คลองกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
บุญช่วย ทองธรรมดา
ข้อเท็จจริงคลองเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาน้ำท่วม
ซึ่งเป็นปัญหาของเมืองหลวงมาช้านาน โครงการ พระราชดำริ เช่น โครงการแก้มลิงนั้น
เป็นโครงการที่เหมาะสมยิ่ง สำหรับการระบายน้ำ จากทางเหนือ ที่ไหลบ่า
ลงมาทุกปี ในฤดูน้ำหลาก การตัดสินใจของนายกทักษิณ ที่จะขุดลอกคูคลองทั้ง
๔๔ สาย เป็นความคิด ริเริ่มที่ดี ในการเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย
ปัจจุบันโครงการแก้มลิงมีการดำเนินการแบ่งเป็น
๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำ ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำ เจ้าพระยา
โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่ เป็นทางเดิน
ของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย
คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำ ในพื้นที่ ตั้งแต่
จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเล
ด้านจังหวัด สมุทรสาคร
ชาวกรุงเทพชั้นในจะได้รับประโยชน์จากโครงการขุดลอกคลองในเรื่อง
ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย น้ำท่วมขัง ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่รอบกรุงเทพและปริมณฑล
จะได้เครือข่ายของชีวิต และสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และลูกโซ่ของอาหาร
จะฟื้นสภาพ ในระยะยาว ซึ่งทำให้มีแหล่งอาหารเพิ่มมากขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯประพาส
คลองแสนแสบ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๗ เป็นระยะทางกว่า ๗๒ กิโลเมตร
ยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรถ้วนหน้า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ให้กำหนด
วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปีเป็น วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ
และกำหนดให้ปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๖ เป็นปีแห่งการอนุรักษ์ และพัฒนาสภาพแวดล้อม
แม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ แนวคิดที่จะฟื้นฟู สภาพคลองแสนแสบ ให้กลับมาเหมือนเดิมนั้น
เคลื่อนไหวโดย ชุมชนริมคลอง ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ และพัฒนา
แต่ละบ้าน ช่วยกันกำจัด ผักตบชวา ไม่ทิ้งขยะ ลงคลอง ชุมชนริมคลองแสนแสบ
เช่น ชมรมรวมใจภักดิ์ รักษ์ต้นไม้ ปฏิบัติงาน อย่างจริงจัง มีกิจกรรม
ต่อเนื่อง เพื่อให้คลอง "ตื่น" และ "น้ำกระเพื่อม"
อยู่ตลอดเวลา จัดงานประเพณี ลอยกระทง แข่งเรือ และการละเล่น เป็นประจำทุกวันที่
๒๐ กันยายน
การที่ดร.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ลอกคลองทั่วกรุงเทพ ๔๔ สาย โดยจะให้เสร็จภายใน
๔ เดือน อย่าให้เป็นแบบ ไฟไหม้ฟาง เพราะการอนุรักษ์และพัฒนานั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป
แต่ต้องให้ ประชาชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ เมืองที่เคยมีต้นมะกอกขึ้นอยู่มากนั้น
เคยอยู่ในฐานะ เมืองต้นแบบของโลก ที่ไม่มีใครเหมือน เป็นเมืองที่ลอยอยู่บนน้ำ
สวยงาม ไม่แพ้คลองตารางหมากรุก ของเมืองซูโจว ประเทศจีน เมืองบางกอก
มีบริการ ขั้นพื้นฐาน ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว น่าจะเก็บเกี่ยวดอกผล จากการส่งเสริม
การท่องเที่ยว การขายความคิด เรื่องคลอง ไม่ใช่การกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย
ถ้าชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ตั้งแต่ต้น
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๔๕ สิงหาคม ๒๕๔๕)
|