คาถาธรรม ๑ ผู้อยู่เหนือ การอยู่เหนือไม่ใช่ข่ม แต่เป็นผู้วางได้ เป็นผู้เกื้อกูลกันได้ เป็นผู้ช่วยเหลือได้ หรือเป็นผู้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งนั้นๆ และเป็นผู้ช่วยเหลือสิ่งนั้น พัฒนาเจริญได้นั่นเอง. ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕
ลักษณะของผู้อยู่เหนือ ๒๙ เมษายน ๒๕๒๕
การฝึกตน เราจะต้องมีสติสัมปชัญญะปัญญา คือสอดส่องอ่านพิจารณา ในการกระทำ ในสภาพเกิดอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์จิต อารมณ์ใจของเรา และเราก็ปรับ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕
ไม่หลบลี้ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๕
อาศัยมิใช่ติดยึด ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๕
เบิกบานเพื่อหาญกล้า ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๕
ยินดีที่ปล่อยวาง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๕
พิจารณาก่อนเสพย์ แม้แต่การไม่หลับตา ก็เป็นกายกรรมอย่างหนึ่งที่เราควรเสพย์ เราพิจารณาว่าจริงไหม เห็นด้วยไหม เห็นดีไหม เราควรจะทำอาการที่ไม่ค่อยหลับตา ต้องควรลืมตาไว้เสมอ นี่เป็นกายกรรม แล้วเราก็เสพย์ พิจารณาแล้วค่อยเสพย์ อย่างนี้เสมอ หรือว่าเราควรจะหลับตาบ่อยๆ หลับตาอยู่บ่อยๆ แล้วก็จะได้สภาพที่เราควรจะอบรมตน นี่เป็นเรื่องของกายกรรม ตัวอย่างง่ายๆ แม้ที่สุดในจิต เราควรทำในใจไว้อย่างนี้ จิตของเราจะทรงอารมณ์อย่างนี้ จะรักษาอารมณ์อย่างนี้ไว้เสมอๆหรือ หรือว่าไม่ควรรักษา ควรจะทำอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า พิจารณาแล้วเสพย์ หรือ ปฏิเสวนา เราควรจะได้ทำให้แก่ตน นั่นคือกรรมฐาน นั่นคือ สิ่งที่เราจะต้องรู้ ผู้ใดทำปฏิเสวนาเป็น หมายความว่า ทำทวนซ้ำ ในสิ่งที่เราได้พิจารณาแล้วนั้น อย่างนั้นให้เสมอ ให้ได้ทรง นั่นคือ เราฝึกสมาธิ ฝึกสมาบัติ ฝึกสิ่งที่ควรจะกระทำให้คุ้นให้เคย ให้แปรเปลี่ยนมาเป็นดังที่เราหมายนั้นให้ได้ จนมั่นคง จนแน่นอน นี่คือ วิธีการที่จะปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดเข้าใจกรรมฐาน หรือเข้าใจจุดที่แนะ แล้วก็เห็นให้ดี เป็นทัสนา เป็นสังวรา สังวรอย่างที่เราเข้าใจ และให้มันเกิดปฏิเสวนา เกิดเป็นอย่างนั้น คนอย่างนั้น คุ้นอย่างนั้น ไม่คุ้นอีกอย่างหนึ่ง สิ่งใดเราคิด เราจะคุ้นหรือเคยและเป็นง่าย แต่สิ่งใดที่เราจะเพิกกลับ หรือเราจะมาเป็นอีกอย่างหนึ่งนั้น มันจะยาก ก็ต้องกระทำให้บ่อย และตั้งสติ ตั้งใจให้ดีๆ มันจีงจะทำได้ จึงจะเกิดผลสำเร็จ ในที่สุด ๑๐ กรกฏาคม ๒๕๒๕
