อัตตาภวตัณหาลึกๆ

เนื่องในปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ ครั้งที่ ๑๗
วันมาฆบูชา วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ณ พุทธสถานศรีษะอโศก


เจริญธรรม ญาติโยมผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้าอยู่ทั้งหลาย

วันนี้เป็นวันสำคัญ เป็นวันมาฆบูชา วันมาฆบูชาคือวันเพ็ญเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันที่ตามประวัติของพระพุทธเจ้า ก็รู้กันมาดี ผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว ส่วนผู้ไม่ได้ศึกษามา ก็ติดตามกัน พยายามไถ่ถามกันนิดหน่อย ก็คงพอรู้นะว่า เป็นวันสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ของศาสนาพุทธเราเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ท่านที่สำคัญก็คือได้เทศนา สารัตถะของคำเทศนาสำคัญ อันอื่นก็เป็นวันสำคัญที่ประหลาดๆ ที่เป็นพระอรหันต์เจ้า ตั้งพันกว่ารูป พระอรหันต์เจ้าทั้งหมด ในวันนั้นที่มาประชุมพร้อมกัน โดยไม่ได้นัดหมายกันเลย มาประชุมพร้อมกัน ๑,๒๕๐ รูป และเป็นพระอรหันต์ ที่พระพุทธเจ้า ท่านบวชให้เอง เป็นเอหิภิกขุ ทุกรูปด้วย

ความจริงแล้วอาตมาเข้าใจและรู้ลึกๆ ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพนามธรรม เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่ลึก ก็รู้อยู่ว่า ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ อาตมาเคยอธิบาย ให้พวกเราฟังบ้าง แต่ก็คงยากที่จะเข้าใจ เพราะว่า เหตุปัจจัยอะไรก็ตาม เมื่อเราได้สั่งสม เมื่อเราได้ทำให้มันเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น ค่อยๆสะสมขึ้นไป ตามลำดับๆ เมื่อเกิดขึ้นตามลำดับๆแล้ว มันก็จะเป็นสภาพนั้น ลงตัวได้สัดส่วน ที่พอเหมาะเช่นนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น คำนี้ทางโลกเขาเรียกว่า พรหมลิขิต เขาเรียกว่าดวง หนังจีนนี่ เขาจะพูดบ่อยเลย โอ ฟ้าประกาศิตอะไรบ้าง สำนวนฟ้าลิขิต เหตุไปตามฟ้าลิขิตแล้ว ความจริงไม่มีอะไร ที่มีอำนาจเหนือกรรม ฟ้าจะลิขิต จะเป็นไปอย่างนั้นจริงเลยนะว่า มันจะต้องตรงอย่างนี้ ต้องออกมารูปนี้ มาเป็นอื่นไปไม่ได้ ก็เพราะเหตุปัจจัย มันสมบูรณ์ เหตุปัจจัยนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอื่นไปไม่ได้ เพราะกรรม ได้สั่งสมมาอย่างนี้ เราจะระบุว่านี้น่ะฟ้าลิขิต เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นี่แหละคือดวง นี่แหละคือพรหมลิขิต นี่คือพระเจ้าสั่ง พระเจ้าประทาน พระเจ้ามีพระประสงค์ให้เป็นเช่นนี้ คำพูดเหล่านี้ไม่ผิด แต่มันผิดตรงที่ว่า ถ้ามันไม่มี เหตุปัจจัย ครบสมบูรณ์แล้ว พระเจ้าก็สั่งอย่างนี้ไม่ได้ มันผิดตรงนี้ พรหมจะลิขิต ให้เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ได้ ฟ้าจะลิขิตให้เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้ ดวงก็ไม่เป็นอย่างนี้ ถ้าเหตุปัจจัยแห่งกรรมนั้น ไม่สมบูรณ์ ไม่ลงตัว ไม่ครบ

ศาสนาพุทธเรา จึงไม่ได้อยู่ที่ฟ้าลิขิต ไม่ได้อยู่ที่พระเจ้าสั่ง ไม่ได้อยู่ที่ดวงอะไรที่ลอยๆลม เพ้อๆพกๆ แต่อยู่ที่กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมปฏิสรโณ อยู่ที่กรรมของตนๆ ใครสั่งสม เหตุปัจจัยอย่างไร ก็เป็นวิบากอย่างนั้น

แม้แต่พระอรหันต์เจ้า ตั้งพันกว่าองค์นั้น จะมาเกิดอย่างนั้น จะมาประชุม ในวันมาฆบูชา พรั่งพร้อมกัน ก็ไม่ใช่เหตุการณ์ ที่มันบังเอิญ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่มันเกิดใครสั่ง พระเจ้าไหนมาสั่งไม่ใช่ เหตุการณ์ มันจะต้องเป็นเช่นนั้น ลงตัวอย่างนั้น และไม่ใช่ครั้งเดียว พระพุทธเจ้ากี่พระองค์ๆ ก็มีวัน มาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่จะต้องมีพระอรหันต์เจ้าทั้งสิ้น ไม่มีผู้คนอื่นที่นอกเหนือ ความเป็นอรหันต์เลย ทุกพระองค์ เป็นพระอรหันต์หมด จะต่างกันอยู่บ้าง ตรงที่จำนวนพระอรหันต์ มากน้อยกว่ากัน ตามแต่บารมี ของพระพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ บางองค์มีมาฆบูชาถึง สองครั้ง สามครั้ง สี่ครั้ง ห้าครั้ง ในชั่วชีวิต ของพระองค์ ของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ ในประวัติศาสตร์ พระไตรปิฎกเล่าเอาไว้หมด เรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่อาตมาพูดเอง ในพระไตรปิฎก เล่าเอาไว้ทั้งนั้น

บางพระองค์นี่ มีวันมาฆบูชา มีพระอรหันต์เจ้ามาประชุมกันล้านองค์ เป็นล้านก็มี แล้วแต่ พระพุทธเจ้า บางพระองค์ แต่ไม่ได้หมายความว่า พระพุทธเจ้า องค์ที่มีพระอรหันต์เจ้า มาประชุม ตั้งล้านองค์นี่ จะเป็นพระพุทธเจ้าที่เก่งกว่า พระพุทธเจ้าสมณโคดม ที่มีพระอรหันต์มาแค่ ๑,๒๕๐ องค์ ก็ไม่ใช่ ที่ไม่ใช่ตรงไหน ไม่ใช่ตรงที่ว่า ก็พระพุทธเจ้าองค์ที่ตรัสรู้ ในยุคที่มันง่าย ในยุคที่มีแต่คนดีๆ มีแต่คนปัญญาดีๆ มีพระอริยเจ้า มีพระอรหันต์เยอะแยะ เทศน์ปั๊บเดียว บรรลุกันเป็นล้าน เทศน์ปั๊บเดียว บรรลุกัน เป็นหลายล้าน อย่างนั้นละก็ มีพระอรหันต์เจ้าเยอะ เพราะในยุคคนดี

ส่วนพระพุทธเจ้าสมณโคดม อยู่ในยุคคนชั่วตั้งมากตั้งมาย ปลายภัทรกัปแล้วได้ ๑,๒๕๐ รูป มานี่ ก็เก่งยอดแล้ว เพราะฉะนั้น แหม หืดขึ้นพระศอ ยากแสนยาก อาตมาไม่ประหลาดใจ อาตมา สอนพวกคุณยาก ไม่ใช่หืดขึ้นคอ มะเร็งขึ้นคอ หนักกว่าหืดขึ้นคอ ขนาดนั้น ยังไม่มีพระอรหันต์เจ้า สักองค์เลย แต่ก็มีได้

Šจะพูดไปแล้ว พวกเราไม่มีอริยคุณ ถึงวันนี้อาตมาประกาศอย่างนี่แหละ พูดอย่างนี่แหละ และก็ไม่ใช่เพิ่งพูด อาตมายิ่งมั่นใจ เพราะอาตมาบอก พูดซ้ำซาก บอกพวกคุณไม่รู้กี่ที อาตมาไม่เชื่อว่า คุณจะมาหลอกอาตมา ไม่เชื่อๆ พวกคุณจะมาหลอก มาแกล้งทำเป็นเอาใจอาตมา อดได้ ทนได้ ลดได้ ลดลาภ ลดยศ ทิ้งลาภ ทิ้งยศออกมาได้ ทิ้งสรรเสริญ ทิ้งโลกียสุข มาๆ อดๆ สิ่งอร่อย สิ่งหวานหอม สิ่งยั่วยวน ทางโลกีย์นี่ พยายามแกล้ง มาทำให้อาตมาหลงดีใจ แกล้งให้จนตายน่ะ แกล้งให้ได้จนตาย แกล้งดูเถอะ อาตมาไม่เชื่อจริงๆ ไม่เชื่อพวกคุณมาแกล้ง ไม่เชื่อว่าพวกคุณ มาจัดฉากให้อาตมา ใช้สำนวน ให้มันทันสมัยหน่อย สำนวนจัดฉาก เขาใช้ทันสมัย อาตมาไม่เชื่อพวกคุณมาจัดฉาก หลอกอาตมา อาตมาเชื่อว่า พวกคุณจริงใจ และพยายามที่จะพากเพียร พยามที่จะอบรม ฝึกฝนให้ได้ ได้มาก ได้น้อยอะไร พวกคุณก็ทำ

มาถึงวันนี้ ๒๐ ปี ๒ ทศวรรษมาแล้ว อาตมาได้มาขนาดนี้ พวกคุณได้อริยคุณ อาตมาย้ำอีกว่า พวกคุณ ได้อริยคุณ ได้แต่ละบุคคล ส่วนใครที่ยังไม่ได้ หรือได้กดได้ข่มอยู่ ยังไม่แน่ไม่นอนก็ทำเอา อาตมาก็ไม่ได้ไปบอกแต่ละบุคคล เพราะว่าการไปพยากรณ์คนนี่ มันยากจริงๆ

... ฯลฯ ...

อาตมาก็ไม่ได้พยากรณ์พวกเราด้วยซ้ำ แต่พวกเราก็รู้ตามภูมิ เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่สอน ให้ผู้นั้นผู้นี้พยากรณ์ ท่านสอนให้รู้ด้วยตน ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ตนของตน รู้ได้ด้วยตน อาตมาก็แนะนำว่า อย่าให้ท่าน มาสอบญาณเรา ญาณเราก็ต้องเป็นญาณของเรา ไม่ใช่คนอื่นมาสอบ และมาบอกว่า นี่ญาณ ๓ ญาณ ๔ ญาณ ๕ ญาณ ๘ นี่ญาณ ๖ ญาณอะไรก็ไม่ใช่ เราต้องรู้ว่าเรามีญาณ ญาณที่รู้ว่า กิเลสคืออะไร และเราก็ลดละกิเลสได้หรือไม่ ลดกิเลสแล้ว เราจะเป็นสุขอย่างไร ซึ่งมันย้อนแย้ง มันทวนกระแสสังคมมาก ความเข้าใจของพุทธศาสนา ทุกวันนี้ มันเพี้ยนไป มันเปลี่ยนไปเยอะ เข้าใจว่า พระอริยะนี่ กลายเป็นฤาษีชีไพร ที่มะงุมมะงาหลา ซื่อเซ่อไม่รู้เรื่องโลก หยุด เฉย หนักเข้า ตาก็ไม่ลืม นั่นแหละท่านสงบ ไปพูดกับท่าน ท่านก็ไม่ค่อยพูด อุ๊ย ท่านสงบ ไม่พูดว่าใคร ไม่วิจารณ์ใคร แถมถามรู้เรื่องอะไรไหม? ไม่รู้นั่นแหละอริยะ

และจะต้องอยู่ห่างผู้คนด้วย ต้องอยู่แต่ผู้เดียว ผู้อยู่แต่ผู้เดียว พาซื่อด้วย ไปอยู่ผู้เดียวจริงๆ ก็อาตมาเอาธรรม ของพระพุทธเจ้า มายืนยันแล้วว่าผิด ต้องอยู่กับหมู่ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี นี่แหละ เป็นทั้งสิ้น ทั้งหมด ของพรหมจรรย์ของศาสนา และก็มีสูตร ต้องอยู่เข้าใกล้ ใกล้บัณฑิต ต้องอยู่ใกล้ศาสดา ใกล้ผู้รู้ ใกล้มิตรสหาย ที่จะนำพาให้เราดี หรือแม้แต่บอกว่าคำว่า อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสองนั้น ต่อให้อยู่ป่า แต่ผู้เดียวแต่มีกิเลส ผู้นี้มีเพื่อนสอง หรือไม่อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ใช่เอกะ แต่ถ้าผู้ใด ที่ต่อให้อยู่กับหมู่ฝูง ต่อให้อยู่กับผู้ที่คลุกคลีเกี่ยวข้อง ทั้งหมดเยอะแยะ แต่จิตของเราสงบ จิตของเราว่าง จิตของเรา สะอาดจากกิเลส ผู้นี้คือ ผู้ที่อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง เดี๋ยวเถอะ ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป บรรยายไป ปลุกเสกนี่ จะถึงหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ บทนี้ อาตมาก็เอามาพิสูจน์ล่ะ สูตรนี้อาตมา ก็เอายืนยัน ความมีเพื่อนสอง กับความที่อยู่ปกติผู้เดียว คืออะไร ท่านก็เอามาบรรยายไว้ชัดเจน แต่คนก็เข้าใจไม่ได้ เข้าใจว่า อยู่แต่ผู้เดียว มีปกติอยู่แต่ผู้เดียว ไปเป็นประเภทอยู่แต่ผู้เดียว เอาร่างกายไปอยู่ ซึ่งมันค้านแย้งนะ พระสูตรนี่ ยืนยันชัดนะ ต่อให้อยู่กับหมู่ฝูง ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้เอาจิต ไปอยู่กับหมู่ฝูง ก็หมายถึง อยู่กับหมู่ฝูงนี่แหละ อยู่คลุกคลีกับแม้แต่ ท่านบอกมหาอำมาตย์ราชอะไรต่างๆ ท่านบอกอยู่กับเพื่อนสอง อยู่กับเพื่อน มหาอำมาตย์ อยู่กะอุบาสก อุบาสิกาเกลื่อนกล่น แต่จิตสะอาด นี่คือ ผู้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง อย่างนี้เป็นต้น มันยาก คนเรานี่ มันพาซื่อ มันก็ฟังแต่ประโยคที่ตัวเองชอบ ไม่เอาอย่างครบครันนะ

ในหลายๆอย่างที่เอามาบรรยายกันแล้วนี่ ศาสนาพระพุทธเจ้านี่ มันเลยไม่เป็นประโยชน์ คุณค่า ต่อมนุษย์ชาติอย่างสูง เอาเถอะ เขาเข้าใจไม่ได้ อาตมาก็รู้ แต่อาตมาก็ต้องพูด พวกคุณเข้าใจได้ก็ดี และอาตมา จะพาพวกเรานี่แหละ พิสูจน์ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า มันมีประโยชน์ต่อบุคคล ประโยชน์ตนต่อมนุษยชาติ เป็นสังคมมนุษยชาติหลากหลาย พหุชนะหิตายะ เป็นประโยชน์ต่อ มวลมนุษย์ส่วนมาก ส่วนใหญ่ อย่างแท้จริง ยิ่งทุกวันนี้ อาตมาเห็นว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้านี่ ทันสมัย ล้ำสมัย ยิ่งสังคมเป็นอย่างทุกวันนี้ โอ้โฮ ! อาตมายิ่งเห็นว่า ต้องเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า มาปลูกฝัง ลงที่มนุษย์ แล้วให้มนุษย์ได้รับคุณธรรม อันคุณภาพอันนี้ เมื่อได้คุณธรรมคุณภาพอันนี้ นี่ๆๆ แหละ มันจะยืนยันของเรา เริ่มได้เริ่มมีสภาพจริง มีบุคคลรับได้จริง และมีบุคคลเป็นไปได้จริงยังไม่มาก แต่มีรูปร่าง มีแล้วขณะนี้มี นี่กำลังเริ่มต้นขึ้นไปเรื่อยๆ สองทศวรรษมานี่ มีรูปร่างของสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีพขึ้นมาได้ขนาดนี้ มันจะครบวงจร ขึ้นมาเรื่อยๆ มันจะมีรูปแบบ มันจะมีนามธรรม เป็นสภาพที่ชัดเจนว่า อ๋อ สังคมมนุษย์ ที่มีเนื้อหาของศาสนาพระพุทธเจ้า ในตนในคน เนื้อหาของใคร ก็แล้วแต่ ที่มีนี่ เป็นอย่างนี้เองหนอ มีชีวิตเป็นอย่างนี้หนอ เป็นอย่างไร

กถาวัตถุ ๑๐ มักน้อย มักน้อยไม่ได้แปลว่า ทำงานน้อยๆ ก็ฉันมักน้อย ฉันทำแค่นี้ก็พอแล้ว ไม่ใช่ ! ทำให้มากๆ แล้วเอาไว้น้อยๆ นั่นแหละมักน้อย ไม่เช่นนั้น จะยืนยันว่า คุณมักน้อยได้อย่างไร ก็คุณไม่ทำ คุณก็ไม่มี คุณก็ไม่เอา ก็คุณก็ไม่มีอะไรอยู่แล้ว ขี้เกียจ มีมากๆเป็นสิทธิของคุณ คุณสร้างมากๆ มีฝีมือ มีความสามารถ สร้างได้มากๆ แต่คุณก็เอาไว้แต่น้อย พออาศัยหรือไม่เอาไว้เลย นั่นแหละมักน้อยแล้ว มักน้อยเป็นอย่างไร ใจมันพอสันโดษ กถาวัตถุ ๑๐ นี่มันเกี่ยวเนื่องกัน สมังคี มักน้อย สันโดษ วิเวก

ปวิเวกะ สงบดี สงบไม่ได้แปลว่าอยู่นิ่งๆ สงบคือกิเลสมันไม่ขึ้น สงบนี่คือใจมันหยุด กิเลสไม่เกิด ไม่ดีดดิ้นในกิเลส แต่จิตนิ่งไหม นิ่ง, จิตคิดไหม คิด, คิดได้เร็ว รับรู้ได้มาก ประสิทธิภาพของจิตเต็มที่เลย รู้แจ้ง รู้รอบ รู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง รู้อย่างรวดเร็ว ว่องไว มีปฏิภาณชาญฉลาดเร็วยิ่ง กิเลสก็ไม่เกิด มันซ้อนเชิงอยู่อย่างนี้ จิตที่ทำงานเป็นปกติมนุษย์เลย ตื่น ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้รู้โลกเป็นพหูสูต ฉลาดเฉลียว แต่จิตนิ่ง จิตสงบ จิตวิเวก จิตเป็นอุปธิวิเวก คือไม่มีกิเลสเกิด องค์ประชุมของจิตสงบ ราบรื่นดี กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก ครบวิเวก ๓ ไม่ได้หมายความว่า วัตถุวิเวก เสนาสนวิเวก ไปอยู่ที่เงียบๆ ไปอยู่ที่สงบ แล้วก็หลับหูหลับตา อยู่นิ่งๆ ไม่ใช่จิตสงบ ใจพอ มักน้อย อสังสัคคะ ไม่คลุกคลีเกี่ยวข้องกับกิเลส ไม่ดูดไม่ซึมกับกิเลส เกี่ยวข้องกับคนมีกิเลส แต่ไม่เกี่ยวไม่เกาะกับกิเลส ของบุคคลที่เขามีกิเลส หรือ กิเลสของบุคคลอื่นๆ หรือไม่ยั่วยุให้เกิดกิเลส ท่านก็สะอาดบริสุทธิ์ อสังสัคคะไม่เกี่ยว กิเลสไม่เกี่ยว จิตของท่านไม่เกี่ยว แต่ท่านเที่ยวสัมพันธ์สร้างสรร ช่วยเหลือเกื้อกูลได้ ได้อย่างเก่งด้วยอสังสัคคะ

เพราะฉะนั้น คำว่าไม่คลุกคลีเกี่ยวข้องนี่ มันลึกซึ้งมาก ไม่ใช่ไม่คลุกคลีเกี่ยวข้อง หนีไม่คลุกคลี เกี่ยวข้องอะไรเลย อย่างนี้ง่าย ธรรมะของพระพุทธเจ้า มันลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก ถ้าเรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้หรอก ไม่คลุกคลีเกี่ยวข้องนะ ใครไม่เข้าใจเหรอ อย่างนี้ไม่ต้องไปอาศัย พระพุทธเจ้าสอน อย่างนี้ใครๆก็สอนได้ ฤาษีสอนมาก่อนพระพุทธเจ้า ไม่ต้องคลุกคลี เกี่ยวข้องกับอะไรนัก ปลีกเดี่ยว ไปเลย อยู่กับโน่น ป่าเขาถ้ำโดดเดี่ยว ไม่ต้องคลุกคลีกับใคร ไม่ต้องวุ่นวายอะไร โลกเขาก็อยู่กับโลกของเขา เราก็อยู่ของเรา ขุดรูอยู่ได้ยิ่งดี ใครก็เข้าใจอย่างนี้ ไม่ต้องอาศัยพระพุทธเจ้า สอนหรอก และเขาก็สอนมาก่อนด้วย ฤาษีทั้งหลายแหล่ หนีไปอยู่ภูเขาหิมพานต์ เยอะแยะ ต่างคนต่างมุดอยู่ ของใครของมัน มากมาย ไม่ต้องอาศัยความรู้ ระดับซับซ้อน ลึกซึ้งยาก ไม่ใช่ง่าย บอกแล้ว ทุรนุโพธา ทุททัสสา เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก เดาไม่ออก ถ้าไม่เป็นจริง ไม่มีจริงนี่ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ ไม่ได้จริงเป็นจริง ในสภาวะ ที่ลึกซึ้งอย่างนี้ไม่เชื่อ ไม่ใช่ของง่ายๆ อสังสัคคะ วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร เป็นคนขยัน หมั่นเพียรอยู่ เห็นได้เลย ส่อถึงความเพียร ส่อถึงความขยัน ไม่ใช่เอาแต่นั่งเฉย ดูดาย ใครจะเป็นจะตาย ฉันว่างแล้ว ใครจะเป็นจะตาย ฉันไม่เกี่ยว เกี่ยวไปเดี๋ยวผิด ที่ท่านสอนที่คลุกคลีไปเกี่ยวข้อง ฉันก็ไม่เกี่ยว ง่ายๆแบบนี่นะ โอ้โฮมันไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ได้ยินไหมว่าไม่ใช่ มันไม่ใช่

ท่านเป็นผู้ที่มีความเพียรเห็นได้ชัด ขยันสร้างสรรอยู่ ธรรมใดวินัยใด เป็นไปเพื่อความไม่ขยัน ธรรมนั้นวินัยนั้น ไม่ใช่ของเราตถาคต มีศีลกถาวัตถุข้อที่ ๖, มีสมาธิ ข้อที่ ๗, มีปัญญาข้อที่ ๘, มีวิมุติ ข้อที่ ๙, มีวิมุตติญาณทัสสนะ ข้อที่ ๑๐ กถาวัตถุทั้ง ๑๐ ข้อนี้สมังคี เพราะเรามีศีล มีศีลอย่างไร แปลศีลว่าปกติ ปกติคนดื่มเหล้า ไอ้หมอนี่มันดื่มเหล้าเป็นปกติ มีศีลแล้วหรือ ศีลท่านก็บอกว่า อย่าดื่มเหล้า คุณก็ต้องมาเลิกดื่มเหล้า จนคุณเป็นปกติ ปกติถึงกายวาจา ปกติถึงใจ ใจเป็นปกติเลย ไม่ต้องฝืด ต้องฝืน ไม่ต้องลำบากลำบน เป็นเรื่องว่างเป็นง่าย เป็นเรื่องเลิกขาด จิตไม่หลงใหลอาวรณ์ ไม่ติดไม่ยึด ไม่เสพ ไม่อยาก เหล้าไม่อยาก จิตเป็นปกติ กายวาจาก็ไม่ต้องไปเอามาดื่ม ไม่ต้องดื่มเหล้า อย่างนี้เป็นต้น นี่จึงจะเรียกว่า เป็นผู้มีศีลที่ปฏิบัติประพฤติแล้ว ด้วยกายวาจาใจ บริสุทธิ์สะอาด จนเป็นปกติ

เพราะฉะนั้น ไปแปลว่าปกติดื้อๆ ซื่อบื้ออะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่ปกติที่เขาหมาย ความหมายแค่ปกติอย่างนี้ อาตมาก็เห็นว่า เขายังไม่เข้าใจกัน ต้องปรับเปลี่ยน ให้มาเป็นปกติ สอดคล้องที่พระพุทธเจ้า ท่านหมายว่า ต้องเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ สะอาดอย่างนี้มา เมื่อบริสุทธิ์สะอาด จนเป็นธรรมดา จนเป็นปกติ จนเป็นสามัญแล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ลำบากแล้ว แต่เป็นวิสามัญ จากปุถุชน วิสามัญจากคนส่วนมาก ส่วนใหญ่ แต่เป็นสามัญ เป็นธรรมดาแล้ว เป็นของง่าย เป็นอัตโนมัติด้วย เป็นตถตา เป็นเช่นนั้น จนกระทั่งเป็นเองเลย เป็นปกติ เป็นเอง เป็นในตัว เป็นโดยไม่ต้องไปบังคับ ไม่ต้องไปศึกษาอีก ไม่ต้องไปสำรวม ไม่ต้องไปสังวร มันก็เป็นอย่างนั้นของมันเอง เรียกว่า ตถตา เพราะบริสุทธิ์แล้ว เป็นปกติแล้ว สะอาดแล้ว จึงเรียกว่า เป็นผู้มีศีล อันอเสขศีล ศีลอันไม่ต้องศึกษาอีก อเสขะศีลอันไม่ต้องประพฤติอีก ศีลอันไม่ต้องไปอบรม เรียนรู้อีกแล้ว เพราะจบแล้ว เสร็จแล้ว สมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างนั้นเองแล้ว ตถตาแล้ว กิเลสก็สูญญตาแล้ว ตัวตนของกิเลสก็หมดแล้ว อนัตตาแล้ว วิมุติแล้ว นิพพานแล้ว

ยกตัวอย่างเรื่องเหล้า ก็เรื่องเหล้าเป็นนิพพานแล้ว อนัตตาแล้ว เป็นตถตาแล้ว สูญญตาแล้ว เรื่องอื่นใด ก็แล้วแต่ ถ้าเรายังอ่านจิตไม่เป็น อ่านอาการ อ่านอารมณ์ เกี่ยวข้องกับสิ่งอย่างนี้ๆ แล้วก็เกิดอารมณ์เกิดอาการอยู่ จนมันไม่เกิดจริงๆเลย ญาณของเรารู้เองเลยว่า มันไม่มีกิเลสในเรื่องนี้ ที่เกี่ยวข้องเมื่อไหร่ สัมผัสเมื่อไหร่ จิตของเราก็ไม่มีกิเลส เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ได้หมายความว่า อสังสัคคะ คือไม่ต้องเกี่ยวข้องแล้ว หรือเราไม่ต้องเกี่ยวข้อง ด้วยกายวาจา เกี่ยวข้องกัน สัมผัสสัมพันธ์อย่างไร ได้มีอายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสอยู่ มีอายตนะนอก อายตนะใน วิญญาณ ซึ่งเป็นผัสสะ เมื่อเจอผัสสะแล้ว เกิดเวทนาอย่างไร เมื่อเกิดเวทนาอย่างไร แล้วแยกวิเคราะห์เวทนา ที่เป็นเคหสิตะ เป็นเนกขัมมะออก ลดเคหสิตะ จนเป็น เนกขัมมะ จนสูงเป็นอุเบกขา เนกขัมมสิตอุเบกขา จนจิตวาง จิตเฉย จิตว่าง จิตปราศจากกิเลสนั้น อ่านอาการของจิตออกเลย เหตุปัจจัยอันนี้หมด เราหมดกิเลส เหตุปัจจัยนี้ยังอยู่ ต่อให้เหตุปัจจัยอันนี้แรง ยั่วยุ กระแทก

คนบางคน สู้แรงของเหตุที่เป็นเหตุแห่งกิเลส ทำให้เกิดกิเลส เหตุนี่แรงนะ จัดจ้าน โอ้โฮ ถ้าคนมีอินทรีย์พละอ่อน สู้ไม่ได้ แพ้ แต่ผู้ที่หลุดพ้นแล้วนี่ ไม่มีแพ้ ที่อธิบายไปแล้ว เกี่ยวเนื่องกับสมาธิแล้ว ที่อธิบายไปแล้ว เกี่ยวเนื่อง กับปัญญาไปแล้ว ปัญญาคือญาณ ปัญญาหรือญาณ ต้องเห็น ต้องอ่านรู้ รู้ในตัวเรา รู้ว่าเราเอง เราได้ปฏิบัติประพฤติ เข้าหลักสัมมาอริยมรรคหรือไม่ ถึงปรมัตถ์หรือไม่ ปรมัตถ์คือ รู้จักจิตเจตสิกของเราเอง และก็มี ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ รู้ว่าเราวิจัยกิเลสออกหรือไม่ อาการของกิเลส เป็นอย่างไร ระงับกิเลส ลดกิเลส ทำให้กิเลสมันอ่อนแรง จนกระทั่งมันตาย กิเลสยิ่งตาย จิตยิ่งใสสะอาด จิตยิ่งมีประสิทธิภาพ จิตยิ่งรู้ยิ่งรอบ ยิ่งเร็วยิ่งแรง จิตยิ่งเก่ง ไม่ใช่จิตยิ่งฝ่อ จิตยิ่งไม่รู้เรื่อง จิตยิ่งโง่ จิตยิ่งทึบ ยิ่งหยุด ไม่ใช่ !

จิตยิ่งแคล่วคล่องๆ จิตเป็นผู้ตื่นเต็ม ประสิทธิภาพของจิต ยิ่งวิเศษ แล้วก็จะรู้โลกกว้างเพิ่มขึ้น เป็นโลกวิทู เป็นพหูสูต เป็นผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริง ไม่ใช่ความรู้แต่แค่ปริยัติ แต่แค่ทฤษฎี แต่แค่ความรู้ความหมาย เป็นเหตุ เป็นผล เป็นตรรก เป็นตรรกศาสตร์ ไม่ใช่ ! เป็นการรู้ความจริงตามความเป็นจริง ของจริงที่ปรากฏ ของจริงที่ท่านรู้ของท่าน ได้ของตนเอง นั่นแหละ รู้ของตนเอง ที่เกิดที่มี ไม่ใช่ไปยืมรู้ของคนอื่น ไม่ใช่ไปนั่งหลับตา แล้วก็เพ่งรู้ของคนอื่น ไม่ใช่ ! ต้องรู้ของตนในตน เป็นสันทิฏฐิโก ตนเองควรปฏิบัติเอง และได้เอง จนเกิดปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ ตนเองเป็นบัณฑิต เวทิตัพโพ ก็คือผู้รู้ หรือบัณฑิต วิญญูชน วิญญูหิ ปัจจัตตัง ตนของตนรู้ในตน

เพราะฉะนั้น ลักษณะ กถาวัตถุ ๕ อันหลังนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่สัมพันธ์กัน ร้อยเรียงกันไปหมด ปฏิบัติแล้ว ศีลขัดเกลา กายวาจาใจ

Šญาณ ตามรู้ๆๆ จิตกิเลส วิมุติๆๆๆ ญาณก็สูงขึ้นมาเป็น วิมุตติญาณทัสสนะ คือญาณเข้าใจถึงวิราคะ เข้าใจถึงวิมุติ เข้าใจถึงการละจางคลาย วิราคะ เข้าใจจนกระทั่งถึงจบ วิมุติหลุดพ้น มีญาณที่รู้จักวิมุติ คืออย่างนี้ หลุดพ้นแล้ว ดับสนิทแล้ว กิเลสหมดแล้ว หมดอัตตา หมดอัตนียาของกิเลสแล้ว ไม่มีตัวตน ของกิเลสแล้ว และเป็นอย่างไร คนๆนี้ก็เป็นผู้ที่ มักน้อยได้ ทำไมคนต้องมักน้อย เพราะคนคนนี้ไม่เปลือง คนๆนี้ ไม่ต้องอาศัยอะไร มาบำเรอตนมาก เพราะฉะนั้น คนเรานี่ อะไรก็ต้องมาก ที่อยู่นี่ก็ต้องใหญ่ สมบัติอะไรก็ต้องมีมาก ไม่อย่างนั้น ศักดิ์ศรีขายขี้หน้าเขา มีน้อยไม่ได้หรอก โลกเขาบอกนี่ พวกที่ประสบผลสำเร็จ ต้องมีมากๆ มีบ้านช่องเรือนชาน ทรัพย์ศฤงคาร

ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ โดยการหาแผ่นดิน เป็นเจ้าแผ่นดิน ให้แก่พ่อแม่ ทรัพย์ศฤงคาร ในระดับเป็นเจ้าแผ่นดิน เจ้าแว่นแคว้นเลย ก็ยังไม่ใช่การตอบแทน บุณคุณพ่อแม่เลย ในสูตรนี้ ที่ท่านหมาย หรือการอุ้มชูพ่อแม่ อันนั้น คือทรัพย์ศฤงคาร ในประเด็นของแง่ใคร จะตอบแทน บุญคุณพ่อแม่ หาทรัพย์ศฤงคาร หาบ้านหาเมือง บ้านช่องเรือนชานแผ่นดินเลย ให้ถึงขนาด หาแผ่นดินให้ ให้เหมือน ให้พ่อแม่นั่น เป็นพระเจ้าแผ่นดินเลย เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ลูกนี่สร้างแว่นแคว้น ให้พ่อแม่ ไปปกครองดูแล ไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ของแว่นแคว้นนั้น เรียกว่าใหญ่น่ะ หาแว่นแคว้นให้ ก็ยังไม่ชื่อว่า ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ไม่ใช่เรื่องหาทรัพย์ศฤงคาร

เลี้ยงดูอุ้มชูพ่อแม่ เลยไปเอามาไว้บนบ่า บ่าซ้าย บ่าขวา เลี้ยงขนาดไหน ท่านสมมุติให้หนำใจเลย ท่านสมมุติให้ถึงขั้นเลย ต่อให้ดูแล ไม่ให้คลาดสายตา ไม่ใช่ว่า ไม่คลาดสายตาเท่านั้น แบกไว้บ่าขวา บ่าซ้ายนี่ จะคลาดสายตาอะไร ขี้รดเยี่ยวรด ดูแลประคบประหงมกันขนาดนั้น นี่เป็นประเด็น อีกประเด็นหนึ่ง ทรัพย์ศฤงคาร เอาใจใส่ดูแล กตัญญูกตเวที แบกเลี้ยงดู เจ็บป่วยได้ไข้ จะไม่คลาดเลย จนกระทั่ง ขี้รดเยี่ยวรดอยู่อย่างนี้ แหมเป็นคนที่บูชา สุดยอดสูงส่ง ก็ยอด ที่จริงก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้หาทรัพย์ ให้พ่อแม่ ไม่ใช่ ! ต้องหาให้เหมือนกัน ดูแลอุ้มชู จะประคบประหงมท่าน ควรจะเช็ดขี้ เช็ดเยี่ยว ควรจะช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างไร ก็ต้องทำอยู่ดี นั่นแหละ แต่ขนาดอย่างนั้นๆๆ ท่านสมมุติถึงขนาด แบกเอาไว้บ่าซ้ายบ่าขวาเลย ก็ยังไม่ชื่อว่า ทดแทนบุญคุณ ที่วิเศษๆนั้น จะต้องให้พ่อแม่นั่น ได้รับอริยทรัพย์ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ให้พ่อแม่มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง ศรัทธาไม่ใช่เชื่องมงาย อย่างทุกวันนี่ ศรัทธาพระพุทธ ก็ไม่รู้พระพุทธคืออะไร เดี๋ยวนี้พระพุทธ ก็บานออกไป เป็นพระเครื่องกันเยอะ ล่ากันซื้อกันขายกัน ทำแจกทำอะไรกัน ไม่แจกธรรมดาหรอก ขายตั้งราคา ถ้าเจ้าไหน ปั๊มออกมาราคาสูง นั่นแหละวิเศษ พระพุทธก็ไม่พอแล้ว เดี๋ยวนี้ปั๊มพระสงฆ์เลย อีกหน่อยก็จะปั๊มพระสงฆ์นั่นแหละ มากกว่าพระพุทธอีก ทุกวันนี้ยังปั๊ม พระพุทธอยู่บ้าง พระสงฆ์อยู่บ้าง ใหญ่กันเหลือเกิน วิเศษวิเสโสเหลือเกิน ไม่ได้เข้าใจว่า พระพุทธคืออะไร พระสงฆ์คืออะไร งมงายกันไปหมด
ถ้าให้พ่อแม่ได้ศรัทธา ได้มีปัญญาเข้าใจ ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และศรัทธา ถูกพระพุทธ ถูกพระธรรม พระสงฆ์ก็ถูกพระอริยสงฆ์ ศรัทธาจริงๆ ศรัทธาอย่างมีปัญญา เมื่อศรัทธาแล้วก็จะมามีศีล ศรัทธาแล้วก็จะมาประพฤติศีล ก็เมื่อศรัทธาพระสงฆ์ ก็ถูกพระอริยสงฆ์ อริยสงฆ์ก็จะสอน ให้ประพฤติศีลถูกทาง

เมื่อประพฤติศีลได้ ก็จะต้องเกิดอวิปปฏิสาร เมื่อประพฤติศีลแล้ว ก็จะเกิดพหูสูต เมื่อประพฤติศีลแล้ว ก็จะเกิดปีติ จะเกิดปราโมทย์ อวิปปฏิสาร เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข วูปสโมสุข และเกิดสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ

ในพระสูตรตรัสไว้ว่า สัมมาสมาธิเกิด สัมมาสมาธิไม่ใช่สมาธิธรรมดา ศีลจะเกิดนี่แหละ ก็คือปฏิบัติศีล จะเกิดจิต มาเรื่อยๆ เกิดจิตมาจนกระทั่งถึงสมาธินี่ ปฏิบัติศีลน่ะ ศีลก็จะทำให้เกิดสมาธิ แล้วสุดท้าย มาเป็นปัญญาน่ะ เกิดชัดเจนอย่างนี้ ถ้าพ่อแม่เกิดศรัทธา ในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ แล้วก็ได้คบอริยสงฆ์ ได้มาฟังธรรมถูกทาง เป็นสัมมาทิฐิ ประพฤติปฏิบัติไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ถูกทางก็จะเกิดจาคะ ศีลจะทำให้เกิดการจาคะน่ะ เกิดการลดความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละ เกิดจิต อวิปปฏิสาร เพราะว่า ไม่ติดไม่ยึด ไม่หลงไม่ใหล ไม่หวงไม่แหน ไม่โลภไม่โกรธ เมื่อไม่โลภ จิตใจก็ผ่องแผ้ว จิตใจก็เบิกบาน ร่าเริงดี จิตใจก็เจริญน่ะ จะพ้นความวิปปฏิสาร พ้นการกังวล เดือดร้อนวุ่นวาย วิปปฏิสาร อวิปปฏิสาร ก็คือ ลดความกังวลวุ่นวายเดือดร้อน พ้นความเดือดร้อนมาเรื่อยๆ ศรัทธา ศีล จาคะ เกิดจริงๆ ปัญญาตัวที่ ๔ ก็จะเกิดปัญญาที่จริง ปัญญานี่ลึกซึ้งมาก ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาดแบบโลกเลย ขอยืนยัน ตั้งเท่าไร เขาก็ไม่เชื่อ

อาตมาก็ยกตัวอย่างมาสองคำ ปัญญาหนึ่ง เศรษฐีหนึ่ง สองคำนี้ เศรษฐีไม่ได้หมายถึงคนร่ำรวย เศรษฐีนี่ หมายถึง คนจน พูดอย่างนี้ใครจะเชื่อ โลกไหนเขาจะเชื่ออาตมา เศรษฐีไม่ได้หมายถึงคนร่ำรวย แต่เขาแปล ร่ำรวย พจนานุกรมบาลี แปลว่าร่ำรวยเลย เศรษฐีทั้งๆที่มาจากรากศัพท์ เสฏฐะ เสฏโฐ อะไรพวกนี้ แปลว่า ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ที่ละได้ จาคะได้ ก็จาคะเสียสละออกไป มันจะไปเหลืออะไรมาเป็นคนร่ำรวย มาเป็น กระฎุมพี กระฎุมพีแปลว่า เป็นผู้ร่ำรวย มันจะไปมั่งไปมีอะไร

เพราะฉะนั้น ความจริงพวกนี้ แม้เราไม่มั่งมีร่ำรวย แต่เราก็อวิปฏิสาร ไม่กังวล ไม่เดือดร้อน เพราะเรามีศีล พึ่งศีลของเราได้ เชื่อไหม (เชื่อค่ะ) พิสูจน์ได้จริงๆ หลายเหลี่ยมหลายมุม อาตมาพยายามที่จะอธิบาย ให้รอบถ้วน ชอนไชให้เห็นชัด ให้ครบ ยิ่งปฏิบัติ มันจะยิ่งสอดคล้องกันไปหมด เมื่อจาคะแล้ว จะไปหาความร่ำรวยอะไร แต่ร่ำรวยเราก็ไม่มีปัญหา เพราะจาคะมันก็ไม่รวย เมื่อจาคะแล้วศีลก็ยิ่งดีขึ้น เพราะแสดงความไม่โลภ ศีลก็คือความไม่โลภ ถ้าปฏิบัติศีล ได้บรรลุเป็นผลสำเร็จในศีล ก็ไม่โลภ ก็ไม่ต้องสะสม ไม่ต้องกอบโกย ไม่ต้องหวงแหน แล้วอยู่ได้ไหม อยู่ได้ เบิกบานร่าเริงด้วย อยู่ได้อย่างมั่นใจด้วย

ขนาดกลุ่มเรานี่อโศกเล็กๆนี่ อาตมาว่ายังเล็กๆนะ หรือใครว่าใหญ่แล้ว อโศกเรานี่ ใครว่าใหญ่แล้วมีไหม ยังเล็กๆอยู่ กระจิบเดียว เทียบกับคนทั้งโลกนี่ด้วย โอ้โฮ ธุลีละออง นี่คนอย่างชาวอโศกนี่ กลุ่มนิดเดียว จริง มั่นใจหรือ จะอยู่ไปได้หรือ

ที่อาตมาหยิบเอามาอธิบาย มายืนยันนี่ ยืนยันกับจิตใจของแต่ละคน ของพวกคุณนี่แหละ คุณจริงแค่ไหน คุณมีปัญญาแค่ไหน ต้องมีปัญญาด้วยน่ะ ไม่ใช่งมงาย ฟังอาตมาพูด ต้องเข้าใจ ต้องเห็นญาณ ต้องเห็นของจริง ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เข้าใจเฉยๆน่ะ คือปัญญาไม่ใช่นะ เห็นของจริงตามความเป็นจริง ว่าใจเรานี่สะอาดขึ้น หรือใจเรานี่ลดน้อยลงแล้ว ว่าโลกอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ มักน้อยขนาดนี้ สันโดษอย่างนี้ อาตมาไม่แกล้งนะ พาคุณไปอย่างนี้ คุณจะเป็นฆราวาส หมดเนื้อหมดตัวเลยยิ่งดี ใครรู้ตัวแล้วว่า ตายละหว่า รีบวิ่งหนีนะ เอ้า จริง ไม่ได้พูดเล่น แต่ถ้าใครจะเอา ก็มาพากเพียร ที่อาตมาพูดนี่ ก็ไม่ได้ไปยุแหย่ ให้พวกคุณไปถึงกับ เทกระบะทิ้ง โอ๋ ไม่เอาแล้ว เอาซิ กล้าก็ทำซิ ถ้ากล้า แต่อาตมาก็ไม่ยุแหย่ ให้งมงายอย่างนั้น ก็ต้องไปพิสูจน์จริงๆเลย ไปเรียนรู้ไปกับหมู่กลุ่มนี่ เรามีความดีกับหมู่กับกลุ่ม หมู่กลุ่มจะเหม็นหน้าเราไหม ถ้าคุณอยู่กับหมู่กับกลุ่ม หมู่กลุ่มเหม็นหน้าคุณนี่นะ หรืออย่าว่าแต่หมู่กลุ่ม เหม็นหน้าเลย คุณเองนั่นแหละหยิ่งผยอง ข้าไม่เอาแล้ว กับหมู่กลุ่มนี่ อย่างนั้น ไม่มีปัญหาเลย เพราะคุณสมัครใจของคุณเอง ว่าคุณไม่เอากับหมู่กลุ่มนี้ ไม่เห็นจะเป็นอะไรละ เพราะคุณเอาไม่ได้ เพราะหมู่กลุ่มนี้ ไปอยู่กะเขาแล้ว คนนั้นก็ติก็เตียนเราคือ คนที่มีอัตตามานะมากๆนี่ไง ประเด็นนี้ อาตมาก็ไม่รู้จะพูด อย่างไรนะ อยู่กับหมู่นี่ อยู่ไปๆ คนนี้ติมั่ง คนนี้ห้ามกั้น ไม่ให้เราทำอย่างนี้บ้าง ไม่พอใจ ไม่พอใจแล้ว ฉลาดเฉโกนะ นี่เราปรารถนาดีกันนี่ นี่เป็นพระนี่ เราก็จะช่วยนะนี่ เราจะช่วยศาสนานะ และไม่ให้เราทำ อย่างนี้ คือมั่นใจว่าตัวเองถูก มั่นใจว่าตัวเองดี แล้วไปมองคนอื่นเขาผิด เมื่อมองผิด และตัวเองก็ไปโกรธเขา และไม่รู้ตัวเองว่า ตัวเองโกรธเขานะ ตัวเองไม่เอาแล้วคนนี้ เพราะอะไรล่ะ อะไรละ แล้วก็มองเขาว่าต่ำ มองเขาว่าผิด ตัวเองหยิ่งผยอง อยู่อย่างนั้นน่ะ เสร็จแล้วหนักเข้าบอก ฉันจะไปสร้างศาสนาพุทธ ที่อื่นดีกว่า เราปรารถนาดี พวกนี้ไม่มีปัญญารับหรอก ปล่อยให้โพธิรักษ์ งมงายอยู่กับคนพวกนี้ไป ก็แล้วกัน ฉันจะออกไปข้างนอก ไปอยู่กับคน ไปสร้างศาสนาที่อื่น คนเดียวก็ได้วะ พูดเหมือนอย่างกับ อาจารย์สุนีย์ซะเลย อาจารย์สุนีย์สินธุเตชะ แกพูดวะโว้ยเก่งจริงๆ ผู้หญิงคนนี้พูด ยกให้แกเลย แกพูดเก่งจริงๆ เรายังพูดเก่งไม่เท่าแก แกพูด ฟังดูดีเหมือนกันนะ ถึงไม่หยาบ แต่ก็ฟังมันๆ คันๆดี ก็คิดจะแยกไป

อาตมาก็ว่า โถ อาตมาก็ถามไม่รู้กี่ที่ กลุ่มไหนน่ะดีกว่ากลุ่มนี้ พูดแล้วก็เหมือนยกตัวยกตน หลงตัวหลงตน เหมือนกัน แต่อาตมาถามพวกเรานี่แหละ อาตมาไม่กล้าไปถามข้างนอกเขาหรอก เดี๋ยวจะเอาแบน ก็ถาม พวกคุณนี่แหละ คุณเชื่อไหมละ ว่ากลุ่มนี้ดี เชื่อ พอตอบก็ว่าเชื่อ ก็ไม่มีกลุ่มไหนดี ไม่ดีก็จะไปอยู่คนเดียว ก็เอ็ง อัตตามานะ มันใหญ่ถึงขนาดนี้นะ อาตมาก็ชี้ๆให้ฟัง ทำไมคุณไม่มองตน ถ้าคนไหน เขาไม่รับที่เราเสนอ เราก็มองว่า ควรจะปรับตัวอย่างไร ไม่ใช่ไปหยิ่งผยองอยู่ว่า ฉันสร้างศาสนานะ ฉันจะช่วยพวกคุณนี่แหละ เปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ คุณจะทำอย่างนี้ เป็นฆราวาสนะ จะให้พระเปลี่ยนแปลง ไปตามตัวเอง ทำที่ตัวเองคิดน่ะ โอ้โฮ เขาไม่รู้ตัวว่าใหญ่นะ ไม่รู้ตัวเองว่าใหญ่ อาตมาก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร อาตมาก็จนปัญญาจริงๆ เหนื่อยๆ เสร็จก็เศร้าหมองงุดงิด อยู่ในภพของตัวเองคนนั้น ก็พึ่งไม่ได้แล้ว ฉันก็ช่วยไม่ได้แล้วด้วย คือพึ่งไม่ได้ พึ่งไม่ได้หมายความว่า องค์นี้ประโลมใจตัวเองนี่ จริงๆ ไม่ใช่พึ่งไม่ได้ ฉันจะสอนท่านขัดใจฉัน ฉันนะถูกนะ อย่ามาขัดใจฉัน ฉันนะถูก เพราะท่านน่ะไม่ดี ฉันก็ให้ท่านดี ฉันช่วยศาสนานะ ฟังดีๆนะ ท่านน่ะไม่ถูก ฉันน่ะถูก และฉันจะให้ท่านแก้ไข ท่านไม่แก้ไข ท่านมาเล่นงานฉันเรื่อยเลย ท่านน่ะไม่แก้ไข มาเล่นงานฉันเรื่อยเลย ฉันจะช่วยสร้างศาสนา ท่านบกพร่อง ท่านต้องแก้ไข ตามที่ฉันเห็นฉันว่านี่น่ะ ท่านอย่ามาเถียงฉันซิ คนนี้เขาไม่รู้ตัวอย่างนี้ อาตมาก็โอ้โฮ อาตมา เมื่อไหร่จะเก่ง ที่จะพูดให้เขารู้ตัว มันซ้อนลึกอย่างนี้ อาตมาก็สงสารๆจริงๆ อาตมาพูดสงสาร อาตมาก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร อัตตามานะ มันซ่อนอย่างนี้

