ชีวิตนี้มีปัญหา ตอน ๑

โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เนื่องในงานพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ของพุทธที่ ๑๔
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๓ ณ พุทธสถาน ศาลีอโศก


อาตมาได้เริ่มต้นเผยแพร่ธรรมะด้วยการตอบปัญหา เขียนหนังสือลงไปก็ เอาเป็นเรื่อง ตอบปัญหาเลย ทำเป็นส่วนไหนถามมา เราก็ตอบไป ถามมา ตอบไป เสร็จแล้วก็เลยรวมเล่ม เป็นหนังสือ ชีวิตนี้มีปัญหาขึ้น เป็น...เป็นหนังสือ จริงๆแล้ว นะ อาตมาไม่เคยมีบท... ข้อเขียน หนังสือที่อาตมาเคยเขียนนี่ ไม่เคยมีรวมพิมพ์เป็นเล่ม มามีรวมพิมพ์เป็นเล่ม เล่มแรกที่สุด คือ ชีวิตนี้ มีปัญหา อื่นๆใดๆ เขียนมันสารพัด เขียนนวนิยาย เขียนกลอน เขียนโคลง เขียนกวี เขียนบทความ เขียนสารคดี เขียนข่าว เขียนทั้งข่าวสังคม ข่าวอะไร เบื้องหลังข่าว ก็เขียน แต่ก่อนนี้ เขามีนะ เบื้องหลังข่าว มีข่าวดังๆ ยังงี้ ข่าวขึ้นหน้าหนังสือพิมพ์ฆ่ากันตาย หรือว่า มีเรื่องปล้น จี้ ที่ลึกลับ มีอะไรซับซ้อนนี่นะ พวกนักข่าวนี่ เข้าไปลุยหาเบื้องหลังกันนี่มาก แล้วก็คุ้ยมาเขียน เขียนเป็นสารคดี คนชอบอ่านนะ คนชอบอ่าน ลุยเบื้องหลังข่าวนี่ สมัยก่อนนี่ ทำอยู่ แต่ก่อน อาตมาก็ทำ ทำอยู่ค่ายไหน รู้ไหม กำพล วัชรพล หนังสือพิมพ์ ข่าวภาค เขาไม่รู้หรอกว่า อาตมาเคยอยู่ค่ายนั้น เพราะอาตมาไม่เคยไปประจำ อาตมาทำงาน...พิเศษน่ะ ทำพิเศษ แล้วก็ส่งเรื่องเข้าไป...ไปต่างหาก ส่งเรื่องไปแล้วก็... มีเพื่อนอยู่ในค่ายหนังสือพิมพ์ อยู่ใน... อยู่ในสำนักพิมพ์ อยู่แล้ว แต่อาตมาทำ แล้วก็ส่งให้เขาไปขาย ไปไอ้นั่น...ตัวเองไม่ได้... เขา... ไม่รู้จักด้วยซ้ำ

เพราะใช้นามปากกาตะพึด นามปากกาเขียนข่าว สังคมก็...ใช้นามปากกาว่า รุ้ง รังรักแน่ะ... เขียนข่าวสังคมนี่ เหมือนเดี๋ยวนี้ เขาข่าวสังคม... ข่าวอะไรต่ออะไรนี่ ยั่วเย้าคนนั้นคนนี้ อะไรต่ออะไรอย่างนี้ ใช้รุ้ง รังรัก...เขียนเบื้องหลังข่าว ใช้นามปากกาว่า มงคล พงษ์มงคล...เบื้อ หลังข่าว เขียนกวีใช้นามปากกาว่า สะไม จำปาแพง เขียนนวนิยาย เรื่องสั้น ก็ใช้อย่างหนึ่ง เรื่อง...แบบติดต่อเนื่อง ก็อย่างหนึ่ง... เขียนอะไรต่ออะไร อาตมาจนจำไม่ไหว เขียนเรื่องตลก ต้องนามปากกาอย่างหนึ่ง เขียนเรื่องรัก เรื่องหวาน ต้องอย่างหนึ่ง เขียนเรื่องสำนวนแบบ ไม้เมืองเดิม ก็นามปากกาอีกอย่าง หนึ่ง นามปากกา เป็นผู้หญิงด้วย เพียงเพ็ญ พีระพงษ์ เขียนเรื่องสำนวนเหมือน ไม้ เมืองเดิม โอ๊ะ สารพัดล่ะ อาตมาทำ นามปากกา จำไม่หวาดไม่ไหวเลย ไอ้ที่จำๆได้ ไปลงในหนังสือสัจจชีวิตนั่น ยังไม่หมดหรอกนะ ไม่ได้ครบหรอก เขียนอะไรต่ออะไร นามปากกา เป็นปัญหา เป็นคอลัมนิสต์ เป็นอะไรต่ออะไร อีกหลายอย่าง เปิดหน้าเป็น คอลัมนิสต์ ทายปัญหาบ้าง ทำอักษรไขว้บ้าง ทำไอ้โน่น ไอ้นี่บ้าง อะไร ทำอยู่หลายเยอะ แต่หัวแหลก หัวแตกหมดเลย ไม่มีอะไรมารวม พิมพ์เป็นเล่มได้สักอย่าง... หัวแหลก หัวแตกหมดน่ะ แล้วก็เลย ไม่ได้ความอะไรน่ะ นามปากกา ป.แอ๊คมั่ง ป. แอ็ก แป๊คน่ะ นามปากกา ป.แอ๊ค ก็มี อะไรก็มี โอ๊ะ อยู่ในหนังสือ ไอ้นั่นก็มี ตั้งหลายนี่นะ ชุมาลย์ มงคล, รัก พงษ์มงคล, โบราณ สนิมรัก, แหม มากมาย จำไม่หวาดไม่ไหว ขนาดจำนามปากกาของตัวเอง ยังไม่ได้นี่ คิดเอา ก็แล้วกัน ฯลฯ

อาตมาได้ตอบปัญหานี่แหละ ปัญหาตอนนั้น ได้ปฏิบัติธรรมแล้ว นามปากกา โพธิรักษ์ ตอบปัญหานี่ ตอบปัญหาธรรมะนี่ นามปากกาโพธิรักษ์ นามปากกา นายประตู นามปากกา กุญแจจี แล้วอะไร เอ้อ เยอะแยะ จำไม่หวาดไม่ไหว นี่ มัน ก็นึกขึ้นมาได้ เยอะแยะ น่า นายประตูนี่ ตอบจดหมาย หมายความว่า ใครผ่าน เข้ามานี่ ถาม มีจดหมายเข้ามาแล้ว นายประตู จะเป็นคนตอบ ตอบจดหมาย กุญแจจี ก็เก็บเอาเรื่องเพลงน่ะ ความรู้เรื่องทางเพลง แล้วมีอีก ความรู้ในทางเพลง ก็ใช้นามปากกาอีกหลายอย่าง

แล้วอาตมาเห็นว่า การตอบปัญหานี่ เป็นเรื่องเผยแพร่ และเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดสภาพที่ได้รับ... ได้รับการไขปัญหาถูกจุด ของคนที่ข้องใจ แล้วมันได้รับ ได้รับความศรัทธา ได้รับความศรัทธา แล้วก็เชื่อ ได้รับความเชื่อ เพราะว่า มันเข้าใจ ถ้ามันได้ตอบถูก ตอบ ตอบ ไขปัญหานั้น ได้ มันก็เชื่อใช่ไหม แล้วมันก็เกิดศรัทธา แล้วมันก็เกิดความสัมพันธ์ เกิดความสัมพันธ์ แล้วก็เกิด การพัฒนาเจริญ ที่เขาจะทำ อันนั้นต่อไปอีก ถ้าเขาข้อง เขาติดอยู่ตรงนั้น เขาก็ทำไม่ออก แต่ถ้าได้ไขปัญหาได้เปิดโลก เข้าใจขัดแจ้งขึ้น มันก็เจริญต่อ มันก็ทำต่อ เป็นความเจริญที่แท้จริง

เอ้า ค่อยเติมมา ตอบวันนี้ด้วย พรุ่งนี้ด้วย ว่างั้นนะ เหมาให้อาตมา ตอบทั้งวันนี้ พรุ่งนี้ น่าฟัง ไม่น่าฟังก็ตอบ ฟัง อาตมาก็ว่า ตอบมาหลายเที่ยวแล้วนะ ก็ว่าน่าฟังกันอยู่นะ ก็ฟังกันได้ดีอยู่ ก็ตอบกันไปน่ะ

เอาปัญหาแรก

ถาม ทำงานและ ตัดกิเลสไปด้วย ทำอย่างไรคะ

ตอบ โอ้โห ! อาตมาพาทำมาตลอดสาย ในเรื่องนี้นะ ทำงาน และตัดกิเลสไปด้วย ทำอย่างไร อาตมาจะตอบอย่างไร มันถึงจะเจ๋ง มันถึงจะแจ้ง เพราะว่า ตอบมาตลอดสายเลยนะ แหม ทำงานไปด้วย ตัดกิเลสไปด้วย ก็ให้รู้สิ ทำงานอะไรก็ทำสิ ควรจะทำ กายกรรม อย่างนี้ นี่กำลังยกกำปั้น นี่กำลัง จะตั๊นหน้าเขาแล้ว ก็รู้ตัวว่า นี่มันทำด้วยอะไร มันกำลังมีความโกรธ มันจะตั๊นหน้าเขา นี่ กายกรรมของคุณน่ะ จะชกเขาแล้ว จะตั๊นหน้าเขาแล้ว นี่ล่ะ กำลังจะทำงาน ชกหน้าเขานะ ยิ่งรีบๆทำงานอันนี้ไปนี่ ทำอันโน้น อันนี้ไป ใครเขาเข้ามา ก็กว่าจะว้ากเขาอย่างนี้ บอก นายกำลังจะทำอะไรล่ะ ทำงานก็ทำงานซิ เขามาบอกว่า ไอ้นี่ มันไม่ดี มันอะไร ก็ฟังเขา ให้รู้ว่า เมื่อเขามาทักมาท้วงก็ดี มาทำด้วยก็ดี มาพูดอย่างนั้นก็ดี มาแสดงกายกระทำร่วมก็ดี อะไรๆ ก็ตาม แล้ว เราก็ต้องสังเกต และอ่านว่า เขาอย่างนั้นน่ะ เพราะเหตุอะไร จะห้ามเขาดี หรือไม่ห้ามเขาดี อะไรก็ตามใจ ต่อ ทำงาน กับตัดกิเลสนี่แหละ เป็นการปฏิบัติ เป็นทฤษฎีหลัก ของพระพุทธเจ้าล่ะ จะคิด ก็คิดการงาน เรียกว่า มโนกรรม กรรมคือการงาน หรือกรรม คือการกระทำ จะพูด ก็กำลังทำงาน หรือกำลังกระทำ เรียกว่าวจีกรรม จะกระทำทุกอย่าง ทั้งประกอบไปด้วยทั้งคิด และพูด และทำก็ตาม นี่ อาตมากำลังมีทั้งมือไม้ทำกายกรรม มีทั้งปากพูด มีทั้งคิด มีทั้งตัว ทางมโนกรรม พร้อมทั้ง ๓ กรรม เลยนี่ นี่ กัมมันตะ ลงไปอยู่ ก็คือ การกระทำ หรือการงาน ทำประจำชีวิต เรียกว่าอาชีวะเป็นหลัก มรรคองค์ ๘ แล้วก็รู้ตัว ทั่วพร้อม รู้ต่อกรรมกิริยา กาย วาจา ใจ อย่างไรมันเป็นมิจฉา คิดอย่างไร มิจฉา ดำริออกไป ให้มีกามร่วม นี่ มีพยาบาทร่วมสังขาร มีการเบียดเบียนตน เบียดเบียนท่าน สังขาร หรือมีลักษณะของการโกหก นี่ ทางวาจา การส่อเสียด ส่อเสียด คือ เรื่องที่ไปพูดให้มันบาดหมางกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน เอาความข้างนี้ ไปบอกข้างโน้น แล้วเอาความข้างโน้น มาบอกข้างนี้ ให้เกลียดชังกัน ทะเลาะกัน ตีกัน อย่างนี้ เรียกว่า ส่อเสียด ทำให้เกิดเรื่องราววุ่นวาย ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่สมาน ไม่สามัคคี เรียกว่า ส่อเสียด คำที่ไม่น่าพูด มันหยาบ นะ มันหยาบ มันฟังแล้ว ก็มันเกิด จิตไม่ดีกันขึ้น หรือเกิดการ ไม่เจริญขึ้น เรียกว่า หยาบ คำพูดอย่างไร มีสิ่งเหล่านี้ออกมา ด้วยจิตอย่างไร เจตนาจะให้ ทะเลาะเบาะแว้งกัน เจตนาที่จะโกหก กลับคำ เท็จ เจตนาที่จะให้เกิดคำที่มันหยาบๆ แล้วมัน มันดี หยาบๆต่ำๆ แล้วมันสะใจดี อย่างคนโกรธๆนี้ ขี้มักจะชอบศัพท์หยาบๆ ด่าเขานี่ พูดหยาบๆ มันจะได้ต่ำๆ มันจะได้กดเขาต่ำๆ มันเป็นความสะใจดี อะไรยังงี้ ถ้าหยาบๆ มีอารมณ์โกรธ มีอารมณ์หลง อะไรพวกนี้ ประกอบด้วย เราก็พยายามตรวจ มันมาสังขาร มันมาปรุงร่วมในกรรม วจีกรรม ในการกระทำนี่ เป็นไปเพื่อฆ่า เป็นไปเพื่อทำร้าย เป็นไปเพื่อโทสะ เป็นไปเพื่อ โลภ โลภะ เรียกว่า ปาณาติบาต อทินนาทาน หรือเป็นไปเพราะราคะ การกระทำพวกนี้ พิจารณาจริงๆ พร้อมกับกรรม พร้อมกับการงาน อ่านใจ อาตมาเข้าใจนะ อาตมาก็เห็นใจเหมือนกันว่า มันยาก ที่เราจะทำไป พร้อมกัน แล้วก็มี จิตของเรานี่ ได้ฝึกฝน อ่านกายกรรม อ่านวจีกรรม อ่านมโนกรรม อ่านการ กระทบทางตา แล้วก็เกิดการชอบ เกิดการชัง เกิดโทสะ โมหะ นั่นเอง เกิดกาม เกิดพยาบาท ได้ยินเสียง ก็เกิดกาม เกิดพยาบาท เกิดโกรธก็ได้ ได้ยินเสียง เกิดรัก เกิดโลภก็ได้ เห็นด้วยตา เกิดรัก เกิดโลภก็ได้ เกิดชังก็ได้ ได้กลิ่น ได้กลิ่นมา เกิดรัก เกิดโลภก็ได้ เกิดชังก็ได้ ได้สัมผัสทางลิ้น เกิดชอบก็ได้ เกิดชังก็ได้ สัมผัสทางกาย ก็เหมือนกัน เราก็เรียนรู้ อาการที่มันเรียกว่า มันโลภ โกรธ หลง หรือว่า มีอาการที่มีกิเลสเข้าไปผสม ปรุงอยู่กับกรรมต่างๆ กับสภาพจริง เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรียกว่า สภาพจริง ตามสมมติ เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่นลิ้มรส สัมผัสทางกาย นั่นน่ะ ของจริง นี่ เสาก็คือเสา ยังงี้ๆๆ แหละ เสา แต่เสร็จแล้ว เห็นเสานี่ แหม ไอ้เสานี่ ขวางหูขวางตาจริง เอ ทำไม มีอะไรไปไปผสมให้มันขวางหู ขวางตาทำไม มันไม่รู้เรื่องเลยล่ะ เห็นคนนี้ แหม อยากสักป้าบ จังเลย มันเรื่องอะไรของคุณเล่า จะไปสักป้าบกับเขา บางที พึ่งเห็นอันนี้นะ มันทำกิริยาน่านัก อื้อๆ เอ๊ มันอะไรกันเล่า คุณไปเป็นอะไร อ่านอาการที่มันไปปรุงร่วม ก็เห็นเขา ก็คือเขา ก็หน้าอย่างนี้ ตาอย่างนี้ กิริยาของเขา ก็ของเขาอย่างนั้นแหละ แต่คุณเอง ไปสมมติเขาว่า ท่าทางอย่างนี้ ไม่ชอบเลย กิริยาอย่างนี้ ไม่ชอบเลย พูดอย่างนี้มั่ง แสดงกายกรรมอย่างนี้ มั่ง ไม่ชอบเลย ทำไมต้องชอบ หรือไม่ชอบ ก็เขาทำของเขา คุณไม่ชอบ คุณก็อย่าทำก็แล้วกัน คุณไม่ชอบ คุณก็อย่าทำน่ะ บางที ไอ้คุณที่ชอบๆนั่นแหละ ทำแล้ว คนอื่นเขาเห็น เขาก็อยากจะสักป้าบ กับคุณเอาเหมือนกันนั่นแหละ คุณก็ต้องตรวจดูตัวเองด้วย ดูมั่ง คนอื่นก็ไอ้อย่างงั้นๆแหละ มันอยากสักป้าบแล้วล่ะน่ะ คุณน่ะ ทำเป็นคนอื่น ขวางหู ขวางตาคุณ แต่ทีคุณมั่งล่ะ

นี่ อ่านกรรมกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนอก สัมผัสในนี่แหละ อ่านแล้วก็มีกิเลสอย่างไร พร้อมกับการงาน พร้อมกับกรรม พร้อมกับการกระทำใดๆ ทั้งหมด มันมีกิเลสเข้ามาปรุงร่วมนั่นน่ะ วิจัยให้ออก มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ออก ถ้ามันรู้ว่า นี่คือกิเลส นี่คือ ตัวผีร้าย มาทำให้เกิด กรรมที่มันไม่เข้าท่า อย่างนี้ กรรมไม่สุจริตแล้วนะ กรรมไม่ดีงาม ไม่เข้าท่าแล้ว นะ เปลี่ยน เปลี่ยนกิเลสนั่นแหละ ตัดกิเลสนั่นแหละ แล้วมันก็จะเกิดมาเป็นกรรมที่ดี นี้คือ การปฏิบัติธรรม หลักของพระพุทธเจ้า หลักของพระพุทธเจ้า อธิบายด้วยภาษาไทยๆ อย่างนี้ แล้วเราก็พูดกันมาตลอดเวลา และก็จะพูดอีก ตลอดไป พูดมาตั้งแต่ไหน แต่ไหน แล้วก็พูดอยู่ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็จะพูด เพราะว่าเป็นหลักสำคัญ หลัก หลักเดียว หลักทางเอก หลัก...ไม่มีหลักอื่น ที่จะลัดกว่านี้ ตรงกว่านี้ ไม่มี ไม่หลักอื่นลัดกว่านี้ ตรงกว่านี้ มันยาก ก็ต้องฝึก เรียนรู้ให้ได้

นี้คือ การทำงานไปด้วย ปฏิบัติธรรมไปด้วย เอ้า คิดว่า ได้ตอบไปแล้ว ฟังเอานะ คนถามมา อยู่หรือเปล่า ไม่เห็นหน้า คนถามนี่ เขียนชื่อมาด้วย น่ะ ชื่อ ว่าตู่ เป็นคนถาม กลับไปหรือยังไม่รู้

ถาม ขณะที่เราเข้มแข็ง มีปีติ ดูเหมือนเราจะสามารถทำได้ มีเครื่องหมายคำพูดเสียด้วยนะ ทำได้ ในขณะที่เราเข้มแข็ง มีปีติ ดูเหมือนเราจะสามารถ "ทำได้" ทุกอย่าง "ทนได้" ทุกอย่าง แน่ะ ทำได้ ทนได้น่ะ แต่... (But) เมื่ออ่อนแอ ไม่ว่าจากผัสสะ ภายนอกมากระทบ หรือเพราะอิตถีภาวะ ที่เรียกร้อง อยู่ภายใน อะไรๆ มันก็ดูยาก ลำบาก อุดมการณ์ทั้งหลายแหล่ ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ จนไม่แน่ใจว่า จะดำเนินชีวิต ในแนวทางเรียบง่าย สมถะต่อไปได้ แล้วจะมีวิธีแก้ไข จิตที่อ่อนแอเหล่านี้ ได้อย่างไรคะ

ตอบ ถามมาอย่างนี้ นี่ มีความรู้ ถามมาอย่างนี้ มีความรู้น่ะ แล้วตัวที่ถามมา คือตัวขี้เกียจ ตัวไม่เอาจริง ที่จริงนะ อาตมาว่านี่ พูดจริงๆ ก็พอรู้อยู่แล้วละ แต่ไม่อยากรู้ ถ้าขืนรู้ ประเดี๋ยว มันจะต้อง มาล้างความขี้เกียจของเรา มันจะต้องมาล้างความที่จะไม่อุตสาหะของเรา คำตอบคือ อุตสาหะเข้าไป ขยันทำเข้าไป ทำให้มากเข้าไป นี่ อาตมา อ่านดูภาษาสำนวนแล้ว รู้ก็รู้ แต่แม้ว่า จะไม่รู้จริง เดี๋ยวจะขยายความให้ถูกต้องลงไปอีกนิดหนึ่ง แต่อาตมาเชื่อว่ารู้ นี่ ถามอย่างนี้ รู้ เพราะว่า ภาษามันบอกมานี่ เหมือนจะทำได้ เหมือนจะทนได้ แต่เมื่ออ่อนแอ อ่อนแอ ทำไมล่ะ ต้องเข้มแข็งอยู่ซิ อดทนเข้าไปซิ รู้นะว่า ตัวเองอ่อนแอน่ะ หรืออิตถีภาวะ ที่เรียกร้องอยู่ภายใน อิตถีภาวะ คือความไม่สมบูรณ์ คือความไม่เต็มมนุษย์ มนุษย์คือปุริสภาวะ มนุษย์ที่เต็มความเป็นมนุษย์ คือ ปุริสภาวะ อิตถีภาวะ มีอยู่ได้ ทั้งในตัวผู้หญิงเอง ผู้หญิงเองนี่ ท่านถือว่า เป็นอิตถีภาวะ มาตั้งแต่อ้อนแต่ออกแล้ว เป็นคนที่ไม่เต็ม เอ้า ไม่ใช่ปุริสเต็มน่ะ ไม่ใช่มนุษย์เต็มเต็ม มนุษย์ไง ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องสมน้ำหน้าตัวเอง (ผู้ฟังหัวเราะ) มันต้องเกิด มาอย่างนี้ มันจริงแล้ว

เพราะฉะนั้น มาศึกษาศาสนาพุทธแล้ว เหมือนกับคล้ายๆ กับว่า แหม ลิดรอนสิทธิสตรีเพศ กด กดขี่ ข่มเหงทางเพศ เรียกว่าไม่ให้อิสรเสรีภาพ ไม่ให้สิทธิสตรี ให้เท่าเทียมกับบุรุษ ถ้ามาฟังศาสนาพุทธแล้ว จะรู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ ศาสนาพุทธหรอก อาตมาเคยยกตัวอย่าง แม้แต่ศาสนาคริสต์ เขาก็บอก พระเยซู ก็บอก ในตำนานของพระเจ้า ก็บอกว่า ผู้หญิงนี่ ปัดโธ่ เอ๋ย เกิดมาจากขี้โครง ซี่โครง ไม่ใช่ขี้โครงเหรอ (ผู้ฟังหัวเราะ) เกิดมาจากซี่โครง ของอาดัม แล้วก็ มาเป็นอีฟ หรือเป็นอีวา เอามา พระเจ้าถอดมาจาก สร้างอาดัมขึ้นมาก่อน พอสร้างอาดัมขึ้นมาแล้ว ก็ เอ๊ อาดัมนี่ มันไม่มีเพื่อนเว้ย แน่ะ พระเจ้านี่ พระเจ้านี่ เป็นยังไง จิตไม่รู้จักเอกบุรุษ เห็นคนที่จะเป็นคนที่พึ่งตนเองไม่ได้ยังไง ไม่เหมือนศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธนี่ ให้เป็นเอกบุรุษ พึ่งตนเองได้ อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ไม่ต้องวอแว ไม่ต้องออเซาะ ไม่ต้องแหม อยากจะออเซาะ แจ๋ แจ๊ด เลย นี่ คำถามของเขาเหมือนกัน ทำไม เพศหญิง มันถึงมีอยากจะแหม ใกล้ๆ เคียงๆ กระหนุง กระหนิง มียังงั้นยังงี้ เป็นที่พึ่ง ก็มันยังไม่เป็นเอกบุรุษ มันก็ไปหาที่พึ่งอันนั้น อันนี้อยู่อย่างนั้นแหละ ผู้หญิง เพศหญิง มันจะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น อาตมาถึงบอกว่า พระเจ้านี่ จะรู้สึกยังไง ถึงบอกว่า เอ๊ เห็นอาดัมไม่มีเพื่อน นี่ ไม่เชื่อมืออาดัม ไม่เชื่อว่า ผู้ชายนี่ ไม่ต้องง้อใครหรอกน่ะ วันแมนดวล น่ะ สบายมาก คนเดียวก็ได้น่ะ อยู่ในโลกนี้ อย่างไม่ต้องพึ่งใคร พึ่งตน เพราะฉะนั้น หลักธรรมของพระพุทธเจ้า จึงไม่เหมือนกันกับทางโน้น ไม่เหมือนกับศาสนาอื่น

ทีนี้ เมื่อท่านสร้างอาดัมมาแล้ว เห็นว่าอาดัมไม่มีเพื่อน เหงา ก็เลย คิดสร้างเพื่อนให้ ก็เลยสร้างเพื่อนขึ้นมา โดยเอากระดูกซี่โครงซี่เท่าไหร่ ไม่รู้ อาตมาจำไม่ได้ เขาบอกไว้เหมือนกัน ว่าซี่เท่าไหร่ ซี่เท่าไหร่ ไม่รู้ เอากระดูกซี่โครง ของอาดัมมา เสกเป็นอีฟ เป็นอีวา ให้เป็นเพื่อนของ อาดัมน่ะ นั่นก็แสดงว่า ไม่ยี่เจ้ยเลย ผู้หญิงนี่ เกิดมาจาก ส่วนหนึ่ง นิดเดียวของผู้ชายแท้ๆ เลย ไม่ใช่เป็นของตัวเองมาเองโดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ มาโดยรากฐานหรอก เป็น สิ่งที่อิงๆ แฝงๆ เป็นสิ่งที่ส่วนหนึ่งของ.. ผู้ชายเท่านั้นน่ะ

นี่ก็อธิบายประกอบน่ะ แล้วเขาเอง เขาศาสนาคริสต์แท้ๆ เขายังไม่ เข้าใจปรัชญาของศาสนาคริสต์ เองเลย คนตะวันตก ยังจะ แหม ดึงดัน จะสิทธิผู้หญิง จะต้องเท่าเทียม กิเลสทั้งนั้น โดยเฉพาะ ผู้หญิงเอง ผู้ชายที่ไม่รู้เรื่องด้วย ก็โง่ตามผู้หญิงเข้าไปด้วย ก็เลยไปกันใหญ่เลย เออ จริงด้วย มาช่วยรณรงค์ ให้สิทธิ ให้ผู้หญิงเท่าเทียม อาตมาเคยอ้าง ธรรมดาว่า ถ้าอยากจะให้ผู้หญิง เท่าเทียมกับผู้ชายได้ ไม่ยากหรอก น่ะ ไปทำตัวเอง ไปแก้ไขตัวเองก่อนให้เรียบร้อย ไปเอาท้อง มาไว้ที่ผู้ชาย ให้ผู้ชายนี่ท้อง แล้วผู้หญิง หรือไม่อย่างนั้น ก็ผลัดกันท้อง (ผู้ฟังหัวเราะ) จะได้เท่าเทียมกันไง นี่ก็เปล่า ให้อยู่อย่างนั้นล่ะ แบกท้องเบ้อเร่อ เบ้อร่าอยู่อย่างนั้นคนเดียว ผู้ชายเขาไม่ต้องไปแบกด้วยหรอก แค่นี้ มันก็ไม่เท่าเทียมอยู่แล้ว น่ะ จะเอาอะไรมาเท่าเทียม เนาะ ทำไอ้นี่ให้ได้ก่อน เถอะ ทำไม่ได้ น่ะ อย่างนี้ เป็นต้น

เพราะฉะนั้น อิตถีภาวะ มันก็อย่างนี้แหละ คือ ส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ นี่พูดมาก็รู้อยู่ว่า ไม่สมบูรณ์ของ ตัวเอง มีอิตถีภาวะ เรียกร้อง อยู่ภายใน นั่นแน่ะ นี่รู้เสียด้วยว่า มันเรียกร้องอยู่ภายใน

เพราะฉะนั้น ก็ต้องฆ่าอิตถีภาวะ นั่นแหละ มาเรียกร้องอะไร บิดหูมัน มาเรียกร้องเข้าไปทำไม เลิกเรียกร้อง เลิกออเซาะ เลิกออดอ้อน นี่ เอาให้จริงน่ะ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า มีกิเลสพวกนี้ มันกระซิบ มันเรียกร้องอยู่ มันก็เลยอ่อนแอ เหตุมันทุกข์อย่างนี้ อ่อนแอแล้ว ก็เลย อะไรมันก็ดูยาก อะไร มันก็ทนไม่ค่อยได้ ก็เกิดความท้อแท้ ทำอะไรก็จะทำไม่ได้ จะกล้าหาญ ชาญชัย อะไรล่ะ ประสพผลสำเร็จที่ไหนกันล่ะน่ะ ตอบเหมือนกำปั้นทุบดิน ก็คือ ต้องตรวจ จริงๆ ด้วย ตรวจกิเลส กิเลสนั่นแหละ พาให้เราไม่แข็งแรงสมบูรณ์ จะกล้าหาญ ชาญชัยอะไร ประสพผลสำเร็จ ที่ไหนกันล่ะ

