570508_พ่อครูเทศน์ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาวิชิตชัย ปักหลักเปิดโลก ตอนที่ ๓ |
ของเราอยู่กันอย่าง บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน
บ้าน คือบ้านเมือง กลุ่มชุมชน อยู่กันเป็นหมู่บ้าน รวมเป็นตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ก็มีคนรวมกัน คำว่าประเทศ ก็คือ คำว่า บ้าน
วัด วัดคือการเมือง แหล่งที่เป็นตัวอย่าง ของมนุษย์เจริญ เรียกว่า อาริยบุคคล อย่างสมัยพระพุทธเจ้า วัดก็คือ ที่อยู่ของสงฆ์ อยู่อย่างสาธารณโภคี เป็นการบริหาร โดยไม่บริหาร ปกครองโดยไม่ปกครอง เพราะทุกคน เข้าใจหน้าที่สิทธิ์ เข้าใจการเจริญ อย่างอาริยบุคคล อย่างอโศก แม้ไม่ดีเด่น อย่างที่พูดเลยหมด แต่ก็มีสาธารณโภคี เจริญ สงบเรียบร้อย
สรุปว่า การเมืองก็คือ มวลมนุษย ์ที่มีคุณธรรม ไม่ว่าประชาชน หรือผู้บริหาร ทำเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบ มันส่อประสาน กันอยู่ เป็นรัฐศาสตร์ เป็นการบริหาร ปกครอง ถ้าเราจะแก้ ปัญหาการเมือง โดยการเมือง น้ำเน่า ที่เลวร้าย อย่างระบบ การเมือง ปัจจุบัน นั้นแก้ไม่สำเร็จหรอก เป็นสมบัติ ผลัดกันชม ตลอดกาลนาน เคราะห์ดีหน่อย ก็ดีขึ้นมา เคราะห์ร้ายหน่อย ก็แย่อย่างยิ่ง
สรุปแล้ว แก้ปัญหาการเมือง ต้องแก้ด้วยธรรมะ
วัด มีหน้าที่สร้างคน ให้มีคุณธรรม มีธรรมะ เมื่อคนเกิดมีธรรมะก็จบ ได้ดีมา ก็จบได้ดี ได้น้อยก็จบได้ เท่าที่ได้ ต้องแก้การเมือง ด้วยน้ำสะอาด ล้างความเปรอะ เลอะเทอะ ด้วยธรรมะ
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่วิเศษ พรุ่งนี้ก็มาช่วยกันต่อ ทำให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้นๆ จิตวิญญาณจะพัฒนาขึ้น จิตวิญญาณของ ผู้จะปฏิวัติ จะต้องกล้าหาญ มีภูมิปัญญา จะทำดียิ่งขึ้น หาทางทำดียิ่งขึ้น สงบ เรียบร้อย ไม่รุนแรง มีประสิทธิภาพ มีน้ำหนัก
ประชาชนก็เจริญขึ้นด้วย ไม่เลวลง รู้จักจะทำอย่างไร เช่น ออกมาสงบ ให้มากๆ ร่วมมือกันหมด ข้าราชการก็ดี ทุกคน ออกมารู้หน้าที่ ถ้าออกมาร่วมกัน ตั้งแต่พรุ่งนี้ ก็จบเลย ประเทศไทย จะเกิดสิ่ง มหัศจรรย์ ของโลกเลย จะได้หรือไม่ ก็แล้วแต่สำนึก
ร คือโรงเรียน คือการศึกษา การศึกษาปัจจุบัน ล้มเหลวมาก การศึกษา มีหน้าที่สร้างคน ให้ความรู้ อย่างการศึกษา ของอโศก มีปรัชญา ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา อย่างชาญวิชา เราก็ให้เรียนรู้ เท่ากับโลกเขา แต่ว่าเรามีเวลา ให้น้อยกว่า เรื่องศีล และชาญวิชา ซึ่งเป็นเรื่องยาก เด็กของเรา ที่มาเข้ามัธยม ๓๐ คน ก็จบม.๖ สัก ๑๐ คนก็ดีแล้ว แต่เด็ก ก็ไม่เสียสุขภาพ เป็นโรคประสาท แต่อย่างใด เด็กเราจบไป ก็แข็งแรง สุขภาพดี ไปเรียนต่อ จบปริญญา ตรีโทเอก ก็มีเยอะ
สังคมเราอยู่กันอย่าง กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียว เป็นหมู่บ้าน สังคมอาริยะ มีคุณสมบัติ คุณธรรม มีกิจกรรม กิจการเจริญ เป็นสังคมแบบนี้ เป็นปชต. ยิ่งใหญ่ เป็นปชต.สองขา คือปชต.ที่คำนึง ทั้งวัตถุและคำนึง จิตวิญญาณ เป็นใหญ่ ไม่ใช่ปชต. ขาเดียว แบบที่เขาบอกกัน
แม้ที่สุด คุณยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ ยืนยัน จะตายคาปชต. อาตมามองว่า เป็นปชต. แนวโน้มเป็นปชต.ขาเดียว เพราะเขาไม่เข้าใจ ทางออกของ ปชต. ที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข เขาก็ตัด อำนาจศาล ก็เท่ากับ ตัดอำนาจ หลักเกณฑ์ สังคมประเทศ
