุเทพกำลังจะยึด รัฐาธิปัตย์ มาเป็นของตัวคนเดียว ซึ่งสุเทพ เขาก็มีความรู้ และไม่ทำ เช่นนั้นหรอก ซึ่งฝ่ายแดง เขาก็มโนไปได้
สมมุติว่า เมื่อได้อำนาจแล้ว ตั้งสภาประชาชน สำเร็จ สุเทพเป็น เลขาธิการ ซึ่งฝ่ายแดง ก็หาว่า ยังมีหัวหน้าอีก สุเทพเป็นตัวเล็ก เป็นเลขาธิการเอง ซึ่งเขาไม่รู้ว่า นี่ไม่มีหัวหน้าก็ได้
ถ้าชนะแล้ว ก็ไปตั้ง คณะกรรมการก่อการ ถ้าสุเทพ จะใช้อำนาจเผด็จการ เมื่อได้อำนาจมาแล้ว จะมีคนท้วงไหม? มีแน่ เขาไม่ยอมหรอก อย่างน้อย อาตมาคนหนึ่ง ไม่ยอมหรอก ใครหลายคน ก็ไม่ยอม
จริง คุณได้ลงทุน ลงแรงมาก็จริง แต่การทำงาน เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่ว่าคุณทำ ก็ประเคน ให้คุณไปเมื่อสำเร็จ อย่างนั้น มันสมัยโบราณแล้ว ตีเมืองไหนได้ ก็ตั้งตน เป็นผู้มีอำนาจ เบ็ดเสร็จ เผด็จการเป็นใหญ่ ในแผ่นดินนั้น สมัยโน้น ก็ทำอย่างนั้น แต่สมัยนี้ ไม่ทำอย่างนั้นหรอก
อย่างอเมริกา นี่ มีประธานาธิบดีคนแรก คือ วอชิงตัน เกิดสงครามกลางเมือง รบกัน เสร็จแล้ว วอชิงตัน ก็วางมือ ไม่รับตำแหน่งนะ แต่ว่าผู้คน เห็นดีเห็นงาม ว่าเขาเป็น คนดีที่สุด ก็ไปเชิญ ขอร้องให้วอชิงตัน เป็นประธานาธิบดี คนแรกนะ
ถ้าคนที่ทำ ยิ่งไม่เอา แต่ถ้าเหมาะสมจริงๆ ไม่มีใครดีกว่า แล้วเขาก็ไม่เอาจริงๆ ให้คนอื่นไป แต่เขาเหมาะที่สุดน่า มันก็น่า จะให้เขาทำ อย่างนี้เป็นสัจธรรม คนก็ดูเผินๆ ว่าที่จริง อยากได้ อยากเป็น แต่ทำตัว เสแสร้ง อยากเป็นอยากได้ก็มี แต่ถ้าเขาเป็นของจริง จะเสแสร้ง หรือไม่ ก็พิจารณา ตามปัญญา เขาเหมาะ ก็ควรให้เขาเป็น
สรุปแล้วเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม มันจะต้องเปลี่ยนแปลง ของเก่ามาแล้ว ๘๑ ปี วนในอ่าง น้ำเน่า หนักขึ้นๆ วิธีการค่ายกลแย่จัด ถ้าคราวนี้ เราพยายาม ประชาชนออกมาได้ อย่างไม่เคยเป็น เป็นเรื่อง มหัศจรรย์ ทำได้ขนาดนี้แล้วนี่ จะได้อีกในคราวหน้า จะมีอีกหรือ? ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง
ฝ่ายแดงก็พูด เหมือนกับเราเลยนะ คนตัดสิน ต้องใช้ปัญญา เอาเองนะ เป็นที่สุดแล้ว พระพุทธเจ้า ให้เป็น นานาสังวาส
เราทำนี่เป็น ระบบบุญนิยม เป็นของพระพุทธเจ้า เป็นคนที่มีธรรมะ สัมมาทิฏฐิ ละกิเลส ได้จริง ก็ไม่ต้องการ สิ่งหลอก ใครทำได้เท่าไหร่ ก็ทำตามจริง ถ้าไม่หลอกคน ก็ไม่เสียหน้า ถ้าหลอกคน ก็จะเสียหน้า เรามีเท่านี้ เราก็บอกเท่านี้ ไม่ต้องน่าอาย อยากใหญ่ อยากสูง อยากดี ไปโกหกเขา ไม่เจริญอย่างนี้
แต่ถ้าเราดีเท่านี้ แต่เราบอกว่า เราดีน้อยกว่า ก็เป็นเชิงถ่อมตน ไม่โกหก หากเราดีเกินกว่า ที่เราพูด เราบอกเขานี่ มันเป็นเรื่องที่ ดูเหมือน พูดไม่จริง แต่มันไม่เสีย มันเป็นการถ่อมตน เราไม่โชว์เต็มร้อย ไม่เสีย
แต่คนมี ร้อย แต่บอกว่ามี ร้อยยี่สิบ ส่วนมาก คนเป็นเช่นนั้น แล้วคนก็ไปเชื่อ พฤติกรรม คุณดีได้แค่ ร้อย ให้ทำเต็มที่ คุณก็ทำได้เท่านั้น แต่คุณบอกว่า คุณได้ ร้อยยี่สิบ คนก็เชื่อ แล้วมีผลนะ
อย่างคุณบอกว่า คุณเป็นอรหันต์ แต่ความจริง คุณทำได้แค่ อนาคามี คุณก็ทำได้แค่นั้น เป็นอนาคามี คนเชื่อคุณ ก็เข้าใจว่า อรหันต์ เป็นเช่นนี้ หรือคุณเป็นโสดาบัน แต่คุณบอกว่า เป็นอรหันต์ นี่คือธรรมเสีย เสื่อม ทำให้ศาสนาเสื่อม เพราะคุณแสดงว่า ฉันเป็น อย่างที่ฉันพูด ทำให้คน เข้าใจผิด อย่าทำเช่นนั้น ถ้าเขาจะเข้าใจผิด รีบบอกว่า เราไม่ได้เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้า จึงให้เป็นโทษหนักเลย เป็นปาราชิกเลย เป็นโทษหนักกว่า พรหมฑัณฑ์เลยนะ
บุญนิยม มีหลายอย่าง อย่างสื่อสารบุญนิยมนี่นะ คนมาทำงาน กับอาตมานี่ ไม่ได้มี รายได้นะ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก คนทำงาน สื่อสารมวลชนนี่ ค่าตัวค่าแรง แพงนะ แต่เราทำให้ ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทนเลย
อย่างกสิกรรมบุญนิยม เราก็ทำอย่างบริสุทธิ์ การค้า เราไม่ทำ อย่างสินเชื่อ บุญนิยม เป็นระบบของธรรม ที่เป็นไปได้ ทำสังคมเป็นสุข บุญนิยมจะไม่รวย เป็นของเอาออก ไม่ใช่ได้มา เป็นการลดกิเลส
คุณทำทาน แล้วทำใจในใจ อย่างไร ทำให้โลภมากขึ้น หรือทำให้ความโลภ ลดลง คุณต้องมีความรู้ และอ่านจิตใจตน ทำจิตใจตนได้ ด้วยตนเอง คุณต้องให้ทั้งวัตถุ และใจก็ต้องให้ ถึงได้บุญ การได้บุญ คือได้สละ ทั้งวัตถุและกิเลส จึงเป็นบุญ การอธิบายว่า ได้บุญจะรวยกว่าเก่า นี่ผิดหมดเลย นี่คือ ทิฏฐิข้อแรก ในทิฏฐิ ๑๐
ทานเป็นหลักใหญ่ บารมี ๑๐ ทัศ ก็จบที่ทาน ปางสุดท้ายของ พระพุทธเจ้า คือ การทาน ลูกสุดรัก ทานเมีย และท่านก็เป็นคนดี ก็ต้องรักลูกเมีย แต่คนจะไม่เข้าใจ มองตื้นๆหาว่า พระเวสสันดรตื้น นิสัยไม่ดี ลูกถูกทำร้าย เฆี่ยนต่อหน้าต่อตา ยังทำเฉย แล้วรู้ไหมว่า ท่านต้อง ทำใจอย่างไร เป็นภาวะที่ย้อนแย้งพูดเป็นภาษาไม่ได้ เป็นอจินไตย ที่คิดเอาไม่ได้
สรุปคือ ชีวิตคน ล้างกิเลสได้ ก็ไม่ต้องเอาอะไร มาให้แก่ตน อย่างที่เรา มารวมตัวกัน ทำให้สังคม ใครมีกิเลส ก็ล้างของตน ก็รู้วิธีการปลดปลงวาง เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ จะทำเป็นทำได้
ชาวอโศกล้างกิเลสได้ จึงมาทำงานกับสังคม ได้ขนาดนี้ ทุกวัน นี้ทำตลาดอาริยะ ได้หลายครั้ง ต่อปี พวกเราได้ละล้างกิเลส เป็นประโยชน์แท้จริง คนมาซื้อ ก็มีวิธีสอนเขา ไม่ให้ตะกละ แทรกยาทิพย์เข้ารูขุมชน ก็ทำให้สังคมดีขึ้น มีการเผื่อแผ่ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ก็ทำให้คนดีขึ้น สังคมดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุญนิยม ด้านไหนๆ ก็แล้วแต่ มันเป็นไปเพื่อ ลดละกิเลส ทั้งสิ้น ตอนนี้เราก็ทำเพิ่มขึ้น ตามฐานะ ....