ชีวิตไร้สารพิษ
การปลูกพืชหมุนเวียน
การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการใช้พื้นที่แต่ละส่วนปลูกพืชแต่ละชนิดแล้วหมุนเวียนเปลี่ยนพืชไปในพื้นที่ทีละส่วน
หลักของการปลูกพืชหมุนเวียนมีเพื่ออนุรักษ์ดินและรักษา
ธาตุอาหารในดินให้สมดุล พืชแต่ละชนิด กินอาหาร ต่างกันด้วย และสร้างธาตุอาหารที่ต่างกันด้วย
การปลูกพืชหมุนเวียน หลายชนิดในพื้นดิน จะทำให้การใช้ธาตุอาหาร และการสร้างธาตุอาหารสมดุล
การหมุนเวียนนี้ จะทำในลักษณะค่อยเป็น ค่อยไปก็ได้ วิธีการที่จะทำ แบบค่อยเป็น
ค่อยไป จะง่ายที่สุด และเข้าใจได้ง่ายๆ ในระยะเริ่มต้น เราก็มีหลักอยู่ว่า
เราแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ เราจะมีพื้นที่ เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าจะเป็น ๔ ส่วน
เราก็จะกำหนดตัวพืช ๔ ชนิด
ถ้าเราต้องการปลูกพืช ๕ ชนิด
เราก็แบ่งพื้นที่เป็น ๕ ส่วน ถ้าเราแบ่งพื้นที่เป็น ๑๐ ส่วน แต่ใช้พืช ๕
ชนิด เราก็จะหมุนเวียนปลูกพืช โดยแปลงที่ ๑ กับแปลงที่ ๖ ใช้พืชชนิดเดียวกัน
แปลงที่ ๒ กับแปลงที่ ๗ และแปลงที่ ๓ กับแปลงที่ ๘ ในการปลูกรอบ ๒ พืชที่เคยปลูกที่แปลงที่
๑ เราก็นำไปปลูกในแปลงที่ ๒ ที่เคยปลูกในแปลงที่ ๖ ก็ปลูกในแปลงที่ ๗ เพราะฉะนั้น
พืชหมุนเวียนได้ ๕ ชุด
จากคำแนะนำของ บิล มอลลิสัน
ในการปลูกพืชผัก ก็คือ ก่อนที่จะลงพืชใดในที่ดิน ให้นำแทรกเตอร์ไก่ หรือ
แทรกเตอร์หมู ที่เราเลี้ยงไว้ มาทำความสะอาดพื้นที่ก่อน ไก่และหมู จะเก็บกินเศษซากพืช
ตัวแมลงศัตรูพืช และรากต้นไม้ต่างๆ จนดินสะอาด และเมื่อได้ทำความสะอาดพื้นที่
ในแปลงที่ ๑ แล้ว พืชชนิดแรกที่จะปลูก ควรเป็นพืชใบเขียว ที่เป็นพืชใบห่อ
เป็นหัว เช่น กะหล่ำปลี เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราลงพืชที่ใบห่อ เป็นหัวในแปลงที่
๑ เราก็ต้องทำ ความสะอาด พื้นที่ในแปลงที่ ๒ พอทำความสะอาดเสร็จ ก็ลงพืชที่ห่อใบเป็นหัว
ในแปลงที่ ๒ ในขณะที่แปลงที่ ๑ จะเปลี่ยนเป็นลงพืช ที่หัวฝังอยู่ในดิน ซึ่งมีใบสีเขียวอยู่บนดิน
เช่น มันเทศ เผือก ซึ่งในแปลงนี้ ในการปลูกครั้งต่อไป เราก็จะปลูกพืชอย่างอื่นอีก
เป็นต้นว่า ข้าวโพด พริก กล้วย มะละกอ ฯลฯ
จังหวะของการทำกิจกรรมปลูกพืชในแต่ละแปลง
จะไล่กันไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่ามีมากแปลง ก็จะปลูกพืช ได้มากชนิด ถ้ามีมากกว่า
๕ แปลง พืชปิดท้าย ควรจะเป็นตระกูลถั่วสัก ๒ รายการ นอกเสียจากว่า เราจะเลือกพืชผัก
ตระกูลถั่ว ลงในรายการอื่นแล้ว
การให้น้ำ ก็ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการพืชผักตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่
ถ้าเรารดน้ำ ก็จะได้ผลผลิตตามกำหนด เพราะพืชผัก แต่ละชนิด จะมีอายุเก็บกินได้
ถ้าเราต้องการตามกำหนด เราก็ต้องรดน้ำ การกำหนดพืชผัก จะต้องศึกษา ฤดูกาล
อายุ ระยะเวลาให้ผลผลิต ของผักชนิดนั้นๆ ด้วย อนึ่ง ผักแต่ละชนิด จะให้ธาตุอาหาร
และผลิตธาตุอาหาร ต่างกัน ในรายละเอียด ดินที่จะสมบูรณ์ จะต้องมีธาตุอาหารหลัก
และธาตุอาหารย่อย การเลือกพืชผักลงดิน ก็จะต้องคำนึง ด้วยว่า พืชจะช่วยสร้างไนโตรเจน
โปแตสเซียม ฟอสเฟต จะต้องมีเหล็ก มีสังกะสี หรือธาตุอาหารอื่นๆ อยู่ในดิน
ธาตุอาหารเหล่านี้ มาจากพืชที่เราปลูกลงไป พืชเหล่านี้ จะสร้างธาตุอาหารเหล่านี้
ทิ้งไว้ในดิน การปลูกพืชชนิดเดียว จึงเป็นการทำลายดิน และทำลายสมดุล ของสิ่งแวดล้อม
เราทดลองทำได้ ที่ไหนก็ได้ ทำกันในวงเล็กๆ ก่อน เมื่อเห็นว่า มันได้ประโยชน์
เราก็ขยายเป็นวงใหญ่ ขยายพื้นที่ทำเท่าไหร่ก็ได้
ในพื้นดินต้องมีความชุ่มชื้นเพียงพอสำหรับพืชและถ้าต้องการผลผลิตตามกำหนด
จะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอ สมัยนี้ ก็มีขาตั้งวางสายยางฉีดน้ำ แบบสปริงเกอร์
ซึ่งยกได้ จะยกไปตั้งที่ไหนก็ได้ เอาไปฉีดตรงไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น สมัยนี้
ความสะดวก ในการจัดการน้ำ มีมากขึ้น และในฤดูฝน หรือบางฤดูกาล ก็ไม่ต้องให้น้ำเลย
การจัดการกำหนด รูปแบบพื้นที่ จะช่วยลดปริมาณน้ำ และช่วยประหยัด พลังงานน้ำได้
ในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชผักอย่างต่อเนื่อง
พื้นดินมีความชุ่มชื้น และมีเศษซากพืชมาก จะมีสภาพที่เอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต
และเจริญเติบโต ของไส้เดือนฝอย ซึ่งจะทำลายระบบรากของผัก ที่เราปลูก ก่อนทำความสะอาด
เมื่อจะเริ่มปลูกผักรอบ ๒ จึงควรหว่านเมล็ดปอเทือง ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว
ที่จะช่วยกำจัด ไส้เดือนฝอย ในดินของเรา ได้เป็นอย่างดี
การปลูกผักในระบบเพอร์มาคัลเชอร์
ก่อนการลงพืชผักเราอาจจะต้องใช้แทรกเตอร์
ที่มีชีวิตช่วยทำความสะอาดพื้นที่ หมายถึงแทรกเตอร์ อย่างไก่หรือหมู อาจจะใช้ไก่
๑๐๐ ตัว สำหรับไถนาในพื้นที่ ๑๐๐ ไร่ เราก็ค่อยๆ ปล่อยไก่เข้าไปในทีละส่วน
ของพื้นที่ และก็ให้มันจัดการ ทำความสะอาด เก็บเมล็ด และคุ้ยเขี่ยรากต้นไม้เล็กๆ
เช่น รากไผ่ มูลของไก่ ก็จะเป็นปุ๋ยอยู่ในดิน พอทำความสะอาด พื้นที่ส่วนหนึ่งเสร็จ
ก็เปลี่ยนที่ไป พอเสร็จแล้ว เราก็เอาปูนขาว โรยลงบนดิน ในแปลงที่ แทรกเตอร์มีชีวิต
ได้ทำความสะอาดไว้แล้ว (ใช้ปูนขาว ๓ กิโลกรัม สำหรับพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่)
จากนั้นก็คราดนิดหน่อย แล้วก็ลงผักได้
ก่อนการลงผัก เราจะต้องเตรียมวางแผนการใช้พื้นที่
และการเลือกพืชก่อน เราจะเลือกประเภทของผักได้ เท่ากับ จำนวนพื้นที่ที่เราแบ่ง