ประเทศปชต.ขาเดียว เขาก็จะมีแต่ประชาชน ไม่มีกษัติรย์ เป็นประชาชนองค์รวม ที่ต้องใช้การบังคับ เช่น คนต้องอยู่ใต้กฎหมาย อย่างเข้มเลย เขาไม่ได้พัฒนา ด้านวิญญาณ
ประเทศจะเป็นประเทศได้ ต้องมี ๑.แผ่นดิน ที่เป็นวัตถุธรรม ๒.ต้องมีคนไปยึดครอง จึงเกิดการครอบครอง เป็นแผ่นดิน ที่มีประชาชน เป็นเจ้าของ บริหารไป จะอย่างไรต้องมีคน คนคือวิญญาณของประเทศ ฉันเดียวกับคำว่า กาย คำว่า กายนี้มีแต่ร่าง ไม่ใช่กาย ต้องมีทั้ง ร่างและจิต เช่นเดียวกับแผ่นดิน ที่ไม่มีคนไปยึดครอง ก็ไม่เป็นประเทศ เช่น บนเกาะใด เกาะหนึ่ง ที่ไม่มีคนค้นเจอ ก็เป็นประเทศไม่ได้
คนต้องไปประกาศว่า ฉันเป็นเจ้าของแผ่นดินนะ ประเทศต้องมีสองขา คือวัตถุธรรม คือแผ่นดิน กับมนุษย์ นี่คือ รากเหง้าของมนุษยชาติ บ้านเมือง
กายนี่จะต้องมีสองอย่าง หรือแม้แต่เหลืออย่างเดียว ก็ต้องมีแต่นาม ก็เป็นกาย คำว่า กายนี้คือ องค์รวม หรือองค์ประชุม ซึ่ง กายนี้ไม่ขาดธาตุรู้ กายต้องมีธาตุรู้ ร่วมด้วย
สัตว์ที่มีร่าง เป็นเดรัจฉานเลย เช่น สัตว์น้ำสัตว์บก ที่มีร่างแบบนั้น สัตว์เหล่านั้นเป็น จิตนิยาม สูงกว่า พีชนิยาม ความเป็นสัตว์แรกเริ่ม เป็นอวิชชา จนมาพัฒนาเป็น อาริยะมากขึ้นๆ มายุคนี้แล้ว ควรพัฒนาเป็น อาริยะเพิ่มขึ้น
อาริยะนี้ต้องมีใจ เป็นอาริยธรรม พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อาริยธรรม ที่เป็นโลกุตระ เอามาทำให้เกิด โลกุตรจิตจริงๆ กิเลสลดลงๆ จนหมด รู้โลกียะสามัญ จนปฏิบัติได้ อยู่เหนือโลกีย์ เหนือกาม เหนืออัตตาได้ เป็นอนาคามี อรหันต์
อย่างอนาคามี มีกาย ที่เหลือ ความเป็นสัตว์ภายใน อยู่นิดเดียว ส่วน กามภพ ก็ยังสัมพันธ์กับโลก เรียกว่า กามาวจร ก็ไม่ได้หนีโลก หรือหลับห ูหลับตา แต่อนาคามี มีนิโรธระดับ กามภพแล้ว ซึ่งภพ มีสามอย่าง กามภพ รูปภพ อรูปภพ
พระพุทธเจ้า ให้ปฏิบัติ ฌาน สมาธิ แบบลืมตา จนมีนิโรธลืมตา ไม่ต้องไปนั่งหลับตา เข้าออกสมาธินิโรธ แต่อย่างใด แต่ทุกวันนี้ สอนกันเพี้ยนไปแล้ว
กายกลิ ท่านแปล ในพจนานุกรมว่า กายโทษ หรือสิ่งชั่วช้า ที่อยู่ในกาย สิ่งชั่วช้า คืออกุศลจิต ที่ประชุมกันอยู่ มวลแสดงออกถึง กามและพยาบาท เป็นนามธรรม ซึ่งอยู่ในร่างนี้ องค์ประชุมนี้ ละเอียดแม้เป็น
กายลหุตา คือองค์ประชุม ที่บางเบา ละเอียดมาก คนไม่มีปัญญา สัมผัสในจิต ภาวะของลหุตา คุณต้องเรียนรู้ โดยญาณ ที่เป็น กายลหุตา หรือ กายมุทุตา กายกัมมัญญตา คือพลังงาน ทางจิตวิญญาณ ไม่ได้หมายถึง ดินน้ำไฟลม แต่เป็นนามกาย ในจิต
จะต้องศึกษา ตั้งแต่หยาบ ไปจะถึงกลาง และละเอียด
คุณจะรู้สัตว์ได้ ต้องกำหนด ความเป็นกายของสัตว์ และสัตว์นี้ กายนี้ ถ้าเข้าใจว่า แค่รูปร่าง ภายนอก ก็ไม่ได้ศึกษาถึง ปรมัตถ์ อย่างนี้ เพราะสัตว์ ที่จะให้ศึกษานี้ คือสัตตาโอปปาติกา แต่ไม่ทิ้งร่างกายนะ เพราะถ้าเอาแต่ หลับตานั้น อาสวะ บางอย่าง ก็อาจดับได้ ก็เป็นได้แค่ กายสักขี ในทักขิเนยยบุคคล ๗
คุณไปปฏิบัติ สายสัทธานุสารีย์ จะได้แค่ กายสักขี ไม่สมบูรณ์ สักขี คือเห็นอยู่โทนโท่ สัมผัสด้วยตาด้วย แต่อาสวะ บางอย่าง ดับได้ แต่ถ้าไม่ได้สัมผัส ด้วยวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ก็ไม่สามารถเป็น อรหันต์ได้
ต้องกายที่มี พหิทธารูปานิ ปัสสติ ตามรู้ถึงภายใน แม้เป็นอรูป
พระพุทธเจ้า ให้ศึกษาเป็นลำดับ ตั้งแต่อบายภูมิ ในกามภพ แล้วดับกามภพ แล้วก็ทำ รูปภพ อรูปภพต่อ เราทำมาแต่หยาบ ก็จะมีตัวอย่าง มีวิธีลดละ ตั้งแต่ โสดาฯ สกิทาฯ ก็มาเรียนรู้ อย่างมีฝีมือ ลดละได้สิ้นเกลี้ยง หมดจด
สายปัญญา เริ่มสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่ธัมมานุสารี จะบรรลุตั้งแต่ ปัญญาวิมุติ ก็เป็นอรหันต์ แต่ว่าสายศรัทธานั้น ก็แม้ได้ กายสักขี ก็ไม่เป็นอรหันต์ ต้องได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย จึงบรรลุอรหันต์
สายปัญญานั้น
พระพุทธเจ้าสอนปฏิบัติ แบบลืมตา วิธีปฏิบัติ จะมีฐานปฏิบัติ แล้วเรียนรู้สัตว์ เช่น สัตว์เปรต สัตว์นรก เดรัจฉาน อสุรกาย คุณต้องเรียนรู้
ในปฏิจจสมุปบาท
๑. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยโง่ๆ จึงก่อสังขารโง่ๆ
๒. เพราะมี สังขาร จึงมี วิญญาณ ๖
๓. มี วิญญาณ ๖ จึงมี นามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ)
๔. มีนามรูป ๕ จึงมี อายตนะ ๖ หรือ ฉฬายตนะ
๕. มีอายตนะ ๖ จึงมี ผัสสะ ๖
๖. มีผัสสะ ๖ จึงมี เวทนา ๖
๗. มีเวทนา ๖ จึงมี ตัณหา ๖
๘. มีตัณหา ๖ จึงมี อุปาทาน ๔
๙. มีอุปาทาน จึงมี ภพ (กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ)
๑๐. มีภพ จึงมี ชาติ ๕ (กิเลสเกิดบทบาทใน มโนกรรม)
๑๑. มีชาติ จึงมี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และอุปายาสะ
ถ้าดับชาติได้ ก็ไม่มี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะฯ
ในชรา คืออะไร? ..ท่านตรัสว่า หมายถึง ความหนังเหี่ยว ฟันหลุด ความแก่หย่อม ของอินทรีย์ ส่วนตาย คือความทำลาย อันตรธาน ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งเป็นซากศพ แต่เวลาปฏิบัตินี้ ไม่ได้หมายถึง แค่ร่าง แต่หมายถึง กาย ที่เป็นความเกิด ตั้งอยู่ ชราของจิต
ชาติ พระพุทธเจ้าอธิบาย ให้รู้ว่า การจะปฏิบัติให้รู้กาย ต้องปฏิบัติ ๖ ทวาร จึงปฏิบัติ กายในกาย เวทนาในเวทนา ได้ครบใน สติปัฏฐาน ๔
แม้ในพระไตรปิฎก ล.๑๖ นี่แหละ ก็บอกว่า ให้เรียนรู้ ทางทวารทั้ง ๖ ไม่ใช่ปฏิบัติ แต่นั่งหลับตา จึงรู้เห็นการเกิด ที่เรียกว่า โอปปาติกโยนิ ที่อยู่ใน โยนิ ๔
๑. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ ที่เกิดในครรภ์)
๒. อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ ที่เกิดในไข่ -ทิชาชาติ)
๓. สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ ที่เกิดจากการแบ่งตัว)
๔. โอปปาติกโยนิ (เกิดใหม่ทางจิตวิญญาณ เปลี่ยนภพทันที เกิดนิโรธ ไม่มีอะไรมาคั่น เกิดแทนสิ่งดับโดยไม่มีซาก) (พตปฎ.เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๖๓)
การปฏิบัติที่ พระพุทธเจ้าสอนนั้น ไม่ได้ให้ไปนั่งหลับตา ดับดิ่ง เป็นอสัญญีสัตว์ ที่ไม่รับรู้อะไรเลย ไม่ได้ศึกษาอะไรเลย หรือแม้อยู่ในภพ ก็ได้ศึกษา ในภพบ้าง แต่ถ้าดับสัญญานั้น ไม่ใช่ทางเลย การปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตาม
วิญญาณฐิติ ๗
๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพ จำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืด เป็นโชค)
๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก “อสัญญีสัตว์” (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติดับ จนไม่รับรู้อะไร)
๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง.. อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗. สัตว์บางพวก เข้าถึง ชั้น..วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง)
๘. สัตว์บางพวก เข้าถึง ชั้น..อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร)
๙. สัตว์บางพวก.เข้าถึง ชั้น..เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ) (ววัตถุสัญญา พตปฎ. ล.๒๓ ข.๒๒๘) และ ๑๑/๓๕๓
ปฏิบัติแบบพุทธ แบบลืมตาตื่น บรรลุขณะลืมตาตื่น จักขุมาปรินิพพุโพติ คือมี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ไม่เหมือน ทำแบบ นิโรธมืด ดับดิ่ง เป็นอสัญญีสัตว์
ในวิญญาณฐีติ ไม่มี อสัญญีสัตว์ คือ อากิญจัญฯ กับเนวสัญญาฯสัตว์ เพราะอันนั้น มันดับดิ่ง
การทำฌาน คือทำให้จิต ไม่มีนิวรณ์ ว่างไม่มีนิวรณ์ ๕ ถ้าแบบหลับตา ก็ไปนั่งสมาธิ สามารถทำให้จิต ไม่มีนิวรณ์ได้ เหมือนกับแบบ สมาธิลืมตา คือสัญญาอย่างเดียวกัน แต่ว่าแบบลืมตา กับหลับตาทำนั้น องค์รวม หรือกายต่างกัน เพราะว่า แบบลืมตา ก็ลืมตามอง สิ่งที่เคยชอบ แต่ว่าตอนนี้ มีฌานแล้วก็ไม่มีนิวรณ์ ไม่ชอบไม่ชัง แต่ว่าลืมตา ผัสสะนะ ไม่เหมือน นั่งหลับตาดับ ไม่ได้มีสัมผัส กับวัตถุเลย แม้ไม่มีนิวรณ์ ๕ เหมือนกัน แต่องค์ประชุม หรือ กายต่างกัน
สัตว์ที่ ๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
พวกวินิปาตะ คือตกต่ำ จนไม่มีต่ำกว่านี้ อีกแล้ว อย่างที่เขาแย่งชิง อำนาจกันอยู่ ในปัจจุบัน
มนุษย์คือ ผู้มีใจสูง ปฏิบัติธรรมได้
เทพ มีสามอย่าง คือ สมมุติเทพ อุปัติเทพ วิสุทธิเทพ …
พรหม มี ๒๐ ชั้น
ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ
ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ
ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ
ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ
ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ
ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ
ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ เป็นสายปฏิบัติผิดๆ ที่เป็นสายสว่าง ไปสร้างภพสว่าง โล่งแจ้ง
ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ แปลว่า ความดำมืด หากปฏิบัติผิด จะเป็นสายมืด
ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ สายที่ไม่เข้าใจเลยจะหมายถึง มีผลไพบูลย์ เป็นอัปปมาณสุภาภูมิ สมบูรณ์
ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ สายนี้เป็น สุภกิณหาภูมิ แบบสมบูรณ์ นั่นเอง
ต่อไปเป็นสุทธาวาส ๕
ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ สุทธาวาส คือถิ่นที่บริสุทธิ์ ระดับวิสุทธิเทพ สะอาด ไม่ใช่ไปแช่อยู่ เช่นนั้น แต่ถ้านั่ง หลับตาดับ คุณจะไปติดอยู่นี่
ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ คือท่านผู้ไม่ทำ ความเดือดร้อน แก่ใคร
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ท่านผู้งดงาม น่าทัสสนา หลงสุข งามจริง สวยจริง วิเศษจริง ก็ไปติดเข้าไป พระพุทธเจ้า จึงบอกว่า สุทธาวาส ๕ พระพุทธเจ้า ไม่ติดเลย ศึกษาสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่ ธัมมานุสารี จะไม่ติดใน สุทธาวาส ๕ นี้
ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ ไม่เป็นน้องใคร ก็ยิ่งใหญ่มาก
สายสัทธานุสารี จะติดในอุปกิเลส พวกนี้มาก ส่วนสายปัญญา จะเข้าใจไม่ติดยึด
ต่อไปเป็น อรูปพรหมอีก ๔
ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ
ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ของพุทธต้องเป็น วิญญาณฐิติ ต้องหลุดพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ จึงจะล่วงสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ต้องพ้น ความรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ในเนวสัญญาฯ ดับสิ้นอวิชชา เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นข้อที่ ๘ ของ
วิโมกข์ ๘
๑. ผู้มีรูป (รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ) (พ่อครู แปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจ กำหนด)
๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่า เป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครู แปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุ หลุดพ้น ได้ยิ่งขึ้น)
๔.ผู้ล่วงพ้นรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ(ละ)ไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า... อากาศหาที่สุดมิได้ (สัพพโส รูปสัญญานัง สมติกกัมมะ ปฏิฆสัญญานัง อัตถังคมา นานัตตสัญญานัง อมนสิการา อนันโต อากาโสติ อากาสานัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)
๕. ผู้ที่ล่วงพ้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ (สัพพโส อากาสานัญจายตนัง สมติกกัมมะ อนันตัง วิญญาณันติ วิญญาณัญจายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ)
๖. ผู้ที่ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (สัพพโส วิญญาณัญจายตนัง สมติกกัมมะ นัตถิ กิญจีติ อากิญจัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ)
๗. ผู้ที่ล่วงพ้น อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ (สัพพโส อากิญจัญญายตนัง สมติกกัมมะ เนวสัญญานาสัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ) หรือ จิตวิญญาณ ต้องพ้นสิ่งที่ไม่รู้ และไม่มีที่จะไม่รู้
๘ .ผู้ที่บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง (สัพพโส เนวสัญญานาสัญญายตนัง สมติกกัมมะ สัญญาเวทยิตัง นิโรธัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ) หรือพ้น อวิชชาสังโยชน์ อันผู้เข้าถึงแล้ว พึงทบทวน ตรวจสอบ อย่างอนุโลมบ้าง อย่างปฏิโลมบ้าง ทั้งอนุโลม และปฏิโลมบ้าง หรือบางขณะ ก็อยู่ในอารมณ์ บางขณะ ก็ไม่อยู่ในอารมณ์ แห่งวิโมกข์ ๘ อยู่บ้าง -ไม่อยู่บ้าง ตามคราว ที่ต้องการ ตามที่ปรารถนา และตามกำหนด ที่ประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุติ -ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ สิ้นไป เพราะทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุติ พตปฎ.เล่ม ๑๐ ข.๖๖ (มหานิทานสูตร)
พ้นอวิชชาทั้ง ๘
๑.ไม่รู้ใน..ทุกข์ (ทุกฺเข อญฺญาณํ)
๒.ไม่รู้ใน..ทุกขสมุทัย (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ)
๓.ไม่รู้ใน..ทุกขนิโรธ (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)
๔.ไม่รู้ใน..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคองค์๘)
๕.ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง) ปุพพันเต อัญญาณัง
๖.ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง) อปรันเต อัญญาณัง
๗. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้ เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง)
๘. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นห่วงโซ่ แห่งการเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท
(ล.๓๔ ข.๖๙๑)
ได้ทำจนเป็นตถตา
ซึ่งอาตมาแบ่งเป็น ตถตา ๓
๑. ตถตา แบบ ยถากรรม มันเป็นเช่นนั้นเองโดยยถากรรม เป็นสมถะลืมตา
๒. ตถตา ที่เป็นมรรค คือได้เจอกิเลส ที่เป็นความจริง เป็นการฝึก ลดละกิเลส
๓.ตถตา ที่เป็นผลสมบูรณ์
พรหมมี ๒๐ ชั้น
ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ
ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ
ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ
ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ
ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ
ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ
ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ
ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ
ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ
ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ
ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ
ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
สรุปว่า ความเป็นสัตว์ อันนี้เป็นจุดหมายสำคัญ ของศาสนาพุทธ หากไม่รู้ ความเป็นสัตว์ คุณจะพ้นสังโยชน์ หรือสังโยคไม่ได้ แปลเป็นไทยว่า ผูกสัตว์ไว้ ไม่มีใครผูกไว้ แต่เราโง่ ผูกเอาไว้เอง
สวรรค์ ๖ ชั้น ที่จริงเป็นสวรรค์ทางกาม
๑. จาตุมหาราชิกา (สวรรค์ที่มหาราชใหญ่ ๔ ทิศ ปกครอง)
๒. ดาวดึงส์ (ที่อยู่แห่งเทพ ที่ยังเสพอารมณ์เพิ่ม เกินๆ)
๓. ยามา (แดนใจของผู้เปลื้องทุกข์ได้, ได้นาน,)
๔. ดุสิต (แดนใจของผู้อิ่ม สงบเฉยได้แล้ว เพราะเสวยอิ่ม)
๕.นิมมานรตี (ภูมิจิตของผู้มีใจยินดี ในการเนรมิต ความปรารถนา สำเร็จได้ด้วย ความสามารถตน)
๖.ปรนิมมิตวสวัตตี (ภูมิที่อยู่แห่งเทพ ที่มีอำนาจ ในการเนรมิตอื่นๆ มีผู้อื่นสนองอำนาจ ให้ได้อย่างเร็วไว หากจิต พ้นขั้นนี้ ได้แล้ว ย่อมเป็นพรหม) (พตปฎ. เล่ม ๔ ข้อ ๑๗)
ในโลกียะ เทวดาทั้ง ๖ เป็นเรื่องของกามทั้งนั้น
แต่ในโลกุตระ เทวดาทั้ง ๖ ก็เป็นลักษณะของ โลกุตระได้ เช่น ดุสิต คือแดนที่ พระโพธิสัตว์ จะอยู่ตรงนี้ แม้ก่อนมาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า ก็ต้อง จุติจากดุสิต มาพักที่ดุสิต เป็นเจ้าใหญ่คือ สันตุสิตเทพ คือภพที่ใจพอ ถ้าเป็นโลกียะ คือ เสพสำเร็จ แล้วก็พอ พักยก
ส่วนดาวดึงส์ คือเทวดาที่เสพ อาการที่ ๓๓
นิมามานรตี คือผู้มีความสามารถสูง สร้างได้เอง
ปรนิมมิตวสวัตตี ก็คือ ผู้ที่มีผู้อื่น คอยช่วยสร้างให้ มีอำนาจให้คนช่วยได้