ลึกล้ำย้ำสำคัญเรื่องเสนาสนะ ตอน ๒
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๕
แสดงธรรมก่อนฉัน ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก
หน้า ๒ ต่อจากหน้า ๑

อาตมาบอกแล้ว วินัยคำนี้ ไม่ได้หมายถึงแค่วินัยแค่นั้นด้วย แต่วินัยที่ให้สมณะให้ภิกษุนี้ ต้อง สมาทาน ก็ด้วย วินัยอื่นๆ ที่เป็นอริยวินัย นัยอันลึกซึ้ง ซึ่งไม่ได้อยู่ใน ๑๕๐ ข้อ หรือ ๒๒๗ ข้อนี้ เป็นอริยวินัยอื่นมีอีก ซึ่งอาตมาเคยอ่านพระ ไตรปิฎก และเคยย้ำให้ฟัง บรรยายพุทธาภิเษก คราวนี้ ก็ยังเคยอ่านให้ฟัง สูตรไหนจำไม่ได้แล้ว บอกว่า อริยวินัย นะเป็นวินัยนะ ท่านก็ตรัสไว้ ตรงนั้น เป็นอริยวินัยของภิกษุ แต่ไม่มีอยู่ใน ๒๒๗ ข้อ เป็นอริยวินัย ต้องรู้นัยของธรรม ของวินัย ไม่ใช่เอาแต่วินัย ไม่ได้แปลว่าวินัย พอบอกว่าอริยวินัย ก็ความหมายว่า นัยอันลึกซึ้งยิ่ง อริยธรรม ก็คือ ธรรมะอันลึกซึ้งยิ่ง เป็นนัยอันยิ่ง นัยอันลึกซึ้งยิ่ง เป็นนัยอันยิ่งนี่ เป็นนัยอันยิ่งนัยอันลึกซึ้ง เข้าไปอีก ให้รู้รอบไป ยิ่งหลักเกณฑ์บทของวินัย ก็อย่าไปผิดวินัย หลักเกณฑ์ของวินัยที่ตราไว้ เป็นวินัย ที่มีอาบัติด้วย ก็ต้องด้วย บอกแล้วว่า เป็นเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนแนวลึกนั้น วินัยนั่น จะต้อง ทรงไว้ในอริยธรรม อริยวินัยจริงๆ เวลาไปแสดงธรรม เป็นพระธรรมกถึก มันก็จะได้ไม่ผิด ไม่พลาด ไม่เสียไม่หาย เพราะมีวินัย ต้องทรงวินัย ทรงอริยวินัย ลึกซึ้งขึ้นไป พิจารณายิ่งซัก ยิ่งซ้อม ยิ่งฝึกยิ่งปรือ โอ๋ ก็ยิ่งจะละเอียดลออ ยิ่งพิสดาร ยิ่งลึกแหลม นี่ทรงวินัย

ทีนี้ ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ความนี้มี ทั้งอยู่ป่าเป็นวัตร และ มีทั้งคำ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เราก็ย้อนกลับไปที่ วิวิตตสูตร เมื่อกี้นี้ เสนาสนะอันสงัดแล้ว แค่เสนาสนะอันสงัด เท่านั้นแหละ เพราะมันต้องมีจิตใจนี่แหละ เป็นตัวหลัก เพราะสงัดจาก กิเลสในเสนาสนะ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรมาก ขอให้จิตใจสงบจากกิเลสแล้ว คุณจะอยู่ท่ามกลาง เตาหลอมเหล็ก ท่ามกลางกองกิเลสขนาดไหน ท่ามกลางสังขารธรรมขนาดไหน ตามบารมี อยู่ได้ๆ อยู่ได้ตามบารมี แต่ที่ท่านบอกอันนี้ว่า เป็นผู้ที่อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ก็หมายความว่า อยู่ในภูมิ เสนาสนะ อย่าพูดเอาแต่แค่สิ่งแวดล้อมข้างนอก อยู่ในภูมิอันสงัดให้ได้

เหมือนกับ เราใช้ภาษาหรือมีสมาธิ หรือมีอัปปนาสมาธิ มีพยัปปนาสมาธิ มีเจตโส อภินิโรปนา สมาธิ มีตัวหลัก ในสังกัปปะ จะสังขารจะปรุงเวลาแสดงธรรม เป็นธรรมกถึก เวลาจะแสดง ธรรม จิตใจต้องเป็นอย่างนี้ จิตใจต้องสงบสงัด คือจิตใจต้องมีหลักอันแน่วแน่ เป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เพราะฉะนั้น แสดงธรรมตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ วจีสังขาร ใช่ไหม

แสดงธรรม คือมีตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ วจีสังขาร สังขารออกไปปรุง ปรุงภาษาออกไป ปรุงโน่น ปรุงนี่ ปรุงเนื้อออกไป แล้วจะมีหลัก จะมีตัวแนบแน่นออกไป มีตัวแข็งแรง นั่นคือตัว อยู่ใน เสนาสนะอันสงัด ทรงวินัยก็คือ มีนัยอันลึกซึ้ง ด้วยหลักทฤษฎี หลักการภาษา สมมุติสัจจะ อะไรก็ได้ แสดงออกนะ

ทีนี้ เมื่อกี้ตัวที่ ๗ วินัย ตัวที่ ๘ อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ตัวที่ ๙ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในฌานทั้ง ๔ อาตมาอธิบายมา เป็นการทำทานทั้งนั้นน่ะ มุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต ถูกเรื่อง แล้วมันจะเป็นอย่างนั้นจริง จิตจะแววไว จิตจะขัดเกลา จิตจะอ่าน กิเลส จิตจะละเมิดกิเลส จิตจะสู้กิเลสได้ จะดับกิเลสเข้า จิตจะดับกิเลส จิตจะฆ่ากิเลสตาย ลงไปเรื่อยๆ นั่นคือ จิตเป็นฌาน แปลฌานเป็นภาษาธรรมดาลงได้ว่า เพ่งเผา เพ่งอะไร เพ่งรู้ กิเลสตัณหาอุปาทาน แล้วก็ปฏิบัติด้วยกรรมวิธีที่เราได้เรียนมาจากพระพุทธเจ้า เผากิเลส ฆ่ากิเลสได้ ทำฌานก็คือเพ่งเผากิเลส เมื่อเพ่งเผากิเลสตัวที่แท้แล้ว ต้องบริบูรณ์จนกระทั่งถึงขั้น ได้ตามความปรารถนา ต้องถึงขั้นทำให้แจ้ง ถึงขั้นเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายได้สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ อันที่ ๑๐ ก็ถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เข้าถึงแล้วแลอยู่เป็นปัจจุบันนี่เทียว ให้ได้เมื่อใด ก็เมื่อนั้น

