กติกาเมือง
ประคอง
เตกฉัตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงาน
ในตำแหน่ง ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นครศรีธรรมราช
กฎหมายกับการป้องกันมลพิษทางทะเล
ยี่สิบสามจังหวัดของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ประชาชนจำนวนมากดำรงชีพอยู่ได้ด้วยอาศัยทะเล
แม้ประชากรหลายๆ จังหวัดที่ไม่ได้มีทางออกสู่ทะเล ก็เดินทางไปทำงานประกอบอาชีพ
เกี่ยวเนื่องด้วย กิจการเกี่ยวกับทะเล ทรัพยากรในทะเลนั้น เดิมเรามุ่งหวังแต่เพียงสัตว์น้ำ
ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในท่องทะเลเท้านั้น ต่อมาเราเริ่มให้ความสำคัญ
กับทรัพยากรตามธรรมชาติในทะเล ไม่ว่าแร่ แก๊ส น้ำมัน หิน ฯลฯ การอาศัยทรัพยากรในทะเล
ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งทรัพยากร ที่มีจำนวนมาก และแทบจะพูดได้ว่า แทบไม่มีวันหมด
เป็นเหตุให้ใช้ทรัพยากรทางทะเล โดยไม่ประหยัดเท้าที่ควร และนับวันเทคโนโลยี
ทางวิทยาศาสตร์ ยังสามารถสำรวจพบทรัพยากรใหม่ๆ อยู่ในทะเลเป็นประจำ ถ้าคุ้มกับการลงทุน
ก็สามารถ ดำเนินการได้ ถ้ารัฐไม่มีงบประมาณ พอก็จะให้เอกชน รับสัมปทาน
ไปดำเนินการ แบ่งผลประโยชน์กับรัฐ
การคมนาคมทางทะเล
เป็นการสัญจรติดต่อกัน ในระยะสั้นๆ ในช่วงแรก แต่ต่อมามีการพัฒนาเรือ
และท่าเรือ ใหญ่ๆ ขึ้นหลายแห่งในโลก การขนส่งสินค้าจำนวนมากไปสู่จุดต่างๆ
ของโลก นิยมใช้ การขนส่งทางเรือ เพราะเป็นการขนส่ง ที่มีราคาถูก และสามารถขนส่งได้
ครั้งละปริมาณมาก นอกจาก ท่าเรือ สำหรับขนส่ง สินค้าแล้ว ท่าเรือประมง
ก็นับว่าเป็นท่าเรือที่กระจายอยู่เกือบทุกประเทศ ที่มีพื้นที่ ติดกับทะเล
การล่าสัตว์น้ำ และการขนถ่าย ก็จำเป็นต้องอาศัย เรือขนาดใหญ่ ที่จะรองรับ
และท่าเรือ ที่มาตรฐาน ที่จะรองรับเรือ ดังกล่าวได้ ธุรกิจหลายธุรกิจ
ที่เกี่ยวโยงด้วยธุรกิจ เกี่ยวกับสัตว์น้ำ ทางทะเล ไม่ว่าโรงน้ำแข็ง
ธุรกิจห้องเย็น โรงงานอาหารทะเลกระป๋อง ล้วนอยู่ริมทะเล และต้องใช้
ยานพาหนะ ทางน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งล้วนแต่ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนมากทั้งสิ้น
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นย่อมไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ที่เราจะรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล
ให้คงสภาพ เดิมไว้ได้ เพราะปัจจุบัน ทะเลไทยเต็มไปด้วย การแสวงหาผลประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติ การขยายตัว ของการจราจร ทางทะเล อันจะส่งผลให้เกิดปัญหา
อุบัติเหตุทางทะเล กรณีเรือชนกัน เรือเกยตื้น ไฟไหม้เรือ และน้ำมัน
รั่วไหลลงทะเล ยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้น
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ทางทะเล เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่เพิ่มมลพิษลงในทะเล
ไม่ว่าอาคารสูงริมทะเล น้ำเน่าเสีย ที่ปล่อยจากเรือ หรือการประกอบอาหาร
และที่พัก บนเรือขนาดใหญ่ ประเภทเรือสำราญ แม้แต่การประสบ อุบัติเหตุเครื่องบินที่ตกลงในทะเล
การซ้อมรบทางทหาร การลักลอบ ขนถ่ายน้ำมัน กลางทะเล เพื่อหลบหนี ภาษีศุลกากร
การนำเรือเก่าขนาดใหญ่ มาทุบทำลาย เพื่อขาย นอกจากกระทบ ต่อสัตว์น้ำ
ในทะเลแล้ว ยังกระทบต่อนกน้ำ ป่าชายเลน แหล่งเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่ง
หาดทราย เกาะและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในทะเล โดยเฉพาะแนวปะการัง และแนวหินใต้น้ำ
ทางไหล ของกระแสน้ำ และแสงแดด ที่ส่องผ่าน ลงไปใต้น้ำ ฯลฯ
การสูญเสียสภาพแวดล้อมทางทะเล
ยังส่งผลเสียหายในทางอ้อม ที่หลายคนไม่คาดคิด เช่น การสูญเสีย อาชีพ
ของชาวประมงพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งหลาย และเป็นการทำลาย
วิถีชีวิตดั้งเดิม เปลี่ยนแปลง ระบบสังคมใหม่ ไม่ว่าการศึกษา สุขภาพ
ปัญหาต่างๆ ก็จะตามมา
รัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อน
ๆ แทบจะไม่ให้ความสำคัญ แก่สิ่งแวดล้อมไม่ว่าบนบกหรือ ทางทะเล รัฐธรรมนูญ
ฉบับปัจจุบัน ได้กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมไว้ในมาตราที่ ๔๖,๕๖,๕๙, ๗๖, ๗๙,
๘๔ และ ๒๙๐ เท้านั้น ระบุให้มี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ องค์คณะ
๒๓ คน ประกอบด้วย ข้าราชการการเมือง ๑๑ คน ข้าราชการ ประจำ ๔ คน และ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ๘ คน (โดย ๔ คนมาจากองค์กรพัฒนาเอกชน) อยู่ในวาระ ๔
ปี มีนายก รัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ในหน่วยงาน ของกระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และ สิ่งแวดล้อม มีกรรมการที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม ๒ กรม และ
๑ สำนัก คือ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริม คุณภาพ สิ่งแวดล้อม และ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
กฎหมายระหว่างประเทศที่ควรคำนึงถึง
ในการพิจารณาเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะนานาชาติเริ่มตื่นตัว ที่จะพิทักษ์รักษา
ท่องทะเลของตนเอง และนับวันจะเห็นผลประโยชน์ ของทรัพยากรทางทะเลมากขึ้น
อนุสัญญากฎหมายทะเล ขององค์การสหประชาชาติ ได้เริ่มบังคับตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๓๘ มีการขยายอาณาเขต ของประเทศต่าง ๆ ในทางทะเลออกไป ๑๒ ไมล์ทะเล
และการให้สิทธิ์ในการแสวงหา ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ในระยะ ๒ ไมล์ทะเล
ของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทำให้ประเทศต่างๆ ที่มีอาณาเขต ทางทะเล ติดต่อกัน
เริ่มจับมือกันเจรจา จัดสรรแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล
ปัจจุบันเรามีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติ การเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖ พระราชบัญญัติการประมง
พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๕ ตามเนื้อหาของกฎหมายทั้งสี่ฉบับ
ที่กล่าวมานี้ ไม่สามารถที่จะหยุดยั้ง ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากร
ทางทะเล อันเนื่องมาจาก การทำประมง ที่มีเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัย
และพัฒนา ให้สามารถ จับปลา ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ
เป็นจำนวนมาก เครื่องมือบางชนิด เช่น อวนรุน อวนลาก และไดหมึก ยังเป็นสาเหตุ
ของการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ การทำประมง โดยผิดกฎหมายเช่น การใช้ระเบิด
ยาเบื่อและไฟฟ้ากฎหมาย กำหนดโทษไว้น้อยเกินไป จึงไม่เป็นที่เกรงกลัว
ของผู้กระทำผิด และหน่วยงานของรัฐ ที่ติดตามจับกุม ผู้กระทำความผิดดังกล่าวนี้
ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จนสามารถ หยุดยั้ง การทำลายทรัพยากรดังกล่าวได้
การบุกรุกทางทะเล และการใช้ประโยชน์ ที่ดินชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะธุรกิจ
การเลี้ยงสัตว์น้ำริมทะเล มีการทำลาย ป่าชายเลน อย่างมโหฬาร รัฐน่าจะไปจัดระเบียบ
และควบคุม ไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้น จะเป็นที่ของเอกชน หรือไม่ก็ตาม
การทำนาเกลือ การทำเหมืองแร่ และการขยายตัว ของอุตสาหกรรม การต่อเรือและท่าเทียบเรือ
เป็นการสูญเสีย สิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยสิ้นเชิง เทศบัญญัติ ของเทศบาลต่างๆ
และข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา น่าจะเข้ามา เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
มาตรฐานทางภาษี น่าจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการยับยั้ง การกระทำดังกล่าวได้
ถ้ามีการเก็บ ค่าธรรมเนียม และภาษีแก่โรงงาน อุตสาหกรรม ที่อยู่ริมทะเล
หรือแม่น้ำลำคลอง ให้สูงกว่าที่อยู่ไกลทะเล หรือแม่น้ำลำคลอง
การท่องเที่ยวเป็นอาชีพที่ทำเงินตราเข้าประเทศจำนวนมาก
และเราต้องสูญเสีย ทรัพยากร กับการท่องเที่ยว จำนวนมาก ด้วยเช่นกัน
การเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ตามธรรมชาติ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดย
รู้เท้าไม่ถึงการณ์ การก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยการท่องเที่ยว
ไม่ว่าอาคาร ท่าเรือ ที่จอดรถและสะพาน ล้วนทำลาย ระบบนิเวศ ให้เปลี่ยนแปลงไป
ไม่ว่าจะเป็น ทิศทางลม แสงแดด กระแสน้ำ ป่าชายเลน หรือ แม้แต่การปิดกั้น
ทางไหลของแม่น้ำ ลำคลอง ที่ลงสู่ทะเล หรือมีส่วนให้เกิดดินปากแม่น้ำ
หรือการตื้นเขิน ของแม่น้ำ ลำคลอง หรือชายทะเล การพังทลาย ของชายตลิ่ง
หรือการกัดเซาะหน้าดิน อันจะเกิดผล ต่อแนวปะการัง และแนวหินโสโครก
มลพิษทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เกิดจากน้ำเน่าเสีย จากแหล่งชุมชน ที่ก่อให้เกิดสารอาหาร แก่แพลงตอน
ต่างๆ ทำให้เจริญเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย
รัฐและองค์การปกครอง ส่วนท่องถิ่น จะต้องดำเนินการ บำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล
มิฉะนั้น จะไม่สามารถยับยั้ง ปัญหาดังกล่าวได้ แม้จะลงทุนสูง ก็ต้องดำเนินการ
มลภาวะที่เกิดจากโลหะหนักและเคมีภัณฑ์
ที่เกิดจากโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องเข้าไปควบคุม อย่างใกล้ชิด
การตั้งโรงงานใกล้แม่น้ำลำคลอง ต้องกวดขันเป็นพิเศษ ตะกอนที่เกิดจากการชะล้าง
ในการเปิดหน้าดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำถนน เหมืองแร่ ทำบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
การก่อสร้างชายทะเลทุกรูปแบบ จะเกิดฝุ่นตะกอนสะสม มีผลกระทบต่อน้ำ
สาหร่ายทะเล ปะการัง ตลอดจนแสงแดด ที่จะทะลุ ผ่านผิวน้ำลงไป
มลพิษที่น่ากลัวมากที่สุดในทะเลขณะนี้คือมลพิษที่เกิดจากน้ำมัน
ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันที่เกิดจากอุบัติเหตุ เรือบรรทุกน้ำมันจม หรือรั่วหรือคราบน้ำมันที่เกิดจากการชะล้างหรือการขนถ่ายโดยเฉพาะ
ตามท่าเรือ หรือชายทะเล ที่มีเรือเดินสมุทร ขนาดใหญ่ โรงงานหรือสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันลำคลอง
หรือริมทะเล หรืออยู่กลางทะเล อุตสาหกรรมหนักที่ใช้น้ำมัน ความเสียหายในส่วนนี้
ไม่ได้เป็นปัญหาระดับประเทศ แต่เป็นปัญหาระดับโลก ที่เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว
จะขยายวงแผ่กว้างออกไป ในหลายๆ ประเทศ หรือในทะเลหลวง หรือตลอดไปจนถึงขั้วโลก
เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างมหาศาล ต้องใช้งบประมาณ จำนวนมาก ในการกำจัดหรือป้องกัน
ถึงเวลาแล้วที่ฝ่ายรัฐจะต้องหยุดยั้งปัญหานี้ให้ได้และปลูกจิตสำนึกให้คนไทยเห็นความสำคัญ
ของมลพิษ ทางทะเล ทั้งต้องปลูกฝังค่านิยมให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญของมลพิษทางทะเล
ต้องปลูกฝัง ค่านิยม ให้คนรุ่นใหม่ ได้เห็นความสำคัญในการพิทักษ์ รักษาทะเลไทย
ให้คงอยู่คู่กับคนไทยต่อไป เราจะอาศัยแต่ พระราชบัญญัติส่งเสริม การรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๓๕ อย่างเดียวคงไม่ได้ พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก็ดี
พระราชบัญญิติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ ก็ดี พระราชบัญญัติ สงวนและ
คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๗ ก็ดี พระราชบัญญัติ การเดินเรือ ในน่านน้ำไทย
พ.ศ.๒๔๙๕ ก็ดี พระราชบัญญัติ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒
ก็ดี พระราชบัญญัติ การท่าเรือ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ดี พระราชบัญญัติ
นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ดี พระราชบัญญัติ การประมง
พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ดี พระราชบัญญัติ การรับขนทางทะเล พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็ดี พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ดี พระราชบัญญัติ การควบคุมแร่ดีบุก
พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ดี พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ดี พระราชบัญญัติ
น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็ดี ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๒๘ เรื่องการบรรจุ
แก๊สปิโตรเลียมเหลว ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๖๘ เรื่องการควบคุมการจอดเรือ
ในแม่น้ำลำคลอง และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาด และ ความเป็น ระเบียบเรียบร้อย
ของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ.๑๒๑ ต้องมีการ
ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เนื้อหา สอดคล้อง ต้องกัน และเคลือบคลุมถึง
ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังกล่าวข้างต้น ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว มิฉะนั้นแล้ว
เราจะไม่สามารถ รักษาท่องทะเลไทย ให้คงอยู่กับคนไทย ตลอดไปได้
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๔๓ มิถุนายน ๒๕๔๕)
|