กติกาเมือง - ประคอง เตกฉัตร - ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา การก่อตั้งองค์กรทางศาสนาคริสต์ในประเทศไทย ศาสนาแต่ละศาสนาไม่ว่า ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ล้วนเป็นศาสนา ที่เก่าแก่ ความเก่า แก่ของแต่ละศาสนา ย่อมทำให้ศาสนิกแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความคิดเห็น แปลความ เข้าใจ ความหมายในตัวพระคัมภีร์แตกต่างกันได้ ทั้งธรรมเนียมปฏิบัติ ประวัติของ แต่ละชนชาติ มีส่วนอย่างยิ่ง ที่ทำให้การตีหรือ แปลความหมาย ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น การแตกแยกออกเป็นนิกาย หรือคณะต่างๆ ย่อมเป็นไปได้ การเริ่มต้น ตั้งนิกายก็ดี การเริ่มต้น ตั้งคณะก็ดี หรือการเริ่มต้นตีความ ในพระคัมภีร์ต่างๆ ที่ผิดแผกแตกต่าง ไปจากเดิมก็ดี ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ ต้องมีปัจจัย จำนวนมาก ที่จะลงตัว และส่งเสริม ให้เกิดคณะใหม่ เกิดการตีความแบบใหม่ และย่อมจะต้อง เสียดทาน หรือถูกต่อต้าน จากผู้ที่มีความคิด ตามแบบเก่า หรือแบบดั้งเดิม การก่อตั้งองค์กรทางศาสนาไม่ไช่เพียงการก่อตั้งนิกายหรือก่อตั้งคณะใหม่ แม้แต่การเริ่มต้น เผยแผ่ศาสนา ในสถานที่ใหม่ๆ หรือในชนชาติ หรือในประเทศใหม่ๆ ที่ศาสนานั้น ไม่เคยรุ่งเรือง หรือเผยแผ่มาก่อนนั้น ก็ย่อมจะได้รับการต่อต้าน ได้รับการเสียดทาน หรือมีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา ก่อนอื่นผู้เขียนใคร่ขออนุญาตขอบพระคุณ รศ. ทองศรี กำภู ณ อยุธยา ที่ทำการวิจัย เรื่องการระดมทุน กรณี ศึกษาองค์การคริสต์ศาสนา ในประเทศไทย ที่ทำให้ผู้เขียนสนใจ และนำมาบอกเล่า แก่ทุกท่านในฉบับนี้ คริสต์ศาสนานั้นไม่ใช่ศาสนาที่เกิดในเอเชีย แต่เพิ่งเข้ามาเผยแผ่ในเอเชีย เมื่อสมัย อยุธยานี้เอง การเริ่มต้น เผยแผ่ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ดังเช่น ผู้ก่อตั้ง คณะสงฆ์ใหม่ๆ เช่นคณะสงฆ์ สันติอโศก ที่แยกตัวออกมาจาก มหาเถรสมาคม โดยใช้หลัก นานาสังวาส ขององค์สมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้านั้น ก็น่าจะต้องศึกษา เปรียบเทียบ ถึงความลำบาก ต่อสู้อดทน และการเน้นคุณภาพ การขยาย ปริมาณ ที่บุคลากรของตนเอง พอที่จะรองรับได้ ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมี ๒ นิกายหลัก คือนิกาย โรมันคาทอลิก และนิการโปรเตสแตนต์ ส่วนนิกายออโธด็อกซ์นั้น มีผู้นับถือเพียงเล็กน้อย และยังไม่เกิด คณะใหญ่ ที่จะมีบทบาท ในสังคมไทยมากนัก รัฐจึงไม่เข้าไปควบคุม เช่นเดียวกับ คณะสงฆ์สันติอโศก ที่ยังไม่มีกฏหมายใด ไปควบคุมหรือรองรับ นิกายโรมันคาทอลิก ได้เริ่มเข้ามาในเมืองไทย ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา และเพิ่งจะเริ่ม ตั้งเป็นคณะขึ้น สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยก่อตั้งมิสซังสยามขึ้น เดิมมีอยู่เพียง ๓ วัด คือ วัดคอนเซ็ปชั่น วัดซางตาครู้ส และวัดที่จังหวัดจันทบุรี ต่อมามีการซ่อมแซม วัดนักบุญโยเซฟ ที่จังหวัด อยุธยาขึ้น และสร้างวัดใหม่ขึ้นอีกหลายวัด เช่น วัดอัสสัมชัญ วัดนักบุญฟรังซิสโซเวียร์ และ วัดแม่พระประคำ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงมีความคุ้นเคยกับพระสังฆราชปัลเลอกัวร์ ตั้งแต่ยังทรงผนวช และได้แลกเปลี่ยน ความรู้ต่างๆ กันตลอดมาทำให้ธรรมทูต ที่ถูกเนรเทศไป สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้กลับ เข้ามาเผยแผ่ศาสนา อีกครั้งหนึ่ง อนุญาตให้คริสต์ชนไม่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งมีวัด ที่สร้างใหม่ขึ้นอีก ๓ วัด คือ วัดนักบุญเปโตร วัดบางนกแขวก และวัดหัวไผ่ ต่อมา เมื่อปีพ.ศ. ๑๔๒๖ ศาสนาคริสต์ได้ขยายไปทาง ภาคอีสาน ที่จังหวัดอุบลราชธานี นครพนม และ หนองคาย ได้ไถ่ทาสจำนวนมาก ออกมาตั้งชุมชนคริสต์ขึ้น ที่จังหวัดสกลนคร และ สร้างวัดขึ้น ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งต่อมาปนอยู่ที่ศูนย์มิสซังใหม่ ตำบลท่าแร่ ในปัจจุบัน และ ต่อมา มีการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วยลักษณะฐานะ วัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก ในกรุงสยามขึ้น ได้ถือว่ามิสซังเป็นนิติบุคคล พระสังฆราชเป็นประมุข มีอำนาจถือครองที่ดิน ของมิสซังได้ ทำให้นักบวชในนิกายโรมันคาทอลิก เข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก มีการเปิด โรงเรียน และโรงพยาบาล เช่น เปิดโรงเรียน เซนต์โยเซฟ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ และได้เปิด โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เปิดโรงเรียนสตรีอัสสัมชันคอนแวนต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ และโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เปิดโรงพยาบาลคามินเลียน ในกรุงเทพมหานคร และที่ปราจีนบุรี นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ ตั้งโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ ที่สี่พระยา ในรูปของมูลนิธิ ปีพ.ศ. ๒๔๙๗ มีการก่อตั้ง คณะพลมารีย์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ก่อตั้งสมาคมคาทอลิก และปี ๒๕๐๔ ตั้งยุวกรรมกร คาทอลิก และ ปี ๒๕๐๗ มีตั้งสมาคม ครูคาทอลิก แห่งประเทศไทยขึ้น จากความก้าวหน้าของ การเผยแผ่ ศาสนาคริสต์นั้นเอง ทำให้ สำนักวาติกัน ได้ย้ายสถานสมณทูต จากกรุงฮานอย ไปอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และสมเด็จ พระสันตะปาปา เปาโลที่ ๖ ทรงประกาศสถาปนาฐานะ มิสซังสยาม ขึ้นเป็นกรม เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๐๘ โดยแบ่ง มิสซังสยามออกเป็น ๑. อัครสังฆมลฑลกรุงเทพ มีอัครสังฆราชเป็นประมุข
มีสังฆมณฑลดังนี้ ๒. อัครมณฑลท่าแร่-หนองแส มีปริสังฆมณฑลดังนี้ ปี ๒๕๑๑ พระสังฆราชทั้ง ๑๐ สังฆมณฑลได้ร่างพระธรรมนูญของคริสต์จักรให้มีสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย เป็นองค์กร สูงสุด ในการกำหนดนโยบาย ของคริสต์จักร คาทอลิก ในประเทศไทย สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์นั้น คณะคริสต์ชนนิกายโปรเตสแตนต์เริ่มเข้ามาเผยแผ่ศาสนาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ในสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการ ให้เสรีเป็นการภายใน สำหรับ การนับถือศาสนา ครั้งนั้นคณะธรรมการ ที่เข้ามามี ๓ ชุด คือ ๑. สมาคมคณะธรรมทูตแห่งลอนดอน พ.ศ. ๒๔๒๑ ถึง ๒๔๗๗ เป็นช่วงที่ รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศพระบรมราชโองการให้มีเสรีภาพ ในการนับถือ ศาสนา จึงทำให้การเผยแผ่ศาสนา ก้าวหน้าขึ้น มีคณะธรรมการต่างๆ เข้ามาทำงาน ในประเทศมากขึ้น มีการก่อตั้งองค์กรทางศาสนา อย่างเป็นทางการขึ้น คือ คริสต์จักรในสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภาคริสต์จักร ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ในยุคนั้นเองคณะธรรมการต่างๆ ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล สถานรักษา คนโรคเรื้อน โบสถ์ มีการบุกเบิก ทำงานออกไปในชนบททุกภาค และยังมีการทำงาน กับชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าชาวเขา กะเหรี่ยง และคนจีน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นต้นมามีการบริหารโดยคนไทย มีองค์กรทางนิกายโปรเตสแตนต์ ๔ องค์กร ๑. สภาคริสต์จักรในประเทศไทย ในฝ่ายคาทอลิกนั้นมีการบริหารสูงสุด โดยสภาสังฆราชคาทอลิก ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการ รับผิดชอบ งานต่างๆ ของสภาขึ้นประกอบด้วย ๑. คณะกรรมาธิการฝ่ายอภิบาลและ เสริมสร้างประชาชนคริสต์ชน เห็นได้ชัดเจนว่าการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยนั้น ทำเป็นรูปแบบสากล และ เป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ ทั้งมุ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม มีกลยุทธ์ และเป้าหมาย ชัดเจน บุคลากรมีคุณภาพ ทางด้าน การศึกษาวิทยาการแผนใหม่ คณะต่างๆ ที่ทำงาน ในพระพุทธศาสนา น่าจะต้องสนใจ และศึกษา ความเป็นไปเป็นมา ของคริสต์ศาสนา ในการเผยแผ่ ในประเทศไทย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้รับ เพราะถ้าเราทำงาน โดยปราศจากเป้าหมาย และขาดกลยุทธ์ ไม่บริหารจัดการ ให้เป็นไปตาม หลักสากลแล้ว เราก็จะไม่สามารถที่จะทำงาน ด้านศาสนาไปได้ ได้แต่พร่ำบ่น โทษคนนั้นคนนี้ และโทษ กันเอง รวมทั้ง โทษประชาชนคนไทย และชาวพุทธ ที่ละทิ้งศาสนาของตนเอง โทษเด็กๆ ที่ไม่ยอมเข้าวัด ฟังเทศน์ฟังธรรม โทษคนเฒ่าคนแก่ หรือพระสงฆ์องคเจ้าทั้งหลาย ที่ไม่ปฏิบัติตาม พระธรรมวินัย โดยที่เรา ไม่ได้วิเคราะห์ วิจัยวิจารณ์ องค์กรของเราเอง ว่าทำงานถูกต้อง ตามยุคตามสมัย หรือไม่อย่างไร สนองตอบ ต่อศาสนิกของเรา ในยุคปัจจุบัน หรือไม่ ถ้าองค์กรเรา มัวแต่หลงยุค ภาคภูมิใจแต่ของเก่า ในประวัติศาสตร์ ยึดธรรมเนียม ปฏิบัติเดิม โดยไม่ยอมปรับปรุง ใช้ข้อมูลเก่าๆ ที่ผิดพลาด ไม่คัดเลือก คนที่มีคุณภาพ มาทำ หน้าที่ อิงแต่กฎหมาย และระเบียบ หวังพึ่งงบประมาณจากรัฐ กีดกัน ผูกขาด ยึดมั่นตั้งมั่น ว่าเป็นของตัว ของตน ของคณะตน หมู่ตน ไม่ร่วมมือกับใคร ใครคิดต่างจากตนเอง และ คณะตนเอง คือผิด ใครไม่สมยอม ไม่อยู่ในโอวาท ใช้ไม่ได้ ไม่แยกถูกแยกผิด แยกชั่วแยกดี แยกประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ ฯลฯ ผลที่ออกมา ก็จะเป็นเช่น ปัจจุบันนี้ - เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๘๒ กันยายน ๒๕๔๘ - |