เทวดาคิดถึง.....คนดี (มัจฉทานชาดก) คนดีทำบุญให้ทาน พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ที่เมืองสาวัตถีในแคว้นโกศล มีพ่อค้า คนหนึ่ง เข้าเฝ้าพระศาสดา พระองค์ทรงสนทนาด้วย แล้วตรัสเล่าชาดก เรื่องหนึ่งให้ฟัง
มีอยู่วันหนึ่ง สองพี่น้องคิดกันว่า "พวกเราน่าจะสะสางบัญชีการค้าต่างๆของพ่อ ให้เป็นที่เรียบร้อยแต่บัดนี้ จะได้ไม่ยุ่งยาก ในภายหลัง" พ่อค้าสองพี่น้องจึงตระเวนไปจัดการภาระหนี้สินทั้งหมดให้เรียบร้อย ปรากฏว่า เมื่อถึง เวลา เดินทางกลับบ้าน ทั้งสองได้ทรัพย์เพิ่มมาอีก ๑,๐๐๐ กหาปณะ (๔,๐๐๐ บาท) ครั้นมาถึงแม่น้ำคงคา ก็หาเรือเพื่อข้ามฟาก ขณะรอเรืออยู่นั้น ก็พากันบริโภคอาหาร พ่อค้าผู้พี่ ได้เก็บอาหารไว้ส่วนหนึ่ง แล้วนำไปให้ทานแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคา เทวดา( ผู้มีจิตใจสูง) ประจำแม่น้ำนั้น เห็นพ่อค้าผู้พี่ กระทำบุญกุศล เมตตากรุณา สัตว์ทั้งหลาย ก็อนุโมทนา (พลอยยินดี) ด้วยกับการทำทานนี้ ให้อาหารปลาเสร็จแล้ว พ่อค้าผู้พี่ก็ปูลาดผ้าลงบนทราย นอนรอเรือกระทั่งหลับไป น้องชาย พอเห็นพี่ชายของตนหลับไปแล้ว เกิดจิตโลภโมโทสันแรงกล้า อยากได้ทรัพย์ ส่วนของพี่ มาเป็นของตนทั้งหมด จึงนำกรวดหินมาห่อด้วยผ้า ทำให้เหมือนกับห่อทรัพย์ ๑,๐๐๐ นั้น แล้วเอาไปไว้รวมกัน เรือมาถึงท่า น้องชายก็ปลุกพี่ให้ลงเรือ พอเรือมาถึงกลางแม่น้ำคงคา น้องชายก็แกล้ง ทำเรือโคลงเคลง แล้วหยิบห่อที่คิดว่าตนเตรียมไว้ออกมา แสร้งทำหลุดมือหล่นไปในน้ำ พร้อมกับ ตะโกนบอกพี่ชายว่า "พี่จ๋า ฉันทำห่อทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะตกน้ำไปแล้ว จะทำอย่างไรดี" พ่อค้าผู้พี่เห็นเหตุการณ์อย่างนั้น เข้าใจว่าน้องชายมิได้เจตนา จึงปลอบใจว่า "ห่อทรัพย์ตกน้ำจมหายไปแล้ว พวกเราจะทำอย่างไรได้ อย่าเสียดายคิดถึงมันเลย" ขณะที่ห่อทรัพย์นั้นกำลังจมลงไปในน้ำ ปรากฏปลาปากกว้างตัวใหญ่ตัวหนึ่ง หลงผิดว่า เป็นเหยื่อ ได้ฮุบกลืนห่อนั้นเข้าไปในท้อง เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เทวดาประจำแม่น้ำรับรู้ความจริงสิ้น รู้แม้แต่การหยิบผิดห่อ ของน้องชาย พ่อค้า โดยที่หยิบห่อทรัพย์จริงโยนน้ำไป แทนที่จะหยิบห่อกรวด ซึ่งเตรียมไว้โยนน้ำ ดังนั้น เทวดาจึงคิดว่า "เราควรจะช่วยรักษาทรัพย์ของพ่อค้าใจดีนั้นไว้" เมื่อสองพี่น้องกลับถึงบ้านแล้ว พ่อค้าผู้น้องที่ขี้โลภก็หาที่ลับเปิดห่อทรัพย์ของตนดู แต่พอเห็น เป็นกรวดหิน ก็ห่อเหี่ยวเสียใจยิ่งนัก นอนจมทุกข์อยู่บนเตียงของตนนั่นเอง ไม่กี่วันต่อมา ปลาใหญ่ตัวนั้นถูกชาวประมงคนหนึ่งทอดแหจับได้ เขาแบกเข้าไปขาย ในพระนคร ผู้คนพากันตื่นเต้นสนใจใหญ่ ไถ่ถามราคากับชาวประมงนั้น เทวดาประจำ แม่น้ำ จึงดลใจเขา ให้บอกราคาไปว่า "หากใครให้ทรัพย์เรา ๑,๐๐๐ กหาปณะ (๔,๐๐๐ บาท) กับอีก ๗ มาสก (๑ บาท ๔๐ สตางค์) ก็จงเอาปลาใหญ่ตัวนี้ไปเถิด" ทุกคนพอได้ยินราคาเท่านั้น ถึงกับหัวเราะกันครื้นเครง แล้วบอกว่า "แหม! ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ปลาอะไรนี่ราคาตั้ง ๑,๐๐๐ เชียวหรือ" ไม่มีใครซื้อแม้แต่คนเดียว ชาวประมงจึงแบกปลาไปทั่วพระนคร กระทั่งมาถึง หน้าประตู เรือน ของพ่อค้าสองพี่น้องนั้น พอดีกับพ่อค้าผู้พี่เห็นเข้า จึงถามไถ่ชาวประมง "ปลาใหญ่ตัวนี้ราคาเท่าไร" ชาวประมงคิดอยู่สักครู่ ประกอบกับความเหนื่อยล้าที่แบกปลามานาน เทวดาประจำ แม่น้ำ เห็นเป็นโอกาสดี จึงดลใจเขาอีก เขาก็ตอบทันทีนั้น "เราบอกราคากับคนอื่นๆ ๑,๐๐๐ กหาปณะ กับ ๗ มาสก แต่สำหรับท่านเราคิดเพียง ๗ มาสกเท่านั้น ท่านจะซื้อหรือไม่" พ่อค้าผู้พี่จึงซื้อไว้ด้วยความยินดี แล้วมอบให้แก่ภรรยานำไปทำเป็นอาหาร ครั้นภรรยา พ่อค้า ผ่าท้องปลา ก็พบห่อทรัพย์ ๑,๐๐๐ นั้น จึงนำไปมอบให้แก่สามีของตน พ่อค้านั้นเมื่อตรวจดูห่อทรัพย์ และกหาปณะเหล่านั้นแล้ว ก็รู้ว่าเป็นห่อทรัพย์ของตน ที่จมไป ในแม่น้ำคงคา จึงบังเกิดความคิดขึ้นมาว่า "ปลาตัวนี้ถูกชาวประมงตั้งราคาไว้ ๑,๐๐๐ กหาปณะ กับ ๗ มาสก ย่อมไม่มีใครเชื่อ เลยว่า จะเป็นจริง และเพราะเราเป็นเจ้าของทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในท้องปลา จึงซื้อปลาตัวนี้ เพียงราคา ๗ มาสกเท่านั้น" ขณะที่กำลังนึกอัศจรรย์ใจอยู่นั้น เทวดาประจำแม่น้ำก็แสดงรูปให้ปรากฏ เล่าเรื่องราว ความจริง ทั้งหมดให้พ่อค้ารู้ แล้วกล่าวว่า "เพราะท่านได้ให้อาหารแก่ปลาทั้งหลาย นับว่าเป็นการทำบุญให้แก่เราด้วย เราระลึกถึง ความดีอันเป็นบุญกุศลนี้ ที่ท่านได้กระทำแล้ว จึงช่วยรักษาทรัพย์ของท่านไว้" แล้วกล่าวตำหนิถึงน้องชายของพ่อค้า ที่กำลังนอนซมเหี่ยวแห้งหัวใจอยู่ "บุคคลผู้มีจิตประทุษร้าย ย่อมไม่มีความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย ก็ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดกระทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอกเอาทรัพย์มรดกของพ่อ ไม่ต้องการให้แก่พี่ชาย เทวดา ทั้งหลาย ย่อมไม่บูชาผู้นั้น" กล่าวจบเทวดาประจำแม่น้ำก็จากไป ส่วนพ่อค้าผู้ใจบุญนั้น ได้นำทรัพย์ ๑,๐๐๐
กหาปณะ มาแบ่งออกเท่าๆกัน แล้วมอบ ๕๐๐ กหาปณะ ให้แก่น้องชายขี้โลภของตน ด้วยใจเป็นธรรม พระศาสดาทรงแสดงชาดกนี้จบ ทรงเฉลยว่า แล้วทรงประกาศสัจจะทั้งหลายให้ฟัง พอพระศาสดาตรัสสัจจะจบลง พ่อค้าคนนั้น ก็ได้บรรลุ โสดาปัตติผลทันที - ณวมพุทธ - - ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๑๕ กันยายน - ตุลาคมา ๒๕๔๗ - |