อานิสงส์ของศีล (จาก กิมัตถิยสูตร)
อบรมทำวัตรเช้า วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕
ณ พุทธสถานสันติอโศก
โดย สมณะโพธิรักขิโต

เอ้า เรามาศึกษากันต่อนะ การได้เรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นไปเรื่อยๆ อาตมาก็ยังคิดว่า อาตมามีปัญญา อาตมามีสภาวะ มีสภาพธรรม อะไรต่ออะไรอีกเยอะ ที่เราจะเอามาอธิบายเป็นภาษาประกอบกัน โดยตัวเอง โดยบัญญัติ ภาษาหลักเกณฑ์อะไรต่างๆนานา อาตมาไม่ค่อยเก่ง จำไม่ค่อยแม่น แต่ถ้าเอา พระไตรปิฎกอะไรมา หลักการอะไรประกอบขึ้นมาอีกบ้าง หรือว่าบรรยายไปๆ ก็ควักสภาวะขึ้นมา แล้วก็เอามาอ่าน เอามาชี้แจงขยายขึ้นมาเรื่อยๆ จากสภาวะ จะใช้ภาษา ตัวเองก็ตาม อาตมาก็เห็นว่า มันได้ขยายความ ได้ชี้นำ ได้สื่อออกมาชัดเจนขึ้น เป็นสภาวธรรม ที่ลึกซึ้งขึ้น เห็นชัดขึ้นเหมือนกับธรรมดา ที่การแสดงธรรมนี่ก็เพื่อชักของลึกให้ตื้น หงายของคว่ำ ทำของคว่ำ นี่ให้หงายขึ้น ทำแสงสว่าง ในที่มืด ทำให้มันชัดเจนขึ้นนั่นเอง ทำให้มันตื้นขึ้น ทำให้มันเห็นแจ้ง เห็นจริง เปิดเผยขึ้นมาให้ชัดขึ้นๆนั่นเอง ซึ่งอาตมาก็เชื่อว่า พวกเราได้รับ ประโยชน์ แม้จะฟังซ้ำซาก บางครั้งเราจะรู้สึกว่า บางครั้งนี่ เราฟังเท็ป ฟังที่อาตมาบรรยาย ไปแล้ว ฟังซ้ำๆ ครั้งหนึ่ง ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ความมันไม่ได้เปลี่ยนแปลง อยู่ในเท็ป มันไม่ได้เปลี่ยนแปลง อัดอย่างไรเอาไว้ มันก็อย่างนั้น คำความภาษาก็อย่างนั้น แต่ฟังแล้ว รู้สึกว่า เราเข้าใจขึ้น ได้เกิดความเห็นแจ้งขึ้น จากเท็ปม้วนเก่านั่นแหละ ไม่ใช่ว่าอาตมาพูดใหม่ จากเท็ปม้วนเก่า ลีลา ภาษาสำเนียงอะไรเหมือนเก่านั่นแหละ แต่เราฟังซ้ำแล้ว จากการซ้ำ นั่นแหละ ทำให้เราเกิดรู้เพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้นได้ เพราะว่าเราเองมันฟังนี่ มันอาจขาดตก บกพร่อง หรือเราเอง เราเจริญขึ้น พอมาได้รับคำอธิบายอันนี้เสริมเข้ามา แต่ก่อนนี้เรายังไม่ได้ พอมาฟังเท็ปม้วนเก่านี่แหละ แต่ว่าเรามีสภาวะ หรือเรามีภาษา หรือเรามีความรู้อะไร เพิ่มเติมขึ้น เราก็เอามาประกอบ มันก็เกิดการเจริญขึ้นได้ เหมือนกัน

เพราะฉะนั้นแต่ละกาละ ถ้าเราเป็นผู้เจริญใฝ่ธรรม ศึกษา ประพฤติ ปฏิบัติ ศึกษาปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อยู่ตลอดเวลา แล้วละก็มันจะเสริมซ้อนกัน อย่าไปประมาทของเก่า อย่าไปประมาท สิ่งที่เล็กๆน้อยๆ แม้แต่หัวข้อธรรม เรื่องธรรมะหรือว่าเรื่องที่มี ที่ได้ยินได้ฟังนี่ อาตมาเชื่อว่า ที่ทำๆกันอยู่นี่ พวกเราสื่อสาร ช่วยเหลือเฟือฟายกันอยู่ตลอดเวลา เปิดธรรมะ อย่างสั้น อย่างยาว มีหัวข้อ มีนั่น มีนี่ เสริมหนุน แม้แต่ อย่าว่าแต่อะไรเลย จะเป็นเรื่องราว สารคดีนี่ก็ตาม แม้แต่เพลง ที่มันมีเนื้อหาสาระอะไรเป็นเรื่องของชีวิตก็ได้ มันก็ประกอบกัน มันส่งเสริมกัน จะเป็นเรื่องราว ของมนุษย์นี่แหละเป็นทุกข์ ได้รับทุกข์ได้รับร้อน ได้รับเรื่องราวอันโน้น อันนี้ พร่ำพิรี้ พิไร บ่นเจ็บปวด ความรัก ความชื่นอะไรก็ตามแต่เถอะ มันก็เป็นองค์ประกอบ เป็นเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิด ความสำนึก เกิดความขจัดขัดเกลาอะไรต่ออะไร ต่างๆนานา ได้เหมือนกัน

บางทีคนรักกันมาก เราก็เบื่อหน่ายได้ เห็นโกรธกันมาก เราก็เบื่อหน่าย คลายโกรธบ้าง ได้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะเอาธรรมะ ก็คือ แต่ภาษาธรรมะ จากพระไตรปิฎก ทั้งๆที่สภาวะจริง นี่แหละ คือตัวที่เราจะต้องเรียนรู้ แล้วก็จะต้องเลิก ละ หน่าย คลายไปตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ คือองค์ประกอบ อาตมาเห็นว่า มันเป็นเรื่องของธรรมดาที่จะทำให้เราผสมผสานไป มีสภาวะ รองรับ มีมนุษย์เป็นอย่างนั้น อย่างนี้จริง มีพฤติกรรม อย่างโน้น อย่างนี้จริง เมื่อเราได้รับภาษา ได้รับความรู้เป็นทฤษฎีเป็นหลักการ แล้วก็ไปเห็นของจริงแล้วมัน ก็เกิดซับซ้อน มันก็เกิดชี้ชัด สัจธรรมขึ้นมาจริงขึ้น ว่าเออ มันน่าเบื่อหน่าย มันน่า ปล่อยคลาย มันเห็นทุกข์ มันเสริมซ้อน ขึ้นได้ เพราะฉะนั้น เราจะดูหนังดูละคร ดูไอ้โน่น ไอ้นี่อะไรก็แล้วแต่ เป็นเหตุปัจจัย ที่ทำให้เรา หน่ายคลายได้

วันนี้ อาตมาเอาพระไตรปิฎกเล่ม ๒๔ หรือว่าเป็นสุตันตปิฎกเล่ม ๑๖ อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต ทสก ก็หมายความว่า ๑๐ หมวด ๑๐ ตั้งใจจะเอามาอธิบาย มันมี ศีล สมาธิ อะไรนี่เยอะ ในเล่มนี้ที่รวมเอาไว้ ในหลักหมวด ๑๐ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ อาตมาจะหยิบเอามาขยาย อธิบายอะไรต่ออะไร ให้ฟัง แล้วเราจะได้เข้าใจขึ้นไป

เริ่มต้นตั้งแต่สูตรที่ ๑ เรื่องของอานิสงส์ อานิสงส์ก็แปลว่าประโยชน์ เรื่องของประโยชน์ เริ่มแรก กิมัตถิยสูตร สูตรแรกเลย อานิสงส์อะไร ฟังดู ซึ่งเราเคยได้อ่านมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วที่จริงน่ะ อ่านภาษาไปเสียก่อนแล้ว เดี๋ยวอาตมาจะมาอธิบาย ให้ฟังไปเรื่อยๆ ในวันต่อๆไป

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อาราม ของท่าน อนาถบิณฑกเศรษฐี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสาร เป็นอานิสงส์
พระอานนท์ก็ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปิฏสาร มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
พระอานนท์ก็ทูลอีก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พระพุทธเจ้าก็ตอบ ดูกรอานนท์ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พระพุทธเจ้าก็บอก ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิน่ะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็น อานิสงส์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์
ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะ มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์
ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปปิฏสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะ เป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น อานิสงส์
นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการฉะนี้

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล

ที่จริงสูตรนี้เป็นสูตรสำคัญมาก เราก็เคยเอามาย่อ โดยเฉพาะวรรคหลังนี่ ท่านรวมเอาไว้ หมดแล้วว่า เมื่อปฏิบัติศีลเป็นกุศลแล้วจะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ และสิ่งที่เป็นผล เป็นอานิสงส์ มันจะต่อๆตามเนื่องกันขึ้นมา จนกระทั่งถึง วิมุตติญาณทัสสนะ หมายความว่า เกิดวิมุติ เกิดญาณ เกิดญาณทัสสนวิเศษ ที่เห็นวิมุติ ที่รู้แจ้งในวิมุติ เกิดความรู้นั่นเอง ที่เห็นในวิมุติ

เพราะฉะนั้น ศีลนี่ปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้เป็นกุศล กุศลนี่แปลว่าดี แปลว่าฉลาด แปลว่าประเสริฐ กุศลนี่ปฏิบัติให้เกิดผลดี ให้เกิดเจริญ แปลว่า เจริญ กุศลนี่แปลว่าเจริญ แปลว่าประเสริฐ แปลว่าดี ให้มันได้ผลดี ปฏิบัติศีลให้มันได้ผลดี แล้วจะมีอานิสงส์ จนถึงอรหัต จนถึงเป็น พระอรหันต์นั่นแหละเอง เกิดวิมุตินั่นเอง จนกระทั่งมี ญาณทัสสนวิเศษ เห็นวิมุติ รู้แจ้งในวิมุติ ว่าเรานี้วิมุติแล้ว มีวิมุติแล้ว

เพราะฉะนั้น ปฏิบัติศีล ไม่ใช่ว่าขัดเกลาแต่กายและวาจาเท่านั้น ไอ้นั่นมันเป็นการสอน ที่ผิดเพี้ยน เพราะฉะนั้น ปฏิบัติศีลที่ขัดเกลากาย และวาจา แล้วก็ไปตัดส่วนของคำว่า สมาธิ เอาไปนั่งหลับตา อีกต่างหากนั่นผิด เพราะว่าในนี้ ก็มีอานิสงส์ที่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสตรงๆ เลยว่า เมื่อปฏิบัติศีลมาแล้วนี่ จะมาถึงขั้น สมาธิ แล้ววิมุตติญาณทัสสนะนั้น ก็คือขั้น อธิปัญญา เป็นปัญญาสูงสุด อธิปัญญาที่สูงสุด ที่เป็นปัญญาที่เห็นของจริง ตามความเป็นจริง เห็นอะไร เห็นอากัปกิริยาของจิต วิญญาณ จิต เจตสิก เป็นปรมัตถสัจจะ เห็น รู้แจ้งด้วยญาณ ด้วยปัญญาที่ เป็นอธิปัญญา รู้ในความหมดกิเลส ในความดับกิเลสสนิท ถึงขั้นวิมุติ

เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเนื่องต่อกัน ปฏิบัติถูกต้อง แล้วมันจะอยู่ด้วยกันไปหมด แล้วมันเป็น สภาพหมุนรอบเชิงซ้อน อย่างที่อาตมาเคยอธิบายเสมอๆ ถึงสภาพที่มัน จะเสริมซ้อนกัน เมื่อปฏิบัติแล้ว มันจะมีอานิสงส์เป็นอธิ เมื่อปฏิบัติศีลเป็นผลดีขึ้นมาสูงขึ้น เรียกว่า อธิยิ่งๆขึ้นไป เพราะมันเกิดจิตที่เป็นอธิจิต จิตที่ได้ถูกขัดเกลากิเลสไปเรื่อยๆ แล้วก็มีปัญญา หรือว่ามีญาณที่จะสอดส่อง อ่านรู้ว่า เราปฏิบัติไป ไม่ใช่ว่างมงาย ปฏิบัติไป มีการปฏิบัติถูกทางไหม ลด ละกิเลส กิเลสที่เราเอง ได้สมาทานว่า เราจะจัดการกับมัน เราจะฆ่า จะประหาร แล้ว เราทำได้ถูกตัว ถูกตนไหม เจริญขึ้นจริงไหมกุศล ก็คือเจริญ เมื่อมันเจริญขึ้น จริง ก็เป็นกุศลขึ้นเรื่อย มันฉลาดจริง ดีจริง ประเสริฐจริง เจริญจริง เป็นกุศลขึ้นจริงๆ เรื่อยๆ เราต้องเห็นของจริง เป็นของจริง ไม่ใช่ทำอะไรก็ งมงายไป ไม่รู้เรื่องว่าทำอะไร ไปได้อย่างไร แค่ไหน อย่างไร เข้าร่อง เข้ารอยไหม เป็นไปเพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อหน่ายคลายขึ้นไป เพื่อพ้นทุกข์ ที่แท้จริง กายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี เจริญขึ้นเรื่อยๆด้วย

เอ้า ลองมาไขความดูเรื่อยๆซิว่า คำว่าปฏิบัติศีลแล้วมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ได้ประโยชน์ หรือได้ผลขึ้นมา ปฏิบัติแล้วได้ จะบอกว่ามี อวิปปฏิสาร เป็นตัวแรก เมื่อศีล ที่เป็นกุศล ปฏิบัติเจริญ ก็จะเกิดจะมีอวิปปฏิสาร อวิปปฏิสารก็แปลว่า ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือดร้อนใจ จะเกิดตามมา ความหมาย ของมันน่ะนะ จะเกิดตามมา

เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้เราปฏิบัติธรรมแล้วก็ยังเกิดเดือดร้อนใจอยู่ แสดงว่าเราปฏิบัติศีลไม่ถูก ปฏิบัติไป ใจก็ยังมีแต่ความเดือดร้อนยิ่งเดือดร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ปฏิบัติศีล ก็ยิ่งเกิดเครียด ยิ่งเกิดความอึดอัด ยิ่งเกิดความไม่สบายใจ ยิ่งขี้ระแวง ยิ่งขี้ถือตัว ถือดี ยิ่งไม่ชอบไอ้โน่น ไม่ชอบไอ้นี่ ความเดือดร้อนใจก็คือ ความไม่ชอบนั่นน่ะ ถึงแม้จะเกิดความชอบ เกิดความอยากได้ ถ้าไม่ได้สมใจ มันก็วิปปิฏสาร มันก็เดือดร้อนใจเหมือนกัน เดือดร้อนใจ ตรงเราอยากได้อย่างนั้น ประสงค์อย่างนี้ต้องการอย่างนั้น แต่ไม่ได้สมใจ มันก็เดือดร้อนใจ มันก็วิปปฏิสาร

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติศีลนี่ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนใจอย่างนี้ มันถึงจะตรงตามที่ พระพุทธเจ้า ท่านกำหนด เพราะฉะนั้นใครปฏิบัติศีลแล้วก็ยิ่งเครียด ปฏิบัติศีลแล้วก็ยิ่งยุ่ง ปฏิบัติศีลแล้ว ยิ่งมีแต่เอาแต่ใจตัว เอาแต่ใจตน ปฏิบัติศีลแล้วก็ถือนั่น ถือนี่ ติดโน่น ติดนี่ ยุ่งยาก อะไรนิด อะไรหน่อย ก็เกิดความโกรธง่าย รำคาญง่าย ไม่ชอบใจง่าย อย่างนั้นผิดทาง หมดเลย ไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกเรื่องแน่ๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าปฏิบัติศีล เอา ลองเอาศีลมาใช้ดู ศีลข้อ ๑ เราก็คงถือกันทุกคน ๑ ,๒ ,๓, ๔, ๕ ในความหมายต้นๆ ความหมายต้นๆ เราไม่ทำแล้ว เราไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ฆ่าสัตว์ เราก็ระวังกาย วาจา ระวังใจของเรา ใจของเราจะไปทำให้เขาตาย จะไปทำให้สัตว์อื่น เดือดร้อน โดยเฉพาะสัตว์ เราก็รู้ว่าสัตว์เดรัจฉาน ไม่ทำให้เดือดร้อน เราก็ไม่ค่อยได้ไปทำอะไรมากมาย นัก แม้แต่ยุงมากัด เราก็ระวังอยู่แล้ว มันอบรมตนนะ แม้แต่ยุงตัวเล็กตัวน้อย แม้แต่มดแมง อะไรก็แล้วแต่ แต่ก่อนนี้เราไม่เคยนึกถึงชีวิตเขา ชีวิตเราอะไรหรอก อยากจะฆ่าเล่นก็ฆ่า ฆ่าไปดื้อๆ บี้เล่นก็บี้ไป ก็มันเล็ก มันตัวเล็ก เราก็บี้ได้น่ะ ฆ่าไปโดยไม่ประมาณ ไม่รู้จักชีวะ ภูตะ ปาณะ ไม่เคยรู้จักชีวะ หรือว่าวิญญาณ หรือว่าความเป็นชีวิต ความเป็นอะไรของเขา ไม่รู้เรื่อง แต่ เราก็ได้ระวัง ระมัดระวัง ระมัดระวังขึ้นมา เกิดการสังวรสำรวมขึ้นมา ที่บอกว่า ไม่ฆ่าสัตว์ มันเกิดจากการอบรมจิตเรา ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ เรามีการพิจารณา ไม่ใช่ทำอะไร ก็ไม่พิจารณา อะไรมะลึ่มทึ่มไปเฉยๆ ไม่ใช่ พิจารณาไป เออ ชีวิตเขา ชีวิตเรา แม้แต่สัตว์ตัวเล็ก ตัวน้อย ดังกล่าวแล้ว เราก็ยังปรานีเขา ยังไว้ชีวิตเขา เราก็ยังพยายามช่วยเหลือเขา

ที่นี้คนนี่ละ คนด้วยกันนี่ มันยิ่งใหญ่กว่าสัตว์เดรัจฉานด้วยซ้ำไป เราไม่น่าจะริษยากัน ไม่น่าจะโกรธเคืองกัน ไม่น่าจะหมายร้าย มุ่งร้ายแก่กันและกันเลย ศีลข้อ ๑ เพื่อจะให้ลด สายโทสมูลทั้งหมด เคียดแค้น อาฆาต พยาบาท ชิงชังอะไรนี่ ให้ลดทั้งหมด ทั้งสายปฏิบัติ เป็นอธิศีลขึ้นไปแล้ว ความหมายของโทสมูล เราจะรู้เรื่องว่า เราจะต้องเกิดความเอ็นดู ปรานี เมตตา ก็เคยอ่านในศีล ที่บอกว่า ศีลข้อที่ ๑ จะเกิดความวางทัณฑะ วางศาสตรา จะเกิดความเอ็นดู เกิดความเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี เกิดจิตอย่างนั้นจริงๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าเราปฏิบัติเป็นอธิศีล จิตจะไม่เกิดไปในทางร้าย ไปในทางเดือดร้อน เมื่อเราปรารถนาดีต่อใคร พยายามช่วยเหลือใครๆโดยเฉพาะคน แล้วมันจะไปเกิด เดือดร้อนอะไร อย่าว่าแต่คนเลย เราช่วยเหลือสัตว์สัตว์ มันก็ยังไม่ทำอะไรเรา ช่วยเหลือสัตว์นี่ จริง สัตว์บางอย่าง ไปช่วยเหลือมัน มันระแวง มันไม่นึกว่า เราจะช่วยมัน มันยังไม่แน่ใจว่า เราจะช่วยเหลือเฟือฟายมัน มันระแวงเพราะว่า คน เป็นศัตรูตัวร้าย จนมันเป็น สัญชาตญาณ เลยว่า ไม่ได้หรอก คน เจอมันก็ฆ่า เจอมันก็แกง พ่อ แม่ พี่ น้อง มันถูกฆ่า ถูกแกง ปู่ ย่า ตา ทวด มันถูกฆ่า มามากแล้ว เพราะฉะนั้น สัญชาตญาณของมันระแวง มันไม่ไว้ใจละ สัตว์บางชนิด มันอยู่ด้วยกัน มันก็ไว้ใจกันได้ แต่คนนี่ มันไม่ไว้ใจเลย มันระแวง เพราะฉะนั้น มันก็ต้องระวังตัว มันจะต้องป้องกันตัว กัดเอาเรามั่งก่อน ทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ก่อน ทำร้ายเราก่อน ก็ไม่ได้ หมายความว่า มันร้าย แต่มันจะต้องระวังตัว เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรู้ด้วยว่า มันเป็นอย่างนั้น สัตว์มันไม่ค่อยฉลาด มันจะรู้จักว่า เราจะไปช่วยเหลือมัน เป็นคนมีเมตตา ไม่ได้ง่ายๆ แต่แม้ว่า เราจะเมตตาแล้วจริง ถ้าจิตของเราแรงจริงๆ เรามีเมตตา มีอะไรจริงๆ สัตว์มันก็จะเข้าใจ ได้เหมือนกันนะ จิตวิญญาณ ถ้าจิตวิญญาณลึกๆนี่ เอาละ เรื่องสัตว์ เราตัดไป เราไม่ต้อง เอามาพูดมากก่อนตอนนี้ เราพูดถึงคนนี้แหละ