ก็ขอสรุปว่า คนๆนี้ควรทำอย่างไร คนๆนี้ควรมองตนแก้ไขตน ต้องแก้ไขให้ได้ คือแก้ไขตัวเอง ต้องทำให้ได้ แก้ไขตัวเอง ท่านองค์นั้น ท่านจะเป็นอย่างไร ก็ช่างท่านเถอะ ท่านจะชั่วมันก็ชั่วของท่าน ตัวเราเอง ควรจะแก้ไข อย่างไรนะ จะลดตัวเองอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร แล้วก็ประสาน สมานคน ที่ท่านไม่ดีนี่แหละ เพราะเป็นมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีในหมู่นี้แล้ว ปฏิเสธไม่ได้แล้ว หมู่นี้ดีที่สุด แล้วก็ประสาน กับหมู่นี้ให้ได้ นั่นคือผลดีของเรา

แต่ตราบใด ที่เราเองยังไม่หมดหมอง เราเองก็อึดอัด เราเองก็ว้าเหว่ เราเองก็คนนี้ก็พึ่งไม่ได้ คนโน้นก็พึ่งไม่ได้ หรือคนนี้กูช่วยเขาไม่ได้ใหญ่ แต่ไม่รู้ว่ากูใหญ่ อาตมาก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรเลย โอ้โฮ สุดที่จะอธิบาย และก็นึกว่า ตัวเองฉลาดๆนะ อ่านพระไตรปิฎกอ่านตำรา อ่านอะไรก็รู้หมดเลย เข้าใจ เสร็จแล้ว ก็เอามาสอนใครต่อใคร และก็เอามาทำ อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ช่วยแก้ไขคนนั้นคนนี้ ช่วยคนโน้นคนนี้มากมาย นึกว่าตัวเองแน่ แต่เสร็จแล้ว ก็ไม่รู้อัตตามานะของตนเอง ไม่วางใจเสียให้สบาย เออท่านไม่ดี หรือท่านดี ก็มีหน้าที่อยู่แล้ว อย่างน้อยก็มีอาตมา ช่วยดูแลอยู่แล้ว หรือว่าพี่ๆน้องๆ เป็นสมณะ เป็นคนโน้น คนอื่น คนไหน เขาก็ดูแลอยู่แล้ว ก็เราเอง ท่านก็ไม่เชื่อเราแล้วน่ะ ก็ท่านไม่ได้เชื่อเรา เพราะใหญ่ ถ้าท่านเชื่อเรา ท่านก็ไม่ใหญ่นะซิ ก็ท่านไม่เชื่อเราน่ะ

เพราะฉะนั้น ลองเชื่อดูเถอะ เราไม่ใหญ่จริงก็ดูที่เรา แก้ไขที่เรา ปรับปรุงที่เรา และเราก็ไม่ต้อง ไปหม่นหมอง เราไม่ต้องไปเสียใจ นี่ก็คือการลดอัตตา ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็หมาน้อยตัวหนึ่ง เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่หมาน้อยแล้ว เดี๋ยวเป็นหมาใหญ่แล้ว หมาตัวนี้พูดกันถึงนานแล้ว เสียใจ น้อยใจ ว้าเหว่ อยู่อย่างนี้ โดดเดี่ยวเหลือเกิน พึ่งใครก็ไม่ได้ จะพูดกับใครก็ไม่เชื่อกู ไม่รู้กูมันใหญ่ขนาดไหน แล้วก็พอไม่มีทาง ไม่เอาแล้ว งานก็ไม่อยากทำ อยู่กับใครก็ไม่ได้ หนีจากหมู่นี้ดีกว่า อาตมาก็ย้อนถามอีก และหมู่ไหนดีกว่านี้ ไม่มีหมู่ไหนดีกว่านี้ อยู่คนเดียวก็ได้ใช่ไหม เพราะอัตตามันใหญ่ขนาดไหน ไปอยู่คนเดียวก็ได้ ไปอาละวาดกับคนอื่นก็ได้ คนอื่นก็ซูฮกให้กูนี่หว่า เห็นไหม ว่ามันไม่ยอมลดอัตตามานะ เจอใครๆ รับเอาที่อธิบายตัวนี้น่ะ เจอใครๆ ก็รับเอา ยังมีอยู่เยอะ ในหมู่เรานี้ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่

วันนี้ต้องการเปิดเผยตัวนี้ มาฆบูชานี้ ต้องการเปิดเผยอัตตามานะตัวนี้ ผู้ที่ได้ฐานะ นี่จะซ่อน แล้วจะไม่รู้ตัวง่าย ฆราวาสจะรู้ตัวได้ง่ายกว่า

ผู้ที่ได้ฐานะสมณะแล้วนี่ จะซวยหน่อย เอ้าจริง เพราะผู้ที่จะตักเตือนจะว่านี่ น้อย และคนเขายกให้ ว่าเราใหญ่แล้ว ก็เลยค่อยบรรเทา กูก็ใหญ่จริง เขาก็กราบกูทุกวัน ไหว้กูทุกวัน เคารพ พูดอะไรหน่อย เขายอมให้ตามสมมุติ ตามฐานะที่ได้เป็นสมณะแล้ว เพราะฉะนั้น จะไม่ค่อยชัด ก็ขอเตือนสมณะก็ดี นักบวชก็ดี สิกขมาตก็ตามขอเตือนนะ ประเดี๋ยวจะหาว่า อาตมาให้แต่ฆราวาส ลำเอียง ตอนนี้ ให้สมณะให้นักบวช ให้สิกขมาตุ ให้สมณุทเทสด้วย พอได้ฐานะมาแล้วนี่ มันเป็นสิ่งที่เป็นทั้งสองคม ดีอย่างหนึ่งแต่ก็ร้ายอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่ทันมันนะ เพราะมันก็ได้บำเรออัตตามานะอยู่บ้าง แต่เป็นฆราวาสนี่ เขาไม่ค่อยบำเรออัตตามานะเท่าไหร่ โดยเฉพาะสมณะ และสมณะยังไม่ยอมเลย คิดดูซิ ฆราวาสหันกลับไปหาฆราวาสอีก สมณะยังไม่ยอมเลย และมันจะไปขนาดไหนนะ เพราะฉะนั้น ในหมู่พวกกันเองก็เถอะ

เพราะฉะนั้น ขนาดสมณะยังไม่ยอม แล้วฆราวาสด้วยกันหรือ ฮือ ถึงไม่มีหมู่ ถึงไม่มีเพื่อนไง เพราะมันใหญ่ คับบ้านคับเมือง แต่ดูเผินๆเหมือนมีเพื่อนนะ ก็พูดได้คบหาได้ แต่ลึกๆแล้วไม่ได้ ถ้าเป็นธรรมะ ถ้าเป็นเรื่องนั่น เรื่องนี่ เป็นอะไรสำคัญ ไม่ได้ แต่บอกแบ่งกินแบ่งใช้ แบ่งโน่นแบ่งนี่อยู่ เอ้า โอภาปราศัย อะไรกันธรรมดา สามัญตามโลกๆนี่นะ เนื้อถูกได้อะไรได้ ไม่มีปัญหาหรอก แต่ถ้าเรื่องธรรมะแล้ว อย่าเชียวนะ ในแง่เชิงให้เรื่องของศักดิ์ศรี ในเรื่องอะไรพวกนี้แล้ว ข้านี่แหละใหญ่ ข้านี่แหละจะสร้างศาสนา ถ้าไม่มีข้าสักคนนี่ฮึ แต่ก็ไม่ถึงขนาดนึกอย่างนั้นหรอก ไม่นึกขนาดนั้น เพราะจริงๆ ยังรู้ตัวอยู่เหมือนกัน มันมีซ้อนเชิง อยู่ในใจเหมือนกัน รู้เหมือนกันว่า อยู่ในใจนั่นแหละ แต่มันก็รู้ เหมือนคนเมา ไอ้บทจะบ้าขึ้นมาก็บ้า พอคลายบ้าก็ค่อยยังชั่วไปหน่อย ไม่นานนักบ้าใหม่ โอ๊ บ้าไม่รู้แล้ว อาตมาจะทำยังไง มันก็เมื่อยนะ จริงๆ แหม อย่าหลายคนเลยนะ คนอาการอย่างนี้ คนเดียว ก็แสนเหนื่อยแล้ว หลายคน อาตมาจะเหนื่อยแค่ไหน ขออายุยืนๆหน่อยเถอะ นี่ก็เป็นนัยที่อาตมาบรรยาย ลีลาของอาตมาบรรยาย ให้คุณฟังแหละนะ โดนใครๆ ก็รับให้เต็มลำเถอะ ใครรู้สึกว่า ด่าเราคนเดียว ใครรู้สึกอย่างนี้บ้างไหม โอ ด่าเอาเราคนเดียว คือมันก็มีมุมนะว่า เรานี่รักศาสนา เราก็รักศาสนา เราก็มาทางนี้ เราจะช่วยศาสนาน่ะ เราพยายามศึกษา เราก็รู้มาก ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ยิ่งรู้นะ แต่มันไม่รู้อัตตามานะของตัวนี่ เห็นไหมว่ามันลึก อัตตามานะนี่ มันลึกๆ มันลึกซึ้ง และมันก็ลึกซ่อนด้วย คนอื่นเห็นหมด แต่ตัวเองไม่เห็นๆ มันน่าสมเพชเวทนานะ อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เอ้าก็ช่วยกันไป อาตมาก็ต้องตัวเอง ตัวเองไม่เก่งกว่านี้ แหม อยากเก่งกว่านี้นะ มันไม่เก่งกว่านี้ มันก็ได้เท่านี้ ช่วยกันไป ยังมีอีกมาก ในเรื่องของอัตตามานะ ที่พึงเรียนรู้ เยอะจริงๆ ภวตัณหา ภวตัณหานี่ คือ อัตตามานะ

ในเรื่องกามตัณหา ว่าเรื่องของกามตัณหาๆ ก็เรื่องของกามภพ ภวตัณหาก็ภวภพ มันซ้อนเชิง มากมาย ก่ายกอง เรื่องภวตัณหานี่ ในศาสนามากศาสนา ไม่รู้จักภวตัณหา นอกจากไม่รู้จัก ภวตัณหาแล้ว ติดภวตัณหา หลงภวตัณหา พวกฤาษีนี่ ทั้งฤาษีกรุงทั้งฤาษีป่า ฤาษีป่าไม่รู้เรื่องเลย นั่งอยู่ในภพไปๆ แล้วก็ศึกษา ให้มันหยุด ให้มันนิ่งสงบ หลับตาแล้วก็อยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสุดท้าย มันจะทิ้งโลกหมดเลย ไม่เอาแล้วโลกนี้ มันทุกข์มันยากมันร้อน มันอยู่ภพนี่สบาย ก็ยิ่งพยายามฝึกฝนสมาธิ แบบสะกดจิต ให้มันนิ่ง ให้มันว่าง จะว่างแบบไหนก็แล้วแต่ ว่างแบบมืด หรือว่างแบบสว่าง มีสองอย่างเท่านั้นในจิต มีว่างแบบมืด ว่างแบบสว่าง แบบมืดก็คือหยุดคิดนิ่งสนิทเลย นิดหนึ่งน้อยหนึ่งไม่คิดอะไร สุดยอดก็ อากิญจัญญายตนะ หรือ อสัญญี นิ่งดิ่งเป็นพรหมลูกฟัก ดับดิ่งมืด ส่วนอีกอันหนึ่งก็คือ อากาสานัญจายตนะ หรือ อาโลกสัญญา สว่างไปหมด สว่างเฉยนั่นน่ะ อากาสา หรือ อาโลกสัญญา สว่างโล่ง ว่างโล่ง ไม่ต้องยุ่ง ไม่ต้องเกี่ยวกับอะไรเลย อิสรเสรีที่สุด และประคองสภาพเช่นนั้น ไปให้ได้นานที่สุด นานที่สุด เท่าที่จะรักษาอัตตา มโนมยอัตตา ชนิดนั้น แสงสว่างโล่ง ให้มันอยู่ได้นาน นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ ตัวเองก็อยู่ไปสบาย สงบไม่มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ตัวเองทิ้งทุกอย่างในโลก ในอะไร ไม่รับรู้สึกอะไร กับใครหมด ฝึกมาก มองข้างนอกไม่รับรู้สึกจริงๆ ต่อให้เอาไฟมาเผาๆ ก็ตายไปเลย ร่างกายไม่รับรู้สึก แม้แต่ร้อนหนาวอะไรไม่รู้เรื่อง จะเป็นภพที่ดับสนิท ดับดำมืดไปหรือสว่าง ดังกล่าวนี้ก็ตาม มีสองทิศนี้เท่านั้น ในฌาน รูปฌาน อรูปฌาน สองทิศนี่ สรุปแล้ว แต่มันมีรายย่อยอีกเยอะแยะต่างๆ ที่อาตมาอธิบายไม่หมด ในเรื่องฌาน เป็นอุตริมนุสธรรม ฌานนี่เป็นอุตริมนุสธรรม ถ้าไม่รู้จริง ก็พูดกันเลอะ เสร็จแล้วผู้ที่หลงฌาน ในนี้มีเยอะๆ ในโลกของศาสนาทุกวันนี้ พวกมาจากอเมริกา จากยุโรป อะไรต่ออะไร แม้แต่ญี่ปุ่นต่างชาตินี่ มาหาฌานอย่างนี้ทั้งนั้น จะเข้าใจศาสนาพุทธนั้นน้อย สมาธิก็มาเรียนสมาธิแบบนี้ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ อย่างที่อาตมากำลังเผยแพร่กับพวกคุณ แต่คนอื่นด้วย แต่คนอื่นฟังก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง พวกคุณรู้เรื่อง ก็ฝึกฝนเอา เพราะฉะนั้น คือสร้างภพ ภวตัณหาแล้ว เขาจะไม่รู้เรื่องภพ ภวตัณหา เขาจะไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องพูดถึงวิภวตัณหา วิภวตัณหานี่ จะต้องรู้ภพ แล้วจะต้องรู้ในสิ ภวภพ แล้วจะต้องรู้วิภวภพ รู้ในตัณหาที่เป็นตัณหาอุดมการณ์ ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในเรื่องราวภพ หรือภวตัณหานี่ ในเรื่องฌาน รูปฌาน อรูปฌาน พวกนี่คนเขาศึกษา ก็จบอยู่อย่างนั้น