อันใดที่เราได้แล้ว เราจะตรวจสอบปัจจุบัน เราสัมผัสอยู่ที่นี่ เราก็ตรวจสอบได้ เราลองใจสัมผัส ดูซิ กระทบสัมผัสแล้วรู้ว่า โอ๋ กิเลสไม่เกิดจริงๆ เราจะรู้เลยนะ เรากดข่มไว้ เป็นสมถภาวนาไหม ไม่ต้องกด ไม่ต้องข่มเลยนะ ธรรมดา สบาย ปล่อยสัมผัสอย่างนี้ กระแทก กระทุ้ง ยังไงก็เฉย ปัญญาละ โอ้โห!ปัญญารู้เท่ารู้ทัน รู้รอบเหนือ ไอ้นี่ มันไม่ได้สูงเด่นกว่าเราเลย เห็นจริงๆ เลยนะ ปัญญาจะรู้เลยนะ ไม่ยาก ไม่ลำบาก ไม่ต้องปฏิบัติ เป็นแล้วกระทบแล้ว ไม่เกิดเลย เกิดเล็ก เกิดน้อย จะต้องเหลือเก็บเล็กเก็บน้อย จะเหลือธุลีอะไรที่ต้องมาค่อยมาล้าง ให้สะอาดก็ได้ เป็นวิมุติสมบูรณ์ มีสมาหิตจิต มีวิมุติเป็นจิตสมบูรณ์ มีเจโตปริยญาณ หยั่งรอบ รู้จริงๆ เลยนะ เพราะฉะนั้น ผู้นี้ก็ถึงขั้นอย่างนี้แล้ว เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัยอยู่ป่าเป็นวัตร ในเสนาสนะอันสงัด ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องเป็นสุข ในปัจจุบัน ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่อย่างนี้แหละ เป็นผู้มีศรัทธาสมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐ เห็นไหมว่า ศรัทธามันไม่ใช่ตื้นๆด้วย ยังงี้เป็นต้น

ผู้ใดที่ได้ปฏิบัติศีล จนกระทั่งเกิดศีล จะกระทั่งเชื่อมั่นๆ ว่าเรามีศีลบริบูรณ์อย่างนี้แหละ เป็นผู้ที่จะรู้แจ้ง เห็นจริงของตัวเอง ได้ของตัวเอง เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ใดได้เชื่อพระปัญญาธิคุณ ของพระพุทธเจ้า แล้วก็สร้างศรัทธาโดยการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติวิบากจนเกิดกัมมัสสกตาสัทธา ในของๆตน ที่ปฏิบัติประพฤติอย่างเมื่อกี้นี้ มีศรัทธาได้เพราะประพฤติปฏิบัติ จนถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ละอาสวะทั้งหลายได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ถึงเข้าแล้วแลอยู่ ถึงยังงี้ เป็นยังงี้แหละ เป็นกัมมัสสกตาสัทธา ศรัทธาเพราะมันเป็นของของตน ได้ของตนเอง ได้แจ้งของตนเอง อ่านของตน มีของตนเอง อ่านให้คนอื่นรู้ คุณก็จะรู้เลยว่า คุณศรัทธาขนาดไหน เพราะฉะนั้น ศรัทธาพระพุทธเจ้า ก็ต้องมีความละเอียดลออลึกซึ้งถึงขนาดนี้ จะศรัทธาแต่ พระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่บริบูรณ์ ได้แต่องค์ต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นความสมบูรณ์ที่เราศรัทธา เพราะเรามีแล้ว เป็นแล้ว เป็นกัมมัสสกตาสัทธา และเราก็มีกรรมเป็นมีวิบาก อันบริบูรณ์แล้ว

เราก็จะต้องรู้ว่า ศรัทธาด้วยองค์ ๔ นี่ ขยายขึ้นมาสมบูรณ์ไหม เพราะกรรม เพราะวิบากที่เรา ได้สั่งสม เพราะเรามีของตนเอง ตรงตามพระพุทธเจ้าไหม ตถาคตโพธิสัทธา ตรงเป๊ะยิ่งกว่า เป๊ะเลย ไม่ใช่ตรงเป๋ ไม่ใช่ ตรงเป๋งเลย ไม่ใช่ตรงเป๋ ตรงเป๋งเลย ตรวจสอบได้เลย ของเรา กับของพระพุทธเจ้า อันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างเดียวกัน เป็นสมบูรณ์ด้วยเจโตวิมุติ ปัญญาอันมี จุดสูงสุด ที่เรียกว่า อรหัตตผล ที่เรียกว่านิพพาน ซึ่งเป็นตัวความประเสริฐ เป็นผู้บรรลุส่วน อันเลิศ บรรลุส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้หมดจด ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นแก่นสาร นี่คือแก่นสาร อันนี้ ได้อันนี้ เพราะฉะนั้น ในแค่ศรัทธาที่ว่าเมื้อกี้นี้ ศรัทธาพระพุทธเจ้า นี่ข้อที่ ๑ นะ ขยายความ ต่อไปอีก

แล้วเมื่อเช้านี้ ก็ไม่ได้ขยายตามนี้ ศรัทธาในพระพุทธเจ้า นี่ แค่ตันอยู่แค่พระพุทธเจ้า ก็เหมือน ศรัทธาเสนาสนะเป็นป่าอยู่เฉยๆ ไม่พอ ก็ต้องลึกไปให้ลึกๆ ยิ่งๆลึกจนกระทั่งถึงที่สุด แห่งความ บรรลุ ถึงสุดส่วนอันเลิศ ส่วนอันยอด ให้ได้ เพราะฉะนั้น เชื่อพระพุทธเจ้า ก็ต้องเชื่ออย่างมีของ ของตน ไม่ใช่ว่าผู้นี้ แค่เป็นครูของเรา อย่างกาลามะสูตร เฮ้อ.. ไม่พอ ต้องเชื่อกุศลนั้น แล้ว ปฏิบัติกุศลนั้น จนถึงที่สุด อันนี้จึงจะเชื่ออย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น คนจะเชื่ออย่างนี้ ก็คือ เชื่อพระพุทธเจ้า แล้วก็ต้องมีการเชื่อที่มี ศรัทธาสูงขึ้นไปอย่างนั้นด้วย นี่ข้อ ๑

ข้อที่ ๒ เป็นผู้มีอาพาธน้อย อาพาธนี่ อาตมาก็พูดหลายทีพวกเรา ถ้าคนที่มีศรัทธาใน พระพุทธเจ้า แต่เสร็จแล้วจะปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติไม่ได้ มาถึงก็มาเป็นกระจอกงอกง่อย ป่วยแล้ว ป่วยอีก ป่วยนอกป่วยใน ไม่รู้ละ เขาว่าป่วยทางจิตนะนี่ มันถึงไปป่วยทางกาย ก็ไม่รู้ตัว หรือรู้ตัว ก็แก้ไม่ได้ ป่วยอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วมันจะได้ปฏิบัติธรรมหรือ คนแข็งแรงปฏิบัติธรรม ยังยากเลย เพราะฉะนั้น คนป่วยๆๆๆ ทำให้ตัวเองป่วยๆ ป่วยๆ ดีไม่ดี เป็นป่วยโรคจิต มันอยาก ป่วยอยู่อย่างนั้นแแหละ หมดแล้วไม่หรอก ไม่ใช่ไม่นานนักหรอก นานนัก เดี๋ยวก็ตาย ก็เอา แต่ป่วยน่ะ วันผ่าน เดือนผ่าน ปีผ่าน แล้วมันจะได้ปฏิบัติอะไร นี่ข้อที่สอง

๑.ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ๒.เป็นผู้มีอาพาธน้อย เป็นผู้มีโรคเบาบาง ก็เอาเถอะ ใครขยันป่วย ก็เสียเวลาอยู่ยังงั้นแหละ ระวังนานนัก ฟังดีๆนะ คำว่านานนักนี่ กัปหนึ่งนานเท่าไหร่ บรรยาย ให้ฟังแล้ว อย่าประมาท ฟังธรรมะให้ดี ฟังให้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น อย่าเอาเลย ต้องทำตนให้ แข็งแรง แต่ไม่ใช่ฝืน ไม่ใช่ว่าแกล้ง มันป่วยจริงๆ ก็รักษา ทางใจก็ทำความเข้าใจให้ดี ทางกายก็ รักษากันให้สมสัดสมส่วน ไม่ต้องแอ๊คหรอก ว่าฉันป่วยฉันก็ไม่ต้องรักษาหรอก ฝืน เดี๋ยวตาย เดี๋ยวตายเปล่าๆ ก่อนที่จะได้ปฏิบัติด้วย เพราะฉะนั้น แม้แต่มันไม่ตาย มีแต่เป็นป่วยอยู่ มันจะปฏิบัติอะไร แข็งแรง คนแข็งแรงก็ปฏิบัติยาก เพราะอะไร เพราะปฏิบัติธรรมของ พระพุทธเจ้า ปฏิบัติยังไง ปฏิบัติทำงาน ตอบช้านัก อาตมาไม่ทันใจ ตอบเองไปดีกว่า

ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติทำงาน เอาได้แต่ป่วย แล้วมันได้ทำงานที่ไหน มันมีสัมผัส ผัสสะพร้อมหน้าพร้อมตา พร้อมทวารทั้ง ๖ ที่ไหน ปฏิบัติทำงานนี่ มันจะพร้อมสัมผัสเป็นปัจจัย ทวารทั้ง ๖ เพราะฉะนั้น เราจะเกิดรู้อนิจจัง รู้ทุกขัง เราจะลดทุกขัง เราจะลดอัตตา จนกระทั่ง หมดอัตตา เป็นอนัตตาได้ ก็เพราะของจริงที่มีผัสสะเป็นปัจจัย ทางทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่แหละ ปฏิบัติ มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ การงาน มีสัมมาอาชีวะ อาชีพนี่แหละ ทำ อย่างที่อาตมาเน้นแล้วเน้นอีก

เอาละ ไม่ต้องเน้นต่อ เพราะปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า เอาแต่ป่วย ไม่ได้ทำการงานอะไร และ มันก็จะไปได้รับรู้อะไรกว้างขวาง มันก็ช้านานนัก ระวังเถอะ นานนัก ย้ำให้ฟังนะ

ข้อที่ ๓ เป็นผู้ที่ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แหม ย้ำอีก โอ้อวดก็คือจิตลามก มีสาเถยยจิต หรือมีสโฐ มีจิตลามก อันปรารถนาลามก เป็นไปเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ใดๆก็ตาม อย่างนั้น เรียกว่าลักษณะโอ่อวด ลักษณะมายาก็คือ ลักษณะที่มันมีเล่ห์ มีเหลี่ยม มีเชิง มีเลศ

ถ้าคนใดมีอย่างนี้ ทั้งมีสโฐ ทั้งมีมายา มีทั้งทำ และก็จิตลามก ต้องการของตอบแทน ต้องการโน่น ต้องการนี่ ตรวจจิตให้สะอาด อย่าเป็นคนอย่างนั้นๆ แล้วก็อย่ามีเล่ห์มีเหลี่ยม ชอบแก้ตัวนี่แหละ พวกคนมีเหลี่ยม ชอบแก้ตัว พวกนี้พวกคนจัญไร ชอบแก้ตัว ชอบเหตุผลนั้น เหตุผลนี้ เสร็จแล้ว เราก็แก้ตัวได้ เขาเชื่อ เราจะทำตามข้อแก้ตัวนั้น แต่ข้อแก้ตัวนั้น เป็นเหลี่ยมหลบ เป็นเหลี่ยมพราง จึงเรียกว่ามายา เป็นเหลี่ยมที่เราแทรกๆซ้อนๆ

กิเลสนี่มันยอดฉลาดนะ มันฉลาดที่จะหามุม หาเหลี่ยม หาจุด พอหามุมหาเหลี่ยมนี่ได้ ที่เขาย่อม จำนนแท้ เถียงมายาเหตุผลของคุณ พอแพ้เหตุผลของคุณ สวย เราก็ดำเนินไปตาม ครรลองนั่นเลย แล้วจริงๆ มันลิ้มมันเลีย มันเล็ม มันพยายามที่จะหาโอกาส ให้กิเลสนั่น มันได้ประโยชน์ ได้บำเรอ ใช่หรือไม่ใช่พิจารณาดูดีๆ มีลักษณะมายา ไม่ได้เป็นมายาหยาบๆ ก็ตาม มายาอย่างละเอียดนี่แหละตัวสำคัญที่สุด ต้องศึกษาดีๆ ต้องค้นคว้าประพฤติปฏิบัติ รู้แจ้ง รู้หน้ารู้ตามันให้ได้ มันร้ายแรง ตัวมายานี่ หาเหลี่ยม หาเล่ห์มาซ่อน เพื่อเราจะได้ไปสมใจ ในกิเลส ไม่ใช่สมใจในอามิสนะ ในลาภ ยศ สรรเสริญ นะ แต่สมใจในกิเลส เป็นสุข นี่มายา พวกนี้ มันจะได้แอบเสพ สมกาม สมอัตตามานะ อย่างไรก็แล้วแต่ สมใจที่ฉันต้องการ เอาหลักใหญ่ๆ เอาหลักกาม หลักอัตตามานะ มาใส่ให้ ก็ได้ สมใจที่ได้ทำ เพราะอัตตามานะ สมกิเลส สมเพราะนี่ทาง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทางข้างนอกมาก็ เป็นกาม มันสมใจ มันเป็นสุข มันทำเพราะเป็นสุข

อย่างนี้แหละมันไม่แข็งแรง มันไม่สะอาด มันไม่เจริญเร็ว มันนานนัก ได้เล่นเจ้าล่อเอาเถิดยังงี้ ตลอดกาลนาน มันก็นานนักนะซิ ได้เรื่องอะไรนี่ข้อ ๓ เอาข้อ ๓ อีกที

ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนเป็นผู้เปิดเผยตามความเป็นจริงในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เป็นวิญญู คือเพื่อนพรหมจรรย์ที่พอจะพึ่งได้ บอกแล้วไม่ใช่ว่าจะเปิดเผย ทำตน เป็นผู้เปิดเผย ตามความเป็นจริง ในใครก็เปิดเผยเละไปหมด มีเหมือนกัน บางคนต้องห้าม ต้องปรามกัน พุทโธ่ ไปเปิดเผยหมด ไปอะไรไปเล่าให้เขาฟังหมด ใครก็ไม่รู้ๆ เละๆเทะๆ โธ่เอ๋ย เขาเลย ดูถูกดูแคลน เสื่อมเสียหมด

เปิดเผยในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เป็นวิญญู ที่เป็นผู้ฉลาด ที่เป็นผู้มีภูมิธรรม ที่เรา ควรเปิดเผยด้วย ชัดนะ รายละเอียดของท่านชัดมากนะ สั้นๆ แต่ลึกซึ้ง แต่ทำให้ตรง เพราะฉะนั้น การเปิดเผยตามความเป็นจริง สิ่งที่ควรเปิดเผย แม้แต่ในกาละบางกาละ คุณก็ไม่ควรเปิดเผยไปทั้งหมดหรอก ถึงแม้จะเป็นครูเป็นอาจารย์ ฯลฯ...

เปิดเผยก็ตามเหมาะตามควรตามกาลเวลา ตามสภาพที่สมเหมาะสมควร ไม่ใช่ว่าจะอัดเละเลย เอ้า เปิดเผยละ ฉันเป็นจริงๆ ฉันเป็นคนจริงใจละแน่ เรียกว่าแน่ ยถาภูตัง อัตตานัง อาวิกัตตา ว่ายังงั้นนะ เป็นคนทำตนเป็นที่เปิดเผยความจริง ท่านเป็นวิญญูชนที่เราจะต้องเปิดเผย นี่ล่อเละเลย แหม ขอเวลาไม่ได้ก็แย่งชิงเวลาตลอดเวลา คนอื่นไม่ได้ให้โอกาสใครเลยแหละ ก็ไม่ได้ ต้องเอาตามกาละอันควร นี่ก็พยายามอธิบายให้ละเอียดลออให้ฟัง

ข้อที่ ๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร ตัวนี้สำคัญเป็นยาดำอยู่ในอะไรหมด ใครต่อใครก็แล้วแต่ จะประสบ ผลสำเร็จโดยปราศจากความเพียรนั้นไม่มี ขอยืนยัน ใครที่จะประสบผลสำเร็จ โดยปราศจาก ความเพียรนั้นไม่มี ต้องพากเพียรอุตสาหะบากบั่น ท่านใช้คำอย่างลึกด้วยนะ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม อันนี้ก็เป็นเงื่อนไขหลักว่า เพียรอะไร ไม่ใช่ไปเพียรสร้าง เพียรก่ออย่างโลกๆ ไปเพียรหาเงิน ไปเพียรหาทอง ไปเพียร โลภโมโทสัน ไม่ใช่ เพียรละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

ทอดธุระนี่ เข้าใจความหมายไหม ใครไม่เข้าใจความหมาย ทอดธุระ พวกไม่ค่อยเคร่งครัด ไม่ค่อย เอาจริงให้ต่อเนื่อง ไม่ค่อยเอาจริงให้มันมากขึ้น ทอดธุระ ผ่อนมันอยู่เรื่อย ไม่พยายาม เคร่งขึ้น เอาจริง เอาจังขึ้น ให้มันเป็นเรื่องปฏิบัติเรื่อยๆ ต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ มันทอดธุระ มันผัดวัน ประกันพรุ่ง มันอนุโลม มันยืดหยุ่น มันหย่อนยาน นี่ ทอดธุระทั้งนั้น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่ทอดธุระนั้น เป็นคนบากบั่นด้วย มีความบากบั่น มีกำลัง

อย่ามาบอกว่าฉันไม่มีแรงจะปฏิบัติ ไม่เอา ถ้ามันไม่มีแรงจริงๆ มันเจ็บมันป่วย ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว มีกำลังทำงานด้วย มีกำลัง โอ้โฮ แบกก็ได้ หามก็ได้ แล้วบอกว่าไม่มี กำลังปฏิบัติธรรมได้เหรอ ไม่ได้ ต้องมีกำลังปฏิบัติธรรมในกำลังที่เรามีนั่นแหละ ถ้าคนเจ็บ คนป่วย นั้นอีกเรื่องหนึ่ง มันเพลียจนไม่มีกำลังก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมีกำลัง ต้องเป็นคนที่ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ก็กำลังเห็นอยู่แท้ๆเลย ทำงานก็ได้ ทำการก็ได้ ที่จะบอกว่าไม่มีกำลังตัดกิเลส ต้องให้ตนเองมีกำลัง โดยเฉพาะ เป็นกำลังตัดกิเลส ต้องให้มีกำลัง ทำไมไม่อยากได้กำลัง ตัดกิเลส คุณอยากได้กำลังทางกาย คุณต้องออกกำลังทางกาย คุณอยากได้กำลังทางตัดกิเลส คุณก็ต้องออกกำลัง ทางการตัดกิเลส ต้องซักซ้อมตัดกิเลสเสมอ

อย่าหยุด อย่าหย่อน อย่ายืดๆ ทำสิ ให้มันได้ชำนาญบ่อยๆ ให้มีภาวะตัดกิเลสอยู่เรื่อยๆ กำลัง การตัดกิเลส ก็จะมากขึ้น แข็งแรงขึ้นใช่ไหม ไม่ตัดกิเลส ไม่ซักซ้อม ปล่อยมันเถอะ อย่าไปตัดมัน เลย แอลงไปหน่อย อ่อนลงไปหน่อยหนึ่งแล้ว สองที สองแอ สองอ่อน สามทีสามอ่อนสามแอ สี่ที สี่อ่อนแอ ห้าที ห้าอ่อนแอ โธ่ แหม อาตมานี่มันอธิบายละเลียด เห็นรูปเป๋งๆ ชัดๆ ไหม เพราะฉะนั้น เราต้องซักซ้อมให้มันแข็งแรงได้ชนะ แม้มันจะแพ้ก็ให้มันรู้ไป ซ้อม แพ้ เอาใหม่ แพ้เอาอีก แพ้เอาอีก บากบั่น อุตสาหะ มีกำลัง กำลังในการตัดกิเลส จึงจะแข็งแรง มั่นคง นี่ก็ส่วนสำคัญ ข้อที่ ๔

ข้อที่ ๕ เป็นผู้มีปัญญา และปัญญาก็ประกอบไปด้วยปัญญาเห็นกิเลส และเห็นความเกิด และ ความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (โดยชอบ ก็คือสัมมา นั่นเอง คำว่าสัมมา โดยชอบ ไม่ใช่โดยชอบรัก คำว่าชอบภาษาไทยนี่ บอกว่ารัก โดยชอบ โดยถูก โดยควรนั่นเอง สัมมา) เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นผู้มีปัญญา จะจำกัดความ ลงไปแล้ว เงื่อนไขหลัก ไม่ใช่ปัญญาเฉกตา ไม่ใช่ปัญญาเลอะเทอะ ปัญญาหรือความเฉลียวฉลาด รู้ความเกิดความดับอันเป็นอริยะ เพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี่เป็นปัญญา ที่จะต้องมีข้อที่ ๕

ผู้ใดมี ๕ ข้อนี้เป็นหลัก อันนี้เป็นผู้ที่มีของตนเอง ต้องมีของตนเอง แม้แต่เชื่อพระพุทธเจ้า ศรัทธา แม้แต่จะเป็นผู้มีโรคน้อย ก็ต้องช่วยตนเองให้มีโรคน้อย คนอื่นช่วยรักษาก็เอาเถอะ ก็มีบ้างเป็นส่วน แต่เราต้องรักษาตนเองให้มีโรคน้อย ให้มีอาพาธน้อย แล้วก็เป็นผู้ไม่โอ่อวด ไม่มีมายา ข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ ก็เป็นผู้ปรารภความเพียร ข้อที่ ๕ ก็เป็นผู้มีปัญญาจริงๆ ที่เป็นของ ตนเอง ถ้าได้อย่างนี้แล้ว อันหนึ่งไม่นานนัก มันหวังได้อยู่แล้ว ต่อมาอีก ๕ ข้อหลังนั้น ซึ่งเป็น สภาพที่ ประกอบไปด้วยอันอื่นนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะในธรรมวินัยนี้ อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก สมบูรณ์ด้วยทางไปมา กลางวันไม่เกลื่อนกล่น กลางคืนเงียบเสียง ปราศจากเสียงอึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย มันไม่มีไม่ได้หรอก น้อย มันต้องมียุงก็มีบ้าง เหลือบก็มีบ้าง ไม่ใกล้นักไม่ไกลนัก ปฐมอโศกนี่ เจ๋ง สวย แม้แต่สันติอโศก ก็เป็นย่านที่สร้างขึ้นมาเป็นสถานที่ เป็นเสนาสนะอันดี แต่ก่อนที่สร้างสันติอโศก ใครไปสันติอโศกบ่นทุกคน คนเก่าๆ จำได้ไหม อุ๊ย ไกลเหลือเกิน สันติอโศกไกลเหลือเกิน ไม่ใกล้ไม่ไกลนัก อาตมาแน่ใจ เดี๋ยวนี้เป็นยังไง เกือบอยู่ กลางกรุงแล้ว สันติอโศก เดี๋ยวนี้เกือบอยู่กลางกรุงแล้ว อยู่ก่อนนี้บ่นนะ สันติอโศกไกลจังเลย เพราะแต่ก่อน สุขาภิบาลมันยังไม่รุกล้ำถึงขนาดนั้น มันยังไม่ ที่นี่ก็เหมือนกัน ปฐมอโศกนี่ สุขาภิบาลยังไม่รุกล้ำมาทีเดียว ยัง อยู่ที่ไม่ใกล้ไม่ไกลนัก เดินไปบิณฑบาตได้ใช่ไหม เดินบิณฑบาตได้ พอมาพอไป

นี่ข้อ ๒ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ย่อมเกิดขึ้น โดยไม่ฝืดเคือง แก่ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะนั้น นี่ก็อธิบายถึงองค์ประกอบ ตัวสถานที่จริงๆ ไม่ใกล้ ไม่ไกลนัก อยู่พอเหมาะ มีปัจจัย ๔ พอเป็นไป นี่ข้อ ๒

