กลไกของวิปัสนา
๑๔ กันยายน ๒๕๓๖
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ณ พุทธสถานสันติอโศก

วิจัยอะไรๆออกได้แค่ไหน เพราะต้องรู้จริงๆว่ากายคืออะไร กายนี่มันเป็นองค์ประชุม ตั้งแต่องค์ประชุมนอก ก็มีอะไรๆ ข้างนอกนี่ ประกอบไป

ถ้าเรารู้แล้วเราก็จะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุเป็นเหตุเป็นปัจจัยยิ่ง มีทั้งตลอดแม้ในปัจจุบันนี้ แม้แต่อดีต ที่เป็น เหตุปัจจัย ประกอบ เหมือนอย่างกับ"กรรมในอดีต"นี่ก็เป็นเหตุได้ ปัจจุบันนี้ว่าจะเกิดอะไร จะเกิดวิบากอะไร จะเกิดกรรมอะไร จะเกิดลักษณะอะไร ที่จะเกิดสังเคราะห์กันขึ้นมา หรือสังขารกันขึ้นได้ด้วย เราจะเข้าใจ ทั้งอดีต ปัจจุบัน แม้จะคำนึงถึง อนาคต

ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรรวมกันแล้วมันสังเคราะห์กันเข้าเป็นอย่างไรบ้าง แม้แต่เรื่องของข้างนอก เรื่องของวัตถุ เรื่องของบุคคล เรื่องของสถานที่ เรื่องของอะไรต่ออะไรต่างๆนานา จนกระทั่งถึง พฤติกรรม การงาน แม้แต่เรื่องของ วิบากเอง วิญญาณเอง ที่มันมี บวก ลบ คูณ หารกัน หรือสังเคราะห์กันเข้า และเป็นเหตุเป็นปัจจัยทั้งนั้น เมื่อเวลา องค์ประชุมนั้นเกิดขึ้นมา รวมลงไปในๆ เป็นภายใน พอเวลา ตาเห็นรูป เกิดจักขุวิญญาณ ที่เราเรียกรวม ว่าเป็น "ผัสสะ รวม" ๓ ประการนี้เป็นผัสสะ ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ชัดเจนในทุกขสูตรนะ ๓ อย่างนั้น รวมกัน เกิดผัสสะ ผัสสนั่นแหละเรียกว่า กายแล้วน่ะ รวมแล้วเป็นองค์รวมและผัสสะที่ว่านั่นนะ มันก็เกิดสภาพรวมไปอีก เราจึงเรียกเป็นภาษานะว่า เวทนา เพราะผัสสะเราก็เกิด จิตวิญญาณเราก็รู้สึก พอรับรู้สึก ในขณะรับรู้สึกนั้น เป็นเวทนา เป็นองค์รวม จากผัสสะนั่นแหละไปรับรู้สึก รวมจาก ตา รูป จักขุญาณ แล้วก็เป็นความรู้สึก ความรู้สึกรวม นั่นน่ะ เป็นกายจริงๆ เมื่อเราอ่านเวทนาลงไป เวทนากลายเป็นรูป รูปนั่นก็คือกายๆ

เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ญาณของเรานี่แหละอ่านเวทนา มันรู้สึกอย่างไร ก็อ่านความรู้สึกนั้นทันทีๆ วิจัยลงไปใน เวทนา เวทนาในเวทนา ความรู้สึกที่รู้ตามความเป็นจริง อย่างหนึ่ง วิจัยลงไป วิเคราะห์ ลงไปอีก ในเวทนาว่า นอกจากความรู้สึกในเวทนาในเวทนานั้นเป็นความรู้สึกตามความเป็นจริง เช่นว่า รูปสีแดง รูปสามเหลี่ยม เรียกเป็นทรง หรือเรียกเป็นสี ก็แล้วแต่ รูปบ้านรูปคนอะไรก็ตามแต่ เป็นรูป ถ้าเป็นรูป โดยความเป็นจริง ที่ตาเห็น เกิดจักขุวิญญาณ แล้วเป็นผัสสะแล้วมารับรู้สึก ถ้าเราอ่านรวมเลย ตั้งแต่เวทนาแรก ว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข-เวทนาชอบหรือชังนั่นเอง ถ้ามันสมใจก็สุข ถ้ามันไม่สมใจ ที่ชอบมันก็ทุกข์ ถ้ามันเป็นเวทนารวมแล้ว มันก็ทุกข์ เป็นสุขเป็นทุกข์น่ะ มันปรุงแล้ว มันรวมลงไปหมดแล้ว เราก็ต้องเพ่งอ่าน แล้วก็วิเคราะห์วิจัยออกว่า ถ้าตากับรูป ก็รับสัมผัสแล้วเกิดตัวรู้เรียกกลางๆว่าวิญญาณ หรือเป็นเจตสิกเวทนา มันรู้จริงๆน่ะ มันรู้อะไร มันรู้รูป มันรู้สี อย่างที่ว่า เมื่อกี้นี้ "สีแดง" "สีแดง" มันก็คือ "สีแดง" โดยสัจจะความจริง รู้คน คนมันก็คือคน จะวิเคราะห์ซ้อน ลงไปอีก ว่าคนนั่นมันบอกโดยสัญญาว่า ผู้หญิงหรือผู้ชาย มันก็คือผู้หญิงถ้าผู้หญิง ถ้าเป็นผู้ชายมันก็คือผู้ชาย เอ้า! สมมุติเป็นผู้หญิง ผู้ชายมอง ผู้หญิง มองลงไป มันก็ไม่ใช่ผู้หญิงเฉยๆ ทีนี้มันปรุงลงไป เป็นสุขเป็นทุกข์ ชอบหรือชังอะไร ก็แล้วแต่... "เกิด" เป็นสุขเป็นทุกข์หรือชอบหรือชัง...เกิด มันมีกิเลสเข้าไปร่วมประชุมด้วย เป็นองค์ประชุม หรือ เป็นกายด้วย เราก็วิเคราะห์ คนก็คือผู้หญิงคนนั้น

ทีนี้มันมีกิเลสเข้าไปปรุงร่วมแล้วสังขารร่วมแล้ว จึงเกิดเป็นสุขเป็นทุกข์ เจอคู่อาฆาตก็เกิดทุกข์ เจอคน ที่คิดถึง ก็เป็นสุข ก็ได้พบ อะไรอย่างนี้เป็นต้น มันก็ปรุงร่วมมีกิเลสอย่างนี้ เราชอบ เราต้องการ มาผสม เราต้องการ หรือไม่สมใจ ในที่ต้องการ เราก็วิเคราะห์ว่าทำไมเราจะต้องไปชอบ เราจะต้องไปชัง เราจะต้อง ไปโลภ เราจะต้อง ไปโกรธ วิเคราะห์เอาแต่ตัวกิเลส ตัณหา พวกนั้นออกมา เมื่อเราวิเคราะห์ ไอ้กิเลสตัณหา พวกนั้น ออกมาได้แล้ว ก็พิจารณาอ่าน พยายามทำแบบฝึกหัด เห็นความจริง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยหลักฐาน ด้วยความจริง ต่างๆนานา สารพัดที่จะเป็นหลักฐาน เหตุผลอะไร ที่จะทำให้กิเลส มันอ่อนตัว มันละลายตัว มันตาย ตายด้วยเหตุผล ตายด้วยสัจจะความจริง ตายด้วยหลักฐาน ที่เราเคยทำมาว่า เราทำมามากๆนี่นะ ฝึกปรือมามากๆ ความช่ำชอง ความชำนาญ ความมีความรู้ ความเห็นจริง ก็จะซ้อน ลงไปให้เรามากขึ้น จะทำให้กิเลสนั้นลดได้เร็ว เพราะอำนาจ หรืออินทรีย์พละ ของเราสูง บารมีเราสูง ภูมิธรรมเราสูง เพราะเราได้ฝึกซ้อมเราได้อ่านและมีความจริงมากขึ้น สัจจะในเรื่อง ของไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง เห็นความทุกข์ เห็นความที่ไม่น่าจะเป็นทุกข์ ประสิทธิภาพ ของการ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ประสิทธิภาพในการเห็นว่าสัจจะความจริงนี่เราทุกข์เพราะอะไร อาการอย่างไร ของจิต ที่ไปทำอย่างนั้น ขึ้นมา มีอาการยึดติด เป็นอาการถือ เป็นอาการต้องการ เป็นอาการปรารถนา ที่จะได้สมใจ อย่างนั้น สมใจอย่างนี้ อะไรต่างๆพวกนี้ เราจะเกิดญาณที่รู้แทรกซ้อนเข้าไปในพวกนี้ จะรู้หน้าตา ของสิ่งที่มันเป็น อกุศล เป็นแขก เป็นกิเลสตัณหาที่แท้จริง โลภะ โทสะ โมหะ ตัวแท้จริง มันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าเราวิจัยซ้อน ลงไปๆๆ เสร็จแล้ว เราจะชำนาญยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้นกิเลสมันก็จะ... พอวิปัสสนาญาณ ซึ่งต้องเรียกเป็นภาษาว่า "ยกวิปัสสนาญาณขึ้นสู่จิต ยกจิต ขึ้นสู่วิปัสสนา" นั่นก็เป็นภาษาที่ทาง สมาธิหลับตาเขาเรียก สมาธิหลับตา เขาบอกนั่งสมาธิ แล้วก็ยกจิต ขึ้นสู่วิปัสสนา แต่ในทางพุทธนี่ จะยกวิปัสสนาขึ้นสู่จิต คือจะต้องทำวิปัสสนา ในขณะปัจจุบันนี่ คือจิตเรา ฝึกสัมผัสรู้ตัวดีแล้ว เราก็จะนึกถึงว่า วิปัสสนาคืออะไร เราก็จะทำวิปัสสนา คือ ยกวิปัสสนาใส่จิต ให้มี บทบาทของวิปัสสนา เกิดทำงานของวิปัสสนานั่นเอง ทำงานวิปัสสนา เมื่อทำงาน วิปัสสนา มันก็จะช่ำชอง แล้วมันก็จะเกิดผลสงบระงับ นี่แหละสมถะของพุทธ สงบระงับตามหลังวิปัสสนา ส่วนฤาษีนั้น จะสมถะ เกิดก่อนวิปัสสนา คือทำความสงบลง แล้วค่อยวิปัสสนาว่าอย่างนั้น ยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนา ส่วนของพุทธนั้น วิปัสสนาจริงๆ สัมผัสแตะต้อง แล้วก็วิปัสสนาเลย ดูตามอะไรๆ ตลอดเวลาเลยยิ่งช่ำชอง ก็รู้ตลอดสายเลย ตั้งแต่รู้สึกตัว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ขึ้นสู่วิถีทำงาน เมื่อมีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีสัมผัสอะไร แล้วก็รู้ พอรู้แล้ว ก็เกิดเป็นสัมผัสรวม ภาษาสัมผัสรวม สัมผัสกายนั่น เขาเรียกซ้อนภาษา เท่านั้นเอง ที่จริงภาษา ของบาลี เขาเรียกมันก็ผันมาจากรากศัพท์ อันเดียวกัน โผฎฐัพพา ก็เป็นผัสสะ เรามาเรียกสัมผัส เรียกเป็น ภาษาไทยว่า สัมผัสนอกสัมผัสใน ก็คือได้กระทบนั่นแหละ สัมผัสรวมนั่นแหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย กายก็คือ เอาสัมผัสทั้งหมดของทั่วๆไปของร่างกายได้รับรู้ด้วยการกระทบทางกาย แล้วก็ "ใน" ธรรมารมณ์ สัมผัสทาง "ใน" เกิดสภาพจิตรู้จิต จิตสัมผัสจิต พอตาเป็นรูป รูปก็ไปเป็น อายตนะใน มันก็ไปสัมผัส กับจิตใน เป็นธรรมารมณ์ ก็ปรุงข้างใน แล้วของพุทธทำวิปัสสนาแล้ว ถ้าได้ผล ก็ไปสู่สมถะ สู่ความสงบ ที่แท้ หรือปัสสัทธิ เราก็เรียก หรือความสงบอื่นๆนี่ก็เรียก สมะก็เรียก สันติก็เรียก อะไรๆก็แล้วแต่ มันเป็น ความสงบ จะเรียก"วิเวก" จะเรียกอะไรๆอีกหลายคำนะ เรียกความสงบ มันก็เกิด ลงจริง เกิดสภาพนั้นจริง วิปัสสนาแล้วก็สงบด้วยเป็นสมถะ งั้นเราก็ฝึกเข้าไปฝึกเข้าไป ความเก่ง ในการวิปัสสนา ความช่ำชอง ก็จะเก่งขึ้น เก่งขึ้นๆ แล้วก็วิจัยเวทนานี่ออก วิจัยออกจริงๆเลย เก่งใน เวทนา เวทนา ๒ เวทนา ๓ เวทนา ๕ เวทนา ๖ ...๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ จำกันได้บ้างมั้ยจำกันได้บ้างหรือยัง ลักษณะของเวทนา ๕ ก็คือกำลังของเวทนา อินทรีย์พละ อินทรีย์คือทวาร คือ สภาพของสุข ของทุกข์ ของอุเบกขาน่ะ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา โสมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา ...๕ เรียกว่าอินทรีย์ ๕ เป็นกำลัง สุข ทุกข์ โสมนัส แล้วก็อุเบกขา อ่อน จาง คลาย ขนาดไหน ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา สุข โสมนัส อุเบกขา เข้ามาหาอุเบกขานี่ มันมีกำลังความทุกข์ หยาบ...เรียกว่าทุกข์ ความทุกข์กลางเรียกว่าโทมนัส ความสุขใหญ่หยาบ... เรียกว่าสุข ความสุขกลางเรียกโสมนัส ความไม่มีสุขก็เรียกว่าอุเบกขา เราก็ต้องรู้ว่า ภาวะสภาวะเป็นอย่างไร อาการของสุขอย่างนี้ เป็นสุขอย่างนี้เรียกโสมนัส อย่างนี้เราเรียกทุกข์ อย่างนี้เราเรียกโทมนัส อย่างนี้เราเรียก ... มันอ่อนลงไปแล้ว จนกระทั่ง "เกือบจะไม่มี" ไม่มีสุข-ทุกข์แล้ว แต่มันยังมี มันต่างกันกับไม่มีอยู่นะ มีลิงคะ เหลืออยู่นิดหนึ่งก็... ทุกข์นี่กับ"ไม่มีเลย"มันจะต่างกันน้อย

เพราะฉะนั้น เราจะต้องวิเคราะห์วิจัย ต้องมีญาณเข้าไปรู้ความต่างพวกนี้ ลิงคะพวกนี้ มีกำหนดหมาย นิมิต ดูว่าอาการของมัน นี่เรียกว่ารู้รูปรู้นามของมัน ด้วยอาการเรียกว่าลิงคนิมิต "อุเทศ" อุเทศก็คือ หัวข้อ ของทุกข์ แล้วมันทุกข์เล็กทุกข์น้อย ไปจนกระทั่งถึงเหลือน้อย เป็นโทมนัสน้อยๆ ไปจนกระทั่ง ถึงอุเบกขา คือไม่ทุกข์ไม่สุขเลยนี่มันต่างกันนะมีลิงคะ คุณฟังหัวข้อที่ยกขึ้นมาสาธยาย เรียกว่าอุเทศ ที่อาตมา เอาหัวข้อ คำว่าทุกข์ ว่าสุข อุเบกขา มันต่างกัน อะไรๆมาอธิบายสาธยายให้คุณฟัง คุณฟังแล้ว คุณเข้าใจแล้ว ก็ไปปฎิบัติ ประพฤติ พิสูจน์ จะมีอาการอย่างไร คุณก็ต้องรู้ด้วยตน ด้วยญาณของตน นิมิตเครื่องหมาย ให้รู้อย่างไรๆ มันมีนิมิตหมายอย่างไร คุณก็รู้ด้วยญาณของตน มันต่างกันอย่างไร ความต่าง ลักษณะที่ต้องเปรียบต้องเทียบกันนี่แหละความต่างๆกัน เปรียบเทียบความมีมาก กับความมีน้อย ความมีน้อยกับความไม่มีเลย นี่มันต่างกันนะ จนกระทั่งบอกว่ามันไม่มีจริงๆ ไม่มีความต่างแล้ว ไม่มีไอ้ที่ว่าเหลือน้อย มันไม่เหลือแล้ว คุณก็ต้องไปรู้ไปเห็นของจริงกันเอง เป็นทุกข์ เป็นสุข หรือมันเกิดมาจาก...เรียกว่าเวทนา ๖ ในจักรวาลทั้ง๖ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเวทนาต่อกันมา จากตาเป็นเหตุ จากรูปเป็นเหตุ โยงเข้าไป มีสันตติต่อไปถึงข้างใน เรียกมันว่าเวทนา ก็เวทนามาจากตา รูป เสียง เวทนามาจากหู ผัสสะนั่นแหละ มันรวมเป็นผัสสะ มันเข้ามา เป็นธาตุรู้เรียกว่าวิญญาณ แล้วก็วิจัย เวทนาวิญญาณนั่นลงไป เป็นเจตสิกต่างๆ ก็แยกวิเคราะห์ได้ เวทนาจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต่างๆ นานา ๖ จาก ๖ นี่แหละเอาสุขเอาทุกข์มาบวกเข้าไปอีก เอ้า วิเคราะห์วิจัยจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ นี่ มีสุข มีทุกข์ หรือว่าเราทำไม่ดี หรือไม่ได้ดีหรอก มันอุเบกขาเด๋อ อุเบกขาแบบเด๋อๆ แค่ ๑๘ คือ ทุกข์ สุข อุเบกขา เราก็ยังไม่วิจัยออกไปเป็นตัวอุเบกขานี่ เป็นตัวที่สำคัญ ถ้าแค่ ๑๘ มันก็ยังไม่ได้แยกว่า อุเบกขานั้น เป็นอุเบกขาโลกุตระ หรือโลกียะ พอแยกเป็น ๓๖ มีเคหสิตะ มีเนกขัมมะขึ้นมาทีนี้ชัด แยกวิเคราะห์ แม้แต่ ทุกข์-สุข ทุกข์อย่างไรเป็นทุกข์อย่างโลกียะ ทุกข์อย่างไรเป็นทุกข์อย่างโลกุตระ ที่เราเองมีสติสัมปชัญญะ ปฏิบัติได้ดีเลย เป็นทุกขายะ อัตตานัง ปทหติ ตั้งตนอยู่บนทุกข์นี่แหละ ทุกขายะก็คือทุกข์นั่นแหละ เรามีทุกข์นะ แต่ว่าเป็นทุกข์ที่เราตั้งตน เราตั้งใจ เป็นอัตตสัมมาปณิธิ เป็นการตั้งใจ ตั้งตนเองเลยนะ ตั้งตนไว้ชอบแล้ว ตอนนี้เราตั้งเองเราทำเอง เพราะตั้งอยู่ในฐานะอย่างนี้ มีสัมผัสอย่างนี้ มีการเรียนรู้ อย่างนี้ มีแบบฝึกหัดอย่างนี้ มีชีวิตอย่างนี้แหละ มีความรู้ มีวิชชาแล้ว เอามาปฎิบัติกับตัวเองได้แล้ว มีสังกัปปะให้เราได้ฝึก มีวาจาให้เราได้ฝึก มีกัมมันตะ มีการกระทำต่างๆนานาทาง กาย วาจา ใจ มีการงานอะไร ประกอบไปกับวจีกรรม มโนกรรมอยู่พร้อม หรือมีอาชีพ มีการงาน การกระทำ กิจการอะไรอยู่ ก็แล้วแต่ เป็นอาชีพให้เราได้ฝึกเป็นธรรมดาธรรมชาติของวันๆ แต่ละวันเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือเป็น กิจการประจำวัน หรือเป็นชีวิตประจำวัน เป็นวันๆ ทั้งวันๆ นี่เราก็ได้เรียนรู้ นี่คุณฟังไปนี่ เกิดสัมมาทิฐิแค่ใด คุณก็เอาไปปฏิบัติ องค์แห่งมรรค มัคคังคะ คุณก็จะชำนาญ ในมัคคังคะ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ชำนาญ สัมมาทิฐิ ไม่ใช่... ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ มัคคังคะนี่ปฏิบัติเข้า ปฏิบัติมรรค ปฏิบัติโพชฌงค์ ในมรรค โพธิปักขิยธรรม ๘ ประการนี่ คุณก็ปฏิบัติโพชฌงค์ คุณก็ปฏิบัติมรรคนั่นแหละ ปฏิบัติให้มันเกิดสภาวะ สติปัฎฐาน ๔ เป็นพละ ๕ ด้วยโพชฌงค์ ๗ ด้วยมรรค ๘ นี่แหละ โพชฌงค์๗ ก็เมื่อเวลาคุณมี ธรรมวิจัย สัมโพชฌงค์ เก่งขึ้นๆๆ มัคคังคะคุณก็ได้ทำ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ โดยความมี สัมมาวายามะ มีความพยายาม มีความเพียร มีสติ ตั้งสติ พยายามตั้งสติ ไปปฏิบัติก็ต้องพยายามตั้งสติ ให้เกิดองค์ธรรม หรือกลไกของการปฏิบัติ โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์แบบ คุณก็พยายามสังวรปธาน ปหารปธานให้ได้ มีภาวนาปธานเกิด อนุรักขนาปธานตาม รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม รู้จริงๆ มีอิทธิบาท ๔ ยิ่งทำ ก็ยิ่งเกิดฉันทะ ยิ่งทำก็ยิ่งเกิดวิริยะ ยิ่งทำก็ยิ่งเกิดชำนาญในการมีจิตตะ ในการเอาใจใส่ หรือมี ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ เก่งวิมังสาจริงๆ วิมังสามันก็ตรวจตราไตร่ตรองวินิจฉัยไปเรื่อย ธรรมวิจัยก็คือ ลักษณะคล้ายกันกับวิมังสา วิมังสาก็คือลักษณะเดียวกันกับธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่วิจัยเฉยๆ ไม่ใช่วิจัยอะไรๆ โดยนักวิทยาศาสตร์ วิจัยอะไรไปเรื่อยเปื่อยไป ข้างนอกๆน่ะเยอะแยะ แต่นี่วิจัยสัมโพชฌงค์ วิจัยที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มันจะเป็นพระอรหันต์นั่นน่ะ ถ้าวิจัยอย่างนี้มีบทบาทการทำงานอย่างนี้ ของตนเองอยู่ ประกอบไป แม้นว่าคุณจะทำอาชีพใดอยู่ คุณก็วิจัยสัมโพชฌงค์ประกอบอยู่ คุณทำ กายกรรม มโนกรรม วจีกรรมใดอยู่คุณก็รู้ คุณก็มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ประกอบอยู่ สัมมาทิฐิคุณ จะถูกปรับ ขึ้นไปในตัวเลย คุณนึกว่า คุณสัมมาทิฐิแล้วนี่ พอเวลามาปฏิบัติจริงแล้วนี่น่ะ สัมมาทิฐิ มันจะยิ่งเห็นจริง ยิ่งรู้จริง ยิ่งเข้าใจจริง ยิ่งเชื่อมั่นจริง ยิ่งเห็นของจริงของแท้ ไม่ใช่เป็นแต่แค่ฟัง รู้ความหมาย เข้าใจบัญญัติ เข้าใจภาษา และก็ไม่ใช่แค่เอาไปนึกคิดเท่านั้น มันจะเกิดตัวจริง เพราะปฏิบัติ มัคคังคะ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิจันเนื้อแท้ ไม่ใช่วิจัยคิดนึก ไม่ใช่วิจัยตรรกศาสตร์ แต่วิจัยสภาวะ ที่เป็นภาคปฏิบัติ วิจัยอารมณ์ วิจัยกิเลส และปฏิบัติการลดกิเลสเห็นรู้การที่กิเลสลด เห็นอารมณ์ การที่กิเลสลด เห็นความจริงตามเป็นจริงซ้อนขึ้นไป

เพราะฉะนั้น สัมมาทิฐินี่ก็คือ ความเห็นความเข้าใจที่ซ้อนลึกมาจากเห็นก็มาเพียงบัญญัติ หรือปริยัติ มาเป็นปฏิบัติ จากปฏิบัติก็ยิ่งเกิดญาณที่เห็นๆ สัมมาทิฐิก็คือตัวเกิดอีก เป็นความเห็นความเข้าใจ สั่งสม ลงไป กลไกของธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฐิ มัคคังคะ ๓ ตัวนี้ ปัญญินทรีย์ ปัญญา พละ เรื่อยๆ กลไกส่งเสริมซ้อน ส่งต่อเหมือนสายพานเครื่องกล ที่มันส่งต่อพลังงาน เหมือนสายเยื่อใยกลไก ของอะไร ก็แล้วแต่ เครื่องกลอะไรก็แล้วแต่ มันก็โยงใยไปสังเคราะห์กัน ไปเสริมหนุนกัน ไปต้านทานกัน ทำให้เกิด สิ่งที่เป็นยอดแห่งพลังงาน หรือยอดแห่งผล เกิดยอดแห่งผลที่ต้องการจะให้ออกมาเป็นอะไรก็ได้ ผลที่ต้องการออกมา ตามเครื่องกลนั้น มันทำงาน นี่ก็เป็นเครื่องกลของมนุษย์ที่วิเศษสุด เราเป็นช่าง วิเศษสุด ที่เราจะสร้างให้เกิด ไม่สร้างไม่เกิด ยิ่งสร้างยิ่งเกิด ยิ่งสร้างก็ยิ่งแข็งแรง ยิ่งสร้าง ก็ยิ่งเกิดระบบ ที่เป็นระบบที่ดี ที่ถูกต้อง ก็ปรับระบบนี่ไปไปเรื่อยๆ สร้างไปปรับระบบไป กลไกไหนขาดก็เติม กลไกไหน เกินก็ตัด มันก็จะเกิดระบบที่เรียบร้อยที่ Practical ที่สุดขึ้นไปเรื่อยๆน่ะนะ จะเกิดความลงตัว Practical นี่น่าจะเรียกว่า "ลงตัว" มันยิ่งฝึกยิ่งจัด ยิ่งแจง ยิ่งเข้าใจยิ่งลงตัว ยิ่งเนียนยิ่งเก่ง ยิ่งละเอียดลออ ยิ่งได้ผลจริง เข้าไปเรื่อยๆ มันสั่งสมลงเป็นปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ มันก็เกิดความมั่นคงแข็งแรง เกิดสมาธิ เกิดญาณ เกิดวิมุติ เป็นผลแท้ซ้อนลงไปจริงๆ เราที่ให้ทำแบบฝึกหัดขึ้นมานี่ ใครใส่ใจ ก็ดีแล้วล่ะ ฝึกดู ตั้งแต่เราลองดูไปตามนั่นน่ะ อ่านอารมณ์...ทำไป แม้แต่แบบฝึกหัดที่ ๓ นี่ก็ให้"รู้" เกี่ยวข้องกา ยแล้วนะ ขยายเพิ่มเติมขึ้นไปว่า ให้ดูสิ สิ่งที่ชอบที่สุด ไม่ชอบที่สุด แม้กระทั่ง เราสัมผัสแตะต้อง เกี่ยวข้องกับสถานที่ วัตถุ สิ่งของ การงาน บุคคล พฤติกรรมของตนเอง ของเพื่อนของฝูง กระทบสัมผัส อะไรกันอยู่ แล้วมันก็ก่อให้เกิดพวกนี้ทั้งนั้นแน่ะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดผัสสะ แล้วก็เกิดเวทนา เกิดตัณหา เราปฏิบัติไปจริงๆ นี่แหละ มันไม่นอกไปจาก ปฏิจจสมุปบาท ไม่นอกไปจาก ที่เขาสอนหลักสูตร จุดใหญ่ๆ ไม่นอกไปหรอก ปฏิบัติจริงก็เกิดสภาพพวกนี้จริง อีกหน่อยเรา เรียกภาษาหลักสูตร ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็จะรู้เลยว่า อ้อ อวิชชาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ นามรูป เป็นอย่างนี้ มีอายตนะ ๖ อย่างนี้ เกิดผัสสะอย่างนี้ เกิดเวทนาอย่างนี้ เกิดตัณหาอย่างนี้ ตัณหามันสั่งสม เป็นอุปาทาน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราทำลายตัณหาอุปาทานก็คือ น้อยลงๆ คลีคลายลง แต่ก่อนเรายึดถือเกิดอย่างนี้ จะเอาอย่างนี้ อย่างกูยึดกูถือ ก็ต้องอย่างกูเอานี่แหละ กูต้องเป็นอย่างนี้ ต้องได้อย่างนี้ อัตตามานะ ต้องเป็น อย่างที่กูเชื่อนี่แหละ เป็นอุปาทานทั้งนั้น ยึดติดเอาไว้ ฝังเอาไว้ เป็นตัวกูของกู แต่ถ้าเราทำลาย พวกนี้ได้ เปลี่ยนตัณหา ลดตัณหา อุปาทานลดด้วย จนกระทั่ง หมดตัณหา มันก็เหลือแต่ ตัวกูของกูที่แน่ สังโยชน์ก็สูง นี่มานะ แม้จะแน่ขนาดไหน ก็ต้องมาลดอัตตามานะพวกนี้ ตัวกูของกู ที่เก่งที่เยี่ยม ที่ยอด ที่เป็นพระอริยะ ที่เป็นจริง แม้จะเป็นพระอรหันต์ มะลอม-มะล่ออยู่แล้ว เป็นอนาคามีที่สุด ก็จะต้องรู้ว่า ไอ้นี่มันเป็นแต่เพียง สิ่งที่เราอาศัย มันไม่ใช่ตัวกูของกู ตัวเราของเราที่แน่แท้อะไรหรอก มันจะต้อง พรากจากกัน สุดท้าย มันก็จะต้องสูญ เราไม่ต้องติดต้องยึดอะไรว่า เป็นตัวเราของเรา ไม่ปรารถนา ที่จะต้องยินดี จะต้องใช้มันอีก ไม่ต้องเกิดประโยชน์อะไรอีก เราก็วางก็ปล่อย ไม่อาลัย ไม่อาวรณ์ ไม่หวงแหน อะไรอีกแล้ว คุณล้างกิเลสได้หมดสุด ก็เหลืออัตตามานะ เหลืออัตตา

แม้ที่สุด ล้างมานะได้ มานะเป็นสภาพที่ถือดี แต่มันก็ต้องใช้ดีนะ ใช้ความอุตสาหะวิริยะนี่ บางที เราให้ความหมายของ อุตสาหะวิริยะ เราก็เอาความหมายของมานะ มาใช้เหมือนกัน ภาษาไทย หรือ ภาษาบาลีก็ตาม มันมีเชิงว่า มันเป็นคนมีกำลัง มีกำลังสร้างสรร มานะนี่เอาซิ อุตสาหะวิริยะเข้า มันเป็น ความหมายเดียวกับ มานะ อุตสาหะ วิริยะนี่ เข้าใจมั้ย? คือมันเป็นคนที่มีกำลังความเพียร มีกำลัง ความสร้างสรร มีกำลังการ... ไม่เป็นคนอยู่เฉยๆ ขี้เกียจไม่เอาถ่านอะไร แต่เป็นคนเอาถ่าน เป็นคนมี ความขมีขมัน จนชำนาญ จนช่ำชอง เมื่อมันเป็นกำลังที่แท้จริงแล้ว กำลังของความขยัน กำลังของ ความเพียร เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นวิริยะ เป็นวิริยินทรีย์ เป็นวิริยพละ เป็นความเพียร ที่มีกำลัง ในตัวมันเอง มันเป็นตถตา มันเป็นตัววิริยะพละ ที่เป็นตัวตถตา เป็นตัวพลังเพียร ที่อยู่ในตัวเราเป็น กำลังไม่ใช่ว่าเป็นตัวเฉื่อย มันเป็นเองเลย โดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องไปใช้แคลอรี หรือใช้อะไร เข้าไป บังคับมัน ดันมัน ไม่ต้อง... มันเป็นวิริยพละที่เป็นตถตา ฟังความนี้ เข้าใจไหม มันเป็นความแท้จริง ของมันเอง เพราะเราสั่งสมความแท้จริงนี้ขึ้นแล้ว ได้แล้ว เป็นแล้ว มันเป็นเอง ของมันเลย มันเป็น เหมือนกับ นายลูกเขยบ้านนอกของใครละ "มันเป็นเช่นนั้น ธรรมดาของมันเองแหละพ่อ" มันเป็นอย่างนั้น จริงๆเลย เอ๊ะ! ทำไมนะฟักทองเถามันนิดเดียว แต่ลูกมันโตล่ะ? ลูกมันเป็นธรรมดา ของมันเองแหละพ่อ เขาถามถึงฟักทอง มันเป็นจริง คุณซักซ้อมไป มันจึงจะเกิด ธรรมดามันจะเกิด ก็ธรรมดามันเกิด ถ้าคุณ สั่งสมได้เท่านี้ มันก็เป็นธรรมดาเท่านี้ ทรงไว้เท่านี้ ธรรมดาก็คือทรงไว้ ธรรมตา ภาษาบาลีถ้าเติม "ตา" เข้าไปอีกตัวหนึ่ง มันก็เป็นปัจจัย อีกตัวหนึ่ง ก็คือคำนาม มันเป็นความมีอย่างนี้ เป็นทรงไว้อย่างนี้ ด้วยคุณเอง เป็นคนสั่งสม

เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้สภาพอย่างที่กล่าวมานี้ว่า นี่เราทำได้อย่างนี้จะเป็นศรัทธา สัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ จนเป็นความเชื่อมั่น ที่เป็นตถตา มันเป็นความเชื่อมั่น อย่างจริงเลย ตถตาคือจริง มันเชื่อจริงๆเลย เป็นอย่างนั้น อยู่อย่างนั้นเลย ไม่ใช่เชื่อมั่น อย่างงมงาย ไม่ใช่เชื่ออย่างได้ฟังมาเท่านั้น ได้ยินมาเท่านั้น มันเชื่อเพราะได้พิสูจน์ อย่างที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้น ศรัทธาพละนี่ มันเป็นความเชื่อ อย่างสุดยอด เชื่อมั่น อาตมาแปลว่า "เชื่อ" ก็แค่ "เชื่อถือ" "เชื่อฟัง" ก็ลองไปปฏิบัติประพฤติดู จนกระทั่งเกิดผล จนกระทั่ง เกิดผลสุดท้าย เป็น "กตญาณ" เป็นญาณสุดท้ายเลย เป็นกำหนดรู้ จนกระทั่ง สัญญาย นิจจานิ เที่ยงแท้แล้ว จริงจังแล้ว สุดท้ายแล้ว ไม่มีอะไรที่จะเป็นอย่างอื่นไปแล้ว จนถึงขั้น สัญญาเวทยิตนิโรธ การกำหนดรู้ เคล้าเคลียอารมณ์รู้ จนกระทั่งแจ้งชัด ในเป็นนิโรธ เป็นสัจฉิกัตวา เป็นสัจฉิกิริยา็นกริยา ของตัวที่แจ้ง เป็นสภาวะของกริยา อันที่แจ้ง มันแจ้ง... จนไม่รู้ว่า จะว่ายังไงนะ ภาษามันก็สื่อสภาวะ เท่านั้นน่ะ "สัจฉิ" นี่แปลว่าแจ้ง มันแจ้ง มันชัด มันแจ้ง อู๊!... แจ้งจริง เห็นจริงหนอ มันเห็นจริงๆ มันแจ้ง ไปหมด ชัดไปหมด เห็นจริงไปหมดเลย กริยาของอาการของจิตวิญญาณมันแจ้ง ของญาณ... ไม่ใช่ จิตวิญญาณเฉยๆ ของญาณทัสสนวิเศษอันนั้น ของปัญญาอันนั้นน่ะ ของธาตุรู้ที่รู้ยิ่งรู้ยอด ของญาณ ของอภิญญา ของญาณทัสสนวิเศษ ของอะไรก็แล้วแต่ภาษา คุณจะเรียกญาณวิเศษ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Enlightenment ก็ตัว Enlightement มันเกิดอาการอย่างนั้นนะ เกิดญาณตัวจบที่มันรู้จริงแล้ว นี่มันเป็น อย่างนี้ แล้วนะ นิโรธมันเป็นอย่างนี้ สภาวะของความดับสนิทของกิเลส มันเป็นอย่างนี้ มันดับสนิทแล้ว แล้วญาณ มันเป็นอย่างไร ธาตุรู้มันเป็นยังไง อารมณ์มันเป็นยังไง เราก็จะรู้ซ้อนลงไปว่า "เอ๊อ! กิเลส มันหมด มันเป็น อย่างนี้ แล้ววิญญาณ มันอยู่ในลักษณะไหนละ เวลาดับแล้ว อุเบกขาแล้ว มันเป็นยังไง มันถึงอุเบกขา เวทนาแล้วนะ วิญญาณมันเหี่ยวๆ ห่อๆอยู่เหรอ วิญญาณมันหม่นๆ หมองอยู่เหรอ

เปล่าเลย วิญญาณมันแจ่มใส วิญญาณมันปลอดโปร่ง มันรู้ทะลุ มันรู้จริง รู้แจ้ง รู้ถึงสิ่งที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ อะไรก็คือ ความจริง มันก็รู้ความจริงอันนั้นโดยไม่หรี่ไม่หมก ไม่ตกไม่พร่อง อะไรเลย รู้ยิ่งรู้จริงรู้ชัดรู้แจ้งด้วย รู้โดยไม่มีกิเลส เข้ามาปนนี่ มันยิ่งรู้ยอดรู้เยี่ยมเลย ยิ่งไม่มีกิเลสเข้ามาปน เข้ามาผสมเลย แม้แต่นิดแต่น้อย มันยิ่งรู้ โอ้โห... วิญญาณมันยิ่งเก่ง มันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่วิญญาณมันหาย วิญญาณมันทำงานไม่เป็น วิญญาณ มันจะเซ่อๆ ไม่ใช่ มันก็มลำเมลืองเหมือนกับเขาอธิบาย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เขาอธิบาย อย่างฤาษี ลักษณะอย่างฤาษีมีด้วยนะ ถ้าคุณนั่งทำฌานแบบฤาษี ไปเป็นฌาน อรูปฌาน ๔ นี่ อากาสานี่ สว่างแจ้งนะ พอไปเนวสัญญานี่ไม่สว่างแล้ว มันจะเป็นอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์ที่ชำนาญรู้ เพราะไปผิดตรงที่ อากิญจัญญายตนะ ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องไม่รู้ ถ้าขืนรู้อยู่นิดหนึ่ง หนึ่งนี่ มันแสดงว่า เรายังมีกิเลส มีจิตวิญญาณ มันต้องดับจิต จิตมันคือรู้ เพราะฉะนั้น ต้องดับจิต พวกมิจฉาทิฐิ เป็นแบบ ฤาษีล่ะ เพราะฉะนั้น นิโรธของเขา ก็จะเป็นแบบอสัญญี ไม่กำหนดรู้อะไรเลย จะต้องดับความรู้ ไปหมด ดับการกำหนดรู้ ทุกอย่างเลย ไม่ได้ชัดแจ้งในเวทนาหรอก พวกนี้จะไม่รู้จักเวทนา ๑๐๘ ไม่รู้เรื่อง หรอก พวกนี้ไม่ได้วิจัยเวทนา ความจริงแล้ว เมื่อดับสนิทเป็น สัญญาเวทยิตตนิโรธแล้ว ไม่ใช่ไปดับสัญญา ดับเวทนาที่เป็น โทมนัสเวทนา แม้แต่โสมนัสเวทนา เราก็ไม่ได้ติดยึด จริงๆถือว่า ดับก็ได้ เราเอง เราไม่ได้ ไปหลงใหลได้ปลื้ม กับสิ่งอย่างนั้น แต่มันก็เป็นสภาพที่เวทนา คือความรู้สึกที่ปลอดโปร่ง ความรู้สึก ไปในเชิง จะเรียกโดยภาษาก็ว่า วูปสโมสุข นั่นแหละ มันสบาย... มันเป็นภาษาเท่านั้นเอง แต่อารมณ์นั้น ไม่ได้เป็นอารมณ์ ที่เราไปติดยึดอะไรได้ เป็นก็เป็นอยู่ ก็ดีแล้ว เราทำได้ดีก็ดีแล้ว ได้อาศัย แต่เราก็ไม่ได้ ไปชื่น ... หลงใหล... มันก็ชื่นใจอะไรละ ก็ไม่ได้ไปชื่นแบบเริงร่าหลงใหลอะไรนะ

ภาษาพูด ก็ไม่รู้ว่า จะพูดอย่างไรนะ สัญญาเวทิตยิตตนิโรธนั่น นิโรธคือดับ ดับกิเลสสนิทแล้ว สัญญา เคล้าเคลียอารมณ์ เวทยิตตังนี่ หมายความว่า เคล้าเคลียอารมณ์ สัญญากำหนดดูอารมณ์ เคล้าเคลียอารมณ์ จนสนิท จนทั่ว จนถึง ยิ่งรู้ ไม่ใช่ดับเวทนา ไม่ใช่ดับสัญญา สัญญาทำงาน อย่างวิเศษด้วย ไม่ได้ดับเวทนา ไม่ได้ดับสัญญา แม้แต่สังขาร เมื่อคุณหัดปฏินิสสัคคะ คุณก็หัดปรุงกลับ ย้อน อนุโลมกลับ สัมผัสแตะต้อง ปรุงร่วมกับเขาดู ดูอารมณ์ด้วย ดูอะไรๆด้วยยังได้เลย เป็นปฏินิสสัคคะ ในการสลัดคืนปรุงร่วมกับเขา ยังได้เลย แล้วก็ชำระกิเลส ในตัวไปเรื่อยๆ เป็นปุญญาภิสังขาร จนอย่าง พระพุทธเจ้าต้องเรียกว่า อิทธาภิสังขาร ท่านปรุงอย่างเก่ง อย่างมีอิทธิฤทธิ์นั่นแหละ อิทธาภิสังขาร ปรุงได้ อย่างเก่งเลย ท่านก็ปรุง ของท่านได้ พระอริยเจ้า ที่ช่ำชอง จะซักซ้อมฝึกฝนไปเหมือนกัน ไม่ต้องหนี ต้องหลบ ไม่ต้องเลี่ยง เพราะฉะนั้น จิตวิญญาณ เจตสิกต่างๆ ทำงานเต็ม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกิเลสทำอะไรไม่ได้ และเรา ก็ไม่เล่นกับกิเลส กิเลสมาร่วมเกิด ร่วมเข้ามาในจิตวิญญาณอีกไม่ได้เลย กิเลสเข้ามาซึม มาซับ อีกไม่ได้ บริสุทธิ์อยู่เป็น ปริโยทาตา บริสุทธิ์ในลักษณะที่มีการปรุงก็ได้ คำว่า "ปริสุทธา" ก็คือ "ชื่อของความบริสุทธิ์" ปริโยทาตา ก็คือชื่อของความบริสุทธิ์ ที่ซ้อนลงไปอีก เป็นพยัญชนะ เรียกว่า มันบริสุทธิ์ โดยมีกำลัง มันยิ่งมีรอบสูงขึ้นไปอีก ยังไงๆก็สะอาดๆ มีอะไรก็มาปรุงมาร่วม ก็ยิ่งเก่งขึ้น มันเก่งขึ้น เพราะฝึกฝน เพราะพิสูจน์ ความจริง เพราะทำจริงแล้ว จึงแข็งแรงจริง จึงเกิดความเจริญ งอกงามจริง ยิ่งเป็นพระอริยะ ที่สามารถเป็น พระโพธิสัตว์ที่แข็งแรง แกล้วกล้า มีโลกวิทู มีกำลัง มีภูมิธรรม สามารถที่จะไปปราบมาร ชนิดยอด พญามาร ขนาดไหนๆๆ ได้มากขึ้น ตามจริงเลย จะเป็นของแท้ของจริง ที่มีบุญบารมีสูงขึ้นๆ ที่จะปราบ พญามาร อาตมาก็ฝึกเรื่อยไป เพื่อที่จะปราบพญามารขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ปราบ ได้เก่งขึ้นไป เรื่อยๆ แหละ พญามารที่มีอำนาจโลกีย์ขนาดไหน ทุกวันนี้ก็ยังมี ที่อาตมายังปราบ ไม่ได้เท่าไร ยังสู้ไม่ได้ ไม่เก่ง ก็พยายาม ฝึกฝนต่อไป

ความจริงพวกนี้มันเกิดจริงเป็นจริงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ใช่อยู่ดีๆก็เกิดเอาเอง นั่งปรารถนาต้องการอ้อนวอน ก็เกิดบันดาลมาเอง อย่างนี้ไม่ใช่ ทำได้ด้วยตนทั้งนั้น ฝึกฝนไปจริง

นั่งทบทวน อาตมาขยายเจาะลึกลงไปอีกในกลไกของการประพฤติธรรม กลไกของโพธิปักขิยธรรม กลไกของ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ หรือกลไกของการปฏิบัติระบบของพุทธ ทางเอกของพุทธ วิชาของพุทธ มีโอกาส ก็นำมาพูดขยายความซับซ้อน เอาอันนั้นมาสัมพันธ์อันนี้ เอาอันนี้มาสัมพันธ์อันนั้น ขยายไปเรื่อยๆ นึกสูตรไหนได้ อาตมาก็เอามาต่อเนื่อง มาสัมพันธ์ให้เห็นว่า มีองค์ประชุม กลไกของพระพุทธเจ้านี่ ก็คือสูตรต่างๆ วิธีการต่างๆ เอามาใช้ประกอบกันไปหมดแน่ะ แล้วก็ค่อยขยายความ ยิ่งคุณรู้บัญญัติ รู้พยัญชนะ รู้อะไรแล้ว อาตมามาขยายความประกอบ คุณก็จำได้ มันก็ยิ่งจะชัดเจน มันก็ยิ่งจะ โอ้.. ทุกอย่าง ก็ยิ่งจะสมบูรณ์ ยิ่งมีอะไรมารับมารอบ มีองค์ประกอบนั้นๆนี่ๆ ยิ่งชัดเจนขึ้น แล้วมัน นำมาทีเดียว เข้ามาต่อนี่ต่อนั่น รวมหมดเข้าไปทีเดียวเลย มันไม่ได้หรอก ค่อยๆต่อ ต่อตรงนั้นตรงนี้ เข้าไปเรื่อยๆๆ มันจะซับซ้อนๆๆ แล้วคุณจะยิ่งมีสภาวะ คุณจะรู้เลยว่า เออ ซับซ้อนนี่ มันจะซับซ้อน ขนาดไหน มันก็เรียง ระบบได้ เป็นส่วนเป็นสัด เป็นระดับที่ดี น่าจะเข้าใจนะ

ทีนี้มาฟังการขยายความถึงบุพกรรมของพระพุทธเจ้าต่อนะ อาตมาเคยขยายบทบุพกรรม บุพจริยา ของ พระพุทธเจ้ามาแล้ว ฟังกันไปแล้วมั๊ง ฟังในเทปกันไปแล้วนะ ที่พระพุทธเจ้า ท่านต้องมีทุกข์ เป็น ทุกขเวทนา ตามมา แม้กระทั่ง ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ในปางพระพุทธเจ้า เป็นท่านสมณโคดมแล้ว วิบากเหล่านั้น ที่เป็นทุกขเวทนา เป็นวิปากทุกข์ เป็นทุกข์ที่เป็นวิบาก มันเลี่ยงไม่ได้ ขณะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ยังเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเรายังมีรูปนาม ขันธ์ ๕ คุณจะสูงสุดไปถึงไหนละ มันสูงสุดก็ได้เป็นแค่ พระพุทธเจ้า นั่นแหละ เป็นคนที่ปางสุดท้าย ที่จะต้องปรินิพพานแล้วน่ะ! มันยังตามไปมีวิบากทุกข์ ทุกข์วิบาก ที่เลี่ยง ไม่ได้ มีมันก็ตามมาให้เราทุกข์ ทุกข์เพราะวิบากเหล่านั้น ซึ่งมันจะมีฤทธิ์มาฆ่ากัน มันไม่ถึงกับ ขนาด หนักหนา ขนาดฆ่าน้องชาย วิบากสุดท้าย ก็เหลือแค่เศษวิบาก ก็แค่ที่พระเทวทัต ทุ่มหินลงมา ทับพระบาท ห้อเลือด ฤทธิ์ของวิบาก มันก็ทุกข์น้อยลง แต่มันก็ยังมีส่วนที่โยงใย ซึ่งเป็นอจินไตย ที่บวกลบ คูณหารไม่ถูก มันจะต้องเป็นไปตามฤทธิ์ของมัน มันจะต้องฆ่าฤทธิ์ ฆ่าอะไรกัน บางอัน มันจะต้อง เหมือนกับ แก้แค้น กันไป แก้แค้นกันมาเลย หยาบๆอย่างนั้น ก็ว่าไปน่ะนะ เรื่องทุกข์เราก็รู้ซะว่า อะไร ที่มันเป็นทุกข์ เราก็ไม่พึง สั่งสมทั้งนั้นแหละ โทษภัยอันมีประมาณน้อยใดๆ ถ้าไม่สั่งสมได้ก็ดี มันก็เหมือนกับ เราสะสมทรัพย์แหละ เราไม่สะสมทรัพย์ ที่เป็นวิบากบาป เราสั่งสมทรัพย์ ที่เป็นวิบากบุญ วิบากกุศล เป็นกุศลวิบาก คุณก็มีสิ่งนั้น มีก็คือมี จะไปทิ้งไปขว้างที่ไหนก็ไม่ได้ ทำกุศลแล้วยังบอกว่า ว้า ไม่เอาหรอก กุศลนี้ ทำไปแล้วก็... คุณก็โยน ทิ้งไม่ได้ ถ้าโยนทิ้งได้ ก็รีบโยนทิ้งอกุศลนี้ หรือบาปวิบาก มันถึงไม่ได้กรรมเป็นอันทำๆ เพราะฉะนั้น เผลอทำ ไม่เผลอทำอะไร เมื่อไหร่ ระวัง! ทำก็คือลงไปแล้ว ถ้าไม่ทำเสียได้ดี มีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวให้ดี ไปสั่งสมมัน พยายามสู้ให้ได้ มันไม่ได้ก็คือมันสุดวิสัย โน่นแหละ พยายามทำ แล้วมันจะสั่งสมลงไปเรื่อยๆ ไม่มีใครทำ ให้เราหรอก

เอ้า! ต่อมา "เจาะลึก" เล่ม ๒ นี้ใครมีอยู่ ใครยังเห็นว่ามันเป็นสมบัติที่ดี ก็ติดตามเอามาใช้ ใครเอาไปทิ้ง ไปขว้างแล้วก็ เป็นคนไม่ประหยัด เป็นคนไม่ค่อยเอาถ่าน ระวังแม้แต่ขี้เถ้าก็ไม่เอา นอกจากถ่านก็ไม่เอาแล้ว ขี้เถ้าก็ไม่เอาด้วย เลยไม่ได้อะไรซักอย่างนะ


ถอดโดย สมฤดี ชมภูพงษ์ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๗
พิมพ์โดย ใจธรรม สิทธินาวิน ๙ ตุลาคม ๒๕๓๗
เขียนปก โดย พุทธศิลป์

TAPE12.TAP