ชีวิตไร้สารพิษ-
ล้อเกวียน -
อันตรายของพืชGMOS
* การดัดแปลงพันธุกรรมและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
หรือ GMOs คืออะไร?
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบขึ้นมาจากพันธุกรรมหรือยีน
ยีนเป็นตัวกำหนดว่า สิ่งมีชีวิต จะเจริญเติบโต ขึ้นมา ในลักษณะอย่างไร การดัดแปลงพันธุกรรม
เป็นการนำยีน จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง สอดใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิต อีกชนิดหนึ่ง
ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ที่ไม่เคยมีในธรรมชาติมาก่อนเรียกว่า "สิ่งมีชีวิต
ดัดแปลง พันธุกรรม" เช่น การนำยีนของปลา ใส่เข้าไปในมะเขือเทศ
ซึ่งเมื่อดูภายนอก จะเหมือนต้นพืช ที่มีอยู่ดั้งเดิม ในธรรมชาติ หากทว่ามี
คุณลักษณะภายใน ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั้นเป็นเพราะการดัดแปลงพันธุกรรม
เป็นวิธีการ คัดแยก และตัดต่อยีนของสิ่งมีชีวิต ที่นักวิทยาศาสตร์เอง ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า
ผลกระทบระยะยาว ต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของมนุษย์จะเป็นอย่างไร หากปล่อย
ให้สิ่งมีชีวิต แปลกปลอม ที่พวกเขา ประดิษฐ์ขึ้น ปนเปื้อนในอาหาร และสิ่งแวดล้อม
ของพวกเรา
*
อันตรายที่ มีต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์ มีอะไรบ้าง
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไปในสิ่งมีชีวิตใครก็ตาม ยีนจะไปรบกวน
กระบวนการทำงาน ที่ละเอียดอ่อน ในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นและสร้างคุณลักษณะใหม่ๆ
ขึ้นมา ซึ่งอาจทำให้เกิด สภาพที่เป็นพิษ หรือเป็นต้นเหตุของอาการภูมิแพ้ได้
เช่น ในกรณีของประเทศสหรัฐ ต้องหาทางป้องกัน ไม่ให้เมล็ดถั่วเหลือง จีเอ็มโอ
ที่มียีนบราซิลนัท ออกสู่ตลาดหลังจากพบว่าคนที่เคยแพ้บราซิลนัทแล้ว มาบริโภคถั่วเหลืองจีเอ็มโอ
โดยไม่รู้ว่ามียีนบราซิลนัทอยู่ เกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที ที่บริโภคเข้าไป
อีกตัวอย่าง คือ ข้าวโพด สตาร์ลิงค์ ที่แม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารมนุษย์
เนื่องจากอาจก่อให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้ ก็ยังพบว่า มีการปนเปื้อนอยู่ ในอาหารมนุษย์ในหลายๆ
ประเทศ
สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอีกมากมาย ที่กระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ
สมาคมแพทย์และรัฐบาล ของหลายๆ ประเทศทั่วโลกร่วมกันประณามการใช้ยีนดังกล่าว
เนื่องจากอาจทำให้ยารักษาโรคโดยทั่วไป ใช้ไม่ได้ผล ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการทดสอบผลกระทบ
ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อย่างเหมาะสม
* อันตราย ที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
มีอะไรบ้าง?
