เกษตรทางเลือก
ชีวิตไร้สารพิษ
วิธีการปลูกกล้วย
และ มะพร้าว
ในการปลูกกล้วยควรให้น้ำตรงกลางหลุมให้ท่วมถึงปากหลุมเดือนละครั้ง
ส่วนก้นหลุม เราก็ใส่พวกฟาง พวกแกลบ ใบกล้วย ต้นกล้วยก็ใช้ได้ น้ำจะระเหยได้ยากมาก
เพราะใบของต้นกล้วยจะบังแดดให้ดินเย็น หรือเราอาจใช้ ใบมะพร้าวสาน
เป็นตะกร้อ ตรงกลาง ก็ใส่แกลบ ใส่ฟางก่อนใส่ต้นไม้ลงไป มันจะได้รับความชุ่มชื้น
แล้วแกลบ ฟางก็มีประโยชน์ เมื่อมันย่อยสลายก็จะกลายเป็นปุย ดังนั้นควรใช้วัสดุ
ที่จะเป็นอินทรียวัตถุ เพราะจะย่อย สลายได้หมด แต่ของที่ไม่สลายตัว
อย่างพลาสติก ก็ไม่ควรใช้ กิ่งไม้ใบไม้ เศษหนังเศษอะไร ก็ใส่ได้ทั้งนั้น
ของที่ไม่รู้จะเอาไปทิ้งไว้ที่ไหน ก็โยนลงลงไปได้เลย รองเท้าเก่าๆ
ซากแมว ซากหมาก็โยนลงไปได้
การเอาท่อน้ำใส่ตรงกลาง ใส่ฟาง ใส่แกลบเพื่อป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้น
ไส้เดือนและหนอนจะกินฟาง และพรวนดินให้ การปลูกเป็นกอ ในหลุมเดียวกัน
จะได้ปริมาณต้นกล้วยมากกว่า ผลิตผลมากกว่า การปลูก เป็นแนวเส้นตรง
ดังนั้นถ้าเป็นที่ใหญ่ๆ ก็จะได้ผลิตผลมากขึ้นจากที่พื้นที่ที่ปลูกกล้วยถึง
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในขนาดพื้นที่ ที่เท่ากัน น้ำหนักและผลผลิตธรรมชาติก็จะได้มากกว่า
คุณภาพของกล้วยดีขึ้น ที่ก้นหลุม เราก็ปลูก อะไรได้อีก จะปลูกมันแกว
ก็จะได้ผลดีมาก ดังนั้นพื้นที่ที่ว่างเปล่าก็จะมีน้อย และไม่ต้องใช้น้ำมากด้วย
เพราะ แต่ละหลุม มีน้ำอยู่ที่จุดเดียว จึงใช้น้ำ ๑ ใน ๑๐ ของการใช้น้ำปกติ
ความแตกต่าง จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะเราไม่ต้องใช้ปุ๋ย ไม่ต้องใส่อะไร
ที่จะไปบำรุง ธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมนเร่งผลไม่ต้องใส่ แต่เราจะมี ผลผลิต
มากขึ้นอีก วิธีที่สำคัญที่สุด ก็คือวิธีการจัดระบบ รูปแบบโครงสร้าง
(แพทเทอร์น) เลียนแบบธรรมชาติ
การทำการเกษตรอย่างนี้จะง่ายและไม่เสียแรงงานมาก
ซึ่งมีการทดลองในประเทศอินเดีย และในหลายประเทศแล้ว ในขณะนี้ การทดลอง
ก็ได้ผลดี มีการปลูกมะพร้าว เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ
๕ เมตร ซึ่งจะทำให้ มองเห็นว่า ยอดมะพร้าว จะติดกัน แต่จริงๆ แล้ว
มันจะพยายาม ที่จะเลี้ยงกันเอง และจะทำให้มองดูแล้ว เหมือนเป็นต้นไม้ใหญ่
ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น แทนที่เราจะมีต้นมะพร้าว ๔ ต้น เราก็มีต้นมะพร้าว
๒๐ ต้น และผลิตผล ก็จะมีเท่ากับ ที่เราปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ ทั้งยังใช้น้ำเพียงแค่น้อยนิด
ระบบนี้ เป็นระบบที่ ได้ผลดีมาก เราเรียกว่า เอาเรขาคณิต มาประยุกต์
เพื่อที่จะใช้ในการเกษตร
สรุปประโยชน์ ๓
ประการ ในการทำเกษตรถาวร หรือเพอร์มาคัลเชอร์
ประการที่ ๑
คือมีของขวัญจากภายนอก ซึ่งจะใช้สำหรับเป็นปุ๋ยของแผ่นดินของเราได้
ของขวัญภายนอก เช่น ของที่เหลือใช้จากธรรมชาติ ที่เจ้าของไม่รู้จะทำอะไร
เช่น ฟางข้าว เปลือกหอย เปลือกมะพร้าว
ประการที่ ๒
คือของขวัญจากธรรมชาติ เช่นน้ำ ที่จะพาปุ๋ยมา น้ำที่ผ่านพื้นที่ป่า
หรือพื้นที่ทำการเกษตรใหญ่มา ถ้าเราปลูก ต้นไม้และพืชปุ๋ยสด คลุมดินดูดน้ำพวกนี้ไว้
เราก็จะได้ทรัพยากรน้ำ ปริมาณมหาศาล โดยที่เราไม่ต้อง เสียเงินเสียทอง
แล้วเรายังจะได้ประโยชน์ จากทรัพยากร ภายในพื้นที่ของเราเอง จากพืชปุ๋ยสด
ที่เราปลูกไว้ หรือจากต้นไม้ ที่จะให้ปุ๋ยแก่เรา นอกจากนี้ เราก็จะสามารถ
ทำการเพาะปลูก โดยที่เราใช้แทรกเตอร์มีชีวิตของเรา หมุนเวียนทำงาน
สัตว์ที่แสวงหาที่อยู่ จะมาอยู่ บนพื้นที่ของเรา และทำงานให้เรา เป็นเวลาหลายพันปี
อาจเป็น ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปี หรือ ๑๐,๐๐๐ ปี และช่วง ระหว่างนั้น เราก็คงมีเวลา
ที่จะคิดหา ระบบใหม่ๆ หาวิธีการทำงาน ที่จะทำให้การเกษตรได้ถาวร ยืนนานใหม่ๆ
ขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่ ๓
บิล มอลลิสัน ได้ทำนายไว้ว่า ในระยะ ๔๐ ปีข้างหน้านี้ การเกษตรแบบวิทยาศาสตร์
หรือแบบเทคโนโลยี สมัยใหม่ จะทำลายตัวเองลงไป และจะทำลายสังคมด้วย
เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราก็มาถึงทางแยก จะเลือกทางที่ พาตัวเราเอง ไปสู่การทำลายล้าง
หรือว่าจะเลือกทางที่พาเรา ไปสู่ความถาวรยืนนาน ถ้าเราเลือกทางนั้น
เราก็จะเห็นว่า สัตว์ที่เป็นเพื่อน ที่ดีที่สุดของเรา และแน่นอนที่สุด
ต้นไม้ก็คือ ผู้ที่ช่วยให้เรา รอดพ้นความหายนะ
[Permaculture โดย Bill Mollison]
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๔๑ เมษายน ๒๕๔๕)
|