ทีนี้ข้อ ๓ มีพระเถระที่เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น จะต้องมีพระเถระ มีผู้เป็นครูอาจารย์

ข้อ ๔ ภิกษุนั้นเข้าไปหาพระเถระเหล่านั้นตามกาลอันควร แล้วย่อมสอบถาม ไต่ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร

ข้อ ๔ แม้มีพระเถระแล้วก็อย่าให้เป็นหัวตอ เราจะต้องเป็นคนหนึ่งที่จะ ต้องเข้าไปหาซักไซร้ ไล่เลียง หรือฟังธรรม อาตมาจะเข้าไปหาพวกคุณนี่คงไม่ไหว พวกคุณเข้าหาอาตมาบ้าง เข้ามา ก็ผ่านด่านปัจฉาบ้างพอสมควร ไม่เช่นนั้น ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็จะต้อง พยายาม ไม่เข้าหาก็ต้องฟังธรรม ขยันหมั่นเพียรที่จะศึกษา เป็นครูพักลักจำเอาบ้างก็ได้ ครูพัก ลักจำ รู้ไหมเป็นยังไง เป็นคน อยู่ไม่ได้ไปนั่งเรียนโดยตรงหรอก แต่เป็นคนที่คอยแต่ไม่ได้ เข้าไป หาโดยตรง ส่วนตัวต่อตัวนะ ไม่ต้องส่วนตัวต่อตัว แต่ก็คอยสอดส่อง เออ ท่านสอนเอาไว้ที่นั่น สอนคนนั้นคนนี้ ก็ไปนั่งฟังท่านบ้าง ไอ้นี่ไม่หรอก อยู่ห่างเหินอะไรพวกนี้ผิด ผิด ลักษณะข้อนี้ ข้อที่ ๔ แม้มีครูอาจารย์แล้ว ครูบาอาจารย์ไม่ได้หมายความว่า อาตมาคนเดียว พวกผู้รู้ ก็ต้อง ยอมรับกันบ้าง ผู้นี้ๆเป็นผู้รู้ขนาดนั้นขนาดนี้ ก็ยอมกันบ้าง

เราจะได้ถ่ายทอด มีพี่มีน้อง มีระดับ ๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๑๐ หลายระดับที่เกื้อกูลกัน เป็นประโยชน์แก่กันที่สมบูรณ์ มันก็ได้แบ่งเบาไปด้วย ไม่ใช่ว่าจะไปเหมา ใครมาก็ อ้าว ไม่ได้ ต้องเข้าหาพระเถระรูปผู้ชำนาญ ถ้าสมมุติว่า อาตมาเป็นพระเถระ ใครก็มุ่ง ถนนทุกสายมุ่งสู่ พระโพธิรักษ์ ตายพอดีๆ ไม่ต้องไปทำอะไรหรอก ไม่ได้ นี่ก็อธิบายให้มันครบรอบนะ อธิบาย ให้มันเห็นชัดๆ เจนๆ เพราะฉะนั้น ในข้อที่ ๔ นี้ แม้มีพระเถระ และอาตมาก็มีผู้อื่นด้วย พระเถระ ไม่ใช่มีแต่อาตมา และเราก็ต้องเป็นผู้พากเพียรเข้าหาพระเถระ จะต้องยอมรับกัน

ฟังดีๆนะพวกคุณ พวกเรานี่มีอัตตามานะ ไม่ยอมรับกัน ขนาดเป็นสิกขมาต ยังไม่ยอมรับสมณะ เป็นสิกขมาตเอง ไม่ยอมรับสิกขมาตเองด้วยกัน ซึ่งเป็นคนควรจะเป็นผู้เถระเป็นผู้ที่เป็น พระธรรมกถึก หรือเป็นผู้ที่ควรจะเกื้อกูลกันได้ ไม่ยอมรับกัน เพราะอะไร อัตตามานะ แหม จะถล่มกันยังไงดี อัตตามานะ แม้แต่เป็นฆราวาสกันเอง ด้วยกันก็ตาม คนที่เป็นฆราวาส หรือเป็นสมณะ เป็นสิกขมาตก็ตาม ข้ามาก่อน ข้าใหญ่ อัตตามานะ ทั้งๆที่ไม่มีขี้กะโล้โท้ หรือ แม้มี คุณธรรมก็ตาม จะเป็นฆราวาสก็ดี เป็นสิกขมาตก็ตาม เป็นสมณะก็ตาม มีคุณธรรม ก็อย่าเบ่งเลย ขี้จะแตก ต้องมีอัตตามานะอะไรทำไม ไม่ต้องเบ่ง เกื้อกูลกัน จริง ในฆราวาส มีผู้ใหญ่ มีเถระ เถระอย่างประมัตถ์นะ เถระอย่างสัจจะก็มีได้ ผู้มาไม่นาน ก็เป็นเถระได้

ถ้ามีภูมิธรรมจริง มีสัจจะสาระที่แท้ เพราะฉะนั้น ผู้เป็นฆราวาสเขาเป็นผู้ใหญ่ผู้เถระ สิกขมาต ก็เถระ ก็มีสมณะที่เป็นเถระก็มี รับกันบ้างซิ และผู้เป็นเถระก็เป็นเถระให้ดี อย่าเป็นเถระขี้เบ่ง เป็นเถระ ที่ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นเถระที่เป็นคนข่ม ชอบข่มคนอื่น เบ่ง ไม่ดีเหมือนกัน ให้มัน สมบูรณ์ทั้งสองด้าน เป็นเถระก็เป็นเถระที่ดี การที่เราจะต้องหาเถระ หรือต้องมีผู้เถระ เข้าหาเถระ ก็ต้องเข้าหาให้ได้ มีให้ได้ ถ้าปฏิบัติถูกของพระพุทธเจ้านี่ สอดซ้อนเต็มสมบูรณ์นะ ไม่นานนัก เชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่ใช่อาตมานะ ของพระพุทธเจ้านะ ไม่ใช่ว่าเชื่อนี่ เชื่ออาตมานะ เชื่อของพระพุทธเจ้า อาตมาเชื่อ เพราะฉะนั้น แม้ที่สุด

ท่านพระเถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผย ข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมทำให้ง่าย ซึ่งข้อที่ยังไม่ได้ทำ ให้ง่าย ย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยแก่ภิกษุนั้น ข้อที่ ๕ ไม่อมภูมิ สรุปง่ายๆ ผู้นี้ก็ต้องมีจิตใจ เอื้อเฟื้อเจือจาน ช่วยบรรยาย ช่วยเปิดเผย หรือช่วย แสดงธรรม ปลดข้อสงสัย ช่วยอนุเคราะห์กัน

ไม่อยากสอน ไม่อยากพูด ไม่เอา ฉันอยู่คนเดียวดีกว่า รำคาญสอนมันไม่รู้เรื่อง คุณต่างหาก สอนเขาไม่รู้เรื่อง หนอยคนสอนคนรู้เรื่อง แล้วเรื่องอะไร ทำไมจะไม่อยากสอนคนรู้เรื่อง มันก็เป็น อัตตา ตัวเองทำไมสอนคนรู้เรื่องแล้ว ไม่สอนคนให้รู้เรื่อง ไปขี้เหนียวไปทำไม มีทรัพย์ที่เป็น อริยทรัพย์จะแจกควรแจกจ่าย ไม่แจกจ่าย ขี้เหนียว ตาย ขี้เหนียวอะไรไม่บาปเท่าขี้เหนียว ธรรมนะ จริงๆนะ ขี้เหนียวอะไร ก็ไม่อกุศล เท่าขี้เหนียวธรรมะ

ธรรมะเป็นสิ่งที่ยอด เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรได้ควรมียิ่งกว่าวัตถุทรัพย์ ศฤงคารอะไรในโลก ใช่ไหม เพราะฉะนั้น มันมีค่า คุณให้เป็นคุณค่าอันดี คนได้รับก็เป็นค่าอันดี ทำไมไปหวงแหนไว้ทำไม พูดไปแล้ว มันเหลือใจเหลือ ภาษาอีสาน นี่ เหลือใจ ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น เหลือใจ ทำไม ไม่เป็นอย่างนั้นเหลือเกิน มันเหลือใจ อาตมาไม่รู้จะอธิบายแปลว่าอะไรเหลือใจ ภาษาอีสาน เขามี เพราะฉะนั้น คนที่มีธรรมะแล้วก็พยายาม พระพุทธเจ้าท่านสอนแล้ว จะศรัทธาได้มี ประโยชน์ตนด้วย ถ้ามีก็พยายามเป็นพระธรรมกถึก เป็นผู้เข้าสู่บริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในบริษัท และก็พยายามศึกษาปรโตโฆสะ ศึกษาธรรมวินัย วินัยอันยิ่ง พยายามที่จะตรวจสอบ ให้จิตใจที่แข็งแรงมั่นคง เป็นผู้ที่ยินดีในความสงบสงัด ให้จริงในใจนะ เป็นความสงบสงัด ในใจนะ ให้จริงๆ ให้แข็งแรง ให้เป็นอัปปนาให้ได้ เสร็จแล้ว ก็พรั่งพร้อมไปด้วยเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ หรือมีฌาน มีวิมุติตามมา ศรัทธาคุณก็แข็งแรงสมบูรณ์ แล้วคุณก็มั่นคงเชื่อมั่น ในตัวเอง เชื่อมั่น คนอื่นเขาจะเชื่อมั่นด้วย ถ้าคุณเชื่อมั่นตัวเองและมีสัจจะที่ไม่ผิด ไม่เพี้ยน นับวัน คนก็จะศรัทธา นับวันคนก็จะเชื่อมั่นคุณยิ่งขึ้น

เอาละ สรุปเสนาสนะอีกสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ นาถกรณวรรค เสนาสนสูตร ที่มี องค์ ๑๐ ห้าที่ของตนเอง ตั้งแต่ศรัทธาพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ไม่ขี้โรค ไม่ป่วย เป็นผู้ที่ไม่มีจิต ลามก ไม่มีมายา เป็นผู้ที่ปรารภความเพียร เป็นผู้ที่มีปัญญาใน ๕ แล้วของตน ก็ยังประกอบ ไปด้วย เสนาสนะที่ไม่ใกล้ ไม่ไกลนัก พรักพร้อมไปด้วยปัจจัย ๔ ที่พออาศัยอย่างดี แล้วก็เป็น ผู้ที่มีพระเถระ เป็นสถานที่มีพระเถระเป็นผู้รู้ เป็นผู้มีวิญญูชนอยู่ร่วม ไม่ใช่ไปอยู่คนเดียว หนีไปอยู่ แต่ผู้เดียวเลย ก็เป็นพระอรหันต์ นี่มันค้านแย้งที่พระพุทธเจ้าสอน นี่ หนีไปอยู่แต่ผู้ เดียว ก็เอกะ เอกัง ก็ไปแปลอยู่แต่ผู้เดียวทำไม ก็แปลว่าเป็นผู้ที่ได้สิ่งอันเลิศ เป็นผู้ที่อยู่ด้วย สิ่งอันเลิศ เอกะ เอกัง แปลอย่างนี้ก็ได้ ไปแปลว่า อยู่แต่ผู้เดียว กินคนเดียว นอนคนเดียว ปัดโถ กินด้วยกันก็ได้ นอนด้วยกันก็ได้ มีสัมผัสยังนี้ สอนกัน เผื่อแผ่กัน เกื้อกูล เห็นไหมว่า มันค้านแย้งกัน ถ้าแต่ว่าผู้เดียว ค้าน มันจะค้านกันสูตรนี้

แต่สูตรนี้ พระพุทธเจ้าให้อยู่ร่วมกัน เป็นมิตรดีสหายดี ค้านกับสูตรมิตรดี สหายดี สังคม สิ่งแวดล้อมดีด้วย เห็นไหม ค้านหลายสูตรนะ ที่ว่าอยู่แต่ผู้เดียว เป็นอยู่แต่ผู้เดียว ไปอยู่แต่ผู้เดียว ค้านเพื่อในเสนาสนะ ที่ไม่มีบุคคลเป็นอาจารย์นี่

