570506_พ่อครูเทศน์ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาวิชิตชัย
ปักหลักเปิดโลก ตอนที่ ๑

      การที่จะรู้จริงรู้แจ้ง ในเรื่องจิตวิญญาณ ที่จะเกิดญาณปัญญา รู้จัก รู้แจ้งรู้จริง รู้อย่างสัมผัสรู้ ว่าวิญญาณ ลักษณะดังกล่าว เป็นอาการของสัตว์ อบาย เดรัจฉาน อสุรกาย หรือ เราเรียกว่า อาการ สัตว์ที่แตกต่างกัน มีความหยาบ กลาง ละเอียด อย่างไร ก็แยกแยะได้

      นรกคือความใคร่อยาก เป็นเบื้องต้น ต้นราก ที่ทำให้เกิด ความร้อนเร่า ที่ร้อนเร่าเพราะ อยากใคร่แรง ดิ้นรนมากมาย ที่จะต้องแย่งชิง จนรุนแรง ฆ่าแกงกัน ฆ่าผัวมันเสีย เอาเมียมันมา มันรุนแรง คนเรา ก็เมียเขานะ แล้วไปชอบเมียเขา จนถึงต้องฆ่าผัวเขา เพื่อแย่งเอาเมียเขามา หรือ จิตที่ไม่ได้รุนแรง ร้อนเร่า มันทุกข์ทรมานมาก

      พอกิเลสมันเป็น ลักษณะเปรต หรือปิติวิสัย  สัตว์เปรตคือ ดิ้นรนใคร่อยาก เปรตก็เป็นลักษณะกว้างๆ

      ส่วนเดรัจฉาน ก็เป็นกิเลส ลักษณะของมัน ไม่รู้เรื่อง อวิชชาหรือโง่ เป็นโมหะ โง่ ความหมายของ เดรัจฉาน คือสัตว์ที่มี ลำตัวขวาง ไม่ตั้งตรง ก็เลยว่ากันว่า เป็นสัตว์ขวาง หรือผู้มีลักษณะ ขวางทางนิพพาน

      ส่วนอติวินิปาต ก็คือกิเลส ที่ไม่รู้จะจัดเข้า พวกไหนแล้ว เลอะเทอะ มันไม่รู้จะตกต่ำ กว่านี้อีกแล้ว

      ความหมายของ กิเลสต่างๆนี้ ก็คือ ความเป็นสัตว์โลก สัตว์ทางจิตวิญญาณ

      สัตว์อบายคือกิเลส เราไม่ควรไปวุ่นวาย เรียนรู้กิเลส ของคนอื่น แม้คุณจะมีญาณรู้ได้ ก็ไม่มีสิทธิ์ไปแส่ หรือคุณจะรู้ แล้วจะไปสอน บอกเขาได้ ก็ไม่ใช่หน้าที่หลัก หน้าที่เราคือ รู้ความเป็นสัตว์ ของตนเอง

      แม้คุณจะไม่มีกิเลสหยาบเท่าไหร่ ก็พยายามอ่าน ให้รู้เป็นวิปัสสนาญาณ คือมันเห็น (ปัสสติ) มันสัมผัสรู้ ไม่ใช่เดา จะอ่านสัมผัสรู้เลย พระพุทธเจ้าสอน ให้รู้ได้ด้วย อาการเต็มๆ เรียกว่า อัตตา หรือตัวตน

      อัตตา เมื่อไม่มีเงื่อนไขกำกับ ก็ว่ากันลอยๆ แต่พุทธศาสนานั้น ไม่ใช่หลักลอย เลอะเทอะ แต่เป็นสิ่งที่ มีเป้าหมาย รายละเอียดชัดเจน อัตตาหรือตัวตน มันหมายถึง ตัวตนของกิเลส

      ไม่มีรูปร่างสีสัน เมื่อมี ก็เรียกว่า เป็นสัตว์หรือผี หรือมาร หรือเทวดา หรือพรหม มันไม่มีรูปร่าง แต่ก็สอนกันว่า เป็นรูปร่างตัวตน จะเห็นได้ ต้องไปนั่งเข้าฌาน และพอฌานเก่ง ก็สามารถเกิดญาณปัญญาวิเศษ เห็นเทวดา ผี พรหม ได้ เห็นเป็นรูปร่าง เหมือนคนตัวเป็นๆ หรือ งามกว่าตัวคน หากเป็นเทวดา หรือเป็นสัตว์นรก ก็คืออัปลักษณ์กว่าคน แล้วแต่อาจารย์ จะว่ากันไป

      ถ้าผู้ใดว่าตนมีตาทิพย์ มีฌาน สมาธิสูงเก่ง จนเกิดญาณวิเศษ สามารถเห็นผี สัตว์นรก เทวดา พรหม แล้วเป็นเป็นรูปร่าง เส้นแสง นี่ผิดแต่ต้นแล้ว

      พระพุทธเจ้าตรัสว่า จะรู้นามรูป ก็รู้ได้ด้วย
๑.   รู้ด้วยอาการ (สภาวะขณะนั้นของ จิต-กุศล-อกุศล)
๒.   ลิงคะ (ความต่างกันของ นัยยะต่างๆ ในสภาวะจิต)
๓.   นิมิต (เครื่องหมายชี้บอก สภาวะจิต)
๔.  อุทเทส (การยกหัวข้ออธิบาย ขยายความหมาย) (พตปฎ. เล่ม ๑๐ ข้อ ๖๐)

      แต่ในไตรปิฎก อาจใช้คำว่า อาการ เพศ นิมิต อุเทส
      คำว่าอาการ ก็เป็นสภาวะ มีลีลาความเคลื่อนไหว เป็นนามธรรม ของจิตวิญญาณ

      ส่วนลิงค ที่แปลว่าเพศ คือมีความแตกต่าง ของอาการ เช่น อิตถีภาวะ ต่างกับ ปุริสภาวะ มันมีลักษณะ ที่ต้องเรียนรู้ แล้วเราจะรู้ว่า ต่างกันอย่างไร บอกความแตกต่าง เรียกว่าลิงค หรือเพศ มันต่างกันนะ เป็นของสองลักษณะ ที่มีนัยต่างกัน จะรู้ แม้ใน อุปาทายรูป ๒๔ ก็มีภาวรูป ๒ คือ อิตถี และ ปุริสภาวะ ก็ต้องมีญาณปัญญา แยกออก นี่คือมีตาทิพย์ นี่คือนามรูป หรือนามธรรม ที่ถูกรู้

      รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ โดยญาณของเรา เช่น คำว่า กาย เป็นองค์ประชุม ที่รวมทั้งหมด ตั้งแต่ทวาร ทั้ง๕ กระทบรูป ก็รู้ หูกระทบเสียง ตากระทบรูป ต้องกระทบภายนอก ที่เป็นภาวะของดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ เป็นสสารภายนอก

      เมื่อสัมผัสแล้ว เราก็เกิดรู้ โดยจิตวิญญาณ ถ้าถอดลูกกะตาไป มันก็ไม่รู้ด้วยตัวมันเอง มันเป็นเพียง อุปกรณ์เครื่องเกี่ยวเนื่อง ให้จิตวิญญาณ เกิดการรู้ จากสิ่งที่เกี่ยวเนื่อง

      รูปรูป คือสิ่งที่อยู่ภายนอกเลย เป็นของหยาบ ส่วนนามธรรม เป็นของละเอียด ที่เราต้อง กำหนดรู้

      ถ้าเราไปกำหนดผิดไปเห็นเป็นรูป ที่มีสีสัน รูปร่าง ตัวตน พอนั่งสมาธิเข้าไป ก็เห็นว่ามีผี เทวดา เปรต อสุรกาย เป็นรูปร่างอย่างนี้ คุณก็เพ่งแต่รูปร่าง แต่มันไม่เกิดรับรู้ สุขทุกข์อย่างไร เมื่อสอนกันผิดๆ ก็ไม่มีทาง ที่จะปฏิบัติได้ถูก ไปรู้แค่ตัวตน ก็ไม่รู้ว่า มันสุข ทุกข์อย่างไร ผี เทวดา พรหม จะสุขทุกข์อย่างไร ก็ไม่รู้ เพราะเรียนมาผิด ก็กำหนดผิดๆ แค่เห็น ก็ดีใจว่าได้เห็น ก็แค่นั้น

      พระพุทธเจ้าสอนว่า ให้มีสติปัฏฐาน ต้องสัมผัสรู้ เมื่อตากระทบรูป เข้าไปข้างใน องค์ประชุมรวมเป็น กายสังขาร เป็นรูปของผี เทวดา พรหม คุณต้องรู้ว่า ผีมีอาการอย่างไร

      ขั้นแรก ต้องรู้เข้าไปภายใน เป็นรูป เช่น รูปในระดับหยาบ เรียกว่า กายในกาย ลืมตา กระทบรูป หูได้ยินเสียง กระทบหู เป็นต้น อยู่หลัดๆ เป็นของจริง ปัจจุบันเลย เป็นองค์ประชุม หรือกาย

      เช่นดอกไม้ ที่อยู่บนโต๊ะ ดอกเล็กๆ เป็นดอกกล้วยไม้ เมื่อสัมผัสแล้ว ก็ดูเหมือน ของจริงนะ เมื่อคุณพบดอกไม้ ก็ว่าสวยจริง ตามสเปค อุปาทานไว้ คุณจะไปถูกหลอก ตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่รู้ล่ะ ว่ามันสวย คุณเห็นกายในกาย อยู่ภายใน เรียกว่า เป็นกายในกาย เข้าไปรู้ข้างในแล้ว ตากระทบภายนอก แล้วเชื่อมต่อ ให้รู้ข้างใน ถ้าคุณไม่มีความรู้สึก ไม่มีกำหนดหมายสัญญา แสงกระทบวัตถุ แล้วสะท้อนมาที่ตาเรา แต่คุณไม่มีสัญญา กำหนดหมาย คุณก็ไม่รู้ไม่เห็น แม้ตากระทบ ตาไม่บอดนะ แต่ไม่มีสัญญาเจตสิก ตัวสัญญาต้องกำหนดตาม

      แต่ถ้าสติ คุณกำหนดรู้ตัว ทั่วพร้อม ในสติสัมปชัญญะ ก็จะมีความรู้ เลื่อนเข้าไป ตัวที่คุณเคยชอบ หากบางอารมณ์แปรปรวน ก็ไม่ชอบได้ แต่ถ้าสามัญ มีอุปาทานว่า ชอบแบบนี้ ก็จะชอบ หรืออะไร สเปคไว้ว่า ไม่ชอบ ก็จะไม่ชอบ โดยสามัญ ในความรับรู้นั้น จากกายในกาย ก็มาต่อเป็น เวทนาในเวทนา ต่อไปอีก

      อารมณ์ชอบ ไม่ชอบนี่ ก็เป็นเวทนา แล้วก็พิจารณา รายละเอียดในจิต แยกเวทนาอีก ซึ่งสังขาร ก็ไม่รู้ว่าสังขาร ทำให้เกิดเวทนา แต่เมื่อเราสามารถ อ่านออกได้ว่า มันชอบไม่ชอบ หรือเฉยๆ มันมีอยู่ ๓ เวทนานี่แหละ ปุถุชนก็มีอยู่ ๓ เวทนา แล้วมีกระทบทาง ทวาร ๖ แต่ละทวาร ก็มีสุขทุกข์เฉยๆ นี่แหละ

      เวลาปฏิบัติ มีข้อที่แจกวิภังค์ ในปฏิจจสมุปบาท มีชาติที่มี ๕ อย่าง ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ

      แจกเป็นองค์รวม ซึ่ง เรียกว่า กาย คำว่ากายนี้ เขาเรียนกันมาผิดๆ จึงไม่ได้ธรรมะ เพราะไปเรียนมาผิดๆ ว่า กายคือรูปร่างภายนอก ไม่ได้มีความรู้สึก ไม่มีจิตเลย อย่างนี้เข้าใจผิด

      เพราะกายที่คุณควรรู้ ก็คือ สักกายะ ที่เป็นสังโยชน์ ในสังโยชน์ ๑๐ ก่อน
      ในปฏิจจสมุปบาท ท่านให้เรียนรู้ วิญญาณ ๖ อายตะ ๖ และให้เรียนรู้ มโนปวิจาร ๑๘