GMO เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสืบพันธ ุ์และแพร่พันธุ์ต่อไปได้
ดังนั้นหากปล่อยจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อม แล้วมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นจะไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีกเลย
- พืช GMO อาจกลายเป็น "พืชพิเศษ" ที่สามารถต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตได้เหนือกว่าพืชธรรมชาติ
และสามารถ ทำลาย พืชธรรมชาติและระบบนิเวศน์
- พืช GMO จะผลิตเมล็ดพันธุ์และละอองเกสร ไปปนเปื้อนกับเมล็ดพันธุ์อื่นๆ
และปนเปื้อนอยู่ในดิน
- การวิจัยพบว่า พืช GMO บางชนิดสร้างขึ้นเพื่อผลิตยาฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเองนั้น
มีอันตราย ต่อตัวอ่อน ของผีเสื้อโมนาร์ค แมลงเต่าทอง ทั้งยังมีผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์อีกมากมาย
นอกจากนี้เกสรของพืช GMO บางชนิดที่ผลิตสารฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเอง ยังเป็นอันตรายกับผึ้ง
ซึ่งเป็นสัตว์ ที่มีประโยชน์ ตามธรรมชาติ
- จนกระทั่งถึงตอนนี้ พบว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมส่วนมากที่เพาะปลูกกันอยู่
ต้องใช้ควบคู่ กับ ยากำจัดวัชพืช ที่มีพลังสูง ซึ่งมันหมายถึงว่า เมื่อไรที่เกษตรกรปลูกถั่วเหลือง
GMO ที่ทนทานต่อยาฆ่าหญ้า ราวด์อัพเร็ดดี้ เกษตรกรก็ต้องฉีดยาฆ่าแมลงราวด์อัพเร็ดดี้
ถั่วเหลือง GMO นั้นจะทนทานและมีชีวิตอยู่ แต่ว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่บริเวณนั้นจะตาย
เท่ากับว่า เป็นการทำลาย แหล่งอาหา รของแมลงและสัตว์ อีกมากมายที่อาศัยพืชเหล่านั้นในการดำรงชีวิต
และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าเกษตรกรใช้ยาฆ่าหญ้าเพิ่มขึ้น
๒-๕ เท่า ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสารเคมี ในสิ่งแวดล้อม และพืชอาหารมากยิ่งขึ้น
*
อันตรายต่อเกษตรกรมีอะไรบ้าง
บรรดาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรอีกมากมายออกมาต่อต้านเมล็ดพันธุ์
GMO เนื่องจากมีการผูกมัดว่า เกษตรกรที่ใช้ เมล็ดพันธุ์ GMO ต้องใช้ยากำจัดแมลง
ที่บริษัทเป็นผู้ผลิตควบคู่กันไป เช่น กรณีของเกษตรกร ชาวอเมริกัน ที่ปลูกถั่วเหลือง
GMO ของบริษัท มอนซานโต้ จำกัด ต้องเซ็นสัญญาซื้อยาฆ่าแมลง ของ มอนซานโต้
และยังต้องปฏิบัติ ตามกฎของ มอนซานโต้ รวมไปถึงต้องอนุญาต ให้เจ้าหน้าที่ของ
มอนซานโต ้เข้าออกไร่นาของพวกเขาด้วย อีกทั้งยังห้ามเกษตรกร เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้
เพื่อเพาะปลูกในฤดูต่อไป เท่ากับว่า บรรดาเกษตรกร อยู่ในกำมือของ กลุ่มบริษัท
อุตสาหกรรมเคมี ข้ามชาติเหล่านั้นแล้ว
นอกจากนี้พืชพันธุ์ GMO ยังสามารถปนเปื้อนกับพืชพันธุ์อื่นๆ
ของเกษตรกรได้ด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น จะขายไม่ได้ อย่างกรณีการปนเปื้อน
ของพืช GMO โดยไม่ได้ตั้งใจ ในไร่ของเกษตรกร ชาวคานาดา ผลปรากฏว่า มอนซานโต้
ฟ้องร้องให้เกษตรกรผู้นั้น จ่ายค่าสิทธิบัตรในการปลูกพืช GMO นั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้นั้น
จะไม่เคยเรียกร้อง หรือต้องการปลูกพืช GMO ในที่นาของตนเลย
[ข้อมูลจากวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ]
สรุป
ต่อจากยุคสงครามของการสื่อสารไร้พรมแดนก็จะเป็นสงครามเมล็ดพันธุ์โดยการ
กว้านเก็บเมล็ดพันธุ์ ดั้งเดิม มาดัดแปลงใหม่แล้วเกษตรกร ก็จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์
จากพวกยักษ์ใหญ่ เพราะเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ไม่สามารถ ปลูกต่อได้ เกษตรกรก็จะต้องตกเป็นทาสของนายทุน
ต้องซื้อเมล็ดและปุ๋ยยา เพื่อทำ การเพาะปลูก ตลอดเวลา
ฉะนั้นเกษตรกรทุกท่านควรจะตื่นตัวและพยายามเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านของเราเอาไว้
อย่า ให้สาบสูญไปได้ โดยการปลูก และเก็บเมล็ดไว้ให้ต่อเนื่อง
เพราะขณะนี้ ในประเทศไทย เมล็ดพันธุ์ ของแตงโมไทย ดั้งเดิม หาไม่ได้แล้ว
แตงโมที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ ต้องซื้อเมล็ด และใช้ยา อย่างมากมาย ถึงจะปลูกได้
แม้แต่ฟักทอง ก็กำลังจะกลายพันธุ์แล้ว เพราะเราสามารถจะปลูกต่อเมล็ดได้แค่
๑-๒ รุ่นเท่านั้นเอง
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๔๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕)
|