ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา..สุนัยเศรษฐบุญสร้าง
เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ
ตอน ๑๔
บทความชุดนี้ตั้งใจจะเขียนขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของ
"อำนาจรัฐ" และชี้ให้เห็นช่องทาง ที่จะเป็น ทางออก จากตรรกะแห่งความขัดแย้ง
ของขุมอำนาจดังกล่าว จากรากฐานทางพุทธปรัชญา อันอาจกล่าวได้ว่า เป็นแนวคิด
"เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ" แบบจำลองเชิงทฤษฎี ของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม
แบบจำลองเชิงทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม
กรอบแนวคิดเศรษฐศาสตร์บุญนิยม
ที่ได้อธิบายมาในตอนที่แล้ว ชี้ให้เห็นความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์อย่างแนบแน่น
ระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่ให้ความสำคัญ กับการผลิต และการบริโภค
อย่างพอเหมาะพอดี กับระบบเศรษฐกิจบุญนิยม ที่ช่วยเพิ่มอรรถประโยชน์ หรือประโยชน์สุข
ในการผลิต และบริโภค จากในมิติ ด้านการลดปริมาณ ความต้องการส่วนเกิน หรือลดกิเลสตัณหาอุปาทาน
ในโครงสร้างส่วนลึก ของระบบสังคมมนุษย์
จากกราฟ ในการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นมาในสังคมแต่ละหน่วยนั้น
ผลผลิตแต่ละหน่วยดังกล่าว จะมีทั้งมิติ ที่ให้ประโยชน์สุขต่อสังคม จากการช่วยแก้ปัญหา
ความอดอยากขาดแคลนต่างๆ ทำให้ปัญหาของสังคม บรรเทาลดน้อยลง เส้น MSB จึงมีลักษณะลาดลง
ขณะเดียวกัน การสร้างผลผลิตขึ้นมาแต่ละหน่วย
ก็มีมิติที่เป็นต้นทุนทางสังคมแฝงอยู่ จากการทำให้ทรัพยากร ที่มีจำนวนจำกัดของโลก
ร่อยหรอลง การเพิ่มมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมสร้าง ให้ผู้คนมีกามตัณหา
และภวตัณหา ที่เป็นความต้องการส่วนเกิน จำเป็นของชีวิตเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ ทำให้ปัญหาของสังคม
ขยายตัวเพิ่มขึ้น เส้น MSCจึงมีลักษณะชันขึ้น
ถ้าสมมติให้ปัญหาของสังคมที่ลดน้อยลงอันเนื่องมาจากการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นมาแต่ละหน่วยเหลือเท่ากับ
Pb และต้นทุน ทางสังคม ที่เกิดจาการสร้าง ผลผลิตหน่วยนั้นๆ เท่ากับ Pc ฉะนั้น
ปัญหาของสังคมโดยรวม (P) ณ เวลาหนึ่งๆ ที่มีการสร้างผลผลิตขึ้นมา แต่ละหน่วย
เท่ากับ Pb+Pc
หากนำเอาค่า
Pb ของแต่ละจุดในเส้น MSB และคา Pc ของแตละจุดในเสน MSC (ณ จุดหนึ่งๆ
ของการผลิต) มารวมกัน แล้วเขียนเป็นกราฟเส้นใหม่ของค่า P เราจะได้เส้นปัญหารวมของสังคมเป็นกราฟรูปกระทะ
หรือพาราโบล่า โดยที่ระดับการผลิต ณ จุด C ในกราฟ จะเป็นจุดที่ปัญหารวมของสังคม
ที่เกิดจากการผลิต และการบริโภค มีระดับต่ำสุด (เท่าที่จะพึงเป็นไปได้
ภายใต้เงื่อนไข ของสังคมขณะนั้นๆ)
ถ้าระดับการผลิตต่ำกว่าจุด
C ปัญหาของสังคมโดยรวมจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น (สูงกว่าจุด O ที่เป็นระดับต่ำสุด
ของท้องกระทะในกราฟ) เพราะปัญหาจากการผลิต ที่ไม่เพียงพอจะตอบสนอง ความต้องการของประชากร
เท่าที่ควร
แต่ถ้าระดับการผลิตมากกว่าจุด
C ปัญหาของสังคมโดยรวม ก็จะเพิ่มสูงกว่าระดับ ที่ควรจะเป็นอีก (สูงกว่าจุด
O ในกราฟ) เนื่องจากการทำลายทรัพยากร ที่มีจำนวนจำกัดของโลก ตลอดจนมลภาวะ
ที่เกิดจากการผลิต ดังกล่าว ฯลฯ จะสร้างปัญหา ให้กับสังคมโดยรวม มากกว่าประโยชน์สุขที่ได้รับ
ปัจจัยต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรูปลักษณะของเส้น
MSB และเส้น MSC จึงเป็นตัวกำหนด ลักษณะ โครงสร้างพื้นฐาน ของปัญหาทางสังคม
จากกราฟ ถ้ากำหนดให้เส้น MSB คงที่ และวิเคราะห์ลักษณะของเส้น MSC หรือเส้นต้นทุนทางสังคม
ที่เกิดจาก การผลิต แต่ละหน่วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในการสร้างผลผลิตแต่ละหน่วยจะก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคม
(Social cost) อย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑) ขณะที่ทรัพยากรของโลกมีจำนวนจำกัด เมื่อทรัพยากรต่างๆ ของโลก เช่น น้ำมันดิบ
ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ สินแร่ ฯลฯ ถูกนำไปใช้จนร่อยหรอลดน้อยลงเท่าไร ต้นทุนทางสังคมของทรัพยากรส่วนที่เหลือน้อยดังกล่าว
ก็จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เป็นทวีคูณมากเท่านั้น (ถึงแม้มนุษย์อาจหาแหล่งพลังงาน
และทรัพยากรใหม่ๆ มาทดแทนได้ อาทิ จากใต้มหาสมุทร หรือ ดาวดวงอื่น แต่ก็ต้องใช้ต้นทุน
เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในการวิจัยหรือค้นหา แหล่งทรัพยากรใหม่ๆ เหล่านั้น)
เส้น MSC จึงมีลักษณะลาดชันขึ้นเป็นรูปเส้นโค้งเข้าหาแนวขนานกับแกนแนวตั้งโดยถ้าแหล่งทรัพยากรพื้นฐาน
ตลอดจนความรู้ ที่จะนำเอาทรัพยากรเหล่านั้น มาใช้มีอยู่น้อย เส้น MSC ก็จะมีลักษณะ
อยู่ใกล้แกนแนวตั้ง (MSC1) ส่งผลให้จุด C1 ที่เป็นตัวกำหนดจุดต่ำสุดของพื้นฐานปัญหาอยู่ในระดับสูงกว่าจุด
C ในทางกลับกัน ถ้าแหล่งทรัพยากร (และเทคโนโลยีที่ จะนำทรัพยากรดังกล่าว
มาใช้ประโยชน์) มีอยู่อุดมสมบูรณ์ เส้น MSC จะมีลักษณะ ห่างจากแกนแนวตั้ง
(MSC2) และส่งผลทำให้จุด C2 อยู่ในระดับต่ำกว่าจุด
C อันจะทำให้พื้นฐาน ของปัญหาทางสังคม ลดระดับต่ำลง
๒) การผลิตและการบริโภคจะก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคมของผลกระทบภายนอกต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น มลภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก และทำให้โลกร้อนขึ้น
เป็นต้น เมื่อมลภาวะเหล่านี้ สะสมตัว จนถึงจุดมวลวิกฤติ อาทิ โลกร้อนขึ้น
จนถึงจุดที่ทำให้น้ำแข็ง แถบขั้วโลก หลอมละลาย กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนแปลง และระดับน้ำ
ในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น จนท่วมเมืองท่าสำคัญต่างๆ ของโลก หรือทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน
ความหายนะ ก็จะเกิดขึ้น อย่างมากมายมหาศาล ส่งผลให้เส้น MSC มีลักษณะลาดชันขึ้น
เป็นรูปเส้นโค้ง โดยที่ปลายเส้น จะโน้มเข้าหาแนวขนาน กับแกนแนวตั้ง
ถ้าวัฒนธรรมในการผลิตและการบริโภคของมนุษย์สร้างมลภาวะสะสมรุนแรงเท่าไร
เส้น MSC จะมีลักษณะ เข้าใกล้แกนแนวตั้ง (MSC1) แต่ถ้ามนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการผลิต
และการบริโภค ให้เป็นไป ในทิศทาง ที่สร้างผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ ในธรรมชาติได้น้อยเท่าไร
เส้น MSC ก็จะมีลักษณะห่างจากแกนแนวตั้ง มากเท่านั้น (MSC2)
๓) การสร้างผลผลิตจำนวนมาก
จะไปกระตุ้นให้ความต้องการส่วนเกินในการบริโภคของมนุษย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
(เพราะถ้าไม่กระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อสินค้า หรือบริการที่ผลิตขึ้นมาดังกล่าว
ผู้ผลิตก็ย่อมจะขาดทุน เพราะขายสินค้า ของตนไม่ออก) ส่งผลให้ตัณหา ความทะยานอยากของมนุษย์
ถูกปลุกเร้าให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อสิ่งตอบสนอง ความต้องการ ที่มีจำนวนจำกัด
ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองกิเลสตัณหา ของผู้คนที่ถูกปลุกเร้า ให้ขยายตัว อย่างไม่มี
ขอบเขตที่สิ้นสุด ได้ทั่วถึง การแย่งชิงลาภ ยศ สรรเสริญ และโลกียสุข ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้ง
และสงคราม ขนาดต่างๆ ที่รุนแรงมากขึ้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้แสนยานุภาพ
ของอาวุธใหม่ๆ อาทิ อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งสามารถจะทำลายล้าง
อารยธรรม ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทั้งหมดบนโลกนี้ ส่งผลให้เส้น MSC มีลักษณะลาดชั้นขึ้นเป็นเส้นโค้ง
โดยปลายเส้น จะโน้มเข้าหา แนวขนานกับแกนตั้ง (เมื่อเข้าใกล้จุดมวลวิกฤติ
ของมหาสงครามโลก ที่จะอุบัติขึ้น และนำความหายนะ อันจะสร้างปัญหา อย่างอนันต์
ให้แก่เผ่าพันธุ์มนุษย์)
ถ้าพื้นฐานทางด้านจิตวิญญาณ
ในโครงสร้างส่วนลึกของสังคมมนุษย์ ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหา อุปาทานมากเท่าไร
เส้น MSC ก็จะมีลักษณะเข้าใกล้แกนแนวตั้งมากเท่านั้น MSC1 แต่ถ้าผู้คนในสังคม
สามารถปลดปล่อยตัวเอง ให้เป็นอิสระเบาบาง จากอำนาจครอบงำของกิเลส ตัณหาอุปาทานได้มากเท่าไร
เส้น MSC ก็จะมีลักษณะห่างออกมา จากแกนแนวตั้งมากเท่านั้น (MSC2) ส่งผลให้จุดต่ำสุดของพื้นฐาน
ปัญหาทางสังคม (C) เลื่อนไปสู่ทิศ C1 ตามไปด้วย
ในทางกลับกัน ถ้ากำหนดให้เส้น
MSC คงที่ และวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้น MSB
เมื่อมนุษย์สร้างผลผลิต จำนวนเพิ่มมากขึ้นเท่าไร
ประโยชน์สุขที่จะได้รับ จากการบริโภคผลผลิตเหล่านั้น จะมีลดน้อยลงโดยลำดับ
ตามกฎการถดถอย ของอรรถประโยชน์ จนประโยชน์สุขที่ได้รับ จากผลผลิตหน่วยท้ายๆ
ที่ถึงจุดอิ่มตัว จะไม่ช่วยให้ได้ประโยชน์สุข หรือช่วยลดปัญหา ได้มากไปกว่านั้นอีก
เหมือนคนที่กินข้าวจนอิ่มแล้ว การได้ขาวจานต่อไปๆ ไป เพิ่มขึ้นมาอีกกี่จาน
ก็ไม่ทำให้ได้รับประโยชน์สุขอะไร จากการช่วยลดปัญหา ความหิว ได้มากไปกว่านั้น
เป็นต้น เส้น MSB จึงมีลักษณะลาดลงเป็นรูปเส้นโค้ง โดยช่วงปลายของเส้น จะโน้มเข้าหาแนวขนาน
กับแกนแนวนอนของกราฟ
ถ้ามนุษย์สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระเบาบางจากอำนาจครอบงำของกิเลสตัณหา
อุปาทานได้มากเท่าไร เส้น MSB จะมีลักษณะเข้าใกล้แกนแนวตั้ง และแนวนอนมากเท่านั้น
(MSB2) ส่งผลให้ เมื่อได้รับผลผลิตจำนวนหนึ่ง
ก็รู้สึกเพียงพอ ต่อความต้องกา รของชีวิตแล้ว (เลื่อนจากจุด C เป็นจุด C2) ถึงได้รับผลผลิต มากกว่านั้น ก็ไม่ทำให้รู้สึกว่า มีประโยชน์สุขอะไร
ต่อตัวเองเพิ่มอีก
คนที่ปฏิบัติธรรมลดละกิเลสตัณหาให้เบาบางลงได้
จึงเป็นผู้ที่ไม่ชอบกักตุนสะสมอะไรมาก และจะสละ ส่วนเกิน จำเป็น เผื่อแผ่เป็นบุญ
ให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน เพราะจะมีความรู้สึกว่า ถึงได้ผลผลิตมากกว่านั้น ก็ไม่ได้ช่วย
สร้างประโยชน์สุข หรือลดปัญหาอะไร ให้แก่ชีวิตตนเอง มากกว่าที่เป็นอยู่ ขณะที่เห็นภาระ
อันเกิดจากมิติด้านต้นทุน ของการแสวงหาผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่คุ้มค่า กับประโยชน์ที่ได้รับ
ตัวอย่างเช่น คนที่ลดละกิเลสตัณหาให้น้อยลงได้แล้ว
โดยมีเสื้อผ้าจำนวน ๕ ชุด ไว้ผลัดเปลี่ยนก็รู้สึกเพียงพอ (จุด C2 = เสื้อผ้า ๕ ชุด) ถ้าได้เสื้อผ้าชุดที่ ๖,๗,๘ ....เพิ่มขึ้นมา ก็จะรู้สึกเป็นภาระในการเก็บและการแสวงหา
(เลยจากจุด C2 เส้น MSC จะมีระดับสูงกว่าเส้น
MSB ส่งผลให้รู้สึกว่า การมีเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นมามากกว่านั้น จะมีภาระหรือต้นทุน
มากกว่าประโยชน์สุข ที่จะได้จากเสื้อผ้าดังกล่าว) ฉะนั้นก็จะสละเสื้อผ้าชุดที่๖,๗,๘...
ดังกล่าว ให้แก่คนที่ขาดแคลน ด้วยความเต็มใจ เป็นต้น
อนึ่งการใช้กรอบแนวคิดนี้วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนในระดับจุลภาคนั้น
จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดอีกครั้ง ในตอนต่อๆ ไป แต่ในที่นี้จะมุ่งพิจารณาพฤติกรรม
ในระดับมหภาค ที่เป็นภาพรวม ของสังคมก่อน
ถ้าปฏิสัมพันธ์ในมิติด้านจิตวิญญาณของผู้คนในสังคมหนึ่งๆ
(ซึ่งจัดเป็นโครงสร้างส่วนลึกของสังคม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว) มีระดับของความต้องการส่วนเกิน
หรือกิเลสตัณหาอุปาทาน โดยเฉลี่ยคิดเป็นค่ารวมที่สูงขึ้น เส้น MSB ก็จะเลื่อนห่าง
จากแกนของกราฟ ออกไปทางทิศ MSB1 ส่งผลให้จุด
C ซึ่งเป็นตัวกำหนด ปัญหาพื้นฐานของสังคม (หรือกำหนด ระดับปัญหา ต่ำสุดของสังคม)
เลื่อนระดับไปอยู่ที่จุด C1 ด้วย ทำให้สังคมนั้นๆ ต้องผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น
(ต้องเหน็ดเหนื่อย และสิ้นเปลือง ทั้งพลังแรงงาน เวลา สติปัญญา ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ
เพิ่มขึ้น) ในขณะที่ต้นทุนทางสังคมที่สูงขึ้นดังกล่าว จะสามารถ ลดระดับปัญหา
ให้น้อยที่สุด ได้ก็แค่ระดับของจุด C1 เท่านั้น
อันเป็นระดับของปัญหา ที่สูงกว่าเดิม (สูงกว่าจุด C และC2 ตามลำดับ)
จากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของเส้น
MSC และ MSB ดังที่ได้กล่าวมา จะเห็นว่า ความต้องการส่วนเกิน หรือกิเลสตัณหาอุปาทาน
ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างส่วนลึก ของสังคมมนุษย์ นับเป็นตัวแปรที่มีผลกระทบอย่างมาก ทั้งต่อมิติของเส้น MSC และเส้น MSB จากกราฟ ถ้าระดับของกิเลสตัณหา
หรือความต้องการส่วนเกิน ของสังคมคลี่คลายลดน้อยลง โดยทำให้เส้น MSB เลื่อนเข้าหาแกนแนวตั้ง
และแนวนอนของกราฟที่ MSB2 ขณะที่เส้น
MSC เลื่อนเข้าหาแกนแนวนอนของกราฟ ที่ MSC2 จุดตัดที่เป็นตัวกำหนด ระดับปัญหาพื้นฐานของสังคม คือจุด C ก็จะเลื่อนระดับต่ำลงมาอยู่ที่จุด C2 ส่งผลทำให้ระดับ ปัญหาพื้นฐาน ของสังคม
ลดต่ำลงเข้าใกล้ศูนย์ (ลดจากระดับ P เป็น P2 ตามกราฟ)
ในขณะที่มาตรฐาน การครองชีพของผู้คน จะดีขึ้น หรือใกล้เคียงกับของเดิม (ไม่ใช่สังคมแบบฤาษี
ที่เมื่อผู้คนมีความสันโดษมักน้อยลงแล้ว ก็เลยทำให้สังคม ถอยหลังเข้าคลอง
เพราะพากันหลีกเร้น ไปอยู่ตามป่าเขาหมด จนทำให้สังคม มีความเสื่อมถอย ซึ่งจะได้ขยายความเรื่องนี้
อีกครั้ง)
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๓๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕) |