สมาธิ และสัมมาสมาธิ ตอนที่ ๑

โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๓
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๑๔ ณ พุทธสถาน ศาลีอโศก


วันนี้เรามาศึกษากันเรื่อง สมาธิ และสัมมาสมาธิ

ที่ให้ชื่อว่าสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น มันรวมไว้หมด อานาปานสติภาวนา ก็จะอยู่ในนี้ แล้วก็เรื่องสมาธิ ที่เราจะทำอย่างอานาปานสติก็ดี เราก็จะพึงเรียนรู้ ฝึกฝนกันจริงๆ ในเรื่องของสัมมาสมาธิ ก็จะอธิบายประกอบ ความจริงเราก็เรียนสัมมาสมาธิ กันมาตลอด ส่วนสมาธิที่เราจะมา นั่ง... ที่เราเรียกว่า เจโตสมถะ จะทำอย่างสมาธิ... ส่วนทั้งหลายทั้งแหล่ ส่วนกว้างที่คนทั่วไปเขาเรียนกัน พอบอกว่าสมาธิ เขาเรียกภาษาอังกฤษกันว่า Meditation สมาธินี่ Meditation แล้วก็เวลาก็จะทำ ก็จะต้องเข้าไปอยู่ในภวังค์ นั่งหลับตา แล้วก็ไปอยู่ในภวังค์ เมื่อสติตื่นเต็ม ตัดทวารทั้ง ๕ ไม่รับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีแต่ความรับรู้ อยู่ภายในเท่านั้น เราเรียกว่าอยู่ในภวังค์ เขาก็ถือว่าอย่างนั้นแหละ เป็นสภาพที่ เข้าไปสู่ฌาน แล้วก็มีองค์ประกอบ ที่เป็นเงื่อนไขอยู่บ้างว่า ในขณะที่เข้าไปอยู่ในภวังค์นั้น จิตใจก็จะต้องเป็นหนึ่ง เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ โดยไม่ไปคิดถึงกาม ไม่ไปคิดถึงพยาบาท ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เซื่อมซึมอะไร เป็นสติเต็มอยู่ข้างใน แล้วก็จิตใจไม่ฟุ้งซ่านไปในเรื่องหลายเรื่อง ต้องมีเรื่องเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อยู่ในเรื่องเดียว ในสภาพที่อยู่ในภวังค์ นั่นแหละ เห็นอย่างชัดเจน ไม่สงสัย ไม่มีความรำคาญใจ ไม่มีความทุกข์ใจอะไร มีอารมณ์ที่อยู่ในสภาพที่สบาย แล้วก็อยู่ในสภาพอย่างนั้นแหละ นั่งอยู่ในภวังค์ ข้างนอกจะเป็นอย่างไรไม่รู้เรื่อง สบาย เราคิดนึกอะไรส่วนหนึ่งของเราอยู่ในนั้น ซึ่งมีเงื่อนไข ประกอบแล้วว่า อย่าให้เป็นกาม อย่าให้มีความนึกคิดไปทางกาม ทางพยาบาท และ อารมณ์ของจิต ก็ยังไม่ฟุ้งซ่าน กระเด็นกระดอนอะไร อยู่ในเรื่องที่รับรู้ อยู่ในภาวะอย่างนั้น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เซื่องซึม สติเต็ม...

คำว่าวิจิกิจฉานั่น เขาก็แปลกันไปหลายอย่างหลายนัย เขาแปลตั้งแต่ว่า ไม่คิดวิจิกิจฉา ไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไปโน่น... อธิบายกันว่า ไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็ไม่สงสัยที่จริงน่ะ ไม่สงสัยคำนี้ วิจิกิจฉา คำนี้ เป็นเงื่อนไขของความเป็นฌานหนึ่งๆ นี่...มี ๕ มีกาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ แล้วก็วิจิกิจฉา คำว่าวิจิกิจฉา ไม่สงสัยนี่ คือเราจะต้องรู้นั่นเอง รู้อย่างชัดเจนนั่นเอง ไม่สงสัย รู้เห็น รู้แจ้ง เข้าใจ แล้วก็เป็นการรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไม่มีข้อเถียง ข้อโต้ คำว่าวิจิกิจฉานี่ มันรู้เห็นอะไร รู้เห็นของจริง ตามความเป็นจริง เรารู้ว่ากามคืออะไร อาการของกามคืออะไร อาการของพยาบาทคืออะไร เรียกว่า รูปนาม ที่เราเรียนกันมาแล้ว เรียนกันมาแบบสัมมาสมาธิ... เราเรียนรู้จิต เจตสิก รู้อารมณ์ของจิต กามมันมีอยู่ในอารมณ์ของจิตไหม พยาบาทมันอยู่ในอารมณ์ของจิตไหม ลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า ถีนมิทธะ ง่วงเซื่องซึม กระด้างอะไรอยู่ แล้วแต่ ที่เราเห็น...อธิบายกันมามาก ว่าอาการมันไม่โปร่ง ไม่ใส จนกระทั่ง อุทธัจจกุกกุจจะ มันมีความฟุ้งซ่าน มันมีความรำคาญใจ มันมีความคิดนึก ที่มันไม่เป็นหนึ่งเดียว ไม่เป็นเรื่องที่เป็นสารัตถะอะไร ที่เราต้องการอยู่อย่างนั้น เราจะต้องรู้สิ่งเหล่านี้แหละ ด้วยความเป็นจริง อย่างชัดเจน ไม่ข้องใจ ไม่สงสัย ว่านี่คือสภาพฌาน นี่คือสภาพที่ไม่มีนิวรณ์ คือสภาพของ การปราศจากนิวรณ์ เป็นสภาพฌานแท้ๆ ที่เราเรียนกันมาแล้ว ด้วยสัมมาสมาธินั้นน่ะ จะหลับตา หรือไม่หลับตา จะเห็นรูป แต่ไม่มีสภาพของนิวรณ์เหล่านี้ จะได้ยินเสียง จะได้กลิ่น ดีไม่ดี ได้กลิ่นตุ๊ยตุ่ย อยู่ในจมูกเสียด้วยซ้ำ เราก็ไม่มีใจอาฆาตพยาบาทอะไร ไม่มีความโกรธความเคืองอะไร แม้จะเป็นกลิ่นนั้น ไม่ใช่ของเรา ของคนอื่นทำมาให้ดมก็ตาม ก็เฉยๆ จิตใจไม่โกรธไม่เคือง ไม่ได้ถือสาอะไร ก็ถือเป็นธรรมดา ธรรมชาติอะไรอย่างนี้ เป็นต้น จิตไม่มีความไม่สบายใจ จิตไม่มีสภาพที่เรียกว่า เป็นกาม เป็นราคะ ไม่ชอบ ไม่ชัง จิตใจก็ไม่ได้ง่วงงุน เบิกบาน ร่าเริง ไม่ได้ซึมเซา ไม่ได้หดหู่ อะไรเลย ถีนมิทธะไม่มี ไม่ฟุ้งซ่านอะไร อยู่ในเรื่องที่เรากำลังคิดอะไร ที่มันเป็นการสร้างสรร เป็นสังกัปปะ เป็นการดำรินึกคิด ที่ไม่มีมิจฉา ไม่เป็นกาม ไม่เป็นพยาบาท ไม่ได้เบียดเบียนตน ไม่ได้เบียดเบียนท่านอะไร หรือแม้แต่พูดอยู่ด้วยซ้ำ ก็เป็นสัมมาวาจา จะทำการงานอะไรอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่เป็นไปเพื่อปาณาติบาต ไม่เป็นไปเพื่ออทินนาทาน ไม่เป็นไปเพื่อกาเมสุมิจฉาจารอะไร กำลังประกอบการงานอาชีพอยู่อย่างดี ในองค์ประกอบ ของการงานอาชีพ บางทีนี่ พ้นมิจฉาชีพทั้ง ๕ เสียด้วยซ้ำ ในขณะนั้นนะ บางคนมีอาชีพ พ้นมิจฉาชีพ ๕ อย่างถาวร บางคนชั่วครั้งชั่วคราว ก็ตาม... ในขณะนั้น เป็นฌานแน่ๆเลย แล้วฌานอย่างสูงส่งด้วย เป็นสัมมาสมาธิอย่างดีเลย อย่างนี้ เราก็เรียนกันมาแล้ว แต่ในฌาน ในสมาธิทั่วๆไป ที่นั่งเข้าไปอยู่ในภวังค์นี่ เขาก็อธิบายวิจิกิจฉา กันไปนานาสารพัด อย่างที่ว่า ของเรานี่ วิจิกิจฉา คือไม่ได้สงสัยเลยว่า ลักษณะฌานคืออย่างนี้ จะลืมตาก็ตาม หลับตาก็ได้ นี่ก็คือวิจิกิจฉา ที่ไม่วิจิกิจฉา เรื่องของที่รู้ ที่เห็นนั่นแหละ ตามความเป็นจริง เป็นญาณทัสสนะ ไม่สงสัย ในญาณทัสสนะของเรา ในขณะนั้น เรารู้ เราเห็น เราแจ้ง อย่างไม่วิจิกิจฉา อย่างไม่สงสัยลังเล มีเป้าหมายของความไม่วิจิกิจฉา

บางที เขาก็เอาวิจิกิจฉานี่ ไปอธิบายอย่างที่ว่า ไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันนี้ที่จริง เขาอธิบายอยู่ในสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ซึ่งพระโสดาบัน จะต้องพ้นสักกายะทิฏฐิ พ้นสีลลัพพตปรามาส พ้นวิจิกิจฉานี่ ตัว แล้วเขาบอกไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่จริงแล้วถูกนะ พระพุทธคืออะไร พระธรรมคืออะไร พระสงฆ์คืออะไร เราขณะนั้นกำลังเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยก็มีสภาพ โสดาคุณ โสดาปัน เป็นโสดาบันชั่วคราว ในคราวนั้นในขณะนั้น จิตเจตสิกของเรานี่ เป็นจิตที่ ปราศจากกิเลส ในช่วงนั้น อย่างรู้ อย่างเห็น อย่างแจ้งเลย ไม่สงสัย พ้นวิจิกิจฉา การปฏิบัติไม่ใช่ว่า เราเรียนรู้โดยจารีตประเพณี รูปแบบเฉยๆ แต่เราได้ทำจิตของเราสู่วิปัสสนา จิตสู่วิปัสสนาก็คือ จิตที่รู้เห็น รู้แจ้ง วิปัสสนา แปลว่าเห็น เช่น เขาบอกว่า ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา อาตมาก็งงๆอยู่เหมือนกัน ความหมายของคนอื่น เขาว่ายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา อาตมาไม่รู้ว่า เขายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร เขาเอาจิตนี่ เอาอะไรมายก แล้วยกกันยังไง... มีเครื่องยกยังไง เอาอะไรยก ยกขึ้นไปยังไง...

ที่จริง ถ้าเราปฏิบัติถูก เราไม่ต้องยก ไม่ต้องปลงอะไรมันหรอก จิตของเรานี่ สภาพที่มันเข้าสู่ สภาพวิปัสสนาฌาณ หรือเข้าสู่สภาพวิปัสสนา ก็คือเห็น มีญาณ ก็คือตัวเห็น ตัวรู้นั่นแหละ ญาณนั่นแหละ ตัวรู้ ตัวเห็น เห็นจริงๆเลยว่า เราทำจิตของเราให้ปราศจากกิเลส ปราศจากกาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อย่างไม่สงสัย คือมันพ้นวิจิกิจฉาจริงๆ มันไม่ได้สงสัย มันเห็นอยู่รู้อยู่ เป็นปัจจุบันนั่นเทียว เราทำได้ไหม ... ได้ขณะนี้เป็นฌาน จิตเราเป็นฌาน ฌานนี่เป็นอุตริมนุสธรรม เป็นความเหนือมนุษย์ธรรมดา ที่จะทำได้ เป็นคุณวิเศษของมนุษย์ที่ไม่ใช่ว่า จะทำได้ง่ายๆ ทำด้วยเจตนา ทำด้วยความมุ่งมาดปรารถนา ได้ทำอยู่ตลอดเวลา ได้เท่าใด ก็คือ ฌาน ได้มากครั้งมากขณะเท่านั้นๆ ทำให้แก่ตนจริงๆ ถูกกระทบสัมผัส ต่อจากตาหูจมูกลิ้นกายใจ เห็นลาภยศสรรเสริญโลกียสุขอยู่ เราก็ทำของเราอยู่ ตลอดเวลาเลย ไม่ให้จิตของเรา มีโลภโกรธหลง ไม่ให้มีกาม ไม่ให้มีพยาบาทนั่นเอง อย่างรู้ๆ ไม่ได้หดหู่ ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้ดีใจ ไม่ได้ฟุ่งซ่าน มีความนึกคิดที่อยู่ในกรอบ มีความแจ่มใส มีความเบิกบานร่าเริง มีความรู้อยู่ ว่าจิตนี่ เราได้ธรรม เราได้ปฏิบัติ เราได้อบรมตน เราได้ประพฤติ เราได้สั่งสมตลอดเวลา สั่งสมให้ได้บ่อยครั้งทึ่สุด ทำอยู่อย่างนี้ เราเรียกว่า เราสั่งสมฌาน สั่งสมวิมุติ เราทำสมาธิแบบลืมตา

ทีนี้ แบบหลับตานี่... เขาก็ให้มันมีชั่วคราวนั่นแหละ ให้มันอยู่ในภวังค์นั่นแหละ เราจะหมายเอา ในขณะที่ภวังค์ นั่งหลับตา แล้วก็อยู่อย่างนั้น ให้มันเป็นได้จริงๆ เราจะทำให้มันเป็นได้จริงๆ... ลืมตา มันก็ชนิดหนึ่ง ที่เราทำ ก็คงจะชำนาญอย่างลืมตากันน่ะ พวกเราทำนี่ จะทำได้ง่าย ได้ไม่ง่ายอะไรแค่ไหน พวกคุณก็รู้ตัวเองว่า มันไม่ง่ายนักนะ แต่มันก็ดูว่า เอ๊ะ ในขณะนี้นี่ เราก็ทวนอาการของใจของเรา อารมณ์ของใจของเรา มันมีกามหรือเปล่า แม้ขณะ นี้... มันมีไหน อาการของกาม อาการของความรื่นรมย์ อาการของความเสพย์กาม รื่นรมย์ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ขณะนี้... อากาศมันร้อน แหม ลมแผ่วพัดมานี่ มันเย็น สบายดีเหลือเกินนะ นี่ก็เป็นกามชนิดหนึ่ง เป็นกาม ถูกสัมผัสแตะต้อง แล้วเราก็ชื่นชอบอะไร... เราก็รู้ว่าดี แล้วก็ทำใจให้คลายว่า เออ เราอย่าไปติดอกติดใจ ประเดี๋ยวมันร้อนขึ้นมา หงุดหงิด อึดอัด แหม ไม่ชอบ อารมณ์ไม่ชอบ หรืออารมณ์ชอบพวกนี้ เราอ่านให้ละเอียดเชียว กระทำสัมมาสมาธิ ทำฌาน ทำสมาธิ แบบที่เราฝึกหัดน่ะ เราจะรู้อารมณ์พวกนี้ได้ชัด ในขณะตื่นลืมตา แล้วรู้ต่อสัมผัสข้างนอก ข้างในอะไร ตลอดเวลา เราจะเข้าใจกามคุณ ๕ เราจะเข้าใจ พวกนิวรณ์พวกนี้ได้ดี ไปเอาแต่ตอน นั่งหลับตานั่นน่ะ มันง่าย แต่พวกเราไม่ง่าย ตรงที่ว่า เข้าไปสู่ภวังค์ มันไม่ค่อยได้ง่าย มันไม่ได้ เพราะไม่ได้ฝึก มันกลายเป็นอะไรรู้ไหม

พอนั่งหลับตาเข้าไปแล้วนี่ มันไม่เป็นฌานตรงที่มันหลับ พวกเราพอนั่งเข้าไปแล้ว หลับไปเลย ไม่มีสติ สติตกไปเลย คุมไม่ได้ ตั้งไม่เต็ม อันนี้แหละ คือ Meditation ของเรา ไม่เป็นสมาธิตามที่เขาหมายทั่วโลกนี่ เราไม่เป็น แหม พวกนี้นี่ มันแย่เต็มที มาเป็นนักปฏิบัติธรรมโลกุตระ แต่ไม่มีสมาธิ โอ้โห ฟังแล้ว เสียเหลี่ยมหมด เสียแต้มไม่รู้...แต้มมีเท่าไหร่ เสียหมด มันไม่ได้จริงๆเลยนะ สมาธิตามที่เขาหมายนั่น ทำไม่เป็นกัน อาตมาเล่นมานักล่ะ สมาธิแบบนี้ ทำจน...อยู่ในนั้นล่ะ นั่งไป มีจิตอยู่ข้างในภวังค์นั่น ไปข้างนอกไม่รู้เรื่องอะไร อยู่อย่างนั้นล่ะ ตื่นนะ ไม่ใช่หลับ ถ้านั่งหลับ ก็ชนิดหนึ่ง

ทีนี้ พวกเรามันจะหลับ มันไม่เป็นเมดิเตชั่น มันเป็นสลิปปี้ ไม่ใช่แรงกูนด้วย มันไม่ใช่ SLEEPY แรงกูนด้วย SLEEPY อโศก นั่งเข้าไป เป็น SLEEPY อโศกไปเลย เป็นการนั่งหลับ ก็ไม่ใช่แต่พวกเราหรอก ที่อื่นก็เป็นน่ะ ในสายที่นั่งหลับตา นั่งไปๆ มันก็หลับ ไม่ใช่นั่งฌานหรอก ฌานได้บ้าง ประเดี๋ยว มันก็เปลี่ยนเป็นหลับ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เขาฝึกจริงๆ เขาฝึกอย่างเก่งๆนี่ ที่เขาถือว่าเขาฝึกได้เก่งๆ อย่างสายที่เขาฝึกจริงๆจังๆ สายธรรมกาย เป็นต้น หรือสายอะไรต่ออะไร สายอาจารย์มั่น เขาฝึกกันจริงๆ ฝึก ฌาน อันนี้แหละ ฝึกสมาธิ อันนี้แหละ มันก็มีผล มีผลนะ มีผลอุปการะจริง เพราะว่า เมื่อฝึกจริงๆแล้ว มันก็จะได้มีสติ แล้วก็ใช้ ณาณ หรือใช้ความที่ปราศจากนิวรณ์ชั่วคราว ในตอนนั้น อ่านอารมณ์ จะนึกคิด ก็จะนึกคิดได้ดี จะปรุงอะไรก็ได้ดี เพราะมันไม่มีกิเลสมากวน แจ่มใน แม้แต่จะทำไปอย่างไรๆอีก นานาสารพัด ไปแบบฤาษี เป็นแบบเดรัจฉานวิชา เป็นแบบอะไรต่ออะไร มันก็เป็นพลังจิต ที่สามารถฝึก รวบรวมพลังจิต ให้โน้มน้อมไปใน อย่างที่เป็นฤทธิ์เดช แบบอภิญญา อย่างนอกทาง อย่างนอกพุทธนั่นน่ะ จะเป็นอะไรต่ออะไรไป อย่างที่เขาเล่าเขาลือกัน พวกเรานี่ ไม่ค่อยได้ศึกษา ข้างนอกเขาเท่าไหร่ อย่างหนังสือ ที่เขาเขียนขายนอกนั้น มีแต่แบบนี้แหละ เขาเขียนขาย หนังสือที่เขามีกี่อย่างแล้วไม่รู้ เดี๋ยวนี้ อาตมาก็ไม่ได้ติดตาม หนังสือโลกทิพย์ หนังสือคนเหนือโลก หนังสือลานโพธิ์ หนังสือโพธิญาณ หนังสืออริยะ ก็เคยได้เห็นเหมือนกัน หนังสืออริยะ หนังสืออะไรพวกนี้ เขาอธิบายสมาธิแบบนี้ ทั้งนั้นแหละ เวลาจะมีพลังจิต เวลาอะไร เขาก็อธิบายไปแบบนี้ทั้งนั้น พิลึกพิลืออะไรไปมากมายก่ายกอง พวกเรานี่ มันไม่มีอย่างนั้น พวกเราไม่เล่น เพราะเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อิทธิปาฏิหาริย์ ก็ดี อาเทสนาปาฏิหาริย์ก็ดี อย่างนั้นน่ะ อย่ามายุ่ง ยิ่งเป็นสมณะ เป็นพระแล้ว อย่าไปทำ... แสดงพั่บนี่ คือว่า อาบัติ ไปแสดง ไปมี ไปอะไรนี่ ไม่ต้อง ไม่ต้องสั่งสมน่ะ ไม่ต้องสั่งสม ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดมีบารมี มีการได้เทียบเคียงว่า เออ อย่างนี้ เขาเป็นจริงๆ แล้วเขาก็ถือว่า เขาเป็นเขาได้ เขาจริงจังเหมือนกันนะ อย่าง ..บางแห่ง....นี่ พอนั่งแล้ว เขาก็ตั้งปั้น มโนมยอัตตา ที่เรียกว่า รูปที่สำเร็จด้วยจิต เขาก็ปั้น พอปั้นเสร็จแล้ว มันก็เป็นรูป เป็นเรื่องอะไรกันไป เป็นวิมานอย่างที่ว่านั่นน่ะ ไอ้ที่เล่าเป็นนิยายปรัมปรากัน ไปสู่ดาวดึงส์ ไปสู่เมืองสวรรค์อะไรนี่ ไปเห็นสระอโนดาต มีต้นปาริชาต มีกลิ่นปาริชาต อะไร หอม มันก็รู้สึก หอมจริงๆนะคุณ หอม น้ำใส ก็ใสจริงๆ น้ำที่ว่าใสนี่ ความสมมุตินี่ ว่าใสกว่านั้น มันก็สมมุติได้ แล้วมันปั้นเอาได้ จิตนี่ มันปั้นอะไรต่ออะไรที่มันไม่มีในโลก มันปั้นได้นะ

เราบอกว่าปั้นได้ใส มันใสจริงๆ ก็สมมติเอาว่า ใสกว่าใสน่ะ ใสนี้นี่ใสเท่านี้ อีกใสหนึ่ง มันใสกว่านี้ มันก็สมมติเอาเป็นรูป ปั้นเป็นรูปนิมิต เป็นจินตนาการของตนเอง มันก็ทำเอาได้น่ะซี ก็ของที่มัน สมมติเอานะ อันนี้ มันเหนือกว่าอันนี้ มันสมมติค่าเอาเองน่ะ เพราะฉะนั้น จะสมมติว่า โอ้โห วิมานแก้ว ๗ ชั้น ของทางด้านสายฤาษีลิงดำตอนนี้ วิมานแก้ว ๗ ชั้น ๘ ชั้น ของคนนั้น สวยๆ เอ้า ! สวยกว่าสวย มันก็สมมติได้ อันนี้สวย... อันนี้ สวยกว่าสวย... เรามีรสนิยมอย่างไร เราก็ปั้นเอา สวยกว่าสวย ของเราอย่างนั้น เย็นน่ะ มันเย็นอย่างไร ก็ปั้นเย็นกว่าเย็น มันเป็นยังไง ก็ปั้นไป เย็นเกินไป มันหนาวก็ไม่เอา เอาเย็นกว่าเย็นเท่านั้น อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เขาก็ปั้นไปในความรู้สึก เป็นความรู้สึกรับรส ที่เราเอง เราต้องการ เราว่าอะไรดี อย่างไหน ของใคร ก็รู้สึกเอาเอง มันเป็นความรู้สึกของจิตเท่านั้น ก็ทำเอาได้ หอมกว่าหอม มันเป็นยังไง สมมติเอาที่หอมกว่าหอม ก็เราชอบ รสนิยมไปทางไหนล่ะ โลชั่น หรือ เพอร์ฟูม ล่ะ ก็เอาไป...รสนิยมคน หนักไปทางเพอร์ฟูม ก็ไปทางเพอร์ฟูม เรื่องของกลิ่น ทางไหน ถ้าหนักไปทาง โลชั่น ก็ไปทางโลชั่นอ่อนหน่อย เพอร์ฟูมก็ฉุนหน่อย อะไรอย่างนี้ ก็แล้วแต่ นี่ เป็นเรื่องของความรู้สึก สมมติเอา รสนิยมของใครของมัน ก็ปั้นไป ก็ทำได้ แล้วก็ไปมี แม้กระทั่งที่สุด มีเมืองนิพพาน โอ๊ ! อย่าว่าแต่สวรรค์ธรรมดาเลย ไปถึงเมืองนิพพาน ไปดิ่งไปเลย เขาปั้นเป็น มโนมยอัตตา ทั้งสิ้น เขาจริงๆจังๆ มันได้จริงๆ คนไม่ได้นี่ โอย ไม่เก่ง เรายังไปไม่ถึง ไม่มีบุญ แหม น้อยวาสนา น้อยใจ อะไรๆต่างๆนานา มีอยู่เยอะ คนที่ปั้นได้สำเร็จด้วยจิต ก็ถือว่า คนนั้นแหละ สำเร็จแล้ว ได้ไปใหญ่เลย จริงๆมันไม่มี ไอ้เมืองสวรรค์ เมืองนิพพานอะไรๆ ลงอย่างนั้นๆแหละ ปั้นสระอโนดาต อะไรนั่น มันไม่มีหรอก หรือว่า แม้ในนรก ก็จะมีกระทะทองแดง แล้วก็เอาคนจุ้มหัว จุ้มหางลงอะไรกัน แหม เขียนภาพออกมา... มันไม่มี มันไม่มีในแดนไหนๆ ในโลกไหน มันก็ไม่มี แต่เขามีกัน จริงๆน่ะ เขามีกันจริงๆ ปั้นสำเร็จ แล้วมันจริงของเขา จริงๆเลย คนไหนไปอยู่ในทางนั้น แล้วก็ถือทางนั้น เห็นจริง เห็นจังในทางนั้น เขาก็จะมีจริงๆ อย่างพวกคุณนี่ ไม่เชื่อแล้ว ไปปั้นให้ตายยังไง มันก็ไม่เป็น เพราะมันไม่เชื่อ จิตลึกๆมันไม่เชื่อ แล้วปั้นยังไง มันก็ไม่เป็น เพราะมันไม่เชื่อ ก็มันไม่มี แล้วจะให้มันมี เอ๊ะ จะมียังไง ก็มันไม่มี มันจิตสำเร็จด้วยจิตเท่านั้นเอง

พวกเรานี่ไม่มีบุญอย่างเขาหรอก คนที่เข้าใจอย่างสนิท ยิ่งสนิทเท่าไหร่ ยิ่งไม่มี มันต้องไปหลงเชื่อ จริงๆเลยนะ แล้วมันถึงจะปั้นได้ อาตมานี่ ก็ไปปั้นกับเขามาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คือมันมีธาตุเดิมมันนะ ที่มันรู้แน่ รู้แท้แล้ว มันก็ได้อย่างนั้นล่ะ มันไม่ค่อยเข้าท่าอะไร เท่าไหร่หรอก ไม่เก่งเหมือนเขาหรอก ของเขานี่ มันสนิท มันคนเชื่อสนิท มันไม่มีอะไรไอ้นั่นเลย มันไปดิ่วเข้าไป อย่างโน้นอย่างนี้ อาตมาก็เออ มันไปได้ดิ่ว แต่ก่อนที่ยัง...ไม่ได้มาฟื้น ความรู้จริงของเราอย่างนี้ เราก็ยังนึกอยู่ว่า เออ พวกนี้ มันไปได้เก่ง เขาเก่ง ยังนึกอยู่วา เขาเก่งอยู่นะ เราไม่เก่งเท่าเขา อะไรก็แล้วแต่ เราก็นึกๆ แต่อาตมาก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่รู้เรื่องอะไรกับเขา รู้ ก็เข้าใจทั้งนั้นแหละ จนกระทั่ง มารู้ทางนี้ อย่างแน่นอน ชัดเจนแล้ว ถึงเห็นได้ว่า พวกนี้ มันใช้จิต ที่เป็นจิตสมมติอะไรต่ออะไรกันไปอย่างนี้นะ แล้วก็ติดกันอย่างนั้นจริงๆ เขาเชื่อกัน อย่างนั้นจริงๆ ที่เห็นความจริงว่า เขาเป็นอย่างนั้นก็เป็นไป ถ้าเผื่อว่า สิ่งอย่างนั้น จะนำพาให้เขาเอง ละอกุศล ละทุจริต อะไรได้บ้าง เขาก็ทำกัน พยายามที่จะเป็นคนมีศีล ศาสนาพุทธเรานี่ มีศีล เขาก็ระลึก เหมือนกันว่า ศีล เขาไม่พยายามที่จะละเมิด เขาทำศีล แต่ไม่พยายาม ละเมิดศีล เขาก็พยายามทำอยู่บ้าง เอ้า เขาจะเชื่ออย่างนั้น เป็นความสามารถ เป็นสิ่งที่เขาได้ เขาเป็น เป็นกำไรของเขา แล้วเขาก็พึงปฏิบัติละอกุศล ละทุจริตอะไรอยู่ ก็เอา ก็ยังดีนะ

นี่ อธิบายโครงง่ายๆ ให้ฟังว่า ลักษณะของสมาธิ หรือ MEDITATION อย่างเขานี่ เขาเอาไปเล่น จนกระทั่ง พวกฝรั่งเอาไปเล่น เอาไปนั่งเหาะด้วยนะ ไปทำแล้วก็เหาะ กระโดดอะไรของเขาก็ไม่รู้ ต้องไปนั่งบน ไอ้ที่นั่ง ตรงเป็นฟูก เป็นมีสะปรงสปริงอะไร เอ๊ มันเหาะได้จริงๆ มันจะไปนั่งที่นั่งสปริงทำไม แล้วมานั่งปูนอย่างนี้ เหาะให้ดูซิ ทำไมจะต้องไปนั่ง ในที่ๆมันเป็นสปริง เบาะธรรมดาเหรอ จะต้องมีที่นุ่ม ที่เนิ่มอยู่ทำไม ไปนั่งหินอย่างนี้เลย นั่งแล้วก็เข้าฌาน แล้วก็เหาะบรื๊อ เหมือนติดจรวดลงไปดู อาตมาไม่รู้นะ เห็นเขาถ่ายร่งถ่ายรูปมา ไม่เคยเข้าไปสอดส่อง ไม่เคยเข้าไปติดตาม..ว่าเหาะได้ด้วย ก็เอา ก็เอา ก็เก่ง น่ะ

เอ้า.. มาเข้าสู่บทเรียนที่ว่า เราจะต้องเรียน ดูซินี่ อธิบายคร่าวๆให้ฟัง ในลักษณะที่สมาธิ กับสัมมาสมาธิ มันต่างกันอยู่ ในลักษณะอย่างนั้น เป็นสมาธิที่เข้าใจทั่วไป ก็สมาธิอย่างที่เล่านั่นแหละ ทั่วโลก เข้าใจสมาธิแบบ MEDITATION หรือแบบเข้าไปอยู่ในภวังค์ ส่วนสัมมาสมาธิ ที่เรากำลังพยายามประพฤติ ศึกษา ทำกันจริงๆ แล้วก็เป็นสภาพที่เราลดละกิเลสได้ ไม่อยู่ใต้อำนาจของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เหนืออำนาจ ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชนะกามที่แท้จริง ชนะอัตตา เรียกว่า ภพอัตตา หรือภวอัตภาพ ชนะตัวสภาพ ของที่ในภพ ในจิตของเรา ที่ไปปั้นอย่างนั้น สมมติอย่างนี้ อุปาทาน อย่างโน้นอย่างนี้อะไร เรียนรู้อัตตา เรียนรู้มานะ เรียนรู้กิเลส สภาพทางจิตที่มันมีภพ มีชาติอะไรอยู่อีก อย่างแท้จริง เพื่อที่จะพ้นกามาสวะ พ้นภวาสวะ พ้นอวิชชาสวะ อันเป็นอาสวะ ๓ ใหญ่ๆ พ้น ๓ อาสวะนี้ เสร็จก็เป็นพระอรหันต์กันได้จริงๆ ซึ่งเราก็ใช้สัมมาสมาธิ อย่างที่ทำนั้น อาตมาก็เห็นประโยชน์ว่า พวกเราศึกษา สัมมาสมาธิกันมา แล้วก็เรียนรู้กันมา ลดละมานี่ ได้มา จะแกล้งอาตมา หรือว่าไม่แกล้งก็ตาม อย่างที่อาตมาพยายาม ตรวจสอบพวกคุณ แล้วคุณก็ตรวจสอบตัวเอง ว่าคุณมานี่ บางคนมา ๓ ปี บางคนมา ๕ ปี บางคนมา ๑๐ กว่าปีแล้ว บางคนมาแล้ว มาจนกระทั่ง อย่าว่าแต่มาเฉยๆเลย ไม่ใช่มาปฏิบัติธรรมดา จนกระทั่งวางลาภยศ ทิ้งเงิน ทิ้งทอง ทิ้งสิ่งที่เคยได้ ทิ้งงาน ทิ้งการ ทิ้งหลักฐานที่โลกเขาแย่งกัน ยังกับอะไรดี สมัครภารโรง ๖ ตำแหน่ง ไปสมัครกัน ๓ พัน สถานที่อะไรของเขา ไปสมัครนักการ เขาไม่เรียกภารโรงหรอก เขาเรียกนักการ โอ้โห ! นี่เขาก็แย่งกัน ลาภยศ แต่พวกเราทิ้ง อย่าว่าแต่ตำแหน่ง นักการอย่างนั้นเลยนะ จะเป็นข้าราชการ มีซี ๓ ซี ๕ ซี ๖ อะไร ก็เลิกๆละๆ ทิ้งๆ มาจริงๆน่ะ บางคนก็ทิ้งมาได้หลายปีแล้ว แล้วเป็นยังไงละ โหยหาอาวรณ์ อยากจะกลับ ไปได้ซีอย่างเก่า อะไรหรือไม่ แค่ไหน อาตมาก็พยายามมาทดสอบ พูดเตือนพวกเราว่า ละโลกโลกียะนี่ มาได้จริงไหม ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญก็ดี เป็นโลกียะชัดๆนี่ โลกียสุข ที่เราละมานั่นแหละ เป็นแกน ถ้าเราไม่ละทิ้งโลกียสุขมาได้ เราจะทิ้งลาภ ทิ้งยศไม่ได้หรอก มันทิ้งได้ ก็เพราะว่า เราได้ละโลกียสุข เรื่อยๆมา เรื่อยๆมา ไล่มา ทิ้งมาๆ จนกระทั่ง เห็นว่า อู๊ว์ มันน้อยแล้ว เราไม่ต้องไปบำเรออะไร มากหรอก

เรื่องเงินเรื่องทอง เรื่องสิ่งที่เราจะมาบำเรอตนมากๆนี่ มันไม่ต้อง มันจะลดจริงๆ แล้วมันจะมั่นใจว่า มีชีวิตอยู่อย่างไม่ต้องไปสะสมเงินทอง สภาพคุณภาพของชีวิตนี่ มันจะขึ้นไปจริงๆเลยว่า... เป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ขัดเกลาตัวเอง มีศีลเคร่ง มีอาการที่น่าเลื่อมใส มีการไม่สะสม มีความขยัน หมั่นเพียร คุณธรรม ๙ ประการ มนุษย์พัฒนา ๙ ประการ มันจะเป็นจริงๆ มันเช็คได้ วัดได้ ผู้ใดไม่ได้ไปมีมาก่อน ก็ยิ่งสบายใหญ่เลยน่ะ ปฏิบัติมาตั้งแต่อายุยังน้อย เริ่มริ แค่เป็นนักเรียน เป็นอะไรมา แล้วก็ไม่ต้องมีอะไรเรื่อยไปเรื่อยๆๆๆ แล้วก็อย่าไปนึกว่า แหม เรานี่ ไม่ได้ไปสะสมเงินก่อน ไม่ได้ไปมีลาภก่อน ไม่ได้ไปมียศ แล้วก็มาทิ้งลาภทิ้งยศ โอ๊ย เราเลยไม่ได้ผลโลกียะกับเขาเลย เพราะว่า เราไม่ได้ทิ้งลาภ เราไม่ได้ทิ้งยศ ไม่ต้องหรอก ก็มันทิ้งมาเลย โดยที่ไม่ต้องไปมีมาเลย มันก็ทิ้งอย่างจริงๆแล้ว คุณไปโหยหาอาวรณ์เขาไหมล่ะ ไปริษยาเขาไหมล่ะ ไปข่มไปเบ่งเขาไหม ไม่มีลาภนี่แหละ ไปข่มเบ่งคนมีลาภอีกน่ะ มันจะซ้อนเชิง

ก็เมื่อเราไม่ได้ไปเบ่ง ไปข่มอะไรเขา แล้วก็เราไม่ได้หลงใหลยินดี ได้ปลื้มอะไร เราก็รู้ว่า เราทำลาภ คืออะไร ลาภคือสิ่งที่จะสร้างสรรขึ้นมา เป็นสิ่งที่ได้ แล้วก็สร้างขึ้นมาโดยสุจริตด้วย มีฝีมือ มีความสามารถ... เหมือนกับเราไปทำงานรับจ้าง ได้ค่าตอบแทนนั่นแหละ แต่เรามีผลผลิต มีแรงงาน มีความรู้ความสามารถ จึงสร้างทำงานเก่ง ขยัน หมั่นเพียร นั่นแหละ มันก็เกิดผลผลิต เกิดแรงงาน เกิดความสามารถ ยิ่งทำ ก็ยิ่งชำนาญ ยิ่งทำก็ยิ่งแคล่วคล่อง เป็นผลผลิต เป็นแรงงาน เป็นคุณค่า ที่เราได้สร้าง นั่นแหละ ลาภโดยธรรม เสร็จแล้ว เราไม่ได้เอามาเป็นของตัว ตลอดเลย เราได้ลาภ แต่เราไม่เอาๆ ไม่เอา...เลย มันซ้อนเชิง มันสูงกว่า ที่เราจะต้องไปเอามาเสียก่อน แล้วก็มาเอาออกไป จะต้องไปทำให้มันขยักขย้อน ทำไมเล่า ก็ทำทีเดียว ลาภนี่แหละ แล้วก็แจกไปเลย ทำเสร็จแจก ทำเสร็จ แจกไปเลย มันเร็วนะ โดยเศรษฐศาสตร์ มันเจริญทันทีเลย สะพัดเลย ทำได้ก็สะพัดทันที ทำได้สะพัดทันที ไม่ได้มากักตุน ไม่ได้สะสมเป็นของเราเลย ความเป็นของของเรา ก็ยิ่งไม่มีใหญ่ ทันทีทันใด SUDDENLY ทันที ไม่ต้องไปช้า ไม่ต้องไปนานอะไรเลย มันไม่ดีกว่าหรือ ใช่ไหม อย่างทันทีเลย ทำปั้บ ก็สร้างให้ มันก็เป็นลาภยศ ไม่ต้องไปมีหรอก ก็เป็นกรรมกรน่ะ พวกเราเป็นกรรมกร ทั้งนั้นแหละ ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็การแต่งตั้ง คนนั้นรับผิดชอบอันนี้ คนนี้รับผิดชอบอันโน้น มีความสามารถมาก เขาก็ให้รับผิดชอบมาก อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นยศ... บอกว่า นี่ล่ะนะ ซี ๑ ซี ๒ ซี ๕ ซี ๘ อะไรก็ตั้งกันไปอย่างนี้ นี่ สิบตรีแล้วนะ นี่สิบโท สิบเอก อะไรก็ตั้งกันไป เป็นยศ เพื่อที่จะรับผิดชอบงานการ ขนาดนั้นขนาดนี้ มีความสามารถมาก ก็ได้ยศมาก เท่านั้นเอง

ส่วนสรรเสริญ สรรเสริญ หรือนินทานั้น โอ้ย ซับซ้อน มีเยอะแยะไม่ต้องห่วง อันนี้ได้แน่ สรรเสริญเยินยอ หรือว่า นินทานี่ ได้แน่ ในหมู่พวกเรานี่ ก็นิยมนินทากัน ที่จริง เราไม่เรียกนินทา เราเรียกติเตียน นินทา หมายความว่า พูดลับหลังนะ นินทา คือไปเที่ยวได้ด่าลับหลัง ไปตำหนิติเตียนลับหลัง ไม่ให้เจ้าตัวรู้ ไอ้นี่ พวกเราก็มี ไม่ใช่ไม่มี ต่อหน้าไม่กล้าหรอก ไปเที่ยวนินทากับใครไม่รู้ ติเตียนข้างหลังโน่น ต่อหน้า ก็ไม่กล้าติเตียนหรอก มีอยู่แน่ในพวกเราเยอะ ได้แน่ พวกเรา นินทากับสรรเสริญ ได้แน่ แต่สรรเสริญ นั่นน้อย ไม่ค่อยจะสรรเสริญกันเท่าไหร่หรอกน่ะ ก็ไม่เป็นไร ไม่แปลกอะไร เราก็สรรเสริญกันบ้าง สรรเสริญกันด้วย นินทากันบ้าง ที่จริงติเตียน ไม่ใช่นินทา ติเตียนกัน ติเพื่อก่อ สรรเสริญเพื่อให้รู้ แล้วก็พยายามดูตัวเอง สรรเสริญแล้วก็อย่าลอย อย่าหลงอะไร อันนี้ แน่ๆนอนๆ เรื่องลาภ เรื่องยศนี่ มันของเรา พวกเรานี่ ตัดกัน อย่างที่เรียกว่า มีรูปแบบเลย มีสภาพเลยว่า เราลดกันได้ดี ลาภยศ ที่เป็นของอยากในโลก แม้แต่ฆราวาสเรา ก็ยังลดลาภ ลดยศ ได้ดี ว่ากันจริงๆแล้ว ดีกว่านักบวชอีกเยอะๆน่ะ มีนักบวชที่ไม่ลดลาภ ลดยศ ยังแย่ง ยังชิง ยังแสวงหากันอยู่

พวกเรานี่ เป็นฆราวาสแท้ๆ ยังไม่ไปแย่งลาภ แย่งยศอะไรกับเขา ดีกว่าผู้ที่เป็นนักบวชเสียแล้วด้วยซ้ำ เห็นรูป เห็นแบบ เห็นอะไรที่ชัดเจน ทิ้งมาให้เห็นชัดๆ ลดมาให้เห็นชัดๆ นี่ โลกียะหลักๆ เนื้อหาของโลกียะ แล้วเราก็เหนือโลกียะอันนี้ ลดโลกียะอย่างนี้ จริงๆมานี่ บางคน ๓ ปี ๕ ปี ๘ ปี อย่างที่ว่านี่ ตรวจสอบซี แล้วเป็นยังไงล่ะ นับวัน นับเดือน จะต้องไปต่อไปแล้วนะ ถ้าเผื่อว่าตรวจสอบดีๆแล้ว ...เอ๊ มันไม่ถูกนะนี่ รีบ รีบกลับ ไม่อย่างนั้น เสียเวลานะ จะตายเปล่าๆ ทิ้งๆน่ะ ไปรู้สึกตัวเอาเมื่ออายุ ๖๐ แล้ว ไม่ได้นะ ทีนี้ แล้วจะกลับไปหาเอาลาภ เอายศอีก ไม่ได้นะน่ะ ชีวิตมัน เอ๊! เรานี่ มันหลงผิดทางแล้วนี่ มาพาไปไหน ก็ไม่รู้นี่ ที่นี่...เลิกละทิ้งมาอย่างนี้ มันจะเข้าท่าหรือ ตรวจสอบจริงๆ แล้วก็ระลึกรู้ ด้วยปัญญาญาณ ด้วยความเข้าใจ เอ๊ โลกของเขา เป็นอย่างนั้นกันนี่นะ ตัวอย่าง...นะ แล้วทำไมเรามาบ้า พามาบ้านี่ ถูกหลอก ล้างสมองมา ตาย..เรามาเป็นแรงงานทาส มาขยัน หมั่นเพียร แล้วมาทำงาน ความสามารถของเรามี ก็เอามาทำอยู่ทางนี้ มารับใช้ฟรี อะไรก็ไม่ได้ มาหลอกใช้เรา ทุกอย่างเลย เงินทอง ข้าวของ เราจะไปเสวยสุข โลกียสุข คนที่เขาสบาย สำรงสำเริง สำราญอะไร อยู่กันเยอะแยะ ในตัวอย่าง ในโลกนี่ มีให้ดูเยอะแยะเลย เราจะมาอดอยาก ปากแห้งอยู่นี่ล่ะ หลอกเก่งจังเลย เราเสียท่า มาซะหลายปี แล้ว รู้สึกตัวแล้วรีบไป ... เอ้าจริงๆไหมล่ะ... จริงไหมล่ะ ก็แต่ก่อน คุณเคยเสพย์ ยังได้เสพย์ไม่เต็มที่ด้วย บางคน โอ้โห ! อยากจะกินอาหารร้าน มื้อละแสน ๒ แสน ก็ยังไม่มีเงินไปกิน จะต้องไปกินให้ได้สิ ไม่ได้เที่ยวในรูปอย่างนั้น รสอย่างนี้ กลิ่นอย่างนี้ สัมผัสอย่างโน้น มันยังไม่ได้ เคยแล้วเหรอ... เคยกินหรือเปล่าล่ะ นั่นน่ะ...ไม่เคย เอ้า แล้วอย่าไปกินเลย โต๊ะละเป็นแสนน่ะ บินไปกินต่างประเทศอะไรก็แล้วแต่เถอะ มันจะต้องไปเสพย์สุข โลกียสุขอะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาว่ามันดี มันวิเศษ มันเลิศ มันอร่อย มันอะไรก็ต้องไปเอาน่ะ นี่ ยังไม่เคยมีคู่ ก็ต้องไปมีคู่ก่อนซี ไม่เคยสุข ถูกหลอกมาอยู่ทางนี้ เดี๋ยวแห้งเหี่ยวหัวโตตายเลย หา ไม่เสียดมเสียดายอะไรเหรอ เพราะฉะนั้น เตือนสติ ตลอดเวลา โลกียะเขาเป็นอย่างนั้นแหละ เราจะสุขสำราญ ประสพผลสำเร็จในชีวิต มีเงินหลายพันล้าน อะไรก็ตาม จะต้องได้เสพย์ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เอร็ดอร่อย ไปสำเริงสำราญ ตามอย่างโน้นๆ คนโลกๆ เขามีอยู่ให้ดูให้เห็นอยู่ตลอดเวลา จะมานั่งอับเฉา ถูกหลอกมา เป็นข้าทาสนี่ มาเป็นแรงงานทาส แล้วใช้คำว่า แรงงานอริยะนี่ หลอกไว้ให้มาทำ ดูซิ นี่ มาทำซอกๆๆ ยังกับบางคนนี่ โอ๊ บางคนน่ะ มีฐานะทางโลก เขาออกไปข้างนอกผงาด เหมือนกันนะนี่ แหม มีคนโค้ง เคารพอย่างโน้นอย่างนี้ มาทางนี้ ตาย มากวาดขี้หมา มาทำอะไรอยู่อย่างนี้ โอ๊ ! ดูแล้ว มันสมเพชเวทนาจริงๆนะ พูดแล้ว มันเห็นจริง เห็นจังเลย เขาว่าก็จริงของเขาทุกอย่างเลยนะ อะไร ทำไมมันโง่ดักดาน

งั้น มาให้ถูกหลอก ก็อยู่ทางโน้น มีศักดิศรี มีอะไรสง่าผ่าเผยดี มาทางนี้ แล้วมาเป็นข้าทาส มาเป็นอะไร ต่ออะไร ทำสารพัด อะไรต่ออะไรต่างๆนานา เหมือนกับคนทุกๆคน ของคนอื่นเขา คนจบไม่จบ ป.๔ ด้วย ก็นั่งกับพื้นๆ อย่างนี้ นอนกันอย่างนี้ กินก็อย่างนี้ ไม่ได้มีศักดิ์ศรี ไม่ได้มีขั้นตอน ไม่ได้มี...อะไรต่ออะไรเลย อย่างนี้ เอ๊ เสียหมด หมดศักดิ์หมดศรี หมดอะไรทั้งนั้นล่ะ จะเป็นอย่างข้าทาสอะไร ต่างๆนานา มันจริงของเขาทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น คนไหนก็แล้วแต่ เมื่อรู้สึกตัวว่า ถูกหลอกอย่างสนิทแล้ว รีบรู้ตัว แล้วรีบไป ... ไปอยู่กับ ทางโน้นเขา ก็เอา เพราะทางโน้นเขาเป็นธรรมดา ธรรมชาติของเขาอยู่อย่างนั้น เขาก็มีลาภยศ สรรเสริญ โลกียสุข มีศักดิ์ มีศรี มีทุนมีรอน มีเงินมีทอง มีอะไรของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ทีนี้ เราจะมาทางนี้ นี่ก็พูดเตือนตลอดเวลาน่ะ อย่ามาเสียเวลามากมาย... อาตมาเตือน ผู้ที่มาบวชแล้ว อย่างนั้นน่ะ ที่ไล่ๆมา ที่เคยพูดมาแล้ว มาอยู่ได้ตั้งหลาย เป็นสิบๆปี แล้วไม่อย่างนั้น ไปอยู่ทางโน้น ก็นี่ หน้าตาก็...ไม่ค่อยเลว ไม่เลวนะนี่ ป่านนี้ ก็ได้เมียกันคนละหลายๆคนแล้ว อะไรอย่างนี้ (ผู้ฟังหัวเราะ)

น่ะ ลูกสาวบ้านใครบ้านใคร ก็คงได้กันไปหลายคู่ หลายคนแล้วล่ะ จะมาเสียเวลาอยู่ทำไม ตั้งเป็นนมเป็นนาน ใช่ไหม... หรือไม่ ก็ไปหาเงิน หาทอง นี่ได้กันคนละหลายหลัวแล้ว นี่เงินทองแต่ละคน แต่ละคนนี่ ถ้าไปทำงาน มาเป็นแรงงานอริยะ หรือมาเป็นแรงงานทาส ฟรีๆ ไปตั้งหลายแล้วนะนี่ เก็บแล้วได้ ตั้งเยอะนะนี่ แต่คิดจริงๆ มันจริงนะ นี่แรงงาน หรือว่าความสามารถแต่ละคน พวกเราทำนี่ มันเป็นผลผลิต จริงๆ แล้วมันก็ได้ มันก็ออกไปสู่สังคมจริง... ทุกคนไม่เห็นเหลือสักกะบาท ไม่มีเหลือเลยนะ นี่ ทำงานกันทั้งนั้นล่ะ ทุกๆคน ทำงานกัน ไม่มีเลย มีแต่ทำแล้วก็ออกไปหมด ทำแล้วก็กระจาย ทำแล้วก็สลาย ไม่มีได้แลกกลับมา นี่แหละ คนข้างนอกเขางงว่า มันเอามาจากไหนวะ อโศกนี่ มันรวย ก็จะไม่รวยยังไงล่ะนี่ ไม่ใช่คนงอมืองอเท้า ทุกคนมีประสิทธิภาพใช่ไหม มันก็ทำ ก็สร้างๆ ออกไปๆ แต่มันไม่เป็นรูป มันไม่มีไว้สัก ๕ หมื่น ๕ แสน ๕ ล้าน ทางโน้นเขามีนะ ใส่แบ๊งค์ไว้

แต่ของเราไม่มี ไม่มีนะ ทางโน้น ไม่ใช่ค่าแรงงานด้วย บางทีค่าบริจาค ทำทานของเรานี่ ทำทาน ก็ไม่เอาอยู่แล้ว ถ้าทำก็เข้ากองกลาง เข้ามูลนิธิไปเลย ส่วนตัวก็ยังงั้นๆแหละ ถ้าไม่มารับ ก็เข้ากองกลางต่อ หรือว่าเป็นครั้งเป็นคราว เป็นเรื่องเป็นราว อะไรก็ว่าไป ก็ไม่มีเก็บ ไม่มีอะไร ทางโน้นน่ะ รับเละเลยนะ เยอะ นี่ ถ้าเราจะเอาวิธีนั้นบ้าง ก็ป่านนี้ ท่านสันตจิตโตมาก่อนเพื่อน คงจะได้หลายกว่าเพื่อนมั้ง ป่านนี้... ผู้รัตตัญญู มาบวชก่อนเพื่อน ป่านนี้ ก็คงปาเข้าไปเป็นล้านแล้วมั้ง ๑๐ กว่าปีแล้ว ใส่แบ๊งค์ไว้ นอกนั้น ก็ไล่มาซิ ตามฐานะ ไม่แน่หรอก หลังๆนี่ อาจจะฝีมือดีๆนะ บางคนอาจจะทำ ไอ้ข่งไอ้ขิกเก่งอะไร อาจจะรวยกว่าเขา.. ฝีมือมันต่างกัน คนเราฝีมือดีๆ เห็นไหม (หัวเราะ) ก็อาจจะรวยกว่าเขา สะสมได้มากกว่าเขาก็ได้ แต่พวกเราไม่มีอย่างนี้ เรามาเสียเวลาอยู่ทำไม แก่ลงไป ทุกวันๆๆๆๆ ทุกวัน เดี๋ยวก็ถึงเวลาตาย เอ๊ พวกเรา สมณะเรา ยังไม่ตายสักคนล่ะเนาะ หึ เออ อิทธิปาทายุโก ตายไปคนหนึ่งเนาะ ลืมไป ตายอายุยังหนุ่ม ไปตายที่เชียงใหม่ ตายไปคนหนึ่งแล้ว นี่ยังไม่ตายกันนี่ นี่เราแก่ขึ้นไป แก่ไปๆ บางคนแก่ๆ มาบวชแล้ว นึกว่าจะตาย ก่อนที่จะมาบวชแล้วนะ เห็นว่า เอ๊ คนนี้จะอยู่ได้กี่ปี มาบวชตอนอายุมากแล้ว มาบวชแล้ว เอ๊ะ แข็งขัน ขยัน แข็งแรงขึ้นมา เผลอๆไปนี่ อย่างท่านพหุลีกโต ปาเข้าไป ๗๐ แล้ว แต่ก่อนก็มาบวช ทำไมมาบวชหนอ นี่อายุตั้ง ๖๐ แล้ว จะมาบวชทำไม บอกว่า พอไปได้ ผมยังแข็งแรง ว่ายังงั้นนะ เอ๊ จะไปรอดหรือ เอ้า เอาเข้าจริง ๗๐ ยังแข็งขันอยู่เลย ให้เทศน์แล้ว ไม่ไล่ไม่ลงนะนั่น (ผู้ฟังหัวเราะ) ถ้าให้ขึ้นเทศน์ ไม่ไล่ไม่ลง เทศน์โอ้โห แหม ต้องห้ามกันน่ะ แข็งแรง ก็ไปกันได้ ยังไม่ทันตาย

ที่อาตมาพูดให้ฟังนี่ เพื่อให้ตรวจสอบของจริง ความจริง ไม่ใช่พูดเล่น จัดเป็นเล่นให้มันระเริงอารมณ์เล่น ไม่ใช่นะ แต่มันก็ดูสนุกดีเหมือนกันแหละนะ มันก็ดูๆแล้ว มันก็ขำๆ เอ๊อ ดูซินี่ ถูกหลอกได้สนิท อะไรจะปานฉะนั้น ถูกหลอกได้สนิทดีนะ แล้วก็มาเป็นไป นี่ เป็นผลของสัมมาสมาธิ เป็นผลของเรา ลืมตารู้ๆ แล้วญาณปัญญา จะพูดยังไงก็พูดไป จะพูดว่าหลอก จะพูดว่าถูกอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรต่ออะไร ก็พูด ไม่มีปัญหาอะไรหรอก น่ะทางเรานี่ อาตมาว่า ไม่กลัวนะ คำพูด แล้วก็ไม่ใช่ว่า ไม่ถือสาคำพูดด้วย เอาคำพูดมาตรวจสอบ เขาพูดอย่างนั้นๆ อาตมาพูดนี่ ก็ไม่ใช่ว่า ไปฟังแล้วก็เล่นๆ แล้วก็หลงมี อาตมามีจิตวิทยา ทำให้พวกคุณนี่ หลงสนิทเลย ไม่ต้องตรวจตรา ไม่ต้องคิดนึก ไม่ต้องสำเหนียกสังวร ไม่ต้องพยายามเปรียบเทียบอะไร ไม่ได้นะ ต้องวินิจฉัยจริงๆเลย ให้ดูให้ดีๆ มันเป็นยังไง ทั้งนอกและใน อารมณ์ข้างในจิต และข้างนอก สภาพข้างนอก มันสอดคล้องกันไหม สงบระงับ ไม่สะสม มันเป็นยังไง อยู่เหนือโลกียะ หรือโลก มันเป็นยังไง ลาภ ยศ สรรเสริญ กามคุณ อัตตา มานะ เป็นยังไง ให้รู้สภาพเหล่านั้น ว่าเราหลุดพ้นขึ้นมานะ เราเบาบางลงมา เราสบายใจขึ้น แล้วเราก็อยู่ของเราได้

ของเราเดี๋ยวนี้ ทุกวันนี้นี่ มันเป็นสังคมมนุษย์ มีวงจรขึ้นมา มีระบบ มีอะไรต่ออะไร อาตมายิ่งพูด ได้อย่างแจ่มชัด ยิ่งพูดได้ มีที่รองรับ มีอะไรรองรับมากขึ้นว่า เราอยู่กันได้ยังไง เราไม่มีเงิน สักบาท ไม่ได้มีรายได้เลย แล้วมันจะอยู่ได้ยังไง เอ๊ มันอยู่ได้แฮะ โลกเขาไม่มีรายได้ มันอยู่ไม่ได้นะนี่ อาตมาอ่านข่าว พวกคนไปทำงานที่สิงคโปร์นี่นะ ไปอยู่เขาบอกไม่ได้เป็นบ้านหรอก เป็นกล่องๆ ใครอ่านไหมละ ข่าวคราว เขาบอกว่า ไปอยู่ในกล่อง อยู่กัน มันทุเรศทุรังการ ว่ายังงั้น อัดกันอยู่อย่างนั้น บางคนมันไม่มี มันอยู่ไม่ไหว มันก็ออกมานอนข้างนอกบ้าน สะเปะสะปะ อับชื้น มีเชื้อโรค มีอะไรต่ออะไร แต่มันเป็นคนงานทาส ต้องไปทำสัญญาเขามากู้เงินมา เพื่อที่จะให้ทางบ้าน ไปก่อน ๔ หมื่น ๕ หมื่น แล้วก็จะต้องทำใช้หนี้ ใช้อะไร มีสัญญาผูกมัด หนีมาไม่ได้ ต้องทนทำ ให้มันหมดหนี้หมดสิน อะไรต่ออะไรต่างๆนานา เพราะเขาเอาเงิน ซื้อไว้ก่อน อะไรต่างๆนานา พวกนี้ดูแล้ว รู้ว่าดิ้นรนชีวิต น่ะ ตัวเองตาย ก็ต้องตาย ยอมตายทุกอย่างนะ รู้ว่า ไอ้นี่เป็นพิษ ไอ้นี่เป็นอะไร มันถึงตาย ก็ต้องยอม จะต้องกินยา จะต้องกินโน่นกินนี่ จะต้องทุกข์ยากยังไงอยู่ ก็ต้องทนอยู่ ไอ้อย่างนั้นสิ มันน่าสงสาร มันไม่มีทางออก เขาไม่มีความรู้ เขาไม่รู้ว่า จะอยู่ยังไงน่ะ

ทีนี้ ทางพวกเรานี่ ได้มาพบ ได้มารู้ ได้มาเห็น ได้มาอยู่ แม้จะมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ เราก็อยู่อย่างพี่ อย่างน้อง คนที่มีความรู้มากๆ ก็เอ็นดูกัน มีฝีมือ มีความสามารถ ก็ทำมากๆ เป็นบุญของเรา เราได้เกื้อกูลกันไป ก็บุญของเรา แม้แต่คนที่ความรู้ไม่มาก ความสามารถก็มีได้ เกื้อกูลได้ สร้างสรรได้ บางคนมีบุญ ได้มากๆเหมือนกันนะ คนที่เรียนสูงๆ บางทีหยิบโหย่ง บางที มันอัตตามันเยอะ ขี้เกียจ จะให้แต่คนที่ไม่ได้เรียนสูง ยังมีลักษณะศักดินา ทุนนิยม อยู่พอควร แกทำก็แล้วกัน มีเชิงฉลาดอยู่ในหัว คุณทำก็แล้วกันนะ คุณได้บุญมาก ฉันไม่ค่อยทำ คุณไม่ค่อยทำ คุณก็ไม่ค่อยได้ ไม่มีปัญหา คุณจะไปทำ ฉลาดโกงอย่างนั้น ไม่ได้เรื่องอะไรน่ะ ใครทำก็ใครได้ มันเรื่องธรรมดา แต่พวกเราก็ทำกันไป อย่างนั้นแหละ แล้วแต่ บุญใครบุญมัน บาปใครบาปมัน กรรมใครกรรมมัน

ประโยชน์ของการเจริญอานาปานสติ อานากับอาปานะ แปลว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ อัสสาสะ ปัสสาสะ ก็เหมือนกันน่ะ อัสสาสะ ปัสสาสะ ก็หมายถึง ลมหายใจเข้าอันหนึ่ง ลมหายใจออกอันหนึ่ง กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว เรียกว่า งามนอกงามใน คำว่ากาย ไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหวนั้น ไม่ได้หมายความว่า กายไม่กระดุกกระดิก แล้วก็เลย จิตก็ไม่กระดุกกระดิกด้วย เรียกว่า ไม่หวั่นไหว ไม่ใช่อย่างนั้น กายไม่หวั่นไหว หมายความว่า กายของเราก็อยู่ตามสภาพที่จริง องค์ประชุมน่ะ ถ้าว่ากันลึกๆแล้ว มันหมายถึงองค์ประชุม ไม่ได้หมายความว่า ร่างกายอย่างนั้นเท่านั้น หมายถึงองค์ประชุม องค์ประชุมส่วนนอก ที่เรารับอะไรต่ออะไร มันอยู่ในรูปแบบของมันอย่างดี มันอยู่ในวงจร มันอยู่ในการเป็นไป การเคลื่อนไหว หรือว่าการดำเนินบทบาทของมัน ได้สัดส่วน ได้สภาพที่ดี ไม่แปรปรวน ไม่ออกนอกวงโคจร ไม่พลิกแพลง ไม่ออกนอกเส้นทาง หรือว่า ออกจากสภาพ ที่มันไม่อยู่ในระบบ อยู่ในระเบียบ มันอยู่ในระเบียบ เรียบร้อยดี เรียกว่า อย่างนั้นถูกกว่านะ กายก็ดี จิตก็เป็นจิตที่แข็งแรง เป็นจิตที่มีปัญญา มีอะไรรู้อย่างดี ไม่บกพร่อง ไม่มีอารมณ์

สรุปง่ายๆ ถ้าจิตแล้ว สรุปไปได้ถึงที่สุด จิตไม่หวั่นไหว ก็คือ จิตไม่มีอารมณ์อะไร ที่มีกิเลส เข้ามาแทรกได้ด้วย จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่แปรปรวน เป็นจิตที่แข็งแรง เป็นจิตที่ใสสะอาด เป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่สมบูรณ์ ทำงานได้เต็มที่ ทำหน้าที่ของจิตได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ใครจะมีบุญบารมี จิตจะมีสมรรถภาพเท่าไหร่ ไม่เท่ากัน พระอรหันต์แต่ละองค์ ก็ไม่เท่ากัน พระอรหันต์ทุกองค์ มีจิตที่ว่างจากกิเลสทุกองค์ แต่ประสิทธิภาพของจิตวิญญาณ ที่มีความสามารถ ทางเฉลียวฉลาดก็ดีน่ะ ทางเฉลียวฉลาด ทางรอบรู้ จะเป็นเชิงจำ จะเป็นเชิงคิด จะเป็นเชิงปฏิภาณอะไร ก็ตามใจเถอะ ไม่เท่ากัน

เพราะฉะนั้น ก็ทำงานได้เต็มที่ จะเก่งเท่าไหร่ ก็เท่าพระอรหันต์ที่มีบุญบารมี แต่ละองค์นั้น ฉันใด เราไม่ใช่อรหันต์ เราก็มีประสิทธิภาพทางจิตเหมือนกัน แม้จะยังไม่อรหันต์ แต่ถ้าเราทำฌานในชั่วคราว ฌานไม่มีนิวรณ์ชั่วคราว เราก็มีจิตทำงานได้เต็มที่เหมือนกัน ทีนี้ มันมีความไม่แข็งแรงอย่างสมบูรณ์ มันก็อาจจะหวั่นไหวได้ ขณะใดที่เราทำงานได้เต็มที่ ตามประสิทธิภาพของจิตของเรา แล้วไม่หวั่นไหว นั่นแหละ เรียกว่าจิตไม่หวั่นไหว มันเป็นชั่วคราว ก็ชั่วคราว ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่หวั่นไหวตลอด เพราะไม่มีความวูบวาบอะไร มันไม่กลัว มันไม่ทุกข์ มันไม่อาลัยอาวรณ์ห่วงหาอาลัย นั่นเรียกว่าจิต ส่วนกาย ก็คือ สภาพองค์ประกอบทุกอย่าง... มันไปในระบบระเบียบของมัน อย่างสงบเรียบร้อย เรียบรื่น ง่าย งาม สันติ นั่น เรียกว่า กายไม่หวั่นไหว

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอบรม ทำให้มาก ซึ่งสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์น่ะนี่ วงเล็บว่า อานาปานสติสมาธิ กายย่อมไม่หวั่นไหว จิตย่อมไม่หวั่นไหวน่ะ เพราะฉะนั้น ก็หมายความว่า กายร่างกายก็ได้ด้วย เป็นองค์ประกอบของกาย มันไม่หวั่นไหวอะไร มันก็อยู่ของมันได้สบาย อย่างนั้นล่ะนะ นี่ ก็พูดรวมๆ เป็นคำรวม ถ้าเราเข้าใจกว้าง ก็อย่างที่อาตมาอธิบายแล้ว

เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญ อานาปานสติมาก อาตมาก็เหมือนกัน เล่นมา ก่อนจะมาทำงานศาสนา อย่างที่เรียกว่า เข้าใจศาสนาอย่างสมบูรณ์นี่ อย่างดีแล้ว แล้วก็มาทำงานศาสนานี่ อาตมาก็เล่น อานาปานสติ มามากมาย นั่งหลับตา อาตมาไม่เล่นกสิณอื่น ไม่เล่นนะ เพ่งดิน เพ่งน้ำ เพ่งไฟ เพ่งลม เพ่งอะไรไม่เล่น เคยลองเหมือนกัน เอาเทียนมาจุดดู อู๊ว์ ไม่สนุก แล้วก็เพ่งไฟ เปลวเทียนอะไรนี่ เคยเหมือนกัน เคยทำบ้าง แต่ไม่เล่น ไม่เอา ลอง ว้า... มันไม่อะไร ก็มันลมหายใจ มันสบายอยู่แล้ว ก็ใช้ลมหายใจ เข้าออกมาแต่ไหนๆ ไม่ๆ มันไม่ยาก พอเล่นชำนาญแล้ว ก็ไม่ยากหรอก ลมหายใจเข้าออก แล้วยิ่งมาประกอบ มาเล่นแบบ วิทยาศาสตร์ สะกดจิต มองจุดใดจุดหนึ่ง เพ่งจุดนั้น นิ่งดิ่งแล้วพั่บ เหมือนกับอันนี้ คล้ายๆ กสิณเหมือนกัน จุดอะไรก็ได้ นิดหนึ่ง แล้วก็หลับตาเข้าไป มันก็เป็นอุคคหนิมิต เป็นสิ่งทำ เรากำหนดนิ่งหนึ่ง เราก็เข้าไปได้เหมือนกัน คล้ายลมหายใจเข้าออก จะว่า กสิณ ก็ เออ วิทยาศาสตร์แบบนี้ อาตมาเล่น แต่ไม่ได้กำหนดว่า เป็นไฟ เป็นดิน เป็นน้ำ อะไรก็ได้ มอง ถ้าเวลาจะมองนี่ เขาให้มองเหนือ สูงขึ้นไปกว่าระดับตาหน่อย เพ่ง เพ่งให้ดิ่งนิ่ง แล้วก็หลับตาพั่บ แล้วก็มันจะเป็นสมาธิง่ายน่ะ ใครเคยเรียนมา เคยเรียนมาทางสาย ทางทันตแพทย์นี่ หมอประพันธ์ ก็เคยสอน ถ้าทางทันตแพทย์ อาตมารู้จักคน ทางที่อื่นๆ ศิริราชก็มีหมอจรูญ ทางโรงพยาบาลโรคจิตก็มีหมอวิเชียร อาตมาอยู่ในวงการนี้ ก็รู้ พวกนี้ เล่นสะกดจิต ทั้งนั้นล่ะ หมอวิเชียร นั่น โรงพยาบาลพวกโรคจิต ถ้าหมอธรรมดาก็หมอจรูญ ทางทันตแพทย์ ก็หมอประพันธ์ พวกนี้ละ เล่นสะกดจิต เล่นอะไรต่ออะไรกันมานี่ คลุกกันอยู่อย่างนั้นแหละ ไปเฮละโล โฮละเล กันไปน่ะ แต่ก่อนนี้ ก็ทำอย่างนี้ มีวิธีการ แต่ก่อนนี้ มีเป็นตำราเป็นเล่ม อาตมาให้เขาไปหมดแล้ว แจกเขาไปหมดแล้ว ฯลฯ..

เอ้า ทีนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ขออธิบาย ตรงนี้อีกนิดหนึ่ง ที่บอกว่า ก่อนตรัสรู้ นั้นน่ะ พระพุทธเจ้า ท่านจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านะ สัมมาสัมโพธิญาณ ไม่ใช่ตรัสรู้เป็นโสดาบัน ไม่ใช่ตรัสรู้เป็นสกทาคามี ตรัสรู้เป็นโสดาบัน ก็เป็นอันหนึ่ง ของการตรัสรู้ ซอยไปยิ่งว่านั้น เกิดญาณตรัสรู้ แม้แต่ในธรรมะ แต่ละเรื่อง แต่ละคราว ก็เป็นการตรัสรู้ รู้ความจริง ตามความเป็นจริง ในรอบของฌาน แต่ละฌาน ก็ตรัสรู้ มีญาณทัสสนวิเศษ เห็นของจริง ตามความเป็นจริง คราวใดคราวหนึ่ง ที่คุณเอง คุณตรัสรู้ ในการทำฌาน แล้วก็รู้แจ้งเห็นจริง ในความเป็นฌานนั้น นั่นคือ การตรัสรู้ จิตในขณะนั้นเป็นญาณ จิตในขณะนั้นเป็นโพธิ จิตในขณะนั้น ตรัสรู้ของจริง ตามความเป็นจริง ว่าไม่มีกิเลส ไม่มีนิวรณ์ จนกระทั่ง คุณจะมีเหตุ มีปัจจัยอะไร คุณจะลดกิเลส ลดได้จริง ลดได้ชั่วคราว ลดได้ถาวร ลดจนกระทั่งได้สนิท เด็ดขาด ถอนอาสวะ คุณก็ตรัสรู้ เหตุแต่ละเหตุ แต่ละเรื่อง ตรัสรู้สั่งสมไป จนกระทั่งเข้ารอบได้ว่า เราได้มีสิ่งที่ได้สั่งสม การละกิเลสได้ ประมาณนั้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน คุณก็ตรัสรู้โสดาบัน ได้มากขึ้น ลดโลภ ลดโกรธ ลดหลง ลดโมหะ ลงไปอีกๆๆไปอีก ได้รอบอีก ตรัสรู้ขนาดนั้นอีก เออ ขนาดนี้ เป็นสกิทาคามี ก็เป็นตรัสรู้สกิทาคามี ได้รอบ จนกระทั่งสังโยชน์ ๕ มันหมดไป เหลือสังโยชน์สูง เป็นอนาคามี คุณก็ตรัสรู้อนาคามี ตรัสรู้อนุสัย อาสวะสิ้น ไม่เหลือเลย เป็นอรหันต์ คุณก็ตรัสรู้อรหันต์

ทีนี้ จะตรัสรู้โพธิสัตว์ ในระดับของโพธิสัตว์ ไป ก็เป็นตรัสรู้โพธิสัตว์ จนกระทั่งจะตรัสรู้ อย่างพระพุทธเจ้า ที่ท่านบอกว่า แต่ก่อนจะตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ท่านก็คือ เป็นโพธิสัตว์ ตามของท่านนั่นแหละ แต่ละฐานะ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้อง พูดกับคนที่ไม่ได้อยู่ในเกรดเดียวกัน ไม่ต้องมาบอกว่า นี่วิชานี้ เรียนหรือยัง ได้กี่ยูนิต นี่ทำนี่ ได้กี่ยูนิต คราวนี้ ก็คนที่อยู่ในชั้นเรียนเดียวกันอยู่ ในเขาก็พูดกันได้ ไอ้คนที่ไม่รู้เรื่อง คุณจะไปพูดอะไรล่ะ กับคนนอกวงการ นอกวิชาการ นอกระดับที่จะรู้กัน เขาก็ไม่พูดน่ะ

คำว่า ตรัสรู้ นี่ ตีถัวง่ายๆเอาว่า ก็ตรัสรู้ตัวเดียวเท่านั้นแหละ คือเป็นพระพุทธเจ้า คำว่า ตรัสรู้ ของเขา เป็นพระพุทธเจ้าตัวเดียว แต่ของเรานี่ ตรัสรู้เยอะ เพราะฉะนั้น คำว่า ตรัสรู้ ของเขาก็เรียกว่า ก่อนที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนจะตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ เพราะจะตรัสรู้ ก็คือ ตัวเดียว ครั้งเดียว เป็นพระพุทธเจ้าเลย เขาก็เลยเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะตรัสรู้ คนอื่นไม่มีใครตรัสรู้ เพราะฉะนั้น ในตราบใด ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นโพธิสัตว์อยู่ตลอดกาลนาน แล้วมีโพธิสัตว์ อยู่อันเดียวขั้นเดียว นี่ มันก็พูดกันไม่รู้เรื่องน่ะ

คำว่าโพธิสัตว์ ของพระพุทธเจ้านี้ แสดงว่า ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้นั้นคือ ยังไม่ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วย วิหารธรรม น่ะ ธรรมเป็นเครื่องอยู่นี้โดยมากคือ อานาปานสติ นี่นะ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเรา ก็พ้นจากอาสวะ นี่ ฟังดีๆนะ ในขณะที่จิตของเรา ก็พ้นอาสวะ นี่ ก็เพราะว่า ท่านทำอานาปานสติ ท่านพ้นอาสวะ พ้นอาสวะ แล้วเป็นใครล่ะ เอ้า ประเดี๋ยวก็ว่ายังไม่ตรัสรู้ ประเดี๋ยวก็ว่า เป็นพระอรหันต์ ฟังแล้วก็เมาเท่านั้นเอง ถ้าเราไม่เข้าใจแม่นๆ เห็นไหม นี่ ภาษาอยู่ในนี้ มันจะค้านแย้ง ตัวมันเอง ใช่ไหม แล้วจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ เอ๊ มันพ้นอาสวะแล้วก็ตรัสรู้แล้วซี ก็บอกว่า ยังไม่ตรัสรู้ เราก็อาศัยนี้เป็นวิหารธรรม เอ๊ วิหารธรรม แล้วทำไม แล้วก็บอกตรัสรู้ บอกว่าพ้นอาสวะน่ะ เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้โดยมาก

เมื่ออยู่ในความเป็นอยู่อย่างนั้น มีอานาปานสติ บอกว่า ไม่มีอาสวะ เอ้า ตอนนั้น ก็เป็นพระอรหันต์แล้วสิ เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วสิ ที่จริงยังไม่ใช่หรอกนะ ถ้าเราไม่สับสน เราก็จะไม่งงอะไร บอกตอนนี้ จะรู้ตรงนี้ บอกแล้ว เมื่อกี้นี้ อธิบายไปแล้วว่า ในขณะที่เป็นฌาน ก็ตรัสรู้ ฌานได้ ถ้าฟังอย่างนี้แล้ว ไม่ขัดแล้วใช่ไหม นี่ ฟังอย่างนี้แล้ว เผื่อถือพาซื่อบอก ยังไม่ได้ตรัสรู้ แต่พอมาบอกว่า จิตพ้นอาสวะ เอ๊ คนพ้นอาสวะ มันตรัสรู้แล้วนี่ มันจะเมา มันจะงง เอ๊ ท่านพูด เห็นไหมนี่ ถ้าเป็นอาตมาพูดนะ เขาจะบอกว่า ค้านแย้งตัวเอง แต่นี่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เถียงไม่ออก แล้วเขาเข้าใจ อย่างที่เราพูดไหม ที่เราพูดกัน เราเข้าใจแล้ว เราหมดปัญหา แต่เขาเข้าใจอย่างนี้ไหม ไปถามเขาจริงๆเถอะ คุณว่าคำว่า พ้นอาสวะ กับคำว่า ตรัสรู้นี่ อันเดียวกันไหม เอ้า แล้ว ทำไมอยู่ๆ ประเดี๋ยวเดียว ก็บอกว่า ยังไม่ตรัสรู้ ประเดี๋ยวเดียว ก็บอกว่า พอเรามีวิหาร อานาปานสติ เราก็ตรัสรู้แล้ว เรียกสำเร็จแล้วสิ แต่เปล่า ประเดี๋ยวก็ออกมา ใช่ไหม ประเดี๋ยวก็ออกมา นี่ หมายความว่า อยู่ในฌาน อยู่ในฌาน แบบนี้นะน่ะ แล้วจิตของเรา ก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราพึงไม่ลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจ ซึ่งสมาธิอันมีสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์นี้ให้ดีน่ะ ก็ลองฝึกดู เป็นพระอรหันต์ ชั่วคราวน่ะ ให้ฝึกตอนที่ไม่มีกิเลสนี่ เป็นพระอรหันต์ชั่วคราวน่ะ อย่างนั้นน่ะ ก็คงไม่สงสัยแล้วนะนี่ เข้าใจกัน มาเป็นระดับๆๆแล้ว ก็คงไม่มีปัญหา

การนั่งอานาปานสติ เข้าไปอยู่ในสภาพนั้น เขาถึงบอกว่า ท่านพุทธทาสว่าเหมือนกันว่า เป็นนิพพาน ลำลองน่ะ เป็นนิพพานลำลอง เป็นสภาพตรัสรู้ นิพพานลำลอง เมื่อตรัสรู้แล้ว ทีนี้นี่ ก่อนตรัสรู้น่ะ ก่อนตรัสรู้ ก็มีการพ้นอาสวะในชั่วคราวนั้นเหมือนกัน

ทีนี้ อาสวะอันนั้น เป็นอาสวะของพระพุทธเจ้านะ ไม่ใช่อาสวะของคุณ ไม่ใช่อาสวะของโสดา ไม่ใช่อาสวะ ของสกิทา ไม่ใช่อาสวะของอรหันต์ธรรมดา อาสวะของพระพุทธเจ้า ซึ่งย่อมจะต้อง มีภพของท่าน ภพของท่านจะกว้างขนาดไหน โลกวิทูขนาดไหน ก็ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของเราหรอก โลกของเรา ที่ตรัสรู้นั่นคือ โลกจ้อยๆห้อยๆ แต่กิเลสส่วนตัวนั้น โลกของโสดา ก็แค่โลกโสดา เรียกว่าโสดาภูมิ หรือโสดาภพ สกิทาคามีภพ ก็เหมือนกัน ก็ภพของสกิทา อรหันต์ก็ของอรหันต์ กิเลสของเราทั้งหมดที่มีอยู่ เราก็ให้มันพ้นภพ พ้นภูมิของเรานี่ ภพที่มันเป็นภพเป็นภูมิ กิเลสของเรานี่ให้ได้ ส่วนจะไปรวบรวม เอาอะไรอีก ท่านจะสร้างภพที่ใหญ่โต เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ไม่ต้องไปสงสัยกับท่าน ให้คุณสอบผ่านซะก่อนเถอะน่ะ สอบผ่านเป็นขั้นๆไปแล้ว อยากจะไปเรียนอันนี้ค่อยเรียน เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ทรงอยู่ด้วย อานาปานสติโดยมาก นี่ ก่อนตรัสรู้ก็ใช้อย่างนั้น ทีนี้อยู่เมื่อตรัสรู้แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่เร้นในป่า ในป่าอิจฉานังคละ เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกับภิกษุทั้ง หลายว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม อยู่จำพรรษา ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาค อยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ มีสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์โดยมาก เพราะว่ามันอยู่กับตัว

สมาธิของพวกเจ้าลัทธิอื่น เขาจะบอกว่าอยู่วิหารธรรม วิหารธรรมคือ อยู่เป็นสุข สุขวิหารธรรม เรียกเต็มๆ เขาเรียกสุขวิหารธรรม คือเป็นสุขด้วยฌาน นี่เป็นภาษาที่เขาพูดกันทั่วไปล่ะนะ เป็นความสุข เป็นความพ้นทุกข์อย่างสนิท ถ้าเขาจะถามของเราบ้าง เราก็มีอย่างเขาเหมือนกัน ของพระพุทธเจ้า ท่านก็บอกอย่างนี้ ของเราก็มีอย่างเขาเหมือนกันแหละ อยู่ในวิหารธรรมอย่างนี้ ถ้าเขาถามก็บอกเขาตรง บอกว่า ไอ้ที่คุณมี ฉันก็มี จะดูหรือวิหารธรรมอะไร อันเดียวกันนั่นแหละ แต่อันอื่นวิเศษอย่าเพิ่ง เพราะพระพุทธเจ้านี่ ท่านจะต้องประนีประนอม ท่านจะต้องไม่ให้เขามาถกเสียก่อน ไม่ให้เขามาถก มาเถียงกัน ไม่อย่างนั้น เอาเวลาไปเถียงกัน ไม่ทันได้สร้าง เอาเวลาไปเถียงกัน แล้วยุ่งกันไปหมด อาตมาทำงานนี่นะ ตอนแรกๆ เหมือนกันละ ทำงานอย่างนี้ มาแต่ต้น เขาบอกเหมือนกันมาเลยนะ เหมือนมาเลยนะ แหม เคร่งนั่งหลับตา อะไรเหมือนกันเลยนะ... มาพาทำอะไรต่ออะไร พวกเรามา แล้วอาตมาก็สอนพวกเรา ค่อยๆให้เป็น... สัมมาอริยมรรค มาเรื่อยๆๆๆ แต่ดูข้างนอกนี่ แหม เหมือนกันเลยกับทางฤาษี ทางด้านโน้น น่ะสาย...เหมือนกันเลย ใหม่ๆนี่นะ มีที่ผิดแปลกบ้าง ก็กินมังสวิรัติ ตอนแรกก็พยายามเอาอันนั้น มานำหน่อยหนึ่ง นอกนั้นมันเหมือน เขาก็ตายใจว่า เออ ใช่แล้ว นี่ มาดี ไปดี ไปดีแล้ว พอไปดี ไปดี เรื่อยๆๆๆ ฯลฯ

ทำไมคำถาม ที่เขาถามกันอยู่ทุกวันนี้ว่า เขาถามหรือ เราก็ถามด้วย ทำไมล่ะ ว่าไม่ดี ทำไมปล่อยให้มาได้ตั้ง ๑๐ ปี ทำไมปล่อยมาตั้ง ๑๐ ปี ไม่ใช่ปล่อยหรอก เผลอไป เมื่อรู้ก็สายเสียแล้ว หรือเมื่อรู้ก็สูงเสียแล้ว อะไรก็แล้วแต่ เมื่อรู้ก็ไปอย่างนั้นแล้ว อาตมาก็ทำอย่างอาตมานะ นี่ ก็บอกให้พวกคุณรู้ แล้วอย่าเอาไป คุยโม้มากล่ะ เดี๋ยวมันน่าหมั่นไส้น่ะ ก็บอกให้รู้ พระพุทธเจ้าท่านก็ต้องระวังอย่างนี้ บอกแล้วนะ ไม่ใช่มีผู้ที่จะมาปราบ ไม่ใช่มีผู้ที่จะมาเหนือชั้นอะไรขึ้นมาอีกน่ะ เพราะฉะนั้น ก็อาศัยเวลา เหล่านั้น เขาจะไปไหวตัวอะไร เราสร้างหมู่สร้างกลุ่มก่อน สร้างไปได้ มีฐานมีอะไรก็ค่อยๆ เห็นชัดขึ้นเอง พยายามไม่เปิด แต่มันจะเปิดเผยตัวขึ้นมาของมันเอง

เพราะฉะนั้น ถึงมา พอมารู้อีกตัว เฮ้ย...ไอ้นี่มันไม่ใช่ลายเสือ อย่างเรานี่หว่า มันเป็นลายอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เสืออย่างที่เราเป็น ตอนแรก นึกว่าจะเป็นลูกเสือเหมือนกัน ลายเหมือนกัน ตอนแรก เอ้า ลายมันออก มาโตแล้ว ไม่ใช่เว้ย พอรู้ตัวก็ตายเขี้ยวงอกแล้ว เลยบอกไอ้ย่า เลยล้มยากอะไรอย่างนี้ มันเป็นธรรมดา ธรรมชาติอย่างนั้นล่ะ วิธีการ บอกเอาไว้ ฯลฯ

อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร วิหารก็คือ เครื่องอาศัย เครื่องอยู่น่ะ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวธรรมใดๆโดยชอบ พึงกล่าวว่า อริยวิหาร คือธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยเจ้า กล่าวว่าอริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง พรหมวิหารก็คือ ธรรมะเครื่องอยู่อย่างพรหม ตถาคตวิหาร ก็ธรรมเป็นเครื่องอยู่ อย่างพระตถาคตบ้าง ผู้นั้น เมื่อกล่าวถึง อานาปานสติสมาธิ โดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะอยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า เรามีพื้นของอานาปานสติ แล้วมีความเข้าใจ แล้วก็ทำได้อริยวิหาร มันจะเป็นอริยวิหาร ก็ด้วยเป็นพรหมวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร ตถาคตวิหาร ต่างกันโดยคุณภาพน่ะ ถ้าจะว่า อริยวิหาร เป็นเชิงปัญญา พรหมวิหาร เป็นเชิงของเจโต ก็ใช้ได้น่ะ ตถาคตก็รวมเลย วิเศษสมบูรณ์น่ะ ตถาคตวิหาร เป็นเครื่องอยู่ เครื่องอาศัย เพราะฉะนั้น จะเอาอานาปานสติ นี้มาเป็นหลัก ว่าเราย่อมมีสมาธิกำหนดลมหายใจ นี่เป็นฐานอาศัย เป็นวิหารธรรม ก็เป็นวิหารธรรมได้ แล้วง่าย ทำช่ำชองแล้วก็ง่าย กำหนดหยุดง่าย จนกระทั่งไม่ต้องลึกก็ได้ ใหม่ๆ ทำใหม่ๆ แรกๆ ยังเป็นนักเรียนใหม่ๆนี่ มันจะดูลึกเข้าก็ช้านาน พอเข้าไปแล้วจะออกก็นาน พอเก่งเข้าแล้ว เข้าก็เร็ว ออกก็เร็ว เก่งจริงๆ ไม่ต้องเข้าต้องออก มันอยู่ด้วยกัน จะเข้ามันเหมือนไม่ได้เข้า จะออกเหมือนไม่ได้ออก ยิ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นพระอริยะ ที่เจโตสมถะเป็นพื้นฐานด้วยแล้ว ก็ทำได้ จะเข้าปั๊บ ให้มันเป็นสมาธิเข้าไป นั่ง แต่ต้องฝึกเหมือนกันนะ ถ้าเรื้อๆ ไม่ฝึกบ้างเลย มันก็ไม่เป็น

แต่ถ้าเผื่อว่า เอาโดยสมบูรณ์แล้ว จิตไม่เป็นนิวรณ์แล้ว พระอรหันต์เจ้า ก็ไม่มีนิวรณ์ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น ต้องเข้าต้องออก ตรงไหนล่ะ ถ้าเราเข้าใจแล้วว่า ตอนเป็นฌาน เป็นสมาธิ เป็นฌานก็คือ การไม่มีนิวรณ์ในจิต พระอรหันต์เจ้าก็ไม่มีนิวรณ์แล้ว ทุกองค์นั่นแหละ จะเป็นพระอรหันต์ที่นั่งเจโตสมถะ มาหรือไม่ก็ตาม ไม่นั่งเจโตสมถะมา ก็ไม่มีนิวรณ์อยู่ดี แต่ว่ามันไม่ได้อยู่ในภวังค์ ต้องเข้าไปในภวังค์ แล้วก็ถึงค่อยไม่เป็นสภาพหลับ... เป็นการเปิดสติเต็ม แล้วก็ตัดตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่รับรู้ ไม่ใช่ท่านอน ถ้าท่านอน พระอรหันต์เจ้าทุกองค์ ก็ไปด้วยกันหมดทุกองค์ ก็...สบายๆ ทั้งนั้นแหละ ท่านั่งอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ฝึก มันก็นั่งไม่ค่อยอยู่ ถ้าเผื่อว่าไม่ได้ฝึกน่ะ อย่างนี้ เป็นต้นน่ะ

สรุปแล้ว ก็อานาปานสติ นั้นน่ะ จะเรียกอริยวิหาร เรียกพรหมวิหาร เรียกตถาคตวิหาร ก็ได้ แต่ขึ้นอยู่กับ คุณภาพของฐานะน่ะ

ท่านก็พูดเผื่อ ถ้าเราไม่ใช่ตถาคต เราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราก็มีอริยวิหาร เราก็มีพรหมวิหาร ตามคุณภาพ ของคนแต่ละคน แต่ละฐานะ ตามความเป็นจริงน่ะ เอ้า สรุปแล้ว ง่ายๆอย่างนี้ เป็นเครื่องอาศัย พระอรหันต์เจริญอานาปานสติ ทำไม... ทีนี้เจริญทำไม

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำ อันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตน อันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลส เป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น มันจะอนุเคราะห์ แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ถ้าได้ฝึกเจโตสมถะแล้ว บางที มันเหนื่อยๆนะคุณ วับ ไม่ต้องไปนอน นั่งอยู่ที่นี่ก็ได้ คุยกับคุณไป ก็บอกว่า เดี๋ยวนะ ถ้าคุณฝึกช่ำชอง คุณก็ได้ไปอาศัย เป็นปัจจุบันนั่นเทียว เป็นเครื่องอาศัย สุขวิหารธรรม ท่านเรียกว่า เจโตสมถะ หรือว่า อานาปานสติ นี่ เป็นสุขวิหารธรรม เป็นปัจจุบันนั่นเทียว เพื่อความเป็นอยู่สุขในปัจจุบัน คือ มันว่างหมดเลย มันพักได้ มันสบาย มันไม่ต้องทำงานชั่วคราว ถ้ามันเมื่อยมากๆ มันเพลีย มันอะไรนี่ เราก็ต้องหยุด ใช่ไหม หยุดก็หยุด ปรับ ถ้าคนที่ฝึกได้ด้วย มันก็ปรับ

คนที่ไม่ได้ฝึกเจโตสมถะ มันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พักก็ต้องขอเวลานอก นอนหน่อย เป็นพัก ไปนอน ไปพัก ไปหยุด หรือไม่ก็พิงฝาไปเลย แต่นี่ไม่ต้องพัก มันก็จะเป็นการใช้ ไม่ต้อง เพราะทรงตัว หัดทรงตัว หัดตัดทวารทั้ง ๕ หัดอะไรต่ออะไรนี่ อยู่ในภวังค์ได้ อย่างในรูปทรงที่ดี ยิ่งทำได้เก๋เท่าไหร่ ใช่ไหม แหม เก๋ นะ อย่าไปกวนท่าน ท่านกำลังนิโรธ แน่ะ ท่านกำลังอยู่ตอนนิโรธสมาบัติ เอ้าจริงๆ เขาก็ถึงนิโรธสมาบัติ คือ ดับวิหารธรรม ท่านถึงอยู่ ถือว่า สุขนี่ เป็นฌาน เพราะฉะนั้น สมณะนี่ จะเป็นสุข ถือว่าสุขที่สุด เพราะมันว่างที่สุด ไม่ต้องทำงานอะไรเลย

ซึ่งก็พูดกับพวกเรา ตั้งเท่าไหร่แล้ว บอกว่า ไอ้คนเราน่ะ ลงไม่ได้ทำอะไรอยู่ว่างๆ เสร็จแล้ว มันเบาที่สุด มันก็จริงที่สุด เบาที่สุด ง่ายที่สุด แล้วมันก็สบายน่ะ สบายแบบง่ายๆ ใครเขาก็เข้าใจ เพราะฉะนั้น จะเป็นสุขวิหารธรรม ก็ด้วยฌานอย่างนี้ สมณะจะมีอันนี้ ใครเถียงไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าก็เถียงไม่ได้ ใครจะมาเถียงก็ไม่ได้ ทุกคนต้องเข้าใจ แต่นั่นแหละ ก็ไม่ได้หมายความว่า คนเราจะเอาแต่นั่ง อยู่ว่างๆอย่างนั้น เป็นวิหารธรรมที่ เมื่อเราฝึกมาแล้วนี่ เราทำงานไปด้วย เราก็อาศัยไปด้วย เป็นวิหารธรรม ที่ซ้อน ซ้อนในขณะที่เราทำงานนี่ ได้อย่างดี

หากเจริญธรรมอย่างเดียว ชื่อว่า เจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก
ดูกร อานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาวิมุตติให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น อานาปานสติ จึงเป็นองค์ประกอบที่เอื้อให้เกิดสติปัฏฐาน ๔ เอื้อให้เกิดโพชฌงค์ ๗ เป็นอิทัปปัจจยตา ต่อเนื่องทำให้เกิดอาศัยได้ จงเห็นอานิสงส์ของอานาปานสติ นั้น ทำให้เราเกิดสติปัฏฐาน ๔ ได้ดี ให้บริบูรณ์ได้ ทำให้เกิดโพชฌงค์ ๗ ให้ดีได้

อันนี้จะอุปการะจริงๆ จะทำให้เราเกิดสภาพที่เจริญ ด้วยสภาพต่างๆ ดังกล่าวนั้น เอาละ เวลาอาตมา อธิบายเนื้อหาของ อานาปานสติไป ก็คงจะต้องมาพูดถึง ยกตัวอย่างในสูตรต่างๆ ที่เอามาไว้ข้างหน้านั้น ประกอบไปใน ตอน...ปฏิบัติ ตอนอธิบายถึงตอนนั้น

ตอนนี้ ก็จะได้โค้ง จะวกมาที่ตรงนั้นอีกด้วย เมื่อทราบอานิสงส์แล้ว ก็มาเริ่มต้นปฏิบัติกันดู แหม ทำบรรยากาศ นี่มืดลงน่ะ มันจะเป็นฌาน หรือ จะเป็นหลับกันล่ะ มันน่าจะสว่าง...เนาะ หยุดไฟโน่นหรือไง ไฟตกน่ะสิ ก็เราไม่ได้ติดเครื่องไฟ อ้อ หึ แล้วเครื่องก็ขัดข้อง

เอ้า เอ้า คู้บัลลังก์ คู้บัลลังก์ นั่งขัดสมาธิ มีบางคนเขาชอบนั่งพับเพียบ มันไม่ตรงนะ มีในสัดส่วนอย่างนั้น นั่งขัดสมาธิ เขาเรียกว่า คู้บัลลังก์ บัลลังเกนะ บัลลังเก นั่งขัดสมาธิ ขาซ้อนขาให้ดีๆน่ะ เอ้า ตั้งกายตรง ดำรงสติคงมั่นน่ะ

โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เอ้า นั่งสติหายใจออก สติหายใจเข้าน่ะ หลังตรง คอตั้ง ตาหลับ ไม่ใช่ตาตกนะ หลังตรง คอตั้ง หลับตา ตอนนี้ หลับตาก่อน เล่นหลับตาก่อน แต่ก่อนนี้ อาตมาพาให้ลืมตา แล้วมันยาก กว่าจะเข้าฌาน เข้าไปถึงไหน แต่ก่อนนี้ อาตมาไม่ได้ตั้งใจจะสอนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ตอนนี้ หลับตา มันจะได้เข้าไป หลับหรือไม่หลับ รู้ไอ้ตอนนี้

ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
เธอนั้น หายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า หายใจออกยาวดังนี้

ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
เธอนั้น เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า หายใจเข้ายาว เอ้า ดูที่ลมหายใจ หลับตา แล้วก็เอาจิต เอาสติ เอาความรู้สึก มาจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียว ความนึกคิดอะไรมาอยู่ที่ลมหายใจหมด ไม่นึกไม่คิด อะไรทั้งนั้นน่ะ อยู่ที่ลมหายใจ ดูซิว่า เออ อันนี้ยาวนะ ยาวแล้ว ยาวออกไป ยาวออกไป เอ้า เข้าแล้ว เข้า เข้านะ เข้านะ ยาว แล้วอันนี้ออกไปสั้นๆ แล้วเข้าสั้นๆ นะ ออก สั้นๆ ดูอย่างนี้น่ะ ดูที่ความสั้นยาว ความออก ความเข้าเท่านั้นน่ะ

รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
เมื่อเธอนั้น หายใจออกสั้น ก็ให้รู้สึกตัวทั่วถึงว่า หายใจออกสั้น

รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
เธอนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า หายใจเข้าสั้น ดังนี้

น่ะ นี่ ๒ ข้อแล้ว ข้อที่ ๑ มีสติ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า นี่เป็นอันต้น มีสติ ระวัง อย่าลืม ว่ามีสติ สติคืออะไร ต้องรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ว่า มีสติ หรือว่าตอนนี้ สติตกแล้ว ต้องเตือนตัวเองอย่างสำคัญ จะแข็งแรง ไม่แข็งแรง ก็อยู่ที่ตัวสตินี่ เป็นตัวเอก ถ้าสติมันตก ตัวเองนั่นแหละ สติตก แล้วตัวเองก็ไม่รู้ตัว หลับไปแล้ว ก็ไม่รู้ ถีนมิทธะไปแล้ว ก็ไม่รู้ พิจารณาอะไร ไม่ออกทั้งนั้น

สติ จะต้องรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ว่าเรามีสติ เรามีสติ นี่เป็นข้อที่ ๑ น่ะ เรามีสติ ยังหายใจออกอยู่ ยังหายใจเข้าอยู่นะ ยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ มีสติรู้ตัว มันไม่เข้าไปอยู่ในภวังค์ ช่างมัน ฟังดีๆนะ พยายามนั่นล่ะ มีสติอยู่ที่ลมหายใจ เข้าออกเท่านั้น มันจะไม่เข้าไปอยู่ในภวังค์ก็ช่างมัน ไม่ต้องกลัวว่า จะไม่เข้า มั่นคงอยู่กับไอ้นั่นให้หนึ่งเดียว หนึ่งเดียว ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วก็พยายามดูรายละเอียดเพิ่มเติมไป เป็นข้อที่ ๒ น่ะ

หายใจออกสั้น ก็ให้รู้ว่ามันสั้น ว่า เออ นี่สั้นนะ อันนี้ยาวนะ เล่นอยู่กับลมหายใจเท่านั้นแหละ เล่นอยู่เท่านั้น เรื่องเดียว เรื่องอื่นตัดทิ้งหมด เรื่องอื่นตัดทิ้งหมด ไม่นึกไม่คิด ใครจะเป็นใครจะตาย เขาจะมาทิ้ง ระเบิดปรมาณู ก็ช่างมัน อยู่กับลมหายใจเข้าออกนี่ อย่างเดียว แล้วก็ดูว่า ออกนี่ เข้านี่ เรียกว่า สั้นนะ เรียกว่า ยาวนะ ที่อยู่ในข้อ ๒ น่ะ ออกเข้า นั่นอยู่ในข้อ ๑ ทีนี้ ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้น นอกจาก ออกเข้า เท่านั้น ก็ยังบอกว่า นี่ออกยาว นี่ออกสั้น นี่เข้ายาวนะ นี่เข้าสั้นนะ

เมื่อมันออกสั้น มันก็เข้าสั้น มันออกยาว มันก็เข้ายาว อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ก็ดูออกๆ เข้าๆ สั้นๆ ยาวๆ อย่างนั้น ดูเรื่อยไป นี่ เป็นบทที่ ๑ บทที่ ๒ อย่าลืมนะ บทที่ ๑ น่ะ สำคัญกว่า คือสติ ระลึกรู้อยู่เสมอว่า มีสติตกไม่ได้ ความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ตกไม่ได้ ถ้าตกปั๊บ เดี๋ยวก็หลับฟุบเลย พวกเรา ยิ่งเก่งด้วยนะ ไม่รู้หัดมาจากไหน ปึ๊บเดียวแหละ หลับแล้ว ไม่สอน แต่ทำไมมันเป็นเก่ง แหม มันน่า...เหลือใจจริง ไม่ได้สอนสักหน่อย ไม่รู้ไปเอามาจากไหน หือ หลับไว หลับเก่งได้ ไอ้ที่สอนไม่ได้ ไอ้ที่ได้ไม่ได้สอน อย่าลืม สติ เป็นเอก ตัวต้นข้อที่ ๑ จะต้องมีตลอดกาลนาน จนถึงข้อที่ ๑๖ ข้อที่ ๑ จะต้องมีอยู่ตลอดไปหมด แม้แต่ข้อที่ ๒ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เราก็จะรู้เนียน จะรู้ตามเนียนว่า เออ เราจะรู้สึกลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อยู่ได้นะ ถ้าเผื่อเรียนถูกต้อง ไปถึง ๑๖ ข้อแล้วนี่ ถึงข้อ ๑๖ คุณเป็นนิโรธแล้ว คุณก็จะเห็น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของคุณอยู่นั่นแหละ แสดงว่าคุณไม่ได้เข้าไปในภวังค์เลย แต่ทำให้กิเลส มันหมดได้ นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี ได้อย่างชัดแจ้ง เพราะฉะนั้น จะเข้าไปสู่ภวังค์ จะออกจากภวังค์ได้เร็ว ถ้าปฏิบัติอย่างช่ำชองนะ เข้าๆ ออกๆ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ได้อย่างดีแล้ว เหมือนกับมันไม่ได้เข้า ไม่ออก มันได้เร็ว ทันอกทันใจ

เอ้า ดูสติ นั่นก่อนน่ะ เอ้า จะอ่านให้ฟังไปเรื่อยๆ อีก ๒ ข้อ นี่เรียก ว่า กายานุปัสสนาน่ะ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ข้อที่ ๓

สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ ทีนี้ ก็ศึกษาต่อ สิกขตินี่คือ การศึกษา
เธอนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้
คำว่ากาย ทั้งปวงนี้ ก็คือ กองลม ลมหายใจออก หายใจเข้าเท่านั้นแหละ เราจะรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออกดังนี้

สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
เธอนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า
ก็รู้ ตอนนี้ เพิ่มเติมขึ้นมาว่า รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก หายใจเข้า ก็มีอยู่นั่นแหละ ปัสสัมภยัง ข้อที่ ๔

ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
เธอนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ จักหายใจออกดังนี้

ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
เธอนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราจะเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้ระงับอยู่ จักหายใจเข้า

มีสภาพ
๑. มีสติ
๒. รู้ว่าหายใจออกหรือเข้า สั้นหรือยาว ประกอบกัน
๓. รู้กายทั้งปวง คือรู้กองลม อยู่กับกองลมทั้งปวงนั่นเองน่ะ

นี่มี หมายเหตุมาถึง ๓ หมายเหตุ ว่าสำนวนพระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๑๔ ข้อ ๑๔ ทั้งนั้น ข้อต่างๆ นี้ มีสำนวน หลายๆสำนวน ในพระไตรปิฎกนี่ ใช้คำว่า พร้อมเฉพาะ รู้ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ นี่ว่า เป็นผู้รู้ สำเหนียกอยู่ว่า กายทั้งปวง จักหายใจเข้า หรือกำหนดรู้กายทั้งปวง หรือกองลมทั้งปวงน่ะ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ กองลมทั้งปวง จักหายใจออก หายใจเข้าน่ะ นั่นข้อ ๓ ข้อ ๔ ทำให้ระงับ ลมของเรานี่ ท่านบอกว่า ให้เพ่งดู ให้มันละเอียดนะ มันละเอียด หรือว่ามันต่อ มันเข้า เราก็รู้ จนกระทั่ง มีผู้อธิบาย ต่อออกไปว่า เราดูซิว่า ลมของเราร้อน หรือว่า ลมของเราเย็นน่ะ นั่นแถม มีอาจารย์บางอาจารย์ ก็บอกดูลมซิ ลมมันละเอียด ลมมันร้อน หรือลมมันเย็น ลมมันหยาบ ลมมันละเอียด ซึ่งก็ดูกองลมนั่นเอง ปัสสัมภยัง หมายความว่า สงบระงับ ก็จะเห็นว่า มันนิ่ง มันสงบระงับ แล้วจิตของเรา ก็มีสติที่แข็งแรง ตื่น อันนี้เป็น จตุกะที่ ๑ กายานุปัสสนา น่ะ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน เอาแค่นี้แหละ เอาแค่กายนี่ เป็นเบื้องต้นกายให้ดี ระวังนะ ข้อแรกเลย ไม่เอาโงกง่วง ไม่เอาหรี่ ซึมอะไร ไม่เอาทั้งนั้น ต้องสติตื่นเต็ม สติตื่นเต็ม เอาอย่างหลับตา ตอนนี้เอาอย่างหลับตา ตอนนี้ไม่ให้ลืมตาแล้ว ลืมตานั่นก่อนนี้ บอกให้ลืม แต่เดี๋ยวนี้ เอาอย่างหลับตานี่แหละ หลับตาแล้วไม่หลับนี่แหละ ให้มันมีสติเต็ม ถ้ามันจะหลับ ต้องปลุกตัวเอง ขึ้นมาทันที ต้องมีสติ มีสติต้องรู้นะว่า ตัวจะหลับ ถ้าหลับลงไปแล้ว มันไม่มีสติแล้ว มันหรี่ลงไปแล้ว มันไม่มีสติแล้ว เพราะฉะนั้น เริ่มจะหรี่ นี่เรียกว่า ตกแล้ว ถีนมิทธะแล้ว ตกไปสู่ถีนมิทธะแล้ว ถ้าเริ่มจะหรี่ สติไม่เต็มร้อยนี่ ถือว่า เริ่มแล้ว สติตกลงเหลือ ๙๙

นี่ จะเริ่มมีถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ไม่เอา ให้ตื่นเต็ม แล้วไม่ต้องกลัวว่า จะไม่เข้าภวังค์ ให้มันรู้อยู่ ลมหายใจเข้าออกอยู่นั่น อย่างชัดๆ อยู่อย่างนั้น ได้ยินอาตมาพูดนี่ ยังไม่ต้องไปคิดถึงเวทนา ยังไม่ต้องไปคิดถึงจิต แล้วในบทต่อไป จะได้ตรวจสอบเวทนา จะตรวจถึงจิต ตรวจถึงนิวรณ์ ตอนนี้ ไม่ถึงนิวรณ์นิเวินอะไรหรอก ตอนนี้ตรวจดูที่ลมหายใจ ดูว่าเราเอง เราเพ่งลมหายใจได้จริงๆไหม เราวอกแวกไปอื่นไหม เราง่วงไหม เมื่อไม่ง่วง แล้วก็ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ต้องไปพูดถึงกาม ไม่ต้องไปพูดถึง พยาบาท จิตให้มันจดจ่อ ไม่ต้องนึกต้องคิด อยู่กับลมหายใจเท่านั้นก่อน... คอตั้ง หลังตรง คอตั้งหลังตรง ดูตัวเราด้วยว่า เรานั่งอยู่ในท่าไหน นั่งอยู่อย่างไร ใช้กระแสของความรู้ นี่ พอรู้ๆ ใช้กระแส ที่มันจะพอรู้ๆ ตัวเองว่า นั่งอยู่อย่างนี้ๆๆๆ มันนั่งตรงหรือเปล่า ให้รู้อยู่ ให้มีสติ มีความรู้ สติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้เต็มที่น่ะ ไม่ต้องกลัวว่า จะไม่เข้าภวังค์ ประเดี๋ยวต่อๆไป ทำจนแข็งแรง เข้าภวังค์แล้ว จะเข้าภวังค์ได้ดี แต่ถ้าเผื่อว่า ไม่ระวังไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่า เรานั่งตรง ไม่รู้ว่า เรานั่งเอียงอะไรนี่ เข้าไปในภวังค์ ประเดี๋ยว ก็เอียงกระเท่เร่ ไปข้างหน้า ข้างหลังอะไร ไม่ได้เรื่องหรอก รูปไม่ดี จะต้องตรงให้ดีๆ ถึงเวลาที่ได้ที่ มันจะเข้าสู่ภวังค์ ได้อย่างใส แล้วทุกอย่างจะพร้อม ทั้งข้างนอก รูปนอกก็ดี รูปในก็ดี ไม่ต้องเกร็งตัว นั่งให้มันอยู่ในสภาพที่ตรง ที่ดีเท่านั้น ไม่ใช่เกร็ง นะ นั่งในสภาพที่ตรงดีๆ อย่าเกร็ง เกร็งแล้วเมื่อย นั่งตามรูปที่ดี ของเราให้มันตรงให้ดีๆ โงก อย่าให้ตัวส่าย ดีๆ น่ะ แหงนหน้า ประเดี๋ยว หลังล้มตึงเลย ยั้งไม่อยู่ เคยมีบ่อย นั่งตรงอย่างนี้ แล้วแหงนหน้า อย่างนี้ปึ้บ ลงไปข้างหลัง แล้วหัวฟาดเลยนะ อย่าแหงนหน้า คือ กลัวว่าเราจะหงุบลงข้างหน้า ก็เลยแหงนหน้าขึ้นไปเลย ไอ้นั่นล่ะ ยิ่งหัวฟาด ยิ่งไม่ดีใหญ่ ให้ตรง ให้คอตรง แล้วนะ มันไม่มีถีนมิทธะ ไม่มีง่วง ไม่มีฟุ้งซ่านอะไรมาก เท่านั้นแหละ เราจะรู้สึก สบายแล้ว โดยเฉพาะพวกที่ปฏิบัติมาเรื่องกาม เรื่องพยาบาท อะไรไม่มากไม่มายแล้วนี่ จะเห็นชัดเจนเลย เออ ถ้าเราตรวจดูนิดๆหน่อยๆ ว่ากามเราก็ไม่มี นะ ตอนนี้ ไม่มีอารมณ์กามอะไร ไม่มีพยาบาทอะไร

เพราะฉะนั้น มาต่อสู้ ก็ต่อสู้กับไอ้ตัวถีนมิทธะ กับไอ้ตัวฟุ้งซ่านนี่แหละ ถ้ามันไม่มีฟุ้งซ่านอะไร จิตก็อยู่ง่าย จิตก็อยู่นิ่งง่าย จะฟุ้งซ่านอะไรแล้วก็ไม่ตก ไม่ตกเป็นถีนมิทธะน่ะ ไม่ตก อยู่อย่างตื่น อยู่อย่างแข็งแรง ขนาดนั้นน่ะ แค่นี้ คุณจะรู้สึกอารมณ์ได้เลยว่า มันสบาย มันสบายแล้ว ก็หมายความว่า มันไม่มีนิวรณ์ นั่นแหละ มันไม่มีสภาพนิวรณ์นั่นแหละ อย่างน้อยก็เป็นนิวรณ์อย่างหยาบ ไม่มีนิวรณ์อย่างหยาบ ไม่ต้อง ยังไม่ตรวจ ยังไม่ไปตรวจจิตอะไรที่เป็นลึกๆ ยังไม่ต้องตรวจไปถึงขนาดนั้น แค่นี้ก่อน ถ้าเราทำได้ เราจะเห็นว่า แค่นี้ก็สบายแล้ว จะเห็นวิหารธรรม เป็นสุขวิหารธรรม ที่แท้จริง เข้าใจได้เป็นสุขวิหารธรรม ที่แท้จริง มันเบา มันง่าย มันสบายน่ะ ยังไม่ต้องถึงขั้นเข้าไปอยู่ในภวังค์ ในนั้นเข้าไป ที่เป็นสภาพลึก สภาพละเอียดเข้าไปอีก แค่เท่านั้นได้ ไม่มีถีนมิทธะนี่ ตัวนี้แหละตัวร้ายล่ะ ลองดู กะให้ดู เวลาเสร็จรายการ เสร็จอะไรต่ออะไรแล้ว รีบไปนอน พักผ่อนให้ดี ไม่อย่างนั้นละก็ พุทธาภิเษกฯคราวนี้ล่ะ ไม่อย่างนั้น ตื่นเช้าเข้ามา เจโตสมถะ มาถึงสมาธิอะไร ก็มานั่งหงุบๆหงับๆ วันๆ หงุบหงับมันทั้งๆวันสิ เสียท่า

วันนี้นะได้เวลาเริ่มต้นลองดู จะเห็นได้ว่า บางคนจะได้รู้สึกว่า เราเองนี่ พอนั่งหลับตาเข้าเท่านั้นล่ะ มันหลับเลย จะเห็นได้ชัด เอ๊ะ ทำไมมันง่ายจังเลยนะ ไม่ได้สอนสักหน่อยเลย วิธีนั้นน่ะ ไปเอามาจากไหน ทำไมช่ำชองจังเลย ไปฝึกฝนตั้งแต่ปานใดมา ฝึกฝนมาหลายปางแล้ว ไอ้ไปติดหลับ ติดอย่างนั้นน่ะ มากมายจริงๆนะ เพราะฉะนั้น เราจะต้องมาลองดูๆ วันนี้ เอามันให้ได้นะ อย่างน้อยที่สุด ไอ้ตัวถีนมิทธะ นี่แหละ เอามันชนะก่อน โดยไม่จำเป็นที่จะต้อง ไปเข้าภวังค์ก่อน ให้มันได้ก่อนเลย อยู่อย่างนี้แหละ ไม่ใช่แว้บ เอาแล้ว พอเข้าภวังค์แว้บ ไม่เอา ตื่นมันนี่ ให้มันรู้ไม่ให้แว้บ แว้บเข้าไป เพราะฉะนั้น พอเข้าภวังค์แล้ว ก็เป็นอย่างนั้น มันจะไปไม่ได้อะไรละน่ะ มันก็กลายเป็น นั่งหลับทุกทีไป แย่กันพอดี

 



ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง
ตรวจทาน ๑. โดย สม. ปราณี ๒๓ พ.ค.๓๓
พิมพ์โดย สม. นัยนา เถระวงศ์
ตรวจทาน ๒. โดย
โครงงานถอดเท็ป ๒๙ พ.ค.