เช่น ถ้าเราแบ่งเป็น ๔ แปลง เราก็ปลูกผักหมุนเวียนได้ ๔ ประเภท ถ้าเราแบ่งเป็น
๘ แปลง
เราก็เตรียมพืชไว้ ๘ ชนิดหรือ ๔ ชนิดก็ได้ การเตรียมที่ดี จะช่วยให้เราปลูกผักหมุนเวียน
ได้เป็นผลสำเร็จ ในที่นี้ ขอยกตัวอย่าง แผนภูมิการปลูกพืชหมุนเวียน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกเป็น
๘ แปลง และกิจกรรม พืชที่ปลูกมี ๘ กิจกรรม คือ
กิจกรรม ๐ ทำความสะอาดพื้นที่
โดยใช้แทรกเตอร์สัตว์เข้าไปช่วยทำความสะอาด เช่น ไก่ หรือหมู
กิจกรรม ๑ ปลูกผักใบเขียว
เช่น ผักกาด กะหล่ำปลี ฯลฯ
กิจกรรม ๒ ปลูกพืชหัว
ที่มีใบสีเขียว เช่น
มันเทศ มันแกว เผือก แครอท ฟักทอง ฯลฯ
กิจกรรม ๓ ปลูกดอกไม้พวกทานตะวัน
ดาวเรือง
กิจกรรม ๔ ปลูกพืชไร่
เช่น ข้าวโพด พริก มะเขือ มะเขือเทศ หอม
กิจกรรม ๕ ปลูกผลไม้และผักที่เป็นไม้ยืนต้น
เช่น กล้วย มะละกอ กระถิน
กิจกรรม ๖ ปลูกผักอะไรก็ได้ที่อยากปลูก
เช่น สมุนไพรต่างๆ
กิจกรรม ๗ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
และมีการสลับกิจกรรมการปลูกดังนี้
รอบการ
ปลูกที่ |
แปลงที่ |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
1 |
0 |
|
|
|
|
|
|
|
2 |
1 |
0 |
|
|
|
|
|
|
3 |
2 |
1 |
0 |
|
|
|
|
|
4 |
3 |
2 |
1 |
0 |
|
|
|
|
5 |
4 |
3 |
2 |
1 |
0 |
|
|
|
6 |
5 |
4 |
3 |
2 |
1 |
0 |
|
|
7 |
6 |
5 |
4 |
3 |
2 |
1 |
0 |
|
8 |
7 |
6 |
5 |
4 |
3 |
2 |
1 |
0 |
การปลูกผักให้ยืนยาวควรแบ่งพื้นที่เป็นแปลงๆ
และทำความสะอาดทีละแปลง เพื่อทำให้การปลูกพืช หมุนเวียนได้ พืชชนิดแรก ที่เราจะปลูกลงในแปลงที่
๑ ก็คือ พืชใบที่เป็นหัวห่อ อย่างเช่น กะหล่ำปลี เมื่อเก็บผักเสร็จ ก็ให้ปลูกมัน
ปลูกเผือก พอเราปลูกพืชใบเขียว และเผือก มัน จะมีเศษซากตกค้างอยู่เป็นอาหาร
ให้แทรกเตอร์ไก่ของเรา จากนั้น เราก็ปลูกดอกทานตะวัน หรือดาวเรือง ซึ่งจะทิ้งเมล็ด
ที่ไก่ชอบกินไว้ในดิน เมล็ดทานตะวันที่ตกอยู่ จะเป็นอาหาร ให้ไก่ต่อไป เหมือนกับว่า
เป็นน้ำมันให้แก่รถแทรกเตอร์ เวลาเราทำการเกษตรแบบนี้ ในพื้นที่แต่ละแปลง
เราต้องเตรียมการ สำหรับอนาคตด้วย จากนั้น เราจะลงพืช ที่เราต้องการอีก ๒
ครั้ง หลังจากนั้น ก็ลงพืชเมล็ด ที่ไก่จะกินได้ เป็นอาหาร ของไก่ อีกครั้งหนึ่ง
หมุนเวียนไปเรื่อย เมื่อไก่ทำงานครบรอบ ก็จะกลับมาที่เดิม กินอาหาร ของมัน
ก็เหมือนกับ จะได้เติมน้ำมันอีก และหากเรายังได้ใส่ปูนขาว ลงไปด้วยสักนิด
เพื่อช่วยสร้างเปลือกไข่ วงจรจะครบรอบ และเรา จะสามารถใช้พื้นดิน ได้อย่างถาวร
[Permaculture โดย Bill Mollison]
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๓๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕) |