กติกาเมือง-
ประคอง เตกฉัตร -
ขอตายอย่างสงบ
นับวันการเจริญก้าวหน้าในทางการแพทย
์จะยิ่งมีมากขึ้นเป็นลำดับ ถึงกับบางคนตั้งความหวังไว้ว่า สักวันหนึ่งจะมีการพัฒนา
ไปจนถึงขั้นที่จะทำให้คนที่ตายไปแล้ว และร่างกาย ไม่เน่าเปื่อย กลับฟื้นคืนชีพ
มาอีกได้ จนถึงกับมีบริษัทรับแช่แข็งศพ เพื่อให้อยู่ในสภาพเดิม ให้ได้นานที่สุดเพื่อรอวันเวลาดังกล่าว
ในขณะที่ปัจจุบัน หลายประเทศได้ต่อต้านการโคลนมนุษย ์จากเนื้อเยื่อของมนุษย
์ที่จะผลิตตัวอ่อนมนุษย์ แต่ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคน หลายกลุ่มหลายคณะ
พยายามที่จะโคลนตัวอ่อนของมนุษย์ ขึ้นมา ซึ่งอ้างว่า เป็นการเจริญก้าวหน้าในทางเทคโนโลยีในวิชาชีพทางด้านการแพทย์
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีการต่อต้าน และนับวันจะมีการส่งเสริมสนับสนุน
คือการหยุดยั้งชีวิต หรือการชะลอการตาย หรือการสิ้นสุดของชีวิตไว้
ให้นานที่สุด โดยเฉพาะผู้มีฐานะทางการเงิน ทั้งหลาย ก่อนจะสิ้นชีวิตนั้น
บางรายมีเครื่องช่วยชีวิตจำนวนมาก ไม่ว่าเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ
การให้อาหารทางสายยาง การขับถ่ายทางหน้าท้อง ตลอดจน การเปลี่ยนอวัยวะต่างๆ
ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยน จากอวัยวะของบุคคลอื่น ที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่ที่ได้รับจากการบริจาคหรือการซื้อหา หรือการผลิตขึ้นมาใหม่จากวัตถุภายนอกเข้าไปทดแทน
สิ่งหนึ่งที่ไม่ว่าผู้ใด จะพยายามแก้ไขหรือพยายามหลบหนี
ก็ไม่มีทางจะทำได้พ้น นั้นก็คือความตาย ซึ่งเป็นสัจธรรม
คู่โลก เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน อุปกรณ์การช่วยชีวิตในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่ว่าจะผลิตออกมามากมายขนาดไหน
ไม่ว่าจะมีความทันสมัยหรือพัฒนาไปอย่างไรก็ไม่สามารถหยุดยั้งการจบสิ้นแห่งชีวิตลงได้
บางครั้งทำให้เครื่องมือ และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ลงทุนจำนวนสูงนั้น
มองดูแล้วแทบจะเป็นการสูญเปล่า การยืดชีวิตของผู้ป่วยออกไป โดยปราศจากความหวัง
ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่าปกติและสุดท้ายก็ต้องถึง
แก่ความตายและเป็นการตายที่อลังการไปด้วยเครื่องช่วยชีวิต
โดยปราศจากศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่มีสิทธิจะตายอย่างสงบ ปราศจากเครื่องพันธนาการต่างๆ
เหล่านั้น
สิทธิการตายอย่างสงบ เป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว
ว่า ผู้ป่วยมีสิทธิจะใช้สิทธิอันนี้ได้ โดยแสดงความจำนงไว้ล่วงหน้าได
้หรือไม่ว่าถ้าป่วยจนไม่สามารถรับรู้ หรือให้ความยินยอม ได้ ขอปฏิเสธเครื่องเหนี่ยวรั้งความตายทั้งปวง
ขอให้ปล่อยให้ตนเองตายไป ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
อย่างสงบ และถ้าทายาทหรือแพทย์ไม่ปฏิบัติตาม เราควรจะออกกฎหมาย กำหนดบทลงโทษไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
เพื่อรักษาเจตจำนงของผู้ป่วย ที่ให้ไว้ในขณะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ
การปล่อยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ
แตกต่างกับการปล่อยปละละเลยไม่รักษาพยาบาลผู้ป่วย เป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย
ทั้งที่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วย ให้หายได้ แต่ทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกันมาก
และยากที่จะชี้ชัด ว่าป่วยขนาดไหนที่ไม่สามารถรักษาให้หายได ้และการปฏิเสธที่จะแทรกแซง
การตายกับการเข้าช่วยเหลือ รักษาพยาบาลผู้ป่วย เป็นคนละเรื่องกัน
การที่ผู้ป่วยตายโดยสงบตามลักษณะธรรมชาติ
มีความใกล้เคียงกับการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ในการบำบัดรักษา
นักกฎหมายบางท่านเล็งเห็นว่า การปล่อยให้ผู้ป่วยตาย โดยไม่นำเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
เข้าไปช่วยชีวิตผู้ป่วย เป็นการกระทำฐานฆ่าผู้ป่วย โดยวิธีการงดเว้นการกระทำ
ผู้เขียนมีความเห็นว่า การตายของผู้ป่วยเพราะโรคภัยไข้เจ็บ
หรือบาดแผลของผู้ป่วยที่มีมาก่อน แต่เมื่อผู้รักษาพยาบาล หรือทายาทเห็นว่าแม้จะใช้เครื่องมือใดๆ
เข้าไปยืดชีวิตของผู้ป่วย ก็ไม่สามารถจะยืดชีวิตของผู้ป่วยได ้หรือแม้จะยืดไปได้ก็เป"นเวลาระยะอันสั้น
คงไว้แต่ลมหายใจและระบบการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะทำอะไรได้
แม้แต่จะช่วยตัวเอง หรือรับรู้สิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบกับทวารทั้งห้า
แต่กลับจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด ความรำคาญหรือการทรมานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นไปอีก
ทายาทหรือแพทย์ก็ไม่น่าจะมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
การกระทำความผิดในทางอาญา ต้องมองเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก
ว่ามีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล หรือไม่ ถ้าไม่มีเจตนา
ประสงค์ที่จะให้ผู้ตาย ตายในขณะที่ยังไม่ถึงวาระ หรือสมควรที่ผู้ตายจะตาย
ก็ย่อม มีความ ผิดได้ แต่ถ้าการตาย เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่ทายาทหรือแพทย์คาดการณ์ได้ว่า
เครื่องใช้ต่างๆ ไม่สามารถที่จะไปเหนี่ยวรั้ง หรือเข้าไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้หาย
กลับมาเป็นเช่นเดิม หรือดีขึ้นกว่า หรือทุเลาลงกว่าก่อน นำเครื่องมือดังกล่าวเข้าไปช่วยเหลือ
ก็ไม่น่าที่จะมีความผิด
ความสมัครใจของผู้ตายทำไว้ล่วงหน้า
ว่าขอตายอย่างสงบ ย่อมไม่สามารถที่จะบรรลุจุดประสงค์ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากแพทย์หรือทายาท
หรือผู้ดูแลผู้ป่วย อย่าลืมว่าการทำให้ผู้อื่นตายเร็วขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ
ก็ถือว่า มีส่วนทำให้บุคคลนั้นตายแล้ว ย่อมมีความผิด มูลเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทรมาน
ก็ไม่อาจอ้างให้พ้นผิดได้ ยิ่งถ้าเป็นการกระทำ โดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว
ก็จะมีโทษหนักขึ้นอีก
การฆ่าตัวตาย โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
เป็นการกระทำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องเชื่อมโยง กับการทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โดยสงบเช่นเดียวกัน
การให้ความรู้เครื่องมือหรือวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายไม่ใช่การตายอย่างสงบตามธรรมชาติ
ฉะนั้นการตายอย่างสงบ ตามที่กล่าวนี้ ไม่ใช่การกระทำของมนุษย์ เพื่อให้ผู้ป่วยตาย
แต่การตายดังกล่าวนั้น เป็นการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ
หรือเหตุเดิมที่ทำให้ผู้ป่วย ป่วย
หรือบาดเจ็บมาก่อน
การช่วยผู้อื่นฆ่าตัวตายนั้น เป็นเจตนา
ที่ให้บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือ ถึงแก่ความตาย แต่การยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิตนั้น
เป็นการกระทำที่ปราศจากเจตนาฆ่า ผู้ยุติการใช้เครื่องมือไม่ประสงค์การตาย
ของบุคคลถูก
ช่วยชีวิตแต่เล็งเห็นผลว่า ไม่สามารถช่วยชีวิตได้แล้ว
ถึงอย่างไรผู้ที่กำลังถูกช่วยชีวิตก็ต้องตาย แต่ประสงค์จะให้ผู้ตาย
ได้ตายอย่างสงบ และการตายของผู้ตายนั้นเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบตามเวลา
ในทางปฏิบัติแพทย์ประสบปัญหา มาก
ว่า ควรจะดำเนินการ บำบัดรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ที่ไม่สามารถเยียวยารักษา
ให้หายขาดได้โดยวิธีใด เรายังไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ผู้เขียนเห็นว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องบัญญัติกฎหมายเช่นนี้ ออกมาให้ชัดเจนว่าการยุติการช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วย
กับผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่เป็นความผิดทางอาญา เนื่องจากแพทย์ไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าผู้ป่วย
และควรให้ผู้ป่วยแสดงเจตจำนงไว้ล่วงหน้าด้วยว่า ถ้าถึงวาระสุดท้ายดังกล่าวแล้ว
จะให้แพทย์ยุติการช่วยชีวิต โดยวิธีดังกล่าวหรือไม่
ผู้ป่วยที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง
หรือไม่มีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ สมองถูกทำลาย ผู้ป่วยก็ปราศจากความรู้สึก
ระบบต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติที่เรียกว่า เจ้าชายนิทราหรือเจ้าหญิงนิทรา
จึงต้องให้อาหารทางสายาง และมีเครื่องช่วยหายใจ บางคนอยู่ได้นานหลาย
ปีโดยไม่มีทางบำบัดรักษาให้ดีกว่าเดิมได้ บางคนเห็นว่าไม่มีประโยชน์
ที่จะเยียวยารักษาผู้ป่วยไว้ไม่ให้ตาย ขณะนั้นผู้ป่วยเองก็ไม่สามารถที่จะแสดงเจตนาให้ยกเลิกการรักษาโดยวิธีดังกล่าวได้
ความยินยอมของผู้ป่วย นับว่าสำคัญมากในการรักษา
แม้ความยินยอมบางครั้ง ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ต้องมีความยินยอมที่แท้จริง
เพราะมนุษย์ทุกคนในสภาวะการบรรลุนิติภาวะและมีสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดว่า
การกระทำใดๆ อาจกระทำต่อร่างกายของเขาได ้หรือไม่ได้ แพทย์ที่รักษาพยาบาล
หรือญาติ หรือผู้ดูแล ผู้ป่วย ที่กระทำโดยปราศจากความยินยอม จะมีความผิดแม้การไม่ยินยอม
จะขัดกับความเห็นของแพทย์ก็ตาม ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิ ที่จะปฎิเสธไม่ยอม
ให้แพทย์ใช้เครื่องมือ เพื่อช่วยชีวิต ของตนเองได้ แต่การปฏิเสธการใช้เครื่องมือช่วยเ
ป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อชีวิตของผู้ป่วยคนดังกล่าว นั้นมากเช่นกัน
แนนซี่ ครูซาน ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต
์ส่งผลให้สมองส่วนบนของเธอ ไม่สามารถทำงานได้ เธอจึงตกอยู่ในภาวะที่ไม่รู้สึกตัว
แต่แกนสมองของเธอ ยังทำงานได้ตามปกติ เธอยังสามารถ หายใจได้ ตามธรรมชาติ
แต่ต้องให้อาหารทางสายยาง เวลาผ่านไปหลายป ีอาการของเธอก็ยังไม่ดีขึ้น
ญาติขอให้แพทย์ หยุดการให้อาหารทางสายยาง แต่แพทย์ไม่ยินยอม ญาติจึงฟ้องต่อศาล
ศาลสูงสุด ของรัฐมิสซูรี่ ตัดสินให้รักษาพยาบาลเธอต่อไป เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
ที่จะต้องรักษา พยาบาลประชาชน เพราะไม่มีหลักฐานว่าแนนซี่ได้ขอหยุดการรักษาพยาบาล
ด้วยวิธีดังกล่าว ต่อมาบิดามารดา ของแนนซี่ พาเพื่อนของแนนซี่คนหนึ่ง
ไปแสดงต่อทางการ ว่าแนนซี่ เคยบอกไว้ว่า เธอไม่ต้องการ บำบัดใดๆ หากอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเยียวยาได้อีกต่อไป
ในที่สุดรัฐมิสซูรี่ จึงอนุญาต ให้หยุด การบำบัดรักษาเธอได้
มีการแข่งขันฟุตบอล ที่สนามฮิลโบโรห์
ระหว่างทีมลิเวอร์พูลกับทีมนอตติงแฮมฟอร์เรสต์ มีประชาชน ไปชมฟุตบอล
จำนวนมาก สนามไม่สามารถรองรับผู้ชมได้ ทำให้ผู้ชมส่วนหนึ่ง ถูกเบียดเข้าไปติดกับแผงกั้น
สนามบนอัฒจันทร์ ให้ผู้ชมหลายคน ถึงแก่ความตาย โทนี่ แบรนด์เป็นเด็กคนหนึ่ง
ที่อยู่สนาม ขณะเกิดเหตุ อายุ ๑๗ ปี ทำให้ปอดของโทนี่ ถูกกระแทกอย่างรุนแรง
และไม่มีอากาศ ไปหล่อเลี้ยงสมอง ในที่สุดสมอง ส่วนบนไม่ทำงาน ทำให้ตกอยู่ในสภาวะพัก
แม้ว่า แกนสมองของเขาทำงานอยู่บ้างก็ตาม เขาไม่สามารถ มีความรู้สึก
ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ไม่รู้รสอาหารไม่ได้กลิ่นสิ่งรอบข้าง
และไม่ได้ยินเสียงใดๆ ดวงตาเปิด หายใจได้ แพทย์ได้ผ่าตัด ให้อาหารทางสายยาง
แต่ตามกฎหมาย โทนี่ยังมีสภาพเป็นบุคคล สถานพยาบาล ที่รักษาโทนี่ ได้ร้องขอต่อศาล
ให้ศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้ยุติการช่วยเหลือโทนี่ ศาลอังกฤษไ ด้พิจารณาข้อเท็จจริง
ในคดีนี้แล้ว เห็นว่าการให้ชีวิตของโทนี่ ให้ยืนยาวอีกต่อไป จะไม่ก่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ป่วย จึงอนุญาต ให้แพทย์ยุติการช่วยชีวิต โดยให้โทนี่ตายอย่างสงบ
โดยปราศจาก ความเจ็บปวด
มีแพทย์คนหนึ่งชื่อพอสมาถูกกล่าวหาว่าใช้มอร์ฟีนฉีดให้ผู้ป่วยที่เป็นมารดาของเธอเอง
ถึงแก่ความตาย เจตนาของเธอก็คือ ต้องการให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตาย เพื่อระงับความเจ็บปวด
ในวาระสุดท้ายที่ ไม่อาจ เยียวยาได้ ศาลของประเทศเนเธอแลนด์ พิพากษาว่า
เธอมีความผิด ต้องรับโทษ
ปัญหาเกี่ยวกับการตายโดยสงบเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับวิทยาการ
หลายสาขา การทำความเข้าใจ และแยกแยะประเด็นที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับ
ทัศนคติของ แพทย์ผู้รักษาพยาบาล
และต้องสอดคล้องกับหลักวิชาชีพของนักกฎหมายและจริยธรรมของนักกฎหมายด้วย
ขณะนี้ แม้ประเทศไทย จะไม่มีกฎหมาย ในเรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
ในวาระขั้นสุดท้าย หรือไม่มีกฎหมาย เกี่ยวกับการ ให้ความยินยอม
ของผู้ป่วย ในการรักษาชีวิตในครั้งสุดท้าย
ในสิทธิแห่งการตายอย่างสงบ ตามที่หลายฝ่ายต้องการ เราน่าจะหันมาคิดคำนึง
ถึงปัญหานี้ ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันในวงการแพทย์ว่า เราจะให้สังคม ไปในทิศทางใดดี
การแสดงเจตจำนง เรื่องภายหน้าของผู้ป่วยที่ให้หยุดยั้ ง การนำเครื่องมือทางการแพทย์
เข้าไปรักษา พยาบาล ในสภาวะที่ตนเอง ไม่สามารถรับรู้อะไรได้แล้ว และไม่เป็นประโยชน์ต่อไป
จะได้รับการยอมรับ จากทุกฝ่าย หรือไม่ และจะกำหนดทิศทาง วางกติกาทางสังคม
วันต่อไปอย่างไร
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๔๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕) |