007 ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖

ประโยชน์ ๒ ส่วน ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน

การมีชีวิตอยู่กับสังคม เราก็จะต้องรู้กาโยหรือกาย สิ่งแวดล้อม ที่ประชุมอยู่ แม้แต่ในระยะใกล้ หรือระยะไกล เราก็จะต้องมีปฏิภาณ หรือมีปัญญา ที่จะรู้พอสมควร เพื่อเราจะได้ป้องกันตน เพื่อเราจะได้รู้ว่า สิ่งนี้เราควรรับ หรือเราไม่ควรรับ การรู้และการรับมายึดถือต่างกัน เรารู้แล้ว เราไม่รับ เมื่อเรารู้แล้วว่า อันนี้เราไม่สมควรรับ เราได้ใช้ปัญญา มาวิเคราะห์ตัดสินว่า สิ่งนี้เราไม่เกี่ยวข้อง เราจะได้วางตนถูกว่า เราจะไม่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้เราควรเกี่ยวข้อง เราก็จะได้วางตนถูกว่า สิ่งนี้ต้องเกี่ยวข้อง ดูเหตุการณ์ต่างๆ ดูทั้งตนและผู้อื่น ที่เราจะเป็นไปได้ ถ้าเรามีฤทธิ์แรง สามารถพอที่จะช่วยผู้อื่นได้ เราก็จะช่วย อันนี้ ไม่ใช่ตายตัว

ผู้ที่มีความสามารถ สามารถจะเอื้อมไปถึง แม้แต่ที่ตกอยู่ในนรก อยู่ในหลุมโลกโลกีย์ อันหนักหน่วง แต่ผู้ที่มีฤทธิ์มาก ก็สามารถที่จะเอื้อมตัว ไปเกี่ยวข้อง และสามารถที่จะดึงขึ้นมาได้ ช่วยเขาเข้ามาได้

และในสถานการณ์ของ เหตุการณ์บ้านเมือง เหตุการณ์ของสังคม เหตุการณ์ของประชาชน ในระดับนั้น เวลานั้น มันรุนแรง มันต้องการฤทธิ์ ต้องการแรง ต้องการผู้รู้ เข้าไปร่วมตัดสิน เข้าไปร่วมทำกิจด้วย เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็ไปตัดสิน เมื่อประชาชนทะเลาะกัน อย่างใหญ่หลวง เป็นเรื่องของการทะเลาะกัน ระดับหมู่ชนใหญ่ทีเดียว เป็นเรื่องการเมือง พระพุทธเจ้า ก็ต้องเข้าไปตัดสิน เมื่อเหตุการณ์ แวดวงนั้น สมควร เพราะเป็นความจำเป็นน่ะ แต่ท่านจะทำ ท่านก็ต้องรู้ตนว่า สมควรเกี่ยวข้องหรือไม่ และ จะมีผลดีตามควรหรือไม่ ท่านก็ทำตามหน้าที่ ตามความเหมาะสม มีอัตตัญญุตา มีการประมาณตน มีการประมาณหมู่ มีการประมาณบุคคล เพราะฉะนั้น ทุกคนก็สามารถที่จะศึกษา

ถ้าอันนี้เรา แม้แต่อย่าว่าแต่เราเอง เข้าไปร่วมตัดสินเลย แม้แต่เราแค่ ไปรับสัมผัส เราก็อ่อนแอแล้ว เราก็ไม่รอดแล้ว เราก็ป้อแป้แล้ว เราไปไม่รอด เราต้องติด หรือเราต้องผลัก ต้องดูด อะไรรุนแรง เราก็ต้องรู้ตัวว่า เราเอง เราก็อย่าเพิ่ง หรือบางที เราต้องรู้ว่า เราเองเรานี่ ผลักเสียจน เราไม่เคย ที่จะทำให้เป็น โลกุตรจิตเลย ได้แต่ผลักๆ แบบชนิดหนีโลก เราก็จะต้องสัมผัสดูบ้าง หัดเรียนรู้ว่า ขณะนี้ เรามีอินทรีย์พละพอหรือไม่ ที่เราจะสัมผัสสิ่งนี้แล้ว เราก็ไม่หวั่นไหว เราไม่เกรงกลัว เราจะไม่เกรงกลัว แล้วเรารู้ตนอีกว่า เราสามารถ อุ้มชูเขาได้หรือไม่ เราจะช่วยเขาได้หรือไม่ นี่เขาทุกข์ร้อนนะ เขาลำบากนะ เขาจมอยู่ในนรก อยู่ในโลกีย์ อยู่ในโลก ที่น่าสงสารน่ะ เราจะช่วยได้หรือไม่ ก็ดูตน ถ้าเราพอช่วยได้ เราสัมผัส ก็สามารถทนได้ และเอื้อมช่วยเขาได้ เราก็ทำตามที่พอเป็นไป อย่างนี้เป็นเรื่อง มโนธรรมสำนึก เป็นเรื่องของจิตของมนุษย์ เป็นเรื่องของจิตของอริยชาติ เป็นเรื่องของจิต ของผู้ที่เป็นอริยชนแท้ ที่จะต้องรู้ ความเป็นจริง แห่งความประชุม เรียกว่า กาโย หรือ กาย

เราก็ต้องดู อย่างใจตรง ใจเที่ยง เราต้องมีสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เพื่อที่จะประมาณ เพื่อที่จะพิจารณา ทั้งคนและสิ่งแวดล้อม ทั้งเหตุการณ์ ทั้งเวลา ทั้งอะไรต่ออะไรทุกอย่าง ที่จะคำนวณประมาณว่า อันนี้สมควรหรือไม่ ที่จะเป็นไป และเราจะต้องเกี่ยวข้อง อะไรไม่น่าเกี่ยวข้อง เราได้พิจารณาตัดสินแล้ว เราก็วางอยู่ อะไรที่น่าเกี่ยวข้อง หรือว่าควรเกี่ยวข้องแล้ว เราก็ต้องเกี่ยวข้อง หรือบางอย่าง เราไม่อยากเกี่ยวข้องเลย แต่เราจำนน มันต้องเกี่ยวข้อง เพราะเราตกอยู่ ในสถานที่อย่างนี้ กาละอย่างนี้ สิ่งแวดล้อมอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ จำนน เราก็จะต้องตั้งใจอย่างแข็งแรง เพื่อที่จะสู้สิ่งนั้น อย่างอาจหาญชาญกล้า และไม่หลงไม่เลอะ มีสติ และมีกำลังที่เต็มที่ ที่เราจะต้องทำให้ดีที่สุด ที่จะดีได้ เหตุการณ์อย่างนั้นก็จะเกิดขึ้น สำหรับคน บางครั้งบางคราวแน่นอน นี่เป็นเรื่องของการรู้รอบ การรู้ทั่ว และเราเอง ก็มีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อยู่อย่างถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของ ศาสนาพระพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น การรู้หรือการรับ จึงจะต้องทั้งพิจารณาแล้ว ก็จะทั้งรู้ว่า การจะปล่อยหรือจะถือ การถือนี่ไม่ใช่ว่า การถืออย่างยึดมั่นถือมั่น แต่เป็นการอาศัย เป็นการถือ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นพหุชนะหิตายะ เป็นศาสนา ที่อยู่กับสังคม อยู่กับมวลมนุษยชาติ ตามหน้าที่ของเรา คนที่เป็นสัตวโลก

เราจึงจะต้องมีความรู้อย่างนี้ แล้วก็ฝึกไป ไม่ใช่เราจะรู้ไปทีเดียว วันเดียว จะรู้พรวดพราดได้เลย ไม่ได้ เราจะต้องค่อยๆศึกษา ค่อยๆรู้ ค่อยๆฝึกปรือ ค่อยๆพิสูจน์ เราจึงจะเป็นผู้รู้ว่า เป็นผู้รับ หรือว่าเป็นผู้ปล่อย อย่างที่เรียกว่า เรารับนี่ เราต้องมีประโยชน์แก่เขา ไม่นะ เราปล่อยก็เพราะว่า เราเอง เราต้องเป็น ประโยชน์ตน การปล่อยเป็นประโยชน์ตน การรับเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้อื่น เป็นประโยชน์ท่าน เพราะฉะนั้น การกระทำให้ประโยชน์เกิด ๒ ส่วน เป็นอุภโตภาค อยู่ก็มีประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านนั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่รู้ตนรู้ท่าน อย่างสมเหมาะสมควร และรู้องค์ประชุม องค์ประกอบ กาลเวลา ฐานะเทศะ อะไรทุกอย่าง จะต้องรู้จริงๆ เราจึงจะเป็นผู้ที่มีประโยชน์ ทั้งตนและท่าน อย่างสอดคล้อง ไปด้วยกันได้ดีอย่างที่สุด

นี่ก็ขอให้พวกเรา ได้เข้าใจอย่างละเอียด เรียกว่า เข้าใจให้ถูกเป้าประเด็น ให้ดีๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว กลายเป็นการปล่อยหนี โดยที่เราเอง เราก็ไม่แข็งแรง อยู่ตลอดนิรันดร์น่ะ เสร็จแล้ว เราก็กลายเป็นอีกอันหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าร่องเข้ารอย ของพระพุทธเจ้า แต่ก็อย่าห่าม อย่าเหิม อย่าประมาท อย่าอวดดี ถ้าผู้ใดห่ามเหิม ประมาท อวดดี หรือมีความสุดโต่ง ไปในทางที่เรียกว่า ตั้งหน้าเข้าสู้ โดยที่ไม่ประมาณอะไรเลย ไม่รู้จักปล่อยจักวาง ไม่รู้จักประมาณน่ะ ที่สมควรหรือไม่สมควร อย่างแท้จริง เราก็จะกลายเป็นแพ้พ่าย เรียกว่า เลยเถิดไปอีก โต่งไปอีกฝั่งหนึ่ง เช่นเดียวกัน ขอให้คำนวณอย่างละเอียดลออ รู้ทุกมุมทุกด้าน ให้สมส่วน แล้วเราก็จะได้ปฏิบัติตน อย่างถูกสัมมาทิฏฐิ เป็นประโยชน์ ตามมรรคองค์ ๘ ที่เป็นทางปฏิบัติน่ะ แล้วก็รู้ฐานะแห่งตน อย่างแท้จริง เดินไปอย่างเร็ว เพราะว่ามันครบพร้อม เป็นสัมมาทุกๆอย่าง ในอริยมรรคองค์ ๘ เป็นสัมมา ครบพร้อม

เราจึงจะเป็น สุขาปฏิปทา และ ขิปปาภิญญา คือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตึงตัว พอปานกลางนะ อย่างพอดี สบายๆ แต่ไม่ใช่หย่อนยาน แล้วเราก็จะได้ปฏิบัติได้ผลเร็ว ที่เรียกว่า ขิปปาภิญญา ทุกคน

สาธุ!.

*****

ธรรมปัจเวกขณ์ ๒๕๒๖