โดยเฉพาะคนที่เราอยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะที่ในวัด ในหมู่พวกเรานี่ คนที่เราอยู่ด้วยกันนี่ก็ว่า เป็นคนปรารถนาดี จะมาปฏิบัติดี แล้วก็เป็นคนที่คัดเลือกอยู่พอสมควร มีหลักการ คัดเลือก ให้เข้ามา แล้วก็เข้ามาอยู่ในนี้ ต่างก็หวังดี มาศึกษาอบรมฝึกฝน มาจะประพฤติ ปฏิบัติดี ขนาดนั้น เรายังเคืองกันได้ลงคอ ชังกันได้ลงคอ ชังแล้วมันก็เกิด วิปปฏิสารนั่นแหละ มันเดือดร้อนใจ อยู่ด้วยกันนี้ เจอคนชังนี่ มันก็วิปปฎิสาร อยู่ด้วยกัน มันไม่ประสานกัน มันไม่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ สมัครสมาน สามัคคี ยินดีแก่กันและกันนี่ มันก็คือความวิปปฏิสาร นั่นแหละ

เรามาตรวจสอบดูดีๆ ว่าเราปฏิบัติศีลข้อ ๑ แท้ๆนี่ เอาศีลข้อเดียวมาขยายความนะ ขณะนี้ เราเกิดคุณค่าอะไร แล้วตรงไหม แล้วลดละ ได้บ้างไหม สังวรได้บ้างไหม ถ้าเรารู้ตัวเรา เราลด ละเลิก ต้องพยายามอย่าให้มันมีโทสมูล อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างไร ก็รู้ตัวเอง อยู่ด้วยกันนี่บอกแล้วว่า คนที่มาที่นี่นี่ เป็นคนที่ได้คัดเลือก มีคุณภาพพอสมควร เพราะฉะนั้น เราก็ต้องปรารถนาดีต่อกัน จริง บางอย่าง บางอันจริตจะก้าน อันโน้น อันนี้ มันจะมีอะไร ที่ขัดๆ ขวางๆ หรือว่า ไม่ค่อยตรงกับความรู้สึกของเราว่าน่าจะดี หรือว่าดี น่าจะเป็นอย่างนี้ แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราหมายก็ตาม มันไม่ตรงกันไปทีเดียวหรอก จะเป็นเรื่องที่อย่างไร ก็แล้วแต่เถอะ มันจะมีอะไรติดพันกันมา ตั้งแต่เมื่อไหร่ อะไรอย่างไรที่ เสร็จแล้ว ไม่ค่อยลงรอยกัน ก็ต้องปรับ มันได้แก้ ตรงนี้แหละ แก้เวร แก้กรรม ถ้าเราจะมีวิบาก แก่กันมา ตั้งหลายปาง หลายชาติ สมมุติว่าเราเป็นศัตรูกันมาตั้งหลายปาง หลายชาติก็ตาม ตอนนี้มาพบกันแล้ว แทนที่จะห่ำหั่นกัน เราก็พยายามล้างเวรซิ ล้างวิบากเดิมๆซิ ถ้าเราไม่ฝึก ไม่ทำ ปล่อยมันไป มันเป็นวิบากเก่า มันก็ต้องซัดกันอย่างนี้แหละ ไม่ใช่ เราต้องล้าง เมื่อใดๆ ก็ต้องล้าง ต้องละ ต้องพยายามปรับ เมื่อมีผู้ที่ได้แนะนำบอกเรา ให้รู้ตัว เราก็ฝึกฝนตน ปล่อยวางนั่นแหละ ได้เรียกว่าอภัย นั่นแหละเรียกว่าไม่จองเวร ไม่ทำวิบากใหม่ ให้มันเสริม วิบากเก่า ก็จองเวรกันมาหลายชาติแล้ว ชาตินี้จะไปจองเวรกันต่อทำไม เรื่องเก่าก็ให้เลิกไปๆ ให้หมดๆด้วย ไม่ใช่เรื่องเก่าหรอก เราจะต้องทำจิตใหม่ วิบากใดเกิดแล้วก็เป็นอดีตแล้ว จะได้ฆ่า ได้แกง ได้พยาบาทโกรธแค้น ทำร้ายกันมา มาอย่างไรก็เป็นเรื่องเกิดแล้วอดีต อันใหม่นี่เรา จะต้องเปลี่นนจิตใหม่ ปลดปล่อย ว่างปรารถนาดี ทำดีแก่กันและกัน ต้องเกื้อกูลกัน ลบล้าง ไอ้สิ่งที่พยาบาท อาฆาต จองเวรพยาบาทไปให้หมด แม้แต่ไม่ชอบใจ เราจะมองความดีของคน เขาจะมีส่วนดีอยู่บ้าง เหมือนอย่างที่ท่านพุทธทาสท่านว่า เขาจะมีส่วนเลวบ้าง มองส่วนดีเขา ส่วนชั่ว ส่วนเลวนั้น เป็นของส่วนตัวของเขา เราไม่อยู่ในฐานะจะแก้ไขให้เขาได้ ก็ปล่อยเขาไป หมู่กลุ่มยังรับเขาอยู่ ก็แสดงว่าเขาไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน คนอื่นจะช่วยเหลือเขา มันก็ต้อง ช่วยกันไป ส่วนเราเองไม่มีสิทธิ์ที่จะช่วยเหลือเขา เพราะเขาไม่ได้ศรัทธา เลื่อมใสอะไร ดีไม่ดี ก็เป็นคู่อาฆาตกันอยู่ ก็ปล่อยเขาไป ส่วนไม่ดีก็ของเขา ส่วนดีที่เราเองเราเห็น เราก็พยายาม มองหาส่วนดีของเขาให้ได้ หรือ พยายามที่จะทำใจเรา นั่นแหละ เป็นหลักว่า เราจะนอบน้อม อ่อนน้อมเข้าไป อย่างโน้น อย่างนี้ แม้เขาจะร้าย จะเลว อย่างไร เราก็ปรารถนาดี สร้างสรร สิ่งดีเข้าไปให้มากๆ ถ้าเราทำอย่างนี้ ปรับปรุงอย่างนี้กันจริงๆแล้วละก็ มันเป็นแบบฝึกหัด เป็นบทโจทย์ ที่เราได้ใช้กระทำจริงๆ ลดให้มันตรงตัว ปฏิบัติศีล นี่ ศีลข้อ ๑ เท่านั้น

