กสิกรรมพลิกฟื้นชาติ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระแสตื่นตัวเรื่องการไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี ในการทำกสิกรรม แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ในกลุ่มเกษตรกร โดยทั่วไป เนื่องจากเกษตรกร ยังไม่มั่นใจ ที่จะงดใช้ สารเคมี และใช้สารสกัดจากธรรมชาติ หรือใช้ปุ๋ยหมัก จากเศษวัสดุทดแทน จึงยังต้องมี วิธีการผลิต ที่พึ่งพาอาศัยสารเคมี และปุ๋ยเคมี ซึ่งหมายถึง ต้นทุนการผลิตที่สูง นอกจากนี้ ปัจจุบันนิยม วิธีการจ้างแรงงาน ทั้งจากเครื่องจักร และแรงงานคน กันมาก จึงทำให้ต้นทุนการผลิต ยิ่งสูงขึ้นไปอีก ฉะนั้น เกษตรกร ควรจะศึกษา หาทางเลือก เพื่อลด ต้นทุนการผลิต และความปลอดภัย ของตนเอง ไม่มีสารตกค้าง ทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการเรียนรู้ วิธีการทางธรรมชาติ ซึ่งเป็น ทางเลือกใหม่ ของการทำกสิกรรม ในยุคปัจจุบัน พืช...ที่สามารถกำจัดแมลง หางไหลที่พบว่า มีสารพิษต่อแมลง และเป็นที่นิยม ปลูกกันมาก คือชนิดแดง และชนิดขาว ในเมืองไทย จะพบชนิดแดง มากกว่าชนิดขาว สารที่ได้จากหางไหล มีหลายชนิด แต่สารออกฤทธิ์ ที่สำคัญคือ โรทีโนน หรือชาวจีน เรียกว่า โล่ติ๊น ซึ่งสามารถ ป้องกันกำจัด แมลงศัตรูพืช เช่น ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง ด้วงเต่าแตง มวนปีกแก้ว หมัดสุนัข ไรไก่ โดยสารสกัดที่ได้ มีฤทธิ์ถูกตัวตาย และกินตาย ยับยั้ง ขบวนการ หายใจ ของแมลงศัตรูพืช สารนี้เป็นสาร อินทรีย์ จะสลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืช หรือสิ่งแวดล้อม อัตราการใช้ นำรากสด มาทุบให้แตก ๑ กก. น้ำ ๑ ปี๊บ แช่ไว้ ๒ วัน สังเกตน้ำที่แช่ขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดพ่น ในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ สารที่ได้ จะมีผลกดศูนย์ประสาท ที่ควบคุม การหายใจ ทำให้หายใจไม่ออก ควรมีเครื่องป้องกัน ขณะฉีดพ่น ส่วนมาก ใช้กำจัดเพลี้ยอ่อน ด้วงงวงถั่ว สำหรับการขยายพันธุ์ ของหางไหลคือ ใช้เถาแก่พอประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ซม.ขึ้นไป ตัดเฉียง เป็นท่อน ท่อนละ ๒๐-๓๐ ซม. ปักชำในถุงพลาสติก ที่มีขี้เถ้าแกลบ ผสมดิน อัตรา ส่วน ๒:๑ ปักชำทำมุม ๔๕ องศา กับผิวดิน ภายใน ๓ สัปดาห์ จะมีรากงอกออกมา มีตุ่มขึ้น ตามข้อ และจะแตก เป็นต้นอ่อน เจริญเติบโตต่อไป สารสกัดที่ได้จากหางไหล สามารถนำไป ใช้ได้เลย มีจำหน่ายที่ ร้านธรรมทัศน์สมาคม โทร ๐-๒๓๗๕-๔๕๐๖ หรือที่ บริษัท พลังบุญ จำกัด โทร ๐-๒๓๗๔-๖๑๑๐ มีพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมา เป็นอาหารและยา รวมทั้งป้องกัน ขับไล่แมลงได้อีก คือสะเดา วิธีการใช้สะเดา นำเมล็ดสะเดา ที่มีเปลือกและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด แล้วนำผง เมล็ดสะเดามาหมัก ในอัตรา ๑ กก. : น้ำ ๒๐-๓๐ ลิตร โดยใส่ผงสะเดา ไว้ในถุงผ้าขาวบาง แล้วนำไปแช่ในน้ำ ๒๔ ชั่วโมง อาจจะคนบ้าง หากคนอย่างสม่ำเสมอ จะแช่เพียง ๓-๔ ชั่วโมง ใช้มือบีบถุง ตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อให้สาร อะซาดิแรดติน ออกให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ ก็ยกถุงผ้าออก การนำไปใช้ฉีดพ่น ควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่ ๑ ส่วน:น้ำสะเดา ๑๐๐๐ ส่วน หรือ ๑ ช้อนโต๊ะ:น้ำสะเดา ๒๐ ลิตร เพื่อให้สารจับใบพืชได้ดีขึ้น ควรนำไปใช้ทันที ไม่ควรเก็บ ค้างคืน เพราะจะมีราขึ้นง่าย ควรฉีดพ่น ในช่วงเย็น โดยใช้ฉีด ๕-๗ วัน:ครั้ง คุณสมบัติของ สารสะเดา จะเป็นสารไล่แมลง ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของ ไข่หนอน ดักแด้ ทำให้ตัวอ่อน หรือหนอน ลอกคราบไม่ได้ ยับยั้ง การวางไข่ ของตัวเต็มวัยด้วย สารสะเดาใช้ได้ผลดี กับแมลงปากกัด จำพวก หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แมลงหวี่ขาว ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม หนอนกอ หนอน กระทู้ หนอนบุ๊ มารู้จักแมลงตัวห้ำ
และตัวเบียน ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลง เป็นอาหาร จะต่างจาก แมลงตัวเบียนคือ มีขนาดใหญ่กว่า และ แข็งแรง กว่าเหยื่อ กินเหยื่อโดยการ กัดกินตัวเหยื่อ ให้ตายทันที และจะอาศัย ต่างที่ กับแมลงที่เป็นเหยื่อ ตัวห้ำมีหลายชนิด ซึ่งจะเป็นตัวห้ำ ในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงบางชนิด ต่อแตน และแมลงปอ แมลงช้างนั้น เกือบทุกชนิด เป็นตัวห้ำ ที่สำคัญ ในการปราบ แมลงศัตรูพืช ในต่างประเทศ มีการใช้ด้วงเต่าลาย ทำลายเพลี้ยแป้ง ในสวนส้ม ซึ่งได้ผล ดีมาก จนกระทั่ง มีการเลี้ยง และผลิตด้วง เหล่านี้ ในเชิงการค้า สามารถนำมา ปล่อยในสวน เพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ แมลงช้างปีกใส ก็มีการผลิต ออกมาขาย ในลักษณะเป็นไข่ นำไปวาง ในสวน เพื่อกำจัดเพลี้ยอ่อน และมดได้ ตัวเบียน เป็นศัตรูทางธรรมชาติ ของแมลงที่เป็นศัตรูพืช หลายชนิด โดยจะกินแมลง ที่แตกต่างจาก ตัวห้ำ คืออาศัยกินอยู่ อาจจะภายใน หรือภายนอกของเหยื่อ ตลอดช่วงชีวิต อย่างน้อยก็ ระยะหนึ่งวงจรชีวิต มีขนาดเล็กว่าเหยื่อมาก ส่วนใหญ่ เหยื่อตัวหนึ่ง จะมีตัวเบียน อาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก โดยตัวเบียน จะอาศัยดูดกินอาหาร จากเหยื่อช้าๆ และใช้เหยื่อ เพียงตัวเดียวใน ระยะการเจริญเติบโตของมัน ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเบียนกับแมลงศัตรูพืช มีลักษณะ จำเพาะกันออกไป และจะทำลาย ในระยะ ต่างกัน บางชนิดทำลายไข่ บางชนิด ทำลายตัวอ่อน และเมื่อโตเต็มวัย จะหากินอิสระ ตัวเบียนบางชนิด อาศัยและเติบโต ในตัวแมลงศัตรูพืช โดยใช้น้ำเลี้ยง ของตัวแมลง เป็นอาหาร บางชนิด ก็อยู่ภายนอก โดยการทำให้เกิดแผลขึ้น ที่ผิวหนังของเหยื่อ เพื่อดูดกินน้ำ เลี้ยงจากภายใน วงจรของชีวิต เริ่มต้นจาก การวางไข่ โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไป ในตัวเหยื่อ หรือเหนือตัวเหยื่อ ส่วนมาก จะวางหลายฟอง แล้วไปหาเหยื่อตัวอื่น เพื่อวางไข่ต่อไป โดยไม่ได้ดูตัวอ่อน ที่ฟักออกมา ตัวเบียนที่ฟักออกมาจะอาศัยกินแร่ธาตุอาหารจากเหยื่อโดยเหยื่อก็ยังมีชีวิตต่อไป แต่ ตัวเบียน เติบโต ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตัวเบียนโตเต็มที่แล้ว จะเข้าดักแด้ ซึ่งอาจอยู่ภายใน หรือภายนอก ของตัวแมลง ซึ่งแมลง ที่เป็นเหยื่อ จะถูกดูดกินไปจนหมด อาจจะเหลือ แต่เปลือกเท่านั้น จากนั้นตัวเบียน จะโตเต็มวัย และมีชีวิต ที่ออกหากินน้ำหวาน ของดอกไม้ เป็นอาหารต่อไป ในบางแห่ง มีการผลิต แตนเบียนฝอย ไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียน ไข่ของหนอนผีเสื้อ หลายชนิด แล้วนำไปปล่อย ในแปลงอ้อย เพื่อให้กำจัดหนอนกอ ทำลายอ้อย นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยน จำหน่าย แตนเบียน ที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชหลายชนิด โดยวิธีการ ใช้แมลง ควบคุมแมลงกันเองนั้น เกษตรกร ต้องรู้จักแมลง หลากหลายชนิดว่า ชนิดใดเป็นศัตรูพืช และชนิดใด สามารถกำจัดแมลงได้ ด้วยวิธี การสังเกต อย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจาก แมลงจะกำจัดกันเองแล้ว ถ้าเกษตรกรทำสวน หรือไร่นา ให้มีระบบ นิเวศ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว จะมีสัตว์อื่นๆ เข้ามาสร้าง ห่วงโซ่อาหาร ต่อไป เช่น นก งู เป็นต้น ท่านใดที่มีประสบการณ์ในการทำกสิกรรมธรรมชาติ ต้องการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น หรือต้องการ เผยแพร่ เทคนิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจ รวมถึงสูตรน้ำหมัก บำรุงพืชผัก และสารขับไล่แมลง ส่งมาได้ที่ email : peak๑๙๗๖@hotmail.com จะนำเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน ต่อไป นายกองฟอน... (ดอกหญ้า อันดับที่ ๙๙ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕) |