ชีวิตไร้สารพิษ โดยล้อเกวียน
การกำหนด
วัตถุประสงค์ในการผลิต

หนังสือพิมพ์ เราคิดอะไร ฉบับที่ 131 เดือน มิถุนายน 2544
หน้า 1/1

 

หลักความสำเร็จ ๒ ประการ

ต้นเหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ในการปลูกพืชเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองนั้น มีหลักการที่สำคัญ ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ เราจะต้องดูในพื้นที่ของเรา ว่าพืชที่เราปลูก จะสามารถเอาไปใช้เอาไปกินได้อย่างไร เช่น ถ้าเราปลูกไผ่ เราจะใช้กิ่งไผ่ ใบไผ่ หน่อไผ่ ต้นไผ่ ขุยไผ่ ฯลฯ ได้อย่างไร ประการที่ ๒ เราจะมีความสามารถจัดการตลาด โดยไม่ผ่านคนกลาง ได้หรือไม

่ รายได้ทางเศรษฐกิจของชาวนา มีอิทธิพลจากสังคมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากว่าเรามีระบบแรงงานร่วมกัน และมีผลผลิตร่วมกัน ถ้าเราจะสามารถ ที่จะให้คนอื่นมาช่วย เช่น เพื่อนบ้าน อาสาสมัคร นักเรียน นักศึกษา แม้กระทั่งชาวต่างชาติ มาร่วมทำงาน ฝึกงาน ศึกษาร่วมกัน มีการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารถึงกัน ก็จะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนนี้มีการติดต่อ ขายผลผลิตกับตลาดโดยตรง แต่ปัจจุบันมีการแปรรูปเป็นหลัก และมีระบบของการปรับปรุง คุณภาพผลผลิตไปพร้อมกัน

สำหรับคนที่มีความคิด ที่จะทำไร่ทำนาเพื่อเงิน คงจะไม่สำเร็จในการหาเงิน เพราะการคิดที่จะทำไร่ทำนาเพื่อหาเงินนั้น ย่อมจะทำให้เราต้องอยู่ใต้อิทธิพลของตลาด ของพ่อค้านายทุน ที่เขาจะเอารัดเอาเปรียบเรา และเป็นสิ่งที่แน่นอนว่า หากเราจะทำแบบนั้น เราก็จะต้องทำลายของสาธารณะ ทำลาย ดินที่ดี น้ำที่ดี อากาศที่ดี ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนที่ทำลายดิน น้ำ อากาศที่ดี เพื่อเศรษฐกิจของตนเอง จะตักตวงความร่ำรวย จากสมบัติ ทรัพย์สินของชาติ แต่ว่ามันจะเป็นได้ช่วงระยะเดียว การทำลายสมบัติทรัพย์สินของสังคม ของชาติ หมายถึง การทำลายคนของชาติ ด้วยการที่มีการทำไร่ทำนา เพื่อผลประโยชน์ทางทรัพย์สิน และความร่ำรวย โดยการใช้เทคโนโลยี ก็คือ การทำงานของนักการเมือง นักอุตสาหกรรม เพื่อที่จะตักตวงผลประโยชน์จากแผ่นดิน และในลักษณะอย่างนั้น ก็เป็นการทำลายชาวนา ชาวไร่ แล้วก็เป็นการทำลายสังคม และในที่สุด การทำลายสังคม ทำลายแผ่นดิน ก็เป็นการทำลายตัวเอง

การทำไร่ทำนาขณะนี้ เป็นอาชีพที่คนรังเกียจ ไม่มีใครอยากจะทำ สุขภาพของชาวนาชาวไร่ ชาวสวนทั้งหลายแย่ลง เนื่องจากการใช้สารเคมี คนเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นมะเร็ง มากกว่าคนอื่น นอกจากนี้ ยังมีโรคที่เกิดจากความกดดัน ทางเศรษฐกิจและสังคมอีก

ในปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป อายุของชาวนาก็มากขึ้น จากเมื่อก่อน อายุเฉลี่ยของชาวนา ประมาณ ๔๐-๔๕ ปี เดี๋ยวนี้ยืดออกถึง ๖๐ ปี ลูกหลานของเขา ก็ไม่ต้องการมีอาชีพทำนาแล้ว เมื่อมีโอกาสก็จะเข้ามาในเมือง พวกเขามีความรู้สึกว่า คนในเมืองไม่ต้องทำงาน เพียงแต่ถือเอกสารวิ่งไปวิ่งมา แล้วก็มีเงิน มีกิน มีใช้ ไม่ต้องทำงานหนัก มือถือเคียว ถือคันไถ ตากแดดอยู่ในไร่ในนา อาชีพการทำไร่ทำนา จึงไม่เป็นที่พึงปรารถนา และยังเป็นที่เกลียดชังของวัยรุ่นอีกด้วย ถ้าเราศึกษาจริงๆ ก็จะพบว่า ตั้งแต่เริ่มแรก ของอารยธรรมมนุษย์ การทำไร่ทำนา ไม่ใช่อาชีพที่แยกออกจากการทำกิจกรรม ของชีวิต กิจกรรมของการผลิตอาหาร จากการเกษตรกรรม ก็ไม่มีกิจกรรมพิเศษแต่อย่างใด มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

พื้นที่ส่วนใหญ่เวลานี้ แม้จะผลิตอาหารให้คนได้ ก็ไม่ได้ใช้ทำการผลิตอาหารให้คนจริงๆ แล้วสิ่งที่เราผลิตขึ้นมาในแผ่นดิน โดยเฉพาะธัญพืช และพืชอาหารอื่นๆ นั้น เป็นการผลิตเพื่อเอาไปเลี้ยงสัตว์ ผลิตเพื่อป้อนให้ระบบอุตสาหกรรม ปู่ย่าตายายของเรา คงหัวเราะจนฟันหัก ถ้าหากเราไปบอกว่า จะปลูกพืชไร่ ปลูกข้าว เอาไปให้สัตว์กิน แต่เราก็ทำไปแล้วจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น การปลูกถั่วเหลือง ซึ่งควรจะเป็นอาหารของคน แต่เวลานี้เอาไปใช้ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์บ้าง ผลิตสีบ้าง ระบบของการอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ ไม่ใช่ระบบของการเกษตรกรรม ไม่ใช่ระบบ ของการเพาะปลูก

ตัวอย่างในเม็กซิโก มีการปลูกถั่วเหลืองทั่วไป มองเห็นสุดลูกหูลูกตา ปลูกกันตั้งแต่ภูเขา จนถึงทะเล เต็มแผ่นดินไปหมด แล้วเขาก็เอาถั่วเหลืองนี้ ไปใช้ในระบบอุตสาหกรรม ยังสงสัยว่า ถั่วเหลืองที่ผลิตในโลกนี้ จะให้คนกินถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ มีการใช้ผลผลิตนี้ในการเลี้ยงสัตว์ วัว ม้า หมู หมา แมว ฯลฯ มากกว่าที่จะเป็นอาหารสำหรับคน สุนัขตัวหนึ่งในอังกฤษ กินอาหารมากมาย และมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างดี แต่เด็กๆ ที่อยู่ในอัฟริกา ต้องอดอาหาร ผู้ผลิตและนักโฆษณา ใช้โทรทัศน์ประชาสัมพันธ์อาหารของหมา ของแมว เพราะคนขายรู้ว่า คนเลี้ยงสัตว์ที่รักสัตว์นั้น จะซื้ออาหารเหล่านั้นให้สัตว์กิน แล้วคนก็ไม่ได้กิน ผลิตผลที่ผลิตขึ้นในอัฟริกานั้น จะถูกส่งมายังยุโรป ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงคน แต่เพื่อเลี้ยงสัตว์ มีการสร้างเขื่อน เก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เลี้ยงม้า กักน้ำกักอาหารเพื่อม้า ในโลกตะวันตกนั้น อาหารที่ผลิตขึ้นมา จะเป็นอาหารเลี้ยงแมว หมา ม้า เป็นส่วนใหญ่ และนอกจากนี้ น้ำและทรัพยากรของโลก ก็ยังถูกนำไปเลี้ยงสนามหญ้าอีก ประมาณว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของทรัพยากรโลก หมดไปกับการเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงหญ้า และเลี้ยงสนามกอล์ฟ