ในสูตรเมฆิยสูตร พระเมฆิยะไม่อยู่กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าอยู่กับเรานี่แหละ เมฆียะไม่อยู่ หนีไปอยู่แต่ผู้เดียวในป่ามะม่วง ไม่นานวิ่งกลับตื๋อมาหาพระพุทธเจ้า กิเลสกิน ดีนะ ยังรู้ตัว วิ่งกลับมาหาพระพุทธเจ้าถูก พระพุทธเจ้าบอก เออดี ยังเป็นนกตีรทัสสี บินไปแล้ว ไม่เจอฝั่ง ยังกลับมา ถ้าไปแล้วไม่เจอฝั่ง ดันผ่าเตลิดไปไหนอีกเลย ตายกลางทะเลเลย หรือไม่ ก็ถูกอะไรเอาไปกิน เห็นไหม พระเมฆียะนี่ก็ค้านแย้งกับสูตรนี้ อย่างนี้เป็นต้น

มีสูตรอื่นอีกต่างๆ เพราะฉะนั้น การหนีคนเดียว อยู่คนเดียว ไม่ใช่วิสัยของสาวกภูมิ ส่วนปัจเจกภูมิ ยกไว้ แต่คุณแน่ใจหรือว่าคุณเป็นปัจเจกภูมิ ถ้าคุณไม่ใช่ปัจเจกภูมิ แล้วอย่าไป อวดดี ต้องมีให้ครบครัน แม้เป็นพหูสูต เป็นพระเถระ พหูสูต พระพุทธเจ้าก็ยังยืนยัน ซ้อนเข้าไปอีกว่า บุคคลสปายะที่ดีนะ เป็นคนที่จะต้องสอนเขา เอื้อเฟื้อเขา หรือแม้แต่ตัวที่เป็น ลูกศิษย์ลูกหา เป็นผู้ที่จะเอาปัญญา เป็นผู้ที่จะเพิ่มพูนตัวเอง ก็ต้องเป็นผู้หาพระภิกษุ ผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต เข้าหาอาจารย์ เข้าหาผู้มีคุณธรรมที่จะเกื้อกูลกัน ให้มีใจเปิด ไม่ให้มีอัตตา ไม่ให้มีมานะให้ดี ถ้าลดอัตตามานะแล้วสัมพันธ์กันอย่างนี้ ความสัมพันธ์ ความสร้าง ความเจริญ มันก็จะเกิดขึ้นไปพร้อมกัน ไม่นานเลย ไม่นานนัก

ได้ฟังธรรมนี่ลึกซึ้งขึ้นบ้างไหม สูตรเก่า ลึกกว่าเมื่อเช้านี้อีกไหม ลึกคืออะไร พวกคุณก็คงเข้าใจ พวกคุณก็คงรู้ว่าลึกคืออะไร มันแวดล้อม มัน คัมภีรา ทุททสา ทุรนุโพธา มันไม่เป็นวิสัยที่จะ ด้นเดา ให้คุณคิดเอาเอง อย่างที่อาตมาพูดนี่ คุณจะคิดออกไหม เอ้า เอาพระไตรปิฎกนี่ ไปอ่าน คุณไปอ่าน ๘ วัน ๑๐ วัน ก็ได้เอ้า อ่านเดือนหนึ่งเอ้า ไม่ใช่ดูถูกนะ คุณจะแทงทะลุอย่างที่ อาตมาแทงนี่ แล้วเอามาพูดให้อาตมาฟังได้ไหม แม้แต่อาตมาพูดไปแล้ว จะจำเอาอย่างที่ อาตมาพูด มาเล่าอีกได้ไหม ไม่ง่ายนะ ไม่มีสภาวะแล้วก็ไม่มีอะไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสเอาไว้ ในแค่นี้แหละ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะแสดงธรรมโดยพิสดาร ชักของลึกให้ตื้น หงายของที่คว่ำ มันไม่ใช่วิสัยที่จะเป็นไปตามธรรมดาง่ายๆ ไม่ใช่อาตมาคุยตัวเองนะ แต่สิ่งที่ลึกซึ้งเหล่านี้แหละ เราจะต้อง พยายามพากเพียรศึกษา ถ้าตามนี้ ยิ่งฟังยิ่งเห็นจริงๆ พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ นี่ลึกซึ้งจริงๆ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว นานเลยจริงๆ และใครอยากนานที่จะบรรลุนะ ก็ไม่นาน ก็ต้องพากเพียรปฏิบัติ

อาตมาย้ำให้ฟังแล้ว เหมือนกับคฤหบดีชาวนาที่พระพุทธเจ้ายกตัวอย่าง ต้องพยายาม อย่าไปรอช้า อย่าไปเฉื่อยแฉะ ทำอันนี้แล้วก็ทิ้งไปเสียห้าวันแปดวัน ทำไว้ยังงี้แล้วก็ทิ้งเอาไว้ เสียเดือนหนึ่ง ทำไว้ยังงี้ ทิ้งไว้ปีหนึ่ง ไม่เอา พออันนี้เสร็จ ก็ทำอันนี้ต่อ ทำสิ่งนี้เสร็จก็ทำ อันนั้นต่อ ตักข้าวมา ได้ข้าวมา ก็นำมา ก็ขนมา แล้วลอมไว้ แล้วก็จัดการให้ทำไอ้โน่นไอ้นี่ต่อ แล้วนวดต่อ ต้องเก็บกาก ต้องอะไร โอ้โฮ นี่ละเอียด อาตมายังจำได้ไม่หมดเลย

พระพุทธเจ้าท่านละเอียดยิ่งกว่า เมื่อกี้นี้ ครั้นแล้วก็ๆ ๆ ๆ โอ้โฮ ละเอียดลออ ต้องทำอย่างนั้น จนกระทั่ง ถึงจุดสุดท้าย เป็นบรรลุส่วนอันเลิศ บรรลุส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้หมดจด ตั้งอยู่ บนความเป็น แก่นสาร ต้องให้อย่างนั้นให้ได้ เป็นผู้สักกี่ปีก็ไม่รู้นะ อาตมาจะรอ จะพยายามไม่ ตายก่อน ให้ได้ สิ่งอย่างนี้จากพวกเรา

เอ้า เอาละ สำหรับวันนี้ สมควรแก่เวลา พอ

สาธุ


ถอด โดย ยงยุทธ ใจคุณ
ตรวจทาน ๑ โดย เพียงวัน ๗ มิ.ย.๓๕
พิมพ์ โดย สม.มาบรรจบ
:2435D.TAP