อาศัยอะไรไปนิพพาน
พระสูตร โดย สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕
ณ พุทธสถาน สันติอโศก
หน้า ๒ ต่อจากหน้า ๑


ทีนี้ข้อสุดท้ายว่า เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิด ความดับ เมื่อตอนต้น อาตมาอธิบาย อ่านไปแล้วก็อธิบายไปบ้างแล้วว่าเป็นการเห็นความเกิดความดับ เห็นอริยะ เป็น เครื่องชำแรก ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น เห็นความเกิด ความดับนี้ มีเงื่อนไข ประกอบไปว่า ความเกิดความดับอย่างไร ความดับที่เป็นอริยะ ความเกิดความดับที่เป็น เครื่องชำแรกกิเลสให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เห็นความเกิดความดับอย่างนั้น เกิดอะไร เกิดความเป็น อริยะ ดับอะไร ดับกิเลส ดับทุจริต ดับอกุศล ดับสิ่งไม่ดีไม่งามหมด จนสัพพปาปัสสะ อกรณัง จนไม่มีกรณะ ไม่มีการกระทำ ไม่มีกิจ ไม่มีบทบาทของบาปทั้งหลาย ของความไม่ดีทั้งหลาย ดับ ดับสนิท เมื่อใดๆก็ดับ

ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ดับบาปทุกอย่าง ดับบาป ดับสิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม ทุกอย่าง โดยเฉพาะกิเลส กิริยาต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมกิริยาที่ได้แล้วเป็น อัตโนมัติ ดับได้แล้วเป็นตถตา เพราะฉะนั้น กรรมกิริยาต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมกิริยาที่ท่านดับได้แล้วเป็นอัตโนมัติ ดับได้แล้วเป็นตถตา ดับได้แล้วโดยเป็นอย่างนั้นเองเลย เป็นในตัวเองเป็นปกติ ศีลท่านแปลว่าปกติ ท่านก็เป็น ตามนั้น ศีลท่านบอกว่าให้ละเว้น เว้นขาดนะ อย่างนี้อย่าไปกระทำ ท่านก็สำเร็จ ไม่กระทำได้ โดยไม่ต้องพยายามฝืน ไม่พยายามที่จะต้องระวัง เป็นแล้ว ได้แล้วคล่องแล้ว เป็นปกติแล้ว จะศีลข้อไหน บอกว่าให้ละเว้นอะไรก็ละเว้นได้ เป็นอัตโนมัติ

ใหม่ๆ แรก ๆ คุณปฏิบัติศีลข้อนี้มันต้องสังวรระวัง ต้องพยายามระวัง ขนาดระวังๆ ยังเผลอ ยังด่าง ยังพร้อย ยังผิด ยังพลาดเลย แต่นี่ปฏิบัติจนกระทั่งเป็นปกติ แล้วไม่ต้องระวัง ไม่ต้องพยายาม มันก็เป็นเองแล้ว ตามศีลว่าให้ละเว้น ให้ไม่ทำอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนั้น มันก็เป็น ได้แล้ว อันนี้เป็นความจริงของตัวมันเอง จึงเรียกมันว่าตถตา มันเป็นอย่างนั้นเอง แล้ว มันเป็นอย่างนั้นแหละ เป็นเช่นนั้นเองแหละ เป็นเองนะ ตถะแปลว่าความจริง หรือของจริง ถ้าตถตา แบบประเภทตรรกศาสตร์ ก็บอกว่า เออ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ มันเป็นเองของมัน อย่างนั้นแหละ คนโง่ มันโง่ๆ ของมันอย่างนั้นแหละ ต้นไม้มันเกิด เออ มันอย่างนั้นล่ะ มันเกิดเองมันแหละ ฟักทองทำไมลูกโต เถาทำไมลูกเล็ก เออ มันก็เป็นของมันเองอย่างนั้นแหละ มะม่วงทำไมต้นใหญ่ แล้วลูกทำไมลูกเล็ก เออ มันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ ไอ้นั่น ก็ตรรกศาสตร์ธรรมดา แล้วก็ไม่เป็นปรมัตถ์ด้วย ไม่ใช่ปรมัตถธรรม มันเรื่องของโลกๆ มันเรื่อง ของความเข้าใจ คำนึง คำนวณไปตามนั้น ก็มันเป็นเอง แท้ๆ จริงตัวเองไม่มีคำอธิบาย เออ เป็นอย่างนั้นแหละ นิทานที่เคยเล่ากันมากมายนะ ที่ท่านพุทธทาสชอบยกเอามาอธิบาย

เพราะว่าท่านชอบอธิบายตถตาแบบนั้น ตถตาของท่านพุทธทาสท่านกับอาตมา ไม่เหมือน ไม่เหมือนกันนะ ตถตาคนละอย่าง ตถตาของท่าน ที่เช่นนั้นแหละของท่าน ท่านก็อธิบาย ซึ่งอาตมาก็เคยอ่านว่า ท่านอธิบายอย่างไร เคยอ่านเข้าใจ หลายคนในนี้ที่นี้ก็คงจะเคยอ่าน ตถตาของท่านละนะ แต่ตถตาของอาตมาไม่เหมือนของท่านหรอก ตถตาของอาตมานี่ จะต้อง มีสภาวรองรับ และหมายถึงปรมัตถสัจจะเป็นสำคัญ เป็นความจริง เป็นของจริง แปลว่าสัจจะ ก็ได้ ตถะนี่แปลว่าของจริง แปลว่าความจริง เป็นความจริง หรือของจริงที่เป็นสัจธรรม เป็นเรื่อง ของปรมัตถสัจจะ หรือแม้จะเป็นสมมุติสัจจะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เเป็นดีเป็นชั่ว ก็เป็นดี เป็นชั่วที่เป็นได้แล้ว เป็นสมมุติสัจจะ เป็นดีเป็นชั่วก็เป็นได้แล้ว หมายถึงการพัฒนามนุษย์

ตถตาอันนี้ เราอบรมด้วยศีล ศีลเราก็ทำตัวเราเองได้ขัดเกลาเป็นกุศล ศีลเป็นกุศล จนกระทั่ง ถึงวิมุติญาณทัสสนะ ศีลที่เป็นกุศลจนกระทั่งถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่กลับกำเริบ หมายความว่า บรรลุธรรม เจอวิมุติ เป็นอุภโตภาค ก็วิมุติโน่นแหละ ศีลนี่จะเกิดผลดีไปจน กระทั่งถึงวิมุติญาณทัสสนะ อย่างที่เคยเอาหลักฐาน พระพุทธเจ้ามาธิบายแล้วว่าศีล ถ้าเป็น กุศลแล้ว มันจะเจริญไปเป็นพระอรหันต์ ตามลำดับ จะต้องมีเกิดอวิปปฏิสาร จะต้องเกิด ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข เกิดสมาธิ เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ แล้วก็เกิดนิพพิทาวิราคะ เกิดวิมุติญาณทัสสนะ เป็นองค์ธรรมที่สมบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ปฏิบัติศีล ที่เป็นกุศล ปฏิบัติได้หมด ดี ดีจริงๆ ทั้งกาย วาจา โดยเฉพาะศีลที่เป็นกุศล ท่านอธิบายแต่ ทางจิต เพราะศีล ไม่ใช่ว่าทำแต่ปฏิบัติศีลแล้วจะเจริญได้แค่ กายกับวาจา ไม่ใช่ ในกิมัตถิยสูตร ก็ได้ นั่นแหละ ก็ในเล่มนี้ก็ได้อธิบายไปแล้ว

เริ่มต้น อวิปปฏิสาร ก็ถึงจิต มันเรื่องของจิตแล้ว ปราโมทย์ก็จิต ปีติก็จิต ปัสสัทธิก็จิต สุขก็จิต สมาธิยิ่งจิตใหญ่ ยถาภูตญาณก็คือปัญญา ก็คือตัวจิตนั่นเอง นิพพิทาวิราคะ ก็คือละ หน่าย คลายทางจิต จิตมันปลดปล่อย วาง ออก วิมุติญาณทัสสนะ ก็ถึงขั้นวิมุติเลย มีปัญญาเห็น วิมุติของตน รู้ของตนเอง นั่นเรียกว่า การเจริญทางกุศลน่ะ

ถ้าผู้ใดไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ต้องคำนึงถึงกุศลพวกนี้จริงๆ แล้วปฏิบัติมีผลของ กุศลอันนี้จริงๆ เป็นความจริง จนกระทั่ง ถึงตถตา ความจริงนั้นเป็นเอง มีสิ่งยืนยันรองรับ ตถตานี่ ไม่ใช่ตถตาอย่างที่อาตมายกตัวอย่างให้ฟังว่า เออ มันก็เป็นเช่นนั้นแหละ แล้วก็ปล่อย เถอะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ มันก็เป็นการบรรเทาใจได้เหมือน กันนะ ประโลมใจได้เหมือนกัน ก็เอา คุณจะใช้ก็ใช้ อาตมาก็ใช้เหมือนกัน เคยใช้เหมือนกัน แล้วพวกเราก็ได้ใช้

แต่ทีนี้ ท่านพุทธทาสอธิบาย จะว่ามันผิด ไม่ผิดหรอก แต่มันไม่ได้ลึกซึ้งอะไร มันไม่ได้เป็น ปรมัตถสัจจะที่สมบูรณ์ มันก็ได้บรรเทา อาตมาเคยใช้ภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า เป็นการรักษา เหมือนทางหมอรักษาโรคนี่ เป็นแค่ ซิมธอเมติกทรีทเม้นท์ ซิมธอเมติค เท่านั้นเอง เป็นการบำบัด บรรเทาๆ บรรเทาอาการ ไม่ได้ถอนรากถอนโคน ไม่ได้เป็นการรักษาอย่างถอนรากถอนโคน ไม่ใช่ แรดดิคอลทรีทเม้นท์ น่ะ ไม่ใช่เป็นการรักษาที่ไปหาถึงต้นเหตุเลย

เหมือนอย่างศาสนา พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้ไปจับ อย่างยกตัวอย่าง ปวดท้อง ไม่เป็นไร เราก็ไปเอาทัมใจ มากิน เอาก็บรรเทาอาการปวด แต่ไม่ได้รู้ ไม่ได้ตรวจว่าไอ้ปวดท้องนี่ มันปวดอะไร มันปวดท้องนี่ มันเป็นมะเร็ง มันเป็นอะไรล่ะ เป็นโรคกระเพาะ น้ำย่อยไม่ดี เป็นไอ้โน่นไอ้นี่ อะไรแล้วแต่ เป็นได้สารพัด ปวดท้องน่ะ หรือแค่ว่าคุณเครียด ก็ปวดท้อง เป็นโรคทางจิต ด้วยซ้ำไป ก็ปวดท้อง มันไม่ได้ไปตามหาเหตุที่แท้จริง มันก็แค่นั้นแหละ บรรเทาอาการไป ชั่วครั้งชั่วคราว มันไม่สมบูรณ์ มันไม่ถึงที่สุดน่ะ เพราะฉะนั้น คำว่าตถตา ที่อาตมาอธิบายนี่ อะไร หลายๆอย่าง ที่อาตมาอธิบาย มันไม่ค่อยเหมือนกับ หลายๆคน

อนิจจัง อนิจจา อะไรก็ไม่ค่อยเหมือนเขา อนัตตาก็ไม่ค่อยเหมือนเขา ตถตานี่ก็ไม่ค่อยเหมือนเขา กุศลก็ตาม แม้แต่ศีลนี่ปฏิบัติกันอย่างไร ก็ไม่เหมือนกัน สมาธิ อาตมาก็ยืนยันว่า ไม่เหมือนหรอก ที่เขาอธิบายกันอยู่ สมาธิอาตมาก็อธิบายของอาตมา ขอยืนยันว่า เป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งไม่ใช่ สมาธิ ตามที่เขาหมายน่ะ เรียนมาแล้วจะเข้าใจ แม้แต่จะกำกับลงไปในคำว่าปัญญา อาตมา ก็แยะแยะปัญญา หรือคำว่าสุข ก็แยกให้เห็นชัด ว่า สุขโลกียสุข มันหมายอย่างหนึ่งนะ สุขทางธรรม ของพระพุทธเจ้า วูปสโมสุข หรือสุขที่ไปนิพพานนี่ ปรมัง สุขขังของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สุข อย่างที่เข้าใจนั่นน่ะ

ถ้าเข้าใจรายละเอียดพวกนี้ไม่ได้ มันก็ปฏิบัติไม่ได้ ปฏิบัติไม่ถูก ไม่ได้เช็ค ไม่ได้ตรวจตรา แต่ถ้าเราถูกด้วยโวหารภาษา ความหมายเข้าใจแล้ว เรามาปฏิบัติพิสูจน์ เราจะได้ตรวจตรา ความจริงพวกนี้ เมื่อตรวจตราแล้ว เราจะได้รู้ว่า อ๋อ เจริญด้วยกุศล เจริญอย่างนี้นะ กายกรรม ก็ละเว้น ชักจะค่อยๆ ยังชั่ว แต่ก่อนนี้ แหม ยาก อดไม่ค่อยได้นะ มัน สั่นเลยนะ ต้องกายกรรม อย่างนั้น ต้องวจีกรรมอย่างนี้ อดปาก อดคอ ก็ไม่ได้นะ แหม มันจะต้องพูดเอาอะไรก็แล้วแต่ แต่มันเจริญแล้ว มันระงับได้ สงบได้

จนกระทั่งมันไม่ต้องพยายามระงับมันหรอก ไม่ต้องพยายามสังวรมันหรอก มันก็เป็นเองแหละ อย่างนี้เราก็ไม่พูด อย่างนี้เราก็ไม่ทำ อย่างนี้เราก็ไม่คิด อย่างนี้ก็ไม่เกิดอารมณ์ อย่างนี้ไม่เกิด ขนาดสัมผัสแตะต้องอยู่ ถ้าเมื่อก่อนหรือ มันแล้ว สัมผัสแตะต้องอย่างนี้

เดี๋ยวนี้ สัมผัสแตะต้องอยู่ ก็ไม่มีความสุข หรือไม่มีความอร่อย ไม่เกิดรสชาติอย่างนั้นๆ นี่ต้องอ่านแล้วว่ารสชาติที่อัสสาทะ ที่ว่ารสชาติในอาการทางจิต รสชาติมันคืออย่างไร ต้องมี ปัญญาญาณอ่านออกว่า อ๋อ รสชาติมันเป็นอย่างนี้ รสชาติที่เรียกว่าภาษาคนนะ เอามะนาว มากิน กินมะนาว โอ มันก็เปรี้ยว คนชอบกินมะนาวว่าอร่อย มันอร่อยแฮะ ทีนี้มันไม่ใช่รสเปรี้ยว ไอ้คำว่ารสเปรี้ยวอย่างนั้นนะ คนชอบมะนาว หรือว่าคนชังมะนาว กินแล้วเปรี้ยวเหมือนกันหมด รสเปรี้ยว ของมะนาว ก็เหมือนกัน แต่คนอร่อย กับคนไม่อร่อย ไม่ไหว

อย่างอาตมานี่ ไม่ค่อย เข้ากันกับรสเปรี้ยว อาตมาขนลุกขนพองเลย ไม่ใช่อร่อยนะ หรือคนชอบ รสหวาน คนชอบรสขม คนชอบรสอะไรนี่เป็นต้น หรือคนเห็นสี สีแดงนี่เขาสวย โอ้โห เป็นสุข ใจชื่น อยากได้ ชอบ คนตาดี ที่ไม่บอดสี เห็นสีแดง ก็เห็นเหมือนกันล่ะ ธรรมชาติภาษา คนเห็นสี ก็เหมือนกัน แต่ในการเห็นสี ความรู้สึกเห็นสีนั้น มันมีกิเลสเข้าไปปรุงร่วมเข้าไป เป็นรสอร่อย ปรุงแล้ว เป็นรสอร่อยแล้วชอบหรือชัง มันเกิดแล้ว ทีนี้ สีนี้สวย หรือไม่สวย เราสัญญากำหนดรู้ตามโลก โลกเขาว่าสวยนะสีนี้ เราก็กำหนดเข้าใจตามเขา แต่เราจะมีรสชาติ ความสวย พึงใจ หรือ ไม่พึงใจนั้นหรือไม่ ซ้อนลึกเข้าไป เรารู้ตามรส ตามโลกได้ โลกว่าสวย เราก็เข้าใจสวยตาม เราจะทำสวยตามโลกที่เขาเข้าใจให้ก็ได้ ทำสวย ให้ตามที่โลกเข้าใจก็ได้

แต่เราไม่ได้เกิดรสอร่อย เข้าใจเขา แล้วก็ทำให้ได้ขนาดตามเขาว่า ปรุงอาหารอร่อย เป็นแม่ครัว มือดี อย่างนี้ล่ะ สมมุติอย่างนี้ เขาว่าอร่อย รสชาติของคนไทย อย่างนี้ล่ะนะ แต่บางที ไปให้ฝรั่งกิน ฝรั่งร้องจ๊ากเลยนะ แต่รสชาติอย่างนี้ของคนไทย บอก โฮ้ย ยังงี้เหรอ แซบ แหม อร่อยแท้ รำ หลายเลย รำจ๊าด จ๊าดรำเลยนะ อร่อยจัดเลยนะ ว่างั้นนะ อร่อยมาก แต่ฝรั่งซัดเข้า เวรี่อ้วก อ้วกมากๆเลย เขากินไม่ลงน่ะ กินไม่ไหว มันก็อยู่ที่สมมุติ มันก็อยู่ที่กิเลส

เอาล่ะทีนี้ เรารู้ว่าอย่างนี้แหละปรุงให้ใส่ปากคนไทย คนไทยชอบ ตัวเองไม่ได้ชอบด้วยหรอก ตัวเองไม่ได้ปรุง ตัวเองไม่ได้อร่อยด้วยเลย เราก็ต้องรู้ว่าเราไม่ได้อร่อย แต่เราปรุงให้เขาได้ จำได้ ปรุงอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ขนาดอย่างนี้ให้เขากิน แต่ตัวเองไม่มีความติดยึด ไม่มีความชอบอันนั้น แล้ว แม้แต่จะกินด้วย เราก็ไม่ได้มีรสอร่อยอันนั้นกับเรา แต่เรารู้ว่าอร่อย สัญญากำหนด ถูกต้อง ปรุงมา ได้สัดส่วนนั้นเท่ากันให้เขา เห็นไหม มันซ้อนลึก

เพราะฉะนั้น คนที่เป็นประโยชน์ในโลกนี้ รู้สมมุติโลก ต้องรู้สมมุติสัจจะ สร้างกุศลอยู่ในโลกนี้ เข้าใจ กุศลอยู่ในโลกนี้ ตามฐานะบุคคล จะเกื้อกูลเขาเท่าไหร่ จะขัดเกลาเขาเท่าไหร่ คุณอร่อย ติดขนาดนี้เหรอ ให้คุณบ้าง แต่ไม่ให้ครบ คุณจะต้องปรุงอย่างนี้ ๑๐๐% เอาไปแค่ ๕๐ กินลง ก็ดีแล้ว ไม่ใช่ว่าคุณติด ๑๐๐ อย่างนี้ โอ้โห ให้ ๑๐๐ เลย ดีไม่ดี ปรุงมีของใหม่ อุปาทานซ้อน เข้าไปอีก ๑๑๐-๑๒๐ หนักหน้าเข้าไปอีกเลยปุถุ ปุถุเลยหนาใหญ่เลย เอ้า อาตมาขยายความ ไปเยอะนะ ขยายความให้เห็นปรมัตถ์ ให้เห็นความลึกซึ้งของอะไรต่ออะไร ทั้งหลาก ทั้งหลายแหล่

สรุปแล้ว อาตมาขยายความอยู่ที่ไม่ทอดธุระในกุศล คำว่ากุศลธรรมของพระพุทธเจ้า จึงลึกซึ้ง มาก ในพระอภิธรรมก็สอนแต่แค ่กุศลาธัมมา อกุศลาธัมมา อัพพยากตา ก็เคยขยายให้ฟัง แล้วว่า อัพพยากตา มี ๒ นัย อัพพยากตาแบบอวิชชา ก็คือ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีดี ไม่มีชั่ว แบบ ซื่อบื้อไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเผื่อว่า เป็นอัพพยากตาธัมมา ธรรมที่ไม่ดี ไม่ชั่ว ธรรมที่เป็นฐานะอุเบกขา ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่บวกไม่ลบ แต่รู้นะว่าดีแล้วยังดีให้ถึงพร้อม ยังกุศลให้ถึงพร้อมได้ แต่ตัวเองกลาง ๆ ไม่ได้หลงใหลติดดี แต่ก็รู้ว่าทำดี มันดีกว่าทำชั่ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้หยุดทำ ไม่ให้สันโดษ ไม่ให้สันโดษในกุศล ไม่ให้สันโดษ ไม่ให้พอ กุศลนี่ สร้างไปเถอะ ให้ยิ่งเท่าไหร่ ให้มีเท่าไหร่ ก็ทำไปเถอะ ไม่ให้สันโดษในกุศล แล้วไม่ให้ติดกุศลนั้น ที่เราทำนั้น เป็นเรา เป็นเขาอีกด้วย นี่ก็ของลึก ที่อาตมาก็พูดซ้ำพูดซาก บ่อยๆน่ะ

ผู้ที่ไม่ทอดธุระ จึงต้องฝึกฝน ฝึกฝนจนชิน จงเป็นผู้ที่ทำกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม จนเป็นตถตา นอกจากไม่ทอดธุระ ฝึกฝนขวนขวายแล้ว จนกระทั่งเป็นไม่ทอดธุระเลย เป็นเมื่อไหร่ ผู้นั้นก็จะ มีความพากเพียร ก็เกิดอยู่ในตัว ความยังกุศล ยังไม่ทอดธุระ ก็เป็นธรรมดาๆ เป็นปกติ เป็นปกติที่ท่านจะขวนขวาย เป็นปกติ ที่ท่านจะทำอะไรดีๆ สร้างกุศล ยังกุศล ให้ถึงพร้อมอยู่ โดยเป็นธรรมดา เป็นเอง เป็นปกติ เป็นความไม่ต้องพยายาม ไม่ต้องขยัน ไม่ต้องอะไร มันก็ขยัน อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ต้องพากเพียรท่านก็เพียรของท่านอยู่อย่างนั้นแหละ ท่านก็ทำของท่าน อยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อยท่านก็พัก ไม่เมื่อยท่านก็เพียร สมควรทำ ท่านก็ทำอยู่ ไม่สมควร สมควรพักแล้ว สมควรหยุด สมควรไปทำอื่น ท่านก็ไปอื่น อะไรอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น การไม่ทอดธุระ จนถึงที่สุดนี่ จึงไม่ใช่เรื่องตื้นๆ เขินๆ เป็นผู้มีปัญญาข้อที่ ๕ นี่ ปัญญาที่อาตมา อธิบายสู่ฟังนี่แหละ คุณเข้าใจให้ดี ทำความเห็น ปัญญาตัวต้นก็คือ ทำความเห็นทำทิฏฐิ ทำความเข้าใจ ให้มันเข้าใจดีๆ ให้ตรง จนทิฏฐิความเห็นนี้ เป็นสัมมาแล้ว ไม่วิจิกิจฉา ไม่สงสัย ไม่ลังเล เอาให้แม่น เอาให้ชัด เสร็จแล้ว ลงมือไปปฏิบัติตลอดเวลา

เมื่อทิฏฐิดี สัมมาดี สัมมาทิฏฐิดีแล้ว ก็ยังเหลือแต่สัมมาสติ สัมมาวายามาะ มีสติให้ดี แล้วก็ พยายามให้ดี สัมมาทิฏฐิจึงเป็นประธาน แล้วสัมมาสติ กับสัมมาวายามะห้อมล้อม สัมมา วายามะ สัมมาสติห้อมล้อม เพราะฉะนั้น สติกับความพยายามนี่ ถ้าทิฏฐิมิจฉา สติกับพยายาม ก็มิจฉาด้วย ถ้าทิฏฐิสัมมา สติกับพยายามก็เป็นสัมมาด้วย

ในการปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ก็มีหลักตัวปฏิบัติก็ตัวประธานก็คือทิฏฐิ ตัวพยายามกับตัวสติ ก็คือ เป็นเครื่องกล ตัวปฏิบัติจริงอยู่ที่ไหน อยู่ที่สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ตัวปฏิบัติจริง เพราะฉะนั้น ต้องไปพัฒนาสังกัปปะ ไปพัฒนาวาจา ไปพัฒนากัมมันตะ ไปพัฒนาอาชีพ เกิดสั่งสมเป็น สัมมาสมาธิ

แต่แค่อธิบายสมาธิ อธิบายมรรคองค์ ๘ แล้วปฏิบัติให้ถูกอย่างนี้ ก็ยังไม่ค่อยพูดกันในเมืองไทย ในศาสนาพุทธ มันจึงไม่ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้ากันเลย สมาธิก็ไปนั่งหลับตา มรรคองค์ ๘ ก็ท่องพอสมเหมาะสมควร เอาตาม เป็นกลางๆนะ มัชฌิมาปฏิปทา เสร็จแล้ว ปฏิบัติมัฌชิมา ก็คือ เอนเอียงเข้าข้างกิเลสตัวเองเสมอ แล้วก็ไม่ได้ไปสังวรอะไรมากมาย กาย วาจา ใจ หรือแม้แต่ การงาน ถ้าปฏิบัติธรรมปรมัตถ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำงานไปนั่งหลับตาโน่น เอ้า ไปโน่น เลย ลงทะเลยะเยือกเย็นไปเลย มันเลยไม่สมบูรณ์

องค์ประกอบของศาสนาก็เลย กลายเป็นคนปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้า ต้องหนี หนีผู้ หนีคน หนีการ หนีงาน หนีอะไรต่ออะไรไปหมด ออกไปป่า เขา ถ้ำอะไร ตามที่ไปฟังในเชิงประกอบ ซึ่งเป็น เรื่องราว บางเรื่องที่จะใช้เชิงประกอบบางครั้งบางคราวเท่านั้น ไม่ใช่หลัก แกนใหญ่ หลักแกนใหญ่คือ มรรคองค์ ๘ จะไปนั่งหลับตาสมาธิ ทำอาณาปาณสติ โน่น ที่แจ้ง ลอมฟาง ป่า ป่าช้า ป่าชัฏ อะไรก็แล้วแต่ ที่บอกว่า เอ้า ไปนั่งหลับตา ตั้งกายตรง ดำรงสติคงมั่น เป็นอาณาปาณสติบ้าง เป็นทำสมาธิแบบเจโตสมถะบ้าง ก็ไปเอาหลักเหล่านั้นมายืนยัน แล้วก็ มันก็อธิบายอย่างนั้นนะ มันไม่ใช่สัมมาสมาธิ หลักสัมมาสมาธิ โยนทิ้งไปเลย สมาธิของ ศาสนาพุทธ จึงเพี้ยนไปหมด ไม่เข้าใจทั้ง ๒ ด้าน ไม่เข้าใจทั้งสมาธิแบบเจโตสมถะ ไม่เข้าใจ ทั้งสัมมาสมาธิ ของพระพุทธเจ้า ที่เกิดจากมรรคองค์ ๗ ซึ่งหลักฐานยืนยันใน มหาจัตตารีสกสูตร ยืนยันไว้ชัดเจน ซึ่งเขาเถียงไม่ได้นะ ตำรายังอยู่มั่นคง แต่เสร็จแล้ว มันก็เพี้ยน อย่างที่ว่านี่ เพราะฉะนั้น อธิบายอะไร ก็ไม่ทะลุ อาตมาว่าอาตมา เอามาอธิบายนี่ มันจะทะลุ มันจะประกอบกันไป กลืนกัน แล้วลึกซึ้งซับซ้อน ลึกซึ้ง ลึกซึ้งประณีต ลึกซึ้งไป เรื่อยๆ น่ะ ไอ้นี่ องค์ ๕ อันบน

องค์ ๕ อันต่อมา เสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ คือ เป็นสถานที่ ไม่ใกล้ ไม่ไกลนัก สมบูรณ์ ด้วยทางไปมา กลางวันไม่เกลื่อนกล่น กลางคืนเงียบเสียง ปราศจากเสียงอึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด แล้วสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย เอาละ อันนี้ เป็นองค์ประกอบของสถานที่ ก็ไม่มีอะไรมาก สถานที่อันนี้เป็นเสนาสนะ สถานที่ก็เราก็มีอยู่แล้ว อาตมาถึงไม่ได้ไป ต้องแสวง หาป่า ที่จะต้องไปป่าไกลๆ โอย กว่าพวกคุณจะไปได้ ขนาดมาทำอยู่กลางเมือง อยู่ในกรุงเทพฯ ขนาดนี้ ยังไม่ค่อยจะมาเลย โอ อาทิตย์หนึ่ง ไม่ค่อยจะมาเจอะหน้ากันน่ะ อาตมาก็ ว่าให้ อาทิตย์หนึ่ง มาวัดหนหนึ่งก็เลวแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ ฟังไปก็เฉย นะ ที่นี่ ไม่ใกล้ ไม่ไกลนัก แล้วจะไปหาอยู่โน้น ต่างจังหวัด อยู่ภูเขา อยู่แดนเขตติดกับพม่า หรือที่ไหนก็แล้วแต่นะ ยังมีอีก เยอะนะ ไปอีกก็ได้นะ จะไปแสวงหาอย่างนั้น

คนถึงได้สงสัย ทำไมอาตมาไม่ออกป่า มันออกนอกรีตนอกทางของศาสนาพุทธ เป็นพระปฏิบัติ หนอย มาทำเดินว่อนๆ อยู่กลางเมืองกรุงเทพ ก็เดินจนได้ดี เราอยู่ที่ไหน เราก็สร้างเป็นเสนาสนะ บอกมี ป่า เราก็ทำให้มันมีป่าขึ้นสิ นี่ก็เป็นป่าขึ้นถึงวันนี้ อาตมาถึงได้ โชว์ได้ คุยได้ แต่ไม่ใช่ สโฐ นะ โอ่อวด นักโอ่อวด นักมายา นี่มีความจริงตามความเป็นจริง พูดนี่ ยถาภูตัง อัตตานัง อาวิกัตตา ก็พูดตามความเป็นจริง ที่มันเป็นมันมี เราก็ทำขึ้น ไม่ใช่ที่นี่แห่งเดียว อาตมาอยู่ที่ไหน ก็ทำขึ้นทั้งนั้นแหละ สันติอโศกก็ปลูก ไปอยู่ที่ไหนก็ปลูกทั้งนั้นแหละ อยู่ปฐมอโศก เดี๋ยวนี้ ก็ปลูกขึ้นไป ก็ไล่เรี่ยกันแล้ว ปฐมอโศกนี่หลังสุด อยู่สวน สวนไหน ที่ไหนๆ ที่นี่ก็ปลูก มันมีอยู่เก่า ก็รณรงค์ ก็รักษาไว้ อนุรักษ์ไว้

มีเติม มีแถม อะไรอยู่ที่ศาลีอโศก แต่ก่อนนี้ ป่าช้า ร้างๆนะ ป่าช้าร้าง มันต้นไม้จะไม่มีแล้ว แต่ก็มีอยู่บ้าง เราก็รักษามันไว้ แล้วก็ปลูกเสริม เดี๋ยวนี้ ร่มรื่นแล้ว ขนาดศาลีอโศกนี่ มันโอ้โห ร้อน ปลูกไม่ค่อยขึ้น น้ำน้อย แล้ง มันเป็นที่ดอน ที่สูง เดี๋ยวนี้ ก็ร่มรื่น ที่ไหนๆ ก็ทั้งนั้นล่ะ มันหลายที่ หลายแห่ง อาตมาพาทำ มามีหลักฐานยืนยัน ไม่ได้หมายความว่า เราพูดเอาหน้า เราพูดคุยเล่น ซึ่งอาตมาเข้าใจลึกๆ อยู่น่ะ ก็ทำให้มันเป็นที่ๆเงียบเสียง ร่มเย็น ให้มันเป็นป่า จะบอกว่าเป็นป่า ก็เป็นในตัว เป็นเสนาสนะที่เป็นองค์ประกอบชัดเจนน่ะ

ต่อมา อันที่ ๒ ก็ปัจจัย ๔ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช มีปัจจัย ๔ ย่อมเกิดขึ้น ไม่ฝืดเคือง แก่ภิกษุ ผู้อยู่ในเสนาสนะนั้น ไม่ฝืดเคืองหมายความว่าพอได้ ไม่ใช่ว่า อุดมสมบูรณ์ พรั่งพร้อม เต็มไปหมด จนล้นจนเกิน ไม่ใช่ แต่แม้จะล้นจะเกิน ก็ต้องรู้ว่า มักน้อย สันโดษ เป็นเหมาะสม สมควร เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปแสวงหาสถานที่เสนาสนะ ก็คือ จะต้องไปหาที่มันบิณฑบาต ได้รวยๆ มีใครเอาปัจจัย ๔ มีเสื้อผ้า หน้าแพร ที่จะให้ก็มากมาย ที่อยู่ก็โอ้โห โอ่โถง หรูหรา ฟู่ฟ่า เป็นสถานที่ ที่สร้างได้ง่าย ก็ไม่ใช่อย่างนั้น ก็หมายความว่า พอมีปัจจัย ๔ อาศัย

แต่ถ้าจะอุดมสมบูรณ์ขึ้นมา ก็รู้จักมักน้อยสันโดษ รู้จักแต่พอดี โภชเนมัตตัญญุตาเป็น มัตตัญญุตา จ ภัตตัสมิงได้ ต้องประมาณในเรื่องปัจจัย ๔ ในเรื่องเครื่องใช้ เครื่องกิน เครื่องอุปโภค บริโภคน่ะ แต่ก็ไม่ใช่ให้ไปในทางที่กันดาร จนกระทั่งไปอยู่ในป่า จะบิณฑบาต ก็ไม่ได้ เพราะว่ามันไกลนั่นล่ะ ไปบำเพ็ญที่ไม่ได้ที่ ไม่ใช่ที่ที่ควรบำเพ็ญ หรือไปในที่ กันดาร ไม่มีอะไรต่ออะไร จะใช้จะสอย น้ำท่าจะอาบก็ไม่มี จะอาศัยอยู่ ก็อย่างทรมานทรกรรมเกินไป เราถือว่า นี่แหละ ขัดเกลา มันจะต้องฝืดเคืองอย่างนี้แหละ ขัดเกลา

อย่าลืมนะว่า ท่านตรัสไว้ว่าไม่ฝืดเคือง แต่เสร็จแล้ว ก็เข้าใจผิด ไปหาสถานที่ ที่จะฝืดเคือง แล้วก็บอก ฉันนี่แหละ เป็นนักบำเพ็ญชั้นหนึ่ง ไอ้นั่นมันจะเป็นลูกฤาษีแล้ว ฤาษีเขาชอบ พวกฝืดเคือง แล้วก็เอามาคุยโอ่อวดน่ะ คุยอวดคุยอ้าง ไม่ใช่ ของเราไม่ฝืดเคือง

แม้ที่นี่ เราก็พยายาม มีที่จะปลูกผัก ปลูกพืชขึ้น เราก็ปลูก มีที่จะทอผ้าได้ อาตมาจะพาทอ แต่ว่า ไม่ต้องหรอก มันพออยู่ที่นี่ มันไม่ฝืดเคือง ผ้าผ่อนอะไรก็ เอ่ยปาก ผ้าขาดหน่อย ไม่ต้องห่วงล่ะ จะเอามาเปลี่ยนเรื่อยเลย นี่อาตมาไม่ยอมเปลี่ยนผ้าผืนนี้ จะพยายามให้ปะ ให้ปะใช้อยู่บ้าง พยายามปะมันก็ยัง แหม ดูยังดีนะ บางคน โอ้โหย นั่นน่ะ มันเป็นรูแล้ว มันโหวๆ บางๆ แล้วนี่ มันก็ยังใช้ได้น่ะ อาตมาก็ปะก่อน แต่พอน่ะ เราพอ เพราะฉะนั้น เราก็ทำขึ้น ไม่ได้ผิดอะไร

ต่อมา จะต้องมีพระเถระ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้เป็นเถระ เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ในเสนาสนะนั้น เข้าไปป่านี่ มีไหม พระบอกว่า ไป แหม วิ่งเข้าป่า ไปบำเพ็ญ บอกว่านี่แหละ เขาบำเพ็ญธุดงค์ ไม่ได้จะต้องไปที่ที่มีอาจารย์ จะต้องมีพระผู้เถระ ที่เป็นพหูสูต มาที่นี่มีพระเถระต่างๆ มีเถระไม่ใช่พระแก่อย่างเดียวนะ ไม่ได้หมายความว่า พระแก่ เท่านั้น นะ ๑๐พรรษาเถระ, ๒๐พรรษาขึ้นไปมหาเถระ แก่เพราะอายุยืน แก่เพราะ กินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน ไม่ใช่เถระอย่างนั้น

แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเถระ ท่านเคยสอน ท่านเคยตรัสว่า ผู้เถระนี่ คือผู้ที่มีภูมิธรรม แม้ผู้มีภูมิธรรมนี่ ถือว่าเถระแท้ เณร บรรลุอรหันต์ ก็ถือว่าเถระ อย่างนี้มีหลักฐานยืนยัน ด้วยซ้ำไป ผู้เป็นเณร เณรนี่ ได้ไปเป็นอรหันต์แล้ว นั่นแหละเป็นผู้เถระ เถระก็ได้น่ะ เป็นผู้มีพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ หรือว่าทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เรียกว่า มีความรู้ ที่จะสอน ที่จะพึงอบรมได้น่ะ จะต้องเป็นอย่างนั้นด้วย ถึงเรียก ว่าเสนาสนะ

ภิกษุนั้น เข้าไปหาพระเถระ ตอนนี้ เจาะลึกเข้าไปถึงพฤติกรรมแล้ว ภิกษุนั้น เข้าไปหาพระเถระ เหล่านั้น ตามกาละอันสมควร แล้วย่อมสอบถามไต่ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้ เป็นอย่างไร ใฝ่การศึกษา สรุปง่ายๆ

เมื่อมีผู้เป็นครูบาอาจารย์แล้ว ก็ใฝ่การศึกษา ถ้าแม้ว่าครูบาอาจารย์ ท่านก็ขวนขวาย ในการสอน อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเข้าไปหาท่าน ให้จู้จี้มากนักก็ได้ ถ้าพระเถระท่านไม่สอน ก็ไปหาท่านบ่อยๆ พระเถระที่ไม่ค่อยสอน เข้าไปหาท่านบ่อยๆ ถ้าพระเถระที่เข้าไปหาบ่อยๆ ก็ว้ากบ่อยๆ นั่นแสดงว่า ไม่ใช่ เถระแล้วนะ หนอยไม่สอน ไม่ค่อยเทศน์แล้ว ยังไปหาก็ไม่ค่อยจะสอน ไม่ค่อยจะแนะด้วย ไม่ใช่เถระแล้ว เถระต้องรู้หน้าที่ หน้าที่ของเถระ ก็คือเป็นครู เป็นผู้ที่ จะต้องสอน ต้องสอนด้วยวิธีนั้นวิธีนี้ ต้องหากาละเวลาที่จะสอน ถ้าเราสอนน้อย เขาไปหา ก็ต้องให้เขา ถ้าเราสอนมากแล้ว ก็ต้องพอสมควร หรือจะยิ่งขยัน เขาไปหา สอนก็สอนแล้ว เขาเข้าไปหา ก็ยังมีน้ำใจสอน เอ้า ใครๆ เข้าไปหา ก็บรรยายหมดเลย ก็ดียิ่งดีใหญ่

อาตมานี่ไม่ไหว สอนก็พยายามหาโอกาสสอนให้มันส่วนรวมๆ มากๆหน่อย ถ้าจะปล่อยทีละคน ทีละคน ก็ไม่ต้องกิน ไม่ต้องนอนกันพอดี ไม่ไหว แล้วหลายๆอย่าง ที่เราจะต้องทำ เพราะว่า งานส่วนที่จะต้องทำอื่นๆ แม้แต่เรื่องเขียนหนังสือ จริงมีคนเขียนหนังสือ แต่ถ้าอาตมาเขียนบ้าง อาตมาก็ว่าดีนะ เขียนหนังสือบ้าง ทำโน่นทำนี่บ้าง ทำสื่อสารอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรอีกต่างๆ นานา หรือแม้แต่จะตรวจจะสอบโน่นๆนี่ๆ จะต้องมีการทำอันโน้นอันนี้ อะไรก็แล้วแต่เถอะ มัน แหม พูดไปก็เยอะแยะหลายๆอย่าง เราก็ต้องมีเวลาทำอันโน้นอันนี้บ้าง ในการบริหาร ในการที่ จะจัดการ อะไรต่ออะไรต่างๆ นานาน่ะ

สรุปแล้ว ก็คือว่า จะต้องพยายามเอาความรู้จากพระเถระให้ได้เท่านั้นเอง ต่อมา ท่านพระเถระ เหล่านั้น ย่อมเปิดเผย ข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมทำให้ง่าย ซึ่งข้อที่ยังไม่ทำให้ง่าย ย่อมบรรเทา ความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยแก่ภิกษุนั้น ก็หมายความว่า พระเถระก็จะต้อง พยายาม ชักของลึกให้ตื้น หงายของที่คว่ำให้ได้ เหมือนจุดไฟในที่มืด ต้องทำความกระจ่าง พยายามช่วยกัน วิถีทางใด พระเถระมีหน้าที่จริงๆ มันเป็นหน้าที่พระเถระ แล้ว ถ้าเผื่อเรา เป็นพระเถระจริงๆ ก็ไม่ถึงบังคับหรอก มันจะมีกะจิตกะใจเอง เป็นพระเถระแล้ว จะรู้หน้าที่ มันจะมีกะจิตกะใจ เราต้องทำให้เขากระจ่าง ทำให้เขาไม่กระจ่างมันก็ไม่ได้ต่อ ไม่ได้สืบทอด ต่อไว้ มันก็ไม่ได้ทำความเจริญ มันก็ไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาอะไร หน้าที่เราได้ทำให้ เกิดการ พัฒนา ให้คนได้รับความรู้ ให้คนได้รับความกระจะกระจ่างเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี มากเท่าไหร่ยิ่งดี แท้จริงเท่าไหร่ยิ่งดี ทำเข้าไปซี มันเป็นหน้าที่จริงๆนะ เพราะฉะนั้น พระเถระจริงๆ จะเข้าใจ อย่างนี้ แล้วก็จะทำอย่างนี้

ถ้าตัวเองติด ถ้าตัวเองขี้เกียจ ตัวเองไม่ขวนขวาย ตัวเองก็ต้องฝึก ตัวเองต้องเร่งรัดตนเอง ฝึกตัวเองให้เป็นไปได้โดยง่าย เป็นไปได้โดยไม่ยาก เป็นคนขยัน เป็นคนพากเพียร เป็นคนที่มี กะจิตกะใจที่จะช่วยเหลือเฟือฟาย ทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์ผลต่อๆไป ตามหน้าที่อันนี้ เขาจะพากเพียรเองน่ะ เพราะฉะนั้น พระเถระ เมื่อทำให้ง่าย ซึ่งข้อที่ยังไม่ทำให้ง่าย ย่อมบรรเทา ความสงสัยในธรรม ที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยแก่ภิกษุนั้นเสร็จ มันก็จบบริบูรณ์แล้ว มันก็ต่อทอด สืบทอดเอาไว้น่ะ เพราะฉะนั้น ในเสนาสนะนั้น ถ้าสรุปกันจริงๆ แล้ว ทั้งหมด จะต้องเป็นเสนาสนะที่มีพระอริยะ หรือพระอรหันต์ ว่ากันเลยนะ ให้ครบๆล่ะนะ ให้ครบเครื่องเลย

เสนาสนะจะต้องเป็นสถานที่ ที่ไม่ใกล้ ไม่ไกลนัก อะไรอย่างที่ว่านั้น จะต้องเป็นสถานที่ อันเหมาะควร ก็เป็นเสนาสนะอันดี มีสิ่งแวดล้อมประกอบร่มเย็น ไม่เป็นที่จะต้องเพาะเชื้อโรค ไม่เป็นที่จะอยู่ยากลำบาก จนเกินการ เป็นที่ที่จะมีปัจจัย ๔ ได้พอเหมาะพอดี ไปมาหาได้ สะดวกดี ร่มเย็น สงัด สร้างกุศลได้ง่าย โดยเฉพาะ มีบุคคลสปายะ มีพระอรหันต์ มีพระอริยะ มีพระธรรมกถึก ชั้นหนึ่งยิ่งดีใหญ่ แล้วก็คอยแนะนำสั่งสอน พระธรรมกถึกที่แท้ ก็ย่อมขวนขวาย ก็ย่อมเต็มใจ ที่จะให้ความรู้ เราก็ต้องเป็นผู้ที่จะไปแสวงหาความรู้ พยายามอย่างที่ท่านบอกไว้ แล้วว่า เราจะต้องไปเข้าไปหาพระเถระ อันกาลสมควรสอบถาม ไต่ถามข้อนี้เป็นอย่างไร อย่างนั้นเป็นอย่างไร อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เราจะต้องเป็นผู้ที่พยายามทำ เพราะฉะนั้น เสนาสนะ เมื่อประกอบไปด้วยบุคคลสปายะ แล้วผู้ที่อยู่ในนั้น ก็ได้อาศัยทั้งสถานที่ ได้อาศัยทั้งบุคคล และได้รับทั้งธรรมะ ก็เป็นเสนาสนะสปายะที่สมบูรณ์ครบ

ที่อย่างอาตมาบอกแล้วว่า เสนาสนะสปายะ ไม่ได้หมายความแต่แค่เป็นที่ร่มรื่นอย่างเดียว ต้องประกอบไปด้วยบุคคลสปายะ ประกอบไปด้วยอาหารสปายะ ประกอบไปด้วยธรรมสปายะ ด้วยประการอย่างนี้ แล้วถ้าปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าท่านว่า ๑๐ ข้อนี้ไปด้วย ไม่นานนัก พึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ นี่อ่านด้านหลังนี่ ก็ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะ อันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก ก็พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ จบสูตร เสนาสนะสูตร ท่านอธิบายไว้ ท่านอ่านให้ฟัง ก็มีแค่นั้นล่ะ นิดเดียว แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้ ไม่มีสภาวะ อธิบายขยายความ ถ้าคนที่รู้ได้โดยภาษา ก็เอาภาษามาแปล นี่แปลภาษาสู่ภาษา มันก็ได้ขยายความภาษา ภาษาที่ผู้รู้แปลไว้ ก็แปลความหมายของสัจธรรม ผู้ที่แปลความหมายของสัจธรรม ได้ถึง ได้รอบ ได้ถ้วน ได้ตรง ก็เป็นภาษาที่ดี เอามาสื่อเอามาอธิบาย เอามาสอนกันต่อ ก็ได้ภาษานี้สื่อดี แต่ถ้าผู้ใด มีสภาวะดีนะ ภาษานั้นเป็นภาษาหลักๆ เป็นอุเทศ หัวข้อใหญ่ๆ ผู้ที่รู้ เข้าใจดี มีสภาวะดี หัวข้อเท่านั้นเป็นหลักๆ แล้วอธิบายไปได้อีกแหละ อธิบายขยายความแล้วจะลึกซึ้ง จะรอบถ้วน จะครบครัน คนฟังก็เหมือนหงายของที่คว่ำ เหมือนชักของที่ลึกให้ตื้นได้จริงๆ เหมือนจุดไฟในที่มืดได้จริงๆน่ะ

นี่เป็นสูตรหนึ่งในนาถกรณวรรค ในเสนาสนะสูตร เพราะฉะนั้น คนเราจึงต้องอาศัยการเสพ อาศัยการคบ เสพคือได้รับ บอกแล้ว คบคือต้องมาพยายามสัมผัสสัมพันธ์เสมอๆ สำคัญนะ คำ ๒ คำเท่านี้ อาตมาย้ำกี่ครั้งแล้ว นี่ เสวมาโน ภชมาโน เสพอยู่กับคบอยู่นี่ จะต้องพยายาม เสพให้ได้ คบเสมอ เสพให้ได้ คือได้รับให้ได้ เราจะเกิดการได้รับให้ได้ คบเสมอคือมาทำ ความสัมพันธ์ ให้เสมอ ทำความเกี่ยวข้อง อย่าให้ขาด อย่าให้ห่างเหิน แม้ว่าเราจะไม่ได้มา โดยตรง นี่ก็อธิบายซ้ำ คุณอยู่บ้านไม่มีเวลา มีกิจมีการก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติมรรคองค์ ๘ อยู่บ้านก็ได้ จะมาวัดบ้าง คบคุ้นบ้าง มันก็ดี ถ้าไม่มาวัดเสียเลย แต่เดี๋ยวนี้ มีสื่อสารมากมาย มีวิดีโอ มีวิทยุ มีโทรทัศน์ มีเสียงเท็ป มีสื่ออะไรอื่น เอาไปใช้ ไปทบทวน ไปฟังข้อคำอธิบาย ขยายอะไร หรือตรวจสอบหลักฐานอะไรต่างๆนานา ก็ต้องทำน่ะ ถ้ามันมาไม่ได้ แต่มาเสียบ้าง ด้วยดี ถ้าโอกาสมาได้บ่อยๆก็ด้วย อ่านก็ด้วย ฟังก็ด้วย อะไรต่างๆนานา ที่มีสื่อสาร เราก็ใช้ ให้มันได้ครบทุกด้านทุกส่วน เท่าที่เรามีแรง มีเวลา มีโอกาส ที่เราจะทำได้ก็ทำ ก็ครบครันดีน่ะ

อาตมาได้อธิบาย ในเรื่องของการปฏิบัติเมื่อวานนี้ ก็ได้ตรวจสอบกัน ว่าที่ได้ทำมาแล้ว อาตมา พยายามทำมานี่ คิดว่าเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า มาตรวจสอบเป็นสูตรไหนสูตรไหนนี่ มันก็ถูก ตรงน่ะ แม้แต่ในเสนาสนะสูตร ที่อาตมาอธิบายไปหลายอย่างหลายอัน ที่คุณได้ฟังใหม่ๆบ้าง ขยายความให้ฟัง ก็ตรง คุณลองตรวจสอบดูสิ เสนาสนะแปลตื้นๆ ง่ายๆ แต่แค่ว่าที่อยู่ แต่จริงๆแล้ว มันลึกซึ้ง มันลึกซึ้ง ที่อยู่ท่านให้เสพ ท่านให้คบ ถ้าแปลแค่ว่าที่อยู่ เสนาสนะ แปลว่า ที่อยู่เฉยๆ ก็ตื้อๆน่ะซี เพราะฉะนั้น เสนาสนะสปายะ เขาก็บอกว่า เป็นป่า ไม่มีรายละเอียดพวกนี้ ตามอาจารย์ บางอาจารย์ เอาเข้าไปป่า เสร็จแล้ว ไม่มีอะไรหรอก ว่ามีศรัทธา เอ้าตกลง ศรัทธา ศรัทธาพระพุทธเจ้า สุดเกล้า สุดเศียร เป็นตถาคตโพธิสัทธา เท่าไหร่ เป็นข้อที่ ๑ โอ เค คุณได้ คุณก็ศรัทธาพระพุทธเจ้า เสร็จแล้ว เอ้า ข้ออาพาธน้อย คุณได้อาพาธน้อย คุณก็ได้ของคุณเอง สมมุติให้คุณ ๑ ศรัทธาก็เต็ม ๑

๒ อาพาธน้อยก็ด้วย เป็นคนไม่ช่างปวด เจ็บช่างป่วยอะไร เสร็จแล้ว มันไปอยู่ในป่า มันก็ไม่มีใคร จะอวดหรอกน่ะ ไม่ได้อวด ได้โอ่อะไรกับใครหรอก แหม ของดี ทั้งนั้นล่ะนะ อธิบายให้ดีๆ ทั้งนั้นล่ะนะ ไปเสนาสนะตามที่คุณเข้าใจ ตอนนี้กำลังอธิบายแบบฤาษีล่ะนะ เข้าใจว่า เสนาสนะนี่ คือป่า เขา ถ้ำ อันที่สงัด สงบ แบบพาซื่อล่ะนะ แบบฤาษี ก็ไปเชียว แล้วคุณก็ แข็งแรง ไม่อาพาธน่ะ

ข้อ ๓ ไม่ขี้โอ่ ไม่ขี้อวด ไม่ขี้หลอก ไม่ขี้ลวงอะไรใคร ไปข้อ ๔ ปรารภความเพียรด้วย ปรารภความเพียรไปถึงก็ แหม บำเพ็ญเลยนะ ก็จะยังไงก็แล้วแต่เถอะ จะนั่งสมาธิ หรือ วิธีปฏิบัติ จะเข้าใจแบบไหนก็แล้วแต่ ยังวัน ยังคืน ทั้งคืน ทั้งวันเลยนะ นั่งสมาธิ เดินจงกรม จงกรม นั่งสมาธิ นั่งสมาธิ จงกรม จงกรม นั่งสมาธิ สมาธิ นั่งจงกรม ว่าไปเลย ก็ภาคปฏิบัติ ของเขาอย่างนั้นนี่นะ เขามีอย่างนั้น ส่วนมากล่ะนะ ก็ปฏิบัติกันไป หรือ จะมีกสิณนั่น กสิณนี่ วิธีนั่น วิธีนี่อะไรก็ตามใจเถอะ จะหนักถึงขั้นจะนั่งตะปูนั่งหนามนั่งไหน่ ลนไฟ ลนเฟยอะไร ก็ตาม เรื่องของคุณเถอะ ตามแต่คุณจะเข้าใจ นี่ เรากำลังสมมุติในสิ่งที่มันไม่เข้าหลักของ พระพุทธเจ้าดูบ้าง ต่อให้หลายๆ อัน ที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้นะ เสร็จแล้ว อันที่ ๓ ปรารภความเพียร อันที่ ๔ แล้วปรารภความเพียร ไม่โอ้อวดแล้ว เอาปรารภความเพียร

อันที่ ๕ ให้มีปัญญา อย่างที่คุณมี เพียรแล้วนะ พากเพียรก็เก่ง แล้วก็ปัญญา อย่างที่คุณมี ก็คือ คุณมีปัญญาอย่างไร คุณก็เข้าใจทิศทางนั้น อย่างนั้น ทิฏฐิความเห็นอย่างนั้นก็ไป ไปหาปัญญา อย่างนั้น ทิฏฐิความเห็นอย่างไร มันก็สั่งสมไปเป็นปัญญาอย่างนั้น ก็ปัญญาอย่างคุณเป็น คุณก็เข้าใจของคุณ ไปกันใหญ่เลยทีนี้ ถ้ายิ่งประกอบไปด้วยอีก ๕ อันนี่เลยนะ มันก็เลยยิ่ง จะไปกันใหญ่เลย เสนาสนะ ที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก สมบูรณ์ด้วยทางไปมา ไม่เอาแล้ว ต้องเอา ที่มันไม่มีทางเลยน่ะ อย่างที่เขาเข้าใจกัน ไม่มีทางเลย กลางวันไม่เกลื่อนกล่น ใช่ไม่มีอะไร เกลื่อนกล่นหรอก แต่รกนะ เพราะป่าพวกนั้น มันป่าแท้ๆ ใช่ไหม รกไปด้วยสัตว์ เสือกริ้นคลาน โอ้โห งูเงี้ยว เขี้ยวขอ กลางคืนมา หมูเม่นอะไรมันมา เต็มไปหมดแหละ

นั่นแหละ มันออกนอกรีต นอกทางไปหมดแล้ว จีวร บิณฑบาต ไม่มีที่จะบิณฑบาต จีวร ก็มันยากเต็มทีนะ อยู่ในป่า ยารักษาโรค อะไรต่ออะไร ก็ลำบากทั้งนั้นแหละ ที่อยู่อาศัย ก็เอาละ คุณจะบอกว่า คุณนอนโคนไม้ก็ตามใจคุณเถอะ แค่นั้นน่ะ ก็เอา มันจะออกนอกลู่นอกทางไป แล้วพระเถระ ผู้ใหญ่ที่พหูสูตชำนาญธรรมวินัย บอกว่าต้องอยู่แต่ผู้เดียว แน่ะ คำอธิบาย ของเขาล่ะนะ ต้องอยู่แต่ผู้เดียว ไม่นานเลย ประเดี๋ยวคุณจะบรรลุธรรม ก็มันจริงๆ เขาอธิบาย อย่างนั้นล่ะนะ มันค้านแย้งกันไหม

นี่บอกว่า จะต้องมีพระเถระ อยู่ในเสนาสนะ มันค้านแย้งกันแล้ว เพราะต้องอยู่แต่ผู้เดียวน่ะ เขาแปล เอโก เอกี เอกัง อะไรนี่ เป็นต้องอยู่แต่ผู้เดียว จะไปมีพระเถระ ที่ไหนได้ถาม เพราะฉะนั้น ต่อไป นั้น ไม่ต้องพูดเลย จะต้องเข้าไปหาพระเถระ ซักถามข้อนั้น ข้อนี้ให้เปิดเผย จนกระทั่ง หรือไม่ก็จะต้องพยายาม ผู้ที่เป็นพระเถระ เขาจะทำให้ง่าย อะไรต่ออะไรเข้า ขาดหมดเลย แหว่งวิ่นหมดเลย ไม่สมบูรณ์ เห็นไหม ไม่สมบูรณ์

แต่อาตมา พาทำนี่ สมบูรณ์ไหม สมบูรณ์ไหม มันจะขาดอยู่บ้าง ก็ตรงที่คุณเพียรน้อย ขวนขวายน้อย หาทางหลบๆเลี่ยงๆ บำเรอยถาสุขังมากหน่อย ยถาสุขัง ปล่อยตามสบาย ปล่อยตัวตามสบาย เพราะสิ่งแวดล้อม มันก็ดีอยู่แล้ว ตามสบาย ดิฉันชอบ ไม่ขวนขวาย ไม่อุสาหะ เพราะฉะนั้น อาตมาถึงเน้นตัวที่ว่า ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ปรารภความเพียร ข้อนี้ ที่เป็นยาดำ วิริยะ วิริโยนี่ ยาดำ ทุกอย่าง จะสำเร็จ ได้ด้วยความเพียร เป็นยาดำสำคัญมาก เพราะฉะนั้น บากบั่น ปรารภความเพียร ยังกุศลให้ถึงพร้อม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่อาตมาได้ขยายความไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เอามาย้ำอีกนิดหนึ่งก่อนจะจบว่า เราจงพยายาม เถอะ อย่าไปพยายามทำตนเป็นยถาสุขัง ยถาสุขัง คือปล่อยตนบำเรอบำเรอตน ด้วยความพอใจ มันจะเป็นฮิปปี้ มันจะเป็นประเภทที่ ก็ดูมักน้อย สันโดษดีหรอก แต่จะเป็นฮิปปี้ เอาแต่นอน เอาแต่หนี เอาแต่ว่า อะไรมันสบาย มันจะเบา มันจะง่าย ก็บำเรอตน เพราะฉะนั้น จะต้องขวนขวาย ยังกุศลให้ถึงพร้อม ตั้งตนอยู่บนความลำบาก

หลักมรรคองค์ ๘ เราจะต้องมีการสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ยิ่งทุกวันนี้ พวกเราเป็น องค์ประกอบของสังคม สังคมอย่างกลุ่มของพวกเรานี่ สังคมบุญนิยม มีสัมมาอาชีพที่เป็นรูป เป็นร่างขึ้นมา แล้วพวกที่มาอยู่วัดนี่ รู้ดี อาตมาเข็นงานการมันเยอะขึ้นมา โอ วิ่งกันวุ่น ไม่ค่อยพอ แล้วมันก็เป็นที่ชื่นชอบของสังคมด้วยนะ เราทำงานการของเราออกมานี่ เป็นที่รับ ของสังคม เพราะว่าของเรานี่ เอาคุณภาพดี ไม่มีพิษ แล้วยังแถมราคาถูก คุณภาพดี ไม่มีพิษ ราคาถูก เราพยายามทำให้ได้อย่างนั้นจริงๆ นี่หลักง่ายๆน่ะ คุณภาพดี ไม่มีพิษ ราคาถูก เราพยายามสร้างสรร ๆ เป็นผู้ทำงานมีอาชีพ สร้างสรร หรือเป็นผู้ที่ไม่เป็นงานที่จะต้องบริการ ก็บริการ ตอนนี้สาธารณสุขเป็นต้น โรงเรียนเป็นต้น ไม่ใช่กสิกรรม กสิกรรมนี่สร้าง ผลิตเลยจริงๆ แต่สาธารณสุข เราก็บริการ

โรงเรียน การศึกษาเราก็บริการ ตอนนี้ เราก็เป็นสัมมาอาชีพ ที่เรากำลังก้าวขึ้น ตอนนี้ เรากำลัง ทำอยู่ กำลังปลูกฝังขึ้นมา เราก็มีแนวโน้มที่จะให้ดี การศึกษา ไม่ให้เป็นการศึกษามอมเมา หรือ เป็นการศึกษามีพิษ แม้แต่การรักษาหรือว่าการช่วยเหลือป้องกัน ในด้านสาธารณสุข เราก็จะ พยายามให้ดี ไม่ให้มันเฟ้อ ไม่ให้มันเกิน ไม่ให้เป็นไปการซ้อน ซับซ้อน สุดท้ายก็เลยเลยเถิดไป หลายๆอย่าง สาธารณสุขนี่เลยเถิดไปหลายๆอย่างอยู่ ทุกวันนี้ มันเลยเถิดอยู่ตั้งมาก เราได้แค่นี้ เราค่อยๆทำแค่นี้ขึ้นมา กำลังจะปลูก จะฝังขึ้นไป จะเป็นงานบริการอื่นก็ตาม ไม่ ช่งานบริการ แต่แค่ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา เราก็พยายามเป็นอาชีพ ซึ่งคนต้องอาศัย เป็นสัมมา อาชีพ พิสูจน์อาชีพ เป็นภาคปฏิบัติ จนกระทั่ง เกิดจริงเป็นจริง อยู่ในสังคม มีองค์ประกอบ ของมันครบครัน จะเป็นวงจรสมบูรณ์ขึ้นมาเรื่อยๆ นี่เดี๋ยววันนี้ไปประชุมกัน มูลนิธิจะต้องแก้ ตราสาส์น เพราะว่าตราสาส์นนี่เขาบอกว่า เราจดเอาไว้ทำสาธารณประโยชน์ ไม่พอ ไปขอจด ทะเบียนตั้งโรงเรียน เขาบอกว่าไม่มีในตราสาส์นมูลนิธิ แหม มันแสนแสบ ไม่ใช่ชื่อคลองนะ มันแสนแสบจริงๆ เลยวันนี้ ยังไงประชุม เดี๋ยววันนี้ ขอเชิญกรรมการมูลนิธิ ๒ มูลนิธิมาประชุม แล้วจะต้องไปแก้ตราสาส์นกัน บอกกันเอาไว้แล้ว เพราะเราไป จะไปขอตั้งโรงเรียน เขาก็แย้งว่า มูลนิธิไม่มีวัตถุประสงค์ตั้งโรงเรียนนี่ เอ๊ อาตมาว่า สาธารณประโยชน์ มันคลุมหมดแล้วนะ ไอ้โรงเรียน

ถ้าเน้นนอก ก็เน้นหยาบ เป็นตัวตนแท่งก้อน เป็นอะไรเลย ถ้าเน้นใน ก็เน้นลึก เป็นสูญญตวิหาร อย่างนี้ ท่านไม่เรียก สูญญตอาหารน่ะ ท่านไม่เรียกสุญญตอาหาร ท่านไม่เรียก แต่เน้นลึก ไปสุดอีกน่ะ ถ้าวิหารข้างนอก ก็ถือว่า เป็นวิหาร ก็โรงเรือนไปเลย เป็นที่อาศัย ที่อยู่ไปเลยน่ะ ไอ้ที่อยู่อย่างนี้ ท่านก็เรียกอาหารอีกแหละ อย่างเมตตาวิหาร สุญญตวิหาร ซึ่งเป็นนามธรรม อย่างลึก ท่านก็ไม่เรียกอาหารอีกแหละ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น

แต่ในอาหาร ก็มีความหมายวิญญาณาหาร เป็นธาตุรวม มโนสัญเจตนาหาร อาหารที่เป็นเครื่อง อาศัย ที่ยังเป็นจุดมุ่งหมาย เป็นตัวกำหนด ซึ่งก็เป็นตัวที่จะพูดกันรู้เรื่องมาก หรือว่า เป็นตัวที่ยัง ไม่ไกล ไม่ลึก อันนี้อาตมาก็ไม่รู้จะพูดยังไง ในเรื่องพยัญชนะที่กำหนด ตามที่ท่านกำหนดมัน มันมีของมันในตัว ที่บอกตายตัวไม่ได้ แต่มันก็มีเขตขีดของมันเหมือนกัน

ซึ่งอาตมาว่าอาตมารู้สิ่งเหล่านี้ รู้แล้วก็ไม่สามารถที่จะบอกให้คุณ ขีดเขตให้แก่คุณก็ไม่ได้ ได้แต่พูดๆ ให้ฟัง แค่นี้ๆ คุณก็ไปสังเกตเอา แล้วก็ศึกษาไป ถ้ามีสภาวะรองรับแล้ว มันเกิน กว่าภาษา ที่จะมากำหนด สิ่งเหล่านี้ก็จะลงตัวของมันเองน่ะ

วันนี้อาตมาได้สาธยายเสนาสนะโดยพิสดารพอสมควร อาตมาว่าได้บรรยายอะไรต่ออะไรกันไป ที่เราฟังแล้ว ก็คงจะได้ปัญญาพอสมควร เสร็จแล้ว ต้องพยายามอย่าทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย ของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคล จะอย่างไร ที่เราจะมีตัวโพชฌงค์ สติเป็นสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือโพธิปักขิยธรรม เดินกลไก อย่าให้มัน ไม่ติดเครื่อง ให้มันติดเครื่อง ให้มันเดินบทที่เราพยายามมีสตินำ มีสังวร แล้วก็มีอิทธิบาท พยายามพากเพียรอยู่ โดยมีตัวปฏิบัติธรรมซ้อนอยู่ในอิริยาบถ อยู่ในการทำงาน การทำงาน อะไรก็แล้วแต่ ทั้งการคิด การพูด การกระทำทางกาย การงาน หรืออาชีพ แล้วมีตัวปฏิบัติ สอดซ้อนอยู่ด้วยได้ จนเรารู้ว่า เราไม่ได้ทอดธุระในกุศล เกิดกุศลทั้งทางโลก เกิดกุศลทั้งในทาง นามธรรม ถ้าทำได้อันนั้นแล้ว จะเจริญ ไม่เนิ่นนานนัก ใช่ไหม ว่าท่านว่าอะไรนะ ไม่นานนัก พึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ก็ขอให้มันเป็นจริง ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัส นี้ไว้กันถ้วนทั่วทุกคน เทอญ


ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง พิมพ์ โดย สม.นัยนา
ตรวจทาน ๑,๒ โดย สม.ปราณี และ สม.จินดา ๒๖ เม.ย.๓๕ และ ๑๔ มิ.ย.๓๕
แก้ไข ๑๕ มิ.ย.๓๕ อนงค์ศรี
:2432B.TAP