มีการเร่งผลิตผลิตผลการเกษตรให้ได้มากขึ้น แล้วก็มีการสร้างที่เก็บอาหารสำรองอาหารสด และอาหารที่ทำแล้ว อย่างที่นิวซีแลนด์ มีตู้เย็นเก็บเนื้อ อาหาร ฯลฯ ได้ถึง ๑๒ ปี และปัจจุบันโลกเรา ก็จะมาถึงจุดที่การเก็บรักษาอาหาร แพงกว่าการผลิตอาหารแล้ว ชาวนิวซีแลนด์จะรู้สึกว่า การเก็บอาหารนั้น แพงกว่าที่จะเอาไปทิ้งทะเล เวลาใครมาพูดกับเราว่า ช่วยกันผลิตอาหารเพื่อคน จริงๆ แล้วคนๆ นั้น ไม่ได้มีความคิดที่จะผลิตเพื่อคนหรอก นอกจากจะผลิตเพื่อขาย เพื่อเลี้ยงหมา เลี้ยงม้า และสัตว์อื่นๆ แล้วก็ทำให้คนอดอยาก ในขณะนี้มีหลายประเทศ ที่มีคนอดอาหาร ไม่มีอาหารจะกินเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศเหล่านี้ กลับขายถั่วเหลืองเป็นสินค้าออก สรุปแล้ว กิจกรรมทุกอย่าง ที่ทำเพื่อการเกษตร เพื่อขายนี้ ไม่ได้ผลิตอาหารสำหรับคนเลย ดังมีตัวอย่าง ให้เห็นในประเทศไทย ซึ่งผลิตมันสำปะหลัง และข้าวโพดส่งออก เพื่อนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ ให้ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EC)

การผลิตเพื่อการค้าขาย กลายเป็นระบบการค้ากำไร ยิ่งกว่าการใช้ผลผลิตการเกษตรเป็นอาหาร เช่น ในยุโรปมี ระบบตลาดร่วม เป็นประชาคมเศรษฐกิจยุโรป การปลูกข้าวสาลี กลายเป็นระบบการหากำไร จากการประกันราคาของรัฐบาล เช่น ข้าวสาลีที่ปลูกที่อิตาลี สามารถจะได้รับเงินประกันราคา จากรัฐบาลอิตาเลียน แต่ถ้าส่งผลผลิตนี้ไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ก็จะได้รับงินประกันราคาขายจากรัฐบาลสวิสด้วย ถ้าส่งผลผลิตไปประเทศไทย ก็จะได้รับเงินประกันราคาจากประเทศนั้น นี่คือวิธีหาเงินจากพวกที่ทำการค้ากำไร จากการเกษตร เครื่องมือส่วนใหญ่ ที่ใช้ในการทำการเกษตร ก็มาจากสงคราม รถแทรกเตอร์ รถไถ เครื่องสีข้าว ฯลฯ ก็มาจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะลงมือทำการเกษตร ตัดสินใจให้ดีว่า เราจะทำการผลิตเพื่อกิน เพื่อครอบครัว เพื่อโลก หรือว่าเพื่อขาย...?

เป้าหมายในการผลิต มีผลกระทบต่อวิธีการผลิต และการจัดการใช้ทรัพยากรอย่างมาก เช่น ถ้าเรามีวัวตัวหนึ่ง และเราเลี้ยงตามธรรมดาตามธรรมชาติ เราจะได้น้ำนมจากวัว ๒๕ เปอร์เซนต์ และเราก็ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องไปซื้ออาหารเสริม เพื่อที่จะบำรุงให้วัว ผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นอีก ๒๕ เปอร์เซนต์ และเมื่อเราจะเลี้ยงไก่ เราก็คงไม่ต้องการไข่ไก่ถึง ๒๒๐ ฟองต่อปี ซึ่งจะทำให้ไก่นั้น มีอายุสั้นลง คือ มีอายุได้เพียง ๒ ปีก็ตาย เราคงจะปล่อยให้มัน มีชีวิตผลิตไข่ให้เรา ๔-๕ ปี โดยที่มันจะผลิตไข่ให้เรา เพียงร้อยกว่าฟองต่อปีแทน ก็คงไม่เดือดร้อน นอกจากนี้ เราคงไม่ต้องการผลิตข้าว ให้ได้ผลผลิตถึง ๔,๐๐๐ ปอนด์ (๘,๘๐๐ กิโลกรัม) ต่อไร่ โดยผลิตพืชอาหารเพิ่มขึ้น อีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ พร้อมๆกับให้สารเคมี ลงไปอย่างมากมาย มันเป็นการสิ้นเปลืองเกินไป เป็นการทำลายมากเกินไป ถ้าเราปลูกข้าวแบบธรรมดาๆ เราอาจจะได้ ข้าวสัก ๑,๐๐๐ ปอนด์ (๒,๒๐๐ กิโลกรัม) ต่อไร่ แต่เราไม่ต้องเสียเงินมากในการลงทุน ไม่ต้องเสียแรงมาก และไม่ต้องล้าง ผลาญทรัพยากร ดินและน้ำด้วย

ถ้าหากว่าเราปลูกพืชแล้ว ปล่อยให้มันปรับตัวกับธรรมชาติ มันจะปรับตัวต้านทานต่อศัตรู และโรคได้เอง นั่นคือ ไม่มีศัตรู ไม่มีโรค เช่น ต้นกล้วย กล้วยไม่เคยมีศัตรูพืช เมื่อเราสร้างผลผลิตทางการเกษตร เพื่อครอบครัวของเรา เพื่อญาติพี่น้อง และเพื่อนๆของเรา เราไม่ต้องการพื้นที่มากมาย เพียงแค่ ๔-๕ ไร่ ก็เพียงพอแล้ว Bill Molison กล่าวว่า "ผมเคยลองซื้อ พืชผักทุกชนิดที่มีอยู่รอบๆ บ้านผม มาปลูกรวมกันที่บ้าน ผมสามารถนับพืชผัก ที่ซื้อมาได้ถึง ๔๒๐ ชนิด ที่ทำอย่างนี้ เพราะผมอยากรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อนำพืชเหล่านี้มาปลูกรวมกัน ในสวนจึงมีพืชต่างๆ มากมาย เริ่มในปีที่ ๑ ผมมีข้าว หลายพันธุ์ พืชผักหลายพันธุ์ และนำมาลงไว้ในสวน หลังจากปีแรกผ่านไป ก็เห็นว่าพืชบางชนิดก็อยู่ดี บางชนิดก็อยู่ไม่ได้ ไม่ค่อยเจริญเติบโต เพราะฉะนั้นหลังจากปลูกไปได้ ๑ ปี ผมก็รู้ว่า พืชอะไรเหมาะกับพื้นที่ของผม ปีต่อมาผมก็มีวัตถุดิบ สำหรับที่จะเพาะปลูก เช่น เมล็ดพันธุ์พืช และอุปกรณ์ที่อยู่ในดิน คือ รากของต้นไม้ ที่เปิดช่องให้ดินมีรูพรุนร่วนซุย แล้วก็ยังมีซากพืช ซากต้นไม้ที่ตายทับถมกัน เป็นอินทรียวัตถ ุย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย พอปีที่ ๓ ผมก็มีโอกาส เลือกกิน เลือกขาย เลือกเก็บผลผลิต จากพืชที่ผมปลูกได้ ปีที่ ๓ นี้ ผมขายผลผลิตได้แล้ว พอปีที่ ๔ ผมก็เริ่มขายทั้งผลผลิต เมล็ดพันธุ์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ และรับประกันได้เลย ว่าพืชต่างๆ ที่ผมปลูก จะปรับตัวเข้ากับสภาพในสวนของผม ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นในปีที่ ๕ ที่ ๖ ต้นไม้ยืนต้น ที่ให้ผลนานปี ก็จะเริ่มผลิดอกออกผลให้ผม"

"ในปีที่ ๓ นั้น ผมก็เริ่มขยายพื้นที่การเพาะปลูก ออกไปเรื่อยๆ ในการขยายพื้นที่การเพาะปลูกใหม่นั้น ผมก็ทำอย่างเดียวกัน จะเห็นได้ว่า ผมเริ่มต้นจากการเพาะปลูกเพื่อครอบครัว เพื่อญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง และมาถึงระดับที่ผมสามารถ จะแจกจ่ายผลผลิตที่ได้ ไปให้สังคมมากขึ้น และในที่สุด ก็สามารถที่จะสร้างเงื่อนไข เพื่อฟื้นฟูสถานภาพทางเศรษฐกิจ ให้ดีขึ้นได้ พื้นที่ก็ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนคือ ผมไม่เคยคิดว่า จะทำการเกษตรเพื่อหากำไร แต่ผมคิดว่า ทำเพื่อสร้างอาหารให้แก่คน จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมขายก็คือ ความหลากหลายของพืชที่เป็นอาหาร"

ในปัจจุบันนี้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ จริงๆ แล้ว พวกลูกหลานชาวนาที่ยากจน จะอพยพไปอยู่ในเมือง ส่วนครอบครัวที่มีอันจะกิน หรือครอบครัวที่มีฐานะดี ก็จะย้ายมาอยู่ตามชานเมือง หรือต่างจังหวัด มาทำไร่ทำนาของตัวเอง เพราะไม่อยากให้ครอบครัวของตน อยู่ในสภาวะที่เลวร้าย แบบสังคมเมือง

"ในสังคมชนบทแถบบ้านผม (Bill Mollison) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งประมาณ ๙ กิโลเมตร เป็นชุมชนของคนระดับปัญาชน ที่แสวงหาชีวิตที่ดีกว่าชีวิตในเมือง จึงมาอยู่ในชนบท คนเหล่านี้เป็นผู้ที่จบปริญญาตรี ปริญญาโท ถึง ๖๑ เปอร์เซ็นต์ พวกนี้ทิ้งอาชีพ ทำเงินในเมือง ผมคิดว่า คนแถวบ้านผม มีคนที่จะเป็นศาสตราจารย์ มากกว่าที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเสียอีก ที่น่าประหลาดคือ มันกลายเป็นชุมชน ที่สามารถทำการวิจัยได้หลายเรื่อง ชุมชนนี้จะไม่ใช้สารเคมี เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช้เครื่องจักรกล พวกเขาต้องการสภาพแวดล้อมที่ดี เหมือนที่พวกเขาเห็นตัวอย่าง จากบ้านของผม ลักษณะอย่างนี้ จะสร้างระบบการศึกษาได้ดี ถ้าหากว่าเราสามารถเป็นศูนย์รวม ข่าวสารข้อมูล ที่จะเผยแพร่กิจการ เพื่อสภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กิจกรรมทางด้านฝีมือ หรือจักสาน เราไม่ต้องทำเอง เพียงแต่อาศัยการเผยแพร่ การศึกษาอบรม ข้อมูล ข่าวสาร มีการแนะนำให้เห็น มีการทำให้เห็น แล้วคนอื่นเขาก็ไปทำเองได้"

แม้แต่ในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์ดิน ที่จะทำได้ในพื้นที่ทั่วไป ถ้าเราสามารถเก็บน้ำได้ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ เราก็จะสามารถทำการเกษตรได้ โดยไม่ต้องห่วงอะไรเลย แล้วก็ใช้พื้นที่ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ สำหรับ ปลูกพืชอายุสั้น ซึ่งจะเป็นอาหารหลัก และอาหารเสริม สำหรับครอบครัว เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย เผือก มันถั่ว เป็นต้น ส่วนที่เหลือ ก็จะปลูกป่าไม้ลักษณะต่างๆ ป่านี้จะมีบทบาท ๓ ประการ คือ เป็นไม้ให้ฟืน ให้ร่มเงา และบำรุงดิน ถ้าเป็นต้นไผ่ ก็มีประโยชน์ดีมาก น้ำใต้ดินที่ไหลผ่านรากไผ่ จะใสเป็นพิเศษ ถ้าเป็นต้นที่ให้ปุ๋ย ก็เป็นพวกถั่ว ปลูกรวมกันหลายๆชนิด และสิ่งที่จำเป็น จะต้องปลูก ก็คือ พืชที่จะให้ปุ๋ยพืชสด เรียกว่า ปลูกพืชที่จะให้อุปกรณ์พืช ที่จะเป็นอุปกรณ์บำรุงดิน ถ้าจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ก็ไม่ต้องเลี้ยงมาก แค่ ๒-๓ ตัว อนึ่ง ไม่ว่าเราจะกินปลาหรือไม่ เราก็ควรเอาปลามาปล่อย ไว้ในบ่อในนาของเรา เพราะว่า ปลาก็จะให้ปุ๋ยแก่ท้องนาของเรา จึงไม่มีความจำเป็น ที่จะเลี้ยงสัตว์ เพราะมันจะมาเองตามธรรมชาติของมัน นอกจากหมู ซึ่งจะไม่มาเอง และถ้าเราจะเลี้ยงหมู เราก็ควรปลูกต้นมะละกอให้มากๆ เพื่อเป็นอาหารให้หมูด้วย

(Permaculture โดย Bill Mollison)

 
อ่านฉบับ 130    

ชีวิตไร้สารพิษ โดย ล้อเกวียน (เราคิดอะไร ฉบับ ๑๓๑ มิ.ย. ๔๔ หน้า ๕๘ - ๖๑ )