      ที่มีฝั่ง เคหสิตเวทนา  ถ้าคุณอ่านไม่ออก ในมโนปวิจาร ก็จะไม่รู้ความจริง ของสัตว์ มาร ผี เทวดา พรหม คุณจะไม่รู้ เพราะคุณแยกเวทนา ไม่ออก ถ้าแยกไม่ออก ก็ไม่เห็นสัตว์

      สุขอย่างสมมุติเทพ เรียกว่า เทวดาสมมุติ รู้กันทั่วไป เหมือนกันทั้งนั้น

      คุณต้องอ่านอาการ ที่เป็นเวทนา ที่เป็นสัตว์นรก  ให้ออก มันเป็นความทุกข์ เป็นเคหสิตเวทนา มันมีน้ำหนัก หรืออินทรีย์ แรงเบาอย่างไร มันชอบหรือโกรธ แรงหรือเบา เรียกว่า อินทรีย์ของเวทนา

      มีเวทนา ๕ ที่เป็น 
     ๑.สุขินทรีย์ ๒.ทุกขินทรีย์ (ภายนอก)
      ๓.โสมนัสสินทรีย์ ๔.โทมนัสสินทรีย์ ๕.อุเบกขินทรีย์  (ภายใน)

      เรียนรู้ว่า เมื่อสัมผัส ก็ชอบ คุณก็มีชีวิต อยู่กับมัน แล้วหลงสุข แล้วมันก็คู่กับทุกข์ หากไม่ได้ล้างกิเลส ไปตลอดกาลนาน เมื่อสัมผัส ทางทวาร แล้วก็มีเวทนา คุณก็จับ ตัวสัตว์ให้ได้

      สุขเท็จ เรียกว่า สุขขัลลิกะ ไม่ใช่สุขจริง หากจับตัวสัตว์ได้ ก็ประหาร ฆ่ามัน คุณประหารด้วย
       ปหาน ๕
๑.   วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า) ธรรมชาติมนุษย์ ก็จะรู้ ใช้การกดข่มไว้ แสดงออก ประเจิดประเจ้อไม่ได้ ต้องมีมารยาทสังคม กดข่มไว้บ้าง ก็เป็นธรรมดา มันทำกันเป็น ทุกคน  แต่การกดข่ม ก็ทำให้ ไม่แสดงออกทางกาย วาจา มามีฤทธิ์อำนาจ มาเป็นองค์รวม ทั้งหมด เป็นกายวิญญัติ ทั้งหมด ทั้งท่าทาง ที่เป็นท่าทางเต็มๆ รวมเป็นอาการ สรีระ บทบาท มีทั้งสุ้มเสียงสำเนียง ที่อาตมาแสดง นี่คือ กายวิญญัติ ถ้าคุณเกิดอาการกาม คุณจะแสดงอาการกาม หากคุณไม่กดข่ม ก็แสดงออกมา เต็มที่เลย คุณจะทำร้าย ก็แสดงออกเต็มที่เลย ทั้งเตะ ถีบ ด่าทอ ก็แสดงออกมาเต็มๆ ก็รู้ได้ด้วยกายวิญญัติ การเคลื่อนไหว ที่เป็นองค์รวม มีใจเป็นประธาน ถ้าไม่มีอาการทางกายเลย มีแต่สำเนียงเสียง เรียกว่า วจีวิญญัติ ในการกดข่มนั้น คุณก็มีปฏิภาณ รู้ว่ากดข่ม ในลึกๆก็รู้ว่า มันเป็นโทษ แต่คุณไม่ได้คิด จะให้มันหายไป แต่ถ้าได้เรียนธรรมะมา ก็รู้ว่า ควรทำให้หายไป ก็ได้แต่กดข่มไว้ แต่พระพุทธเจ้าสอน ให้วิปัสสนาวิธี
๒.   ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว -ใช้ปัญญาอบรมจิต) 
๓.   สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด  สลัดออกได้เก่ง)
๔.   ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ  ทวนไปมา) 
๕.   นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที  เก่งจนเป็นปกติ) (พตปฎ. เล่ม ๓๑ ข้อ ๖๕)

      เมื่อคุณอ่านรู้ผีได้ ก็พิจารณา โทษภัยของผี มีวิธีพิจารณาว่า อนิจจัง ทุกขัง อัตตา

      ๑.มันไม่เที่ยง อนิจจัง มันจะเกิดอย่างนี้ จนระงับไม่ได้ หรือมันจะหายไป จนสูญเลย คุณไม่เคยศึกษาเลย แต่พอศึกษา ก็จะรู้ว่า มันไม่เที่ยง เกิดแรง เบา จัดจ้านอย่างไร ก็แสดงออกมา ก็เป็นได้ มันไม่เป็นตลอดเวลา แสดงว่า มันอนิจจัง ไม่เที่ยง มันเกิด เมื่อคุณปรุงแต่งได้มาก ตามที่คุณมีต้นทุน คนไม่มีต้นทุน ก็ปรุงแต่ง ไม่ได้มาก หากไม่สะสมก็ไม่มี แต่ถ้าสะสมมาก ก็ต้องควบคุม มีโอกาสแสดงออก ก็แสดงออกเต็มที่ ก็ได้บำเรอมันไป โทสะแสดงเต็มที่ ถ้ามีโอกาส ควบคุมไม่ได้ ก็แสดงออก คนก็ต้องมาเรียนรู้ว่า มันไม่เที่ยง ที่จริงรู้ง่าย คุณไม่ได้มีราคะโทสะ ตลอดเวลา แสดงออก มากบ้างน้อยบ้าง หรือเจออันนี้ทีไร ก็โทสะแรง ทุกที บางทีแสดงออกมาก บางทีแสดงน้อย ไม่เที่ยง แต่ก็มักแสดงออก เสมอ แล้วก็บำเรอ ให้สมโลภ สมโกรธ ตลอดเวลา

      ๒.เป็นทุกข์ เสียทั้งทุนรอน เวลา แรงงาน ทำให้เสียหาย ฉิบหาย อะไรไม่จำเป็นต้องมี ต้องได้เลย เช่น คุณจะต้อง ได้เงินทอง ลาภ คุณต้องมีต้องได้ ตะกละจะเอามามาก ได้มาก็สุข ไม่ได้ก็ทุกข์ จองเวรพยาบาท จะเอาๆๆ อย่างที่เราต้อง มาต่อสู้ อยู่ที่นี่แหละ ที่เขาหลอกกัน จะเอาเปรียบกัน แล้วหลอกให้คน มาเอาเปรียบกัน ได้มากๆ ให้แค่เศษเนื้อข้างเขียง แต่ตนเอามามากๆ ถ้าได้มาก็สุข แต่ทุกข์เขาไม่รู้ตัว แล้วเขาพาคนอื่น ทุกข์ด้วย แม้แต่เรา แต่ทุกข์ของเรานี่ เป็นกุศล เราทำไม่ได้เพื่อตัวเรา แต่เราทำเพื่อผู้อื่นด้วย แต่ถ้าไม่รู้จักพอ ไม่สันโดษเลย จะสร้างวิบาก ไปเรื่อยๆ จะต้องมาเป็นเวรภัย เป็นอจินไตย ที่ต้องมา ทำร้ายกัน มันมีอะไร ที่นึกไม่ออก เยอะกว่าเยอะ สรุปแล้ว ต้องรู้ว่า เป็นเรื่องไม่ดี ก่อความไม่ดี ทุกข์เป็นความลำบาก แต่สุขเป็นความเท็จ สุขทุกข์คู่กัน เราต้องพยายาม ลดเหตุแห่งทุกข์ คือ การหามาบำเรอ โลภ โกรธ หลง ของตนเอง มันมีวิธีกำจัด ตั้งแต่ตทังคปหาน ก็ได้ชั่วคราว แต่ถ้าทำวิปัสสนาวิธี จะมีวิปัสสนาญาณ ​๙ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็น ความเกิด - ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนา สุขทุกข์ต่างๆ

      แล้วการไม่ได้สุขนี่ มันจะไม่เจริญหรือไม่ ? ไม่ต้องมีอันนี้ จะเป็นคนประเสริฐ ได้หรือไม่ คุณก็ต้อง ลองทิ้งดู เช่น การที่เรา จะไม่ต้องมีอบายมุข อย่างนี้ เช่น เราไม่ต้องไป เล่นพนัน เราไม่ต้องติดน้ำเมา ไม่ต้องรุนแรงฆ่า ถ้ายิ่งเจ๋งจริงๆ อาตมาพามาไม่กินเนื้อสัตว์ จะเห็นอะไรลึกๆ กว่านี้อีก ถ้าเลิกได้ มันก็ไม่ได้สุขอย่างนี้ แล้วไม่ได้สุขอย่างนี้ มันจะตายไหม ถ้าได้ฆ่าสัตว์มันสุข ถ้าไม่ได้ฆ่าจะทุกข์ คุณก็ลองดูสิว่า ไม่ฆ่าสัตว์ ตนจะตายไหม?

      คุณไม่ต้องไปขโมยของ จะตายไหม? มันมีลูกคนรวย ที่เป็นโรคกิเลส ต้องได้ขโมยจึงสุข ทั้งรู้ว่าไม่ดี แต่เสี่ยงภัยดี ถ้าขโมยได้เก่ง พวกนี้วิตถารนะ เดี๋ยวนี้เยอะมาก ถ้าเราไม่เอาของอื่น ที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ต้องไปอยากได้ ของที่ไม่ใช่ของเรา อ่านอาการอยากให้เป็น มันอยากตามเขา เขามีมาก ก็อยากได้ตามเขา ถ้าเราไม่อยากตามเขา เช่นเขามี ๑๐ ล้าน เราไม่ต้อง ไปอยากมี ๑๐ ล้าน เราจะเป็น คนประเสริฐ ได้ไหม เบื้องต้น ไม่ต้องไปอยากได้ ของที่ไม่ใช่ของเรา เช่นเก็บของได้ ก็ไปคืนเขา คนซื่อสัตย์ แค่ทำเช่นนี้ สังคมก็เป็นสุข ไม่เอาของ ที่ไม่ใช่ของเรา ก็เป็นสุข ยิ่งฝึกจิต ให้ไม่อยากเอา ก็ยิ่งเจริญ ถ้าจะมี ก็ต้องสร้างเอง ผลิตเอง ของตนเอง ทำสร้างเอง ทำขึ้น ดีไม่ดี ทำแล้วเราก็อาศัย สิ่งที่เราทำได้ มีเหลือ ก็แจกจ่าย เผื่อคนอื่น สังคมเช่นนี้ ชาวอโศกทำ จึงเป็นสังคมสุข ไม่ต้องรวย ในหลวงเราตรัส ไม่ต้องไปรวย ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา สังคมเราจึงเป็น สังคมอาริยชน

      เราทำสังคมที่มีสุข ที่ได้จาก การสละออก เนกขัมมะ เป็นสุขที่ ยังได้บำเรออยู่ ติดยึดอยู่ ดังนั้นทำก็ไม่สุข ไม่ได้ทำก็ไม่ทุกข์ แต่ทำ ก็ทำเพื่อคนอื่น

      เราต้องรู้ว่าสุข ที่บำเรอกิเลส แบบโลกๆ แต่เรามาเรียนรู้ ที่จะลดกิเลส เมื่อลดได้ ก็เป็นสุข เป็นอุปกิเลส แต่ยังดี เป็นเนกขัมสติโสมนัสเวทนา  ไม่เหมือนทางโลก ที่ได้มาบำเรอตน ได้ตามสเปค บำเรอกาม บำเรออัตตา

      เมื่อลดอาการผีได้ สัตว์นรก เดรัจฉานได้ ชัดเจนว่า เรารู้ตัว ที่เราจะกำจัด ตามปหาน ๕ ได้ ทำจนเป็น ตถตา ในขั้นสูงสุด

      แต่ตถตา นั้นอาตมาแบ่งเป็น ๓ อย่าง
๑.ตถตา แบบยถากรรม ได้แต่ท่องเอา ปล่อยวางอย่างที่ ปล่อยเป็นยถากรรม แบบนี้ คุณเบาว่าง ได้ชั่วคราว แต่ไม่ได้ปฏิบัติ วิปัสสนา ไม่เกิดญาณปัญญา รู้จัก เวทนาในเวทนา จิตในจิต ไม่เกิดความฉลาด ในการทำจิตใจเลย ไม่ได้ฝึกอบรมเลย ไม่พัฒนาจิตเลย ไม่เกิดญาณปัญญา ที่สูงขึ้นเลย แต่ถ้าได้ฝึก จะรู้ขั้นตอนเลย ในการเกิดญาณ เป็นสมถะลืมตา หัดปล่อยวาง อย่ามายุ่ง ก็ช่วยได้ บรรเทาทุกข์ได้ ไม่ได้มีญาณปัญญาจริง ไม่ได้ศึกษา เวทนา ๑๐๘

๒.ตถตา ที่เป็นมรรค เกิดจากการฝึกฝน รู้เอง เห็นเอง ว่ากิเลสลดได้ หายไปได้ ก็จะอ๋อ เป็นตัวปฏิบัติ
      1. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ กำหนดรู้ให้ครบ ปริญเญยยันติ) 
      2. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจที่กำลังละล้างกิเลส ปหาตัพพันติ)
      3. กตญาณ  (หยั่งรู้การจบกิจแล้ว ให้แจ่มแจ้ง สัจฉิกาตัพพันติ)
      (พตปฎ. เล่ม ๔ ข้อ ๑๕ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

      ปฏิบัติอนุปัสสี ๔
      1.อนิจจานุปัสสี (ตามเห็นความไม่เที่ยง ของกิเลสตัณหา)
      2.วิราคานุปัสสี (ตามเห็นความจางคลาย ของกิเลส) 
      3.นิโรธานุปัสสี (ตามเห็นความดับ ของสัตว์กิเลสตัณหา)
      4. ปฏินิสสัคคานุปัสสี (เห็นการย้อนทวนกลับไป สลัดคืน นิสสัคคะก็คือ ไม่มีนรกสวรรค์ เพราะกำจัดผี และเทวดาปลอก เกิด) (พตปฎ. เล่ม ๑๔  ข้อ ๒๘๘)

๓.ตถตา ที่เป็นผล คือทำได้สมบูรณ์แล้ว

      ในงานนี้ อาตมาจะแจกแจง เทวดา ๖ ภูมิ พรหมอีก ๒๐ ภูมิ ถ้าผู้ใดศึกษา ถูกต้อง ฆ่าความเป็นสัตว์ได้ ก็จะมีมรรคผลจริง ตอนนี้เราจะศึกษา การเปิดโลก อาตมา อธิบายเรื่องนี้ มาหลายชาติแล้ว ยังอธิบาย ไม่จบหลักสูตรเลย แต่คนเรียน จบหลักสูตรได้มี เป็นอรหันต์ได้ ก็จับสูตรทฤษฎี ของตนเองให้ได้
      สรุป สัตว์นรก สัตว์สวรรค์ (เทวดา) หรือสัตว์ที่ลดกิเลส (พรหม)
      สัตว์พรหม คือสัตว์ที่ลดกิเลสได้
      สัตว์เทวดามี  ๒ สัตว์  ๑. สัตว์สุขขัลลิกะ (สมมุติเทพ) รู้กันได้ทั่วกัน อาจสมมุติ ต่างกันบ้าง แต่ก็รู้ได้ ทั่วกันได้ ๒. สัตว์ อุปัติเทพ

      คำว่า กาย นี่สำคัญ คือต้องรู้ ต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกายได้ จึงบรรลุ อย่างในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒

และใน ทักขิเนยยบุคคล ๗ ก็มีแบ่งไว้


      สายปัญญานี่ มีปัญญาวิมุติ ก็เป็นอรหันต์แล้ว จะปฏิบัติวิโมกข์ ๘ ได้โดยเร็ว ท่านละไว้ว่า ธัมมานุสารี สายนี้ จะไม่ต้องกล่าวว่า จะต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย เพราะมี สัมมาทิฏฐิ แต่ต้นแล้ว ส่วนสาย สัทธานุสารีย์ นั้น ก็ต้องกล่าวว่า ต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย จึงจะครบ อุภโตภาควิมุติ เป็นอรหันต์ได้

