ชาดก อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ตอน...
สุขที่ไม่พัฒนา
วารสารรายสองเดือน "ดอกหญ้า" อันดับที่ 96

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวัน มหาวิหารทรงตรัสแสดงธรรมเทศนานี้

 

นักมวยปล้ำคนหนึ่ง ชื่อ โรชะ เคยเป็โนสหายของ พระอานนท์มาก่อนได้ส่งข่าวถึงพระอานนท์เพื่อนิมนต์ ไปพบปะพูดคุยด้วยความที่เคยสนิทสนมต่อกันมานาน

พระอานนท์จึงทูลขออนุญาตพระศาสดาแล้ว ไปหาโรชะที่เรือนของเขาเขาต้อนรับพระอานนท์เป็น อย่างดีนิมนต์ให้ฉันภัตตาหารซึ่งล้วนตระเตรียมไว้ ด้วยอาหารรสเลิศทั้งสิ้น

เมื่อเสร็จภัตกิจ (กินอาหาร) แล้วโรชะก็นั่งอยู่ใน ที่อันสมควรข้างหนึ่งพูดถึงความสุขในกามคุณ๕ (ความติดเสพในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส) ของ ฆราวาสอันเป็นที่น่าใคร่น่าพอใจทั้งหลายจนในที่สุด ได้เอ่ยเชื้อเชิญกับพระอานนท์ว่า

“ข้าแต่พระคุณเจ้าท่านก็ได้บวชมานานแล้วห่าง ไกลจากความสุขเสียนานบัดนี้ผมมีทรัพย์สมบัติ มากมายทั้งเงินทองและข้าทาสบริวารผมจะแบ่ง สมบัติทั้งหมดให้แก่ท่านครึ่งหนึ่งท่านจงสึกมาเถิด มาครอบครองสมบัติเหล่านี้ด้วยกัน”

พูดคุยกันมาจนถึงจุดนี้พระอานนท์จึงกล่าว แสดงโทษของกามคุณ แก่เขาบ้างเพื่อให้ โรชะ ได้รู้ถึง สัจธรรมของชีวิตที่แท้จริงแล้วจึงค่อยลากลับคืนสู่ พระวิหาร

ครั้นพระศาสดาได้พบกับพระอานนท์ทรงไถ่ถาม ขึ้นว่า

“อานนท์เธอพบกับโรชะแล้วหรือ”
“พบกันแล้วพระเจ้าข้า”
“พวกเธอพูดคุยอะไรกันบ้างเล่า”
พระอานนท์จึงทูลเรื่องที่สนทนาให้ทรงทราบ และคำของโรชะที่ยุติการสนทนาลงด้วยคำชวนที่ว่า
“โรชะเชื้อเชิญให้ข้าพระองค์อยู่ครองเรือนข้า พระองค์จึงแสดงถึงโทษในการครองเรือนและโทษใน กามคุณแก่เขาพระเจ้าข้า”

ทรงสดับแล้วก็ตรัสว่า
“ ดูก่อนอานนท์ โรชะ นักมวยปล้ำผู้นี้ มิใช่เพียง เชื้อเชิญนักบวชให้อยู่ครองเรือนในบัดนี้เท่านั้นแม้ ในกาลก่อนก็ได้ชักชวนให้นักบวชอยู่ครองเรือนมาแล้ว
เหมือนกั น”

พระอานนท์จึงทูลนิมนต์ให้พระศาสดาตรัสเล่า
มีทารกคนหนึ่งได้ชื่อว่า วัจฉนขะ เกิดในตระกูล พราหมณ์ณตำบลหนึ่งครั้นเติบโตเจริญวัยแล้ว ได้ออกบวชเป็ยนฤๅษี ไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าหิมพานต์ เป็นเวลาช้านาน

ต่อมาได้เดินทางมุ่งสู่กรุงพาราณสีโดยแวะพักที่ พระราชอุทยานก่อนพอรุ่งเช้าก็เข้าไปยังกรุงพาราณส เพื่อภิกขาจาร(เที่ยวบิณฑบาต)

วันนั้นเอง เศรษฐีกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ได้พบ เข้ากับฤๅษีวัจฉนขะ บังเกิดความเลื่อมใสในมารยาท อันสำรวมดีแล้วจึงนิมนต์ไปสู่เรือนของตนถวาย อาหารและน้ำแล้วนิมนต์ให้พักอยู่ในสวนเพื่อที่ตน จะได้คอยปรนนิบัติวัตถากทุกๆ วันนักบวชและ ฆราวาสทั้งสองต่างก็เคารพรักต่อกันและกันอย่างดี ยิ่งตลอดมา

อยู่มาวันหนึ่งเพราะเห็นการใช้ชีวิตอย่างมักน้อย สันโดษของพระฤๅษีทำให้เศรษฐีคิดขึ้นมาด้วยความ เป็หนห่วงกังวลว่า ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวย ราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี

“ดูแล้วความเป็นนักบวชช่างลำบากเป็นทุกข์ เราน่าจะให้วัจฉนขฤๅษีผู้ที่เรารักเคารพนี้สึกเสียแล้ว เราก็แบ่งสมบัติทั้งหมดให้ครึ่งหนึ่งจะได้อยู่อย่างเป็บน สุขด้วยกันทั้งสองคน”

คิดดังนี้แล้วก็คอยหาโอกาสที่จะบอกครั้นสบ โอกาสดีแล้วก็เอ่ยปากออกไปว่า

“พระคุณเจ้าที่เคารพ ชีวิตในการบวชนั้นเป็นทุกข์ แต่ชีวิตอย่างฆราวาสสิเป็นสุข เพราะ เรือนทั้งหลายที่มี เงินทองและของกินของใช้บริบูรณ์เป็นเรือนที่มีความสุข

ผมยินดียิ่งนักที่จะแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ท่าน ครึ่งหนึ่งโดยที่ท่านสามารถนั่งกินนอนกินได้สบาย ไม่ต้องขวนขวายกิจใดๆ เลย การสึกออกมาอยู่ครองเรือน เช่นนี้เป็นสุขอย่างยิ่ง”

พระฤๅษี ได้ฟังความคิดเห็นผิดๆ ของเศรษฐีแล้ว จึงแสดงความจริงอันประเสริฐให้รู้ว่า
“ดูก่อนเศรษฐีท่านเป็นผู้ที่ยังติดอยู่ในกามจึง กล่าวคุณของฆราวาส และ โทษของนักบวช ก็เพราะ ความไม่รู้สัจธรรมเราจะกล่าวโทษภัยของฆราวาสแก่ ท่านท่านจงฟังเถิด

เมื่อเป็นเช่นนี้ใครเล่าจะครองเรือนอยู่ได้โดยไม่ กระทำผิดบกพร่องดังนั้นจะให้อาตมาเกิดความยินดี เป็นสุขด้วยแสนยากยิ่งนัก”

วัจฉนขฤๅษี กล่าวโทษภัยของฆราวาสแล้วก็ได้ กล่าวธรรมให้เศรษฐีตั้งตนอยู่ด้วยความไม่ประมาท จากนั้นก็อำลากลับคืนสู่อุทยานตามเดิม

หากฆราวาสคนใดไม่มีความเพียรพยายามทำการ งานมัวเสพสบายอยู่การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้
หากไม่กล่าวคำมุสาเพื่อสมบัติเรือกสวนไร่นา การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้
หากไม่ใช้อำนาจลงโทษผู้อื่นทั้งที่เป็นบริวาร

พระศาสดาทรงแสดงชาดกนี้จบแล้วตรัสว่า “ เศรษฐีกรุงพาราณสีในครั้งนั้นได้มาเป็ศน นักมวยปล้ำโรชะนี้เองส่วนวัจฉนขฤๅษีก็คือ เราตถาคต ”

ณวมพุทธ เสาร์ ๒๑ ก.ค. ๒๕๔๔
(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ ๓๑๙ อรรถกถาแปลเล่ม ๕๗ หน้า ๔๔๙)


ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
ด้วยความเป็นของน่ายินดี
ทุกข์อันไม่น่ารัก ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
ด้วยความเป็ะนของน่ารัก
ทุกข์ ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
ด้วยความเป็นสุข

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๖๒)

(ดอกหญ้า อันดับ ที่ ๙๓ หน้า ๒๓ ชาดก อดีตชาติ ของพระพุทธเจ้า)