จากประสบการณ์ของ หลี่ เว่ย หวง
โดย หลิน เซิ่น โส่ว ภาพถ่ายโดย หวัง ยี่ หั่ง แปลโดย อธิธัช สาทรกิจ

ท่ามกลางลมหนาวและหิมะ

ทารกน้อยผู้ถูกห่อคลุมร่างกายอย่างดีด้วยผ้าห่มผืนบาง กำลังจ้องมองด้วยความอยากรู้ อยากเห็น เขาจะรู้ได้หรือไม่ถึงความรู้สึกที่บีบคั้นของมารดาต่อแรงกดดันในการอยู่รอด? เมื่อความหนาวเย็น พัดกระหน่ำจากเบื้องบน ในขณะที่แทบทุกตารางนิ้ว ถูกปกคลุม ไปด้วยหิมะ ทุกคนในครอบครัว ต้องเบียดเสียด ยัดเยียดรวมกันอยู่ ในเต็นท์ ซึ่งทำขึ้น อย่างหยาบๆ ที่มิอาจป้องกันความเหน็บหนาว ประชากร กว่าหนึ่งล้านคน ในอัฟกานิสถาน ต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการเอาชีวิตรอด พวกเขา ต้องการ ทุกสิ่งทุกอย่าง และที่ต้องการมากที่สุดก็คือ........ความหวัง

หิมะเริ่มโปรยปรายลงมาก่อนที่การแจกจะเริ่มขึ้น แม่ลูกอ่อนผู้หนึ่งกำลังนั่งให้นมลูกน้อย โดยไม่นำพา ต่อสภาพอากาศ ที่เหน็บหนาว รวมทั้งอาหารที่วางอยู่ข้างกายซึ่งเธอ พึ่งจะได้รับ แจกจ่ายมา ทารกน้อย พริ้มตา เคลิ้มหลับในอ้อมอกมารดา หลังจากดูดนม ไปเพียงไม่กี่หยด ระหว่าง ที่เกล็ดหิมะ เริ่มโปรยลงมา จากท้องฟ้า เฉิน จิน ฝ่า หนึ่งในทีมอาสาสมัครฉือจี้ผ ู้กำลังรวบรวม คูปองจากผู้ลี้ภัย สังเกตเห็นว่า หญิงผู้นี้ มีเพียงเสื้อผ้าเนื้อบางห่อหุ้มร่างกาย และผ้าคลุม ตามประเพณี อีกผืนเดียวเท่านั้น ซึ่งเธอใช้ คลุมศีรษะ

ถึงแม้จะปราศจาก ปรอทวัด อุณหภูมิภายในค่ายผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน แต่จาก ประสบการณ์ ของเฉิน จิน ฝ่า ผู้ซึ่งเดินทาง ไปยังแถบขั้วโลกบ่อยครั้งเพื่อแจกจ่ายเครื่องบรรเทาทุกข์ อุณหภูมิอยู่ที่ระดับ-๕ องศา เซลเซียส (๒๓ องศาฟาเรนไฮต์)

ตอนเย็นของวันที่ ๑๘ มกราคม หน่วยอาสาสมัครบรรเทาทุกข์ได้เดินทางกลับถึงกรุงไทเป หลังเสร็จสิ้น ภารกิจ ในการเดินทางไปให้ความช่วยเหลือแก่ชาวอัฟกันซึ่งมี กำหนดการ สิบเอ็ดวัน หลังลงจากเครื่องบิน อาสาสมัครทุกคนเดินทางตรงไปยังเมืองกวนตู เขตไทเป เพื่อรายงานผลการปฏิบัติภารกิจ ต่อท่าน ธรรมาจารย์ เจิ้ง เอี๋ยน ขณะที่ท่านธรรมาจารย์ ยังคงอยู่ระหว่าง การเดินทางเยี่ยมเยียน ทั่วเกาะไต้หวัน ตามกำหนด สมาชิกที่เดินทางกลับจาก อัฟกานิสถาน ต่างไม่ได้อาบน้ำมานาน ถึงแปดวันเต็ม และ ตลอดระยะ เวลาดังกล่าว พวกเขาได้ แปรงฟัน เพียงสองวันครั้ง จากประสบการณ์ ที่พวกเขา ถ่ายทอด ทำให้เราสามารถ มองเห็นถึงสภาพอับจน ของผู้ลี้ภัย ชาวอัฟกันได้อย่างชัดเจน

" ท่ามกลางหิมะที่เหน็บหนาว ผู้ลี้ภัยต่างมีเพียงเสื้อผ้าเนื้อบางไว้ห่อหุ้มร่างกาย เป้ากางเกง ของพวกเด็กๆ ขาดรุ่งริ่ง ไม่ต่างจากผ้าขี้ริ้ว และพวกเขา ก็ไม่มีแม้แต่ชุดชั้นใน สวมใส่...." เฉินพูดได้เพียงไม่กี่คำ ก่อนที่ริมฝีปากของเขา จะเริ่มสั่น ด้วยความรู้สึก สะเทือนใจ ก่อนภารกิจ ครั้งนี้ เฉินผ่านงาน บรรเทาทุกข์ มาจน นับครั้งไม่ถ้วน และพบเห็น ความทุกข์ยาก มาแล้ว แทบจะทุกรูปแบบ ถึงกระนั้น เขาก็ยังคง หลั่งน้ำตา เมื่อหวนรำลึกถึง สภาพของเด็กกำพร้า และแม่หม้าย ที่ต้องเผชิญ ความลำเค็ญ อยู่ภายใน ค่ายผู้ลี้ภัย

เขาเดินทางกลับบ้าน อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า และนำภาพที่เขาถ่ายไว้กว่าสี่ร้อยภาพ ออกมา จัดเรียง ภาพเด็กๆ ที่ปราศจากรองเท้ากำลังยืนท่ามกลางหิมะที่เหน็บหนาว ภาพของสตรี ในสภาพ ระทมทุกข์ กำลังอ้อนวอนขอความเมตตา คนบาดเจ็บที่แขนขาหัก ผู้ลี้ภัยใน ท่านอนคุดคู้ อยู่ตามซอกมุม ของซากปรักหักพัง... แต่ละภาพตอกย้ำความทรงจำ จนเขาไม่อาจข่มตาหลับลงได้ ตลอดคืนนั้น

*** ที่ใดหรือคือบ้านของพวกเขา
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.๒๐๐๑ มูลนิธิฉือจี้ได้ประสานความร่วมมือกับไนท์บริดจ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในการ ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน และในเดือน ธันวาคมปีเดียวกัน เอ็ดเวิร์ด อาร์ติส และวอลท์ แร็ทเตอร์แมน ประธานของไนท์บริดจ์ ได้เดินทางกลับไปยังอัฟกานิสถานอีกครั้ง เพื่อปูทางให้งาน บรรเทาทุกข์ ของมูลนิธิฉือจี้

ในวันที่ ๘ มกราคม ค.ศ.๒๐๐๒ อาสาสมัคร ฉือจี้จำนวน ๘คนจากไต้หวัน ละสหรัฐอเมริกา ได้เดินทาง ไปยังเมือง ทาซเค้นท์ เมืองหลวงของ อุซเบกิสถาน พบกับอาร์ติส และแร็ทเตอร์ แมน เข้าโดยบังเอิญ หลังจากนั้น ทั้งหมดได้เดินทาง ผ่านเมืองเตอร์เมซ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ กับพรมแดน อุซเบ็ก-อัฟกัน เพื่อเข้าไปยัง เมือง ไอแบ็ก เมืองทางตะวันออก เฉียงใต้ ของมาซาร์อีชารีฟ ทางตอนเหนือ ของอัฟกานิสถาน ระหว่างเดินทาง โดยรถยนต์ กว่าสองชั่วโมง พวกเขา ไม่พบเห็น สิ่งใดเลย นอกจาก ความรกร้าง ว่างเปล่า แทบไม่มีผู้คน หรือ ยวดยาน ปรากฏให้เห็นเลย ซากรถถังรัสเซีย ถูกปล่อยทิ้งไว้ ตามจุดต่างๆ ข้างถนน มานานกว่า สิบปี

เพื่อให้สอดคล้อง กับหลักการทำงานด้านบรรเทาทุกข์ของฉือจี้ เรื่อง - ลำดับความสำคัญก่อน - หลัง, ทำได้จริง ในเชิงปฏิบัติ และทันต่อเหตุการณ์ ทั้งทีมตัดสินใจเลือกโรงเรียน โรงพยาบาล และ ค่ายผู้ลี้ภัย ฮัซราตี -สุลต่านในเมืองไอแบ็ก เป็นเป้าหมายหลัก ในการให้ความช่วยเหลือ เป้าหมาย เหล่านี้ไม่เคย ได้รับ ความช่วยเหลือใด ๆ จาก โครงการอาหารโลก

ผู้ลี้ภัยตั้งแต่ กลุ่มละหลายสิบ จนถึงหลายร้อยคน ต่างรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ ตามร้านค้า ที่ถูกทิ้งร้าง หรือ ตามซากหักพัง ของโรงมหรสพ แต่ละครอบครัว ต่างเบียดเสียด รวมกันอยู่ในพื้นที่ขนาด ๙.๙๑ ตารางเมตร (๑๐๗ ตารางฟุต) โดยมีเพียง ฝาผนังที่หักพัง หรือเศษผ้า ซึ่งถูกใช้ เสมือนหนึ่ง เป็นเครื่องหมาย แบ่งสัดส่วนของ แต่ละครอบครัว

ลมหนาวกระโชก ใส่ผู้มาเยือน จากฉือจี้อย่างไม่ปราณีปราศรัย ทันทีที่พวกเขา เหยียบย่าง เข้าไป ในบริเวณ ซากปรัก หักพัง เหล่านั้น ผู้ลี้ภัยต่างก่อกองไฟเพื่อช่วย ให้ร่างกาย ของพวกเขา อบอุ่น และทั้งบริเวณ ก็คละคลุ้ง ไปด้วยควัน ที่ทำให้เคืองตาแสบจมูก สตรีผู้หนึ่ง กำลังพยายาม พัดกองไฟ เพื่อไม่ให้มอดดับ ในขณะที่ลูก ๆ ทั้งสามคนของเธอ ต่างยื่นมือ ออกไปอังไฟ และพยายาม นั่งเบียดชิดกัน ให้ใกล้กองไฟ มากที่สุด เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่นขึ้น โดยไม่ใส่ใจควันไฟ ที่แสบเคือง

ทุกหนแห่งไม่มีไฟฟ้าใช้ และแม้จะเป็นช่วงกลางวันก็ตาม บรรยากาศก็ยังคงมืดสลัว กลิ่นเชื้อรา จากความอับชื้น โชยมากระทบจมูก ผู้มาเยือน ในท่ามกลางความมืดสลัว สตรีผู้หนึ่ง นอนคุดคู้ อยู่ตรงมุมห้อง และเด็กๆ หลายคน ต่างแบมือยื่นออกมา และร่ำร้อง ขอข้าวของต่างๆ

ที่โรงเรียนร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งถูกใช้เป็นที่หลบภัยของผู้คน กว่าสี่สิบหก ครอบครัว ในสภาพ ที่แทบจะ ไม่มีอะไรเลย ผู้ลี้ภัย จึงต่างร้องขอ ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อทีมบรรเทาทุกข์ฉือจี้ ไปถึง อาสาสมัคร ไม่รู้จะทำอย่างไร หากเป็นไปได้ พวกเขาปรารถนา จะมีถุงมหาสมบัติ ที่สามารถเนรมิต ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อสนอง ความต้องการของ บรรดาผู้ลี้ภัย

จากคำบอกเล่าของเส็ง ตัง ฮั้ว หนึ่งในอาสา-สมัครจากเท็กซัส ผู้ลี้ภัยที่มีเต็นท์สำเร็จรูป นับว่า เป็นพวก ที่โชคดี หลายๆ ครอบครัว ต่างมีเพียงกิ่งไม้ ที่ใช้ต่าง โครงและผ้าใบ ไว้ปิดคลุม ทำเป็นกระโจม พอเป็นที่คุ้มหัว ในขณะที่ผู้ลี้ภัย อีกมากมาย นับไม่ถ้วน ต้องใช้ชีวิต ไม่ต่างจาก มนุษย์ถ้ำ ด้วยการขุด โพรงดิน ทำเป็นที่อยู่ แบบเดียวกับ ตัวมาร์ม็อต โดยคลุมปากโพรง ด้วยแผ่นพลาสติก

เมื่อหิมะตกหนัก กระโจมที่ก่อขึ้นด้วยโครงไม้ และผ้าใบ ก็จะพังทลายลงมา และเมื่อหิมะ ตกลงมา ทับถม จนปิดคลุม ซากกระโจม เหล่าอาสาสมัคร ก็แทบจะไม่รู้เลยว่า พวกเขา กำลังเหยียบย่ำลงบน ' หลังคา' ที่คุ้มหัว ของผู้ลี้ภัยเหล่านั้น อาร์ติส ซึ่งตัวใหญ่ที่สุดในทีม เคยสะดุด และล้มลงไปในบ้าน ของใครบางคน

ระหว่างที่เดินทางไปยังเขตฮัซราตี-สุลต่าน มีสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งสวมใส่เบอร์คา-ผ้าที่ใช้สวมคลุม ตามประเพณี ซึ่งคลุมปิด ตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า -ได้ขอร้องให้อาสาสมัคร รับจดหมาย ขอความช่วยเหลือ ที่เธอยื่นส่งให้ ถึงแม้จะไม่มีใคร เข้าใจเนื้อความ ในจดหมาย แต่ก็พอจะคาดเดาได้ว่า มันเขียนถึงเรื่องอะไร พวกเขา ต่างรู้สึกสลดใจ ต่อทุพภิกขภัย อันเป็นผล จากสงคราม

ในค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาพบกระโจมหลังหนึ่งซึ่งมีแต่เด็กๆ อยู่รวมกันสี่คน เด็กคนโตที่สุด มีอายุราวๆ ห้าขวบ จากการแปล ของล่าม พวกเขาได้รับรู้ว่า เด็กเหล่านั้น อยู่ที่นั่นมา เก้าเดือนแล้ว แม่ของพวกเขา เสียชีวิต ส่วนพ่อ ของพวกเขาก็คง จะกำลังทำงานอยู่ ที่ไหนสักแห่ง เด็กชายวัยห้าขวบ คนนั้น ต้องทำหน้าที่ หัวหน้า ครอบครัว และ ดูแลน้องๆ ทุกคน

อาสาสมัครต่างเดินจากมาด้วยหัวใจที่หนักอึ้ง และเพียงไม่กี่ก้าวจากจุดนั้น พวกเขาเห็นสตรี อีกผู้หนึ่ง กำลังคุกเข่า อยู่หน้าถ้ำโพรง เธอมีสภาพอ่อนระโหย อันเป็นผล จากการขาดอาหาร และไข้หวัด ภาพที่พบเห็น ทำให้อาสาสมัคร อย่างสตีเฟ่น หวง และเส็ง ตัน ฮั้ว ต้องเมินหน้า แอบซับน้ำตา ของพวกเขา

หวง ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมทางศาสนากล่าวว่า ระหว่างที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาเห็น แต่ท้องฟ้า สีเทาหม่นมัว และผืนดิน ที่แห้งแล้ง ผู้คนต้องทนอยู่อย่างโดดเดี่ยว และที่ที่พวกเขา อาศัยซุกหัวนอน ก็ไม่ได้มีสภาพ ใกล้เคียงกับคำว่า บ้านเลย แม้แต่น้อย " ในรอบสิบปีที่ทำงาน บรรเทาทุกข์ นับได้ว่า การเดินทาง ครั้งนี้ สร้างความสลดใจ แก่ผมมากที่สุด" เขากล่าวย้ำ ไม่ว่าจะเป็นผลของความยากจน หรือความเพิกเฉย ไม่ใยดีก็ตาม สิ่งที่เหลือทิ้งไว้ให้ ชาวอัฟกัน เหล่านี้ก็คือ ความหิวโหย อดอยาก โรคภัยไข้เจ็บ ความโหดร้าย และ อนาคตที่สิ้นหวัง

เส็งยังจำได้ถึงตอนเย็นวันที่เขากำลังจะออกเดินทางไปอัฟกานิสถาน ลูกชายของเขา พูดกับเขาว่า อย่าร้องไห้ จนเกินไป เขาได้บอกกับลูกชายไปว่า " พ่อผ่านงานแบบนี้ มาหลายต่อหลายประเทศ จนชินแล้ว พ่อคงไม่มีทาง ร้องไห้อีกแล้วละ!" แม้จะบอกลูกชาย ไปอย่างนั้น ก็ตาม แต่เขาก็ยังต้องหลั่งน้ำตา หลายต่อหลายครั้ง ในอัฟกานิสถาน

*** แจกจ่ายท่ามกลางหิมะ
การแจกจ่ายข้าวของเครื่องใช้ท่ามกลางหิมะในคืนนั้นยังคงประทับในความทรงจำ ของเหล่าอาสาสมัคร

ตอนแรก ที่ไปถึง อัฟกานิสถาน อุณหภูมิ ยังสูงกว่า๑๐องศาเซลเซียส (๕๐ องศาฟาเรนไฮต์) แต่แล้ว หิมะก็เริ่ม ตกลงมาในวันที่ ๑๓ มกราคม ซึ่งเป็นวันแจกจ่าย เครื่องบรรเทาทุกข์ ให้แก่ผู้ลี้ภัย หิมะสีขาว ปกคลุม พื้นโคลน ทั่วเมืองไอแบ็ก เสมือนหนึ่งกดทับ ลงบนจิตใจ ของทุกผู้คน

สมาชิกทุกคนในทีมต่างสวมใส่แจ็คเก็ตเนื้อหนา พันผ้าพันคอ รวมทั้งสวมถุงมือ เพื่อป้องกัน ความหนาวเย็น แต่กระนั้น พวกเขาก็ยังคงสะท้านทุกครั้ง ที่ลมหนาว กระโชกเข้าใส่ พวกเขายิ่งรู้สึก เหน็บหนาว ยิ่งขึ้นไปอีก ทุกครั้งที่นึกถึง สภาพของผู้ลี้ภัยที่มี แค่เพียงเสื้อผ้า เนื้อบางไม่กี่ชิ้น ห่อหุ้มร่างกาย หรือ สภาพของหลายคน ที่ไม่มีแม้แต่รองเท้า จะสวมใส่

หิมะยังคงโปรยลงมา และอุณหภูมิ ก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ เครื่องใช้และสิ่งของบรรเทาทุกข์ มีกำหนดการ จะ ไปถึงที่หมาย ตอนเที่ยง แต่เมื่อถึงกำหนดตามเวลา ก็ยังไม่มีวี่แววของ รถบรรทุก ปรากฏให้เห็น ในรถไม่มี เครื่องมือ ติดต่อสื่อสาร ดังนั้น ทุกคนในทีมจึง ได้แต่เฝ้าคอย ด้วยใจกังวล ในขณะที่ผู้ลี้ภัย ซึ่งยืน ห่างออกไป ต่างจับตามองมายังเหล่า อาสาสมัคร

ขณะเฝ้าคอยเครื่องใช้และสิ่งของบรรเทาทุกข์ เส็ง ตัน ฮั้ว ซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณ ได้ออกปากขอ ใช้เต็นท์ หลังหนึ่ง เพื่อทำการฝังเข็มด้วย วิธีรักษาแผนโบราณ ของจีน ทั้งเสื่อและผ้าห่ม ที่ถูกหยิบยืม มาจากถ้ำ และกระโจมหลังอื่นๆ ต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำที่ละลาย จากหิมะ ภายใต้สภาพ อากาศ ที่เลวร้ายเช่นนี้ ชาวอัฟกัน มีเพียงร่างกายของพวกเขาเท่านั้น ที่ใช้ต่อสู้กับความหิวโหย และ เหน็บหนาว เส็งรู้สึกทึ่ง และชื่นชมต่อ ความเข้มแข็ง ของพวกเขา

ณ ที่นั้น ทั้งโรคผิวหนัง ปัญหาเกี่ยวกับสายตา ไข้หวัด โรคกระเพาะ แผลผุผอง โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ฯลฯ ต่างเป็นโรคที่สามารถพบเห็นได้ โดยทั่วไป เส็งพยายามช่วย บรรเทาอาการ ของโรคต่างๆ ให้แก่ผู้ลี้ภัย ด้วยวิธี การฝังเข็ม เขากล่าวอย่างอับจนว่า ภายใต้สภาพ ความเป็นอยู่ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะเช่นนี้ พวกเขา อาจจะไม่มีทาง หายขาดจากโรคต่างๆ ได้เลย แม้จะได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่านี้ อีกหลายเท่า ก็ตาม หลายต่อหลายโรค สามารถ เห็นอาการได้อย่างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย การแปล ของล่าม

เส็งให้ข้อสังเกตว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ มักจะมีอาการท้องร่วง ซึ่งสะท้อน ให้เห็นถึงคุณภาพ อาหารท้องถิ่น รวมทั้ง การสุขาภิบาล ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ลี้ภัย ส่วนใหญ่ ต้องเดินฝ่าความมืด ยามค่ำคืน ที่เหน็บหนาว เพื่อไปเข้าห้องน้ำ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมพวกเขา จึงเป็นไข้หวัด !

แผลบนมือของชายผู้หนึ่ง มีอาการอักเสบ และเป็นหนอง แผลนั้นลึกจนสามารถ มองเห็น กระดูก อีกทั้ง กลิ่นเหม็น ยังคละคลุ้งไปทั่ว เส็งวินิจฉัยว่า แผลนั้นต้องได้รับ การผ่าตัด อย่างเร่งด่วนที่สุด มิฉะนั้น มือ ข้างนั้น จะต้องถูกตัดทิ้ง เนื่องจากไม่มี สถานีแพทย์ แม้แต่ แห่งเดียว ในค่ายผู้ลี้ภัย ดังนั้น การผ่าตัด จึงไม่มีทางทำได้ เส็งไม่มีทาง เลือกอื่นใด อีกเลย นอกจาก ทำได้เพียง ให้การรักษาด้วยยา เท่าที่มีอยู่

ท้องฟ้าเริ่มมืดลง และอาสาสมัครทุกคนต่างเคยได้ยินข่าวว่า ก่อนหน้านี้รถบรรทุก ของ สหประชาชาติ ยังเคย ถูกปล้นมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเฉิน จิน ฝ่า หันไปถามชาวอัฟกัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ ถึงเครื่องใช้ และสิ่งของ บรรเทาทุกข์ คำตอบ ที่ได้รับก็คือ " เมื่อยังไม่ได้ ข่าวคราวอะไร นั่นถือเป็นข่าวดี" เฉินไม่รู้ว่า เขาควรจะดีใจ หรือเศร้าใจ กับคำตอบนั้นดี

ในที่สุด ข้าวของที่นำมาแจกจ่ายก็มาถึงตอนพลบค่ำ แม้หิมะจะยังตกลงมาตลอดเวลาก็ตาม แต่เมื่อทุกคน เห็นสีหน้าของ บรรดาผู้ลี้ภัย พวกเขาก็ตัดสินใจ ขนถ่ายข้าวของทั้งหมด ลงจากรถบรรทุก และทำการแจกจ่าย ในทันที ท่ามกลางความมืด

ถุงยังชีพแต่ละใบหนัก ๕๐ กิโลกรัม (๑๑๐ ปอนด์) ดังนั้น การขนถ่ายลงจากรถบรรทุก การจัดเรียง และ แยกประเภท ของข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ บนพื้นที่เต็มไปด้วยหิมะ จึงไม่ใช่ งานง่าย เลยแม้แต่น้อย แต่เมื่อได้คิดว่า อีกไม่นาน ผู้ลี้ภัยเหล่านั้น ก็จะได้รับแจกแล้ว สิ่งนี้ทำให้ พวกเขารู้สึก ราวกับว่า ข้าวขอ งเหล่านั้น เบากว่าความเป็นจริง อีกทั้งสีหน้าของ บรรดาผู้ลี้ภัย ที่ฉาบไว้ด้วย รอยยิ้ม ที่เปี่ยมสุขยิ่ง ทำให้เหล่า อาสาสมัคร รู้สึกอุ่นใจยิ่งขึ้น ขณะที่กำลังขนถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ ลงจาก รถบรรทุกอยู่นั้น ผู้บังคับการ กองทหาร ท้องถิ่นนายหนึ่ง ได้เดินทางมาถึง และเข้าช่วยขน สิ่งของด้วย

ท่ามกลาง ความมืด และหิมะที่โปรยปรายลงมา ทุกคนสามารถมองเห็นดวงไฟ นับพันๆ ดวงที่ส่อง ประกาย ระยิบระยับ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยพากันเคลื่อน ใกล้เข้ามาพร้อม ตะเกียง น้ำมันก๊าด ในมือ ของพวกเขา

สามชั่วโมงผ่านไป พร้อมกับถุงข้าวสาร อาหารแห้ง กว่าหนึ่งพันถุง น้ำมันพืชหกร้อยปี๊บ และผ้าห่ม อีกสี่ร้อยผืน ก็ได้ถูกแจกจ่าย ให้แก่ผู้ลี้ภัย

" ทาซเคอร์"
แม้ว่าสงครามในอัฟกานิสถานจะยุติลงแล้วก็ตาม แต่อาสาสมัครบรรเทาทุกข์ ก็ยังกังวลว่า พวกเขา อาจจะต้อง เผชิญความยุ่งยาก ในการแจกจ่าย สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ดังนั้น ตั้งแต่ วินาทีแรก ที่พวกเขา เหยียบย่างเข้าไปใน อัฟกานิสถาน จนกระทั่ง เดินทางกลับออกมา พวกเขา จึงได้รับการคุ้มกัน อย่างดี จากเจ้าหน้าที่ ติดอาวุธ และระหว่าง ที่พวกเขา กำลัง เฝ้าคอย เครื่องบรรเทาทุกข์อยู่นั้น การเผชิญหน้า ของกองกำลังทหาร ในแนวหน้า ที่ไม่คาดเดาได้ล่วงหน้า ทำให้พวกเขา ไม่มีทางรู้ได้ว่า การแจกจ่าย จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การแจกจ่ายในคราวนั้นก็เป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งเครื่องบรรเทาทุกข์ เหล่านั้น ล้วนแต่เป็น ข้าวของจำเป็น ที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันก๊าด น้ำตาล รองเท้า ใบชา ถั่ว ข้าวสาร แป้ง น้ำมันพืช ผ้าห่ม ยารักษาโรค ฯลฯ และมีปริมาณเพียงพอ ที่พวกเขา จะสามารถใช้ไป ได้ถึงสามเดือน

ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน ผู้หญิงถูกสั่งห้ามไม่ให้ไปโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียน สตรีแห่งนี้ จึงถูก ทำลาย อย่างราบคาบ มันถูกเปลี่ยนไปใช้ เป็นคอกเลี้ยงม้า และลาตั้งแต่ เมื่อสี่ปีก่อน หนังสือทุกเล่ม ในห้องสมุด ถูกเผา ไม่มีเก้าอี้ หรือโต๊ะนักเรียน หลงเหลืออยู่ ในห้องเรียน แม้แต่ตัวเดียว กระดานดำ ที่เคยมี ก็เป็นแค่ผนัง ที่ทาด้วยสีดำ สถานที่แห่งนี้ เคยเต็มไปด้วยมูลม้า หนาถึงสิบนิ้ว เพิ่งจะถูก ขนถ่ายออกไป และทำความสะอาด เมื่อไม่นานมานี้ ก่อนที่โรงเรียน จะเปิดอีกครั้ง เมื่อทีมอาสาสมัคร เดินทางไป ถึงที่นั่น พวกเขายังคงได้กลิ่นของมัน อบอวลไปทั่วทั้งบริเวณ

มีโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว ภายในเมือง และที่นั่นไม่มีทั้งน้ำประปาและไฟฟ้าใช้ ที่เหลืออยู่ก็มีเพียง เครื่องทำความร้อน โต๊ะผ่าตัดที่หักพัง จนไม่สามารถใช้งานใดๆ ได้ และยาสามัญบางชนิด เท่านั้น มันดูไม่คล้าย โรงพยาบาล แม้แต่น้อย ถึงกระนั้น มันก็ยังคงถูกใช้ เพื่อรองรับผู้คนถึง ๗๐๐,๐๐๐ คน ที่อาศัย อยู่ในพื้นที่

โรงพยาบาลมีแพทย์สิบสี่คนกับคนไข้ในเพียงเจ็ดคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล่าวว่า การคมนาคม ในอัฟกานิสถาน ยังล้าสมัยอยู่ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ไกลออกไปมากๆ จึงไม่อาจเดินทาง มายังโรงพยาบาลได้ มีแต่ชาวบ้าน ที่อยู่ละแวกใกล้เคียงเท่านั้น ที่มาใช้บริการที่นั่น

ทีมอาสาสมัคร ได้บริจาคยารักษา โรคและเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล สันนิบาตสากล ฉือจี้ กำลังประเมิน ความเป็นไปได้ ในการซ่อมสร้าง โรงเรียน ขึ้นมาใหม่ อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และพร้อมจะเดินทางออกจาก อัฟกานิสถาน อาสาสมัคร ฉือจี้ทุกคน ต่างพร้อมใจกัน หยิบเงินทอง ของพวกเขาออกมา และมอบให้กับ สมาชิกของ ไนท์บริดจ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจะยังคงอยู่ที่นั่น เพื่อจัดซื้ออาหาร แจกจ่าย ให้แก่ผู้ยากไร้ต่อไป อาสาสมัครทุกคน ต่างถอด เสื้อผ้ากันหนาว ทุกชิ้นออก และมอบให้ กับเพื่อนๆ ชาวอัฟกัน

เมื่อแรกพบหน้ากัน ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน ต่างก็มีทีท่าเหนียมอาย ต่อคนแปลกหน้า แต่ก่อนที่ อาสาสมัคร ฉือจี้ จะออก เดินทางกลับ พวกเขาต่างออกมาจากเต็นท์ กระโจม หรือแม้แต่ ถ้ำโพรงของพวกเขา เพื่อโบกมือ ร่ำลา แม้แต่สตรีชาวอัฟกัน ก็โผล่ศีรษะ ออกมานอกกระโจม พร้อมใบหน้า ของลูกๆ ของเธอ และส่งยิ้ม มาให้ คำ " ทาซเคอร์" (ขอบคุณ) ที่เปล่งออกมา จากใจ ของพวกเขา เป็นคำพูด ที่แสนงดงาม สำหรับ อาสาสมัคร ฉือจี้ทุกคน

(จากหนังสือ Tzu Chi Buddhism in Action, Spring 2002)

(ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๐๗ พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๔๖)