เวรมณี คำว่า "เจตนางดเว้น" เป็นจิตที่ตั้งมั่น ตั้งมั่น แม้คำว่าเจตนาจะแปลว่า ตั้งใจมุ่งหมาย ก็ตาม จิตนั้น ก็เป็นจิตที่มีอาการของความมุ่งหมาย ตั้งใจอยู่อย่างตั้งมั่น ที่จะเว้นขาดจากมิจฉาทุกสิ่ง จากอกุศลทุกสิ่ง จากสิ่งที่เป็นทุจริตทุกสิ่ง อยู่เป็นปกติ เรียกว่า ผู้มีศีลเป็นอเสขะ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๕
ผู้อยู่สำราญ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๕
จงเป็นผู้ไม่ประมาท จิตเมื่อจะเกิด เมื่อจะคิดไตร่ตรอง ต้องเลือกเฟ้น หาแต่ทางที่จะเจริญให้แก่ตนอยู่ทุกเมื่อเถิด จงตามรักษาจิตของตน ให้เป็นนายอันสำคัญ ที่จะนำตนไปสู่นิพพาน ด้วยการเดินทุกๆระยะก้าว ที่ได้ไตร่ตรอง ระมัดระวังอย่างดี ทุกๆเมื่อเถิด ๒๐ กันยายน ๒๕๒๕
สัจจะ ผู้ที่เป็นแล้ว ก็รู้ในความเป็น สิ่งที่เรียกว่า "สัจจะ" คือ ความจริง จึงคือความเป็นที่แท้ และความรู้แจ้งในความเป็นนั้น อย่างไม่มีผิดพลาด แน่นอน แน่จริง จึงไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลย ๒๓ กันยายน ๒๕๒๕
รู้และละ เหตุแห่งทุกข์ มาจากอกุศลภายในใจของเรา แล้วเราก็สั่งการให้กายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี หรือสั่งสมลงในใจก็ดี เป็นอกุศลแก่ตนอยู่เสมอ ถ้าเรารู้อกุศลถูก มีธัมมวิจัยอย่างเฉียบขาดแยบคาย และมีกำลังอินทรีย์ มีอำนาจในตน สามารถละวางอกุศล ได้อย่างเฉียบขาดเด็ดขาด นั่นคือ เราก้าวเข้าสู่ความสบาย ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ ถ้าเผื่อว่า เราแยกแยะอย่างนี้ไม่ถูก กระทำไม่ได้ เราก็ยังไม่ได้ ยิ่งไม่ถูกด้วยแล้ว ก็ยิ่งช้า ยิ่งไกลที่จะถึงจุดหมาย จุดเป้าสำคัญที่สุด ก็คือ รู้และละ รู้ให้ถูกว่าเราจะละอะไร และละให้ได้ นั่นคือ ผลสำเร็จแต่ละครั้งแต่ละจุด ที่เราได้ปฏิบัติธรรม อย่างถูกต้อง ๒๔ กันยายน ๒๕๒๕
นิพพานธรรม ในวิมุติธรรมคือการหลุดพ้น อมตธรรมคือธรรมะที่เรากำหนดรู้ สามารถดับ สามารถเกิดอยู่ได้ นิพพานธรรม คือความสมบูรณ์ ความสงบสนิท ไปปราศจากแล้ว ซึ่งราคะโทสะโมหะ สิ้นอาสวะ ผู้กระทำตนด้วยความพากเพียร ขยัน รู้จักทิศทางแห่งการปฏิบัติ ประพฤติอันถูกตรง ได้อุตสาหะ วิริยะ ขะมักเขม้น ไม่ท้อถอย มีสติและสัมปชัญญะ ประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกเวลา มีกุศล กุศลอันพึงได้พึงเป็นนั้น เป็นผลอันจะเกิดอยู่ ทุกขณะลมหายใจเข้าออกของผู้พึงเพียร อกุศลใดบกพร่องอยู่ ก็รู้อยู่ และพึงปรับปรุงให้เป็นกุศลทุกเวลา มีสติ มีธัมมวิจัย มีวิริยะ เกิดดี เป็นปีติ เป็นปัสสัทธิ สั่งสมลงตั้งมั่นเป็นสมาธิ และยอดสุด เป็นอุเบกขาอยู่เสมอๆ ผู้เดินด้วยก้าว ๗ ก้าว แห่งพระพุทธองค์พาเป็นพาไป ผู้ใดกระทำอยู่อย่างขะมักเขม้น ไม่ท้อถอย มีสติและสัมปชัญญะ ผู้นั้นพึงหวังได้ ซึ่งเป้าประสงค์ที่ตนปรารถนานั้นแล ๒๕ กันยายน ๒๕๒๕
ผู้เรียนรู้ กามภพ ได้แก่แดนเกิด ที่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสรู้อยู่รอบตัว องค์ประชุมต่างๆ เราเอง เราก็ยังมีความกำหนัดใคร่ ยินดีเสพย์ดื่ม เอร็ดอร่อยอยู่ เมื่อเราเรียนรู้แล้ว เราก็เรียนรู้การจางคลาย ละลดอารมณ์เสพย์ ดื่ม ติดยึด เอร็ดอร่อย เหล่านั้นลงไปได้ ผู้ปฏิบัติธรรม รู้จักวิราคธรรม รู้จักความจางคลายของกาม กามตัณหา ภวตัณหา แม้ในภวภพ เราก็เรียนรู้ว่า มันอยู่ในภพของจิตที่สร้าง ทั้งเป็นมโนมยอัตตา อรูปมยอัตตา ที่เรายังสร้างเองบ้าง อุปาทานยึดติด ยังมีการหมุนเวียน ดื่มเสพย์ เรายังเอร็ดอร่อยเพลิดเพลิน ติดยึดอยู่บ้าง เราจะรู้ความจริงด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ใช่เดา แต่ต้องเข้าใจอย่างเป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นแจ้งรู้จริง แล้วเราก็ทำให้ลด จางคลายลงไปได้จริง จนกระทั่งหมด ก็รู้ว่าสภาพดับสิ้น ไม่มีอารมณ์ ไม่มีกามตัณหา จนสิ้นกามาสวะ ไม่มีภวตัณหา จบสิ้นภวาสวะ รู้ยิ่งด้วยวิชา สิ้นอวิชชาสวะ ผู้ที่ได้เรียนรู้จริง ถอดถอนจริง ก็จะยืนหยัดยืนยันอย่างแท้จริง กามเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ภวภพก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เราจะเป็นผู้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และอยู่อย่างเป็นสุข ว่า "สุข"คำนี้ ไม่เหมือนโลก แต่เป็นวูปสโมสุข ไม่ใช่สุขเสพย์สม แต่เป็นความว่าง ความสบาย เบา แม้จะมีงานหนักอยู่เต็มที่ ดังเช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำงานสร้างพระศาสนา ๔๕ พรรษา มีงานอยู่เต็มที่ แม้แต่จะตาย ก็ยังต้องทำงานโปรดพระ จนเป็นพระอรหันต์ได้ เป็นองค์สุดท้ายก่อนตาย นั่นทีเดียว เราก็จะรู้ได้จากพระตำนานบ้าง จากความเป็นจริง ที่เป็นประวัติศาสตร์บ้าง ดังนี้ จะเห็นจริงได้ เมื่อเรามีของจริง พิสูจน์ตรงกัน ทั้งที่สภาพที่ท่านเล่าเป็นเรื่องเป็นราว และหลักธรรมของพระพุทธองค์ เราจะเข้าใจความหมาย และความจริงที่เรามี สอดคล้องต้องกัน ผู้ใดถึงที่สุด แม้แต่ในตัวอย่างบางเรื่องบางเหตุปัจจัย เราจะเข้าใจจิตที่ว่างเปล่า จิตที่ปราศจากกาม และแม้จิตที่ปราศจากภพ ภวภพต่างๆ แล้วเราเองจะเป็นผู้ที่อิสระเสรี จะเป็นผู้ที่มีความยินดี ร่าเริง เบิกบาน เป็นผู้รู้ เป็นผู้ตื่นอยู่ รอบถ้วนอย่างกว้างขวาง นับวันเราก็จะเป็นผู้ที่รู้โลกวิทูยิ่งขึ้นๆ ไม่ใช่ผู้มืดบอด หลบลี้ หลบเลี่ยงหนี แต่เราจะรู้ยิ่ง จะยืนอยู่เหนือโลก อย่างผู้ที่จะสะสมความรู้ในโลกไป อย่างผู้ชนะอย่างสมบูรณ์ ๒๗ กันยายน ๒๕๒๕
รู้ตัว ตรวจตน ๒๘ กันยายน ๒๕๒๕
ผู้หมดตัวตน ๔ ตุลาคม ๒๕๒๕
เบ้าศีล คนที่อยู่ในศีล อยู่ในหลักธรรม อยู่ในวินัย อยู่ในกฎระเบียบแบบอย่าง วันแล้ววันเล่า ก็จะถูกหล่อถูกหลอม เป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้อง ของหลักระเบียบแบบอย่างวินัยนั้นๆ เช่นเดียวกัน แต่ถ้าผู้ที่อยู่ในเบ้าหลอมนั้น ยิ่งรู้ตัวทั่วพร้อม ยิ่งทำตนเองให้เห็นแจ้งจริง และการกระทำตน ตามทิศทางเส้นทางตรง ให้ตรงยิ่ง ทิศทางที่เป็นไปสู่จุดหมายให้เร็วยิ่ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยความเพียรอันยิ่ง ผู้นั้นๆ ก็ยิ่งจะเป็น จะได้รับความเป็น ตามที่เรามั่นหมาย ตามที่บ่อ ตามที่เบ้าหลอมนั้นจะให้เป็น ตามที่ได้เคยใช้มาแล้ว เร็วยิ่งขึ้น ไวยิ่งขึ้น และจะสำเร็จ ตามที่เราต้องการทุกประการ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๕
สติ ๘ ตุลาคม ๒๕๒๕
เหนือโลก ขอให้ทุกคน จงถึงที่สุดแห่งที่สุดของนิพพาน นั้นถ้วนทั่วเถิดเทอญ ๙ ตุลาคม ๒๕๒๕
สู่ความเป็นพุทธะ เรามีความเบิกบาน ร่าเริง แจ่มใส เป็นเครื่องพัก เป็นเครื่องอยู่อย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่น ที่เราปฏิบัติธรรม จุดแรกที่สุด ถ้ารู้ตัวว่า มีจิตที่ไม่มีความสบาย มีจิตที่ไม่แจ่มใส แม้เราจะรู้อยู่ว่า เรากำลังมีกิจการงานอะไรก็ตาม สัมผัสสัมพันธ์อยู่กับอะไรก็ตาม เราก็รู้จิตตัวที่มันไม่เบิกบานแจ่มใสให้ได้ก่อน แล้วทำออก ทำออกให้จริง สลัดให้ออกให้ได้ หรือว่าเราจะทำด้วยอิทธิวิธีใดๆ ก็ตาม เมื่อจิตอันเบิกบานแจ่มใสเกิดแล้ว ความรู้จะดีขึ้น ความตื่นหรือความสัมพันธ์ หรือการสร้างคุณค่า จะพลอยเจริญดี คือกำลังปฏิบัติตามไปสู่ความรู้ยิ่ง รู้จริง ความตื่นแท้ได้ เป็นอันดับต่อไป ถึงที่สุดนั่นเอง ๑๒ ตุลาคม ๒๕๒๕
เคร่งครัด แต่ไม่เคร่งเครียด
ขอเตือนพวกเรา ต้องใส่ใจตน อุตสาหะวิริยะพากเพียร ด้วยความเบิกบานแจ่มใส ไม่อึดอัดขัดเคือง ไม่เคร่งเครียด แต่เราควรเคร่งครัดกับตนเอง ความเคร่งเครียดและความเคร่งครัด ต้องแยกให้ออก การกระทำการ เกินการไปนั้น หนึ่ง เป็นความเคร่งเครียด สอง มุ่งหมายเอาจัด เราทำอย่างหมกมุ่น นั่นเราก็จะเคร่งเครียด และเราไม่มีจิตใจที่เบิกบาน เป็นกระสาย หรือเป็นเนื้อที่เราจะต้องอาศัย ก็ทำให้เราเคร่งเครียดได้ การปฏิบัติธรรม ด้านสุขาปฏิปทานั้น จะต้องมีจิตเบิกบานแจ่มใส หรือปราโมทย์ยิ่งอยู่ อาศัย แล้วเราก็ทำไปตามความเพียร ตามทิศทางที่ถูกต้องของเรา เราก็จะก้าวหน้า กระเถิบการเจริญขึ้นได้เสมอๆ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕
ฉันทะ ความมีฉันทะ มีความยินดีเป็นมูล เป็นสิ่งจูงนำ เป็นสิ่งที่จะพาให้เราใส่ใจในกิจ ใส่ใจในกรรมนั้นๆ เมื่อเรามีฉันทะ มีความยินดี มีความพอใจ ไม่ว่าจะพอใจไปในทางโลก เราก็จะนำตนไปใส่ใจ ตั้งใจในกิจในกรรมนั้นๆ เหมือนกัน ยิ่งเป็นทางธรรม ถ้าเราได้พอใจยินดี เราก็จะตั้ง ใส่ใจ ในกิจกรรมที่จะเป็นไปในทางเจริญของธรรมะ เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไร ทำให้เราเป็นผู้พอใจ เป็นผู้ยินดี เป็นผู้มีฉันทะ ในสิ่งที่เราปรารถนานั้นๆได้ ก็ขอให้เราได้หาวิธีการ ทำให้ตนเองก่อเกิดรากเค้าอันสำคัญ คือ ฉันทะในสิ่งนั้นๆ ให้ได้ก่อนอื่นเถิด ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๕
แสวงหา ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๕
คุณค่าสูงสุด ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๕
ละนิวรณ์ ผู้มีฌาน ย่อมเป็นจิตที่จะสอดส่องอะไรก็สะอาด จะตรวจตราจะรับสัมผัส ก็จะตรวจตราธัมมวิจัย ในสิ่งที่จะพลัดเข้ามาเป็นกิเลสได้ชัด จะได้หัดขจัดอีกเป็นปัจจุบันธรรมเสมอๆ ฌานย่อมเป็นฐานที่จะไปสู่วิมุติ ในขณะที่มีฌาน ผู้นั้นก็คือผู้มีวิมุติลำลอง เป็นผู้ที่ได้ทั้งอาศัยเป็นอยู่สุข ได้ทั้งเป็นผู้ได้ เป็นเครื่องมือที่จะจัดการ เข้าไปสู่วิมุติอย่างสำคัญ ผู้ใดยังไม่ได้ จึงพึงทำ จงรู้อาการของกาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ให้ชัดจริง และรู้วิธีทำออก ใน ๕ สภาพนี้ให้จริง และทำให้ได้อยู่เสมอๆจริงๆ ผู้มีองค์ฌาน และมีการปฏิบัติต่อ เพื่อขจัดอยู่ในปัจจุบันทุกปัจจุบัน นั่นคือ การปฏิบัติธรรมด้วยมรรคองค์ ๘ หรือ สติปัฏฐาน ๔ อย่างถูกต้อง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ สมณะโพธิรักษ์
|