      ต้องมีการสัมผัส ทวาร ๖ แล้วมีเวทนาเกิด ต้องจับผี จับเทวดา สมมุตติได้ แล้วจัดการ เหตุแห่งสุขทุกข์ได้ ก็เป็นพรหม

      วิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๘ นั้น หมายถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ นี่จึงเป็น ฌานของพระพุทธเจ้า ขั้นอรูปฌานแล้ว ไม่เหมือนของ ลัทธิอื่น ซึ่งสมาธิ ฌาน นิโรธ ของพุทธ ก็ต่างกับลัทธิอื่น ของพระพุทธเจ้า เข้าถึงนิโรธ แบบลืมตา มีผัสสะ ส่วนแบบ ไม่ใช่พุทธ จะได้นิโรธ แบบหลับตา เข้าในภพ กายของนิโรธนั้น ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นธรรมะที่บริบูรณ์ พรหมจรรย์สูงสุด ก็เป็นธรรมกายสุดท้าย หรือยิ่งเป็นธรรมกาย ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นองค์ประชุม ของธรรมะที่สูงสุด หรือเรียกว่า พรหมกายก็ได้ จะได้อธิบาย ธรรมกาย ที่สัมมาทิฏฐิ กับมิจฉาทิฏฐิ ที่ธรรมกาย เขายึดถือกัน ก็สุดที่จะเลี่ยง ในการอธิบาย เรื่องธรรมกาย ที่เขามิจฉาทิฏฐิ ไม่ได้มีเจตนาไปว่า สำนักธรรมกายนะ

      สำนักธรรมกายนี่ มีสองสำนักใหญ่ ท่านได้ทะเลาะกัน แล้วแยกเป็นสองคณะ สำนักหนึ่ง อยู่ดำเนินสะดวก อีกสำนักหนึ่ง อยู่ที่รังสิต ไม่ได้โกรธเคืองนะ แต่เห็นใจ ละเว้นไม่ได้ ที่จะต้องตำหนิ เพราะว่ามันผิด โดยความเห็นของอาตมา ส่วนใครจะศรัทธา ธรรมกาย สองคณะนั้น ก็ขออภัย ให้ฟังอาตมาบ้าง ไม่อยากให้ชิงชังอาตมา รับฟังบ้าง อาตมาก็รับรู้ สัมผัสธรรมกายอยู่

      เป็นนานาสังวาส แล้ว พุทธด้วยกัน แต่ต่างกัน ก็ต้องพูดความต่าง ก็ต้องพูด สิ่งถูกสิ่งผิด จะพูดว่าถูก ทั้งสองอย่างไม่ได้ ก็ต้องแยกแยะ แต่ใครจะเห็นอย่างไร ก็เป็นสิทธิ์ ท่านจะเห็นว่า อาตมาผิดก็ได้ อย่าง DDTV ก็ว่าอาตมาใหญ่เลย ท่านเข้าใจอาตมาผิด ท่านก็ว่า ของท่านถูก อาตมาผิด ก็เป็นสิทธิ์ท่าน ส่วนอาตมา ก็พาดพิงบ้าง บางทีก็แรงบ้าง แต่ก็ไม่ให้หยาบ แรงหนักบ้าง ใช้พยัญชนะ หนักบ้าง ให้เข้าใจได้ เช่น อย่างนี้ชั่ว ก็ต้องว่าชั่ว อย่างนี้พาฉิบหายเลว ก็ต้องบอกพูดไป แต่ส่วนใหญ่จะพูด ก็ต้องขออภัยก่อน อาตมา ไม่ได้มีอารมณ์ มันเขี้ยว โกรธแล้ว

      แต่บางทีรีบๆ ก็อาจไม่ทันขออภัย แต่น้อยครั้ง ก็จะขออภัย หากจะใช้คำที่หนัก ที่ทางโลกถือกัน...            

   www.asoke.info