ที่นี้ ศีล ๕ ข้อ หรือศีล ๓ ข้อต้น ข้อ ๒ ก็ลดโลภ ข้อ ๓ ก็ลดราคะ ก็เคยอธิบายมามากมาย เรื่องศีล เพราะฉะนั้น อย่างหยาบ เราไม่ทำก็ดีแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์ ระมัดระวังอยู่ดีแล้ว กรรมกิริยาอื่น ใจที่เราจะต้องปรับใจ มนสิการ ทำใจเป็นอธิจิต ข้อกำหนดให้แก่ตนเอง แล้วก็เกิด ทำให้เกิด อธิจิตเจริญขึ้น นั่นเรียกว่า สมาธิอธิจิตก็คือ สมาธินั่นแหละ สั่งสมให้ตั้งมั่นให้อธิ ให้อธิศีล มันสูงขึ้น ให้เป็นบทบาทขัดเกลา กาย วาจา ใจ เรียกว่าอธิจิต เป็นอธิที่ ๒ แล้วก็ มีปัญญา มีความรู้แจ้งเห็นจริงเป็นอธิ สอดส่องว่า เราปฏิบัติได้ผล ปฏิบัติถูก ปฏิบัติลดละ สิ่งที่ควรลดละ วิปปฏิสารใดก็ได้ลดละ กรรมกิริยาใดที่มันหยาบ มันเป็นไปในทางโทสมูล บทบาทโทสมูล อย่างเล็ก อย่างน้อย ทางกาย วาจา หรือโดยเฉพาะทางใจ มันเป็นบทบาทของ โลภมูล เป็นบทบาทของราคมูล โลภ เห็นแก่ตัวจัดจ้าน จนจะเอาของเขาอย่างไร จนกระทั่ง เป็นลัก เป็นขโมย เป็นขี้โกง ทุจริตเล็กๆน้อยๆก็ตามเล็กๆน้อยๆ มันควรจะเลิกได้ง่าย ด้วยซ้ำ หยาบๆ ใหญ่ๆ มันก็หยาบ ถ้ามองในแง่ ๒ แง่แล้ว ไอ้หยาบๆ มันก็ ไม่น่าทำ เล็กน้อย มันก็น่า ทำได้ ฟังออกไหมหยาบๆ มันก็ไม่น่าทำหรอก มันหยาบ มันร้ายแรงน่ะ มันไปทำ ทำไมเล่า ทุจริตหยาบๆน่ะ มันเลวร้ายชัดๆน่ะ หรือแม้แต่เล็กน้อย เอ้า ก็เล็กน้อย แล้วก็จะไปทำ ทำไมเล่า เมื่อเล็กน้อย มันก็น่า จะทำได้ง่ายๆ ก็มันเล็กๆน้อยๆแค่นั้นเอง จะไปทำลงไปทำไมเล่า ให้มัน สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วซิ เรื่องเล็กน้อย มันไม่ใช่เรื่องหยาบเรื่องใหญ่ เรื่องหนัก เรื่องยาก อะไร เล็กๆน้อยๆเท่านั้นเอง จะไปทำมันทำไมล่ะ

เพราะฉะนั้น มองใน ๒ แง่แล้วมันจะหยาบใหญ่ มันจะเล็กน้อย มันก็ ไม่น่าทำทั้งนั้น ต้องทำ ให้ได้ เลิกทุจริต เลิกอกุศล เพราะฉะนั้น มันจะเป็นทุจริต แม้แต่ขี้โลภจัด จนกระทั่ง ไปทำทุจริต หยาบคายอะไรๆ หรือว่า ทุจริตเล็กๆ น้อยๆนี่ มันไม่เข้าท่า เราก็ทำ สั่งสมไป ทำไป จิตใจ มันก็จะเจริญขึ้นเป็นกุศล กาย วาจา ด้วย กาย วาจา ก็พยายามไปด้วยกันนั่นแหละ เราไม่โลภ ไม่โลภแล้วเป็นอย่างไร ไม่โลภแล้วก็สร้างสรร อย่างที่เคยอธิบายศีลข้อ ๒ สร้างสรร เป็นสัมมาอาชีพ

ศีล จะเกิดธรรมะอะไร ๕ ข้อนี่ ใครยังท่องจำได้มั่ง ปฏิบัติศีลข้อ ๑ จะเกิดอะไรเมตตาธรรม ปฏิบัติข้อ ๒ สัมมาอาชีพ ถ้าไม่รู้เรื่อง แล้วมันก็จะงง นะ ว่า เอ๊ ทำไมปฏิบัติศีลข้อ ๒ ไม่ฆ่าสัตว์ แล้วไปเกิดสัมมาอาชีพ มันไม่เห็นเกี่ยวกันเลย ศีลข้อ ๒ ไม่ลักทรัพย์ ศีลข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ศีลข้อ ๒ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ลักทรัพย์แล้วทำไมเกิดสัมมาอาชีพ ไม่เกี่ยวอะไรกันฟังแล้ว ถ้าเผื่อว่าเข้าใจ ลึกซึ้งแล้ว มันจะเห็นชัดเจนเลยว่า ก็ไม่ลักทรัพย์ ไม่ไปเอาของใคร เราก็ต้องทำเอง ทำเองก็คือ การงาน ก็ทำ ก็สร้าง ก็สรรขึ้น เมื่อสร้างสรรขึ้น งานอะไรดี เราก็เลือกงานทำดีๆ ทำประจำชีวิต เป็นสัมมาอาชีพ เหมือนอาตมา พาทำนี่ เป็นสัมมาอาชีพ พาทำไป เป็นฆราวาส แม้แต่เป็น สมณะ ก็อยู่ในขอบเขตของวินัย อันไหนทำได้ เราก็พาทำไป ไม่ผิดวินัย ไม่อะไร ก็ทำไปได้ ยิ่งทุกวันนี้สิ่งไม่ผิดวินัยมีเยอะ แล้วมันมีงานการที่กว้างขวางขึ้นกว่าแต่ก่อน สมัยโบราณ งานการยังไม่มาก ไม่มาย สมัยนี้งานการมันเยอะเหลือเกิน ทำได้เยอะ สมณะก็ทำงานได้เยอะ ทุกวันนี้น่ะ เป็นสัมมาอาชีพสร้างสรร อันไหนที่สำคัญ ยิ่งเรามี หลักเศรษฐศาสตร์ ในหัวใจ แล้วเราจะทำอะไรได้ โอ้ สัมมาอาชีพ แล้ว สัมมาอาชีพลึกซึ้งขั้น อาตมาก็ขยายความ ให้สอดคล้อง เข้ามาเรื่อยๆ สัมมาอาชีพ ว่ามันลึกซึ้งขึ้นอย่างไร กุหนา ไม่ได้เที่ยวได้คด ได้โกง ได้ทุจริต ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่อะไรแล้ว แล้วก็ต้อง ไม่หลอก ไม่ลวงด้วย อาชีพอะไรก็ไม่หลอก ไม่ลวง ลปนา ไม่หลอก ไม่ลวงแล้วก็ไม่ตลบตะแลงปลิ้นปล้อน ไม่มั่น ไม่คง เนมิตตกตา ทำงานทำการแล้วก็ยังมีซ้อน มีแฝง มีตลบตะแลงไปมา ว่าไม่เอาเปรียบ ก็เอาเปรียบ ว่าไม่โลภก็โลภ ไม่เบียดเบียนก็เบียดเบียน อะไรอยู่อย่างนี้ มันไม่จริงไม่จัง ตลบ แตลง มันไม่แน่ ไม่นอน ก็ให้มันแน่ มันนอน ให้มันตรงที่เราตั้งอก ตั้งใจว่า เราจะเอาประมาณนี้ ก็ให้ประมาณนี้ เราจะเอาแค่นี้ เราจะต้องการอยู่แค่นี้ เราเอาแค่นี้ อย่าไปเอามากกว่านี้ แล้วยิ่ง มักน้อยลงไปอีก เอาน้อยลงไปอีก สละให้มากได้ขึ้น เราจะพยายาาเกื้อกูลได้มากขึ้น สละได้มากขึ้น ตั้งใจไป เรื่อยๆ จนกระทั่งทำตรง ทำละเอียดขึ้นไป เป็นผู้ที่เกื้อกูล เสียสละ ไม่โลภ ลดความโลภ นั่นเอง ลดไปได้มากๆ เท่าไหร่ มันก็ยิ่งเป็น อาชีพที่เจริญ ตามที่เรากำลังตั้ง ระบบบุญนิยม เพื่อที่จะ ให้มันเป็นไป ในทิศทางที่จะได้ เกื้อกูลผู้อื่นถูกตรงๆ เสียสละได้มากขึ้นๆ สร้างสรรขึ้น แล้วก็มีแวดวง มีเครือข่าย มีพวกเกื้อกูล ช่วยเหลือ มีทุนรอนที่เสริมหนุนหมุนเวียน จนกระทั่งเ ราทำฟรีก็ได้ เราก็อยู่กับหมู่ได้โดยที่เราเองเป็นผู้ มันน้อยคุณค่าของแรงงาน คุณค่าของอะไร เจือจานอยู่ในนี้อุดมสมบูรณ์เผื่อแผ่กัน กระจายซ้อนกันออกมาไป เขาก็เป็นผู้ได้ ได้ เสร็จแล้ว ก็ไม่ได้ไปดิบไปดีอะไร ไปสร้างบาป สร้างเวร สร้างตัวอย่างไม่ดีไม่งาม ขึ้นในสังคมอีก เราก็พอทีเหอะ ไปนั่งสร้างประโยชน์ให้เขาทำไม สร้างผลประโยชน์ ที่เขาเอาผลประโยชน์ ทางลาภยศอะไรเอาไปแล้ว ก็ไปบำเรอตน ตัวเองก็ตกต่ำลง เป็นตัวอย่าง อันเลวทรามด้วย ไม่ได้ดิบได้ดีอะไร เราก็ไม่ต้องร่วมมือ ร่วมทำ ก็มาทำงานกับผู้ที่บริสุทธิ์ ทำงานที่มันมีบุญ มากขึ้น จะเป็นงานอะไรที่ แม้จะถูกลง ราคายิ่งถูกลงยิ่งดีน่ะ ยิ่งไม่เอาเปรียบ เราก็ถูกลงด้วย โลภโมโทสันน้อยลง แลกเปลี่ยนกลับมาน้อยลง ทำงานเจริญนะ มองกลับกันแล้ว ยิ่งได้เงินเดือน ถูกลง นั่นคือความเจริญ ฟังแล้วก็แทบเอาหัวตีดิน หันทิศไปคนละทางเลย ยิ่งทำงานได้มาก ยิ่งขยันหมั่นเพียร ยิ่งทำโอเวอร์ไทม์แน่ะ เสร็จแล้ว ก็ยิ่งไม่เอา ราคาโอเวอร์ไทม์ นั่นแน่ะ ยิ่งคิดราคาตัวถูกลงๆ นี่คือความเจริญ แต่ทางโลก เขาบอก เออ ค่าตัวของเรา ยิ่งแพงขึ้น คิดค่าตัว ค่าความสามารถ เรายิ่งแพงขึ้นๆ คือความเจริญ

ถ้ามองในรูปของโลก มันก็พอได้นะ เออ คุณทำนี่ได้ดีนะ มีความสามารถผลิตได้ดี คุณภาพดี ปริมาณมากขึ้น มันก็น่าจะได้ค่าแรงงานมากขึ้น ค่าความสามารถ ค่าความรู้สูงขึ้น มองในแง่ ตื้นๆ ต้นๆ ในระดับมิติที่ ๑ มันก็ถูก แต่เราปฏิบัติธรรม มีภาวะซับซ้อน มีภาวะ ที่เข้าไปหา ทิศทางที่เจริญยิ่ง ถ้าไม่มีอธิปัญญามองไม่รู้เรื่อง เออ เราดีขึ้นจริง แต่เราก็ได้ เสียสละซ้อน มันก็เป็นคุณค่า เป็นประโยชน์สร้าง แล้วเราก็ไม่เอามาก แต่เราก็เจริญจริงนะ ความสามารถ สูงขึ้น ความรู้สูงขึ้น ทำอะไรได้มากขึ้นจริงผลผลิตจากของเรา ทั้งความคิด ทั้งฝีมือ เจริญขึ้น มากขึ้น แต่เราก็ไม่เอามาก หรือมันจำเป็นที่จะรับมาจากอัตรา ของสังคมเขา ต้องให้มาก บอกแล้วว่า เป็นการเสริมหนุนให้คนต้องขยันหมั่นเพียร พัฒนาความเจริญ สร้างได้เก่ง ความรู้มากขึ้น ได้สิ่งที่ดีขึ้น เขาก็เลยให้ราคา เงินเดือนเงินดาวน์ ค่าแลกเปลี่ยน ให้สูงขึ้น เป็นธรรมดา ธรรมชาติ มิติที่ ๑ เราก็ไปแก้ไม่ได้ แก้อัตราสังคมนั้นไม่ได้ เขาให้มาก็จริง แล้วเราก็เอาเงินที่ได้ ที่อะไรมาเสียสละสร้างสรร เสริมหนุนสิ่งที่ดี จะมาบริจาคทาน หรือจะมา อุดหนุน หรือจะมาช่วยเหลือ หรือจะมาทำอะไรพวกนี้ก็เป็นลักษณะสัจจะถูกต้อง เพราะว่า เราไปแก้อัตราสังคมไม่ได้ก็เอามา ส่วนเกินพวกนี้เราก็รับมาเป็นของตัวเลย เอาส่วนนี้ ไปเสริมหนุน ผลักเบนไปเป็นส่วนที่จะไปสร้างสรรเป็นบุญ เป็นกุศลเป็นที่เจริญยิ่งขึ้น มันก็ได้เหมือนกัน นี่ก็อยู่ในสังคม มันก็มีอยู่อย่างนี้

ทุกวันนี้เราได้ในลักษณะพวกนี้หมุนเวียนขึ้นมาเหมือนกัน ผู้ที่เขายังจะต้องได้เงินทอง รายได้อะไร เขาได้แก้อัตราของสังคมไม่ได้ เขาก็ต้องยอมรับอยู่ เสร็จแล้วเขาก็เอามาหมุนเวียน ช่วยเหลือ เฟือฟายตามปัญญาของเขา ควรช่วยเหลือ กลุ่มไหนหมู่ไหนตรงไหน ที่มันถูกต้อง ทำบุญหรือว่าทำทาน ก็มีปัญญาที่จะดูว่า ไอ้ความสมควรขนาดไหน อย่างนี้เป็นต้น มันก็ได้ มันก็เป็นเหมือนกันละ ลักษณะคล้ายๆกัน โดยจิตใจของเรา เรารู้อยู่ เราก็เอามาใช้ มาหมุนเวียน อะไรพวกนี้ เป็นต้น มันก็ได้เกิดคุณค่าเกิดประโยชน์ที่แท้จริง เกิดบุญ เกิดการสร้างสรรที่ดี ที่จริง

ตัวเราเองนั่นแหละ เราก็ลดลงๆลดลงไปๆ จนกระทั่งกินน้อย ใช้น้อย ไม่ใช่กินน้อยใช้น้อย โดยการกดข่ม โดยการอดอยากไปเฉยๆ แล้วก็กดดันเอาไว้หนักเข้า ทีหลังพอได้โอกาส ก็กินมาก สวาปามเข้า เรียกว่าแก้แค้น กินแก้แค้นเลยก็ไม่ใช่ จะกินจะใช้อะไรก็ตามแต่ อย่างที่เรา ปฏิบัติมา ก็คิดว่าคงมีปฏิภาณพอรู้ว่าเราลด เราละมาได้อย่างไร แม้ที่สุด เราไม่มอบตน ในทางผิด เรามาทำเลยงานที่ไม่ต้องไปเอาเงินมา ได้เงินมามาก ก็เอาแต่เงินนี่แหละ มาจ่ายอะไรอยู่ ก็ไม่ต้องหรอก เราไปทำงานกับกลุ่มคน หรือว่าหมู่คน ที่ไม่ต้อง ไปเสียเวลา ซับซ้อน จะต้องไปรับอัตราตามตลาด ตามสังคมที่แก้ไม่ได้แล้วก็เอามา ทำอะไรอีกอยู่เท่านั้น เราก็มาเลย หมู่กลุ่มคนที่ลดละลงมา ช่วยเหลือเป็นแรงงาน หนุนเนื่องช่วย ที่จะต้องไปโลภ ในสังคม นั่นเราปล่อยให้เขาไปโลภ อยู่ในสังคม ขูดรีดในสังคม แล้วเราก็รับอัตรา ที่เขาให้ราคาแพงๆนั่น แล้วก็ค่อยเอามาทำ อีกทีหนึ่งซับซ้อน

นี่เราลวมาเลยมีบริษัท มีกลุ่ม มีหมู่ที่ทำงาน ที่เรามีความสามารถที่ดี ที่เจริญนี่แหละ ทำแล้ว เราได้รายได้น้อยลง เพราะเขาบริสุทธิ์ขึ้น เขาไม่ได้ไปโลภโมโทสัน เขาไม่ได้ขูดรีด เขามีระบบ บุญนิยมมากขึ้น เราก็ลดลงมา อย่างนี้เป็นความเจริญ เราไม่มอบตนในทางผิด นิปเปสิกตา ไม่มอบตนอยู่กับคนผิด ทางผิด หรือว่าสิ่งที่ยังเป็นบทบาทกิริยา วงจรที่มันยัง เป็นภัยต่อ สังคมอยู่ วงจรที่ยังไป บียดเบียนสังคมอยู่ เราก็ลดลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง สามารถทำงานฟรี มาทำงานกับกลุ่มที่บริสุทธิ์ที่สุด หรือมาทำงานตนเอง ที่มันบริสุทธิ์ ที่มันสามารถทำได้ เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องไปอยู่ในอาณัติ ที่จะต้องไปขูดรีด ไปเบียดเบียน ไปทำอะไร ที่มันเป็นหนี้ เป็นบาปให้แก่ตนมากขึ้น แล้วทำเองได้ก็ทำ นิเปสิกตา จนสุดท้าย ที่ตัววัดว่า เราทำงานไม่ใช่เพื่อลาภ ไม่ใช่เพื่อต้องการแลกลาภ แล้วเราก็ทำได้ว่า เราไม่ต้อง มีอะไรแลกเปลี่ยน มาทำงานฟรีรังสรรค์ มันก็จะต้องมีหมู่ มีกลุ่ม จะทำงานฟรีคนเดียวนี่ มันอยู่ไม่รอดหรอก คุณจะนั่งกินมรดกของคุณก็ไอ้เท่านั้นแหละ มันก็กักตุน ถ้าพูดในหลัก ด้านเศรษฐกิจแล้ว นั่งกินแต่เงินกักตุน แล้วก็เอาไปฝากแบงค์ หรือว่ากินไป ใช้ไป ในเงินกอง ของตัวเองนี่ ให้มันหมดไป มันก็ไม่เจริญ จริงๆแล้ว แม้แต่เงินแต่ทอง แล้วก็เอามา รีบสะพัด รีบทำ แล้วเราก็อยู่กับหมู่กับกลุ่ม ที่รังสรรค์ไป บทบาทมันจะซ้อนๆๆ

นี่ก็เป็นเรื่องของความซ้อนเชิง ที่อาตมาอธิบายเสริมในเรื่องของความโลภ ในความต้องการ ที่เราจะต้องการ สิ่งแลกเปลี่ยน มันจะสูงขึ้นไปเป็นอธิๆๆๆๆ ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น มาปฏิบัติศีล เป็นกุศลขึ้นไปแล้วนี่ มันจะไม่เกิดความเดือดร้อนใจอะไรเลย มีแต่ใจมันจะเกิด เห็นญาณ เห็นความเป็นอยู่ที่เจริญ เห็นความเป็นผู้ได้เสียสละได้ให้ เป็นผู้ที่มีกุศล เป็นผู้ที่มี คุณค่า มีประโยชน์สูงไปเรื่อยๆ นี่เป็นความหมายที่ลึกละเอียดซ้อนๆๆๆ เพราะฉะนั้น ถ้าปฏิบัติถูกแล้ว มันจะเกิดอวิปปฏิสาร มันจะเกิดปราโมทย์ ท่านไล่เลียงเป็นตัวๆไปนี่นะ

เอ้า ลองไล่ตัวนี้ก่อน ราคะก็เหมือนกัน อาตมาถ้าขยายความก็จะไปกันใหญ่ ขยายราคะ ก็เหมือนกัน ความผูกพัน ในเรื่องของกาม ในเรื่องของราคะเสพสุข แม้จะได้มาแล้ว ก็มาเสพสุข นั่นนี่ แม้จะไปได้ลาภ ได้เงินได้ทอง ได้อะไรมาแล้วก็เอามาเสพสุข มันเข้ามาหาตัวผัสสะ มันเข้ามาหาตัวชีวิต ราคะนั่นเข้ามาหาตัวเสพ ตัวอะไรมากขึ้น ซึ่งเราก็เรียนรู้กันอยู่ เราก็ลดละ กันไป ลดราคะน่ะขออธิบายเอาไว้นิดหนึ่งก่อน

