แก้ตัวคือจัญไร แก้ไขคือเจริญ ๒ (ต่อจากหน้า ๑)

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า สุดท้ายแล้วมันไม่มีสุข ไม่ใช่อารมณ์สมใจ แม้แต่ทำดี แม้จะทำ ความเป็น อรหันต์ ให้แก่ตัวเอง มันก็ไม่ใช่ความสุขหรอก ถ้ามันยังหลงว่าสุขอยู่ ก็ต้องมารู้ ๆ อาการพวกนี้ อาการลิงค นิมิตพวกนี้ ให้หมด เพราะฉะนั้น การจะรู้ทุกข์หรือไม่ทุกข์ การจะรู้กิเลส หรือไม่รู้กิเลส ต้องมีญาณปัญญา อันลึกซึ้งจริง ๆ สูงสุด จะไล่ขึ้นไปเรื่อย ๆ

สรุปแล้วก็คือ คนเราจะมีคุณค่า คนเราจะต้องมีการงาน ยิ่งเจริญยิ่งเป็นพระอรหันต์ พระอาริยะของ พระพุทธเจ้า สูงขึ้น ๆ เท่าไหร่ เรายิ่งจะต้องเป็นคนผู้สร้าง เป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ สมรรถนะ มีความรู้บทบาท การรังสรรค์ สังสรรค์เป็นประโยชน์คุณค่าอยู่ในโลกจริง ๆ ไม่มีใครท้วงได้ ไม่ใช่เมือนฤาษี บรรลุอรหันต์ ก็อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร อยู่ว่าง ๆ เพราะจิตว่างแล้ว ก็อยู่ว่าง ๆ บอกแล้ว คนที่จิตว่างแล้ว ไม่อยู่ว่างหรอกนะ จะต้องพยายาม หาทางรังสรรค์ เพราะวันเวลามันผ่านไป สู่หลุมฝังศพทั้งนั้น ถ้าเราไม่รังสรรค์อะไร มันก็โมฆะ มันก็ว่างเปล่า มันก็สูญเปล่า มันก็ไม่มีคุณค่า คนของพุทธเจ้า หรือมนุษย์ ความประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า หรือ พวกอาริย บุคคล ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นคนมีงาน เป็นคนที่มีคุณ มีกัมมันตะ อาชีวะ มีสัมมาอาชีพ มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาสังกับปะ จริง ๆ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นคนปฎิบัติ อย่างละลด ละล้าง นั่นเป็นทางปฎิบัติ ที่ถูกต้อง

อาตมาพาพวกเราทำมาในเรื่องอบายมุขก็ดี ก็เข้าใจแล้วก็ลดละมาได้ อาตมาเชื่อว่านั่งอยู่ในนี้ หลายผู้ หลายคน คงจะมั่นใจ เรื่องอบายมุข ที่เราเคยติดเคยยึดมา อย่างผู้หญิงนี่ อาตมาเคยบรรยายมา ตั้งแต่ต้น แล้วว่า อบายมุข ของผู้หญิง คืออะไร เคื่องแต่งตัว เดี๋ยวนี้ยิ่ง โอ้โฮ อาตมาดูแฟชั่น ของฝรั่งเศส ใหม่ๆ นี่ มันทำได้ลงคอ แฟชั่น ใหม่ๆ ของฝรั่งเศสตอนนี้ มันไปบ้าๆ บอๆ โป๊ๆ เปลือย มันเอาทุกอย่าง ที่จะหลอก จะล่อกิเลสคนน่ะ มันเอา ทุกอย่างล่ะ จะว่าบ้าก็บ้าสุดขีด จะว่าโป๊ก็โป๊ถึงจิตถึงใจจริงๆ อะไรก็แล้วแต่ มันไปกันใหญ่ แล้วเรื่อง แต่งตัวนี่ ก็เคยบอกแล้วว่า รากฐานของผู้หญิง มันมีความด้อย ในทางสวยงาม เลยมาหลงความสวยงาม อย่างมากมาย พอเขาอาเรื่องอะไรมาหลอกขาย ที่อาตมา ใช้สำนวนง่ายๆ เอาขี้หมาทาสีอะไรมาขาย ก็เอาหมดน่ะ จริงๆนะ ฟังสำนวนนี้เข้าใจหรือเปล่า ขี้หมาทาสี อะไรเข้า อะไรก็ไม่รู้ ประดิดประดอย เอามาห้อย เอามาติด อะไรต่ออะไร เอาไปหมดเลย เดี๋ยวนี้ผู้ชาย ก็เอาบ้าง แหม ใส่ต่างหูอะไร อีกหน่ายพอกันแหละ พอกัน วุ่นวาย ไอ้นี่ก็เป็น อบายมุข ของผู้หญิง ก็ลดละลงมาให้ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มาปฏิบัติตามอโศกนี่ จึงเป็นคนนี่ หลุดล่อนออกมา หลายคนรู้สึกว่า เบาง่ายไหม ถ้าไปให้ ไปแต่ง ไปไปอีกทีเป็นยังไง แต่บางคนก็ยังอร่อยอยู่ ใส่บ้างซี แหม ยังกระดิ๊กกระดี๊ อยู่พอสมควร แหม ถ้ามันไม่ได้ใส่ ก็ดูเหมือนมันยังขาดๆ อะไรไปนี่ เป็นผู้หญิงจริง ๆ นะ เพราะไปวางได้ ยังไม่จริง ยังไม่ขาดหรอก ถ้าเอามาใส่เข้าซิ มันกลับไร้ประโยชน์ อีรุงตุงนังเปล่าๆ เพราะถ้าว่ากัน สะอาดมา ได้มากเท่าไหร่ ก็พอสมควรแล้ว ใส่เสื้อผ้านุ่งห่ม พอมีพอใช้พอสมควร ก็พอแล้วนี่ สะอาดสะอ้าน กันร้อน กันหนาว กันแมลงสัตว์กัดต่อย กันอุจาดพอสมควร บางทีบางครั้ง มันร้อนด้วยซ้ำไป อยากจะถอดออกไป มันก็ต้องจำเป็นน่ะ กันอุจาด ก็ตามเหมาะตามควรใช่ไหม มันก็ได้

อาตมาก็ได้พยายามอธิบายนแนะนำ จนพวกเราปลดได้ ปล่อยได้ ละได้ ก็เห็นนะพวกอโศกนี่ เดี๋ยวนี้ ดูแต่งตัว อย่างนี้เ เดี๋ยวนี้ไม่ต้องบอกแต่งม่อฮ่อมหรอก ปลอมตัวไปบ้างด้วยซ้ำไปด้วยนะ อโศกอย่ามา หลอกเลย แต่งตัวมา ปลอมมายังไงก็รู้ อโศกนะ มันไม่ถึงกึ๋นของเขาแล้วเดี๋ยวนี้ มันไม่ถึงขีด ของเขาแล้ว เขาดูได้เลย มันจะมีสัญญาณ อะไรก็แล้วแต่ จนพวกเรากลายเป็นชาวอโศก มีสัญลักษณ์ ชาวอโศกนี่เยอะ จะยืนจะเดิน จะนั่ง จะนอน จะไปจะมา จะอยู่จะกิน จะอะไรต่ออะไรต่าง ๆ นะ จะใช้จะสอย โวหาร ภาษาพูดอย่างนี้ พวกอโศก มันพูด อย่างนี้ กายกรรมอโศกมันอย่างนี้ วจีกรรม แหม ไอ้นี่พูด เผยอปาก ก็เห็นแล้ว อโศก อย่างนี้ อโศกน่ะ มันก็มี สัญญลักษณ์ขึ้นมาเรื่อย ๆ อาตมาภูมิใจนะ ไม่ใช่ไม่ภูมิใจ มีอย่างอโศกน่ะ แต่ก็มีขบถ บ้างเหมือนกันนะ พวกเราไปขบถ ไม่ใช่อย่างอโศกเลยทีเดียว บอกว่า นี่แหละ อโศก อย่างนี้ก็เสียหายน่ะ

ทีนี้ก็มาดว่า เมื่อโลกต่าง ๆ โลกอบายก็ดี โลกธรรม ๘ โลกกาม โลกอัตตามานะ โดยเฉพาะ โลกอัตตามานะ มันมีตั้งแต่ ปุถุชนหยาบคาย ไปจนกระทั่งถึงหมดกาม หมดสังโยชน์เบื้องต่ำไปแล้ว ปฏิฆะ เรื่องกามหมด พยาบาทหมด กามหมดไปแล้ว ไม่มีกามแล้ว อัตตามานะมันก็ยังเหลืออยู่อีก มันมาก มันเยอะ กว่ากาม กามหมดได้ แต่อัตตามานะหมดทีหลัง ตั้งแต่ต้นๆ หยาบๆ ใหญ่ๆ นี่แหละ อัตตามานะ ตั้งแต่แรกเริ่ม สักกายะ ก็คือ อัตตามานะ สักกายะก์คือ ตัวตนที่มันหยาบใหญ่ ถือตัวถือดีมาก ไม่ฟังคนอื่น ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่ยอมรับใคร ฉันแน่ ฉันใหญ่ ฉันเบ้ง ฉันรู้ของฉัน ฉันเชื่อมั่นในตัวเองมาก ฉันเชื่อมั่น ในตัวเองสูง ไอ้ตัวเชื่อมั่น ในตัวเองสูง ภาษาสมัยใหม่นี่แหละ คือ สักกายะ

เพราะฉะนั้น ผู้ใดจะศึกษาอย่างใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ไปทำลายตัวยึดติดของตนของตัวออกได้ อันนั้นคือ ผู้ไม่พ้น สังโยชน์เบื้องต้น ไม่พ้นสักกายทิฐิ ตัวแรกเลย ในฐานะสาวกภูมินี่ จะต้องมีครูบาอาจารย์ ต้องมี ผู้ที่รู้มากกว่า สอน แล้วก็เชื่อฟัง แล้วปฏิบัติตาม ถ้าปัจเจกภูมิก็อีกเรื่องหนึ่ง ปัจเจกภูมิ แต่อาตมา ขอยืนยันว่า ปัจเจกภูมิ มันไม่ใช่ธรรมดา ปัจเจกภูมินี้ มันระดับสูง ระดับจะต้องมีของตนเอง มันจะเลื่อน เข้าไปสู่ ปัจเจกพุทธะนะ แต่ปัจเจกภูมิ อาตมาไม่ตั้งใจจะอธิบายอันนี้ ปัจเจกภูมิ ที่มีอาริยคุณสูงขึ้นไป จนกระทั่ง ในฐานะที่ตนเอง ไม่ต้องพึ่ง ของคนอื่นเลยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภูมิ ในระดับความรู้อาริยคุณ ระดับใดก็ตาม มันก็ค่อยเลื่อนไหลเข้าไป เป็นปัจเจกภูมิ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น ปัจเจกพุทธะทีเดียว อาตมา ขอตัดเอาไว้แค่นี้ ไม่เจตนา ที่จะอธิบายอันนี้ อย่างลึกซึ้ง อันนี่มันก็มีขั้น มีตอนอีก เอาละ มันเป็นเรื่อง ยากแล้ว ก็ค่อย ๆ ศึกษาไป อาตมาอธิบายอยู่บ้าง ในหลาย ๆ ครั้งหลาย ๆ คราว

เมื่อพวกเราได้ปฏิบัติละ เลิก ลด โลกที่ต่ำ ๆ เข้ามาตามลำดับๆ เป็นคนเป็นประชาชน เป็นสังคมกลุ่ม ชาวอโศก เมื่อเป็น ชาวอโศกมาแล้ว กามหรืออบายมุข ก็พูดกันมานานแล้ว และก็ละลดกันมาได้ จนกระทั่งได้อาศัย ไม่มีอบายมุข ไม่มีกามหยาบ ไม่มีพยาบาทหยาบ ไม่มีความโลภ โกรธ หลง หยาบแล้ว พอสมควร ลาภ ยศ สรรเสริญ หลายคนก็เสียสละ สร้างสรร ไม่กักตุน ไม่สะสม ไม่กอบโกย อะไรมาได้มาก ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่ง สามารถเจริญงอกงาม มาได้มากมายทุกวันนี้ จึงเกิดคนขึ้น อีกกลุ่มหนึ่งแน่ ๆ อาตมาได้พยายาม เตือนพวกเรา ให้พยายาม ตรวจตราน่ะ ใครที่มั่นคงมั่นใจ ที่จะรู้ว่า เรานี่มีคุณธรรม มั่นไม่ง่ายนะ มาได้ขนาดนี้นี้ อาตมา ก็ภาคภูมิ อาตมาภาคภูมิ ในตัวพวกเรา แล้วอาตมา ก็บอกให้พวกเรา ภาคภูมิในตัวพวกเรา มองส่วนดี มองส่วนพิเศษ ของกันและกัน ให้ออกให้ได้ เราลด ในจุดไหนมาได้ เราล้างในจุดไหนมาได้ ละจุดไหนมาได้ มีจริง ๆ ในพวกเรา มากบ้าง มากน้อยก็ตาม ค่าเฉลี่ยรวมแล้ว พวกเราอยู่ด้วยกันได้ ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งเรามี หลักการ ของเรา หลักเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า มาตรฐาน อยู่ด้วยกันแล้ว มองแง่ดีกันให้มาก

อาตมาเพิ่มความยินดี เพิ่มความสมาน เพิ่มให้เกิดสมานัตตตา ถ้าไม่เกิดสมานัตตตาแล้ว สังคหวัตถุ ๔ มันไม่ สมบูรณ์ ทานเราก็มีนะ สังคหวัตถุ ๔ นี่ มีทาน มีปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ และก็มีอัตถจริยา แล้วก็มี สมานัตตตา ทานคือการสละ การให้ เป็นหลักสมบูรณ์ ไม่ว่าศาสนาไหนก็ต้องทาน เสียสละนั่นเอง สรุปง่าย ๆ เสียสละ เห็นแก่ตัวลดลงๆๆ จนกระทั่ง ไม่เห็นแก่ตัวเลยสุดบริบูรณ์นั่นแหละ ไม่ว่าศาสนาไหน เขาก็ต้องการ อย่างนี้ ทั้งนั้น และต้องจริง เพราะมีทาน เราอยู่ได้ด้วยทานทุกวันนี้ แล้วอยู่ได้ด้วยทาน อย่างชนิดซับซ้อน ทานมาแล้ว ก็ไม่สะสมกักตุน ไม่กอบโกย ทานมาแล้ว ก็สะพัดสร้างสรร เพื่อที่จะแผ่ออก ๆ ไป ๆ ไม่ใช่ทาน มาแล้ว ก็รวมได้ อาตมาเป็นสมณะ อาตมาเป็นพระผู้ใหญ่ โอ อาตมาก็เป็น ปฏิคาหก ผู้รับ ถ้าไม่ทานออก ป่านนี้ อาตมาก็คง จะมีหลายล้าน เชื่อไหม เชื่อไหม และคุณให้ด้วยยินดีด้วย คุณจะไม่เพ่งโทษด้วย ถ้าอาตมา จะไม่อธิบาย ไม่เปิดเผย ไม่ชี้แจง แต่คุณพอรู้ อาตมาเอาคุณธรรมอื่น มากลบเกลื่อนก็ได้ แต่อาตมาสะสมเงินนี่ คุณก็จะไม่ถือสา เพราะอาตมามีคุณธรรมอื่น ที่จะกลบเกลื่อน แล้วอาตมา ก็สะสมเงินทอง ไม่รู้ว่ากี่ล้านๆๆได้ คุณก็ยังยอมรับ ในคนไทยในเมือง คนก็ยังยอมรับกัน นี่มันไม่ถูก หลักธรรม ของพระพุทธเจ้า ไม่มั่นใจ และ ไม่แข็งแรง

อาตมาก็ขอพูดกับพวกคุณนี่นะ อาตมามีความมั่นใจ จะไม่มีเงินสักบาทเป็นส่วนตัว เราไม่เลย บริจาคมานี่ อาตมา บอกกับคุณได้เลยว่า ชีวิตจะหาไม่นี่ อยู่รอด ยิ่งภาคภูมิใจ ในความสะอาดบริสุทธิ์ ที่เราไม่มี ที่เราเป็น ของเราเลยจริง ๆ นี่แหละ มันสบายใจ แล้วมันก็พิสู่จน์ สัจจะพระพุทธเจ้าว่า ความไม่มีนี่ เรายินดี และ เราก็ทำงานได้ ไม่มีนี่ทำงานได้ รังสรรค์ได้ สร้างสรรได้ ตามบุญบารมีตามภูมิ นี่อาตมาสร้าง สรรพบุญบารมี เพาะภูมิ เพาะสิ่งพวกคุณศรัทธาเลื่อมใส ยอมเสียสละ ยอมทานมาให้ อาตมาเป็น ปฏิคาหกจริง แต่อาตมา ก็จะต้อง ทานออกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คุณทานมา อาตมาทานต่อ คุณทานมา อาตมาทานต่อๆ นี่เป็น สังคหวัตถุ ที่สมบูรณ์ที่สุด คุณทานมา อาตมาเก็บกด คุณทานมาอาตมาเก็บกด คุณทานมา อาตมาหอบไว้ หรือหาทาง เอาวิธีทำออกเหมือนกัน แต่ทำออกที่จะดูดเข้าให้มากกว่า เหมือนกับ วิธีการธุรกิจเขา นักธุรกิจ ในสังคมนี่ ทานเหมือนกันนะ แต่ทานนั้นเป็นวิธีการฉลาดเชิงฉลาด อันหนึ่งที่เขาจะได้มากกว่านั้น เป็นจิตวิทยานะ วิธีการอย่างนี้ คนฉลาดรู้ แล้วเขาก็ทำอยู่ในโลก ไม่ใช่แต่ สมณะ หรือพราหมณ์ ฆราวาสทำเก่ง ทานที่จะได้มา มากกว่าเก่าน่ะ ต้องการได้คืนมากกว่าเก่า ไม่บริสุทธิ์ใจหรอก และเขาก็ไม่รู้กิเลสตัวนี้กัน และ ก็ฝึกปรือออกด้วยนะ

เพราะฉะนั้น ทานจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ในบารมี ๑๐ ทิศ ทานเป็นตัวบทบาทใหญ่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา นี่ในสี่หลัก ตัวที่จะต้องประพฤติปฏิบัติในรอบต้น ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา เสร็จแล้ว เราก็จะ ซับซ้อน ได้บารมีอีก ๔ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน นี่เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ตั้งแต่หยาบ จนถึงนอก วิริยะแล้วพอรู้ง่าย ขันติก็พอเข้าใจ เออ คนนี่มีวิริยะ คนนี้มีอดทน คนนี้มีขันติ คนนี้มีความเพียร คนนี้มี ความดอทน สัจจะ อธิษฐานนี่ ชักยากขึ้นแล้ว คนนี้เอาจริง คนนี้มีสัจจะในใจ คนนี้มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง แล้วก็ญาณละเอียด ปัญญา ตัวที่ต้องฝึกมาเรื่อย ๆ ปัญญานี่มีควบทั้งนั้น ทานต้องมีปัญญา ศีลต้องมี ปัญญา เนกขัมมะ ต้องมี ปัญญา ต้องมีปัญญากำกับทุกอัน ๆ หมด เป็นตัวเนื้อแท้ด้วยนะ

แม้อธิษฐาน อาตมาก็อธิบายซ้อน ๆ อยู่บ่อย ๆ เป็นตัวที่ตั้งจิตเอาไว้เสมอ ถ้าคนไหนที่มีอธิษฐาน มีตัวตั้งจิต อยู่เสมอ ๆ ตั้งฐานะของจิตตัวเองให้ดี ๆ ๆ เอาจริง สัจจะเอาจริง วิริยะอดทน ต้องซ้อนเชิง เพื่อจะให้ทาน ศีล และ เนกขัมมะ ปัญญานั้น เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น จะได้ผลอีกเป็น เมตตากับอุเบกขา ซึ่งเป็นทานบารมีสุดท้าย เมตตา เป็นตัว ที่ช่วยเหลือคนอื่น เป็นตัวเพื่อผู้อื่น อุเบกขาเป็นสภาพของเพื่อตน ตนได้อาศัยอุเบกขา เป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอาศัย สบาย อุเบกขานี่ แต่อุเบกขาของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อุเบกขาเก อุเบกขาเด๋อ เฉย ไม่รู้ไม่ชี้ นั่นอุเบกขาบอด อุเบกขาไม่รู้ไม่ชี้ อุเบกขานี้มีปัญญา อุเบกขานี่ มีความเฉลี่ยวฉลาด อุเบกขานี่ มีกำลังงาน อุเบกขานี่ มีประสิทธิภาพ อุเบกขานี่เป็นการสร้างสรรเสียสละ เฉยอะไร ถ้าภาษาไทย แปล อุเบกขา ว่าเฉย เฉยต่อกิเลส เฉยต่อโลกียะ ผุฏทัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะกัมปติ โลกียะโลภ จะยั่วยวน แม้จะเป็น บุตรธิดา ของคหบดี ผู้พรั่งพร้อมเบญจกามคุณยั่วยวน เหมือนนางอรดี เหมือนตัณหา นางราคะ มายั่ว ขนาดไหน เฉย กิเลสไม่เกิด รู้ด้วยว่าหยายคายขนาดไหน ยั่วขนาดไหน แรงขนาดไหน เฉยอย่างนี้ แล้วเรา ก็สามารถ ปรามเจ้าได้ด้วย ปรามนางราคะ นางอรดี นางตัณหาได้ด้วย มีบทบาท การกระทำ การงานด้วย อย่างนี้เป็นต้น ยิ่งใหญ่นะ

เพราะฉะนั้น อุเบกขาจะไม่ใช่อุเบกขาเฉย นั่งหลับหูหลับตา นั่งนิ่งไม่รู้ไม่ชี้อะไรต่ออะไรอย่างฤาษี ไม่ใช่ ! อุเบกขาของพระพุทธเจ้า มีสภาพสะอาด ปริสุทธา ปริโยธาตา บริสุทธิ แม้จะคลุกคลี ก็ไม่มีดูดมีซึม ไม่มีเปื้อน ปริโยธาตา สะอาดเหมือนปริสุทธา สะอาดบริสุทธิ์ เป็นตัวหลัก แม้จะคลุกคลีเกี่ยวข้อง กระทบ สัมผัส จะกระแทก กระเทือน ไม่เสียสภาพเลย ไม่ดูดไม่ซึม ไม่ผลักไม่อะไร จะให้ถูกบีบถูกบี้อย่างไร ก็อยู่อย่างเดิม อย่างบริสุทธิ์ อยู่อย่างเดิม มุทุ แววไว มีทั้งปัญญา มีทั้งความแข็งแรงของเจโต ตัวเต็มก็ต้อง มุทุภูตะ ภูตะก็คือ จิตวิญญาณ วิญญาณธาตุนี่ ทั้งมีปัญญา ทั้งมีเจโตบริบูรณ์ แววไวและแข็งแรง มุทุรู้เร็ว ปรับได้เร็ว ๆ รู้ได้เร็ว อยู่ในสภาพ ที่ได้มัชฌิมาทุกอย่าง และก็ไม่เสียท่าทุกอย่าง กัมมัญญา เป็นสภาพของ การกระทำ หรือการงาน มีกรรมมีกิริยา มีการงาน มีกัมมัญญา และทำการงานอะไร ก็บริสุทธิ์บริบูรณ์ ทำการงานยังไง ก็มีประสิทธิภาพ อย่างดี สมบูรณ์ สละสลวย เขาถึงไปแปล กัมมัญญา ว่าการสละสลวย หรือเป็นผู้เหมาะได้ควรทุกสัดส่วน และงดงาม บริสุทธิ์บริบูรณ์ สละสลวยสมบูรณ์ด้วยกัมมัญญา เขาให้ ความหมายเอาไว้ ก็ดีเหมือนกัน ปภัสรา จิตใจนี่ ผ่องใสตลอด นี่คือคุณลักษณะของอุเบกขา ไม่ใช่ อุเบกขาเด๋อ ไม่ทำงาน ไม่รู้เรื่อง โง่เง่า แล้วก็ไม่มี ประสิทธิภาพอะไร ไม่ใช่ ! วิเศษ นี่เป็นฐานอาศัย ของพระอาริยะ ยิ่งพระอรหันต์ก็เป็นฐานอาศัย

เมตตาคือจิตที่เห็นแก่ผู้อื่นจริง ๆ เป็นตัวที่ค้ำจุนโลกอยู่จริง ๆ เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ถ้าไม่มีเมตตา ไม่ใข่ ศาสนาพุทธ มีแต่ตัวเด๋อ ๆ เฉย ๆ เมตตาก็เมตตามะลื่อทื่อไม่เข้าเรื่อง ไม่อะไร ไม่ใช่ ! เมตตาคือ ความสงสาร เห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ ท่านไม่ใช้คำว่าเมตตา ท่านเคยใช้ว่า มีอัชฌาสัยทนไม่ได้ เพราะความกรุณา เมตตานี่คือจิตประสงค์หาวิธีจะช่วยเขา แต่กรุณานี่ลงมือช่วย ๆ เพราะฉะนั้น กรุณานี่ จะมีน้ำหนัก มากกว่า เมตตา พอช่วยเสร็จแล้วได้ผลดีแล้ว ก็รู้ว่าดี เสร็จแล้วก็มุทิตา เออ ดีแล้วเข้าใจแล้ว สัมผัสผลแล้วดีแล้ว ถ้าฟูใจก็เรียกว่า ไม่สมบูรณ์แบบ ฟูใจในดี ดีใจในดี ต้องลดอุปกิเลสลงอีก เพราะฉะนั้น ในมุทิตานี่ ก็ยินดี แวบหนึ่งก็ดี ก็จะต้องเข้าสู่อุเบกขา จะต้องเฉยเรียบราบ เป็นที่สุดอีกที เพราะฉะนั้น มาจากมุทิตา อุเบกขา ก็เป็นกรรมกิริยา ของจิตวิญญาณระดับสูงสุด ส่วนเมตตา กรุณา และเป็นสภาพ บทบาทการกระทำ บทบาท เผื่อผู้อื่น เมตตา กรุณานะ ท่านทนไม่ได้ต่อความกรุณาจริง ๆ ผู้ที่เป็นอาริยะสูง ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ใดซื่อบื้อ ไม่มีน้ำใจ ไม่เมตตา อย่าไปพูดถึงกรุณาเลย เมตตาก็ไม่มี กรุณาก็ไม่เกิด กรุณาคือ ลงมือทำ คนที่ไม่มีอัชฌาสัย ในความกรุณา อาจจะมีเมตตา แต่พลังอินทรีย์ ยังไม่เกิดถึงขั้น ใจอาจจะมี เริ่มต้นขึ้น มีเมตตาได้ แต่กรุณานั่น ต้องฝึกปรือ เมตตาแล้วต้องลงมือทำ จนชำนาญ จนง่าย จนแคล่วคล่อง จนเชี่ยวชาญ จนง่ายดาย ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในการขยัน หมั่นเพียร หรือการมีน้ำใจ ถึงขึ้นกรุณา และก็มีความสามารถ จนกระทั่งมุทิตาได้ มุทิตาคือสมผลแล้ว ยินดีผู้ที่ได้ นี่มุทิตาถึงขนาดนั้น นัยเมตตา กับอุเบกขาอันสุดท้าย จึงเป็นบารมี ที่เป็นผล จากการปฏิบัติองค์ ๘ นั่นแหละ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เอาละ อาตมาก็คง จะขยาย ความละเอียด ยิ่งกว่านี้ไม่ได้นะ

ทีนี้อาตมาได้พาทำกันมา จนกระทั่งได้สร้างบารมี บารมี ๑๐ นี้แหละ และก็ซ่อนลึกซึ้งขึ้นไปเป็น อุปบารมี ปรมัตถบารมี บารมีที่สูงขึ้น ๆๆๆ ปรมัตถบารมีก็คือ บารมีที่เป็นระดับโลกุตระ ทานก็ทานอย่างโลกุตระ ศีลก็ศีลอย่างโลกุตระ เนกขัมมะก็เนกขัมมะจริงๆ เป็นอย่างโลกุตระ ปัญญาก็ปัญญาโลกุตระ วิริยะก็วิริยะ โลกุตระ เพียรที่เห็นได้ที่จริงจัง อดทนก็ขันติ ก็ขันติอย่างจริงจัง สัจจะก็แน่นอนสัจจะจริงจัง อธิษฐานก็เป็น ปรมัตถ์ เป็นโลกุตระ สุดท้ายก็มีเมตตา วิหาระ มีอุเบกขาวิหาร เป็นเครื่องอาศัย เป็นเครื่องใช้ ของพระอริยะ นั้น ๆ ไปได้ สัจจะเหล่านี้ ขยายความแล้ว บรรยายแล้ว เราก็เอาไปฝึกปรือ จนกระทั่ง เกิดในคน ธรรมะของ พระพุทธเจ้า ไม่ใช่เอามาเทศเรียนรู้ภาษาเท่านั้น ต้องเป็นจริง มีจริงที่เกิดได้ เป็นได้มา

สรุปแล้ว ชาวอโศกเรานี่เป็นส่วนที่เข้ามาใน ๆ นี่ ได้แค่นี้แหละ อาตมาก็ว่ามันเยี่ยมแล้ว เราไม่เครื่องล่อ ไม่มีอะไรบันเทิง เถิดเทิงเริงรมย์ ผู้ที่จะศรัทธานี่ ที่จะต้องเข้าใจอย่างดี เพราะว่ามันจะมี สภาพทวนกระแส เป็นสภาพ ที่ย้อนแย้ง เป็นสภาพที่ยิ่งสูง ยิ่งลึก ยิ่งหนัก ถ้าไม่ชัดเจน ถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ จะให้จริงต้องตนเอง ต้องมีสิ่งนี้จริง จึงจะมั่นใจมาก ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วน่ะ ไม่รอดหรอก ๆ ไม่รอด ๆ อาตมาดู ๆ ไป ในงาน มหาปวารณา ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรหรอก ไม่มีอะไร มหาปวารณา ก็คือ สมณะท่านประชุมกัน ๆ พวกคุณ ก็ไม่เห็นหน้า สมณะด้วยซ้ำไป ท่านก็ประชุมของท่าน บางทีก็ว่ากันจนค่ำจนมืด ไม่เห็นหน้า จะมาคอย แอบดู ก็ท่านลงมา เท่านั้น ก็เท่านั้นเอง ประชุมเสร็จแล้ว ก็จบมหาปวารณา เสร็จแล้วก็สืบทอดหน่อย ก็มาสนับสนุนกัน พระท่าน ประชุมกัน บิณฑบาตก็ไม่ได้บิณฑบาต แล้วจะอยู่กันยังไง พวกคุณก็มา เลี้ยงเอาไว้หน่อย พระก็มา รวมกัน ตั้งเยอะ ก็แบ่งเบากัน มาทำบุญ ไปช่วยกันอุดหนุนไว้ มาแสดง ความอุปการะ อุปถัมภ์มาเลี้ยงไว้ พระท่านประชุม ไม่ได้ไปบิณฑบาตนะ คุณก็ต้องหาอาหาร มาเลี้ยงดู กันก่อน เป็นวาระสำคัญ ท่านประชุมนี่ เพื่อผลของศาสนา นั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้ที่สุด ประชุมเสร็จแล้ว ก็เอา ก็เลยมีเรื่องต่อ ๆ กัน อาตมาก็เลย ต่อกันไปอีก

พรุ่งนี้ก็เป็นวันเกิดของชุมชน เกิดชุมชนแล้วก็จะมีอะไรต่อไปบ้าง เช่น จารีตประเพณี วัฒนธรรม ของพวกเรา ผู้ที่เห็น ความสำคัญก็เอา ก็มา แม้แต่มารวมงานมาช่วยกัน ร่วมไม้ร่วมมือกัน สร้างสรร จารีต ประเพณีนี่ไป ดีอยู่ ซึ่งอาตมาพยายามตัด ที่มันจะเป็นโลกียะ ปรุงอย่างโลกียะหลาย ๆ อะไร ก็พยายาม ตัดออก มากหน่อย เน้นเข้ามา หาเนื้อ ๆ อะไร อาตมาขยายความไม่ไหวแล้วนะ อันนั้น

ที่นี่อาตมาอยากจะเน้น ปีนี้น่ะเรามีทั้งรูปธรรม มีทั้งสิ่งที่จะสอบทาน มันเป็นเครื่องสอบทานในตัวด้วย และ มันก็จะมี การพัฒนาอย่างจริง อาตมาเน้นเรื่อง อัตตามานะมามากขึ้น ปีสองปีมานี่ โดยเฉพาะปีนี้ เน้นเทศน์เนื้อ อัตตามานะ เรื่องกามอาตมาไม่ได้พูดมาก แต่มีท่านทั้งหลาย ท่านสมณะอื่น ท่านช่วยพูด ช่วยบรรยายบ้าง อาตมา ก็เน้นฐาน อัตตามานะมากขึ้น ปีนี้ประชุมมหาปวารณาแล้ว ได้โศลก ที่เอาไป ปฏิบัติ ประพฤติ เพื่อจะให้เกิด การขัดเกลาอัตตามานะได้ดี โศลกนั้นคือ

เจตนา "แก้ตัว" คือ จัญไร
เจตนา "แก้ไข" คือ เจริญ

เจตนาในคำว่า แก้ตัว นั้นใส่เครื่องหมายคำพูดไว้ เราเน้นคำว่า แก้ตัว กับเน้นกับคำว่า แก้ไข ในคำว่า แก้ไข ก็ใส่เครื่องคำพูดไว้ เจตนาแก้ตัว คือ จัญไร เป็นคนจัญไรนี่ แหม คือมีพฤติกรรมที่เสียหาย พฤติกรรมที่เลว อยู่กับตัวเลย ไอ้คนจัญไร ไอ้คนจัญไรมันเป็นอย่างนี้ ๆ ชี้อาตมาก็ได้ มันมีพฤติกรรมความฉิบหาย ความเสียหาย ความไม่ดีไม่งามในตัว ติดตัวอยู่ เรียกว่าคนจัญไรแน่ ส่วนคนเจริญนั่น ก็คือคนมีบทบาท พัฒนา บทบาทเจริญ บทบาทดีขึ้นเรื่อย ๆ จัญไรกับเจริญ มันต่างกัน คนละทิศคนละทาง

ทีนี้อาตมาจะขออธิบายตรงนี้ ขออธิบายความสำคัญตรงนี้ให้ฟังชัด ๆ คำว่า "เจตนา" นี่ ต้องอ่านเจตนา ตัวเอง เพราะเราเรียนรู้ สูงขึ้นมาแล้ว ปรมัตถ์นี่ คนอ่านเจตนาของตัวเองไม่ออก นี่แหละคือ คนที่ยังไม่รู้ อัตตามานะ คนที่งมงาย ทำไปแล้วทั้ง ๆที่เจตนา แต่มันจะซ้อนอยู่ในจิตวิญญาณ มันไม่รู้ตัวง่าย ๆ หรอกว่าเจตนา มันไม่รู้ง่าย ๆ แต่มันมีนะ อาการอารมณ์ลึก ๆ ของเราซ้อนอยู่ในเจตนานั่น ตัวเจตนา ตัวนี้นี่น่ะ มันมีกิเลส เป็นตัวบงการเก่ง มีตัวกิเลสนี่แหละ จับตัวกิเลสในตัวเจตนานี่แหละ เพราะฉะนั้น ถ้าจับได้ว่า กิเลสผสม ในเจตนานี่ นั่นแหละสำคัญ เอาละที่นี้ "เจตนาแก้ตัว" กับ "เจตนาแก้ไข" อ่านอารมณ์ ตัวเอง พอพูดไปผันนี่ เถียงฉอด ๆ แก้ตัวหรือแก้ไข ถ้าคนจะแก้ไขนี่ จะชอบเถียงไหม ไม่ชอบเถียง มันก็ต้องรู้นะ คนเราน่ะ คนที่จะแก้ไขนี่ ไม่ค่อยชอบเถียงหรอก จะไม่พยายามเถียงก่อน นี่ก็เป็นแนวสำคัญ ที่พอเข้าใจกันอยู่ ในภาษาไทย เพราะฉะนั้น คนไหนที่มีกรรมกิริยาสังวรตน สำรวมตนนี่ พยายามที่จะอ่านเจตนา เราจะแก้ไข หรือจะแก้ตัว ถ้าเราจะแก้ไข คนนั้นจะใส่ใจ ในการที่จะฟัง ข้อผิด ข้อถูก ฟังข้อดีข้อเสีย ฟังอะไร ๆ หลายอย่าง รับจากผู้อื่น จะมีปรโตโฆสะ ที่มีประโยชน์รับฟังเสียงคนอื่น อย่างมีเจตนาแก้ไขนี่ มีประโยชน์มาก ปรโตโฆสะของผู้นั้น จะมีประโายชน์มาก ปรโตโฆสะ คือการรับฟัง มาจากอื่น รับฟังของอื่น จากผู้อื่น จะเป็นรับอย่างไหนก็แล้วแต่ อย่างที่ด่ามา หรือศึกษารับสัมผัส รับรู้มา ก็ได้ ถ้าเจตนาแก้ไขแล้วน่ะ ถ้าเจตนาแก้ตัว หรือเพ่งโทษเลยนี่ มันอีกอย่างหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราจะอ่านพวกนี้ได้มากขึ้น พิจารณาสิ่งน้มากขึ้น ๆ จุดนี่มากขึ้น ๆ อาตมา ก็ว่า พวกเราจะพัฒนา หรือ อาตมาจะช่วยให้คุณได้แก้ หรือล้างอัตตามานะได้มากขึ้น อาตมาแน่ใจ และโศลกนี้ อาตมาเห็นว่า โอ้โฮ ดีจังเลย โศลกนี้นี่ อ่านเจตนารมณ์ อารมณ์เจตนาของเรา อ่านให้ชัด เลยว่า เจตนานี่ เราจะแก้ตัว หรือจะแก้ไข ล้างอัตตา แก้ตัวเมื่อไร อัตตาเมื่อนั้นแหละ พอเจอหน้าแล้ว แก้ตัวแล้ว เจ้าแหลมแก้ตัว เจ้าแหลม อยู่ในเรานี่แหละ อยู่ในเรานี่แหละเจ้าแหละ เจ้าแหลม เจ้าแก้ตัว ถ้าอ่านตัวออก รู้ตัวได้ว่า ไอ้นี่มัน ไม่ยอมเลย มันจะแก้ตัวท่าเดียว มันไม่ยอม นี่แหละ อ่านเจตนารมณ์ อันนี่ให้ชัด เอาไปใช้ มหาปวารณาปีนี้ มีดี โศลกนี้ เจตนาแก้ตัวคือ จัญไร เจตนาแก้ไขคือ เจริญ เพราะฉะนั้น คนเรานี้ ไม่พยายามจะแก้ไขหรอก มันรักตัว มันหวงตัว มันก็มีพยายามปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ มันถึงต้นทางว่า จะแก้ไขบ้างไหมนี่ หรือจตะเอาแต่แก้ตัว อาตมาเหนื่อย เพราะแก้ตัวนี่จริง ๆ เหนื่อยจริง ๆ ใครเคยเหนื่อยมาเพราะไอ้คนแก้ตัวบ้าง เคยประสบ เหตุการณ์นี้ มาบ้างไหม ไม่ใครไม่เคย ประสบกับ ไอ้เหตุการณ์ไอ้ช่างแก้ตัว ไอ้นึกแก้ตัว ไอ้นี้แก้ตัว ตั้งแต่หยาบ ไปจนถึง ขั้นละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าคนที่มี ญาณดีนี่ จะรู้ละเอียดตัวเองว่า โอ๊ ไอ้ตัวเราเองนี่ เจตนาแก้ไข ไม่ยอมน่ะ จะฟังบ้างเป็นไร แหม จะผิด จะถูกยังไงก็เอาน่า ฟังเพื่อแก้ไขนะ รับเพื่อแก้ไข ไม่ใช่รับมาเพื่อแก้ตัว เมื่อเราวินิจฉัย สมบูรณ์แล้ว ถึงแม้เราจะไม่ผิดอะไรเลย เราก็ได้ลดอัตตา ในขณะที่คุณไม่ยอมแก้ตัวนั่นแหละ ถ้าคุณไม่ได้แก้ตัวเลยนะ คุณก็ได้ปฏิบัติแล้ว รับมาแล้วคุณก็รับมาพิจารณา ตรวจสอบเลย อ๋อ เราไม่ผิดเลย ดีหมดเลย คุณก็ได้ แก้ไขตัวเอง คุณก็ได้ล้างละอัตตาตัวเอง ในปัจจุบันนั่นมาแล้ว เสร็จสรรพในตัวมันเองเลย ฟังเข้าใจไหม ในสภาวธรรม ฟังดี ๆ นะ

เพราะฉะนั้น ขอใฟ้พวกเราได้ไปเอาอันนี้ไปใช้เพื่อความเจริญงอกงามของตน และของกลุ่มหมู่ อาตมานี่ จะสู้อัตตามานะ หรือจะพยายามสอนหรือแนะนำ เพื่อพยายามให้พวกเรา ลดอัตตามานะไปอีกนาน ตัวนี้แหละ จะทำให้เราสูงขึ้น เจริญขึ้นดีขึ้น หมู่กลุ่มก็ตาม ก็แต่ละบุคคลนี่แหละเป็นหมู่กลุ่ม มันจะพัฒนา เป็นประโยชน์ ต่อตน ต่อสังคมส่วนรวม ๆ ทั้งประเทศชาติด้วยได้มาก กำลังของเรานี่เสียเพราะว่า มีอัตตา มานะกันอีกเยอะ มาทำงานด้วยกัน เป็นไงชมรม ชมร. เชียงใหม่ เป็นยังไง พอพูดอย่างนี้แล้ว นึกถึง อัตตามานะกันไหม มีคนละกี่เข่งละ เยอะเลย ยอมรับกันอย่างไม่มีปัญหา ยอมรับกันโดยดุษณีย์ แปลว่า ยอมรับโดยสงบ โดยนิ่ง ชอบเอาไปใช้ สับกับ ดุษฎี ยอมรับโดยดุษฎี ไม่ใช่นะ ดุษฎี แปลว่า ความชื่นชม ความยินดี ส่วนดุษณีย์นั่น แปลว่า ควมสงบ แปลว่านิ่ง แปลว่ายอมรับด้วยความสงบ ยอมรับ โดยดุษณีย์ ไม่มีปัญหาอะไร ยอมรับทันที เอาไปใช้เดี๋ยวนี้ ก็ได้ทันทีเลย เออ ฉลาดนะ ฉลาด ๆ ใช้ได้ เอาละ อาตมา ไม่กลัวนะ เพราะกลัวอกหัก ไม่หวังว่า พวกคุณจะเจริญขึ้น แต่อาตมาก็ตัองมี อากังขาวจร อิจฉาวจร แน่นอน อิจฉาวจรก็แปลว่า จิตที่มันมีตัว ปรารถนาดีๆ อยู่ในตัว อิจฉาก็แปลว่า ความปรารถนา, อากังขา ก็แปลว่า ความปรารถนา ความมุ่งมาดปรารถนา ปรารถนาดี อาตมาต้องมีแน่ ปรารถนาว่า ให้พวกคุณ เจริญ แต่อาตมาบอกแล้ว อาตมาไม่หวังเท่านั้น แต่อาตมา ก็ต้องปราถนาดี ให้พวกคุณเจริญ เจริญก็เป็น ของคุณนั่นแหละ และก็เป็นของสังคมมนุษยชาติ ไม่ต้องเป็นของ อาตมาหรอก ส่วนอาตมาจะโง่ไปดีใจ ที่คุณได้ดีแล้วก็มาติดอกติดใจฟูใจกิเลสขึ้น ก็เรื่องอาตมา อาตมาไม่มีตัวนี้ ก็เป็นเรื่องของอาตมา อาตมาปฏิบัติ ประพฤติมาได้แล้ว อาตมาไม่มีอุปกิเลสพวกนี้ ก็เป็นเรื่องของอาตมา อาตมาก็คิดว่า โศลกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่พวกเรา ที่ได้มาในวันนี้

สมภารนี้รับงานหนักนะ สมภาระ คือ ผู้ที่มีภาระอยู่ ที่จริงท่านเรียกว่า สัมภารวิบาก อ้าว จริง ๆ พระโพธิสัตว์นี่ รู้ซื้งใน สัมภารวิบาก สัม หรือ สม อันเดียวกัน สัมภารวิบาก สมภารนั่นก็คือ สัมภาระ นั่นแหละ วิบาก มันเป็นผล ของวิบากตัวเอง ก็ต้องตัวเรา พระโพธสัตว์นี่ เรารู้ว่า เราต้องมารับภาระ ๆ เป็นผลเป็นวิบาก ของเราทำเอง เป็นผลของเรายินดีเอง ต้องการเอง แล้วมันจะเป็นวิบากที่หนักขึ้น ๆๆ ภพโพธิสัตว์นี่ใหญ่ขึ้น จะต้องมีงาน หนักขึ้น งานยากงานมากขึ้น การสร้างสรรที่จะทำให้เจริญ ๆ พัฒนา ตนเอง เป็นผู้ที่เข้าสู่ สัมมาสัมโพธิญาณ มีคุณค่าต่อโลก มีประโยชน์คุณค่าต่อโลกมากขึ้น เป็นเรื่องจริง เพราะฉะนั้น คนเจริญ คือ คนทำงาน คนรับภาระ คนที่ไม่เอาภาระ คือฤาษี คนที่ไม่เอาภาระ คือคน ไร้คุณค่า คนที่ไม่เอาภาระ คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย โมฆะ นอกจาก โมฆะแล้ว ก็เสื่อมทรุด เสื่อมโทรม ตลอดกาลนาน นี่เหมือนจะอธิบาย ตีหัวเข้าบ้าน พอดีตอนจน

เพราะฉะนั้น ก็ฝากเอาไว้ด้วยว่า คนใดไร้ภาระ คนใดไม่เอาภาระ คนนั้นก็คือคนที่เสื่อมเสีย เสื่อมโทรมไป แน่นอน นอกจาก จะเจตนาแก้ตัวแล้ว ก็ถือว่าเป็นคนจัญไร ได้เหมือนกันนะ คนไม่เอาภาระ

เอาละ อาตมาก็ได้สาธยายธรรมมาพอสมควรแก่เวลา


ถอดโดย ยงยุทธ ใจคุณ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย เพียงวัน ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗
พิมพ์โดย สุดคนึง หลิวอุดมสินชัย ๘ ตุลาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๒ โดย สม.ปราณี ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๗

TCT7.TAP