ทุกวันนี้ ก็ยังพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ข้างนอกนี่ไม่รู้เรื่องหรอก อาตมาก็จะต้องพูดกับพวกคุณนี่แหละ ให้รู้ รูปฌาน อรูปฌาน และ รูปฌานอรูปฌานอาศัยได้ จะใช้เป็นประโยชน์ศึกษา เป็นอุปการะก็ได้ ไม่ได้หมายความว่า เราเอาประโยชน์จากอันนี้ไม่ได้ ได้ๆต้องเรียนดีๆ พวกเราก็ฝึกกันอยู่ ไม่ใช่ไม่ฝึก เรียนรู้กันไป แต่ว่าทางเอก ของพระพุทธเจ้านั้นน่ะ เป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิ UNIQUE เป็นสมาธิที่พิเศษกว่าอื่นในโลก มีอันเดียวนี่เท่านั้น ของพระพุทธเจ้า ของคุณอื่นไม่มีเหมือน UNIQUELY UNIQUENESS เป็นความพิเศษอันเดียวเท่านั้น ของพระพุทธเจ้า สัมมาสมาธิ ไม่มีภาษาเรียก เรียก MEDITATION ไม่ได้ เพราะมันไม่เหมือน MEDITATION เขารู้กันทั่วโลกเลยว่า จะต้องเป็นอย่าง ฌานฤาษี นั่นแหละ ฌานมานั่งสมาธิ หรือจะเพ่งข้างนอกก็ได้ ฌานให้เกิดเพ่งสะกด สะกดจิตเข้าไปอยู่ในภพ แต่ของพระพุทธเจ้านั้น ตื่นออกมาจากภพ ของพระพุทธเจ้าตื่นออกมาจากภพ ขึ้นมาเรื่อย ขึ้นมาสู่วิถีเสมอ ขึ้นมาสู่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ขึ้นมารับรู้ ยิ่งรับรู้อย่างตื่น อย่างเต็ม เป็นชาคริยา เป็นความตื่นเต็ม ไม่หรี่ ไม่ลวง ไม่พราง รู้อย่างชัดแจ้ง โยนิโส รู้อย่างแยบคาย รู้อย่างท่องแท้ อะไรคืออะไร ผัสสะทางตารู้ ผัสสะทางหูรู้ ไม่ใช่ปิดตาปิดหู ปิดจมูกปิดกาย ไม่ใช่! มีครบๆ เป็นสามัญมนุษย์ธรรมดา แต่ไม่สามัญ ตรงที่รู้จุดศึกษาๆ มาทำความหมาย แล้วมาปฏิบัติให้ถูกตรง จะเกิดผลลดละ ดับเฉพาะกิเลส ถูกตัวกิเลสโดยตรง

กิเลสยิ่งดับ จิตยิ่งเก่ง จิตยิ่งตื่น จิตยิ่งรู้มาก จิตยิ่งรู้อะไรได้เร็ว รู้ได้ถูกต้องด้วย จิตยิ่งวิเศษ ไม่ใช่ยิ่งทำ แล้วจิตยิ่งไม่รู้เรื่อง จิตเกี่ยวข้องกับทางตา จิตเกี่ยวข้องทางหู หรือจะเรียกวิญญาณก็ได้ วิญญาณ เกี่ยวข้องกับทางตา เรียกจักขุวิญญาณ วิญญาณที่เกี่ยวข้องทางหู เขาเรียกว่า โสตวิญญาณ วิญญาณที่เกี่ยวข้องทางจมูก เขาเรียกว่า ฆานวิญญาณ ทางลิ้นทางกาย เขาเรียกวิญญาณทั้งนั้น เพราะจิตที่มาทางตา จิตที่มาทางหู ยิ่งเก่งกิเลสยิ่งลด ยิ่งเก่งยิ่งรู้เท่าทันตา รู้เท่าทันรูป ยิ่งรู้เท่าทันเสียง ยิ่งรู้ว่าได้รับเสียงเป็นอย่างนี้แล้ว มีกิเลสร่วมด้วยไหม กิเลสเป็นอย่างไร วิเคราะห์ในกิเลสออก ฆ่ากิเลสจนหมด ยิ่งฆ่ากิเลสออก จิตยิ่งรู้เท่าทันเสียง จิตยิ่งรู้เท่าทันรูป ยิ่งรู้เท่าทันกลิ่น ยิ่งรู้เท่าทันรส ไม่เป็นทาสสิ่งนี้ เพราะกิเลสมันตาย เพราะกิเลสเป็นทาส จิตยิ่งรู้แต่ความจริง รู้ความจริงตามความเป็นจริง ของธรรมชาติทั้งหมด ธรรมชาติรูป ธรรมชาติเสียง ธรรมชาติกลิ่น ธรรมชาติรส รสพริกเป็นอย่างนี้ รสไอ้นั่นเป็นอย่างนี้ แต่ไม่มีกิเลสเข้าไปอร่อย เข้าไปไม่อร่อย ไม่ใช่ กิเลสเข้าไปชอบ กิเลสเข้าไปชังไม่มี เสียงอย่างนี้เสียงด่า โอ๊ รู้ชัดเสียงด่า คนนี้ด่าได้แสบดีแต่ไม่โกรธ หูได้ยินเสียงด่า โอ คนนี้ด่าอย่างนี้ เข้าใจสมมุติโลก ว่าด่าอย่างนี้ คนนี้ด่าอย่างนี้หยาบ ด่าอย่างนี้ผู้ดี ด่าอย่างนี้คนชั่ว ด่าอย่างนี้คนชั้นต่ำ รู้หมด เข้าใจสมมุติสัจจะ แต่กิเลสไม่มี หรือกิเลสน้อยลง ก็ต้องรู้ว่า เรารู้อันนี้แล้วกิเลสเราน้อยลง แสดงว่า จิตเรายิ่งรู้ชัด ยิ่งมีโยนิโส ยิ่งแยบคาย ถ่องแท้เพิ่มขึ้น ลดกิเลสลง ดับกิเลสจนกิเลสดับ จิตยิ่งรู้เต็มที่เลยของจิต ตามความเป็นจริงหมด ไม่ใช่ปิดหู ปิดตา ไม่ใช่ยิ่งไม่รู้เรื่อง สังขารร่วมด้วย ปรุงๆร่วมด้วยยังได้ด้วยซ้ำ เป็นวิสังขาร

วิ แปลว่ายิ่ง อย่างยิ่ง อย่างวิเศษ วินี่แปลว่าวิเศษ หรือ ไม่ เพราะกิเลสไม่มี และมีอะไรพิเศษ รู้พิเศษ เก่งพิเศษ วินี่มีความหมาย สองอันครบ วิก็ด้วย วิเศษก็ด้วย จิตวิเศษด้วยเป็นวิสังขาร ไม่มีกิเลสเข้าไปสังขาร แต่สังขารอย่างวิเศษ แต่อันเดียวกันนะๆ จิตสังขาร นี่อันเดียวกัน นี่มันวิเศษลึกซึ้งอย่างนี้ ไม่ใช่ไปได้แต่ด้านเดียว วิแปลว่า ไม่ปรุง ไม่ปรุงก็โง่เท่านั้นแหละ ไม่คิดโง่ ไม่รับรู้โง่ ศาสนาพุทธไม่ได้สอนคนโง่ ไม่ได้สอนคนไม่รู้ สอนคนให้รู้ๆ ให้รู้เท่าทันโลก เป็นโลกวิทูด้วยซ้ำ ไม่ใช่ไม่ให้รู้ วิเศษอย่างนี้ เพราะเราศึกษาเข้าไปแล้ว พยายามวิเคราะห์วิจัย ฝึกฝนไปจริงๆ แล้วละก็จะได้

ทุกวันนี้พวกเรา อาตมาเอง อาตมาก็เห็นว่า พวกเราได้ดี แต่ว่าดีกว่านี้ยังมีอีก ที่เราจะเจริญขึ้น ประเด็นที่สำคัญก็คือว่า พวกเรานี่ยังปฏิบัติ ให้มันเกิดระบบมรรคองค์ ๘ และ โพชฌงค์ ๗ มันยังไม่พอ จะบอกว่า อาชีพคุณก็ทำกันพอไป ก็มีบ้างบางคนเลี่ยงหลบบ้าง กิเลสส่วนนั้นส่วนขี้เกียจ ก็ขยันขึ้นก็แล้วกัน มันสำคัญก็คือตรงที่ว่า เรายังไม่เก่งขึ้นของโพชฌงค์ สติเราเป็นสติสัมโพชฌงค์ ก็ยังไม่ค่อยเก่งขึ้น ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ของเรา ก็ยังไม่เก่งขึ้น เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเพียรตัวนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ คือเพียรให้เกิดสติ จึงเป็นสัมโพชฌงค์ เพียรให้เกิดธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณจะเพียรนี่ คุณนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับงาน ไม่เกี่ยวข้องกับใคร มันไม่ช่ำชอง มันจะช่ำชองก็ต้อง ประกอบไปด้วยมรรค ประกอบด้วยสังกัปปะ เมื่อคุณสัมผัสแล้วคิด คุณคิดอยู่คนเดียว แล้วคุณก็เพ้อ และฟุ้งซ่านอยู่ เหมือนกบในกะลาครอบ แต่ถ้าไปกระทบสัมผัสกับคนอื่น ก็จะมีแง่คิด อันที่เป็นจริง ไม่ใช่นักผกผัน ไม่ใช่ตรรก คิดๆๆ ได้ความคิดตรรกศาสตร์ ไม่ใช่เหตุผล แต่เป็นความจริง เมื่อกระทบสัมผัสใครขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ทำให้เราเกิดกิเลสขึ้นมา เราก็จะพยายาม วิจัยกิเลสให้ออก ธัมมวิจัยนี่ วิจัยจริง เมื่อวิจัยแล้วแยกเคหสิตะ แยกเนกขัมมะออก แยกว่านี่กิเลสนะ ถ้าเป็นไปตามสุขทุกข์กิเลสนี่ โทมนัสโสมนัสแบบกิเลส เคหสิตแบบชาวบ้าน แบบปุถุชน อย่างนี้เราไม่เอาน่ะ เราลดละกิเลส ที่มันจะเป็นสุขเป็นทุกข์แบบนี่ซะ

ลดละออกได้ทำวิธีใดๆ คุณสามารถเนกขัมมะจะออก ความเป็นเคหสิตนี่เรียกว่า เนกขัมมะ ออกจากความเป็นคนโลกๆ อย่างนี้ออกมา ลดกิเลสอย่างนี้ ทุกข์สุขอย่างนี้ไม่เอา ลดกิเลส ลดสุขลดทุกข์ อัสสาทะแบบโลกๆนี่ ลดได้จริงๆ เนกขัมมะมาเรื่อยๆ คุณได้คุณจะต่อสู้อยู่ ลดไม่ได้ก็ไปเป็นโทมนัส เป็นเนกขัมมโทมนัสๆเวทนา จนกระทั่ง เราพอสู้ได้ พอได้ปั้บ มันดีใจ ลดได้มากขึ้น ก็ยิ่งดีใจมากขึ้น ก็เป็นโสมนัสดีใจ เป็นสุขอย่างดีใจ เวทนาอย่างนี้ วิเคราะห์วิจัยเวทนาอย่างนี้ ออกเรื่อยๆ จนกระทั่ง แม้แต่โสมนัส เป็นอุปกิเลส คุณก็ลดลงอีก ปีติโสมนัส โสมนัสอะไรก็ตามใจเถิด ยินดีๆ ใจที่เราได้ลดลงอีก จนกระทั่งสงบ เป็นอุเบกขา เป็นเนกขัมมอุเบกขาเวทนา เป็นฐานนิพพาน แม้อุเบกขานี่ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวของเรา ไม่ยึดเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวปลายสุด ให้มันได้ตัวนี้ก่อนเถอะ เป็นฐานอาศัย ช่ำชองแล้ว ค่อยมาวางมัน อุเบกขา อย่าเพิ่งรีบวางนัก หรือบางคนไม่ถึงขั้นอุเบกขาหรอก ดีใจที่เราได้ดี ก็อาศัยไปก่อนก็ได้ เป็นลำดับๆๆไป นี่ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ จะต้องให้อ่านออกอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์ ก็คือ สติมีธัมมวิจัย อย่างนี้อยู่ในสติ อยู่ในการรับรู้ รู้ตัวทั่วพร้อม สัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายใจ สัมผัสเมื่อไหร่ ก็ไว รู้ รู้ทัน รู้ผล รู้เกิดอาการทางใจ รู้แล้ว ธัมมวิจัย ธัมมวิจัยเร็วขึ้น เป็นมุทุภูตธาตุ ไวสามารถเร็ว

เพราะฉะนั้น ก็ยิ่งเร็วก็ยิ่งคล่อง ก็ยิ่งทำได้ คุณก็ยิ่งสามารถที่จะทำกรรมทุกอย่าง มุทุภูเต กัมมนิเย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มโนกรรมกระทำอาชีพ กรรมกระทำการงาน กรรมกระทำการคิด กรรมกระทำการพูด กรรมทำอะไรต่างๆนานา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมๆ การงานอาชีพทุกอย่าง คุณก็ยิ่งจะแคล่วคล่อง ก็ยิ่งควรยิ่งเหมาะยิ่งสม ยิ่งจะทำอันนี้ไป ก็สามารถที่จะพัฒนาตนเอง ให้เกิดพร้อมไปกับงานการ พร้อมกันไปกับความคิด พร้อมกันไปกับการพูด พร้อมไปกับการทำการงาน พร้อมกันไปกับอาชีพ พร้อมกันนั้น คุณก็ปฏิบัติธรรมอันนี้ มีโพชฌงค์ตัวนี้ประกอบ เมื่อกี้พูดไปนั่น มรรคตัวโพชฌงค์นี่ ก็อยู่ร่วมกันเลย โดยเฉพาะ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ เมื่อกี้ไม่ได้พูดถึง ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่ได้พูดถึง แต่ก็พูดแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ ความดีใจ โสมนัสเวทนา นั่นก็ใช่ปีติ แล้วจิตของเราสงบลง ถึงขั้นอุเบกขาก็สงบ ปัสสัทธิมันสงบ เป็นสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มันสงบลง จนมันวางเฉยได้ กิเลสกระแทกกระเทือนอย่างไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ ๖ ยังมีอยู่ เหตุปัจจัยใด ที่ก่อให้เกิดกิเลสก็มีอยู่ แต่จิตที่เป็นปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ จ กัมมัญญา จ ปภัสสรา จ จิตตัวนี้บริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาอยู่ สะอาดอยู่ องค์ธรรมของอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา บริสุทธิ์ แม้กิเลสจะมาหุ้มมาพอก กระทุ้งกระแทกยังไงก็สงบอยู่ เอามาอาบมาพอก มายังก็ ปริโยทาตา ๆ ก็ยังสะอาดอยู่ได้ เหมือนน้ำกับใบบอน เอามารดมาร่วม ก็ไม่ดูด ไม่ซับ ไม่ซึม อุเบกขาเฉยก็อยู่ได้ แข็งแรงๆอยู่ได้ เป็นตัวของตัวเองอยู่อย่างบริสุทธิ์ แข็งแรง ไม่ซับไม่ซึม คุณภาพวิเศษ กัมมัญญา ก็คือ กัมมนิเยนั่นแหละ เหมาะควรแก่การงาน เขาก็แปลอันเดียวกัน ทำได้ดีด้วย สละสลวย ทำการงานได้สำเร็จเสร็จสมอย่างดี มุทุ จิตเร็ว จิตคล่อง จิตมุทุก่อนนะ เดี๋ยวค่อยกัมมัญญา จิตนี่สามารถที่ ปริโยทาตา ก็มุทุภูตธาตุนั่นแหละ ตัดได้ง่าย ปรับได้ง่าย สามารถที่แววไว รู้เท่าทันได้เร็ว จิตก็ลดกิเลส ได้เร็วด้วย เร็วจนกระทั่ง จิตแข็งแรง ไม่เกิดนั่นแหละจิตวิเศษ จะเป็นการงานอะไร ก็ทำได้ง่ายหมด กัมมัญญา กัมมนิเย การงานอะไรก็ทำได้ดีมากขึ้น จะว่าหมด มันอาจจะไม่หมด มันอาจจะไม่เก่งบางอย่าง แต่ก็เก่งขึ้นเรื่อยๆ ทำได้เรื่อยๆ กว้างขวาง สามารถมากขึ้น เป็นคนมีการงานได้ดี

ศาสนาพระพุทธเจ้า ยิ่งบรรลุเป็นอริยะ ยิ่งมีความสามารถ ยิ่งทำการงานกับโลกเขาได้ อย่างวิเศษ ช่วยมนุษยชาติได้มาก มีปัญญาในเรื่อง รู้ตรรกศาสตร์ของสังคม รู้จักเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ปฏิบัติธรรมนี่ จะเข้าใจในเรื่องนิติศาสตร์ เพราะหลักเกณฑ์ของสังคมก็คือ นิติกรรม นิติศาสตร์จะรู้เข้าใจ ไม่ต้องไปเรียน ปริญญานิติศาสตร์ให้ยาก จริงๆ จะรู้จักหลักแห่งการตัดสิน หลักแห่งการกำหนดว่า อย่างนี้ควรหรือไม่ควร จะเก่งกว่า นิติศาสตร์โลกๆด้วยซ้ำ เพราะนิติศาสตร์โลกๆ ก็ยังลวง นิติศาสตร์โลกๆ ก็ยังเห็นแก่พรรคแก่พวก แก่ตัวแก่ตน แต่นิติศาสตร์ของพระพุทธเจ้านี่ หรือทางธรรมะที่เป็นสัจจะนี่ จะตรง จะไม่ลำเอียง จะเพื่อประโยชน์ของประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ใช่เพื่อใคร แม้แต่ตัวเราเอง จะไม่ลำเอียง เข้าข้างตัว เศรษฐศาสตร์นั่น ไม่ต้องพูดเลย ชัดเจน รัฐศาสตร์ก็ไม่ต้องพูด ก็คือมวลมนุษยชาติ รัฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ เป็นแต่เพียงการดูแลรัฐศาสตร์ก็คือ ผู้ที่ศึกษานั้นก็คือ ผู้ที่จะสามารถรู้จักสังคม แล้วบริหารสังคม

ส่วนสังคมศาสตร์นั้น ก็คือสังคมทั้งหมด ในศาสตร์ที่อาตมากล่าวนี้ อยู่ในพุทธศาสนาหมด ที่อาตมากล่าวนี้ อยู่ในพุทธศาสนาหมด จะลึกซึ้งด้วย รัฐศาสตร์ก็การเมืองนั่นแหละ ที่พูดกันให้ชัดๆ รัฐศาสตร์ก็คือการเมือง จะรู้จักการเมือง จะรู้จักเศรษฐศาสตร์ จะรู้จักนิติศาสตร์ จะรู้จักสังคมศาสตร์ ส่วนศาสตร์พิเศษที่ว่า วิศวกรรมศาสตร์ ก็เป็นไปเรียนพิเศษ มันก็ไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธเท่าไหร่ แต่ถ้าไปเรียน ฝึกฝน ก็จะง่าย ไปเรียนวิศวะ ไปเรียนงานพิเศษอะไร ที่มันเป็นงานโลกๆ เขาหลายอย่าง มันจะไม่ได้จากเรียนพุทธธรรม

ก่อนนี้เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือการเมือง สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์อะไรพวกนี้ ปฏิบัติพุทธนี่แหละ จะได้ศาสตร์พวกนี้ขึ้นมาจริงจัง เพราะมันเกี่ยวกับมนุษยชาติ เกี่ยวแก่ความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ ส่วนที่จะไปผลิตพิเศษ เรียนรู้ดาราศาสตร์ เรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรียนรู้เทคนิคอะไรต่ออะไรอื่นๆ อะไรออกไปนั่นนะ ต้องไปเรียนพิเศษเอา ไม่ได้เกิดจากพุทธ แต่ถ้าจิตใจดีแล้ว จะเรียนก็ง่าย จะเรียนช่างกล จะเรียนช่างไม้ จะเรียนแม่ครัวหัวป่า ทำอาหารเก่ง อะไรก็แล้วแต่ จะไปเรียนอะไรพวกนี้ ไปฝึกเอาได้ แต่ไม่ได้จากพุทธตรง แต่ได้จากพุทธพวกนี้ วิชาศาสตร์พวกนี้อยู่ในพุทธ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์พวกนี้อยู่ในพุทธ ปฏิบัติพุทธจะได้สิ่งเหล่านี้มา โดยตัวมันเอง มันจะเกื้อกูล มนุษยชาติ สามารถช่วยเหลือมนุษยชาติได้ อย่างแท้จริง นำพาได้ สะอาดบริสุทธิ์ด้วย ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้าง ยิ่งบริสุทธิ์สะอาดมากเท่าไหร่ จะไม่เข้าข้างแม้แต่ตัวเอง จะไปป่วยการ กล่าวไปทำไมกับ เข้าข้างกับหมู่พวกตัวเอง ไม่เข้าข้างหมู่พวกตัวเอง เพราะตัวเอง ยังไม่เข้าข้างตัวเอง แค่หมู่พวกก็ โธ่ จะไปเข้าข้างทำไม จะไปเข้าข้างๆ ก็ไปเข้าข้างสัจธรรม นั่นเอง

พระพุทธเจ้าท่านสอนวันมาฆบูชา ไปให้ท่านสอนเป็นหลัก หลักที่รู้กันดีคือหลักแรก สัพพปาปัสสะ อกรณัง กุสลัสสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง หลัก ๓ โอวาทปาติโมกข์ ๓ อันนี้น่ะ เหมือนกับที่อาตมาอธิบายให้รู้ว่า อะไรไม่ดี อะไรเป็นบาป บาปนี่หมายความว่า สิ่งชั่วร้ายมาก ชั่วร้ายมากแล้วไม่ทำจริงๆ เพราะฉะนั้น ฐานะของบุคคลฐานะสูง ก็ฐานะยังไม่สูงนัก ฐานะยังไม่สูงนัก บาปของเขาๆก็ทำในระดับหนึ่ง มันก็จะหยาบมาก ไม่สูงนัก แต่ในระดับหนึ่ง เขาก็ยังทำบาป ในระดับนั้นอยู่ ผู้ที่สูงกว่าผู้นี้ ถือว่า ไอ้นั่นหยาบ บาปมาก ขนาดนี้ของผู้ที่ทำอยู่นี่ ถ้าผู้สูงมา ก็ต้องถือว่าผู้นี้เป็นบาป ที่ผู้นี้จะต้องไม่ระเบิด ไม่ทำเหมือนกัน ไม่ทำด้วย เพราะผู้นี้สูงกว่าผู้นี้ บาปของพุทธ ผู้นี้ยังถือว่ายังทำอยู่ ไม่ถือว่าบาปนัก แต่สูงขึ้นมาแล้ว ผู้นี้จะต้องถือว่า ที่ผู้นี้ทำอยู่ถือว่าบาป บาปยังไม่มากเท่าอันนี้ ผู้นี้ก็ถือว่าบาป อันนี้เป็นบาปมาก และต้องไม่ทำสูงขึ้นไปอีกๆ ก็จะลดหลั่นไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งผู้นี้ จะไม่ทำบาปทั้งหลาย ก็คือ ต้องรู้ว่าไอ้บาปเหล่านั้นน่ะ ซ้อนเชิงก็คือว่า ตัวเองก็ไม่ต้องไปทำสิ่งนั้น ให้แก่ตัวเอง

ทีนี้เมื่อเวลาปฏินิสสัคคะ ตีกลับ ผู้นี้ไปทำอันนี้ถือว่าบาป คนอื่นมองตื้นๆว่าบาป เช่น ดูวิดีโอ ดูละครละเม็ง แต่เขาได้อยู่เหนือละครแล้ว ตอนนี้ ท่านไปดูละครนี่ ดูร่วมกับเขา เพื่ออนุโลมและเพื่อสอนเขา แนะนำเขา ใช้อันนี้เป็นโสตทัศนศึกษา อย่างนี้เป็นต้น ท่านไม่ทำเพื่อตัวเองเลย ท่านไม่ได้เสพ แต่ท่านดูกับผู้นี้ๆ ก็ยังบาป ผู้นี้ก็ยังได้ตกต่ำ และได้มีอะไรอยู่บ้างก็ช่วย อย่างนี้เป็นต้น สิ่งนี้ ปฏินิสสัคคะ อย่างนี้นี่ มันก็อยู่ที่ความจริง และบริสุทธิ์ใจ ต้องอ่านตัวเองจริงๆ แล้วต้องศึกษาเข้าไปนะ เราๆเอง เรามีกิเลสจริง แล้วก็อย่าไปปฏิเสธ ต้องเรียนรู้ ลดละกิเลสให้ได้ ถ้าลดละไม่ได้ ตัวเองก็งมงายอยู่อย่างนั้นแหละ เล่นเจ้าล่อเอาเถิด ตีกินหลอกคนอื่น ก็ยิ่งบาปซ้ำ ก็ยิ่งชั่วช้ำ แต่ถ้าตัวเองได้ประโยชน์ เมื่อเราอยู่เหนือมันเมื่อไหร่ คุณจะรู้ อยู่เหนือมันแล้ว คุณก็รู้ คุณก็ไม่อยากเสพอะไรหรอก อยู่ในโลกนี้ ทั้งนั้นแหละ มันก็เป็นสิ่งที่จะอยู่กับโลกเขา

ยกตัวอย่าง อีกอันหนึ่งง่ายๆ อยากเทศน์ อยากเทศน์ คนที่หลงเทศน์ แม้บางคนนี่จะรำคาญ หลงเทศน์ เทศน์ดีเสียด้วยนะ แต่ตัวเองก็ยัง ไม่รู้ว่าตัวเองติด ไม่รู้ว่าตัวเองหลง นั่นแหละ เป็นสิ่งที่ตัวเอง จะต้องพยายามละลด ลองหัดไม่เทศน์เสียบ้างซิ หรือ ถ้าคุณมีตัวญาณ ตัวธัมมวิจัย สติสัมโพชฌงค์ชัด คุณเทศน์ก็ต้องอ่านใจตัวเอง วิเคราะห์วิจัยกิเลส มันเสพ มันติดอร่อยน่ะ นี่ก็ให้รู้ ต้องละกิเลสให้ถูกสภาวะ เมื่อละกิเลสถูกสภาวะแล้วนะ คุณไม่อร่อย ไม่มัน ไม่เสพ คุณก็รู้ว่าเมื่อย ก็ควรหยุด ควรหยุดก็หยุดวะ แต่ถ้ามันนี่ โอ้โฮ ควรหยุดก็ไม่หยุดละ ถ้ามันๆ มันอร่อย ติดอยากเทศน์ มันก็ไม่หยุด มันควรจะหยุดแล้ว ก็ไม่หยุด และจะไม่สังเกตรู้คนอื่นเขาเท่าไหร่ และลำเอียงเข้าข้างตัวเสียด้วย โอ้โฮ คนเขาสนใจ แต่ที่จริงเขาเกรงใจ เขาเกรงใจ เขาสนใจน่ะ ลำเอียงเข้าข้างตนหมด อย่างนี้ก็เป็นนะ

นี่ ยกตัวอย่าง แค่สองตัวอย่าง อันอื่นๆมีอีกนะ มันต้องเรียนรู้จริงๆเลย เรียนรู้อาการจริงๆ อาการของจิตเรานี่ ที่อาตมาพูดเอาไว้ เคยใช้เป็นโศลกพวก แล้วตนก็เสพ ต้องเรียนรู้ อาการ ลิงค นิมิต ของอาการทางจิต ตัวนี้ให้ได้

นี่อาตมาไม่เห็น ที่นั่งๆ หลับกันไปบ้างหรือก็ไม่รู้นี่ เจาะลึกเข้าไป หาสภาวะธรรมข้างหน้าๆ นี่อาตมาเห็นหน้านี่ ไม่กล้าหลับ แต่พ้นรัศมีการเห็นแล้วนี่ มืด ข้างหลังไม่เห็นแล้ว เห็นอยู่นี่ทางหน้าๆนี่ ไปรัศมีแสงพอเห็นนี่ ถ้าใครที่อยู่มืดๆ ตรงโน้น ใต้ร่มไผ่ ใต้โน่นนะ เลิกเลย ป่านนี้ อย่าเพิ่งกรนออกมา ก็แล้วกัน แต่ถ้าใครยังฟังได้อยู่ดีนะ ยังชัดเจนฟังได้ นั่นเราก็ฟังธรรมะพวกนี้ ได้ธรรมรส ฟังรู้เรื่อง ฟังเข้าใจ แม้สภาวะเราจะยังไม่ได้ ยังไม่มี แต่เราฟังอันนี้รู้เรื่อง ก็ใช้ได้ ฟังเข้าใจ แล้วก็นำเอาไปปฏิบัติ แล้วอย่าหลง ไอ้ที่เราฟังเข้าใจ ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นทีเดียว

บางคนนี่ มีไอคิวดี มีตัวเฉลียวฉลาดดี ฟังรู้เรื่อง เหตุผลมาก รู้ได้ดี ระวังจะไปเป็นปทปรมะ พวกเอาหัวยันตีน อาตมาแปลว่า เอาหัวยันตีน ปทปรมะ นี่แปลว่ายอด แปลว่าหัว ปทะนี่แปลว่าตีน ปทปรมะ อยู่ด้วยกันเลย เอาหัวยันตีน ทั้งๆที่ตัวเป็นตีน นึกว่าตัวเป็นหัว ทั้งๆที่ตัวต่ำต้อยนี่ เข้าใจเป็นยอด มันได้นะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นปทปรมะ พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า ผู้ที่ศึกษาพระพุทธพจน์ก็มาก ทรงจำไว้ได้ก็มาก สาธยายอยู่ก็เก่งมาก อย่างกับบรรลุธรรม จ๋อย ไม่บรรลุธรรมอะไร เดี๋ยวนี้ก็เยอะ เดี๋ยวนี้ก็ศึกษากันอยู่เยอะ สาธยายยืนยัน บรรลุธรรมหรือเปล่า ทั้งๆที่ศึกษามามาก เขาไม่ให้บอกๆ ก็บอกบ้างปะไร อย่างน้อยก็รู้จัก อุปสัมบันบ้าง ขนาดโพธิรักษ์นี่ พอเป็นอุปสัมบันบ้างไหมล่ะ ถามบ้าง รู้บ้างไหม บรรลุธรรมบ้างไหม กระซิบก็ได้ เอา ประเดี๋ยวกลัวคนอื่นได้ยิน ประเดี๋ยวจะกลายเป็นอาบัติ ก็ถ้าเชื่อว่า โพธิรักษ์เป็นอุปสัมบัน ก็ให้โพธิรักษ์ รู้บ้างไหม จะกล้าบอกไหม มั่นใจไหม บอกได้ รู้แจ้งเห็นจริงเลย อันนี้คือเขียว อันนี้คือแดง ถามอันนี้เขียวหรือแดง ฮึ บอกไม่ได้ ก็ไม่รู้ซิ ถ้ารู้ว่าเขียวว่าแดง บอกมาบ้างซิ แล้วคนๆนี้ก็ควรบอกด้วย เพราะเขาก็เป็นอุปสัมบัน ภูมิเขาก็ถึงน่ะ ยิ่งภูมิถึงข้ายิ่งไม่กล้าบอก เขารู้ว่าข้าไม่จริง ดันไปบอกว่าเขียวว่าแดง บอกแดงว่าเขียว ขายหน้าตาย ใช่ไหม เพราะมันไม่กล้าบอก ยิ่งรู้ว่า อุปสัมบันคนมีภูมิ เอ้า ขืนไปเปิดภูมิ ก็ตายนะซิ เดี๋ยวเขาก็จับได้ว่า เราไม่รู้จริง แต่ถ้าคุณแน่ใจว่าคุณรู้ รู้จริง จะได้ตรงกัน จะได้เช็ค นี่เขียวหรือแดง นี่แดง นี่เขียว นี่บอกไปเลย ตรงกันเป๊ะเลย ภูมิเหมือนกัน รู้เหมือนกัน ทำไมจะไม่กล้าบอก เพราะคนนี้ไม่มีอัตตามานะ จะบอก ถ้ารู้ว่าคนนี้มีภูมิ บอกซิ ถ้าผิดท่านจะได้บอกให้เรา อ๋อ เราเข้าใจผิดเหรอ เราไปชี้แดงว่าเป็นเขียว ไปชี้เขียวว่าเป็นแดงเหรอ อ๋อ ท่านรู้ว่าท่านเป็นอุปสัมบัน ท่านรู้ ท่านประกาศด้วย ท่านเป็นอุปสัมบัน เออดี ลองเชื่อท่านบ้างซิ ถ้าท่านว่าอันนี้เป็นผิด อธิบายให้ผมด้วย ช่วยชี้จริงๆด้วย ผมจะเป็นลูกศิษย์ พิสูจน์เลยซิ อาจารย์จริงหรือเปล่า อุปสัมบันจริงหรือเปล่า เป็นผู้มีภูมิจริงหรือเปล่า เราก็จะได้รู้ได้เช็คเลย เราก็เรียนมามากละ แต่อัตตามันไม่ยอม แต่อัตตามานะ มันไม่ยอมนะ

คนที่มีความจริงแล้วนี่ จะอาจหาญแกล้วกล้า แต่ไม่ใช่ห่ามนะ ไม่ใช่ไปเที่ยวอวดเก่งอวดดี ไประรานใคร ไม่ใช่นะ จะกล้า กล้าจริงๆ แล้วจะมีเหตุมีผล มีหลักมีเกณฑ์ อย่างที่พูดให้ฟังนี่ บางคนนี่ ได้แต่ปริยัติ ได้แต่อะไรนี่ ไม่แกล้วกล้าหรอกๆ ไม่อาจหาญหรอก นอกจากไม่แกล้วกล้า ไม่อาจหาญแล้ว บรรยายก็เลี่ยงๆหลบๆไป ยิ่งมีอัตตามานะมาก อยู่ด้วยแล้วก็ ผิดก็ไม่กล้ารับผิด ไม่ยอมรับผิด กลบเกลื่อนไป เลี่ยงไปตะพืด ก็คนเรามันผิดได้ เป็นพระอรหันต์ก็ผิดได้ พออาตมาพูดอย่างนี้ อะไรวะ ใครสอนวะ พูดอย่าง อาจารย์สุนีย์อีกแล้ว ใครสอนวะพูดว่า พระอรหันต์ผิดได้ พระอรหันต์ก็ผิดได้ สิ่งที่ท่านไม่รู้ ก็ต้องผิด แต่กิเลสของพระอรหันต์ ท่านรู้ของท่านหมด และท่านก็ล้างของท่านหมด แต่ไอ้เรื่องความรู้ ท่านก็ผิดได้ ยิ่งบัญญัติ ยิ่งภาษา ยิ่งอะไร เหตุผลอะไรพวกนี้ บางทีท่านก็ผิดได้ แต่ถ้ากิเลสของท่าน ๆ ไม่มีผิดล่ะ ท่านฆ่ากิเลสของท่านได้หมดเกลี้ยงน่ะ แต่เรื่องความรู้นี่ ทำไมมันจะไปรู้หมด อะไรกันนักหนา มันรู้ไม่หมดหรอก มันต้องเรียนสัพพัญญูไปอีก ผิดได้พลาดได้ เมื่อผิดเราก็รับผิด มันก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย พระอรหันต์ก็ไม่เห็นจะขายหน้าตรงไหน เพราะท่านไม่มีตัวตน ผิดเป็นอย่างไร ผิดก็ผิด เอาละ บอกความถูกต้องมา เราก็เรียนความถูกต้องนั้นไปอีก ก็เจริญไปอีกซิ ถูกจริงหรือเปล่าละ ถ้าเรียนไปแล้ว สุดท้าย เราก็รู้ว่าไม่ถูก อ้อ เราก็ไม่ถูกไม่เป็นไร ก็เราโง่ ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่ถูก ยังอุตส่าห์ไปเรียนตามกันเยอะ เอ้า ผิดแล้ว ผิดด้วยกันเป็นครู ผิดๆก็ผิดไป เพราะเราก็โง่ไปผิดกับเขาน่ะ แต่ถ้าเราฉลาดก็รู้ แล้วเราไม่ไปเรียนด้วยหรอก มันผิด พูดชัดๆ เราก็ไม่ไปเรียน เท่านั้นเอง

พระอรหันต์ท่านไม่กลัวเสียหน้าหรอก คนกลัวเสียหน้าอยู่ ไม่ใช่พระอรหันต์นะ เชื่อไหม คนกลัวเสียหน้าอยู่ ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก พระอรหันต์ ไม่ต้องไปกลัวเสียหน้าหรอก เพราะผิดก็ผิด จับประเด็นให้ชัด พระอรหันต์นั้น ท่านเองท่านรู้อะไรๆ รู้กิเลส หยาบกลางละเอียด ลึก ไปจนสุดหมดถึง อาสวะอนุสัยของตน ของคนอื่นไปรู้ของคนอื่น ก็ผิดได้ด้วย พระอรหันต์นี่ก็ตาม เพราะไม่มีเจโตปริญาณ สูงขึ้นไป ถึงขนาดคนคุ้นก็ไม่พอ เนื้อหาเหตุปัจจัยก็ไม่พอ ก็พยากรณ์คนอื่นผิดนะ พระอรหันต์ก็พยากรณ์ ผิดได้ ไม่ใช่ว่าไม่ได้ แต่ของท่านซิ ไม่มีผิดๆ เพราะอาตมาเอง บอกตรงๆนะ ที่พูดนี่ ไม่ได้แก้ตัว ให้กับตัวเองนะ พูดความจริงให้ฟัง อาตมาไม่อายหรอก ที่จะไปพยากรณ์ผิด ไม่อายหรอกผิดๆก็ผิด เออดีแล้ว ขี้เท่อบอกเสียก่อน บอกแล้วต้องพยายาม ก็อาจจะพูดอีก พยากรณ์อีกก็ได้ บอกได้ สำหรับ คนที่ควรบอก ก็บอกได้ ยังไม่พูดเป็นเปิดเผยโฆษณานี่ โอ้ย ไม่เป็นความสุขเลย และทำให้คนอื่น ไม่เลื่อมใสไปด้วย เพราะคนอื่นถือได้ ไหนว่าแน่ ไม่เห็นแน่ ก็ไม่ว่า มันไม่แน่ก็ไม่เป็นไรหรอก จะถือสาอันนี้ ก็เอาขี้หมามาแลกทองคำ เอาแค่นั้นมาเป็นเหตุ ที่จะไม่ศรัทธาเลื่อมใสทั้งหมดเลย ก็ไม่ว่าอะไร แค่นี้ก็ไม่ว่านะ

เพราะในความซับซ้อน อะไรๆหลายอย่างนี่ ให้แม่นประเด็น พระอรหันต์เจ้า ไม่ได้หมายความว่า ได้ไปเที่ยวได้เก่งหมดทุกอย่าง ไม่ใช่ ! เรายกให้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยอดวิเศษเก่งหมดทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ก็เก่งขึ้นไปบ้างตามควร ยิ่งอรหันต์ ยิ่งไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ อะไรมากมาย อรรถะก็ยังไม่มาก ธรรมะก็ยังไม่มาก อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ก็ยังไม่มากๆ ยิ่งนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ยิ่งไม่มี ท่านก็ผิดได้ ภาษาก็พูดผิดพูดถูกได้ด้วย เพราะท่านไม่ค่อยเก่งนิรุตติ ไม่ค่อยมีปฏิภาณ ความเฉลียวฉลาดไม่มาก แต่ท่านแม่นกิเลสของท่าน นี่มันมีความซับซ้อน ซ้อนอย่างนี้ ศึกษาดีๆนะ

คนที่จะเข้าใจธรรมะของ พระพุทธเจ้านี่ไม่ง่าย เราประกาศธรรมะของพระพุทธเจ้า อยู่ทุกวันนี้ ยิ่งทุกวันนี้ อาตมานี่ ปฏินิสสัคคะ ทวนกระแสกลับ ตีกลับมากขึ้นๆๆแล้วนี่ ยิ่งยาก ขนาดพวกเรานี่ อาตมา ต้องมาคอยอธิบายตาม เออ ค่อยบรรเทา ปัจเจกสัจจะบรรเทาพอได้ บางคน ก็ยังไม่บรรเทาเท่าไหร่ ฟังได้แต่ก็ยังไม่เชื่อสนิท บังคับไม่ได้ อันนี้อาตมาก็บังคับไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร อย่าเอาไว้นานนักก็แล้วกัน มันทุกข์นะ เพราะฉะนั้น ก็พยายามศึกษาไปเรื่อยๆ

คำว่าปฏินิสสัคคะ คำนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา อาตมาหยิบเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามา อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี สี่ตัว มาตั้งข้อสังเกตให้ฟัง ว่าทำไม ปฏินิสสัคคานุปัสสี จึงตามหลังนิโรธ เพราะมันสูงกว่านิโรธ ปฏินิสสัคคา มันสูงกว่านิโรธ ดับสนิทได้แล้ว จึงจะสลัดคืนได้ดี ถ้าดับไม่สนิท ยังไว้ใจไม่ได้ ดับไม่สนิทอย่าโลดโผน อย่าทำเป็นแอ๊ค เน่ามาเยอะแล้ว ถ้าดับไม่สนิท ดับสนิทให้แข็งแรง จนกระทั่ง มีปฏิภาณ มีปัญญา มีอะไรนั่น ถึงค่อยปฏินิสสัคคะ ค่อยสลัดคืนไปดี มันเชื่อมั่นในสิ่งที่เราได้สนิท ถ้าสนิทดีแข็งแรง ก็เป็นฐานอาศัย เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถที่จะ ตัวเองก็ไม่พลาดท่าเสียที ตัวเองก็สามารถช่วยผู้อื่นได้ แม้แต่ช่วยคนอื่นได้ก็ยังไม่ดี ก็ค่อยฝึกไป

ศาสนาของพระพุทธเจ้า จึงได้ประโยชน์ตน แล้วก็ต้องช่วยประโยชน์ผู้อื่นฝึกซ้อนๆ จะไปต่อว่า เราจะปฏิบัติตนให้ดีๆ ทั้งหมดเสียก่อน แล้วถึงจะมาช่วยผู้อื่น มีบางคนคิดอย่างนี้ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ๆ เพราะอะไร เพราะเหตุปัจจัย ที่เป็นจะเป็นโจทย์ให้แก่เรานั้น ไม่พอๆ เพราะฉะนั้น คนที่บอกว่า จะเอาประโยชน์ของตนเสียก่อน ก็เลยไปอยู่แต่ในภพของตัวเอง เลยกลายเป็น สุดโต่งไปฝั่งหนึ่ง การช่วยผู้อื่นนี่ เป็นการลดอัตตามานะในตัว เป็นการเรียนรู้ในภวตัณหา เพราะมันจะช่วยผู้อื่น ทำงานกับผู้อื่น ผู้อื่นก็จะติเตียนเราบ้าง เราช่วยเขา เขาจะติเตียนเรา ติเตียนแล้ว เราถือสาไหมล่ะ มีอัตตามานะไหมล่ะ อ่าน อ่านความจริงของของจริง ถ้าเผื่อว่าเราเอง ยิ่งไม่เกี่ยวข้องกับใคร มันยิ่งไม่มีโจทย์ ไม่มีประโยชน์พวกนี้ เมื่อไม่มีโจทย์ ไม่มีประโยชน์ คุณก็เสียเวลาช้านานไป นี่แหละ เป็นพวกธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ข้อหนึ่ง ที่บอกว่า ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า ธรรมนั้นวินัยนั้น ไม่ใช่ของเราตถาคต นี่มันจะโต่งไปในทางนั้น

ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ ในสมัยพระพุทธเจ้าที่โต่งสุด มีพระกัสสปะ ซึ่งไม่ค่อยจะสุงสิง แต่ท่านก็มี สุดท้าย ท่านก็มีสัมมาทิฐิ ต้องมีคณะ ต้องมีหมู่มีกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยวหรอก คณะหมู่กลุ่มท่าน ก็ยอมมาประสาน แต่ท่านมีจริตสร้างมาอย่างนั้น นานับชาติเลย พระกัสสปะออกถึงบอกว่า ขีดสุดก็ ถ้าใครเกินพระกัสสปะ ไปแล้วนะ พวกนี้นอกรีต ขีดสุดท้ายแค่พระกัสสปะนี่แหละ ถือตบะธรรมถึง ๑๓ ข้อ ยานที่สุดแล้ว สำหรับพระพุทธศาสนา ฟังให้ชัดๆ ตบะธรรมฤาษี ของพระกัสสปะนี่ รู้สึกว่าเป็นขีดที่ โอ้โฮ อยู่ป่าเป็นวัตร ป่าก็ไม่ใช่มีคนมากอย่างนี้ นี่ยานที่สุดแล้ว ก็จุดเคร่งที่จะขาด ถ้าเลยไปกว่านี้แล้ว ไม่ใช่พุทธแล้ว เพราะฉะนั้น ใครไปทำขนาดพระกัสสปะนี่ ล่อแหลมแล้ว

พระกัสสปะนี่ ได้ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เพราะว่า มีสัมมาทิฐิ ที่เอามาใช้ได้ ในเยื่อใยสุดท้ายเท่านั้น เพราะขีดฤาษีกับพุทธนี่ กัสสปะเป็นเขตที่เหลือ เอาพุทธไว้ได้ ถ้าเลยนั้นไปไม่ใช่ และคนที่จะมีอินทรีพละ อย่างพระกัสสปะนั้นน่ะ ที่สามารถเป็นฤาษีได้ขนาดนั้น แล้วเอาพุทธไว้ได้นี่ โอ้โฮ ยอดยาก ตามอย่างยาก ในสมัยของพระพุทธเจ้า ไม่มีคนอื่น เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์พระกัสสปะน้อยที่สุด ลูกศิษย์พระสารีบุตรมาก ลูกศิษย์พระอานนท์มาก ลูกศิษย์พระกัจจายนะมาก แม้แต่ลูกศิษย์พระโมคคัลลาก็ยังมาก ลูกศิษย์พระกัสสปะ น้อยกว่าเพื่อน เพราะท่านก็มีหมู่คณะของท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้น คุณไม่ต้อง สงสัยหรอก สุภัททะแก่ ไปด่าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ เพราะปัญญาไม่ค่อยสูง คนพวกนี้ ลูกศิษย์พระกัสสปะ ถึงตำหนิพระพุทธเจ้าได้ เพราะว่าปัญญาไม่สูง แล้วเป็นคนหลงภพ หลงภพอย่างฤาษี พระพุทธเจ้าตรัส...

ภาษาบอกว่า ภพพระกัสสปะนี่ มีธรรมะเท่ากับเรา ยกเท่ากับเรา ยกเท่าเทียมเรา นั่นเป็นคำที่ตรัส ให้คนอื่นๆวางใจนะ อย่าไปถือสาพระกัสสปะมาก ในยุคของท่าน เพราะยุคนั้นแล้ว ผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนาแล้ว เข้าใจพุทธแล้ว

จึงต้องพูดๆถ่วง รักษาพระกัสสปะเอาไว้ ถ้าไม่รักษาพระกัสสปะเอาไว้ ขีดเขตของคน ที่จะไปอดทน เป็นแบบฤาษีพวกนี้ ก็จะไม่เหลือ ขีดสุดก็คือพระกัสสปะ พระกัสสปะนี่ใช้เวลา บำเพ็ญธรรม นานมาก กว่าจะบรรลุธรรมะ เป็นผู้ที่บรรลุใช้ชาติในการปฏิบัติธรรม ได้เป็นฤาษีมานานมาก เนิ่นช้า ไม่ใช่อาตมารังเกียจ อาตมาชมเชยในความอดทน ในความกล้า ในลัทธิบำเพ็ญแบบ อัตตกิลมถานุโยค ของพระกัสสปะสูง อัตตกิลมถานุโยคสูง เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่เท่าเทียมพระพุทธเจ้า เท่าที่ยกในเรื่อง อัตตกิลมถานุโยค ไม่มีใครเท่า พระพุทธเจ้าตรัส ท่านยกกัสสปะเท่าเทียม ในด้านนี้ อดทน แต่ปัญญานั้น ไม่เหมือนกัน ปัญญาสามารถเอาพุทธธรรมไปได้ยาก สายพระกัสสปะ จึงบรรลุพระอรหันต์น้อย ๆ และใช้เวลายาวนาน สายพระสารีบุตร สายพระมหากัจจายนะ สายพวกนี้บรรลุเร็ว บรรลุได้ไว เพราะสัมมาทิฐิดี ทางโน้นพูดยาก เพราะหนักไปในทางฤาษี แต่ก็ต้องมีตัวอย่าง ถ้ายิ่งสมัยของพระพุทธเจ้า ต้องมีตัวอย่าง ไม่มีตัวอย่างไม่ได้ ต้องมีให้ครบหมดทุกอย่าง สมัยนี้ไม่ใช่ยุคแบบพระกัสสปะ เพราะว่า มันเป็นแบบฤาษีไปหนัก แต่คนหลงผิด ไปนิยมแบบนั้น มันก็เลยยิ่งห่างศาสนาพุทธ หลงผิด เพราะคนสมัยนี้ ไม่อดทน ก็เลยไปนิยมชมชื่นอย่างนั้น มันอดทน มันก็ดี ทำให้ความอดทนดีเหมือนกัน มันก็อุปการะในมุมหนึ่ง ในประเด็นหนึ่ง

อาตมาขยายไปจนกระทั่งอันนี้ ที่อาตมาพูดถึงนี่ อาตมารู้สึกว่า อธิบายยังไม่เก่งเท่าไหร่ แต่จะเอาไว้ วันหลังๆ จะอธิบายเพิ่มเติมในจุดนี้ให้ฟัง ที่พูดนี่ ไม่ได้หมายความว่า จะไปลบหลู่พระกัสสปะ จะไปลบหลู่ตบะธรรม ไม่ใช่ไปเช่นนั้น สมัยนี้ตบะธรรมใช่น้อย ใช่พิลึกพิลือ สมัยพระพุทธเจ้า ไม่มีความอดทนขนาดนั้น

ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปมุ่นถึงขนาดนั้น พยายามศึกษามรรคองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗ ของพระพุทธเจ้าให้ชัด แล้วปฏิบัติอยู่กับหมู่กลุ่ม มิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ไม่ต้องตะแบงออกไปข้างนอกเขต ให้มากนักหรอก ช้า ขอยืนยัน แต่มันห้ามไม่ได้หรอก คนที่มีจริต มีความชอบ เขาก็ไปแต่ไป เอาเถอะ ไม่ให้หลุด จากหมู่นี้ก็ดีแล้ว แต่ก็ไปอีกหลายชาติ ถ้าใครที่สามารถอยู่ในหมู่ได้แล้ว สามารถสมานอัตตา สมานัตตตา สามารถที่จะผสมผสาน ไอ้ที่มันสมานไม่ได้ ก็เพราะอัตตามานะ นี่แหละ เป็นตัวสำคัญ ในเรื่องกาม เราก็รู้ ถ้าสมานมาก จนกระทั่งเป็นกาม เดี๋ยวก็ติดเยิ้มกาม เข้าใจกันอยู่แล้ว พวกเรานี่ตาไว แม้แต่ฆราวาสด้วยกัน โอ้โฮ ไม่ได้ ซัดกันน่าดูเลย แต่อัตตามานะพวกเรา ยังไม่เก่ง ยังเรียนยังไม่ค่อยเก่ง ยังไม่ค่อยรู้ตัวนัก เพราะฉะนั้น มันจึงเกิดระหองระแหงกัน อยู่มากหน่อย ตรงนี้ กามเราก็ดู ไม่น่าเกียจเท่าไหร่ เพราะพวกเราคอยระแวงระวัง และก็รู้กันเร็ว แต่อัตตามานะนี่ยัง เพราะฉะนั้น ต้องมาพยายามเพ่งเพียร เรียนรู้อัตตามานะให้มาก แล้วลดละได้ สมานัตตตาของเราก็ดี จะประสาน กลมกลืนกันได้ เพราะเราลดตัวลดตน ยอมอนุโลมปฏิโลม รู้จักยืดหยุ่น ประสานกันได้ดี ถ้าดีเข้าไปเท่าไหร่ ถ้าอัตตามานะลด ปัญญาญาณ ที่จะไปเห็นกาม ละเอียดเพิ่มขึ้น รูปราคะ อรูปราคะ หรือกาม มันจะมีหลายระดับ ราคะหรือกามนี่ มันจะเข้าไปเห็น เพราะลดอัตตามานะ มันจะยาน มันจะละเอียด ซับซ้อน อุปการะกัน ลดกามก็จะไปเรียนอัตตามานะ ลดอัตตามานะก็จะไปเห็นกามละเอียด ลดกามละเอียด จะไปเห็นอัตตามานะละเอียด และก็ซับซ้อนกันไปอย่างนี้ จนกระทั่งหมดกาม เหลือแต่อัตตามานะ ก็ไปเรียนอัตตามานะ จนไปข้างเคียงเป็นอนาคามี ก็จะเหลือ รูปราคะ อรูปราคะ ซึ่งเป็นกามละเอียด ซึ่งไม่มีฤทธิ์มีเดช ออกมาทำงานข้างนอก หิริ โอตตัปปะมาก ทางกาย ทางวาจา จะไม่ทำแล้ว ไม่กล้า โอตตัปปะ เกรงกลัว ตรงความชั่วความบาป พวกนี้จะไม่ทำ เพราะฉะนั้น จะเหลือรูปราคะอรูปราคะ อยู่ในใจเราเท่านั้น เราก็จะต้องลด ละล้าง เรียนรู้ของเราเอง เพราะฉะนั้น อันนี้บางที ตัวเองหลงได้ว่า เราหมดกาม หมดกามราคะ จะต้องเรียนรู้ละเอียดลงไปอีก มันมีเชิงดีดดิ้นอยู่ กามในราคะ ในประเภทผูกพัน ติดยึดรสอร่อยทางเสพ ทางสัมผัสแตะต้อง และมีอะไรในเมถุนสังโยค ๗ อาตมาก็อธิบาย และ ต้องพยายามศึกษาเพิ่มเติม

เอาละวันนี้มาฆบูชา
ถาม วันมาฆบูชาพระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูปมาประชุมกับพระพุทธเจ้า และผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ไปไหนหมด

ก็ท่านไม่มี สิ่งที่ท่านจะต้องมี ญาณที่จะสำเนียก ที่จะต้องระลึกรู้ นี่ดูเหมือน ได้เคยอธิบายแล้วนะ พระอรหันต์ ที่มาประชุม ในวันมาฆบูชานี่ ได้สั่งสมมา รู้ทั้งกาลเทศะอันควร ว่าวาระใด เราควรจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ไม่ต้องอะไรหรอก สัญญาณแค่ว่า วันเพ็ญเดือน ๓ ถ้าคุณเป็นลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าหมด แล้วชาติหน้าๆๆ จนกระทั่งคุณรู้ อันนี้มันก็จะอยู่วิญญาณของคุณ เป็นวิบากจำได้ เป็นพระอรหันต์ โอ้ เราเป็น เอหิภิกขุ วันนี้สมควรไปแล้ว ไปพบพระพุทธเจ้า มันจะเกิดพรั่งพร้อม องค์ประกอบวันนั้น ของพระพุทธเจ้า มีบารมี ท่านจะมีพระอรหันต์กี่รูปละ ๑๒๕๐ รูป มีจริง ไม่ใช่ของปลอม มันก็จะครบครัน มันก็จะไป มันจะบริสุทธิ์อย่างนั้น คนที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ จะไม่มีภูมิ จะไม่มีความรู้สึก จะไม่มีความรำลึก ไม่มีองค์ประกอบของเหตุปัจจัย ที่เคยสั่งสมพวกนี้ หรือสั่งสมมาก็ยังไม่แน่นพอ ยังไม่แจ๋วพอ ยังไม่คมชัดพอ มันก็เบลอๆ มันก็ไม่รู้ตัวไม่รู้ แต่นี่ท่านรู้แล้ว ท่านชัดท่านคมแล้ว อันนี้เหตุปัจจัยนี่ ท่านมี ท่านก็สั่งการของท่านไป นี่พยายามอธิบาย อจินไตยนี้ ให้ฟังแล้วนะ

ถามว่า (ทำไม) พระอรหันต์ถึงไม่ชวนพระอนาคา พระสกิทา

ไม่ใช่เรื่อง ! เพราะวาระของพระพุทธเจ้า ต้องการสอนพระอรหันต์เท่านั้น และท่านก็เคยได้เรียน เหมือนคุณได้ฟังนี่ เพราะท่านฉลาดกว่าคุณ จึงไม่ถามอย่างคุณ ท่านจะตัดสิน ท่านจะรู้เลยว่า ในกาละนี้ ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับ พระสกิทา พระอนาคา ไม่เกี่ยว เกี่ยวกับพระอรหันต์เท่านั้น แต่พระอรหันต์แต่ละองค์ ก็ไม่ชวนกัน ทุกองค์ท่านมาไม่ชวนกัน ต่างคนต่างไม่ได้นัดหมายไว้ มาเองเลย ขนาดพระอรหันต์ ท่านยังไม่ชวนกัน ไปชวนพระสกิทามายังไง เห็นไหมว่า เหตุผลมันลงตัวทุกอย่าง ทุกรูปพร้อมใจ ใจของพระอรหันต์แต่ละองค์ ท่านพร้อมของท่าน นั่นมันก็มาลงพร้อมกันเลย ไม่มีการนัดหมาย ไม่มีการกำหนด ไม่มีการเป็น ทุกอย่างจะต้องเป็น พระพุทธเจ้ารู้องค์เดียว รู้องค์เดียวว่า จะเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าย่อมรู้ ส่วนพระอรหันต์องค์อื่น ท่านคิดว่าเอ้า ท่านก็มาหรือๆ แต่ท่านยังไม่ถึงขนาด ประหลาดใจ เพราะท่านได้ฟังเหมือนคุณได้ฟัง และท่านได้ฟังมามากกว่าคุณ ได้ฟังมากเที่ยวกว่าคุณได้ฟัง เชื่อไหม พระอรหันต์เป็นองค์ ๑๒๕๐ องค์นี่ จะไปประชุมพร้อมนี่ เป็นพระอรหันต์ที่ได้ฟังอย่างนี้ มานับเที่ยวไม่ถ้วน

สมัยนั้นไม่ใช่มีพระอรหันต์แค่นั้น มีมากกว่านั้น ?

ที่ถามเมื่อกี้นี้ ในสมัยนั้นไม่มีพระอรหันต์เพียงแค่ ๑๒๕๐ รูป ใช่ ! แล้วพระอรหันต์ที่มีบุญบารมี ที่จะได้ฟังธรรม มาฆบูชา ๑๒๕๐ รูป มีเฉพาะ ๑๒๕๐ รูปนี้เท่านั้น เพราะพวกนั้น บารมียังไม่ถึง ก็ไม่ได้ไป สั่งสมบุญนั้น ยังไม่ครบพร้อมอันนี้ มีเหตุปัจจัยไม่ครบ ก็ไม่ได้ไป อย่าว่าแต่สกิทา อนาคามีเลย ต้อง เอหิภิกขุด้วย ที่พระพุทธเจ้าบวชให้ เพราะเป็นองค์ที่ใกล้ชิดแล้ว เป็นคนที่มีบารมีถ้วนถึงแล้ว จึงจะได้อันนี้ ไม่ใช่เรื่องสมมุติ ไม่ใช่บังเอิญๆ

คิดไปเถอะคิดไปว่า โอ้โฮ ทำไมนะทีเราอยู่ดีกิ๊กก๊อก และมีพระอรหันต์ไปรุมล้อมอยู่ตั้ง ๑๒๕๐ องค์ ถึงวาระนั้น อย่างนั้น เอ๊ วันเพ็ญเดือนสว่าง โอ้โฮ จิตดีอย่างนี้ มันน่าจะมีองค์อื่นๆ ไปบ้างนะ ทำไมจะให้ สะอาดบริสุทธิ์บ้าง ไม่ได้หรือ คิดเอาไม่ค่อยมีเหตุผลเลย ไม่ค่อยสมเหตุผล เหตุผลอันนี้ มันเหนือเหตุผล เพราะอันนี้ มันคือสัจจะ ที่มันไม่เกี่ยวกับเหตุผล เพราะเหตุผลนี่ คือสิ่งที่ยังไม่ลงตัว ต้องมีเหตุ ต้องมีผล ที่จะต้องค้านแย้ง มันก็เลยคิดอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่นี่มันจบแล้วนี่ เหตุกับผล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว สมบูรณ์ สมดุลแล้ว ไม่มีความสงสัย เหมือนคุณสงสัยแล้ว มันเป็นเรื่องไม่ใช่จะคิดได้ ไม่ใช่ตรรกศาสตร์ ไม่ใช่ อตักกาวจรา ไม่ใช่เรื่องคิด แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเห็นแจ้ง

ที่ผมตอบคุณได้ ก็เพราะว่า เห็นแจ้งอันนั้นๆ และผมไม่สงสัย อย่างคุณสงสัย แต่ก็ตอบคุณอย่างนี้ พอปัจเจกสัจจะบรรเทาบ้างไหม พอมันเข้าไปในตัว พอบรรเทาความสงสัยนี่ได้ พอมีสัจจะ ขึ้นมาหน่อยบ้างน่ะ มันก็ได้ขนาดนี้นะ

เอาละอาตมาคิดว่า วันนี้ได้ใช้เวลาของวันมาฆบูชา คืนฟ้าเพ็ญของวัน มาฆบูชาวันนี้ เราก็ได้ฟัง สิ่งที่อาตมาคิดว่า ควรพูดหลายอย่าง เป็นอจินไตยหลายอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เจาะลึกลงไป ยังไม่เคยฟังวันนี้ ก็ได้พูดบ้าง หลายอย่าง ได้เจาะลึกไปในปรมัตถ์ โดยเฉพาะเจตนา จะเจาะลึกปรมัตถ์ ทบทวนด้วย และ เจาะลึกซ้อนลงไปด้วย

คนที่ติดตามฟังธรรมประจำไม่ขาด ได้รับข้อมูลในการศึกษาปริยัติก็ดี ก็จะเข้าใจได้สอดคล้อง เข้าใจได้ เพราะว่า มันมีพื้นฐานอะไร รองรับแล้ว มันก็จะได้ดี เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรม ขาดการฟังธรรม ความติดต่อ หรือความต่อเนื่องเป็นระดับ มันก็จะขาดไป เพราะการฟังธรรม มีอานิสงส์ ในการฟังธรรม ผู้ใส่ใจฟังธรรม ที่พูดนี่ ไม่ได้หมายความว่า เรียกร้องคนจะให้มาฟังธรรมมากๆ ไม่มากก็ไม่เป็นไร แต่สิ่งที่ควรจะให้คุณรับรู้ อาตมาก็เพียรเต็มที่ ที่จะให้คุณรับรู้ ส่วนคุณจะได้ คุณก็เอาไปปฏิบัติ ให้มันได้ซิ ให้มันเกิด ได้แล้วคุณก็สืบทอดพระพุทธศาสนา อยากให้ได้อรหันต์ไหม ไปถามคนโง่ๆก็ได้ ถ้าไปถามว่า อยากให้คนเป็นโจรไหม ก็เหมือนกัน เป็นมุมที่ตรงข้ามกันเท่านั้น อาตมาไม่อยากให้ใครเป็นโจร อยากให้เป็นอรหันต์ไหม ก็อยาก แต่จะไปอยาก โดยคนมันไม่เป็น อาตมาก็ทุกข์ อาตมาก็ไม่ทำ เพราะอาตมาเรียนแล้ว มีคำตอบอยู่บทหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า

ผู้หมดหวัง คือผู้ที่ข้ามชาติ ชรา ได้แล้ว ยังมี เดี๋ยวจะอ่านให้ฟัง แต่เตรียมมา ผู้หมดหวัง เพราะฉะนั้น อาตมาไม่หวังอะไรหรอก จะพูดโดยสมมุติ โดยโวหาร ว่าอยากมั้ยละ ไม่อยาก แล้วจะทำหาอะไร (ผู้ฟังหัวเราะ) แต่อยากอันนี้เป็น วิภวตัณหา เป็นตัณหาอุดมการณ์ บอกแล้ว ก็หมดหวังในตัวแล้ว ถึงอยากยังไง คุณไม่ได้ช่างหัวคุณปะไร คุณไม่ได้ก็สบายคุณ คุณไม่ได้ก็ไม่สบายคุณ แต่อาตมาอยากจะทำ อยากจะทำให้คุณนะ ผิดด้วยหรือครับ (ผู้ฟังหัวเราะ) ที่อยากทำให้คุณดีขึ้น ทำแล้วก็ไม่ได้คิดเบี้ยคิดบาท เอามานะค่าทำ เอามาห้าบาทสิบ เอามาร้อยหนึ่งพันหนึ่ง ไม่ได้เรียกคุณ นี่ทำฟรี จะทำซะอย่าง ทำฟรีด้วย

เอาละสำหรับวันนี้พอ


 

ถอดโดย ยงยุทธ ใจคุณ ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗
พิมพ์โดย ใจธรรม สิทธินาวิน ๘ สิงหาคม ๒๕๓๗
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ ๕ กันยายน ๒๕๓๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป