ธรรมอันเป็นที่อยู่ของพระ หน้า ๑
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ที่พุทธสถานสันติอโศก

ผู้รักษาใจแต่อย่างเดียว คือสติ เป็นผู้ที่รักษาจุดสำคัญ และเป็นผู้ที่ ใช้สติ มีสติ รักษาใจ รักษาจริงๆโดยเฉพาะรักษาให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส ไม่มีวิปปฏิสารในใจ ไม่ว่าจะเป็น อย่างละเอียดปานใด เราก็จะมีสติมี พิจารณาสอดส่องในใจ ทำให้เป็นผู้ที่เบิกบาน ร่าเริงแจ่มใส อยู่เสมอๆ ผู้นั้นก็ ชื่อว่า เป็นผู้มีสุขหรือเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรม โดยการรักษาใจ แต่อย่างเดียว ด้วยสติอยู่

นโม...(๓ ครั้ง)


เรามาเรียนกันต่อ การศึกษาการเรียนอย่างนี้ ถ้าเผื่อว่าผู้ใดมีมานะ มีการยังมีตัวตน ยังถือตัว ถือตน เรียนไปๆก็ฟังไปก็ได้แต่รู้ และมันก็ไม่อยากจะทำอะไร เพราะว่ามันถือตัวตน ถ้าผู้ใด ที่ไม่ถือตัวตน ก็จะเกิดอาการ ปฏิ โดยเฉพาะสุดท้ายไม่ใช่ ปฏิเสวนา คือการฝึกตน อยู่เท่านั้น แต่จะถึงขั้นปฏินิสสัคคะ คือสลัดคืนได้ทันที เปลี่ยนตัวได้ไว กลับได้ทันที เพราะมันไม่มีอะไร ต้านไว้ มันไม่มีอะไรดันไว้ ทีนี้จิตของผู้ที่มีมานะมาก ฟังธรรมนี่ฟังรู้ดี รู้ดี และยิ่งอยู่กับหมู่มากๆ เห็นหมู่มากๆ เราก็ปรับปรุงนะ

บางคนเป็นพวกปฏินิสสัคคะอย่างที่ว่า คือพอฟังรู้ อุ๊ย กลับเลย บอกว่าอย่างนี้ไม่ดี อย่าทำเลย ไปทำอย่างนี้ แล้วก็ทำจนเปลี่ยนมาให้เห็นๆเลย คนที่มีมานะนี่ เห็นคนเปลี่ยนทันทีปั๊บอย่างนั้น หมั่นไส้เลย ไอ้นี่หัวอ่อน ไอ้นี้แอ๊ค หมั่นไสั นี่พูดปั๊บเปลี่ยนเลย นี่ฟังดีๆ เป็นลักษณะจริง ของมนุษย์ คนไหนมี คนนั้นมีน่ะ บอกให้ ก็เขาเปลี่ยนได้ทันที มันดีน่ะ ฟังธรรมแล้วมันชัด ฟังธรรมแล้วมันจริงๆ ทั้งๆที่เขาจะเกเร เขาจะเลอะเทอะ เขาจะด่างพร้อย หรือ ว่าเขาจะไม่ดี ไม่งาม ตามที่ได้รับรู้ทันทีนี่ เสร็จแล้วเขาก็ปรับปรุงเลยทันที เห็นเลยว่ามัน..

ถ้าคนที่ปฏินิสัคคคะได้นี่นะ เป็นคนที่สลัดคืน กลับเปลี่ยน เปลี่ยนกลับจาก ที่มันเร็วมันมากน่ะ ปรับเปลี่ยนได้โดยจริงๆ แล้วก็มีอินทรีย์มีพละด้วย มีแรงใจมีแรงอะไรฝืน แล้วบางที มันไม่ฝืนหรอก มันเปลี่ยนได้เลยทันที มันเบา มันง่าย มันมีอินทรีย์พละจริงๆ ศรัทธาเต็มเป็น ศรัทธินทรีย์ มีพร้อม สตินทรีย์ ตัวเองรู้ตัวดี ปรับทำทันที สมาธินทรีย์แข็งตั้งมั่นได้เลย เพราะปัญญินทรีย์ก็มันได้ อย่างเจ๋งชัดเหลือเกิน มันมีน้ำหนักพร้อม เป็นอินทรีย์ เป็นพละ สับเปลี่ยนปรับเลย

ทีนี้คนที่จะชี้ให้ฟัง คนที่มีมานะนี่ แม้ตัวจะมีปัญญาดี รู้ดีอย่างไร พอเห็นคน เห็นเพื่อน ยิ่งอยู่กับเพื่อนมากๆ หลายๆคน เพื่อนบางคนเป็นอย่างที่กล่าว ยิ่งหมั่นไส้ ยิ่งตัวเองยิ่งไม่ ฉันไม่ทำเรื่องอะไร โง่ เป็นทาส ซื่อ มันจะเห็นได้ชัดเลยว่าไอ้มานะมันเลวร้ายจริงๆ ตัวมานะนี่ เลวร้ายมาก ไม่เปลี่ยนไม่ทำน่ะ ตีกลับอีก จะย้อนแย้ง จะค้านอะไร แข็งดื้อกระด้างลงไป เป็นถัมภะ สารัมภะ ดื้อ เย่อหยิ่ง อะไรต่ออะไรลงไปก็ยิ่งเป็นมานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ จะเห็นได้ว่า มันเข้าล็อคของกิเลส อุปกิเลส ของพระพุทธเจ้าอย่างเจ๋งชัดที่สุด อย่างชัดที่สุด อย่างชัดที่สุด อย่างชัดที่สุดเลย

อาตมาเรียนรู้มานะจากพวกเรา ไม่ได้เอามาจากตำรานะ ที่เอามาพูดซ้อนพูดซ้ำ พูดอะไรไว้นี่ เพราะเห็นจริงเรียนจากพวกเรานี่ เออนะสอน หมายให้ดี ยิ่งกลับเลวลงร้ายไปอีกด้วยกิเลส แล้วก็เห็นเข้าล็อคของพระพุทธเจ้า อุปกิเลส ๑๖ นี่ อาตมาสอนมา พยายามแนะนำมา อธิบายมา โอ้โฮ เห็นมันชัดแสนชัดที่สุดเลย แล้วมันมีหลายเหลี่ยม หลายวิธีการ หลายเล่ห์ หลายเชิง หลายอันมาก

ถึงได้เห็นว่ามานะสังโยชน์นี่เป็นตัวร้ายแรง เป็นตัวยิ่งใหญ่ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด แม้จะได้ดิบ ได้ดี โดยได้สังโยชน์ต่ำมาแล้ว พอประมาณหรือมากหรือหมด พ้นสังโยชน์ต่ำอย่างหมดแล้ว ก็ตาม ก็ยังเห็นอยู่ในลีลาของมานะสังโยชน์ ในทางสังโยชน์สูงนี่ ยังมากเลย ก็มันมีเชิงแปลกๆ เชิง อาตมาก็พูดเสมอ แล้วก็ไม่เอาตัวภาษาบัญญัติพวกของพระพุทธเจ้ามากำกับบ้าง โดยบอกไปตรงๆ อธิบายเป็นภาษาไทยๆไปพูดกันให้รู้ตัว ถ้าผู้ที่ฟังธรรมเห็นว่าเป็นธรรมก็แก้ ก็กลับ ก็เปลี่ยนแปลง ก็ปรับปรุงน่ะ มันก็พอๆกับคนที่โง่ๆ เชื่องๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องก็ไม่เปลี่ยนแปลง

มันจะแรงยิ่งกว่านั้นตรงที่ว่า ผู้มีมานะ ผู้โง่ๆเชื่องๆ มันก็ไม่รู้จริงๆ มันซื่อ มันก็เลยไม่รู้ จะเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างไร พูดไปฟังไป มันก็ไม่รู้อะไรดี อะไรชั่ว จะเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างไร มันยิ่งน่าสงสาร ทีนี้ผู้ที่มีมานะนี่รู้แสนรู้ เสร็จแล้วตอกลิ่ม ตอกน้ำหนักให้ตัวเอง ตีกลับ ย้อนกลับไปอีก มันเลย เลยเถิดไปอีกฝั่งหนึ่ง แทนที่จะห่างไกลสวรรค์อยู่สัก ๑๐๐ โยชน์ พอยิ่งมีน้ำหนัก อย่างนี้ปั๊บห่างไปอีก ๑๐๐ โยชน์ ไกลออกไปอีก ๑๐๐ โยชน์ ถ้าอย่างผู้ซื่อนี้มัน ๑๐๐ โยชน์ มันไม่รู้ มันเซ่อ มันก็ยังห่างอยู่ ๑๐๐ โยชน์เท่าเดิม ส่วนผู้ที่รู้ แสนรู้นี่นะ มันตีกลับไป ตอกแรงนี่ แทนที่จะห่าง ๑๐๐ โยชน์อยู่แล้ว พับอีกทีหนึ่งนี่ มีภาวะต่อต้าน ห่างไปอีก ๑๐๐ โยชน์ เป็น ๒๐๐ โยชน์เลยนี่มันซวยอย่างนี้ หรือมันแน่นเข้าไป จะว่ามันห่าง ออกไป หรือจะว่า มันแน่นเข้าไป ก็เป็นเชิงความหมาย เป็นเชิงความหมายคือ หนักยิ่งขึ้นนี่ มานะมันร้ายแรง กับสายเจโตตรงนี้

เพราะฉะนั้น ยิ่งฟังธรรมมันเกิดปัญญา ยิ่งผู้มีปัญญาฟังธรรมนี่ ระวังมานะตัวนี้ให้มากๆ ระวังมันเกิด โดยที่มันไม่รู้ตัวหรอก ผู้ที่มีกิเลสมันไม่รู้ตัว ผู้ที่รู้ตัวแสดงว่าไม่มีกิเลส เรารู้ตัวแล้ว ก็ปรับปรุงได้ ก็ยิ่งไม่มีกิเลส ก็ยิ่งเป็นผู้ที่เบาบาง เป็นผู้ที่ว่าตัดง่ายเป็นผู้ที่มีมุทุ จิตเชื่อง จิตอ่อนโยน จิตอ่อนละเอียด จิตแววไว ปรับปรุงน่ะทันที เหมาะแม้แต่การปฏิบัติทำงาน งานการ งานปฏิบัติธรรม แม้แต่การงานทางอะไรอยู่ด้วยกัน มันก็ไปด้วยกันหมด มันสอดคล้องทั้งธรรมะ ทั้งของจริงที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

มันก็เป็นไปด้วยมรรคองค์ ๘ พร้อมพรั่งเลย ทั้งคิดทั้งพูดจา ทั้งการงาน อาชีพ ความพยายาม สติมันมีพร้อมแล้วมันลงตัวสมบูรณ์ ชีวิตของคนเราก็พระพุทธเจ้า ท่านสิริรวมมา ตั้งแต่เป็น ทฤษฎี มรรคองค์ ๘ แล้วมันอยู่ในนี้ทั้งหมด อยู่ในมรรคองค์ ๘ นี่ทั้งหมด

ถึงบอกว่าพระพุทธเจ้านี่ยอดที่มีพระปัญญาธิคุณสูงสุดจริงๆเลยเข้าใจก็อย่าง โอ้โฮ ทะลุโลกจริ่งๆ และก็ย่นย่อลงมาได้อย่าง เหมาะเหม็งที่สุด พระพุทธเจ้าท่านยืนยันชัดเจน ในปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าไม่เกิด มรรคองค์ ๘ ไม่เกิด พระพุทธเจ้าเกิดมรรคองค์ ๘ จึงเกิด ลัทธิอื่น ว่างจากมรรคองค์ ๘ มีลัทธิของท่านเท่านั้นที่มีพุทธะ มีมรรคองค์ ๘ ลัทธิที่ไม่มี มรรคองค์ ๘ ว่างจากการรู้ทั่วถึง ลัทธิอื่นก็เป็นลัทธิอื่น ว่างจากผู้รู้ทั่วถึง ท่านท้าทายถึงขนาดนี้ ไม่มีมรรคองค์ ๘ ไม่รู้ทั่วถึง ปฏิบัติให้ตายอย่างไรก็ไม่รู้ทั่วถึง เพราะฉะนั้น ฤาษี ชีไพร ที่ไม่ได้ปฏิบัติ ตามทางเดินทางตามมรรคองค์ ๘ นี่ ไม่รู้ทั่วถึง

ถ้าคุณฟังธรรมะฟังไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนเลยว่า ที่มันรู้ทั่วถึง เพราะอะไร เพราะว่าปฏิบัติทุกมุมทุกเหลี่ยม ทั้งคิดทั้งพูดทั้งการงานทั้งอยู่กับโลก มีอาชีพ มีอะไรต่ออะไร แล้วมันก็มีรายละเอียดอยู่กับวงการมนุษย์ มันไม่ได้ไปอยู่ในสิ่งที่มันไม่มีสัมผัส มันไม่รู้เรื่อง สังขารธรรม มันกลับรู้เรื่องสังขารธรรม แล้วมีอำนาจจิตเหนือสังขารธรรม มีทั้งปัญญา มีทั้งเจโต เป็นอุภโตภาควิมุติ ที่วิมุติก็หมายความว่ามันทำได้แล้ว มันยังทำไม่ได้ มันก็ต้องฝึก ก็มีอยู่ในมรรคองค์ ๘ นั่นเอง

ที่อธิบายกันแล้วกันเล่านี่ ในองค์ธรรมอันอื่นก็เอามาขยายมรรคองค์ ๘ ทั้งนั้นแหละ ขยายให้รู้จักวิธีการ รู้ แม้ ศีล สมาธิ ปัญญา แม้แต่สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็มาขยาย มรรคองค์ ๘ เพราะมรรคองค์ ๘ เป็นหลัก หลักประพฤติ หรือหลักพฤติกรรมมนุษย์ หลักความเป็นมนุษย์อยู่

มีความเห็นด้วยปัญญาที่เห็นนำให้แจ้ง แล้วก็สำรวมสังวรระวัง ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติอยู่ สำรวม สังวรระวัง สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ มีความหมาย มีสติ พยายามก็สั่งสมลง เป็นจิตอันยิ่ง เป็นสมาธิ จนเกิดการเห็นอย่างที่ว่า แล้วปฏิบัติไป เราจะเห็นตัวสภาวธรรม เห็นความเป็นได้ เกิดสัมมาญาณะ เป็นญาณ เป็นปัญญา ไม่ใช่ปัญญาคิดเหมือนตัวสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ปัญญาที่จะไปรับรู้แผนที่ รับรู้ความรู้มาก่อน เหมือนสัมมาทิฏฐิตัวแรก

เพราะฉะนั้นที่เขามาเถียงๆ บางคนเขาเถียงว่าเกิดปัญญาก่อนแล้ว ค่อยศีล ค่อยสมาธิ ไม่เถียง อย่าไปเถียง สัมมาทิฏฐิกับศีลเป็นรุ่งอรุณ สิ่งที่มาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นคือรุ่งอรุณ ฉันใด ศีลอันดี สัมมาทิฏฐิอันดีคืออันนั้น ศีลอันดี สัมมาทิฏฐิอันดี คืออันนั้นก็คือรู้ด้วย ทีนี้เอาศีล กับสัมมาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ศีลกับสัมมาทิฏฐิอันดีมาก่อนอื่น และบางคนก็ เถียงว่า สัมมาทิฏฐิมาก่อนศีล ศีลมาก่อนสัมมาทิฏฐิ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ พร้อมกัน

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม การรู้นี่มันต้องมีประกอบในการทำงาน มีศีลโดยไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันเลอะ มีศีลเราจะปฏิบัติอะไร อย่างไร เข้าใจตัวเราเองว่า เราเอาศีลข้อนี้ เอาหลักการข้อนี้มาปฏิบัติ ความหมายอย่างไร ทำให้มันเข้าใจ มันต้องมีสัมมาทิฏฐิ มันต้องมีตัวรู้ แล้วจะปฏิบัติอย่างไร มันถึงจะไปถึงจิต เป็นอธิจิต ปฏิบัติอย่างไร มันถึงจะขัดเกลา ปฏิบัติอย่างไรมันถึงจะได้ผล มันก็ต้องรู้ มันต้องมีการปฏิบัติโดยเลอะๆเทอะๆ ปฏิบัติโดยดายๆไป มันไม่ค่อยได้เรื่องหรอก มันเป็นสีลัพพตปรามาส พอปฏิบัติแล้วขัดเกลา จนกระทั่งดังกล่าวแล้ว ไปถึงสมาธิ ถึงจะมีสัมมาญาณะ จิตเป็นได้ แม้ค่อยๆจางคลาย ก็ปัญญาตามรู้ นอกจากจางคลายแล้ว เห็นนิโรธเลยดับได้นะ ตั้งมั่นแข็งแรงไม่เปลี่ยนแปลง แล้วทีนี้สมุจเฉท เด็ดขาด ก็มีปัญญารู้ตัว ญาณทัสสนะ หรือ สัมมาญาณะ เป็นตัวรู้ของจริง ปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาคิดนึก ปัญญารับรู้ ปัญญาเล่าเรียนมาทางฟัง ทางปริยัติ ไม่ใช่สุตมยปัญญา ไม่ใช่จินตามยปัญญา แต่เป็นปัญญา ที่เป็นตัวเห็นผล ภาวนามยปัญญาคือเกิดผลแล้วมีปัญญา เห็นการเกิดผล ภาวนามยปัญญา ภาวนะ แปลว่าการเกิดผล มีภาวะ มีสภาวะนั้นแล้วเห็นผลของสภาวะนั้น รู้ ปัญญามันได้รู้ ได้เห็น ได้แจ้ง ได้ชัด ไม่มีของเรา เกิดมามีจริงเห็นจริง เกิดสัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ ก็เป็นการลงตัว สุดท้าย สมบูรณ์

เพราะฉะนั้น เราจะจางคลายมา หรือมันก็เป็นวิมุติ มันก็เป็นวิมุติสุดท้าย สัมมาวิมุติก็คือ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นญาณที่มีอยู่พร้อม เป็นวิมุติอยู่พร้อม มันเห็นวิมุติอย่างนั้นจริง ที่ครบองค์ผล ๒ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ เป็นอุภโตภาควิมุติ เป็นผล ๒ กับสัมมาอริยมรรค องค์ ๘ เราก็มากระทำจริง ปฏิบัติจริง ถ้าผู้ใดมีจิตไม่ต้าน ไม่แข็งกระด้าง ไม่กระด้างกระเดื่อง อะไร เป็นผู้ที่จิตเชื่อง ไม่ใช่เป็นคนที่ดื้อด้านอะไรแล้วง่าย เพราะฉะนั้น การมีจิตเป็นฌาน เป็นมุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต มีลักษณะจริง มีลักษณะจริง เป็นจริงของคน เพราะถ้าเราไม่เข้าใจ สภาวธรรมที่ชัดแจ้ง เราก็ไปนั่งหัดสะกดจิต จิตของเราก็เชื่องขึ้น ควบคุมได้ มันก็อธิบายคล้ายกันเสียด้วย เราก็ควบคุมจิตของเราไป นั่งหลับตาไป มันก็เป็น เหมือนกัน คล้ายกันไปได้ แต่ทีนี้ทางสัมมาสมาธิ หรือ อริโยสัมมาสมาธิ ที่จะเกิดสมาธิ โดยปฏิบัติองค์ ๗ ของมรรค มันก็ต้องไปกินมุทุภูเต อย่างนี้เหมือนกัน มุทุภูเต กัมมนิเย จิตสามารถที่ควบคุมได้ แม้ปฏิบัติด้วยการนึกคิด การพูด การทำงานอาชีพ ความพยายาม สติก็ควบคุม นี่ฟังไปคุณก็สร้างสัมมาทิฏฐิไปเรื่อยๆ เสร็จแล้วเราก็จะได้ปฏิบัติ ตามความเห็น ที่ถูกทาง ถูกต้อง ได้เอา อริยวสสูตร (เล่ม ๒๔ ข้อ ๒๐) มาขยายความ เมื่อวานนี้ก็ได้เริ่มไปแล้ว นะว่า ธรรมเป็นที่อยู่แห่งอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จะอยู่ก็ดี แหม ตรงเป๊ะกับ ของเรา ที่ ทำได้แล้ว ทั้งกำลังทำอยู่ และกำลังพาทำ ก็คืออันนี้ เลยนี่มันสบายมาก เราไปตรงกับ พระพุทธเจ้าเป๊ะ แล้วทั้งๆที่เราก็ยังไม่ได้เห็นเรื่องนี้ หรือยังไมได้ชัดจากอันนี้ ภิกษุพระอริยะ จะมีธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ คือมีเครื่องทรง หรือมีสิ่งรองรับอาศัย เป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ก็จะมีสิ่งอย่างนี้ มีหลักสิบประการนี้เป็นเครื่องวัด นี่ดีเราก็จะได้เข้าใจ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี หรือที่พระอริยะปฏิบัติได้แล้ว อยู่แล้วคือเราทำได้แล้ว กำลังอยู่ก็ดี กำลังทำอยู่ หรือกำลังทรงอยู่ กำลังเป็นอยู่ ตามนั้น มีเครื่องอยู่ก็มีธรรมะกำลังมีธรรมอยู่ มีธรรมได้แล้ว มีธรรมะได้แล้ว กำลังทั้งมีธรรมอยู่ พาสร้างธรรมะ และกำลังอย่างนี้ก็ได้นะ

อันนี้ในนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า พระอริยะอยู่แล้วก็ดี มันได้แล้วนี่ มันอยู่แล้ว กำลังอยู่ก็ดี ท่านใช้คำว่าอยู่ กำลังอยู่อยู่แล้วกำลังอยู่ จะอยู่ก็คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคตเท่านั้น อยู่แล้วเป็น Past Perfect tense มันเป็นสภาพที่มันเป็นสิ่งที่ผ่านแล้วและสมบูรณ์แล้ว อยู่แล้ว กำลังทำอยู่เป็น Continue และเป็นอนาคตก็เป็น Future มันก็เป็น ๓ ลักษณะ ธรรมดาๆน่ะ ทีนี้จะอยู่ต่อไปก็อยู่ สิ่งที่มีแล้ว สิ่งที่กำลังอยู่นี่ มันก็เป็นฐานที่แน่นอน เพราะฉะนั้น อนาคตมันก็ไม่มีปัญหาอะไร เมื่อสิ่งที่อาศัยเป็นสิ่งดี แข็งแรง มั่นคง มันก็ไม่ต้องสงสัย มันย่อมได้แน่นอน ถ้ามีเวลา จบสูตรนี้ จะเอาอีกสูตรหนึ่ง มาอ่านให้ฟัง เป็นสิ่งที่บอกว่า ก็จบแล้ว ไม่ต้องเจตนา ไม่ต้องตั้งใจ ในเจตนาสูตร ไม่ต้องตั้งใจ ไม่ต้องเจตนา ไม่ต้องอะไรไปเลยสบาย และมันจะทรง เป็นสภาพนั้นไป ทีเดียวนะ เอ้า ทวนนิดหน่อยน่ะ

เมื่อผู้ที่เป็นพระอริยะ จะมีธรรมเป็นที่อยู่ เป็นที่อาศัยหรือเป็นที่อยู่ มีธรรมเป็นที่อยู่ ที่อาศัยแห่ง พระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือ จักอยู่ก็ดี มี ๑๐ ประการ ได้อธิบายผ่านไป แล้วว่า อันที่ ๑ เป็นผู้ที่ละองค์ ๕ ได้แล้ว ก็คือละนิวรณ์ เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ก็คือเป็น ผู้ละนิวรณ์ เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะควบคุมได้

แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ใครมีนิวรณ์บ้าง ลองคิดดูซิ ใจของเรามีกามไหม นี่ขณะฟังธรรมอยู่นี่ แหม มันไปหากามเร่งๆเลย หรือไม่เร่าๆล่ะ อย่างอ่อนๆก็ รู้ว่ามันมี ถ้าใครไม่มีก็รู้ว่าไม่มี นี่มันก็เป็น ขณิกสมาธิ อยู่จริงๆ หรือคุณทำได้บ่อยๆ ได้มาก เมื่อไหร่ๆคุณก็ได้ นี่มันไม่ได้ไปถูกกาม อันโรมรันอะไร เป็นอุปจารสมาธิ แม้มันจะไม่แนบแน่น 0แน่วแน่ ปักมั่น เมื่อใดๆ ก็มีจนกระทั่ง ถาวรขนาดนั้นก็ตาม มันได้ขนาดที่ว่า มันได้นะนี่ เมื่อเราตั้งใจมีสติสัมปชัญญะ ควบคุมดูแลแล้ว มันก็ทำได้ มันก็ว่าง จิตปราศจากนิวรณ์ อ่านที่จิตเดี๋ยวนี้น่ะ มันไม่ใช่ว่า มันเรื่องลึกลับ อะไรเกินการ ไม่ใช่ต้องไปนั่งหลับตาตัดทวาร เข้าไปแจ้งถึงจะไปอ่าน ยิ่งอ่านยาก นั่งหลับตาเข้าไป ตัดทวารเข้าไปแล้วไปอ่านใจตัวเรามีกิเลสหรือเปล่า มีกาม มีพยาบาท

สติและสัมปชัญญะในช่วงนั้น ที่จะก่อเกิดปัญญายิ่งยากกว่า นี่เดี๋ยวนี้ตื่นๆ เต็มๆนี่ แต่ เออ นะ นอกจากใครจะหรี่ ใครจะฟุ้งซ่านก็เรื่องของคุณ หรือใครจะถูกกามอะไร พยาบาทอะไร ดึงไปก็ตาม ก็เรื่องของคุณ แต่ถ้าไม่ คุณนั่งอยู่เดี๋ยวนี้น่ะ สติ ร้อย ร้อย ขณะนี้ คุณตรวจซิ อ่านใจตนเอง ฟังไปก็อ่าน มีกามหรือเปล่า มีพยาบาทหรือเปล่า ถ้าคนไหนมีถีนมิทธะ ก็แน่นอนละ มันก็ถีนมิทธะอยู่นั่นแหละ มันก็โง่ๆไป มันก็เชื่องไป

เราเรียนไป เราฝึกตนไปพลาง เรียนไปพลาง เป็นคนที่ไม่มีกิเลสไปพลาง ปฏิเสวนา เสพคุ้นไปพลาง และได้รับปัญญา ได้รับความเสริมหนุนอันแข็งแรงไปเรื่อยๆ มันก็ได้จะเห็น ความทวีผล มันเป็นความทวีผล มันเป็นผลได้ มันก็ได้ ได้ที่ ไม่ได้ถูกผีมันดึงไปเป็นทาสผี บริวารผีลากไปใช้ ลากไปเป็นถีนมิทธะ นั่นก็คือ มันลากไปใช้ในสายถีนมิทธะ ลากไปในกาม มันก็ใช้ลากไปใช้ในกาม หรือแม้พยาบาท

ส่วนอุทธัจจะนั้น มันเป็นส่วนเก็บละเอียดขึ้นไปอีกของกาม บางทีมันก็ฟุ้งอยู่ที่กามพริ้วๆ อยู่ที่พยาบาทพริ้วๆ อุทธัจจะน่ะ หรือมันก็ยังมีเศษรำเลืองๆ ของถีนมิทธะพริ้วๆ เห็นไหมล่ะ เห็นฝอยของถีนมิทธะมั้ยล่ะ บางคน ฟังธรรมนี่พอรู้บ้างแล้วนี่ มีสติพอได้ถึง ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ฟังธรรมพอรู้ แต่ว่าเห็นนี่ยังมีตัวอุทธัจจะของถีนมิทธะ ฟังให้ออกนะ เออ มันมีลีลาของ อุทธัจจะพริ้วๆ มันไม่ได้เป็นสติเต็ม ๑๐๐ มันก็ฟังธรรมพอรู้บ้าง แต่มันก็ไม่ใสเต็มที่ เหมือนเรามีสติเต็ม ๑๐๐ สัมปชัญญะตั้งมั่นเต็ม แล้วก็มีปัญญาอันโปร่ง ฟัง...ก็พูดภาษาไทยๆ ง่ายๆ ไม่ได้พูดอะไรลึกลับอะไร พยายามถ้าอันใดมันยากหน่อย มุมไหนมันยากหน่อย เหลี่ยมไหน มันชักจะยุ่งๆยากๆหน่อย ก็พยายามชี้ที่จะคลี่ให้ตื้น คลี่ให้ง่าย เจตนาอยู่ อย่างนั้นอยู่ทีเดียว มันก็รู้นี่นา ไม่ใช่คนโง่จนเกินการ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อมีสติ สัมปชัญญะ ปัญญาธรรมดาฟังธรรมแล้ว มันได้ทุกวันแหละ ซ้ำซากก็จำ อะไรที่มีใหม่ เป็นอัสสุตัง สุณาติ มันก็เจริญงอกงามขึ้นทุกวันแหละ แม้จะกำลังพูดขณะนี้ ก็เชื่อว่ามีแง่เชิงที่ใหม่แล้ว ใครฟังนี่ แนะนำ แม้แต่ขณะนี้ที่กำลังพูดถึงนิวรณ์นี่ เชื่อว่ามีใหม่ ที่พูดนี่รู้เลยว่า มีอะไรใหม่ขึ้นมา ที่ตัวเองไม่ได้แนะเชิง สำนวนโวหารภาษาใหม่ขึ้นมา แต่ก็ภาษาไทยทุกคำ เชื่อว่ารู้ทุกคำ ที่พูดมา ไม่ใช่ภาษาลึกลับอะไร คนทุกคนในที่นี้โตขนาดนี้ ไม่รู้ภาษาที่พูดนี่ คำไหนไม่รู้ คำนี้แปลไม่ออก ภาษาไทย ช่วยแปลภาษาไทยคำนี้ให้ฟังหน่อย คำไหนไม่รู้ เชื่อว่ารู้ทุกคำ เพราะฉะนั้น เรามาเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรม เป็นผู้ฟังธรรมก็ปฏิบัติธรรม ไปด้วยในตัว ทุกวันๆ นี่พา ปฏิบัติฟังธรรม หรือทำวัตรนี่ปฏิบัติ แต่เผื่อว่าเราเป็นทาสผี แม้แต่นิวรณ์ ๕ เราก็ควบคุมมันไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะเป็นผู้ประกอบไปด้วยการละองค์ ๕ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี่เป็น ฌานทั้ง ๔ ก็คือการระงับนิวรณ์นี่ทำให้ได้ เวลาอื่น ยังพอทำได้ พอเวลามานั่งฟังธรรมนี่ไม่ได้

ก็นี่แหละคือ อาณาปาณสติ การมานั่งนิ่ง ตั้งกายตรงดำรงสติคงมั่น แล้วฟังธรรม โดยการฟังธรรม ไม่ใช่นั่งเฉยๆไปอีก นั่งเฉยๆไปนั่น ยิ่งล่อจรเข้ไปอีก ไม่ต้องฟังธรรมกันเลย นั่งเฉยนั่นล่อไอ้เข้ลงไปอีก คือหมายความว่า มันยิ่งมีทิศทางที่ใกล้สภาพนิ่งไปแล้ว มันถีนมิทธะ จะกินง่ายกว่านั้น เพราะฉะนั้น มีการพูด มีเสียงฟัง มีอะไรต่ออะไร บางทีกระทุ้งกระแทก แหม ถูกกิเลสเราเสียด้วย ปั้งเข้าไป ไอ้หยา บางทีวาบเลย อย่างนี้ด้วยซ้ำไป

ฟังแล้วมันก็มีอะไรต่ออะไรที่เตือน มีอะไรที่ได้รับความรู้สึกที่เกิดผลอยู่ ก็ได้ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น บางอันเรานึกว่าเราไม่มี แต่เราก็รู้ไปฟังตามนี่มันก็เทียบเคียงถึงอดีต เทียบเคียงถึง สัญญา กำหนดระลึกเป็นบุพเพนิวาสสนุสติไปในตัว มันก็ฟังก็เทียบเคียงไป แม้เดี๋ยวนี้ เราเป็นฌาน อ๋อ ปั๊บก็ถูกเลย มันตรงกับที่เราเคยมี แล้วมันมีมากจนรู้สึกว่า เหมือนเดี๋ยวนี้ เรามี แต่ที่จริง เดี๋ยวนี้เรายังไม่มี แต่อันที่จริงเดี๋ยวนี้ เราก็มีเป็นอาสวะอยู่แล้ว มันก็เทียบเคียงเก่า เราพูดไปนี่กระทบ ที่จริงในขณะนี้ โดยเอาขณะของขณะเดี๋ยวนี้ เราเป็นฌาน ในขณะของขณะ ขณะนี้นี่ เราเป็นฌาน แต่พอฟังธรรมไป มันมีบุพเพนิวาสานุสติ เทียบเคียงกับของเก่าเราเคย โอ๊ แหม เรามีบ่อยเสียด้วยซิ จำคนไหนที่มีบ่อย มีมาก มีเสมอ โอ๊ เรายังไม่ปล่อยเลย ยังมีนะ อาการนี้ พูดไปแล้วมันตรง เราก็รู้เลยว่า อ้อ ของเรายังมี หรือพูดไปแล้ว มันไม่มีหรอก แต่จำได้ก็มี ของบางคน แล้วก็รู้ว่า อันนี้เราหมดแล้ว ถึงแม้ไม่หมดก็จะรู้ เมื่อมีอินทรีย์พละ เออ เราหยุด เลิก พอฟังปั๊บ มันก็เลิกได้เลย เมื่อผู้มีอินทรีย์พละ และรู้ชัดแจ้ง ก็ปล่อยเดี๋ยวนี้ จากนี้ไปเราจะไม่มี

นี่เป็นผลของการฟังธรรม มันจะเป็นอย่างนั้น เพราะฌาน มีฌานเป็นพื้นฐาน มีฌานเป็นที่ตั้ง มีฌานเป็น ก่อนอื่นจะเกิดวิชชาทั้ง ๙ วิชชา ๘ นั่นเอง ฌานนี่นับเป็นวิชชาข้อที่ ๑ และมันก็ จะต่อตามไป จะเกิดไปเรื่อยๆ จริงๆ

เพราะฉะนั้น ก็คนก็ต้องพยายามเข้าใจอ่านอาการ อ่านอารมณ์ของเราว่า เรามีมั้ย กาม พยาบาท ถีนมิทธะ ถ้าไม่มีอย่างนี้ก็เป็นฐานพอ พอไปได้แล้ว ได้บ้างแล้ว ถ้ายิ่งกำจัดอุทธัจจะ อุทธัจจะนี่ มันทำให้เรารำคาญ มันทำให้เรากังวล มันทำให้เราถูกดึง ถูกถ่วงไปมาก แสดงว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ไอ้นั่นก็แล้วแต่ความหยาบกร้านหรือความละเอียด ถ้าอุทธัจจะ นิดๆ นิดๆ มันก็ไม่แรง ทำอะไรทำให้เรา กังวล รำคาญ หรือว่าทำให้เราเสียผลในการทำการงาน กัมมนิเย ต่างๆ ไม่ต้องถึงขนาดนั้น เช่นกำลังทำการงานฟังธรรมปฏิบัติธรรม โดยการฟังธรรมนี่ และเราจะบรรลุธรรม ด้วยการฟังธรรมก็ได้

หลักในการบรรลุธรรม ๕ ประการ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ก็เคยเล่าให้ฟังแล้ว ได้แน่นอน เพราะฉะนั้น เราก็ฟังธรรมให้มันบรรลุธรรมไปด้วย เพราะฉะนั้นเราทำการงานขณะนี้ ฟังธรรมนี่ ทำการงาน กัมมนิเยก็เหมาะกับการงาน เพราะจิตของเราขณะนี้ ขณะแห่งขณะของเรา มีฌาน มันก็เหมาะในการทำงาน

งานนี้เป็นการงานขัดเกลาด้วยการฟังธรรม ไม่มีกิเลสแม้แต่เศษอุทธัจจะก็ไม่ก่อกุกกุจจะ อุทธัจจะคือ จิตที่ฟุ้งลอยขึ้นมา มานี่ ที่เรารู้ว่ามันเกิดลอย มันไม่ได้อุทธัจจกุกกุจจะ มันไม่ได้ทำให้เรารำคาญ เรากังวล เราเสียหาย มันไม่ถ่วงดึงอะไรให้เราเลวลง เราก็ได้ผลดี เพราะฉะนั้น กุกกุจจะนี้มีคุณค่า หยาบ กลาง ละเอียดแค่ไหนล่ะ ถ้ามันไม่หยาบหรอก มันเหลือน้อย มันก็เป็นของคุณน้อยๆ ถ้ามันหยาบมันแรงนะ โอ้โฮ รำคาญกังวล ไม่เป็นสมาธิ มันก็ไม่ใส ไม่สะอาด ถ่วงดึงให้เราเองจิตใจมันไม่เต็ม มันก็เป็นจริง เศษอะไรล่ะ เศษกาม เศษพยาบาท เศษถีนมิทธะ ก็ตรวจอ่านอีกฟังให้ดี แล้วมันซ้อนกันอยู่อย่างนี้ จนคุณใสเจ๋งเลย หมดวิจิกิจฉา บอก โอ๊ย จิตใสจิตเป็นฌานเป็นอย่างนี้ ไม่สงสัยเลย หมดวิจิกิจฉา อ้อ จิตอย่างนี้เองนะ ไม่มีกุกกุจจะ ไม่มีการรำคาญ ไม่มีอะไรเลย จิตลอยก็รู้ลอย เป็นตัวอุทธัจจะ จิตที่เป็นจิตลอย ต้องปรับมันให้เรียบราบ ต้องปรับให้มันเสมออีกจนเรียบราย จนจิตดี เกิดจิตที่เกิดขึ้น และก็ตั้งอยู่ รับฟังและก็ดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่รับฟังดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ รับฟังดับไป อย่างมีระบบระเบียบ มีระดับอย่างดี

ผู้ใดละได้ชั่วคราว ละนิวรณ์ ๕ ได้ชั่วคราวก็ดีแล้ว ผู้ใดละได้มากยิ่งดีใหญ่ จะได้ถาวรก็ฝึกไป ฝึกทุกวิธี ที่พาทำทุกเวลานี้ ไม่ใช่อะไรหรอก เราฝึกฌาน ฝึกสมาธิ ฝึกสมาบัติ ที่เขาทำทุกวันนี้ เทศน์ให้ฟังทุกวัน ก็เหมือนกัน ผู้ใดเข้าใจอย่างนี้ ก็จะรู้ว่าได้หมายความว่า ไม่ได้พาคุณปฏิบัติ โถ นั่งทำวัตร พากันทำทุกที แล้วคุณก็ได้ขึ้นมาหรือเปล่าล่ะ มันก็ดีขึ้นมา นอกจากบางคน มันเลวลงเหมือนกัน นับวันก็ยิ่งเสพคุ้นในเรื่องของผี แม้แต่ข้อแรก นิวรณ์ ๕ จะเป็นกาม หรือ พยาบาท หรือ ถีนมิทธะก็แล้วแต่ ก็เสพคุ้นมันอยู่นั่นแหละ อ่อนแออยู่นั่นแหละ เอ๊ มันก็ต้อง หารากเค้า ของตัวเองว่ามันอย่างไร มันติดมันมากนักหนา มันเอร็ดอร่อยนักหรือ มันทำแล้ว มันก็ไม่อร่อย แต่เสร็จแล้วก็ยังทำให้ตัวเองอยู่ เอ้า ก็โง่ใหญ่น่ะซิ อวิชชาตัวนี้ มันทำไม มันถึงมากนัก ก็แก้ไข

ต่อไปอันที่ ๒ ละองค์ ๕ ได้แล้ว อันที่ ๒ ประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ซึ่งเราก็ฟังมา หูแฉะ ถ้ามันฉีกได้ หูก็ฉีกแล้ว ไม่ใช่แฉะธรรมาด ฟังมาหูแฉะหูฉีก สำราวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เป็นผู้รู้รูป ด้วยจักษุ ได้ยินเสียงด้วยหู ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น สัมผัสด้วยกาย แม้แต่ใจ รู้แจ้งธรรมะด้วยใจเองก็ตาม รับมาแล้วไม่ว่าทวารไหน จิตใจของเรา ก็เป็นผู้ที่ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ นี่เป็นตัวไขความของพระพุทธเจ้าว่า ถ้าเกิดอาการจิต ว่า เออ เรารับสัมผัสอะไรแล้วก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นอุเบกขา

อธิบายอุเบกขาให้ฟังแล้ว ไม่ใช่อุเบกขาเฉื่อยอุเบกขาเซ็ง ไม่ใช่ อุเบกขานี่มันเป็นอุเบกขาที่ร่าเริง เบิกบาน เป็นลีลาของพุทธะนะ รู้ อุเบกขา ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ตื่น เบิกบาน แจ่มใส มีเชิงดีเป็นวิชชา ่เรียกว่า รู้ เป็นปามุชชะ นี่ เรียกว่า เบิกบานแจ่มใส นี่เป็นนิวรณ์อีก ๓ ข้อ

นิวรณ์อีก ๓ ข้อ เป็นอวิชชา นี่รู้เป็นปามุชชะ เบิกบาน แจ่มใส ร่าเริง เป็นกุศล นี่เป็นนิวรณ์ ข้อสุดท้าย ข้อที่ ๘ เป็นอุปการะอยู่ กุศลก็คือ เป็นผู้ตื่นอยู่ ผู้ตื่นอยู่ เป็นผู้ที่มีอิทธิบาทอยู่ เป็นผู้ที่เห็นได้เลยว่า เป็นผู้มีกะจิตกะใจ เป็นผู้มีความขยันเพียร เป็นผู้ที่ยินดีอยู่กับโลก กับสังคม ไม่ใช่เป็นคนเหนื่อยเฉื่อย เซ็ง เห็นแล้วมันบอกได้เลย รู้ได้เลยว่า คนไม่ค่อยเกื้อกูล ไม่ค่อยเอาภาระ ไม่ค่อยอะไร

มันไม่มีสมานัตตตา ไม่มีการประสานสมาน ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันอยู่แต่เหมือน มันระแหง มันเหมือนเม็ดอะไรอันหนึ่งอยู่กับเขา แต่มันกระเด็นๆอยู่กับเขา มันไม่กลืน มันไม่ประสาน มันไม่เชื่อมต่อ มันเห็นได้นี่อธิบายด้วยภาษาอย่างนี้ คุณฟังดูให้ดี ตัวคนนี้ เห็นเลยว่า ไอ้นี้มันขี้กลากติดอยู่ผิวหนัง ขี้เกลื้อน ก้อนเศษ ขี้ขยะอะไรติด มันก็อยู่ อยู่ด้วย แต่ว่ามันไม่กลืน มันระแหง มันกระเด็นๆ มันกระโดกกระดก กระเด็น กระเด้งๆอะไรอยู่ มันไม่กลืน มันไม่ประสาน มันไม่เหมือนเนื้อเดียวกัน มันไม่เหมือน มันไม่ harmony มันไม่กลมกลืน มันจึงไม่ใช่เอาภาพที่สมบูรณ์ มันจึงไม่เป็นเอโกธัมโม มันจึงไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันไม่เป็น น้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน

จุดมุ่งหมายของศานาก็สอนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดได้รับซับซาบรู้ดี ว่ามันดี มันก็เป็นไป ด้วยง่ายทุกอย่าง จิตใจของเรานี่แหละมันเชื่อง มันเป็นผู้มีฌาน ไม่ดี-ไม่ยินดี ไม่ดีใจ - ไม่เสียใจ และก็เป็น อุเบกขาอันสมบูรณ์ เป็นจิตอันบริสุทธิ์ เป็นจิตอันที่แม้จะปรุง จะคิดเป็น ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ เชื่องง่าย แววไว กัมมัญญา สละสลวยเป็นไปได้ ถูกดัดได้ง่าย ไม่ต้องถูกดัดหรอก แต่เรานี่แหละ เป็นผู้ดัดมัน เป็นผู้ที่นำพามัน

อ้าว มันเป็นอะไร ก็เป็นไปด้วยกันด้วยอย่างดี อย่างพร้อม พรั่งพร้อมกันประชุม พรั่งพร้อมกัน ชุมนุม พรั่งพร้อมกันเป็นกาโย พรั่งพร้อมกันทำ พรั่งพร้อมๆกันเลิก พรั่งพร้อมกันขัดเกลา ตัวไหนชัดเกลา ก็ขัดเกลาด้วยเจตนารู้ เจตนาจะขัดเกลา จะย้อนแย้ง จะปรึกษา จะวิเคราะห์ วิจัย แล้วตกลงกัน ตัดสินพั้บ เป็นไปอย่างพรั่งพร้อมดิบดี ตัดสินแล้วหมด ไม่ต้องไปติดยึดอะไร ปล่อย ไอ้ที่ตัดสินแล้ว อะไรที่เราจะปล่อยก็ปล่อยกัน แล้วสบาย แล้วจะเห็นความสามัคคี เป็นพลังสามัคคีเป็นสุข เพราะเรารู้อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ มีการรู้ตื่นอยู่ พร้อมพรั่ง มีกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม ยังประโยชน์ให้ถึงพร้อม

เราอยู่เหนือสังขาร โดยเฉพาะสังขารจิตของเรา เราควบคุมมีวส เป็นฐานของพระอริยะ พระอริยะ มีวสเป็นอำนาจ เป็นฐานอาศัย มีธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ เพราะมีอำนาจ สามารถควบคุมจิตตัวเองได้

การชนะ หรือการปฏิบัติธรรมที่ชนะที่ตรงนี้ ตรงควบคุมจิตได้ แล้วก็ปรับปรุงอยู่กับหมู่ชน พหุชน ทั้งหลายแหล่ อย่างเป็นคนที่มีพหุชนะหิตายะ พหุชนะสุขายะ แล้วก็เป็นการอนุเคราะห์โลกอยู่ เป็นกุศล สุดท้าย ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานที่แท้ก็เทียบเคียงได้ เป็นผู้ที่มีนิวรณ์อันเป็นอุปการะทั้งหมด

มีวิชชาเป็นการรู้ มีปามุชชะ เป็นการเบิกบาน ร่าเริง เป็นผู้เบิกบาน จริง มีกุศล เป็นตัว เป็นผู้ตื่นแท้ คนตื่นแท้ ไม่ใช่คนเซื่องเซ่อ เป็นคนทำด้วยรู้ เป็นคนมีอะไรต่ออะไร ควรจะเป็นยังไง ควรจะดำเนินไป เป็นสุคโต เป็นสมาธิ สมาคโต สัมมัคคโตอย่างไร ควรจะมีอะไรดำเนินไปดีอยู่ เพราะว่า เราเอง เราพัก เราก็รู้นี่ว่าพัก เพียรก็รู้เพียร อยู่ก็อยู่ เราจะมีอะไร จะเป็นอะไร ทำอะไร อันเจริญงอกงาม ซึ่งจะเป็นไปอย่างประสมประสานอยู่กับหมู่เข้ากันได้ เห็นพรั่งพร้อมกันดี อู้ อนุโมทนากันตลอด ไม่ใช่ว่า เอ๊ะ คนนี้อะไรกันเว้ย แยกๆ ทำๆ มีอะไรของตัวของตน เป็นอะไร ตัวๆ หมู่ก็รับรู้ตนๆอยู่ ทำไมกับหมู่เขาก็ไม่เป็นไป มันจะไม่เกิดความเป็นอย่างนั้น มันจะกลืนอะไร ประสานสมาน

พูดไปอย่างนี้ คุณฟังแล้ว คุณจะรู้สึกว่า ทุกคนร้อยคนก็ร้อยคนเป็นอย่างนี้ทั้งหมด ดีไหม คุณว่าดีมั้ย ถ้ามันเกิดสภาพอย่างนี้ อาตมาเชื่อแน่ว่า คุณฟัง คุณก็รู้ว่ามันดีแน่ แต่นั่นแหละ โลกมันย่อมมี ERROR มันย่อมมีสิ่งที่ยัง ปาตุภูตังบ้าง ปาตุภูตัง เป็นสิ่งที่ตกหล่นบ้าง มันก็มีสิ่ง ยกย่องตกหล่นโดยธรรม เพราะฉะนั้น โดยธรรมคนที่ตกหล่น หรือคนที่ยังกระเดิดกระเด็น มันไม่กลืนกัน เลยทีเดียว มันยังมีตัวอะไรโด่ๆ เด่ๆ ผสมอยู่ด้วยกันอันนี้ล่ะ อันนั้นก็เป็นตัวอย่าง ให้เห็นได้ เหมือนพระเทวทัต ก็เป็นตัวกระโดกกระเดกอยู่ในสังคมศาสนาของ พระพุทธเจ้า ทั้งที่เป็นลูกศิษย์ พระพุทธเจ้าเอง ที่เป็นตัวร้ายเลว ที่เป็นตัวอันนั้น ก็เป็นตัวหนูตะเภา ให้เขาดูไป ที่เป็นตัวอย่าง อย่างนั้นแหละ

ผู้ใดยึดจัดก็เคืองโกรธ ถือสา ผู้ใดปล่อยใจเป็นแล้วก็ เออ ก็มันแก้ไม่ได้ บัวใต้ตม ก็ต้องให้มันอยู่ บัวใต้ตมไป เต่าปลาก็กินไป จะทำอย่างไรก็ช่วยกัน พยายามทุกวิถีทาง เข้าใจเสีย โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่นี่ พยายาม เมื่อสามารถควบคุมทวารทั้ง ๖ ได้ เราก็ฝึกไปทุกวัน ไอ้เรื่องอินทรีย์ สำรวมอินทรีย์ ก็ขอพอ อันนี้ ก็พออีก

ทีนี้ ก็ข้อที่ ๓ เราจะเป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียว รักษาอะไร เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษา แหม สำนวนก็บอกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษา ก็คือ มีรักษาใจ รักษาด้วยอะไร ด้วยสติ ชัดเป็นการชัดมาก เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษา นี่คือ สิ่งเดียว อย่างเดียว สำคัญเป็นเอก จะแปลว่า อย่างเดียวก็ได้ แปลว่า เอกก็ได้ นี่แน่ใจว่าไม่ต้องเปิดพระบาลีก็รู้ นี่ต้องมาจาก รากศัพท์คำว่า เอโก แน่ คำที่แปลว่า เป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียว คำว่าอย่างเดียวนี่ ออกมา จากศัพท์คำว่า เอโก แน่ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นจะแปล เอโก ว่าอย่างเดียวก็ได้ แปลว่า อย่างเก่งก็ได้ แปลว่าอย่างสำคัญ อย่างเลิศก็ได้ ที่สุดแห่งที่สุดแล้วก็รักษาอย่างนี้ล่ะ เป็นเลิศ เป็นเอก อย่างไรๆ ก็มารักษาจิต

เพราะฉะนั้น เรารักษาจิตได้ทุกเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน คิดนึก ทำการทำงาน พูดจา แม้แต่อาตมา กำลังพูดอยู่ อาตมาก็ต้องรักษาจิต อย่าให้จิตมีแม้แต่ อวิปปฏิสารอะไร ไม่สบายอะไร ไม่เอา ให้จิตเป็นปีติ ให้จิตเป็นปราโมทย์ ให้จิตเป็นการร่างเริงเบิกบานอยู่ แม้จะพูดเหมือน เคร่งเครียด เหมือนกับดุด่าว่า ดุไปยิ้มในใจไปนะ เฮ่อ พระโพธิรักษ์นี่ ดุๆไป ยิ้มในใจไป

เรื่องอะไรล่ะ เราจะมาโง่โกรธ พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเป็นความทราม อาตมาไม่เป็นคนทราม ใครจะทรามก็เลือกเอา อยากเอาไปก็เอาไปสิ ทราม อาตมาไม่เอา เพราะการโกรธ เป็นการเคือง การไม่ชอบใจ มันเป็นการทราม

เพราะฉะนั้น มาในทางสวรรค์ดีกว่า มาในทางเบิกบานร่าเริง เผลอๆหน่อย เป็นพวกถึงขั้น เป็นพวกร่าเริงใหญ่ อะไรเขาเรียก ปหาสะ (เสียงพระ) ปหาสะก็เป็นตัวชื่อของผู้ร่าเริงมาก จนเรียกว่า นรกชนิดหนึ่ง ร่าเริงเกินไป ปหาสะ เป็นเทวดาอะไรล่ะ หาชื่อ ขิฑฑาปทูสิกะ
เป็นเทวดาที่ หลงในความร่าเริงไป มีความร่าเริงเป็นโทษ เราก็รู้ว่า อาการจิตของเรา เป็นอาการ ขิฑฑาปทูสิกะ เราก็รู้ว่ามันก็ยังดีกว่า คุณเป็นคนทราม เอาสายโกรธ สายเคืองมาใส่จิต มันดีกว่า แต่เราก็ต้องรู้ยิ่งกว่านั้น สูงกว่านั้นอีก แม้เป็น ขิฑฑาปทูสิกะเทวดา เราก็รู้ว่าตัวว่า อย่านะ อย่าให้การร่าเริงเป็นโทษแก่ตน ความเบิกบานร่าเริง ดี แต่อย่าติด แต่อาศัย เราอาศัยเบิกบาน ร่าเริง เพราะฉะนั้น พุทธะ ถึงมีฐานอาศัยว่า เบิกบาน แจ่มใส เบิกบาน ร่าเริงอยู่ แค่ใดพอดีแล้ว อย่าไปหลงว่า เราจะได้อันนี้นิรันดร์ เราจะพรากนิรันดร์

ไม่ใช่ว่า เราจะได้นิรันดร์ แต่เราได้นิรันดร์อยู่ ก็เป็นเครื่องอาศัยเท่านั้น เป็นที่อยู่ เราทำที่อยู่ ได้แล้ว เป็นธรรมอันพระอริยะมีอยู่อาศัย อาศัยแล้ว และกำลังอาศัย กำลังอยู่นั่นเอง ที่ท่านแปลว่า กำลังอยู่ก็ดี จะอยู่ อนาคตเราก็จะอยู่ ไอ้ตัวนี้แหละเป็นเครื่องอาศัย แต่มันไม่ใช่ ของเรา มันพรากกันแน่ แต่เรายังไม่พราก เรายังมีรูปนามขันธ์ ๕ เราก็ต้องมีเครื่องอาศัย สิ นี่ มันซ้อนเท่านั้น ภาษา แต่จริงแล้ว พอรู้ตัวจริงแล้ว มันสบาย และก็เราก็รู้ตัวจบแล้ว อ๋อ มันก็ต้องอาศัยซิ สอุปาทิเสสนิพพาน สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ต้องอาศัย สิ่งที่มีรูปนามขันธ์ ๕ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ต้องอาศัย กินข้าวก็ต้องอาศัย เครื่องนุ่งห่มก็ต้องอาศัย ไปพอเหมาะพอควร หรือน้อยที่สุด หรือเราสำรวมสังวรดีหมดแล้ว เราก็แค่นั้น ดี

ทีนี้ก็เข้ามาถึงจิต เราก็รักษาจิต เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษาด้วยสติ แหม สตินี่มันยิ่งยอด พอมีสติครอง สุดท้ายเมื่อกี้นี้ผ่านมา แม้แต่ อินทรีย์เราก็รักษา สำรวมสังวรให้มีอาการไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ มานี่ก็มีสติ ด้วยสติ รักษาใจ ดูแลใจ ควบคุมใจ ใครจะใกล้ชิดใจ ใครจะสามารถไว เป็นมุทุภูเต คือแววไว พ้าบนี่ เราก็อยู่กับจิต เราจะพูด เราจะสังกัปปะ เราจะวาจา เราจะการงาน แม้การงานจะวุ่นขนาดไหน เราก็ยิ่งไวได้เท่านั้น การงานจะวุ่นมีมา ฮู้ฮู ทั้งคนโน้นคนนี้ เรื่องโน้นเรื่องนี้ เราก็ไม่พรากใจ ไม่ห่างใจ เราก็ไม่เผลอใจ ใจของเรา ก็ควบคุมได้มั่น คุณยิ่งมีฌานอันแข็งแกร่ง มีมุทุภูเต มีวิญญาณอันเป็นมุทุ

สำคัญมาก ฟังให้ดี นี่อธิบายย้อนเอาองค์ธรรมมาขยายกันลึกขึ้นๆ ภาษาเก่า แต่มีมุมใหม่ เหลี่ยมใหม่ ภาษาเก่าๆ พูดภาษาเดิมนั่นแหละ คุณฟังออกไหมว่า มันมีมุมใหม่ มันไวขึ้น แววขึ้น แม้แต่จะเป็นอาชีวะ ทำอาชีพอย่างโอ้โฮ ติดต่ออยู่ แต่คุณมีจิตไวจริงๆ จิตไวตัวนี้ มันไม่ใช่ปากพูด ไม่ใช่ปากพูด อาตมาพูดไป นี่ อาตมาก็พิสูจน์อาตมาอยู่ตลอดเวลา ว่าอาตมามี สัมมาวาจา วาจาที่อาตมาพูดไปนี่เป็นฌาน อาตมาเป็นฌานอยู่หรือเปล่า จิตใจของเรา เป็นยังไง ตอนนี้นี่ รักษา มีจิต มีสติ คุมใจเรา

ใจเราขณะนี้ เป็นยังไง เราพูดไปนี่ มีอารมณ์อย่างไร เป็นอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นพยาปาท โกธะ อุปนาหะ อภิชฌาวิสมโลภะ ก็คือ มันเพ่งแรง มันโลภจัด มันมุ่งหมาย มันจะมีมุ่งหมายอยู่ อย่างหนึ่ง เป็นอากังขาวจรของอาตมา คือ มันจะมุ่งหมายปรารถนาดี ให้คุณได้ดี มากๆ ถ้ามันมากเกินไป ระวังนะ บางคนเขาแย่แล้ว ประเดี๋ยวจะกลายเป็นเพ้อเจ้อ ๔ ลักษณะ ที่เคยอธิบายให้ฟัง ประเดี๋ยวมันจะกลายเป็น แหม เรามันเขี้ยวของเราคนเดียว แต่เพื่อนแย่แล้ว เขาไม่ฟังแล้ว ระวังนะ อันนี้เป็นต้น ก็ต้องควบคุมดูแล อภิชฌาวิสมโลภะหรือเปล่า

และตัวเองพูดด้วยโกรธ ด้วยเคืองหรือเปล่า แม้กำลังขณะนี้ เจตนาสอนคนนี้ กำลังดุคนนี้อยู่ อาตมารู้ อาตมาดุใครตอนนี้ กำลังเทศน์ให้ใคร คนนี้ กำลังเป็นอย่างไร รู้เจตนา บางทีพร้อมกัน หลายๆคน บางทีคนนั้นเด่น ก็เอาคนนั้นเป็นฐาน และก็เทศน์ให้ ดุว่าด่าให้คนนั้นอยู่ เรากำลังดุ ว่าด่านี่ เรามีโทสมูลจิต แม้อย่างละเอียด แม้แต่การมีรติ ความไม่ชอบใจ ไม่ยินดี ความที่มันมีอะไร ที่ไม่ชอบ ไม่พอใจที่เขาเป็นอยู่ เรามีแทรกหรือเปล่า

อาตมาก็มีจิตตรวจใจตัวเองไวไวเลยว่า นี่ เอ๊ แล้วเราจะพูดไปด่าเขานี่ มันจะเป็นลักษณะ แม้เอามา ร่วมประกอบว่าจะเทศน์ให้เขาดุ ดุดันหน่อยนี่ คนอื่นเขาอ่านแล้ว เป็นวาจา เป็นสำเนียงลีลา เราจะดูว่า น่าเกลียดแล้วนะ นี่ด่าเขามากไปแล้ว ตอนนี้ด่าท่านถิรจิตโต หนักเลย หนักแล้วนะ นี่ภาษานี่ เทศน์ไปว่า ความผิดอันนี้ของท่าน นี่สมมตินะ ประเดี๋ยว จะหาว่าด่าจริงๆ ไม่ ท่านถิระไม่ได้ผิดอะไรหรอก ยกตัวอย่างตัวบุคคล

คนอื่นก็ฟัง อู้ฮู นี่ด่าท่านมากไปแล้วนี่ โอ้โฮ ข่มขี่ท่านมากไปแล้ว มีพระพวกเรา บางทีก็รู้สึก ในเรื่องบางเรื่อง ในคราวบางคราว ในบางบุคคล บางครั้งมี เราก็ต้องระวัง อาตมาต้องระวัง เอ้อ ไม่ดีแล้ว และจนกระทั่งมีเสียงสะท้อนออกมาว่า ท่านไม่น่าไปว่าพระองค์นั้นแรงถึงอย่างนั้นเลย ไม่น่าไปด่าว่า ไม่น่าไปเทศน์แรงถึงขนาดนั้น โอกาสอย่างนี้ กับหมู่ชนอย่างนี้มี

เราเองก็ต้องพยายามตามรู้ด้วย และเราก็ต้องพยายามปรับปรุงให้มัน เรียบร้อยสุภาพ ดีที่สุด แต่บางทีก็ต้องทำ ผู้ที่ฟังเขาติ แต่เขาไม่รู้หรอกว่าเราเจตนา ขนาดนี้ ตัวเจ้าตัวกลับได้ดี หรือ มีสิ่งแวดล้อม ที่จำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศ หรือทำอะไรอื่น ซึ่งเป็นนโยบาย เป็นกรรมวิธี ของอาตมาเอง อาตมาต้องทำว่า อาตมาได้ทำมาแล้วในขั้นตอนนะ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนอย่างนี้ ต้องทำอย่างนี้ เพราะไม่ทำอย่างนี้ มันใช้ไม่ได้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่เกิดผล ในการขัดเกลา หรือ ไม่เกิดผลในการที่จะเป็นประโยชน์ที่ดีได้ ก็จำเป็น อาตมาก็ต้องทำอย่างนี้ เป็นต้น

พวกนี้ก็มีรายละเอียดลึกซึ้ง อาตมายกตัวเองประกอบให้เห็นว่า สตินี่ สำคัญ เรารักษาใจ ของเราอยู่ รักษาใจ จะมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อย่างไร ทำการงานอย่างไร รักษาใจ นั่นคือ คุณฝึกฝนฌาน ฝึกฝนการมีฌาน และฌานเป็นรากฐานให้เกิดวิชชาอีก ๘ ประการ ถึงอาสวักขยญาณ นี่

คุณฝึกแล้วนำมาใช้ได้ ใช้ลืมตานี่แหละ ในมรรคองค์ ๘ นี่แหละ อยู่ด้วยกันนี่แหละ ใช้ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ นี่แหละ ไม่ใช่ฌานหลับตา ไปหลับตาก็ทำได้ นี่พยายามก็และมา เราหลับตาอยู่ เพื่อที่จะให้ยังแต่ไม่ถึงขั้นหลับตา ลืมตา และให้นิ่งอยู่แค่นี้ก่อน และก็พยายาม อ่านเข้าไปจนกระทั่ง ตั้งมั่นใจดีแล้วก็ขึ้นไปหลับตา ก็มีจิตแข็งพอที่จะหลับตาแล้วก็ จะรู้อาการ รู้อารมณ์

ก็จะให้มีสตินั่นแหละก่อน แล้วรักษา เป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้ก็บอกว่า อธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษา เป็นผู้ประกอบด้วยใจ มีใจนี่แหละเป็นเครื่อง เป็นตัวหลัก ประกอบการด้วยรักษาใจ เป็นผู้รักษา ใจอันรักษา ใช้สำนวนอีกสำนวนหนึ่งว่า ใจอันรักษา ก็คือรักษาใจ พูดอีก สำนวนกลับ ใจอันรักษา รักษาด้วยอะไร ด้วยสติ เป็นผู้ประกอบ ด้วยใจอันรักษา

เขาเชื่อมด้วยตัวบุพบท ด้วย ๒ ด้วย เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษา หรือรักษาใจ ด้วยอะไรอีก

อ่านต่อหน้าถัดไป

FILE:2219A.TAP