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าลดราคะ หรือว่าปฏิบัติถูกต้อง ไม่เบียดเบียน ไม่โกรธ แล้วก็ไม่โลภ ศีลข้อ ๑ ไม่โกรธ โทสมูลปฏิบัติถูก ศีลข้อ ๒ โลภมูล ปฏิบัติถูก ไม่โลภ ไม่โกรธ ลดลงๆๆๆ ไม่โลภไปได้ อีกเรื่อยๆ แล้วก็ไม่ไปติดยึดในราคะ ไม่ไปติดยึดการเสพรสราคะ นี่คือเสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั่นแหละ เอาหยาบๆ ตั้งแต่เสพสัมผัส เมถุน ผู้หญิงผู้ชาย ซึ่งเป็นเรื่อง สัญชาตญาณ สัตวโลก เราก็ไม่เสพรสไม่ติดไม่ยึด ไม่มีกรรมกิริยาอย่างนั้น ปล่อยวางได้ แม้แต่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อื่นๆ กามคุณ ๕ หรือแม้แต่ไปเสพภพก็ต้องรู้ในตัวด้วย เป็นรูปราคะ อรูปราคะ อยู่ในภพ เป็นรูปภพ อรูปภพ ที่เราจะต้องเข้าใจ ก็ลดลงมาจริงๆ ถ้าลดได้ มันก็จะเกิด อวิปปฏิสาร ไม่เดือดร้อนใจ เมื่อไม่เดือดร้อนใจ แล้วอานิสงส์ ของตัวที่เป็น อานิสงส์ของศีล ที่จะทำให้สูงขึ้น ลองไล่ตัวนี้ลงไปเสียก่อน เป็นทาง แล้วจะได้ขยายความ ของศีล อธิศีล ที่มันจะขยายลงไปอย่างไร

เขาบอกอวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล ปราโมทย์ก็คือความยินดี ความเบิกบาน ร่าเริง ปราโมทย์ ความเบิกบาน ร่าเริงเป็นผล มีปราโมทย์ แล้ว มีความเบิกบานร่าเริง แล้วปราโมทย์ มีอะไรเป็นผล มีปีติเป็นผล ปีติ ความชื่นใจ ยิ่งปราโมทย์ กับปีติ มันก็มีลักษณะ อันเดียวกันน่ะ แต่ว่ามันแรง มันใหญ่ เรารู้เป็นความหมายที่มันสูง หรือที่มันลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน พอความไม่เดือดร้อนใจลดลง ความสบายใจ เรียกว่าปราโมทย์ ความสบายใจ ความไม่เดือดร้อนใจลดลง ความสบายใจ ความเดือดร้อนใจลดลง สบายใจก็ปราโมทย์แล้ว พอนอกจาก สบายใจแล้ว ยังมีผลดี มีกุศลดี ทำให้จิตของเรายิ่งสูงขึ้น เป็นปีติ ก็เลยยิ่งยินดี ยิ่งสดชื่น ยิ่งเบิกบานร่าเริง ยิ่งกินลึก เบิกบานร่าเริง ที่ประทับใจ เบิกบาน ร่าเริง ที่ลึกซึ้ง ยิ่งยินดีพอใจ ปลื้มปีติ ปีตินี้เราก็ทับศัพท์อยู่ด้วย มันยิ่งปลื้ม ยิ่งเบิกบานใจ ยิ่งพอใจมากสูงขึ้น จากปราโมทย์ นี่คือสบายใจแล้ว เพราะทิศทาง ที่มันปฏิบัติถูกทาง มันไม่เดือดร้อนใจ มันไม่ทุกข์ใจนี่ ใจมันไม่ทุกข์แล้ว มันก็สบายใจขึ้นมา ขั้นแรก ก็เรียกว่า ปราโมทย์ ขั้น ๒ สูงขึ้น ก็เป็นเรื่อง ยิ่งสบายใจ หรือยิ่งยินดีพอใจ ยิ่งชุ่มชื่นใจ ยิ่งสดชื่นใจ สูงลึกขึ้นไปอีก เรียกว่าปีติ

ปีตินั้นมีอะไร เป็นผลต่อ มีปัสสัทธิ ปัสสัทธิก็รู้ว่า มันแปลว่า ความสงบ แล้วสงบ ในลักษณะ ที่ปีตินี่ ไม่ใช่ปีติแบบโลก คนที่ปีติใจแบบโลก ได้รับผลเสพสมสุขสม เป็นโลกียสุข ต้องการเสพ อย่างนี้ ต้องการได้อย่างนี้ เมื่อต้องการเป็นเหตุปัจจัยก่อน แล้วได้สมใจ ในเหตุปัจจัย ได้สมใจ ตามที่เราต้องการนั้น สิ่งที่ต้องการนั้น ก็เกิดดีใจสบายใจ จะเรียก ทับศัพท์เดิมว่า ปราโมทย์ ว่าปีติก็ตาม สบายใจของโลกีย์ ดีใจของโลกีย์ อย่างนั้น มันไม่มีทางสงบ สงบอะไร กิเลสที่เป็น เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดอย่างนั้นนั้นน่ะ มันยิ่งโต มันยิ่งซ้ำ ความผยอง มันยิ่งย่ามใจ มันยิ่งติดใจ มันยิ่งเกิดการติดยึด มันไม่ใช่หน่ายคลาย เพราะมันอยากได้ แล้วมันก็สมอยากได้ แล้วมัน ก็ยิ่งเห็นจริง เห็นจริงว่า เออ จริงนะ ตามสมมุติน่ะนะ อร่อยจริงนะ เป็นสุขจริงนะ สมใจจริงนะ ถ้าไม่สมใจก็ยังคลายๆ แคลงๆ ก็ยังจะหาทางที่จะให้มันสมใจ ตามที่เราติดยึด ตามที่เรา สมมุติว่า มันน่าจะสุขอย่างนี้ มันก็หาสุขอันนั้น เป็นโลกียสุขให้ได้มุม ให้ได้เหลี่ยม ที่สมบูรณ์ ตามที่เสพสมสุขสม บำเรอ บำบัดกิเลส มาบำเรอ มาบำบัดสมุทัย เราไม่เรียนรู้ตัวสมุทัย ไม่เรียนรู้ตัวตัณหา ตัวกิเลส พวกนี้ ที่เป็นตัวต้นทาง ที่ใหญ่อยาก แล้วบำเรออยาก มันก็จะใหญ่ขึ้น ตัณหากิเลสนี่ เมื่อบำเรอ มันสมใจขึ้นๆ ไม่สมใจก็หาทางจนสมใจ จนได้แหละ เหลี่ยมนี้ ยังไม่สมบูรณ์ เหลี่ยมนี้ยังไม่บริบูรณ์ เสพสัมผัสอย่างนี้ ก็ยังไม่บริบูรณ์ ได้ลาภเท่านี้ ก็ยังไม่พอ ได้ยศเท่านี้ก็ยังไม่พอ ต้องได้มากกว่านี้ จะต้องได้ยิ่งกว่านี้ ยังไม่บริบูรณ์อีกก็ย่ามใจ ยิ่งใหญ่ ยิ่งโต ยิ่งหยาบ มันจะไม่มีการปัสสัทธิ ไม่มีสงบได้ มีแต่ใจที่จะเหิ่มหาญ กิเลสก็ยิ่ง จะจัดจ้าน ตัณหาก็ยิ่งจะรุนแรง ยิ่งหนา ยิ่งเพิ่ม จึงเรียกว่าปุถุชน ชนผู้ที่มีกิเลสหนาขึ้นในโลก

เขาไม่ได้ศึกษาธรรมะนี่ ไม่มีทางเลย กิเลสจะไม่หนาขึ้น เขาไม่ศึกษาจริงๆ อย่างที่เราพูดกัน

อ่านต่อหน้าถัดไป