ธรรมปัจเวกขณ์ สิ่งที่ลึกซึ้งที่เราเอง เราได้รู้ของหยาบมาแล้ว แต่ของละเอียดหรือลึกซึ้ง ในฐานสูงขึ้น คือ ฐานมานะ ฐานมานะ เป็นเรื่องละเอียด เป็นเรื่องตัวตน ที่ใกล้ที่ชิดตน มันอยู่ข้างใน มันอยู่ในตัวตนจริงๆ อย่างกาม มันยังมีของ สัมผัสข้างนอก ยังพอมีของ ที่เกี่ยวที่เกาะ แต่ตัวเราเองนั้น เราดูตัวออกยากมาก เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเรา ได้ระวังสังวรกัน ให้หนัก เราจะสมานสามัคคี เป็นกำลังอันผนึกแน่น ได้ดีก็เพราะ เราละมานะ กิเลส รู้จักการยืดหยุ่น ประมาณกัน รู้จักมัตตัญญุตา การกำหนดประมาณ เราจะแรงไป เราจะเบาไป หรือ ว่าเราจะขนาดไหน เราจะต้องฝึก ต้องลอง ต้องพยายามรู้ขนาด รู้กำหนด แล้วเราก็ต้องแก้ไข ปรับปรุงกัน ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่น เอาเด็ดเอาเดี่ยว เสียเกินการไป แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะเป็นคนโละเละ โลเล ไอ้ที่แน่แน่น เด็ดเดี่ยว ควรจะเป็นได้เป็นจริง ยืนยันก็ไม่มีตัวยืนยัน ก็เลยกลายเป็นเละๆ เลอะๆ เหลวๆ ความตามตัวมันไม่มีกันอยู่ เช่นนี้แหละ มันจึงเป็นเรื่องลำบาก ที่เราจะต้องประสาน หามัชฌิมา หรือ หาความพอเหมาะ พอดี เป็นสัมมา ได้ยากมาก แต่เราก็จะต้องกระทำ ว่าขนาดแข็งแรงขนาดนี้ เป็นสภาพแข็งแรง ไม่ใช่แข็งกระด้างได้ผล อย่างนี้เป็นสภาพอ่อนโยน ไม่ใช่ สภาพอ่อนแอได้ผล เราก็จะต้อง หาจุดที่แข็งแรงอ่อนโยน จุดที่มันเลยไป มันเป็นแข็งกระด้าง จุดที่มันอ่อนไป มันเป็นอ่อนแอ นี่ใช้ภาษา ใช้คำ มาเทียบเคียงให้ฟัง โดยสภาพธรรม มันก็จะมีการมากไป น้อยไป อยู่อย่างนี้จริงๆ เพราะฉะนั้น ตัวสภาวะที่ลงตัวแน่แท้ ที่เราจะยืดหยุ่น ที่เราจะอนุโลมบ้าง ที่เราจะยืนหยัด แข็งแรง ยืนหยัด ไม่อ่อนแอ เราก็จะมีอยู่ด้วย อย่างแท้จริง สภาพที่ความพอดี จึงไม่ตายตัว แน่แท้ ขอให้ เราได้ประมาณ รู้จักกาละเทศะ สิ่งประกอบเป็นตัวเราด้วย เป็นตัวบุคคลอื่นด้วย เป็นสภาพอื่นด้วย ประสม ประสานกัน ให้ดูพอเหมาะ พอเจาะ แม้แต่ในเนื้อในของเรา ซึ่งมีทั้ง ผู้ที่ก็เรียนรู้ด้วยกัน เข้าใจด้วยกัน ก็พยายาม ที่จะทำให้พอดี อยู่ด้วยกัน ก็เป็นไปได้ ด้วยดีอยู่แล้ว เราเองก็ได้พยายาม พิจารณา ไตร่ตรอง ฝึกหัด อบรมอยู่แล้ว ทั้ง ๒ ส่วน ทั้ง ๒ ด้าน ทั้งตัวผู้อื่น และตัวเรา ก็มีความรู้ มีเจตนา ที่จะฝึกปรือกัน อยู่ขนาดนี้ มันยังยากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ข้างนอกที่เขาไม่ได้ศึกษา เขาไม่ได้คิดอ่าน ที่จะต้อง มาฝึกหัด อบรม ลดหย่อน ยอม หรือว่า สามารถที่จะรู้ เข้าใจในส่วนที่มันควร เขายืนหยัดยืนยัน คืออะไร เขาก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ข้างนอกนั้น ยิ่งยาก เราจะต้องทำบ้าง ไม่ให้แน่นแฟ้น มีแรงมาก เราจึงจะไปยืนหยัดได้ ถ้าเราไม่แข็งแรงมาก เราไปยืนหยัดไม่ได้ เขาล้มเราได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้น เราจะยืนหยัดได้ เพราะเรามีแรง เรามีฤทธิ์ เรามีสิ่งที่เขาจำนน มีสิ่งที่ยืนยันแท้ มีสิ่งที่เป็นจริง จนเขาเห็นแจ้งได้ มีทั้งมวล มีทั้งขนาด มีทั้งลักษณะ ที่มันเด่นชัด ที่มันจริงจัง ที่มันขอยืนยันว่า นี่มันถูกต้อง ถ้าเรามีอันนั้นจริง เราก็สามารถไปรอด ถ้าเราไม่มีอันนั้น เราไม่รอด เพราะฉะนั้น ความรู้ซ้อน เป็นสภาพ หมุนรอบเชิงซ้อน เป็น คัมภีรา วภาโส นั้นก็คือ เราจะต้องปรับปรุงตน เมื่อปรับปรุงตนแล้ว มันจะเกิดฤทธิ์ เกิดแรงไปเอง เกิดจริงๆ มันพยายามจะทำฝ่ายใน หรือส่วนในของเรา เรื่องของมานะทิฏฐิ หรือความยึดตัวยึดตน เห็นแก่ตัวแก่ตน แล้วยังแข็งกระด้าง ยังเป็นไปไม่จริง ยังกระโด๊ก กระเด๊ก เนียนเข้าหากัน เป็นไปด้วยดี โน้มน้อมเข้าหากันบ้าง ส่วนอย่างนี้ มันยังขาดอยู่ ขอให้พวกเรา ได้พิจารณา และ ประพฤติปฏิบัติ อบรมส่วนนี้ ให้เข้าเนียนสนิท มันเนียนสนิท ได้เท่าไรๆ เรายิ่งมี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพที่ดี ยิ่งขึ้นๆ เท่านั้น จุดนี้เป็นจุดบอด หรือเป็นจุดที่เรา ยังไม่ได้พยายามกัน อย่างเอาจริง เอาจังกัน เราได้แต่ปล่อยปละ ละเลย เพราะฉะนั้น คนไหน ที่มีมานะทิฏฐิ มีอะไรแข็งกระด้าง อะไรต่ออะไร อยู่มากมาย เราก็ไม่ได้ปรับ ได้ปรุง ขอให้เราได้สอดส่อง และ ลดละ อ่านอารมณ์ อ่านจิต ที่มันยอมได้ ยอมเป็น หรือว่ามันจำยอม ไปอย่างนั้นเอง เอาให้แท้ เราจะได้หมดทุกข์ ทางปรมัตถ์ จิตใจของเราก็สบาย แม้เราจะน้อม คนนั้น แม้จะเป็นเด็ก เป็นเล็กกว่าเรา จะเป็นคนที่ไม่ได้เก่ง เท่าเราหรอก แต่ถ้าเผื่อว่า เราจะต้องเคารพ นอบน้อม ยกย่อง ชูเชิด เราก็ทำด้วยจริงใจ ส่วนดียกออกมา ส่วนไม่ดีของเขา เราก็ปล่อย วางไว้ ถ้าไม่จำเป็นจะต้องไปโชว์ ไปอวดไปอ้าง หรือ ไปเอามา เป็นหลักฐาน ที่จะใช้ประโยชน์ เราก็ทำให้ได้ ตามขั้นตามตอน ก็ขอกำชับกำชาเรื่องมานะทิฏฐิ จะทำให้เราเกิด สมานอัตตา จะทำให้เรา เข้าแก่นเข้าเนื้อ พิสูจน์เถิดว่า เมื่อมัน สมานอัตตา เข้าแก่นเข้าเนื้อแล้ว มันจะมีฤทธิ์ ได้ทันที ตัวเราเอง ก็พิสูจน์ได้ว่า ตัวเรา สบายใจ พอเราลด เราละ เราปล่อย เราวาง แล้วเราทำอะไร ก็ดูเรียบร้อย งดงาม เป็นไปได้แล้ว เราก็สบายใจ ฤทธิ์แรง ก็จะเกิดออกไปข้างนอก อย่างแท้จริง ก็ขอกำชับโดยจุดนี้ กันอีกครั้งหนึ่ง แต่เพียง เท่านี้ (สาธุ). /
|