ตอบเหมือนกำปั้นทุบดิน ก็คือ ต้องตรวจจริงๆด้วย ตรวจกิเลส กิเลสนี่แหละ พาให้เราไม่แข็งแรง สมบูรณ์ ผู้ที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นเอกบุรุษ หรือเป็นเอกภาวะ เป็นปุริสภาวะสมบูรณ์ เช่น พระอรหันต์ เป็นต้น ก็เพราะว่า ท่านเรียนรู้กิเลส ที่มันทำให้อ่อนแอ ทุกชนิด นี่กำปั้นทุบดินก่อน เพราะฉะนั้น เราเรียนรู้กิเลสนี่แหละ จะถามยังไง ก็ตอบกำปั้นทุบดิน ต้องอุตสาหะ วิริยะ ไม่มีทางเลือก ไม่มีทางเลือก เรียนรู้ตัดกิเลสเข้าไป และขอท้าทาย ให้พิสูจน์ได้ว่า เราจะเป็นคน ทนได้ ในสิ่งที่มนุษย์เขาทนไม่ได้ เราจะทำได้ในสิ่งที่มนุษย์เขาทำไม่ได้ เช่น อโศกเรานี่ ทำอะไรได้ สารพัด ที่คนไม่น่าเชื่อ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ นะ อาตมาขอบอก แต่เขาก็ยัง ไม่รู้อะไรกันข้างนอก ข้างในนี่ อาตมาหยิบให้พวกเราฟังอยู่บ่อยๆๆๆ จนพวกคุณจะเห็นว่า เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ธรรมดานะ เป็นเรื่องพิเศษ เป็นเรื่องที่ทำได้ ที่ไม่น่าเชื่อ มันทำได้ ได้ยังไงนี่ มา สัมนากัน คนเป็นพันๆ ๗ วัน คอยดูกันว่า วันมะรือนี้ จะงบดุลให้ฟัง ใช้เงินไปกี่ตังค์ เป็นไปได้ยังไงนี่ อย่างนี้ก็พิเศษแล้ว อย่างนี้ก็ประหลาดแล้ว แค่จะไปสัมมนานี่ หัว ละ ๑๕๐ บาท นะ ไม่มีข้าว ให้กินด้วย มีออร์เดิฟ มีกาแฟให้กินหน่อยนึง อะไร ต่างๆ พวกนี้ เขาใช้จ่ายอะไร มากมาย ทางด้านโน้น แล้วเขาก็ทำว่า เขาทำดีนะ เขาจะมีชีท มีไอ้โน่น ไอ้นี่แจก มีแฟ้ม มีอะไรต่ออะไรต่างๆ ต้องอย่างโน้นอย่างนี้ สถานที่ก็ต้องมีแอร์ สถานที่ก็ต้องมี ผู้รับใช้อะไร เป็นเรื่องของแบบ แบบของเขาล่ะนะ

อาตมาก็ว่า มันไม่มีความจำเป็นมากมายถึงขนาดนั้นหรอก เขาจะทำอย่างเรา ก็ได้ ตอบอันนี้ อีกทีหนึ่ง ต้องเรียนรู้กิเลสจริงๆ แล้วล้างกิเลสออก ถึงจะหมดอิตถีภาวะ ต้องอดทน ต้องไม่ขี้เกียจ อุตสาหะ วิริยะ ต้องพากเพียรจริงๆ อย่าพึ่งบ่นกลางทาง ยังไม่ถึงไหนเลย อย่าพึ่งบ่นน่ะ อย่างนี้แหละ ธรรมดา เหมือนกับเด็กงอแง นี่บ่นไปแล้ว เมื่อยแล้ว ไม่อยากแล้ว กลับบ้านเถอะ มันเด็กเหลือเกินน่ะ ยังไม่ทันไปถึงไหน เอาน่า ไปก่อนน่าลูก เดินต่อไปอีกหน่อยน่ะ เมื่อยแล้ว หิวแล้ว ปวดขี้ ปวดเยี่ยว อะไรไปตามตะพึดตะพือ หาเรื่องไปอย่างนั้นน่ะ มันเหมือนเด็กๆ น่ะ ไปเถอะ ไม่มีทางเถียงนะ แต่ต้องอย่างนี้แหละ งอแง งอแง ลึกๆรู้นี่ล่ะ เรียกว่า อ่อนแอ เรียกว่า ไม่พากเพียร ไม่อดทน ไม่เอาจริง เพราะฉะนั้น คำตอบก็คือ เอาจริง อดทน เรียนรู้ให้ชัด ทำลุย มัน ไม่ดีหรือยังไง ดี ลุยต่อไป ต่อไปน่ะ forword

ถาม อรูปฌานของพุทธ เป็นผล จะสังเกตได้อย่างไรว่า ได้อรูปฌาน ถ้าปฏิบัติธรรมแบบมรรคองค์ ๘ จะมีอาการอย่างไร ช่วงไหน

ตอบ แหม คำถามสั้นๆ แต่เป็นเรื่องของปรมัตถ์นะ อรูปฌานของพุทธนะ ฟังดีๆนะ อันนี้เป็น อรูปฌานของพุทธนะ มีสภาพว่าง เรียกว่า อากาสา ลักษณะจิต มันว่างจากกิเลส ว่างจากเหตุแห่งทุกข์ จะเป็นชั่วคราว หรือถาวรก็ตาม ยิ่งเป็นถาวรแล้ว ก็ยิ่งชัดนะ เราไม่มีกิเลส อยากสูบบุหรี่ ยกตัวอย่างน่ะ เราไม่มีกิเลส อาการที่จิตของเราก็จะว่าง ไม่มีกิเลส อาการกิเลสเป็นอย่างไร คุณต้องเรียนรู้ น่ะ คุณต้องเรียนรู้อาการของกิเลส ว่าเป็นอย่างไร อาการของกิเลส เป็นอยาก อยากสูบบุหรี่ แต่ก่อนนี้ มันมีอาการอย่างนี้ล่ะนะ มันเห็นบุหรี่ หรือว่าไม่ใช่เห็นล่ะ คิดถึงบุหรี่ มันก็มีอาการอยากนี่ขึ้นมา แต่เดี๋ยวนี้ มันว่าง อากาสา มันว่าง อากาสา สว่าง มันรู้ด้วยว่า มันว่าง สว่าง บอกแล้วว่า เป็นทางญาณ อากาสานี่ ถ้าแปลว่า ความสว่าง มันก็คือญาณ ถ้าแปลว่า ว่าง มันก็คือเจโต มันก็คือจิตที่มันว่าง จริงๆมันว่าง จากกิเลสนั่นน่ะ

เอ้า เรื่องผึ้งผู้ที่เห็น ก็ดูไม่ละเอียด เห็นไหมนี่ เห็นไหมนี่ เห็นไหม มันจะต้องอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะให้สมบูรณ์ เห็นไหมๆ เห็นไหมนี่ ได้ๆได้เหตุปัจจัย ที่จะเอามาอธิบายต่อด้วย เพราะฉะนั้น จะต้องเพ่งพินิจ ชัดเข้าไปอีก ชัดเข้าไปอีก จะบอกว่า เราว่างแล้ว อากาสาว่างแล้ว วิญญาณก็คือธาตุรู้ มันมีธาตุรู้อย่างเดียว วิญญาณคือธาตุรู้ ไม่มีกิเลสร่วมสังขาร ก็รู้ ธาตุรู้บอก อ๋อ ธาตุรู้ เป็นอย่างนี้ ความว่าง อากาสาเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็รู้ด้วยญาณปัญญา ก็คือ ความสว่าง โอ้ รู้แล้วว่า เป็นอย่างนี้ แล้วก็รู้ว่า วิญญาณ คือธาตุรู้ ธาตุรู้ หรือ วิญญาณ ก็คือตัวธาตุรู้ ที่มันฉลาดเฉลียวก็ได้ เมื่อมันได้ฝึกปรือ หรือ มันไม่ได้ทำ ความฉลาดแล้ว มันก็คือฉลาดน่ะ วิญญาณ คือ อย่างนี้ ความว่างคืออย่างนี้ อากาสา คือ ความว่าง วิญญาณ คือ ธาตุรู้ของเรา สะอาดจากกิเลสแล้ว ก็คืออย่างนี้ เป็นผลของการปฏิบัติมา จะชั่วคราว หรือถาวร ก็ตาม คุณอ่านจิตของคุณ อ่านวิญญาณของคุณออก แต่อย่าพึ่งมั่นใจ อย่าพึ่งไปตีขลุมว่า ว่างหมดแล้ว สะอาดหมดแล้ว อากิญจัญญายตนะ ต้องดูนะว่า มันมีอีกไหม นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง มีอีกไหม อากิญจัญญายตนะ ก็คือ ต้องตรวจ แม้นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้มี ทำออกให้จริง ถ้ามี รีบทำออกๆๆๆ ทำออก ล้างออก ให้ออกๆ ออกให้หมด แล้วออก แล้วออกหรือไม่ ออกจริงหรือไม่ เนวสัญญานาสัญญา ก็คือ การต้องให้รู้ รู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ไม่เอา ต้องให้รู้ อย่างชัดแจ้ง รู้ของจริง ตามความเป็นจริง ด้วยญาณ ญาณ มันจะมีประสิทธิภาพสูง ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ นี่คือ อรูปฌาน ๔ ของพุทธ เพราะฉะนั้น พ้นเนวสัญญานาสัญญา ก็คือ พ้นความจะว่า ไม่รู้ ก็ไม่ใช่ จะว่ารู้ก็ไม่เชิง ไม่ได้ รู้จริงๆ รู้ยิ่ง เห็นจริง รู้แจ้งแทงทะลุ อย่าไปแทงใครเขานะ แทงทะลุ เป็นสำนวน รู้แจ้งรอบถ้วน สมบูรณ์ครบ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น สัญญาเวทยิตตัง นิโรธัง นั่นน่ะ เป็นอย่างนั้น เรียกว่า เวทนา ที่อธิบายเมื่อเช้านี้ ก็ยิ่งดีใหญ่เลย แม้เป็นอทุกขสุขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา แล้วก็ไม่ไปหลงอยู่ที่อุเบกขาอยู่อย่างนั้น ไปแช่อยู่อย่างนั้น ไม่ได้ หรือ อย่าหลงว่า อุเบกขานั่นน่ะ มันเฉยจริงๆแล้ว มัน วางลงจริงๆแล้ว มันว่างจริงๆแล้ว แค่นั้นหรือ ต้องให้มันชัดลงไปอีก ต้องมีตัว ไอ้ในนี้ นี่นะ ในพระไตรปิฎกนี่ เขาแปลว่า เมื่อเช้านี้ แปลว่า เพ่งดู ใช่ไหม ๑ สูบ สูบไฟ ๒ พรมน้ำ ๓ เพ่งดู อาตมาว่า บาลีตัวนี้ คงไม่ใช่แปลว่า เพ่งนี่ ตัว เท่านี้ มันคงแปลว่า พินิจ ด้วย คือ ต้องพินิจ วินิจฉัย ต้องตรวจ ต้องอ่าน ต้องพินิจ ต้องดูให้ละเอียดลออ นั่นเอง พินิจ คือ ดูให้ละเอียดลออ ถ้าจะเอาแต่เพ่งเฉยๆ มันก็เพ่งเฉยอยู่ได้ อุเบกขาเพ่ง ไม่ใช่หรอก แค่นั้นไม่พอ คำว่าภาษาว่าเพ่ง ไอ้สูบไฟ หรือพรมน้ำ คงเข้าใจ ส่วนเพ่งดูเสมอๆ นี่ คงไม่เพ่งเท่านั้น ต้องพินิจ พินิจเสมอ พินิจแล้ว พินิจอีก พินิจแล้ว พินิจอีก ไม่รู้ ไม่รู้ อาตมาไม่ได้ดู ไม่ได้เอา ไม่ได้เอาจากพระบาลีนะ เลยไม่รู้ว่า คำว่า เพ่งเสมอๆ นี่ ใช้พระบาลีว่าตัวไหน จะเป็นตัวพินิจหรือเปล่า ไม่รู้สินะ เพราะฉะนั้น เลยไม่รู้ว่า ตัวเพ่งนี่ คือตัวอะไร เอาละ อาตมาคิด ว่า ไม่ผิดนะ ไม่ใช่เพ่งจ้องเฉยๆ ต้องพินิจ ต้องตรวจตรา ต้องดูให้ละเอียด ดูให้ละเอียดอีก ถ้าบอกว่า นี่อุเบกขาแล้ว อย่าพึ่ง อย่าพึ่งไว้ใจ พินิจต่อในอุเบกขา นั้น จริงหรือเปล่า ว่างจริงหรือเปล่า วางสนิทจริงหรือเปล่า ละเอียดลออ จบ ครบหรือยังต่างหากน่ะ นี่เรียกว่า เราใช้อรูปฌานพุทธเป็นผล มันเป็นผลที่สูงขึ้น เรื่อยๆเป็นผลแล้ว ผ่านรูปฌานมา ก็เป็นอรูปฌาน นี่ มันจะเป็นผล สังเกตได้อย่างไร ว่าได้อรูปฌาน ก็อย่างที่อาตมาว่า นี่แหละ โดยความหมายนี่ คุณอ่านสิ อ่าน สังเกตจากอาการที่อย่างที่ว่านี่ อาการกิเลสไม่มี อาการว่าง จากกิเลส เป็นยังไง แล้วตัวธาตุรู้ วิญญาณที่มันรู้ มันเป็นญาณ มันเป็นธาตุรู้ไม่ทุกข์ วิญญาณที่โปร่งว่าง สะอาด บริสุทธิ์ วางโล่งอยู่ โปร่งอยู่ ถ้าปฏิบัติแบบมรรคองค์ ๘ จะมีอาการอย่างไร นี่แหละมรรคองค์ ๘ ปฏิบัติแล้ว จะเกิดอาการอย่างนี้ มันอาจจะปฏิบัติอยู่ทำ งานทำการ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่ คุณก็จะต้องมีจิตที่แววไว ที่จะอ่าน และปรับมัน ปรับให้มันได้เร็วๆ ให้มันดัดได้ ปรับได้ ให้ขาดจากิเลสมาให้ได้ ช่วงไหน ก็ช่วงไหน ที่คุณรู้สึกว่า คุณดัดได้ ปรับได้ ทำได้ ก็ช่วงนั้นแหละ และก็รู้ เห็นจริงๆเลยว่า เออ มันได้ เป็นสภาพว่างนั่นแหละ ช่วงนั้นแหละ คือช่วงอรูป ฌาน ลืมตาอยู่ ทำงานอยู่ ทำอะไรอยู่นี่แหละ ซึ่งไม่ใช่อ่านง่าย นะ เกิดญาณทัสสนวิเศษ นี่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ง่าย บางคนทำได้ แต่อ่านของตัวเองไม่ออก อ่านไม่ทัน เมื่อไม่ทัน อาตมาก็เคยเตือนพวกเราเสมอว่า เวลาก่อนนอน ก่อนจะนอนก็นั่งสมาธิ หรือว่า นั่งเงียบๆ ทบทวนดูซิว่า ตั้งแต่เช้ามา เราทำอะไรบ้าง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม พบอะไร รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กับคนๆนั้น คนนี้ เรื่องราวอะไร เราได้เกิดกิเลสอะไรบ้าง แล้วเราได้จัดการ กับกิเลส ปฏิบัติธรรมไปตอนไหนบ้าง ได้ลดได้หรือไม่ได้ ตอนไหนบ้าง จิตเราได้โปร่ง ได้ว่าง จริงหรือไม่จริง ได้ผลจริง หรือไม่จริง อย่างไรบ้าง ทบทวน ก่อนนอน ทบทวน ทบทวน เหมือนกับลงบัญชี อาตมาเคยบอกเหมือนกับเราลงบัญชีของเรา เออ วันนี้ เรา แหม วันนี้ เจ๋งเลย เราเรื่องนี้เคย มันผ่านแล้ว วันนี้ผ่าน โอ้ อีก ๒ วัน ๓ วัน ผ่านอีกทีหนึ่ง แหม อันนี้ ตัดได้ ทำได้ ล้างได้ เอาชนะได้ ลงบัญชีไปเรื่อยๆ คุณจะไม่เลอะ คุณจะไม่หลงงมงาย คุณจะชัดจะเจน เหมือนคนรู้ว่า เราขาดทุน หรือกำไร เราจะเจริญขึ้น ร่ำรวยแค่ไหนๆ มีอริยทรัพย์ โอ้โห! อริยทรัพย์ สูงขึ้นๆ คุณก็จะรู้ความจริง ตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องหลง ไม่ต้องให้ใครมาสอบญาณ ไม่ต้องให้ใครมาบอกว่า นั่นแน่ะ เป็นโสดาแล้ว นั่นแน่ะ ญาณ ๘ แล้ว นี่ญาณ ๑๕ แล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้รู้เอง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ของตนด้วยตน รู้ แม้ในปัจจุบันก็ยิ่งดี ชานโต ปัสสโต รู้ในขณะนั้นเลย ละได้ ลดได้ ทำให้ กิเลสมันตายลงได้เดี๋ยวนี้ ก็รู้ชัดๆ เดี๋ยวนี้ ยิ่งทันการ เรียกว่าจับมั่น คั้นตาย อยู่หลัดๆเลย อันนี้แหละ ยิ่งเป็นตัวแท้ ไม่ใช่ไปนั่งระลึกเอา ซึ่งมันอาจจะจำไม่แม่นนัก แต่ตอนนี้ เห็นอยู่หลัดๆ คาหนังคาเขา จับได้คาหนังคาเขา กิเลสหมด อยู่ ปัจจุบันนี้หลัดๆนี่แหละ อันนี้ ยิ่งเป็นของจริง ตามความเป็นจริง ชัดน่ะ

ถาม ในคำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่รู้ก็ไม่ใช่นั้น กรุณาให้พ่อท่าน อธิบายซ้ำอีกหน่อยว่า รู้อะไร ไม่รู้อะไร เพราะฟังแล้ว เหมือนๆกับว่า คนเบลอๆ หรือคนสลบ งงงวย ฉะนั้น

ตอบ ใช่ ในฌานฤาษีนั่น คือคนเบลอๆ ในฌานฤาษี นั่งเข้าไปมันก็จะว่า สภาพรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ ใช่ คุณพูดนี่ คุณรู้สึกอย่างนั้น ถูกแล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนะของฤาษี คือคนเบลอๆ นั่ง นั่งอยู่ในภพเบลอๆ ไม่ค่อยรู้อะไรชัดหรอก เพราะว่า มันกดข่มให้มันเป็นอากิญจัญญายตนะ คือให้มันดับ ไม่ให้รับรู้ตัวอะไรเลย แต่มันก็จะต้องออกมาสู่ธาตุรู้ เพราะเรายังไม่หมดธาตุรู้ ยังไม่หมดวิญญาณ มันก็จะมารู้ มันจะตื่นนั่นเอง เสร็จแล้วเราก็ไม่ยอม ไม่ยอมให้มันตื่น ดิ่งเข้าไปอีก ก็เลยรู้มั่ง ไม่รู้มั่ง มันก็อยากออกมารู้ไม่ให้รู้ ไม่ให้รู้ ออกไป...มันก็สู้กันอยู่อย่างนี้ มันก็เลยเบลอๆ มันก็จะมารู้ แต่ไม่ให้มันรู้ มันก็เลยหรี่เข้าไปอีก มันจะรู้หรี่มันเข้าไปอีก จะไม่รู้... ก็เลยรู้นิดเดียว ก็ค่อยๆรู้เบลอๆ รู้ลำๆเลืองๆ ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก อย่างนั้นน่ะ ใช่ นั่นคือ ลักษณะของฌานฤาษี แต่ไม่ใช่สภาพ ที่มานั่งเข้า จะหลับๆหรี่ๆ ถีนมิทธะน่ะ มันต่างกันนะ เนวสัญญานาสัญญา นี่ มันอรูปฌานนะ มันผ่านชั้นฌานที่บริสุทธิ์ไปแล้วนะ แล้วมันก็รับรู้ ไม่รับรู้บ้าง อยู่นั้นน่ะ มันใส แต่มันก็ไม่ได้รู้อะไร ส่วนการเริ่มต้น คนที่ทำฌานไม่เป็น ไปนั่ง เข้าไป กับเขา ก็จะรู้อะไรก็ไม่รู้อะไร จะว่ารู้ก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้ รู้ไม่รู้ มันหรี่ๆ หลับๆ เบลอๆ ถีนมิทธะอย่างนี้ อันนี้ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ นะจ๊ะ อันนี้มีได้ง่าย มีได้ไว ได้ทั่วไปเลย อันนี้น่ะ ถีนมิทธะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ จงทราบให้สำคัญ ไม่เช่นนั้น จะไปตีเหมาเอาว่า ถีนมิทธะนี่ จะว่ารู้ ก็ไม่ใช่ เบลอ เบลอ เพ้อๆ เบลอๆ เพ้อๆอย่างนี้ เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยแล้ว ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่นะ ให้ชัดนะ ให้จริง นั่นของฤาษี แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะอย่างพุทธ อาตมาอธิบายไปแล้ว เมื่อกี้นี้ หยกๆ หลัดๆ น่ะว่า จะต้องรู้อันนั้นให้จริง เพราะฉะนั้น การเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น จะไม่อยู่ในอรูปฌานเท่านั้น ของพุทธไม่ใช่อยู่ในฌาน ไม่ได้อยู่ในอรูปฌาน พ้นด้วย สูงจากฌาน เป็นวิมุติด้วย เมื่อเราทราบว่า นี่คือกิเลส อย่างชัดแจ้ง นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี รู้ชัด เป็นญาณทัสสนวิเศษ รู้ครบ รู้แจ้ง แทงทะลุ รู้แจ้งแทงทะลุเป็น สัจจัง สัจฉิกัตวา ก็ได้ สัจฉิกรณะ น่ะ เป็นสัจฉิกรณะเลย เป็นการทำให้แจ้งได้แล้ว สัจฉิกรณะ นั่นแหละ เรียกว่า พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ สู่วิมุติ ไม่ใช่ฌานด้วย นั่นเป็นอรูปฌาน พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ สู่วิมุติ แม้จะเป็นวิมุติชั่วคราว วิมุติ ตทังควิมุติ วิมุติแต่ละช่วง แต่ละลักษณะ ก็ตาม แต่เป็นวิมุติที่ชัดเจนแล้ว รู้ด้วย ไม่ใช่จะรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ พ้นอันนั้นไปจริงๆน่ะ เอาละ งวดนี้ พุทธาภิเษกฯงวดนี้ รู้สึกว่าจะมีภูมิ ไม่ใช่เบานะนี่ น่ะ รู้ชัด ฌาน รู้ชัด อรูปฌาน รู้อะไรขึ้น แล้วอย่าไปติดอาวุธใส่มือ แล้วก็ได้แต่ภาษา เที่ยวได้ไปโขกกับคนอื่นเขา แล้วก็ชักศึกเข้าบ้านมาน่ะ ระวังจะใส่มิโด้ขังลืม มิโด้ไม่รู้จักมิโด้หรือ ...เขาเรียกมิโด้ข้อมือ ... พอใส่นี่ แล้วก็เอาไปขังน่ะ ขังลืม ทำเหมือนอย่างหนังจีน แล้วเขาก็จะเอาเหล็กแดงๆไปจิ้ม เผาไฟแล้วจิ้ม ลงโทษ สรุป อย่าไปชักศึกเข้าบ้าน อย่าเที่ยวไปทำอะไรที่มันไม่ได้อะไร รู้แล้ว ก็ทำให้จริง แล้วก็ไม่ต้องไปเบ่งไปข่ม ไม่ต้องไปโม้ ไม่ต้องไปโอ่ไปอวด ให้มันได้จริงเถอะ ได้จริงแล้ว ก็ไม่ต้องไปโม้ ไปโอ่ ไปอวดอะไรน่ะ นานๆ หรือไม่ได้นานหรอก เมื่อถึงเวลาควรพูดค่อยพูด อย่างอาตมานี่ ให้อาตมาไปพูดฌาน พูดอรูปฌานอะไร กับทางฝ่ายโน้นนี่นะ ยังๆ ยังไม่พูดกับเขา ขนาดพูดกับคุณ ตั้งใจฟัง เป็นคนที่ไม่ชอบที่จะขัดคออยู่ในตัว คือว่าง่าย สอนง่ายอยู่แล้วนะ ขนาดนี้ ยังยากที่จะรู้ขนาดนี้ ถ้ามันยังมีนิสัยอย่างชอบที่จะขัดคออยู่แล้วล่ะก็ แล้วพูดกัน จะไปได้เรื่องหรือ ยังจะโต้แย้ง ยังจะขัดคอ ยังจะหักล้าง ยังจะเพ่งโทษอะไรอยู่ ไม่ใช่ผู้ว่า นอนสอนง่าย ไม่ใช่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสนะ ยากส์ ...น่ะ ยาก เติมเอส มากตัวเลย ยากมาก เพราะฉะนั้น ขนาดพวกคุณนี่ ยังไม่ได้พูดบ่อยๆเลย นานๆถึง โอกาสวาระที ก็ค่อยพูดกันดีๆ ตั้งใจดีๆ นี่ได้ฤกษ์งามยามดี เราก็ว่ากันอย่างนี้ ตั้งใจฟัง ก็ได้รู้น่ะ มันไม่ใช่ว่า จะได้พูดพร่ำเพรื่อ ไปพูดเล่น...

ถาม เจโต กับ สมาธิ เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ?
สมถะ ... เป็นที่มาของเจโตหรือไม่ สมถะ กับสมาธิ ต่างกันตรงไหน ?

ตอบ คำถามน้อยเดียวแหละเนาะ คำถามมันดูน้อยเดียว เจโตกับสมาธิ เหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร เอ้า ตอบไปเป็นข้อๆ

เจโต คือ จิต สมาธินั้นคือ สภาพที่ปฏิบัติธรรมแล้วเกิดคุณ เกิดประโยชน์ เกิดการเจริญ เรียกว่าสมาธิ จริง มีความเจริญของจิตอยู่ด้วย เรียก ว่า อธิจิต เจริญจนกระทั่งได้มั่นคง ถาวร หรือ ตั้งมั่น เรียกว่าสมาธิ จะบอกว่าเจโต ก็ใช่ด้วย เพราะมันทำให้จิตนี่แหละ เป็นตัวตั้งมั่น จิตเป็นตัวละกิเลส ล้างกิเลสออก จะบอกว่า เจโตก็ใช่ด้วย เพราะมันทำให้จิตนี่แหละ เป็นตัวตั้งมั่น จิต เป็นตัวละกิเลส ล้างกิเลสออก โดยหลักของศีลด้วย โดยปัญญาด้วย เพราะฉะนั้น มีทั้งอธิของศีล อธิของจิต อธิของปัญญา เรียกว่าสมาธิ รวมอยู่ในนั้น เพราะฉะนั้น เจโต คือจิต รวมอยู่ด้วยในนั้น

เจโตกับสมาธิ เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร สมาธิคลุมมากกว่า เจโตก็คือส่วนหนึ่งของสมาธิ ที่ทำให้เป็นอธิเจโต หรืออธิจิตได้นะ พอแล้วนะ อันนี้ คำตอบอันนี้

สมถะเป็นที่มาของเจโตหรือไม่
ทำเจโต ให้เป็นสมถะ ไม่ใช่สมถะเป็นที่มาของเจโต ทำเจโตให้ มันสงบระงับ สมถะ คือความสงบระงับ ทำความสงบระงับ ทำจิตนี่ ให้มันได้ผลที่เรียกว่าสมถะ เพราะฉะนั้น จะมานั่งสะกดจิตให้มันสมถะชั่วคราว ก็คือ เจโตสมถะ อย่างที่คนอื่นเขาทำก็ได้ สะกดจิตไว้ ส่วนสมถะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นสมถะที่ ต้องเกิดที่เจโตนี่แหละ ที่จิตนี่แหละ ให้เจโตมันสงบลงไป สงบด้วยวิธีของพระพุทธเจ้า ไม่ต้องขยายความว่า ของพระพุทธเจ้า หรือ ของสมาธิของลัทธิอื่น ถาวรหรือไม่ถาวร ก็เข้าใจกันแล้วนะ เพราะฉะนั้น อันนี้ตอบปัญหาข้อสมถะ เป็นที่มาของเจโตหรือไม่เท่านั้น

ถาม สมถะ กับ สมาธิ ต่างกันตรงไหน ?
ตอบ โอ ... นี่พยายาม หยิบภาษาพวกนี้มาถามหมด สมถะ คือ ความสงบ, สมาธิ ก็มีความสงบ เป็นที่หมาย สงบจากกิเลส นั่นแหละเป็นที่หมายน่ะ เพราะฉะนั้น จิตสมถะ จิตที่มันสงบจากกิเลส ก็คือตัวผลของสมาธิ จิตที่มันสงบ ก็คือคำว่าสมถะ สงบจากกิเลสนี่นะ ถ้าอย่างทางด้านฤาษี เขาก็เรียกว่าสมถะชั่วคราว สมถะที่มันไม่ละเอียดลออ เหมือนของพุทธ พูดไปมันก็เหมือนข่มเขา ละนะ แต่ก็เถอะ ก็ฟังเอาก็แล้วกัน เพราะฉะนั้น เมื่อทำเจโตให้สมถะได้ โดยวิธีฤาษี ก็คือ ทำสมาธิฤาษี ทำให้เจโต มันสงบลงได้ ด้วยวิธีของพุทธ ก็เป็นสมาธิของพุทธน่ะ เพราะฉะนั้น สมถะคือ สภาพเป็นคำเรียกของผลของสมาธิด้วยน่ะ ผลของสมาธิด้วย

ถาม อยากเป็นคนว่าง่าย แต่กับบางคนก็ว่ายาก ทำอย่างไร ถึงจะแก้ได้คะ

ตอบ อยากเป็นคนว่าง่าย แต่กับบางคนน่ะว่ายากว่ายังงั้นนะ ทำอย่างไร ถึงจะแก้ได้คะ ก็อย่าไปทำ กับแต่บางคนซี ว่าง่ายกับแต่บางคนก็ดีแล้ว คนที่เรายังไม่ว่าง่าย กับคนที่เรายังไม่ยอมน่ะ แต่กับบางคน ว่ายากนี่ ก็พยายามแก้ กับคนที่เราว่ายากนั่นแหละ จะทำยังไง ก็ทำอย่างนี้ล่ะ รู้อยู่นะนี่ จะทำยังไง ก็แก้ไขสิ แก้ไขตามข้อที่ว่าไป ก็พยายามปรับตัวเอง ทำไมจะต้องเป็นคนว่า ยากล่ะ เป็นคนว่ายากน่ะ มันดีนักหรือ เอ๊ ตอบได้ เหมือนกันนะ ฉลาด ผู้ไม่รู้ก็คือ ไม่ฉลาด ฉลาดซะ แล้วทำ ก็ป็นผู้ว่าง่ายซีนะ อย่าเป็นผู้ว่ายาก เพราะฉะนั้น เราว่ายากกับใครล่ะ บางคน คนไหนล่ะ เราว่า... ต้องไปว่ายาก เขาว่ายาก เราไปเป็นคนว่ายากกับเขาอยู่อย่างนั้น แล้วมันดี อะไรล่ะ เป็นคนว่ายากกับใคร มันก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละ ไม่ว่ากับเด็ก เด็กบอกเราเตือนเรา ทั้งๆที่เราผิด ก็ยังว่ายาก ทำเป็นคนดื้อดึงอยู่อย่างนั้นแหละ ดื้อรั้นอยู่อย่างนั้นแหละ ทำไมล่ะ มันไม่ดี นี่ อย่าเป็นคนว่ายากน่ะ อาตมาก็ตอบกำปั้นทุบดิน อย่างนั้นล่ะนะ

ถาม ถ้าบังเอิญโลกนี้ ถูกระเบิดนิวเคลียร์ แตกสลายหมด คนที่ยังมีบาปกรรม หรือคนที่ยัง ไม่หมดเวรกรรมนี่ เขาจะเกิดมาชดใช้กรรม ในชาติต่อๆไป เขาจะเกิดได้อย่างไรคะ

(อ่านต่อหน้า ๒)

FILE:0639A.TAP / ชีวิตนี้มีปัญหา / ตอน ๑ หน้า ๑